Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
บุคคลสำคัญในภูเก็ต ๕ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 28 มกราคม 2008

อ้วน สุระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

สุนัย ราชภัณฑารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

มานิต วัลยะเพ็ชร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

รายชื่อนายอำเภอในจังหวัดภูเก็ต

รายชื่อศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต

รายชื่อประธานศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต

รายชื่อสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต-อำเภอ

๔. ประวัติและผลงานอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตบางท่าน
   ๔.๑ ประวัติและผลงานนายอ้วน สุระกุล

ประวัติส่วนตัว
ชื่อนายอ้วน สุระกุล
เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๑ ตรงกับวันจันทร์แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๓   ปีวอก   ค.ศ.
๑๙๐๙ จ.ศ. ๑๒๗๐ ณ บ้านบ่อมะพร้าว ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
บิดาชื่อนายฉู สุระกุล มารดาชื่อนางยศ สุระกุล(ง่วนสน) พี่น้องร่วมมารดา บิดา ๖ คน คือ ๑. นายอ้วน  สุระกุล สมรสกับ นางสาวปราณีต  พลรักษ์
๒. นางสาวเอิ้น  สุระกุล สมรสกับ ร.ต.อ. ตั้ง  สุขสง
๓. ส.ต.ท. สว่าง  สุระกุล สมรสกับ นางสาวมณี ณ พัทลุง
๔. นางสาวฉอ้อน สุระกุล สมรสกับ จ.ส.อ. จิตร  สุภารัตน์
๕. นาวสาว วนิดา  สุระกุล
๖. พ.ต.อ. สำเร็จ  สุระกุล สมรสกับ นางสาวทัศนีย์  ปิ่นมณี
กับมีน้องต่างมารดาอีกสองคน คือ
๑. นางสาวพนม  สุระกุล สมรสกับ นายประสาน  เทพพิทักษ์
๒. นางสาวพนัส  สุระกุล  สมรสกับ  นายณรงค์  ไชยกัณฑ์
นายอ้วน   สุระกุล สมรสกับ นางสาวปราณีต พลรักษ์ มีบุตรด้วยกัน ๘ คน คือ
๑. น.ส.สุปราณี  สุระกุล  สมรสกับ พ.ท.บรรจงบุญอุไร ถึงแก่กรรมแล้วทั้ง ๒ คน
๒. นายวิจิตร  สุระกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
๓.นางสาวอารีรัตน์  สุระกุล ประธานบริษัท รุ่งระวีธุรกิจ จำกัด จ.ภูเก็ต
๔. นางสาวอารมณ์  สุระกุล สมรสกับนายสุนทร ลำเพาพงศ์
๕. นายสมหมาย สุระกุล ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมรสกับนางสาวมารศรี  ลิมปนันทน์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลักกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีบุตรธิดา ๒ คน
๖. น.ส. สุทิน  สุระกุล สมรสกับนายปราโมทย์  โชติพฤกษ์
๗. น.ส.ดาราวรรณ (ชื่อเดิมระวิวรรณ)
สุระกุล สมรสกับนายดำริ แสงประสิทธิ์
๘. นายสมัยชัย       สุระกุล   รับราช
การเป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต        จ.ภูเก็ต  สมรสกับ น.ส. บิวตี้   แซ่โหงว
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.๒๔๖๑–๒๔๖๓ ศึกษา ณ โรงเรียน
ประชาบาลตำบลบ้านโพธิ์  “สุทธิโพธิ์บำรุง”
อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จบชั้น ป.๓
พ.ศ.๒๔๖๔–๒๔๖๗ ศึกษา ณ โรงเรียนประจำจังหวัดตรัง “วิเชียรมาตุ” จบชั้น ม.๔
พ.ศ.๒๔๖๘–๒๔๖๙ ศึกษา ณ โรงเรียน
ฝึกหัดครูประจำมณฑลภูเก็ต“ภูเก็ตวิทยาลัย”
จบชั้นครูมูล(ป) ระหว่างการศึกษาได้รับยศนายหมู่ลูกเสือเอก ทำชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนโดยสอบแข่งขันวิชาลูกเสือได้ที่ ๑ ของกองลูกเสือทั้งมณฑลภูเก็ต ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าใหญ่ของโรงเรียน พ.ศ.๒๔๗๓ สอบไล่วิชาข้าราชการพลเรือนชั้นราชบุรุษ ณ สนามสอบมณฑลภูเก็ตได้ ขณะที่เป็นครูประชาบาล โรงเรียนประจำอำเภอห้วยยอด “กลึงวิทยาคาร”
พ.ศ.๒๔๗๗ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง     ในขณะที่รับราชการเป็นปลัดอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
พ.ศ.๒๔๘๑ สอบไล่วิชาข้าราชการพลเรือนชั้นตรี ตำแหน่งปลัดอำเภอ จ่าจังหวัด อักษรเลข และเสมียนตรา จังหวัดชั้นตรีได้
พ.ศ.๒๔๘๒ สอบไล่ได้ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์          และการเมือง(ธ.บ.)
พ.ศ.๒๔๙๗ เข้าอบรมในโรงเรียนปกครอง กระทรวงมหาดไทย สอบไล่วิชาข้าราชการพลเรือนชั้นเอกได้ 
พ.ศ.๒๕๐๕ - ๒๕๐๗ - ๒๕๑๐  เข้าอบรมวิชานักบริหารชั้นสูง รุ่นที่ ๑๓,๑๔,๑๕
พ.ศ.๒๕๐๖ เข้าค่ายอบรมวิชาลูกเสือที่จังหวัดชลบุรีได้รับวู๊ดแบด
ประวัติการทำงานรับราชการ
พ.ศ.๒๔๗๐ ครูน้อยโรงเรียนประชาบาลตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เงินเดือน ๒๐ บาท
พ.ศ.๒๔๗๑ ครูน้อยแล้วรักษาการแทนครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลประจำ    อำเภอห้วยยอด “กลึงวิทยาคาร” จนถึงปลาย พ.ศ.๒๔๗๓ เงินเดือน ๓๐–๓๕ บาท
พ.ศ.๒๔๘๐        จ่าจังหวัดตรังเงินเดือน ๖๐ บาท
พ.ศ.๒๔๘๒เสมียนตราจังหวัดตรัง เงินเดือน ๖๐ บาท
พ.ศ.๒๔๘๒ ปลัดอำเภอตรี อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เงินเดือน ๘๐ บาท
พ.ศ.๒๔๘๒ ผู้ตรวจการเทศบาลจังหวัดกระบี่ เงินเดือน ๘๐ บาท
พ.ศ.๒๔๘๓ ผู้ตรวจการเทศบาลจังหวัดตรัง เงินเดือน ๘๐ บาท
พ.ศ.๒๔๘๕ นายอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เงินเดือน ๑๔๐ บาท
พ.ศ.๒๔๘๖นายอำเภอบ้านนาสาร  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เงินเดือน๑๔๐–๑๗๐ บาท
พ.ศ.๒๔๙๒ นายอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เงินเดือน ๑๗๐–๒๐๐ บาท
พ.ศ.๒๔๙๕ ปลัดจังหวัดนราธิวาส เงินเดือน ๒๐๐–๒๖๐ บาท
พ.ศ.๒๔๙๗ นายอำเภอชั้นเอก   อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เงินเดือน ๒๘๐–๓๕๐ บาท
พ.ศ.๒๔๙๘ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่     เงินเดือน ๓๘๐–๔๒๐ บาท
พ.ศ.๒๕๐๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เงินเดือน ๕๐๐–๖๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๐๒ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต     เงินเดือนปรับใหม่รวมเงินเพิ่มเป็นเงินเดือน ๔๒๐๐ เป็นข้าราชการชั้นพิเศษ จนเต็มขั้นเงินเดือน ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ๘๒๐๐ บาท ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๐๒ ถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ รวมเวลาติดต่อกัน ๙ ปี กับ ๑๐ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จจังหวัดภูเก็ต รวม ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมราษฎรภาคใต้ทั่วทุกจังหวัก ได้เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงจังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๐๒ ประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วเสด็จต่อไปจังหวัดอื่น เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๒
ครั้งที่ ๒ จังหวัดภูเก็ตกราบบังคมทูลเชิญเสด็จไปทรงเปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร และศูนย์บริการโลหิตเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จตามคำกราบบังคมทูลเชิญ เสด็จโดยเครื่องบินพระที่นั่งถึงจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐ แล้วเสด็จกลับวันเดียวไม่ประทับค้างคืน
ครั้งที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จโดยเครื่องบินพระที่นั่ง ไปทรงพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรแก่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๑ ประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ๑ คืน แล้วเสด็จกลับกรุงเทพฯ โดยเครื่องบินพระที่นั่งในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๑๑
พ.ศ.๒๕๐๓ ได้เริ่มปราบที่สร้างสนามกีฬาภาคศึกษา ๔ ซึ่งใช้ที่ดินอันเป็นป่าช้าสีเต็กข้า ถนนวิชิต ก่อสร้างด้วยเงินงบประมาณกรมพละศึกษา งบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเงินที่มีผู้บริจาคสมทบ เป็นสนามกีฬาทีได้มาตรฐานสวยงามใหญ่สุดรองจากกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น โดยอาจารย์กองวิสุทธารมณ์อธิบดีกรมพลศึกษา ได้เสนอกระทรวงศึกษาธิการ ให้ตั้งชื่อ  สนามสุระกุล
พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับเชิญเป็นแขกของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ ให้ไปดูงานที่ประเทศอังกฤษ ขณะที่ไปชมมหาวิทยาลัยลอนดอน ได้เห็นจดหมายของท่านผู้หญิง(จัน) ๓ ฉบับ ของท่านพระยาเพ็ชรคีรีศรีสงคราม ๑ ฉบับ ของเจ้าพระยาสุรินทราชาผู้สำเร็จราชการเมืองถลางบางคลีทั้งแปดหัวเมือง ๑ ฉบับของเจ้าเมืองภูเก็ต พญาทุกราช ๑ ฉบับรวม ๖ ฉบับ มีถึงบุคคลคนเดียวกัน คือฟรานซิส ไลต์ หากแต่เรียกชื่อต่างกันบ้าง โดยความเอื้อเฟื้อแนะนำของศาสดาจารย์ อี เอ็ช สจ๊วต ซิมมอนด์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ฝ่ายดินแดนเอเชียและอาฟริกา เห็นว่าเป็นเอกสารที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวด้วยเมืองถลางเขียนด้วยกระดาษข่อย จึงขอให้มหาวิทยาลัยลอนดอนใช้เครื่องถ่ายเอกสารถ่ายให้ แล้วนำมาเก็บไว้ที่ห้องสมุดประชาชน จังหวัดภูเก็ต   เพื่อเป็นเครื่องศึกษาของผู้ที่สนใจ
พ.ศ.๒๕๑๑ ลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๑
ตำแหน่งราชการและราชการพิเศษ
๑. กระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบเขตแดนไทย-มาเลเซีย บริเวณปากแม่น้ำสุไหงโก-ลกร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ
๒. กระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ สะสาง ปรับปรุง แก้ไขระเบียบการปฏิบัติราชการของกระทรวง เพื่อให้สะดวกรวดเร็วเป็นผลดีแก่ทางราชการ
๓. ดำรงตำแหน่งนายกองเอก กองอาสาสมัครรักษาดินแดนของจังหวัด
๔. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
๕. เป็นกรรมการที่ปรึกษาและร่างข้อบังคับวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต
ลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ.๒๔๙๑ ได้รับ จตรุถาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับ จตรุถาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ.๒๕๐๐ ได้รับ จักรพรรดิมาลา
พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ.๒๕๐๓ ได้รับ รัตนาภรณ์ชั้น ๓
พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับ  ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ.๒๕๐๗ ได้รับ ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ.๒๕๐๘ ได้รับ เหรียญลูกเสือสมนาคุณ
ได้รับ เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้น ๒
พ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับ ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับ เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้น ๑
ผลงานและผลงานดีเด่น
 เมื่อลาออกจากราชการแล้ว ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นกรรมการก่อตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตระหว่างวิทยาลัยยังตั้งไม่เสร็จ จังหวัดภูเก็ตเริ่มเป็นจังหวัดท่องเที่ยวองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวต้องการให้มัคคุเทศก์พานักท่องเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ ก่อน จึงมอบหมายให้เป็นวิทยากรอบรมมัคคุเทศก์ว่าด้วยขนบประเพณีของภาคใต้วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของไทย ครั้งที่ ๓ ของภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๓ เมษายน – ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๑ มีผู้สำเร็จการอบรมออกไปประกอบอาชีพได้ ๗๕ คน และเมื่อออกจากราชการแล้วเช่นเดียวกันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทยด้วย เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ของประเทศไทยอ่อนกำลังลง ไม่มีทีท่าว่าจะขยายกว้างขวางไปทั่วโลก องค์การนี้จึงได้ยุติลง
 พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับการแต่งตั้งจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตแต่งตั้งให้เป็นวิทยากร และกรรมการสะสางประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต

 

๔.๒ ประวัติและผลงานนายสุนัย  ราชภัณฑารักษ์

 

ประวัติส่วนตัว
ชื่อนายสุนัย  ราชภัณฑารักษ์
เกิดเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๔๕๗
ณ บ้านข้าง ร.ร.เบญจมราชาลัย ตำบลสำราญราษฎร์  อำเภอสำราญราษฎร์
 (พระนคร) จังหวัดพระนคร
บิดามารดา
ขุนราชภัณฑารักษณ์(สุ่น) - นางเลื่อน (ถึงแก่กรรมทั้งสองท่าน)
มีน้องร่วมบิดามารดา ๔ คน คือ
๑. ด.ญ. แป๋ว (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เล็ก)
๒. นายสุนันท์  ราชภัฎฑารักษ์ สมรสกับ นางสาวเกษร หิรัญพฤกษ์
๓. นายธนิต  ราชภัณฑารักษ์ สมรสกับ นางสาวฉันทนา  สุพรรณพงศ์
๔. นายทำนุ  ราชภัณฑารักษ์(ถึงแก่กรรม)
สมรส ได้สมรสกับนางสาวพวงเพชร ปัทถาพงศ์(ราชภัณฑารักษ์) เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙
บุตรธิดารวม ๕ คน
๑. นางประภาพรรณ  เทียบจริยาวัฒน์ สมรสกับ พ.ต.อ. วิเชียร  เทียบจริยาวัฒน์
๒. นางนงลักษณ์  บัวรอด สมรสกับ นายพีระพล  บัวรอด
๓. รศ.ดร.สุรพล  ราชภัณฑารักษ์ สมรสกับ นางสาวเจริญสุข  กิตติปวณิชย์
๔. นายสิริพงศ์  ราชภัณฑารักษ์(ถึงแก่กรรม)
๕. นายจตุพร  ราชภัณฑารักษ์  สมรสกับ  นางสาวการุณ  สุดจินดา
ประวัติการศึกษา
โรงเรียนประถมวัดมหรรณพ์
โรงเรียนมัธยมวัดราชบพิธ
โรงเรียเซ็นต์คาเบรียล
โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก
รัฐศษสตร์จุฬาฯ ปีที่ ๒(รุ่น ๒๔๗๕-๒๔๗๖)
ธรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
ประวัติการทำงาน
เริ่มเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่  ๑๘  มิถุนายน  พ.ศ.๒๔๗๗  เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๘
๒๔๗๗-๒๔๘๐ ปลัดอำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น(ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น)
๒๔๘๐ ปลัดอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
๒๔๘๐-๒๔๘๑ ผู้ตรวจการเทศบาลประจำกองควบคุมเทศบาล
๒๔๘๑-๒๔๘๒ ผู้ตรวจการเทศบาลจังหวัดสกลนคร
๒๔๘๒ ผู้ตรวจการเทศบาลจังหวัดอุบลราชธานี
๒๔๘๒-๒๔๘๔ นายอำเภอลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี(ปัจจุบันคืออำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร)
๒๔๘๔-๒๔๘๘ นายอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
๒๔๘๘- ๒๔๙๐ นายอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
๒๔๙๐-๒๔๙๑ นายอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
๒๔๙๑-๒๔๙๔ นายอำเภอพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา
๒๔๙๔  นายอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
๒๔๙๔-๒๔๙๕ นายอำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร(ปัจจุบันคือเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร)
๒๔๙๕-๒๔๙๘ ปลัดจังหวัด จังหวัดกาญจนบุรี
๒๔๙๘-๒๕๐๑ นายอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
๒๕๐๑-๒๕๐๕ ผู้ตรวจราชการมหาดไทย
๒๕๐๕-๒๕๐๗ ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
๒๕๐๗-๒๕๐๘ รักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ศวพ. จังหวัดอุบลราชธานี
๒๕๐๘-๒๕๐๙ ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
๒๕๐๙-๒๕๑๒ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา
๒๕๑๒-๒๕๑๘ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
การศึกษาและดูงานระหว่างรับราชการ
๒๕๐๓ จบหลักสูตรนายทหารสงครามจิตวิทยา รร.สงครามจิตวิทยา สธ. กห.
๒๕๐๗ ดูงานด้านการพัฒนาทีประเทศอินเดียและปากีสถาน
๒๕๐๘ ดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
๒๕๑๐ ดูงานที่ประเทศไต้หวัน
๒๕๑๓ ดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น
๒๕๑๕ สัมมนาด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดูงานด้านการพัฒนาที่ประเทศอังกฤษ
ผลงานที่โดดเด่น
๑. ก่อตั้งสโมสรไลออนส์จังหวัดภูเก็ต
๒. เป็นผู้ว่าการไลออนส์สากลภาค ๓๑๐ ปี ๒๕๑๙-๒๕๒๐
๓. เป็นกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาทุนในโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๔. เป็นกรรมการสมาคมไทย-อเมริกัน
เกียรติคุณที่ได้รับ
๑. ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
๒. ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
๓. เหรียญราชการชายแดน
๔. เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๔
๕. เหรียญจักรพรรดิมาลา
๖. เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑
๗. COMMANDER OF THE ORDER OF THE DANNEBROG ประเทศเดนมาร์ก
นายสุนัย  ราชภัณฑารักษ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ เวลา ๑๐.๐๕ น. รวมอายุได้ ๗๒ ปี ๒ เดือน ๒๖ วัน

๔.๓ ประวัติและผลงาน
      นายมานิต  วัลยะเพ็ชร์

ประวัติส่วนตัว
นายมานิต  วัลยะเพ็ชร์ เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ที่บ้านตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต เป็นบุตรคนที่ ๒ ของขุนสมาหารหิรัญรัฐ นามเดิม ชุ่ม  วัลยะเพ็ชร์  กับนางนารถ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ดังนี้
๑. นายมงคล  วัลยะเพ็ชร์ อดีตประธานศาลฎีกา
๒. นายมานิต  วัลยะเพ็ชร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
๓. นายมนตรี  วัลยะเพ็ชร์ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิค
 ๔. ดร.มนู  วัลยะเพ็ชร์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๕. นายมาโนช  วัลยะเพ็ชร์  ผจก. บริษัทโมเบล็ค จำกัด
 ๖. นายมังกร  วัลยะเพ็ชร์ พนักงานเทศบาลเมืองภูเก็ต
๗. นายเสริมชาติ  วัลยะเพ็ชร์ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
สมรสครั้งแรก พ.ศ.๒๔๙๒ มีบุตรและธิดา รวม ๓ คน
สมรสครั้งที่สอง กับนางอบเชย  วัลยะเพ็ชร์ ไม่มีบุตร
ประวัติการศึกษา 
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดฉลอง  ตำบลฉลองอำเภอเมืองภูเก็ต
มัธยมศึกษา โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย อำเภอเมืองภูเก็ต
อุดมศึกษาเตรียมปริญญามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
ธรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.๒๔๙๒
ประวัติการรับราชการ
ปี พ.ศ.๒๔๙๒ เข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่ง เสมียนมหาดไทย อำเภอเมืองภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นข้าราชการชั้นโท และไปช่วยราชการที่กรมการปกครอง
ปี พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นข้าราชการชั้นเอก  และย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี พ.ศ.๒๕๑๒ นายอำเภอเมืองจังหวัด สมุทรปราการ
ปี พ.ศ.๒๕๑๖ ปลัดจังหวัดนครนายก
ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ปลัดจังหวัดนนทบุรี
ปี พ.ศ.๒๕๒๐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปี พ.ศ.๒๕๒๒ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปี พ.ศ.๒๕๒๓–๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
ผลงานที่โดดเด่น
การจัดการแข่งขันกีฬาเขตฯ ครั้งที่ ๑๖ การก่อสร้างโบสถ์วัดพระนางสร้าง การจัดสร้างอาคารวิทยาลัยชุมชนจังหวัดภูเก็ต สร้างศาลพรหมเทพ การช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบความเดือดร้อน จัดงาน ๒๐๐ ปี วีรสตรีเมืองถลาง(พ.ศ.๒๕๒๘) การสนับสนุนจัดประชุมสมาชิกรัฐสภาเอเชียน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
มหาวชิรมงกุฎ(ม.ว.ม.)
เหรียญราชการชายแดน
เหรียญพิทักษ์เสรีชน
เหรียญกาชาดชั้น ๑
 

๕. บุคคลสำคัญด้านต่าง ๆ ของจังหวัดภูเก็ต

๕.๑ ทำเนียบพระนามและนามผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
 ๑. พระยาวิสูตรสาครดิฐ     (สาย  โชติกะเสถียร)   ก่อน พ.ศ.๒๔๕๐
  ๒. พระยาวิเศษสิงหนาท    (ปิ๋ว  บุนนาค)   ก่อน พ.ศ.๒๔๕๐
  ๓. พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ  โอสถานนท์)  ก่อน พ.ศ.๒๔๕๐
  ๔. พระยา ณรงค์ เรืองฤทธิ (อรุณ  อมาตยกุล)  ก่อน พ.ศ.๒๔๕๐
  ๕. หม่อมเจ้าประดิ พัทธเกษมศรี                           พ.ศ.๒๔๕๐–๒๔๕๘
  ๖. พระยาทวีป  ธุระประศาสตร์(ชุบ  โอสถานนท์)   พ.ศ.๒๔๕๘–๒๔๖๑
  ๗. พระกรุงศรีสวัสดิการ(จำรัส  สวัสดิชูโต)   พ.ศ.๒๔๖๑–๒๔๖๕
  ๘. พระยานครราชเสนี   (สหัส  สิงหเสนี)    พ.ศ.๒๔๖๕–๒๔๗๑
  ๙. พระศรีสุทัศน์(ม.ล. อนุจิตร  สุทัศน์)   พ.ศ.๒๔๗๑–๒๔๗๒
๑๐. พระยาอมศักดิ์ประสิทธิ์ (ทะนง  บุนนาค)  พ.ศ.๒๔๗๒–๒๔๗๖
๑๑. พระองค์เจ้าอาทิตย์  ทิพยอาภา   พ.ศ.๒๔๗๖–๒๔๗๖
๑๒. พระยาสุรเดชรณชิต      พ.ศ.๒๔๗๖–๒๔๗๘
๑๓. พระยาศิริชัยบุรินทร์(เบี๋ยน)    พ.ศ.๒๔๗๘–๒๔๗๙
๑๔. พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตร์   พ.ศ.๒๔๗๙–๒๔๘๐
๑๕. หลวงเธียรประสิทธิ์สาร(ร.อ.มงคล เธียรประสิทธิ์)  พ.ศ.๒๔๘๐–๒๔๘๖
๑๖. หลวงอังคณานุรักษ์(ร.อ.ถวิล  เทพาคำ)  พ.ศ.๒๔๘๖–๒๔๘๙
๑๗. ขุนภักดีดำรงฤทธิ์(…………..เกษีพันธ์)  พ.ศ.๒๔๘๙–๒๔๙๒
๑๘. นายอุดม  บุณยประสพ     พ.ศ.๒๔๙๒–๒๔๙๔
๑๙. นายมาลัย  หุวะนันทน์     พ.ศ.๒๔๙๔–๒๔๙๕
๒๐. ขุนจรรยาวิเศษ(เที่ยง  บุณยพิตย์)   พ.ศ.๒๔๙๕–๒๔๙๗
๒๑. นายมงคล  สุภาพงษ์    พ.ศ.๒๔๙๗–๒๕๐๐
๒๒. นายเฉลิม  ยูปานนท์    พ.ศ.๒๕๐๐–๒๕๐๑
๒๓. ขุนวรคุตต์คณารักษ์ (บุญฤทธิ์ วรคุตตานนท์)  พ.ศ.๒๕๐๑–๒๕๐๑
๒๔. นายอ้วน  สุระกุล     พ.ศ.๒๕๐๑–๒๕๑๑
๒๕. นายจำกัด  ผาติสุวัณณ์    พ.ศ.๒๕๑๑– ๒๕๑๒
๒๖. นายสุนัย  ราชภัณฑารักษ์    พ.ศ.๒๕๑๒–๒๕๑๘
๒๗. นายศรีพงศ์  สระวาสี    พ.ศ.๒๕๑๘–๒๕๒๑
๒๘. นายเสน่ห์  วัฑฒนาธร    พ.ศ.๒๕๒๑–๒๕๒๓
๒๙. นายมานิต  วัลยะเพ็ชร์    พ.ศ.๒๕๒๓–๒๕๒๘
๓๐. นายสนอง  รอดโพธิ์ทอง    พ.ศ.๒๕๒๘–๒๕๒๙
๓๑. นายกาจ   รักษ์มณี     พ.ศ.๒๕๒๙–๒๕๓๐
๓๒. นายเฉลิม  พรหมเลิศ    พ.ศ.๒๕๓๐–๒๕๓๔
๓๓. นายยุวัฒน์  วุฒิเมธี     พ.ศ.๒๕๓๔–๒๕๓๖
๓๔. นายสุดจิต  นิมิตกุล     พ.ศ.๒๕๓๖–๒๕๓๙
๓๕. นายจำนง  เฉลิมฉัตร    พ.ศ.๒๕๓๙–๒๕๔๑
๓๖. นายจเด็จ  อินสว่าง     พ.ศ.๒๕๔๑–
 

๕.๒ พระนามและนามสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
๑. พระยาทิพย์โกษา       (หมาโต  โชติกะเสถียร) ก่อน พ.ศ.๒๔๕๐
๒. พระยาวิสูตรสาครดิฐ(สาย  โชติกะเสถียร) ก่อน พ.ศ.๒๔๕๐
๓. พระยาวรสิทธิ์  เสวีวัฒน์(ไต่ฮัก)  ก่อน พ.ศ.๒๔๕๐
๔. พระยารัษฏานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี้ ณ ระนอง)   พ.ศ.๒๔๕๐–๒๔๕๖
๕. พลโทพระยาวิชิตวงศ์  วุฒิไกร(ม.ร.ว.สิทธิ  สุทัศน์)     พ.ศ.๒๔๔๖–๒๔๖๓
๖. พระยาสุรินทราชา(นกยูง  วิเศษกุล)    พ.ศ.๒๔๖๓–๒๔๖๘
๗. หม่อมเจ้าสฤษดิเดชชยางกูร    พ.ศ.๒๔๖๙–๒๔๗๓
๘. พระยาศรีเสนา (ฮะสมบัติศิริ)  พ.ศ.๒๔๗๔–๒๔๗๕

๕.๓ ทำเนียบนายอำเภอเมืองภูเก็ต
  ๑. พระยารัตนดิลก(เดช รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐)
   ๒. พระยาอิสราวิชัย(หมี  ณ ถลาง)  ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐)
   ๓. นายเคล้า     ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐)
   ๔. นายโกเมศ     ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) 
   ๕. หลวงรัฐการประสิทธิ์(เปละ)   พ.ศ.๒๔๕๑
   ๖. ขุนชินสถาน     พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๒
   ๗. พระสุนทรวรนารถ(สวัสดิ์ ณ นคร)  พ.ศ.๒๔๕๓ - ๒๔๕๗
   ๘. หลวงพิทักษ์ทวีป(สว่าง มาลกานนท์)  พ.ศ.๒๔๕๗ - ๒๔๕๙
   ๙. พระสุนทรวรนารถ(สวัสดิ์ ณ นคร)  พ.ศ.๒๔๕๙
 ๑๐. หลวงพิทักษ์ทวีป(สว่าง มาลกานนท์)  พ.ศ.๒๔๕๙ - ๒๔๗๖
 ๑๑. หลวงเรืองฤทธิ์รักษาราษฎร์(เซ่ง หัชวนิชย์) พ.ศ.๒๔๗๖ - ๒๔๗๘
 ๑๒. นายทำนุก  รัตนดิลก  ณ  ภูเก็ต  พ.ศ.๒๔๗๙ - ๒๔๘๑
 ๑๓. นายประสงค์  กาญจนดุล   พ.ศ.๒๔๘๑ - ๒๔๘๓
 ๑๔. ขุนบรรกิจรังสรรค์(เฉื่อย  บรรณกิจรังสรรค์) พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๔๘๖
 ๑๕. นายสุข  ก้องสมุทร    พ.ศ.๒๔๘๖ - ๒๔๘๗
 ๑๖. นายเวียง  สาครสินธ์    พ.ศ.๒๔๘๗ - ๒๔๘๙
 ๑๗. นายจำนง  สวัสดิภาพ   พ.ศ.๒๔๙๐
 ๑๘. นายชิต  รัศมิทัต    พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๓
 ๑๙. ร.ต.ท.เชษฐ์  ประทุมสุวรรณ   พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๔๙๖
 ๒๐. ร.ต.ท. ชม  เสวกวรรณ   พ.ศ.๒๔๙๖ - ๒๕๐๙
 ๒๑. นายเสนาะ  เอี่ยมโอภาส   พ.ศ.๒๕๐๙ - ๒๕๑๑
 ๒๒. นายกรันต์  ธนูเทพ    พ.ศ.๒๕๑๑ - ๒๕๑๓
 ๒๓. นายวิชิต  ทัปนวัชร์    พ.ศ.๒๕๑๓ - ๒๕๑๘
 ๒๔. นายชิต  นุ้ยภักดี    พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒๕๒๓
 ๒๕. นายดิเรก  ตันวิรัช    พ.ศ.๒๕๒๓ - ๒๕๒๖
 ๒๖. นายเนิน  ศึกขันเงิน    พ.ศ.๒๕๒๖ - ๒๕๒๙
 ๒๗. นายประวิทย์  สีห์โสภณ   พ.ศ.๒๕๒๙ - ๒๕๓๐
 ๒๘. นายอัครพงศ์  พยัคฆันตร   พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๒
 ๒๙. นายอำนวย  สงวนนาม   พ.ศ.๒๕๓๒ - ๒๕๓๕
 ๓๐. นายวิจารณ์  ก้อนแก้ว   พ.ศ.๒๕๓๕ - ๒๕๓๘
 ๓๑. นายสนิท  อ่อนสันศรี   พ.ศ.๒๕๓๘ - ๒๕๔๐
 ๓๒. นายปัญญา  กิติคุณ    พ.ศ.๒๕๔๐ -

๕.๔ ทำเนียบนายอำเภอและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
       กะทู้
  ๑. ขุนเขตต์ขันธ์ภักดี   นายอำเภอ  ก่อน พ.ศ.๒๔๗๗
  ๒. นายชิ้น     วรคามินทร์  นายอำเภอ  ก่อน พ.ศ.๒๔๗๗
  ๓. นายโป๊ะ   ไลยกุล   นายอำเภอ  ก่อน พ.ศ.๒๔๗๗
  ๔. นายทวน   ศรมณี   นายอำเภอ  ก่อน พ.ศ.๒๔๗๗
  ๕. นายเปล่ง  โพธิสุนทร   นายอำเภอ   พ.ศ.๒๔๗๗–๒๔๗๙
  ๖. ขุนวิภาคคดี     นายอำเภอ  พ.ศ.๒๔๗๙–๒๔๘๑
๗. นายแดง   สงวนนาม  ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่ง  พ.ศ.๒๔๘๑–๒๔๘๔
๘. นายบุญฤกษ์  ปิยกาญจนะ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่ง  พ.ศ.๒๔๘๔–๒๔๘๕
๙. นายสว่าง  บุญปถัมภ์   ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่ง พ.ศ.๒๔๘๗- ๒๔๘๗
๑๐. นายประเสริฐ  วราภรณ์ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่ง  พ.ศ.๒๔๘๗-๒๔๘๙ 
๑๑. นายถนอม  จารุพันธ์ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่ง  พ.ศ.๒๔๘๙– ๒๔๙๑ 
๑๒. นายสมพร ธนสถิตย์ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่ง  พ.ศ.๒๔๙๑–๒๔๙๒
๑๓. นายผ่อง  ชำนาญกิจ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่ง  พ.ศ.๒๔๙๒–๒๕๐๑
๑๔. นายวิจิตร สุระกุล ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่ง     พ.ศ.๒๕๐๒–๒๕๐๔
  ๑๕. นายพาทย์  รัตนพรรณ์  นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๐๔–๒๕๑๓
  ๑๖. นายเกษม  พลชัย  นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๑๔–๒๕๑๗
  ๑๗. ร.ต.จำเนียร  นาจรุง  นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๑๗–๒๕๑๗
  ๑๘. นายวีระชัย  แนวบุญเนียร นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๑๗–๒๕๑๙
   ๑๙. นายวีระ  ลำไยทอง  นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๑๙–๒๕๒๐
  ๒๐. นายมนู  ชูเสน่ห์  นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๒
  ๒๑. นายเนิน  ศึกขันเงิน  นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๒๒–๒๕๒๖
 ๒๒. นายพิสุทธิ์  ตัณฑวัฒน์ นายอำเภอ  พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๙
 ๒๓. ร.ต.วิชิต  อมราสิงห์  นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๒๙–๒๕๓๑
 ๒๔. นายประเสริฐ  กวดกิจการ นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๓๑–๒๕๓๓
 ๒๕. นายเรืองชัย  จงสงวน นายอำเภอ        พ.ศ.๒๕๓๓–๒๕๓๔
 ๒๖. นายอาทร  เพชรรักษ์ นายอำเภอ พ.ศ.๒๕๓๓–๒๕๓๗
 ๒๗. นายสมศักดิ์  แสนยานุภาพ   นายอำเภอ   พ.ศ.๒๕๔๐-     


 ๕.๕ ทำเนียบนายอำเภอถลาง
   ๑. นายเทียบ  นรบาล    ก่อน พ.ศ.๒๔๕๕
    ๒. นายเริก  ณ ตะกั่วทุ่ง    ก่อน พ.ศ.๒๔๕๕
    ๓. นายหนู  บุญเดช    ก่อน พ.ศ.๒๔๕๕
    ๔. ขุนสุนทรวรนาถ (สวัสดิ์  ณ นคร)  ก่อน พ.ศ.๒๔๕๕
    ๕. นายแหม้ว  ชัยศรี    ก่อน พ.ศ.๒๔๕๕
    ๖. นายตาด  ณ  นคร    ก่อน พ.ศ.๒๔๕๕
    ๗. นายเพิ่ม  ขนิษฐานนท์    พ.ศ.๒๔๕๕–๒๔๕๘
    ๘.นายหรั่ง  เพชรรัตน์    พ.ศ.๒๔๕๗–๒๔๕๘
    ๙. นายโป๊ะ  เลขะกุล    พ.ศ.๒๔๕๘–๒๔๕๙
  ๑๐. ขุนพิทักษ์ทวีป(สว่าง มาลกานนท์)  พ.ศ.๒๔๕๙–๒๔๖๐
  ๑๑. ขุนถลางเถลิงศก(เพิ่ม ขนษฐานนท์)  พ.ศ.๒๔๖๐–๒๔๖๔
  ๑๒.รองอำมาตย์โท  ฉะอ้อน เจตนานนท์  พ.ศ.๒๔๖๔–๒๔๖๔
  ๑๓. ขุนอำนาจสิงขร(ตาด ณ นคร)  พ.ศ.๒๔๖๔–๒๔๖๖
  ๑๔. ขุนเขตขันต์ภักดี(แนบ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) พ.ศ.๒๔๖๖–๒๔๖๙
  ๑๕. หลวงเรืองฤทธิ์รักษาราษฎร์(เช่ง หัชชะวณิช) พ.ศ.๒๔๖๙–๒๔๗๐
  ๑๖. ขุนอรรถวิบูลย์(อรรถ  จันทโรจน์วงศ์)  พ.ศ.๒๔๗๐–๒๔๗๑
  ๑๗. หลวงยอดประศาสน์(บุ่น สังขศิริ)  พ.ศ.๒๔๗๑
  ๑๘. หลวงเสนานุวงศ์ภักดี(พิตร ณ ถลาง)  พ.ศ.๒๔๗๑–๒๔๘๐
  ๑๙. ขุนธรรมราชบริหาร(ซิ่วฮก  บุณยะศิวะ) พ.ศ.๒๔๘๐–๒๔๘๔
  ๒๐. นายจำนง       สวัสดิภาพ   พ.ศ.๒๔๘๔–๒๔๙๑
  ๒๑. ร.ต.ท.เชษฐ์   ประทุมสุวรรณ   พ.ศ.๒๔๙๐–๒๔๙๙
  ๒๒. นายถนอม     จารุพันธ์   พ.ศ.๒๔๙๔–๒๔๙๘
  ๒๓. นายสวัสดิ์       สงเคราะห์   พ.ศ.๒๔๙๘–๒๕๐๑
  ๒๔. นายสง่า          โอสถสภา   พ.ศ.๒๕๐๙–๒๕๑๔
  ๒๕. นายชิต            นุ้ยภักดี   พ.ศ.๒๕๑๔–๒๕๑๘
  ๒๖. นายพิสุทธิ์       ตัณฑวัฒน์    พ.ศ.๒๕๑๘–๒๕๒๒
  ๒๗. นายหิรัญ         สังข์ศิริ   พ.ศ.๒๕๒๒–๒๕๒๔
  ๒๘. ร้อยเอกอาวุธ   คีริรัตน์   พ.ศ.๒๕๒๔–๒๕๒๗
  ๒๙. นายประวิทย์    สีห์โสภณ   พ.ศ.๒๕๒๗–๒๕๒๙
  ๓๐. นายชาญวิทย์    แตรประสิทธิ์   พ.ศ.๒๕๒๙–๒๕๓๑
  ๓๑. นายวิจารณ์       ก้อนแก้ว   พ.ศ.๒๕๓๑–๒๕๓๓
  ๓๒. ร้อยเอกอาวุธ    ศิริรัตน์    พ.ศ.๒๕๓๓–๒๕๓๖
  ๓๓. นายอรรถสิทธิ์  มานะกุล   พ.ศ.๒๕๓๖– ๒๕๓๗
  ๓๔. นายวรการ       ยกยิ่ง   พ.ศ.๒๕๓๗–๒๕๓๙
  ๓๕. นายพีระศักดิ์    พูนเดช   พ.ศ.๒๕๓๙–

  ๕.๖ ทำเนียบหัวหน้าหน่วยงานของกรมศิลปากรในจังหวัดภูเก็ต
๕.๖.๑ ทำเนียบผู้อำนวยการสำนักงานโบราณคดี
และพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติที่ ๑๒ อำเภอถลาง ภูเก็ต
๑. นายเอนก  สีหามาตย์  ปี พ.ศ.๒๕๓๘ - ๒๕๔๐
๒. นายอัศวี   ศรจิตติ  ปี พ.ศ.๒๕๔๐ -
๕.๖.๒ ทำเนียบหัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง
๑. นายมนูญ  ทรงกัลยาณวัตร  ปี พ.ศ.๒๕๒๘ - ๒๕๓๐
๒. นายอำไพ  ขันธาโรจน์  ปี พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๒
๓. นายเทือง  สกุลดี  ปี พ.ศ.๒๕๓๒ - ๒๕๓๖
๔. นางมณีรัตน์  ณ นคร  ปี พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๘
๕. นางสาวเสริมกิจ  เพชรมาก ปี พ.ศ.๒๕๓๘ - 


๕.๗  ทำเนียบประธานศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
๑. ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์   ปี พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๒๖
  ๒. รศ. ฉลอง  ภิรมย์รัตน์    ปี พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๘
 ๓. ผศ. วินัย  เพชรช่วย    ปี พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๐
  ๔. ผศ. สุประดิษฐ์  ลิปรัตนสกุล   ปี พ.ศ.๒๕๓๐- ๒๕๓๗
 ๕. ดร. ประภา  กาหยี    ปี พ.ศ.๒๕๓๗ -

๔.๘ เลขานุการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
  ๑. ผศ. อวยชัย  ผกามาศ    ปี พ.ศ.๒๕๒๓ - ๒๕๒๕
 ๒. ดร.จำนง  ลิมปีเจริญ    ปี พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๒๙
 ๓. ผศ. อวยชัย  ผกามาศ    ปี พ.ศ.๒๕๒๙ - ๒๕๓๔
 ๔. ผศ.อรุณศรี กำลัง    ปี พ.ศ.๒๕๓๔ - ๒๕๓๖
  ๔. ผศ. จิรา  ธีรสุวรรณจักร   ปี พ.ศ.๒๕๓๖ - ปัจจุบัน
  
๔.๙ ทำเนียบคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
       ๕.๙.๑.ทำเนียบคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตสมัยที่ ๑
  ๑. นายประจวบ  ไมพานิช  ประธาน
    ๒. นายภิรมย์  ไกรเสม   รองประธาน
   ๓. นายบัญญัติ  จริยะเลอพงษ์  รองประธาน
   ๔. นางสมศรี ศุภศรี   กรรมการ
   ๕. นายเลียบ  ชนะศึก   กรรมการ
   ๖. นายไชยยุทธ  ปิ่นประดับ  กรรมการ
   ๗. นายจำลอง  หลิมจานนท์  กรรมการ
   ๘. นายบัณฑิต  คันฉ่อง   กรรมการ
   ๙. นายสมมิตร สืบสิน   กรรมการ
 ๑๐. นายอารีย์  สมบูรณ์   กรรมการ
 ๑๑. นางวิไล  ตัณฑัยย์   กรรมการ
 ๑๒. นางพิจิตร จักรทอง   กรรมการ
 ๑๓. นางสาวหทัยรัตน์  วิพลชัย  กรรมการ
 ๑๔. นางฉลอง  โพธิ์ทอง   กรรมการ 
 ๑๕. นายสุเทพ  พึ่งแรง   กรรมการ
 ๑๖. นายสมบูรณ์  คู่พงศกร  กรรมการ 
 ๑๗. นางสิธิพร  รัตนโสภา  กรรมการ 
 ๑๘. นางสาวโสภา  ศรอินทร์  กรรมการ 
 ๑๙. นายสมนึก  ลาขัน   กรรมการ
 ๒๐. นายบุญจร  ใจอ่อน   กรรมการ
 ๒๑. นางจำรูญศรี  สมนาม  กรรมการ 
 ๒๒. ผศ. จิรา  ธีรสุวรรณจักร  กรรมการ 
 ๒๓.  นายทฤษฎา  ชาญยนตร์  กรรมการ
 ๒๔. นายนิคม  ทองแช่ม   กรรมการ
 ๒๕. นางสาวเสริมศรี  จงชูวงศ์  กรรมการ
 ๒๖. นายวินัย  ยุคุณธร   กรรมการ
 ๒๗. นางสาวคนึงนิตย์  ศิลป์เจริญ กรรมการ
 ๒๘. นางสาวเสริมกิจ  เพชรมาก  กรรมการ
 ๒๙. ร.ต.ต.อทนอาทิตย์  ดารานนท์  กรรมการ 
๓๐. นายธีรวัฒน์ ธีรรัฐพล  กรรมการ
 ๓๑. นางสาวเอื้อมพร  จิรกาลวิศัลย์  กรรมการ 
 ๓๒. นางเจียรศรี  บุญเกื้อ  กรรมการ
 ๓๓. นายอัมพร  โภคา   กรรมการเลขานุการ
 ๓๔. นายฉ่ำ  ชัยศรี   กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ
 ๓๕. นายทวีวัฒน์  ทองเจิม  กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ
 
        ๕.๙.๒.ทำเนียบคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตสมัยที่ ๒
  ๑. นายประจวบ   ไมพานิช    ที่ปรึกษา
  ๒. นายภิรมย์  ไกรเสม   ประธาน
   ๓. นายสุรพจน์  มิตรารัตน์  รองประธาน
   ๔. นายไชยยุทธ  ปิ่นประดับ  รองประธาน
   ๕. นายเลียบ  ชนะศึก   รองประธาน 
   ๖. นายนิทัศน์  สระมุณี   กรรมการ
   ๗. นายมานิตย์  เกษตริกกะ  กรรมการ
   ๘. นางแก้วตา  อุปัตติศฤงค์  กรรมการ
   ๙. นางสุเทพ  พึ่งแรง   กรรมการ
 ๑๐. นายสมบูรณ์  คู่พงศกร  กรรมการ
 ๑๑. นางสิริพร  รัตนโสภา  กรรมการ
 ๑๒. นางจำรูญศรี  สมนาม  กรรมการ
 ๑๓. นางสาวอรศิริ  รักแต่งาม  กรรมการ 
 ๑๔. นายบำรุง  สำเภารัตน์  กรรมการ
 ๑๕. นางสาวสมใจ  สุวรรณศุภพนา กรรมการ 
 ๑๖. นายหิรัญ  เทพสิริอำนวย  กรรมการ
 ๑๗. นางยอดสร้อย  ดีชัยยะ  กรรมการ
 ๑๘. ร.ต.ต.พัฒน์  เรืองเอียด  กรรมการ
 ๑๙. นางพิจิตร  จักรทอง   กรรมการ
 ๒๐. นางวิไล  ตัณฑัยย์   กรรมการ
 ๒๑. นางฉลอง  มีสุข   กรรมการ
  ๒๒. นางสาวหทัยรัตน์  วิพลชัย  กรรมการ
 ๒๓. นายปรีดี  ธนปรีดากุล  กรรมการ
 ๒๔. นายเสริมศักดิ์  ปิยธรรม  กรรมการ
 ๒๕. นายจิรวิทย์  ปิติกุลสถิตย์  กรรมการ
  ๒๖. นายนายบัญญัติ  จริยะเลอพงษ์ กรรมการ
 ๒๗. ไมตรี ฉายสบัด   กรรมการ
 ๒๘. นางสมศรี ศุภศรี   กรรมการ
 ๒๙. นายบุญเลิศ  พรมบุตร  กรรมการ
 ๓๐. นายศิริ  ประกอบกิจ   กรรมการ
 ๓๑. ศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต  เลขานุการ
 ๓๒. ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต ผู้ช่วยเลขานุการ
 ๓๓.หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการศาสนาและวัฒนธรรม ผู้ช่วยเลขานุการ

 ๕.๑๐ ทำเนียบคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอกะทู้
   ๑. นายไชยยุทธ  ปิ่นประดับ  ประธาน
    ๒. นายคำนำ  นุ่มพิจิตร   รองประธาน
    ๓. นายสะอาด  ค่าตะหลา  รองประธาน
  ๔. นายอภิเชษฐ์  ช่วยชูวงศ์  ปฏิคม
    ๕. นางสาวหทัยรัตน์  วิพลชัย  ปฏิคม
    ๖. นายวิรัช  ประดิษฐ์   นายทะเบียน
    ๗. นายประชา  เมธาภัทรพันธุ์  นายทะเบียน
    ๘. นายไชยา  ตามชู   ประชาสัมพันธ์
    ๙. นายไมตรี  ฉายสบัด   กรรมการ เหรัญญิก
  ๑๐. นายดำรัส  กมลนุสรณ์  ประชาสัมพันธ์ฯ
  ๑๑. นายอนุรักษ์  รุ่งเรือง   เลขาธิการ 
  ๑๒. นายอรุณ  แป้นคง   ผู้ช่วยเลขาธิการ
  ๑๓. นายอดุลย์  จันทร์พิบูลย์  ผู้ช่วยเลขาธิการ
 ๕.๑๑ ทำเนียบคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอเมือง(ชุดแรก)
   ๑. นายสุรพจน์   มิตรารัตน์  ประธาน
    ๒. นางวิภาดา อร่ามเมธาพงศา  รองประธาน
    ๓. นายขัมน์  สุขาพันธ์   รองประธาน
  ๔. นายสมภพ  ยวงใย   ฝ่ายประชาสัมพันธ์
    ๕. นางสาวสุทธิลักษณ์  มณีศรี  ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
    ๖. นายประสิทธิ์  ธีรนิตยภาพ  ฝ่ายปฏิคม
    ๗. นายประพันธ์  สงวนพร  ฝ่ายปฏิคม
    ๘. นายณรงค์  ประดิษฐ์  ฝ่ายปฏิคม
    ๙. นางวิไล  ตัณฑัยย์   ฝ่ายปฏิคม
  ๑๐. นายทวี  สงวนนาม   ฝ่ายเหรัญญิก
  ๑๑. นายติว  รุจีมาศ   ฝ่ายเหรัญญิก
  ๑๒. นายอัมพร  กุลวิจิตร   ฝ่ายจัดหารายได้
  ๑๓. นายยุพดี  คู่พงศกร   ฝ่ายจัดหารายได้
  ๑๔. นางเหลี่ยนบี้  แซ่หลิม  ฝ่ายจัดหารายได้
  ๑๕. นางนิตยา  แก้วจันทร์  ฝ่ายจัดหารายได้
  ๑๖. นางจรูญรัตน์  ตัณฑวณิช  ฝ่ายจัดหารายได้
  ๑๗. นายนุกูล  บัญชา   ฝ่ายกิจกรรม
  ๑๘. นางละมัย  ใจเขียว   ฝ่ายกิจกรรม
  ๑๙. นายประสิทธ์  ศิริวัฒนวิจิตร  ฝ่ายกิจกรรม
  ๒๐. นายกระจ่าง  อยู่สุข   ฝ่ายกิจกรรม
  ๒๑. นายอุทัย  มณีศรี   ฝ่ายกิจกรรม
  ๒๒. นางสำรวย  เถาว์แดง  ฝ่ายกิจกรรม
  ๒๓. นางนิ่มนวล  องค์สันติภาพ  ฝ่ายกิจกรรม
  ๒๔. นางสาวจำปา  รู้คุณ   ฝ่ายกิจกรรม
  ๒๕. นายไพโรจน์ ชัยชำนาญ  ฝ่ายเลขานุการ
  ๒๖. นายบุญเลิศ  รัตนประทุมวงศ์ ผู้ช่วยเลขาฯ
๕.๑๒ ทำเนียบคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง  
   ๑. นายเลียบ  ชนะศึก   ประธาน
    ๒. นายบุญชู  มานะเสรี   รองประธาน
    ๓. นางวันดี  สุจริตธรรม   รองประธาน
    ๔. นายพัฒน์  จันทร์แก้ว  กรรมการ
    ๕. นายสมัคร  สำเภารัตน์  กรรมการ
    ๖. นายไสว  เดชทองคำ   กรรมการ
    ๗. นายนเรนทร์  รอดนคเรศน์  กรรมการ
    ๘. นางสโรชิน  นรบาล   กรรมการ
    ๙. นายฤกษ์  ขนิษฐานาม  กรรมการ
  ๑๐. นายบรรเจิด ประทีป ณ ถลาง กรรมการ
  ๑๑. นายยุนันท์  พันธ์ทิพย์  กรรมการ
  ๑๒. นายพิชัย  ณรงค์ทอง  กรรมการ
  ๑๓. นางสาวพรรณี  เครือพานิช  กรรมการ
  ๑๔. นายเสน่ห์  วงษ์คำแหง  กรรมการ
  ๑๕. นายไพรัช  เครือศึก   กรรมการ
  ๑๖. นายเจียร  ถิรินทรพงศ์  กรรมการ
  ๑๗. นางผ่องศรี  อารีราษฎร์  กรรมการ
  ๑๘. นายบุญเรือง  คงนาม  กรรมการ
  ๑๙. นายโอภาส  พรหมวิลัย  กรรมการเลขานุการ
  ๒๐. นายคำนึง  สิงห์เอี่ยม  กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ
  ๒๑. นายนิคม  ปานมี   กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ
  ๒๒. นายยืนยง  ชนะศึก   กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ

๕.๑๓ ทำเนียบนายกเทศมนตรี
๕.๑๓.๑ ทำเนียบนายกเทศมนตรีเมืองภูเก็ต
  ๑. หลวงพิทักษ์ทวีป(สว่าง  มาลกานนท์)  พ.ศ.๒๔๗๙
  ๒. หลวงพิทักษ์ทวีป(สว่าง  มาลกานนท์)  พ.ศ.๒๔๗๙
  ๓. หลวงพิทักษ์ทวีป(สว่าง  มาลกานนท์)  พ.ศ.๒๔๘๐
  ๔. หลวงพิทักษ์ทวีป(สว่าง  มาลกานนท์)  พ.ศ.๒๔๘๒
  ๕. ขุนประเทศจีนนิกร(กวนฮก  ตัณทัยย์)  พ.ศ.๒๔๘๓
  ๖. นายประเทศ  น. ตันทัย    พ.ศ.๒๔๘๗
  ๗. ขุนบำรุงจีนประเทศ(เติม  ตันทัยย์)  พ.ศ.๒๔๘๘
  ๘. ขุนทวีปวัฒนวิจารณ์(เฉลิมชัย ท.จันทร์เพ็ญ) พ.ศ.๒๔๘๙
  ๙. นายวิรัช  หงษ์หยก    พ.ศ.๒๔๙๓
๑๐. นายกิตติ  ตัณฑวณิช   พ.ศ.๒๔๙๖
๑๑. นายกิตติ  ตัณฑวณิช   พ.ศ.๒๔๙๗
๑๒. นายศิลป์  บุณยขจร    พ.ศ.๒๔๙๘
๑๓. ขุนบำรุงจีนประเทศ    พ.ศ.๒๕๐๑
๑๔. ร.ต.ต. นคร  เมนะคงคา   พ.ศ.๒๕๐๒
๑๕. นายวิญญู  อังคณารักษ์   พ.ศ.๒๕๐๕
๑๖. นายฉลอง  วัชรากร    พ.ศ.๒๕๐๕
๑๗. นายไมตรี  บุญสูง    พ.ศ.๒๕๑๑
๑๘. นายไมตรี  บุญสูง    พ.ศ.๒๕๑๔
๑๙. นายเกษม  สุทธางกูร   พ.ศ.๒๕๑๘
๒๐. นายชิต  นุ้ยภักดี    พ.ศ.๒๕๑๘
๒๑. นายเกษม  สุทธางกูร   พ.ศ.๒๕๑๘
๒๒. นายเกษม  สุทธางกูร   พ.ศ.๒๕๒๓
๒๓. นายอติ  ธารสิริโรจน์    พ.ศ.๒๕๒๘
๒๔. ร.ท.ภูมิศักดิ์  หงษ์หยก   พ.ศ.๒๕๓๓
๒๕. ร.ท.ภูมิศักดิ์  หงษ์หยก   พ.ศ.๒๕๓๘
 

 ๕.๑๓.๒ ทำเนียบนายกเทศมนตรีตำบลป่าตอง
  ๑. นายเปี่ยน  กี่สิ้น     พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๙
  ๒. ดร.อนันต์  อนันทวัฒน์    พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๔๑
  ๓. นายเปี่ยน  กี่สิ้น     พ.ศ.๒๕๔๑ -

๕.๑๔ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต
 ๑. พระพิไสยสุนทรการ(แปรง ณ ถลาง) 
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดภูเก็ต
เมื่อ ๑๕ พ.ย. ๒๔๗๖
 ๒. ขุนชินสถานพิทักษ์(ตันยู่อี่ ตัณฑวณิช)  เมื่อ    ๗ พ.ย. ๒๔๘๐
 ๓. นายชิต  เวชประประสิทธิ์   เมื่อ ๑๒ พ.ย. ๒๔๘๑
 ๔. นายชิต  เวชประสิทธิ์    เมื่อ    ๖ ม.ค. ๒๔๘๙
 ๕. ขุนประเทศจีนนิกร(ก่วนฮก ตัณทัยย์)  เมื่อ ๒๙ ม.ค. ๒๔๙๑
 ๖. นางแร่ม  พรหมโมบล บุณยประสพ  เมื่อ ๒๖ ก.พ. ๒๔๙๕
 ๗. นายสตางค์  พุทธรักษา   เมื่อ ๒๕ ก.พ. ๒๕๐๐
 ๘. นางแร่ม  พรหมโมบล  บุณยประสพ  เมื่อ ๑๕ ธ.ค.  ๒๕๐๐
 ๙. นายชิต  เวชประสิทธิ์     เมื่อ ๑๐ ก.พ.  ๒๕๑๓
 ๑๐. นายอมรศักดิ์  องค์สรณคม   เมื่อ ๒๖ ม.ค.  ๒๕๑๒
 ๑๑. นายเอี่ยมศักดิ์  ลิ่มสมบูรณ์   เมื่อ     ๑ เม.ย.๒๕๑๙
 ๑๒. นายจรูญ  เสรีถวัลย์    เมื่อ ๒๒ เม.ย. ๒๕๒๒
 ๑๓. นายจรูญ  เสรีถวัลย์    เมื่อ ๑๘ เม.ย. ๒๕๒๖
 ๑๔. นายเรวุฒิ  จินดาพล   เมื่อ ๒๗ ก.ค. ๒๕๒๙
 ๑๕. นายเรวุฒิ  จินดาพล   เมื่อ ๒๔ ก.ค. ๒๕๓๑
 ๑๖. นายเรวุฒิ  จินดาพล    เมื่อ ๒๒ มี.ค. ๒๕๓๕
 ๑๗. นางอัญชลี  วานิช    เมื่อ  ๑๓  ก.ย.๒๕๓๕
 ๑๘. นางอัญชลี  วานิช(เทพบุตร)   เมื่อ    ๒ ก.ค. ๒๕๓๘
 ๑๙. นางอัญชลี   วานิช(เทพบุตร)   เมื่อ ๑๗  พ.ย. ๒๕๓๙
 


๕.๑๕ นายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดภูเก็ตคนแรก(อบจ.)
นายบันลือ ตันติวิท(ได้กล่าวประวัติไว้ในตอนอื่นแล้ว)
 
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑-

๕.๑๖ ทำเนียบศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต
๑. นายนะหุษ  รักแต่งาม   พ.ศ.๒๔๗๐ - --------------
๒. ขุนประศาสน์นนทวิทย์  --------------- - --------------
๓. ขุนอนุภาษ(ถม)   ---------------  พ.ศ.๒๔๘๙
๔. นายม้วน  วุฒิภาพ   พ.ศ.๒๔๘๙ - พ.ศ.๒๔๙๓
๕. นายสังข์  รักษ์มณี   พ.ศ.๒๔๙๓  - --------------
๖. นายจำรัส  สักรวัตร   พ.ศ.--------- - พ.ศ.๒๔๙๘
๗. นายเชื้อ  สุขาพันธ์   พ.ศ.๒๔๙๘ - พ.ศ.๒๕๐๙
๘. นายเชาวน์  สิงหะผลิน  พ.ศ.๒๕๐๙ - พ.ศ.๒๕๑๘
๙. นายสวง  กาญจนากร   พ.ศ.๒๕๑๘ - พ.ศ.๒๕๑๘
๑๐. นายสุพาสน์  ศิริพันธ์    พ.ศ.๒๕๑๘ - พ.ศ.๒๕๒๓
๑๑. นายโชติ  แย้มแสง   พ.ศ.๒๕๒๓ - พ.ศ.๒๕๒๖
๑๒. นายสุวรรณ  กู้สุจริต   พ.ศ.๒๕๒๖ - พ.ศ.๒๕๒๗
๑๓. นายพรพิทยา  แก้วสามสี  พ.ศ.๒๕๒๗ - พ.ศ.๒๕๓๑
๑๔. นายจำลอง  สวนะคุณานนท์  พ.ศ.๒๕๓๑  - พ.ศ.๒๕๓๓
๑๕. นายสนั่น  ปรุงศิลป์   พ.ศ.๒๕๓๓ - พ.ศ.๒๕๓๕
๑๖. นายอัมพร  โภคา   พ.ศ.๒๕๓๕ -

๕.๑๗ ทำเนียบรายชื่อประธานกรรมการสุขาภิบาล  ในเขตจังหวัดภูเก็ต
ที่มาจากการเลือกตั้ง
๑. สุขาภิบาลกะรน  นายทวี  ทองแช่ม   ปี พ.ศ.๒๕๓๕
๒. สุขาภิบาลเชิงทะเล นายสุนิรันดร์  ราชตะพฤกษ์  ปี พ.ศ.๒๕๓๙
๓. สุขาภิบาลเทพกระษัตรี  นายวัชระ  สมบัติ    ปี พ.ศ.๒๕๓๘
๔. สุขาภิบาลกะทู้     ๑. นายสำราญ  แป๊ะสกุล   ปี พ.ศ.๒๕๓๗
                           ๒. นายสุเทพ  สงวนปานนท์  ปี พ.ศ.๒๕๓๙

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1565
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2221
mod_vvisit_counterทั้งหมด10648933