Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow ครูมีหน้าที่สอนคนให้เกิดการเรียนรู้
ครูมีหน้าที่สอนคนให้เกิดการเรียนรู้ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 26 กุมภาพันธ์ 2010
วันพฤหัสบดี ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553

สอนคน ต้องตรงเป้า

Posted by Dr.Kaew , ผู้อ่าน : 89 , 08:50:47 น.  
หมวด : การศึกษา 

 
 
ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ในเรื่องงานฝึกอบรม หลักสูตรและการสอน เพื่อเสริมสร้างและเติมเต็มให้กับครูและนักฝึกอบรม เป็นเวทีแลกเปลี่ยนในเรื่องการศึกษา เป็นชุมชน Online ของครูไทยในโลกของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน
Permalink : http://www.oknation.net/blog/learning  

 

Training (การฝึกอบรม) และ Education (การศึกษา) ต่างมีเป้าหมายเดียวกันคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปตามผู้สอนตั้งใจไว้  โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ
ผู้เรียน ผู้สอนต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะพัฒนาพฤติกรรมใดเพื่อเป้าหมายในการสอนและประเมินผล

การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในแผนการสอนเพื่อฝึกอบรมพนักงานจะทำให้ผู้สอนรู้ว่าเมื่อจบหลักสูตรแล้วผู้เรียนจะได้อะไรกลับไป และผู้สอนเองก็มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะสอนหัวข้ออะไร เพื่อผู้สอนสร้างเนื้อหาและกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้โดยง่าย ไม่สับสน โดยเฉพาะผู้สอนที่มีองค์ความรู้มากมายมักจะเลือกไม่ถูกว่าจะเอาหัวข้อใดสอน เพราะมันน่าสอนไปหมด หากเรามีเป้าหมายเป็นตัวตั้งไว้ก่อนว่าหัวข้อและกิจกรรมใดตอบโจทย์ของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมได้ดีที่สุด จะได้เลือกใช้หัวข้อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่เราตั้งไว้

ปัญหาของ Trainer ส่วนใหญ่มักไม่รู้จะเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมอย่างไร  ทำให้ไม่อยากทำแผนการสอน ซึ่งถ้าท่านไม่ทำแผนการสอนก็เหมือนดาราไม่มีบท (Script) ในการแสดง ยิ่งถ้าเป็นวิทยากรมือใหม่ไม่มีแผนการสอน โอกาสตกม้าตายมีสูง หรือแม้แต่ Trainer มือเก่าเองถ้าไม่เตรียมตัวหรือไม่เตรียมแผนการสอนที่ดีก็มีโอกาสพลาดได้เช่นกัน

หัวใจของแผนการสอน คือ วัตถุประสงค์ที่เราต้องวางเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนว่าจะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับใด โดยผมขอยกทฤษฎีการเรียนรู้ของ Benjamin S. Bloom  ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มพฤติกรรมทางสมองที่ออกแบบทฤษฏี Bloom’s Taxonomy และได้รับการพัฒนาต่อยอดโดย Lorin Anderson ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Bloom  ซึ่งช่วยให้การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านความรู้ ความจำ(Cognitive Domain) สามารถประเมินผลผู้เรียนได้ชัดเจนมากขึ้น

จากภาพด้านบนจะเห็นว่า ผู้เรียนเริ่มจากการรับรู้เพื่อเรียนรู้จากเรื่องที่ง่ายไปหายาก ให้ผู้เรียนได้จดจำก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ความเข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า จนผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆได้เอง โดยผู้สอนต้องพิจารณาว่าจะสอนผู้เรียนให้รับรู้ได้ในระดับใดเพื่อนำมาเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยเลือกใช้คำต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับขั้นการรับรู้ในการเขียนวัตถุประสงค์
ได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 จำ : ให้คำจำกัดความ (Define),จำลอง (Duplicate),จัดทำรายการ(List),จดจำ(Memorize),ระลึก(Recall),พูดซ้ำ (Repeat),คัดลอก(Reproduce State)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนจดจำบัตรเครดิตได้
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนจำรูปลักษณะของบัตรเครดิตต่าง ๆ ที่บริษัทรับบริการ)

ขั้นที่ 2 เข้าใจ : แยกหมวดหมู่(Classify),บรรยาย(Describe),อภิปราย(Discuss),ชี้แจงเหตุผล(Explain),จำแนก(Indentify),หาแหล่งที่ตั้ง(Locate),จำแนกออก(recognize),รายงาน(Report),คัดสรร(Select),แปลความ(Translate),การถอดความ(Paraphrase)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนบรรยายลักษณะของบัตรเครดิตได้ 
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนบรรยายได้ว่าลักษณะของบัตรเครดิตมีสัญลักษณ์หรือรูปแบบลักษณะใดบ้าง)

ขั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้ : เลือก(Choose),แสดง(Demonsrate),ละคร(Dramatize),บริการอาชีพ(Employ),อธิบายพร้อมตัวอย่าง (Illustrate),ปฏิบัติการ(Operate),กำหนดการทำงาน(Schedule),ร่าง(Sketch),แก้ปัญหา(solve),ใช้(Use),เขียน(Write)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนสามารถแจ้งสิทธิประโยชน์เมื่อลูกค้าใช้บัตรเครดิตได้ถูกต้อง
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนเลือกรับบัตรเครดิตจากลูกค้าและให้คำแนะนำสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ กับลูกค้า โดยแสดงบทบาทสมมุติ หรือใช้เกมโดยให้เลือกว่าจะรับบัตรใบนี้หรือไม่ เป็นต้น)

ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ : ประเมินค่า(Appraise),เปรียบเทียบ(Compare),แตกต่าง(Contrast),วิจารณ์(Criticize),จำแนก(Differentiate),แบ่งแยก(Discriminate),วินิจฉัย(Distinguish),ตรวจสอบ(Examine),ทดลอง (Experiment)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนจำแนกความแตกต่างของบัตรเครดิตและบัตรประเภทต่าง ๆ ได้ (เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนแยกแยะบัตรประเภทต่าง ๆ ที่ร้านรับบริการ เพื่อสิทธิ์ของลูกค้าที่แตกต่างกันตามสิทธิ์ของบัตรแต่ละประเภท เช่น บัตรเครดิต , บัตรส่วนลด , บัตรพนักงานที่เป็นส่วนลดได้  เป็นต้น

ขั้นที่ 5 ประเมินค่า : ประเมินค่า(Appraise),อภิปราย(Argue),แก้ต่าง(Defend),พิจารณาตัดสิน(Judge),เลือก(Select),สนับสนุน(Support),ให้คุณค่า(Value),ประเมินค่า(Evaluation)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์  : ผู้เรียนอภิปรายถึงข้อดีในการใช้บัตรเครดิตของลูกค้าได้
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนเชียร์ลูกค้าให้ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสด เพื่อเพิ่มยอดขายและสะสมแต้มของลูกค้า)

ขั้นที่ 6 สร้างสรรค์ : รวบรวม(Assemble),สร้าง(Construct),สร้างสรรค์(Creat),ออกแบบ(Design),พัฒนา(Develop),คิดสูตร-คิดระบบ(Formulate),เขียน(Write)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนสามารถวางแผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายจากการใช้บัตรเครดิตของลูกค้าได้
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนคิดแผนการตลาดใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายที่ใช้จ่ายร่วมกับบัตรเครดิต)

การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแผนการสอนต้องพิจารณาว่าเราต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับใดโดยดูจากนโยบายบริษัท เช่น จาก Job Description หรือ Competency เป็นต้น
โดยพิจารณาถึงเวลาการฝึกอบรมว่ามีมากน้อยแค่ไหนด้วย เพราะถ้าเราตั้งวัตถุประสงค์ในระดับขั้นสูงเกินไป เช่น ผู้เรียนเป็นพนักงานเสิร์ฟที่เรียนรู้ในระดับขั้นที่ 2 ก็เพียงพอตามลักษณะงานประจำที่ทำ คือ “บรรยายลักษณะของบัตรเครดิตได้”  แต่วัตถุประสงค์เราเขียนในแผนการสอนถึงระดับขั้นที่ 6 คือ “สามารถวางแผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายจากการใช้บัตรเครดิตของลูกค้าได้”  ก็เกินความจำเป็นและสูญเสียทรัพยากรโดยใช่เหตุ เช่น เสียเวลาที่ต้องใช้ฝึกอบรม เพราะกว่าพนักงานเสิร์ฟจะเข้าใจตามวัตถุประสงค์ถึงระดับขั้นที่ 6 ซึ่งยากกว่าในระดับขั้นที่ 2 มาก  คงใช้เวลาอบรมกันหลายวัน แทนที่จะนำเวลาที่มีฝึกอบรมในเรื่องที่จำเป็นในเนื้องานที่ทำจริง ๆ

 

อ้างอิง

http://www.norsorpor.com/go2.php?t=m&u=http%3A%2F%2Fwww.oknation.net%2Fblog%2Flearning%2F2010%2F02%2F25%2Fentry-1

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้480
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1980
mod_vvisit_counterทั้งหมด10696746