Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow เงินตราในหัวเมืองสงขลา
เงินตราในหัวเมืองสงขลา PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 04 กุมภาพันธ์ 2010

เงินตราในหัวเมืองสงขลา

 

 
 
ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือชื่อว่าชีวิวัฒน์มาครับซึ่งพี่ CVTบ้านโป่งได้กรุณาสแกนไว้ให้เมื่อนานมาแล้ว  นิพนธ์โดย สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์เดช โดยนิพนธ์ในเชิงรายงานการตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ซึ่งมีเกร็ดเกี่ยวกับเมืองสงขลาในยุคนั้นมากมายครับ  และได้มีการกล่าวถึงเงินตราที่ใช้ในหัวเมืองสงขลาดังที่ผมจะขอยกมาให้ได้ อ่านกันเพื่อเป็นความรู้ดังนี้ครับ

“...จำนวนเงินตราที่ใช้ในเมือง สงขลานี้  เป็นเงินเหรียญแมกสิกันและใช้เบี้ยตะกั่วเป็นรูกลาง  ที่เก็บได้มีอยู่ ๖ ชนิด  กลมคล้ายแปะจีนกว้างสูญไส้ ๒ นิ้วย่อมกระเบียดน้อย  รูกลางกว้างสูญไส้กึ่งนิ้วบ้าง ไม่ถึงกึ่งนิ้วบ้าง  กึ่งนิ้วกับกระเบียดน้อยบ้าง  อย่างหนึ่งหน้าหนึ่งมีอักษรไทยข้างบนว่าสง  ข้างล่างว่าขลา  มีอักษรแขกแทรกอยู่ ๒ ข้าง  อีกหน้าหนึ่งมีอีกษรจีนแทรกอยู่  ๔ ตัว  อย่างหนึ่งเหมือนกันแต่อักษรเล็ก  อย่าหนึ่งหน้าหนึ่งมีอักษรไทยว่าสงขลา  ข้างล่างว่าศักราช ๑๒๔๑ มีอักษรแขกอยู่ ๒ ข้าง ด้านหนึ่งมีอักษรจีน ๔ ตัว อย่างหนึ่งเหมือนกันแต่เปลี่ยนศักราช ๑๒๔๒ อย่างหนึ่งเหมือนกันแต่อักษรเล็ก อย่างหนึ่งเหมือนกันแต่เปลี่ยนศักราช ๑๒๔๓  ราคาเบี้ย ๑๒๐  เป็น ๔ ก้อนเป็นโขก ๒ โขก  เป็นเหรียญแมกสิกัน  เงินบาทก็ใช้ได้เหมือนกัน  แต่ไม่ใคร่จะมีเงินบาทและอัฐใช้…”

จะเห็นได้ว่าเงินตราในเมืองสงขลานั้นมีหลายประเภท เช่น เงินเหรีญแมกสิกัน อีแปะจีน เงินบาทไทย
ส่วนหน่วยของเงินตรานั้นก็มีหลายหลายเช่น เบี้ย ก้อน โขก ซึ่งเทียบหน่วยได้ดังนี้
๑ โขก = ๒ ก้อน = ๖๐ เบี้ย
หรือ ถ้าเทียบกับเงินก้อนจะได้เป็น ๑ ก้อน = ครึ่งโขก = ๓๐ เบี้ย นั่นเอง

และนี่เองทำให้ผมเกิดความสงสัยกับคำว่า ก้อน และโขก เพราะไม่ค่อยคุ้นหูนักในหน่วยเงินตรานี้
ความคิดเห็นที่ 1  

จากนั้นผมไปค้นเพิ่มเติม ก็ไปเจอคำอธิบายจากหนังสือ เล่าเรื่องเมืองใต้ ของท่านอาจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ ดังนี้ครับ

“...คำ ว่า ก้อน เป็นมาตราเงินโบราณของชาวใต้หลายท้องถิ่น เช่นสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง โดยกำหนด ๑ ก้อนเท่ากับ ๒๕ สตางค์ ยกเว้นที่สงขลา ๑ ก้อน เท่ากับ ๑๕ สตางค์ นอกจากก้อนแล้ว บางท้องถิ่นยังมีคำว่าโขก เช่นที่สงขลาและพัทลุง กำหนด ๑ โขก เท่ากับ ๕๐ สตางค์ บางท้องถิ่น ๑ โขก เท่ากับ ๖ สลึง หรือ ๑ บาท

ขุนศิลปกิจจพิ สัณห์ (ผัน ศุภอักษร) ซึ่งมรณกรรมปี ๒๕๑๙ ท่านเคยเสนอบทความเรื่องเงินตราภาคใต้ ตอนหนึ่งกล่าวถึงคำว่า ก้อน น่าจะมาจากมาตราเงินในมลายูในอดีตว่า เกอะเนอะรี (Kenderi) ซึ่งมลายูยืมคำทมิฬออกเสียงเพียงสองพยางว่า กนรี หรือ ก้อนรี (Kenri) ซึ่งคำนี้เองน่าจะมาเป็นก้อน ในภาษาไทยถิ่นใต้

ขุนศิลปกิจจพิสัณห์ ยังพูดถึงเงินอีแปะของชาวมลายูที่รัฐตรังกานูสมัยนั้นว่า เกเป็ง ชาวปัตตานีเรียก แกแป็ง เมื่อเทียบกับ เกอะเนอะรี หรือ ก้อนรี แล้ว ๑ เกอะเนอะรี เท่ากับ ๑๕ เกเป็ง หรือเมื่อเทียบกับเงินไทยถิ่นใต้ยุคนั้น ๑ เกเป็ง และ ๑ เกอะเนอะรี เท่ากับ ๑ ก้อน หรือ ๒๕ สตางค์ (หรือ สงขลา ๑๕ สตางค์ )

ชาวมลายูไม่ว่าที่กลันตัน ตรังกานู และปัตตานีเรียกเงินบาทของไทยว่า “โก๊ป” (Kop) และชาวปัตตานีออกเสียงเรียกเป็น “โกะ” (Kou) เช่น ๑ บาทว่า ซะโกะ หรือ ซือโกะ ๕ บาท ว่า ลีมอโกะ ๑๐ บาท ว่า ซะปุโระโกะ เป็นต้น ปัจจุบันการพูดภาษามลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังใช้คำโกะ ดังกล่าว

จากคุณ: Oceanophila
เขียนเมื่อ: 3 ก.พ. 53 21:35:03
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 2  

“เงินก้อนและเงินโขก เมื่อเทียบกับเงินเบี้ยที่ชาวใต้ยุคนั้นใช้จ่ายคือ ๑ ก้อน เท่ากับ ๑๕ เบี้ย ๑ โขก เท่ากับ ๕๐ เบี้ย  เบี้ยในที่นี้ไม่ใช่เบี้ยหอย แต่เป็นเบี้ยอีแปะ ซึ่งบางถิ่นภาคใต้เช่นที่สงขลา ภูเก็ต หรือ พัทลุงทำขึ้นใช้เรียกว่าเบี้ย เช่น ลักษณะเบี้ยอีแปะที่สงขลา ด้านหน้ามีอักษรไทยคำว่าสงขลา อักษรยาวีภาษามลายูว่า นครีซิงคอรา แปลว่าเมืองสงขลา ด้านหลังเป็นอักษรจีนสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซังเซียทงป้อ แปลว่า อีแปะเมืองสงขลา”

แต่จากข้อความส่วนนี้ทำให้ผมเกิดความสงสัยครับเนื่องจากมีการเทียบหน่วยเงินตราที่แตกต่างกันจากสองที่มาครับ
ดังที่ผมกล่าวไปแล้วในตอนต้นจากหนังสือชีววิวัฒน์ว่าหน่วยเงินเทียบเป็น
๑ ก้อน = ๓๐ เบี้ย  และ ๑ โขก = ๖๐ เบี้ย

แต่จากหนังสือเล่าเรื่องเมืองใต้เทียบหน่วยเงินเป็น
๑ ก้อน = ๑๕ เบี้ย  และ ๑ โขก = ๕๐ เบี้ย
ซึ่ง คลาดเคลื่อนกันไป ก็ไม่ทราบว่าอย่างใดถูกต้อง หรือเนื่องจากแหล่งที่มาของข้อมูลแต่กต่างกันคนละปีอาจจะเป็นไปได้ว่า ค่าเงิน มีการผันแปรไปในแต่ละยุคสมัย

จากคุณ: Oceanophila
เขียนเมื่อ: 3 ก.พ. 53 21:35:21
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 3  

อันนี้เป็นลักษณะ อีแปะจีนที่มีการอธิบายลักษณะไว้ครับ

" ลักษณะเบี้ยอีแปะที่สงขลา ด้านหน้ามีอักษรไทยคำว่าสงขลา อักษรยาวีภาษามลายูว่า นครีซิงคอรา แปลว่าเมืองสงขลา ด้านหลังเป็นอักษรจีนสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซังเซียทงป้อ แปลว่า อีแปะเมืองสงขลา” เนื้อเหรียญทำด้วยดีบุกครับ เลยเรียกว่าอีแปะดีบุก

 
 

จากคุณ: Oceanophila
เขียนเมื่อ: 3 ก.พ. 53 21:36:00
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 4  

“...ปัจจุบันคำว่าก้อนรวมทั้งโขก ชาวใต้เลิกใช้มานานแล้ว แต่ยังปรากฏในวรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ ซึ่งเป็นหลักฐานว่าครั้งหนึ่งชาวใต้เคยใช้มาตราเงินดังกล่าว

ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กซึ่งชาวใต้เรียกว่าเพลงช้าน้อง หรือเพลงร้องเรือ ที่พูดถึงเงินก้อนเช่น
    “แดดออกเห้อ     ขอเชิญให้ออกทุกกอหญ้า
ไอ้ตัดหัวพ่อค้า      หมันขายพลูแห้ง
ขายกำห้าก้อน      อ้ายตัดหัวร้อยท่อนขายพลูแห้ง
อดให้ปากแห้ง      ไม่เซ้อพลูแพงกินเห้อ”  

อธิบายศัพท์
ไอ้หัวตัด = เป็นคำด่า, หมัน = มัน, เซ้อ = ซื้อ

ขาย กำห้าก้อน = คำว่ากำ เป็นลักษณะนามเรียกใบพลูที่เก็บซ้อนกัน ๓ แบะ ซึ่งแบะเป็นลักษณะนามของใบพลูเช่นกัน แบะอาจหมายถึงใบพลูที่แผ่ออกได้ด้วยในอีกนัยหนึ่ง  
แบะหนึ่งมี ๕ ใบ ดังนั้น ๓ แบะเท่ากับ ๑ กำหรือ ๑๕ ใบนั่นเอง... ”
สรุปคือ ๑ กำ = ๓ แบะ
             ๑ แบะ = ๕ ใบ

เพลงกล่อม เด็กบทนี้แสดงถึงความรู้สึกของแม่ที่ไม่พอใจพ่อค้าเพราะใบพลูราคาแพงมาก แถมเป็นพลูแห้งอีกด้วยแม่คิดว่ายอมอดอยากปากแห้งเสียดีกว่าที่จะไปซื้อพลู เช่นนี้

จากคุณ: Oceanophila
เขียนเมื่อ: 3 ก.พ. 53 21:36:53
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 5  
ส่วนอันนี้เป็นเงินเหรียญแมกสิกันที่ได้กล่าวถึงไว้ครับ
พร้อมเนื้อหาเพิ่มเติม
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีต่างชาติเข้ามาค้าขายมาก โดยชาวต่างชาติใช้เหรียญเงิน ที่นำติดมาซื้อสินค้า แต่คน ไทยยังไม่กล้ารับไว้ เพราะเกรงว่าจะเป็นเงินปลอม และไม่ทราบค่าที่แท้จริงของเงินต่างชาติ จึงทรงเข้าเฝ้า รัชกาลที่ ๔ เพื่อให้ตีตรารับรองจากกระทรวงการคลัง รัชกาลที่ ๔ ทรงเห็นว่า การที่มีพ่อค้าเข้ามาค้าขายมากๆ ย่อม เป็นผลดีของประเทศของเรา จึงอนุญาตให้ใช้ตราประจำพระองค์ และตราแผ่นดินตีลงบนเหรียญ เช่น เหรียญ เม็กซิโก หรือเหรียญเปรู เป็นต้น โดยออกเป็น ประกาศอัตราแลกเปลี่ยน ๓ เหรียญ (๘ เรียล) ของเม็กซิโกมีค่า เท่ากับ ๕ บาทของไทยเท่ากับพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถแก้ปัญญาหาความขัดแย้งของระบบเงิน ตรา และมี พระปรีชาสามารถ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรม จึงทำให้การค้ารุ่งเรืองมาก ราคาซื้อขายเหรียญเม็กซิโก ตอกตราราคา ๘๐,๐๐๐ บาท

เหรียญตีตราที่พบจะอยู่ระหว่างปีค.ศ.๑๘๔๕ ถึง ค.ศ.๑๘๕๗ ซึ่งเป็นช่วงที่พ่อค้าจากทวีปยุโรป เดินทาง มาค้าขายในแถบเอเชียมาก ทำให้ทราบว่าที่ฟิลิปปินส์มีการตอกตรารับรอง เหมือนกับเหรียญที่มีการตอกตราใน ประเทศไทย เช่น เหรียญเปรู, เหรียญเม็กซิโก, เหรียญบัลแกเลีย

ที่มา http://museumcollection.eurseree.com/cgi-bin/info/agora.cgi?p_id=20&ppinc=search-details

แก้ไขเมื่อ 03 ก.พ. 53 21:48:25

 
 

จากคุณ: Oceanophila
เขียนเมื่อ: 3 ก.พ. 53 21:40:48
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 6  
ในหัวเมืองสงขลา ซึ่งอยู่ภายใต้มณฑลนครศรีธรรมราชนั้น มีการยกเลิกการใช้เหรียญแมกสิกันนี้ ในสมัยรัชกาล ที่ 5 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ร.ศ.128

แก้ไขเมื่อ 03 ก.พ. 53 22:19:32

แก้ไขเมื่อ 03 ก.พ. 53 22:13:26

 
 

จากคุณ: Oceanophila
เขียนเมื่อ: 3 ก.พ. 53 22:11:19
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 7  

หน้า 2

 
 

จากคุณ: Oceanophila
เขียนเมื่อ: 3 ก.พ. 53 22:11:44
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 8  

หน้าสุดท้าย

 
 

จากคุณ: Oceanophila
เขียนเมื่อ: 3 ก.พ. 53 22:12:06
  

 

อ้างอิง

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K8842846/K8842846.html

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 04 กุมภาพันธ์ 2010 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้53
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1537
mod_vvisit_counterทั้งหมด10723516