Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
อัยการบัณฑูร ทองตันเยี่ยมชม พมร. PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 15 มกราคม 2010

เฮฯ มงคล @ภูเก็ต - พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต อ.กะทู้

โดย Logos เมื่อ 28 ธันวาคม 2009 เวลา 21:41 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 222

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต

ความเป็นมา วัตถุประสงค์ เกร็ด; นำชมโดย ผ.ศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ และอาจารย์ฤดี ภูมิภูถาวร

ประวัติเมืองภูเก็ต

“ภูเก็ต” ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้วและได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ.700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า “แหลมตะโกลา” เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาว ๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อนของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน

สำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ.700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า ” แหลมตะโกลา ” แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึงผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออกของชาติยุโรป ระหว่างพ .ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า “จังซีลอน” นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขานผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ. 1568 ว่า “มณิคราม” หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ “ภูเก็จ” ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปีพ . ศ .2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อย ๆ จนกลายเป็น “ภูเก็ต” ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่ พ . ศ .2450 เป็นต้นมา

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน นั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย

 

http://lanpanya.com/wash/archives/1052

เป็นโชคดีมหาศาลประกอบกับท่านอัยการจัดให้ ที่เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต *โดยมี*อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นผู้บรรยาย ถ้าเพียงแต่ดูเฉยๆ คงไม่เข้าใจความเป็นมาของเมืองภูเก็ตมากเท่านี้ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจ เสียดายแทนคนภูเก็ตที่ยังไม่ได้ไปศึกษาที่นี่นะครับ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตอยู่ใกล้สนามกอล์ฟ Lock Palm

http://lanpanya.com/wash/archives/1052

คลิปนี้มีโบราณวัตถุ เครื่องประดับที่เป็นผลผลิตจากแร่ มีวิวัฒนาการของคำ (Ethymology) เช่นคำว่า “บรรณ” และ “ข่อย” เป็น ศาลาบรรณ บรรณารักษ์ สมุดข่อย ห้องสมุด ได้อย่างไร ท้ายคลิปแสดงวิธีการร่อนแร่

http://lanpanya.com/wash/archives/1052

คลิปที่สี่นี้เป็นวิวัฒนาการของกระบวนการทำแร่ จากการร่อนแร่ธรรมดา เป็นเหมืองขุด จากนั้นเป็นเหมืองฉีด และเป็นเรือขุดแร่ (ซึ่งเรือขุดแร่ลำแรกของโลก เกิดที่ภูเก็ตนี้เอง)

http://lanpanya.com/wash/archives/1052

คลิป Segment 5 นี้ เป็นคลิปที่น่าสนใจที่สุดของวันแรกนี้ ภายในมีสี่เรื่องคือ

  1. เศษผงซึ่งดูไม่่ค่อยมีค่าอะไร ที่จริงแล้วเป็นผลึกของแร่อะไรสักอย่าง (จำไม่ได้+ไม่ได้ถ่ายมา) เมื่อส่องดูด้วยกล้องขยาย จะเห็นเป็นผลึกใส อ.สมหมายบอกว่าถ้ามีขนาดใหญ่ เค้าเอาไว้ทำหัวแหวน — ประเด็นนี้ก็คือเมื่อเราไม่รู้ว่าสิ่งที่เผชิญอยู่คืออะไร เราก็ย่อมไม่รู้ค่า; มีตัวอย่างอันเจ็บปวดอีกอันหนึ่ง คือ แร่ทันทาลัมซึ่งเป็นสินแร่ท้องถิ่นที่เมื่อสกัดออกมาแล้วจะมีค่าสูงมาก แต่มีสภาพทางกายภาพเป็นหินแข็ง ด้วยความไม่รู้ ก็เอาไปใช้เป็นหินทำถนน ผสมปูนก่อกำแพงอะไรไปตามเรื่อง
  2. ส่วนที่สองเป็น “อาการหลุด” ของพวกเราชาวเฮ โดยอาการนี้เริ่มตั้งแต่สองนางเอกงิ้วขึ้นเวที จากนั้นก็ไม่มีใครฟังอาจารย์สมหมายอีก ฮี่ฮี่ฮี่ เรื่องของเรื่องก็คือ ถ้าจะเรียนรู้ ทำไมต้องเครียด เราเรียนผสมเล่นไปได้ อย่างนี้จึงเป็นธรรมชาติ อยากเรียนก็เรียน ไม่อยากเรียนก็ไปทำอย่างอื่นที่ไม่รบกวนใคร ใครอยากร่วมเล่นก็ร่วม ใครอยากเรียนก็เรียนไป (แต่คราวนี้ทุกคนเล่นพร้อมกันหมด)
  3. ส่วนที่สามเป็นห้องเอกสารเพื่องานวิจัยของพิพิธภัณฑ์ ให้บริการแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ผมเห็นเอกสารสองอันที่สนใจมาก คือจดหมายเล่าเรื่องศึกถลาง เขียนด้วยลายมือท่านผู้หญิงจัน (ซึ่งมักจะเรียกผิดว่า คุณหญิงจัน) เอกสารตัวจริงอยู่ที่อังกฤษ มีตราประทับ School of Oriental & African Studies, London ไม่ได้บอกว่ามหาวิทยาลัยใด ที่แสดงอยู่เป็นสำเนาซึ่งอดีตผู้ว่าฯ ภูเก็ตท่านหนึ่งไปถ่ายมา
  4. เอกสารอีกอันหนึ่งที่น่าสนใจคือพจนานุกรมภาษาไทย (น่าจะเป็นอภิธานศัพท์เสียมากกว่า) เขียนว่า “พะจะนะ พาสา ไท” ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1854 (พ.ศ. ๒๓๙๗ ผ่านเข้ามา ๓ ปีในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๔)

http://lanpanya.com/wash/archives/1052

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 17 มกราคม 2010 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้670
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1980
mod_vvisit_counterทั้งหมด10696936