Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow ไดโนเสาร์มีเขายาว
ไดโนเสาร์มีเขายาว PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 06 มิถุนายน 2010
พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ตัวใหญ่เขายาวสุดๆ ในเม็กซิโก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์2 มิถุนายน 2553 11:49 น.

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ภาพจำลองลักษณะหน้าตาของไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ Coahuilaceratops magnacuerna ที่มีเขายาวที่สุดเท่าที่เคยพบมา (เอเอฟพี)

พบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ในทะเลทรายของเม็กซิโก มีเขายาวโดดเด่นเป็นเอกลักณ์ วัดอายุได้ในยุคครีเตเชียสตอนปลาย นักวิทย์เผยดินแดนเม็กซิโกยังมีฟอสซิลไดโนเสาร์รอให้พบอีกมาก เชื่อเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญช่วยไขปริศนาแผ่นดินเม็กซิโกยุคโบราณ
       
       นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah) สหรัฐอเมริกา เปิดเผยถึงการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่อายุ 72 ล้านปี ในประเทศเม็กซิโก เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา นับว่าเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่มีเขายาวที่สุดเท่าที่เคยสำรวจพบ ซึ่งทีมวิจัยกำลังจะตีพิมพ์หนังสือบันทึกรายละเอียดของการสำรวจครั้งนี้ในสัปดาห์หน้า
       
       ในระหว่างการสำรวจหาซากดึกดำบรรพ์ในเขตทะเลทรายโกอาวีลา (Coahuila desert) ประเทศเม็กซิโก ระหว่างปี 2002-2003 ด้วยการสนับสนุนของสมาคมเนชันแนลจีโอกราฟิก (National Geograpic Society) และมหาวิทยาลัยยูทาห์ ทีมนักวิจัยก็ค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งซึ่งมีทั้งฟอสซิลของไดโนเสาร์ตัวเต็มวัย และไดโนเสาร์รุ่นเยาว์ที่มีขนาดประมาณแรดในปัจจุบัน
       
       เมื่อศึกษาซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบตามหลักทางวิทยาศาสตร์ทำให้นักวิจัยรู้ว่าฟอสซิลดังกล่าวเป็นของไดโนเสาร์กินพืชสปีชีส์ใหม่ที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 6.7 เมตร มีความสูงราว 1.8 เมตร น้ำหนักราว 4.5 ตัน และมีลักษณะเด่นคือมีเขายาวถึง 1.22 เมตรงอกออกมาจากบริเวณเหนือดวงตาทั้งสองข้างยาว นับว่าเป็นไดโนเสารห์เขายาวที่สุดเท่าที่เคยพบ ซึ่งนักวิจัยให้ชื่อสปีชีส์ว่า โกอาวีลาเคราโทพส์ แมกนาเคอร์นา (Coahuilaceratops magnacuerna)
       
       "เรารู้เรื่องไดโนเสาร์ในเม็กซิโกน้อยมาก ซึ่งการค้นพบนี้เพิ่มองค์ความรู้ให้แก่เราเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่เคยมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินเม็กซิโกในยุคครีเตเชียสตอนปลายอย่างประมาณมิได้" คำบอกเล่าในเอเอฟพีของมาร์ค โลเวน (Mark Loewen) หัวหน้าทีมวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยายูทาห์ (Utah Museum of Natural History) ซึ่งในยุคสมัยที่ไดโนเสาร์ยังมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินเม็กซิโกบริเวณดังกล่าวมีสภาพเป็นปากแม่น้ำที่มีความชุ่มชื้นคล้ายกับชายฝั่งของอ่าวสหรัฐฯ (US Gulf Coast) ในปัจจุบัน
       
       ทั้งนี้ ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์จำนวนมากถูกพบในบริเวณที่เต็มไปด้วยฟอสซิลของทากและหอยกาบทะเล ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าไดโนเสาร์มักอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล
       
       นอกจากนั้นชั้นหินที่นักวิทยาศาสตร์พบไดโนเสาร์ Coahuilaceratops ยังเต็มไปด้วยซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ปากเป็ดที่ทับถมกันอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งนักวิจัยสันนิษฐานว่าไดโนเสาร์เหล่านี้อาจจะจบชีวิตพร้อมกันทั้งหมดในขณะที่มีพายุเฮอริเคนพัดกระหน่ำในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งในยุคครีเตเซียสตอนปลายเมื่อช่วงประมาณ 97-65 ล้านปีที่แล้ว ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงกว่าในปัจจุบัน จึงเกิดน้ำท่วมแผ่นดินอเมริกากลางได้อย่างง่ายดาย
       
       "เรามั่นใจว่าฟอสซิบไดโนเสาร์ที่พบในเม็กซิโกจะเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญในการไขปริศนาโบราณของแผ่นดินทวีปที่เป็นเกาะแห่งนี้" สกอต แซมพ์สัน (Scott Sampson) นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยายูทาห์ กล่าว

ข่าวล่าสุด ในหมวด
พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ตัวใหญ่เขายาวสุดๆ ในเม็กซิโก
พบสะพานส่งน้ำโบราณในเยรูซาเลม ย้อนเวลาถึงยุค “พระเยซู”
ย้อนเผ่าพันธุ์ "มนุษย์โบราณ" ในไทย
"คน" กับ "ลิง" สิ่งมีชีวิตคู่ขนาน
ส่วนหนึ่งของเราคือ มนุษย์ "นีอันเดอร์ทัล"

 

อ้างอิง

http://www.norsorpor.com/ข่าว/n2041607/10%20ภาพลวงที่คุณไม่ควรเชื่อสายตาตัวเอง

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1535
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1659
mod_vvisit_counterทั้งหมด10720794