Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
เหมืองแร่ที่เล่าขาน PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 20 มกราคม 2010

ใครพอมีประทานบัตรเหมืองแร่เหลืออยู่บ้าง?

 

...เมื่อไม่นานมานี้เอง คนในโลกพากันคิดว่าดีบุกมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของผู้คนในโลกนี้ การทำเหมืองแร่ดีบุกได้ขยายไปในพื้นที่หลายประเทศที่มีแหล่งแร่ชนิดนี้ และเกิดมีคนร่ำรวยกับดีบุกมาเป็นร้อยๆปี เกิดมีตำนานเรื่องราวในการทำเหมืองแร่ไม่น้อย แต่เมื่อแร่ดีบุกในโลกเหลือน้อยลง การทำเหมืองแร่ก็หมดไป หรือแทบจะหมดไป เมื่อไม่นานมานี้อีกเช่นกัน



ปัจจุบันนี้ดีบุกแทบไม่มีความสำคัญอะไรอีกแล้ว   การ ถนอมอาหารก็ไม่ต้องทำเหมือนเมื่อก่อน  ภูเก็ตเคยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นเมืองที่มีการทำเหมืองแร่ และส่งออกดีบุกที่สำคัญของประเทศ  แต่ทุกวันนี้แทบไม่มีใครรู้จักว่าภูเก็ตเป็นเมืองเคยทำเหมืองแร่ดีบุก  หากรู้จักกันในนามของเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

 

ตำนานการทำเหมืองแร่ในภูเก็ตอาจมีคนเล่าได้นานกว่า 7 วัน 7 คืน  เพราะมีประวัติของบุคคล  ความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่   เรื่องราวความยากลำบากแห่งชีวิต  รูปแบบเทคนิคการทำงาน ภูมิปัญญาของมวลมนุษย์ที่จะต้องอยู่บนผืนแผ่นดิน ไม่ต้องถกเถียงกันว่าเรื่องของเหมืองแร่ยังมีประโยชน์ต่อการเล่าขาน หรือทำความเข้าใจกันในยุคปัจจุบันกันหรือไม่  แต่ควรจะถามว่าเราควรจะเล่าเรื่องเหมืองแร่ด้วยท่วงทำนองไหน  และเล่ากันอย่างไร  ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในชีวิตของผู้คนที่เคยมีอยู่ในแต่ละยุคแต่ละสมัย    ซึ่งผู้ได้ฟังย่อมสามารถจะหยิบฉวยเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดของเรื่องไปก็ได้
ผู้ที่เดินทางมาในฐานะนักท่องเที่ยว  คงมีผู้ต้องการเก็บเกี่ยวความรู้ในเรื่องที่กำลังจะสูญหายไปของเมืองที่ตนมาเที่ยว  เช่นอยากรู้ว่าเมื่อก่อนที่นี่มีการทำเหมือง  เขาทำกันอย่างไรหนอ  แล้วคิดว่าคงมีที่พอจะไปหาความรู้อันนั้นได้  ซึ่งเขาอาจเข้าไปที่พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่  สิ่งซึ่งจะดำรงอยู่ได้  ต้องอาศัยบุคคล 2 ประเภท  คือบุคคลที่เก็บรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ กับบุคคลที่ให้ความสนใจในสิ่งนั้น
เมื่อใดในโลกยังมีบุคคล 2 ประเภท  การเก็บรักษาสิ่งต่างๆยังสามารถจะทำได้  โลกมีขนาดจำกัดแต่มีความเป็นมายาวนาน  ดังนั้นไม่มีพื้นที่พอจะให้เก็บทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยเกิดขึ้นได้ทั้งหมด   ถ้าโลกเก็บทุกอย่างเอาไว้ได้ แม้จะโดยย่นย่อก็ตาม    เพื่อให้มนุษย์ได้มีเวลาศึกษาเพียง 1 ใน 93 ของชีวิต  ปัญญาที่จะเกิดแก่คนในโลกนี้คงจะทำให้คนในโลกนี้รู้จักเลือกสรรเก็บรักษาสิ่งที่ดีไว้ได้มาก และก็ยาวนานยิ่งขึ้น  เราคงจะรู้ปัญหาโลกปัจจุบันในอีกโฉมหน้าหนึ่งที่ต่างจากที่เห็นอยู่ในวันนี้
เรื่องราวของเหมืองแร่ที่ผมจะพูดถึง  น้อยนิดกว่าเรื่องของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่   ในอดีตเรามีความคิดอย่างไร  อบรมเรื่องต่างๆกันมาอย่างไร  ทุกคนรู้ว่าเราไม่สามารถจะสร้างพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ขึ้นด้วยตนเอง  แต่เราสามารถจะอนุรักษ์ในเสี้ยวส่วนของเหมืองแร่ที่เรารู้จักไว้ได้ หากว่าเรามีความคิดและแรงผลักดันเพียงพอ  หากเรามีประกายความคิด  สิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นในโอกาสใดโอกาสหนึ่ง  เพียงแต่ในชีวิตเราจะให้เวลาที่เราจะคิดในเรื่องอะไร
คนที่เคยเป็นกรรมกรลูกจ้างในการทำเหมือง   เคยกู้แร่ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานอย่างหนึ่งในการทำเหมือง คือการแยกสินแร่ดีบุกที่มีคุณภาพออกมาจากกรวด หิน และทราย รวมทั้งขี้แร่   เขาก็จะรู้จักงานชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “กู้แร่”  ซึ่งเป็นการแยกแร่ดีบุกชั้นแรกที่ได้จากการทำเหมืองในขั้นต้น   ด้วยเครื่องมือไม่ซับซ้อนอะไรเลย  คือจอบสำหรับกู้แร่ ไม้กวาดสำหรับกวาดแร่  แล้วทำรางแร่  ให้มีการปล่อยน้ำไหลไปตามรางนั้น  ด้วยเครื่องมืออย่างนี้เขาก็สามารถแสดงการทำเหมืองแร่ในส่วนของการกู้แร่ได้  เพียงแต่จะต้องจัดหาสินแร่ดีบุก  ทราย  กรวด ขี้แร่ต่างๆ  มาผสมเข้าด้วยกัน  แล้วก็แยกแร่นั้นออกมาด้วยการกู้ด้วยจอบ  ซึ่งสามารถจำลองสร้างรางแร่ด้วยไม้กระดานขนาดกว้างเพียง  90  เซนติเมตร  และยาวเพียว 2 เมตร  เครื่องมือคือจอบและไม้กวาดสำหรับใช้ในการกู้แร่  ซึ่งสามารถจัดทำพื้นที่เล็กๆภายในตัวบ้าน สำหรับคนที่มีบ้านที่มีพื้นที่เหลืออยู่บ้าง
ถ้าทำอย่างนี้ได้  ก็อาจแสดงการกู้แร่ขึ้นปีละครั้ง  ก่อนจะถึงวันแสดงการกู้แร่   ก็สามารถจะชวนเพื่อนบ้านคนรู้จัก  คนเคยทำเหมืองแร่  ตลอดจนผู้สนใจอื่นๆ  มาดูการกู้แร่เป็นการรำลึกถึงการทำเหมืองแร่ปีละครั้ง  แล้วก็ฝึกสอนลูกหลานให้สามารถกู้แร่ได้  ไว้แสดงแทนตัวเองเป็นการอนุรักษ์การกู้แร่โดยครอบครัว  เป็นกิจกรรมที่มีความหมายในครอบครัวของตน และเพื่อนบ้านที่มาร่วมกันชมกิจกรรม 
ความหมายในการอนุรักษ์เป็นอย่างนี้  เป็นการทำขึ้นด้วยใจรักและไม่หวังผลไปในเรื่องอื่นๆ  อย่างไรก็ตามหากว่ามีองค์กรปกครองท้องถิ่น  ทราบว่ามีคนทำการอนุรักษ์อย่างนี้เกิดขึ้น  จะมาช่วยสนับสนุนแล้วหาแนวทางร่วมกันอนุรักษ์ไว้   ก็สามารถจะร่วมกันได้  หรือว่ามีผู้ที่ทำธุรกิจท่องเที่ยวเห็นว่าควรจะเป็นกิจกรรมแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมได้ด้วย  ขอพานักท่องเที่ยวมาชม  และตอบแทนรายได้จากการชม  และขอให้เพิ่มเวลาการแสดงมากขึ้น   กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาชีพที่ทำรายได้เกิดขึ้น  ก็เป็นสิ่งทำได้ในส่วนที่เป็นกิจกรรมเล็กๆของการอนุรักษ์วิธีการทำเหมืองแร่   ให้อยู่ร่วมไปกับกิจกรรมการอนุรักษ์
ถ้าไปคิดเรื่องการทำพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่  ก็จะมีเรื่องถกเถียงกันมากในการจะทำอะไรสักอย่าง  และไม่สามารถจะทำให้ผู้คนทำอะไรตามใจรักของตนได้  กลายเป็นกิจกรรมที่สาธารณชนต่างมีความต้องการที่แตกต่างกัน  รวมทั้งเป้าหมายก็แตกต่างกัน  การทำสิ่งเล็กๆ  แล้วตั้งใจทำให้ดีในสิ่งนั้นๆ  อาจเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่า  เราอาจทำการกู้แร่  ในร้านขายกาแฟ ในล็อบบี้โรงแรม  หรือแม้แต่ในบ้านของตัวเอง  เรื่องกิจกรรมการทำเหมืองแร่เล็กๆแบบนี้  ยังมีกิจกรรมชนิดอื่นๆอีกมาก  อาจมีการขยายความในการเขียนคราวต่อๆไปก็ได้...

......จำเริญ   โพธิกิจ....

วันที่ : 14 ม.ค. 2552
อ่านข่างทั้งหมด
 

อ้างอิง

http://www.siangtai.com/th/news_detail.php?News_ID=5012&Cat_ID=20

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1046
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2185
mod_vvisit_counterทั้งหมด10700352