Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow สุสานโจโฉสามก๊ก
สุสานโจโฉสามก๊ก PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 28 ธันวาคม 2009
ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2552

ชาวจีนฮือฮา! ค้นพบ หลุมศพ'โจโฉ'

 

นักโบราณคดีขุดพบหลุมศพปริศนา ชายวัย 60 ฝังพร้อมหญิงสาวอีก 2 ศพ เชื่อเป็นร่างของ 'โจโฉ' อดีตขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ชาติจีน...

สำนักข่าวซินหัวของสาธารณรัฐประชาชนจีนรายงานเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ว่า นักโบราณคดี เปิดเผยการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ที่เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน เมื่อขุดพบหลุมศพของชายโบราณอายุราว 60 ปี   เชื่อว่าเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยอู่ตี้ อดีตขุนศึก และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินคนสุดท้าย ในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน หรือที่รู้จักกันดีในนาม 'โจโฉ'

อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการ สำนักโบราณคดีจีน กล่าวว่า การขุดสำรวจวัตถุโบราณดังกล่าวจะดำเนินไปอย่างระมัดระวังที่สุด และจะต้องตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนภายหลัง เพื่อหาพิสูจน์ว่า เป็นหลุมศพของโจโฉจริง

นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า ร่างของชายที่เชื่อว่าเป็น โจโฉ  ถูกฝังคู่กับร่างหญิงสาวอีก 2 ศพ นอกจากนี้ยังมีป้ายหลุมศพ และจารึกข้อความ ที่เป็นหลักฐานสนับสนุนว่าเป็นหลุมศพของโจโฉอีกด้วย

อ้างอิง

 http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1828831/ชาวจีนฮือฮา!%20ค้นพบ%20หลุมศพ%20โจโฉ

----------------

 http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1829164/จีนฟันธงแล้ว%20%20ที่ตั้งสุสานโจโฉ%20%20%20ยุติปริศนาร่วมสองพันปี

อ้างอิง

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี ดูภาพชุดจาก Manager Multimedia
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์28 ธันวาคม 2552 13:19 น.

ภาพถ่าย/กราฟิกแสดงสุสาน ภาพวาดของ วุ่ยอู่หวัง หรือ โจโฉ (เฉาเชา) และหลักฐานชิ้นฟันธงระบุตัวเจ้าของสุสาน คือ ป้ายหินแกะสลักชื่อ วุ่ยอู่หวัง (ภาพล่างมุมขวา)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ป้ายหินแกะสลักที่มีค่าที่สุด ในสุสานโจโฉ จารึกอักษรเหล่านี้ เป็นข้อมูลสำคัญในการระบุตัวเจ้าของสุสาน และเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์โดยตรงที่สุด

ป้ายหินแกะสลักอักษร “อาวุธที่ วุ่ยหวัง (โจโฉ) ใช้ประจำ” ( 魏武王常所用格虎大戟)

หมอนหินที่วุ่ยอ๋อง (โจโฉ)ใช้เป็นประจำ จารึกอักษร “魏武王常所用慰项石”

โบราณวัตถุที่พบในสุสานโจโฉ

สภาพภายในสุสานโจโฉ

สภาพด้านนอกสุสานโจโฉ

กราฟฟิกแสดงประวัติชีวิต เฉาเชา (โจโฉ) และที่ตั้งของสุสานในอันหยาง (Anyang) มณฑลเหอหนัน

เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์--กลุ่มนักโบราณคดีจีน พบสุสานของโจโฉ แม่ทัพใหญ่ผู้ฉลาดปราดเปรื่องแห่งยุคสามก๊กระหว่างการขุดค้นทางโบราณดคีในมณฑลเหอหนัน โดยป้ายหินแกะสลักตัวอักษร และหมอนหินที่ขุดค้นพบภายในสุสาน จารึกชื่อ “วุ่ยอู่หวัง” ( คือ โจโฉ) นักโบราณคดีจึงปักธงได้ว่าเจ้าของสุสานคือ โจโฉ
       

       สืบเนื่องจากการขุดค้นสุสานยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก(ค.ศ.25-220)ที่หมู่บ้านซีกาวเสียว์ ตำบลอันเฟิง อำเภออันหยาง มณฑลเหอหนัน นักโบราณคดีจีนก็ได้ค้นพบทางโบราณคดีครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง ที่ยุติการถกเถียงและข้อสงสัยนับพันปี เกี่ยวกับที่ตั้งหลุมฝังศพแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่โจโฉ แห่งยุคสามก๊ก จากป้ายแกะสลักชื่อ วุ่ยอู่หวัง หรือวุ่ยอู่อ๋อง (魏武王) ซึ่งก็คือ พระนามของพระเจ้าโจโฉ นักโบราณคดีจีนจึงสามารถระบุชัดเจนแล้วว่า หลุมฝังศพของแม่ทัพโจโฉอยู่ ณ หมู่บ้านซีกาวเสียว์ แห่งนี้
       
       โจโฉ หรือ ในภาษาจีนกลางเรียก เฉาเชา(曹操) (ค.ศ.155-220) เป็นขุนศึก และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินคนสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ต่อมา โจโฉได้สร้างนครรัฐที่รุ่งเรืองและแข็งแกร่งที่สุดในยุคสมัยสามก๊ก (ค.ศ.208-280) คือ แคว้นวุ่ย หรือวุ่ยก๊ก ตำนานชีวิตโจโฉเป็นที่เลื่องลือและติดตรึงใจผู้คนทั่วโลกมาถึงปัจจุบันจากวรรณกรรมคลาสิก “สามก๊ก” ในความเป็นผู้ปกครองที่โด่ดเด่นด้านความสามารถ และนักการทหารที่ทรงสติปัญญาเฉลียวฉลาด
       
       นอกจากนี้ โจโฉยังได้รับการยกย่องเป็นกวี อันสะท้อนถึงบุคคลิกพิเศษและแข็งแกร่งของแม่ทัพโจโฉ กระทรวงศึกษาจีนยังได้บรรจุบทกวีของโจโฉไว้ในตำราเรียนระดับชั้นมัธยม
       
       นักโบราณคดีเผยรายละเอียดการขุดค้นครั้งนี้ ว่าเป็นสุสานขนาดใหญ่ มีโครงสร้างซับซ้อนมาก ประกอบด้วยห้องด้านหน้าและด้านหลัง และห้องอีกสี่ห้องอยู่ในภายใน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ ราว 740 ตารางเมตร อันเป็นขนาดและโครงสร้างตามประเพณีจีนโบราณในการกษัตริย์ หรือเจ้าครองนครรัฐ จากการเปิดเผยของ นายหลิว ชิงจู ผู้อำนวยคณะกรรมการสถาบันบัณฑิตสถานด้านสังคมศาสตร์ เผยแก่ผู้สื่อข่าวเมื่อวันอาทิตย์(27 ธ.ค.)
       
       นักโบราณคดียังพบโบราณวัตถุมากกว่า 250 ชิ้น ที่ทำจากทองคำ เงิน ทองสำริด หยก หิน ดินเผา ฯลฯ อีกทั้งหินแกะสลักชื่อ 59 ชิ้น และจารึกหลายชิ้นภายในหลุมฝังศพ โดยมีหินแกะสลักแปดชิ้นที่มีค่ามากที่สุด ซึ่งจารึกเกี่ยวกับอาวุธต่างๆที่วุ่ยอ๋อง หรือโจโฉ ใช้ ตัวอักษรที่จารึกบนหินเหล่านี้ ได้แก่魏武王常所用格虎大戟,“魏武王常所用格虎大刀”เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหมอนหินที่วุ่ยอ๋องใช้เป็นประจำ จารึก “魏武王常所用慰项石”จารึกอักษรเหล่านี้ เป็นข้อมูลสำคัญในการระบุตัวเจ้าของสุสาน และเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์โดยตรงที่สุด
       

       
ภายในสุสานยังมีภาพเขียนบนหินจำนวนมาก ที่ละเอียดประณีต
       
       ในการขุดค้นสุสานฯ นักโบราณคดียังได้พบซากกระดูกส่วนศีรษะ และแขนขาของมนุษย์ในห้องฝังศพสองห้อง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ระบุในเบื้องต้นว่าเป็น ซากกระดูกของผู้ชายหนึ่งคน และผู้หญิงอีกสองคน โดยผู้ชายเป็นเจ้าของหลุมฝังศพ อายุราว 60 ปี
       
       ห่าว เปิ่นซิง หัวหน้าสถาบันโบราณคดีแห่งมณฑลเหอหนัน เผยว่า โจโฉได้จารึกเจตจำนงของเขาว่า ให้สร้างสถานที่ฝังศพของเขาอย่างเรียบง่าย ซึ่งก็สอดคล้องกับสุสานที่นักโบราณขุดค้นคือ กำแพงสุสานไม่มีภาพเขียน และมีสมบัติไม่กี่ชิ้น ตำแหน่งของสุสาน สอดคล้องกับบันทึกประวัติศาสตร์ และบันทึกโบราณในยุคของโจโฉ รัฐบาลมณฑลเหอหนัน และอันหยาง มีแผนที่จะเปิดสุสานให้สาธารชนเข้าชม
       

       เจ้าหน้าที่เผยว่า ก่อนหน้ามีการปล้นขโมยโบราณวัตถุในสุสานโจโฉหลายครั้ง จนนักโบราณคดีได้รายงานสำนักงานโบราณคดีแห่งชาติเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2551 หน่วยวิจัยโบราณคดีจึงได้เข้าทำการขุดค้นเพื่อการคุ้มครองสมบัติโบราณคดีของชาติ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้ติดตามโบราณวัตถุหลายชิ้นที่ถูกขโมยไป.
       
       ถกบุคลิกโจโฉ
       
พระเจ้าโจโฉ (จีนตัวเต็ม: 曹操; จีนตัวย่อ: 曹操; พินอิน: Cáo Cāo; เวด-ไจลส์: Ts'ao² Ts'ao¹) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิวุ่ยอู่หวัง (魏武王) มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 155 - ค.ศ. 220 เป็นขุนศึกและผู้สำเร็จราชการแผ่นดินคนสุดท้าย ในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน ในภายหลังโจโฉได้ก่อตั้งวุยก๊ก ซึ่งเป็นหนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก
       
       ในวรรณคดีเรื่องสามก๊กบางสำนวน โจโฉได้รับการบรรยายให้เป็นจักรพรรดิที่โหดเหี้ยมและทะเยอทยาน แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว โจโฉเป็นผู้ปกครองที่สามารถ นักการทหารที่ชาญฉลาด และยังเป็นกวีอีกด้วย ในสามก๊ก โจโฉแม้จะเป็นคนโหดเหี้ยม เจ้าเล่ห์ แต่ก็หาใช่ว่าเป็นคนไร้เหตุผล ตรงกันข้ามยังเป็นคนผูกใจคนเก่ง ชอบใช้คนมีความสามารถ รู้จักใช้คน บริหารจัดการเก่ง มีความเป็นผู้นำสูง และออกอุบายวางแผนได้ด้วยตนเอง ซึ่งหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวว่า "ยิ่งอ่าน ยิ่งรักน้ำใจโจโฉ" และเป็นที่ของหนังสือที่ชื่อ โจโฉ นายกฯตลอดกาล ที่ว่าด้วยการมองโจโฉในอีกแง่ และให้ฝ่ายจ๊กก๊ก ของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย เป็นตัวร้ายแทน

 

Tomb of legendary ruler unearthed

By Lin Shujuan (China Daily)
Updated: 2009-12-28 07:29

Large Medium Small

Legend has it that Cao Cao, King Wu of Wei kingdom in the Three Kingdoms period (AD 208 to 280), had built 72 tombs to thwart tomb raiders.

Experts, however, have always doubted this, believing it was more a fabrication that reflected Cao's political cunning as portrayed in the classic Romance of the Three Kingdoms. Now, they have come up with solid evidence to prove it wrong.

 

Tomb of legendary ruler unearthed

 

Archaeological officials confirmed yesterday the discovery of Cao's mausoleum in Xigaoxue, a village in Anyang county of Henan province, which, much to the surprise of many, was indeed built as austerely as recorded in historical archives.

"Excavation has been going on for nearly one year, and we'll come up with further evidence. But even based on what we've got, we can tell for sure that the mausoleum belongs to Cao Cao," Guan Qiang, deputy director of the department of cultural heritage conservation at the State Administration of Cultural Heritage (SACH), told a briefing in Beijing.

Experts also unearthed bones of three people, through which they identified their ages: One male of around 60, and two women, one in her 50s and the other between 20 and 25.

Experts believe the male was Cao, the elder woman his empress who died in AD 230 and was buried at Cao's tomb with her close companion, the younger woman.

The tomb was discovered in December last year when workers at a nearby kiln were digging for mud to make bricks. The discovery was not reported and local authorities knew of it only when they seized stone tablets carrying inscriptions of "King Wu of Wei" - Cao's posthumous reference - from some tomb raiders.

The culprits claimed to have stolen the tablets from the tomb, according to Sun Yingmin, vice-director of the Henan Provincial Cultural Relics Administration (HPCRA).

Over the past year, archaeologists have recovered more than 250 relics from the west-to-east two-chamber tomb that covers an area of 740 sq m. Among them are stone paintings featuring social life of Cao's time, stone tablets bearing inscriptions of sacrificial objects, and Cao's personal belongings bearing the inscription "personal belongings frequently used by King Wu of Wei" such as the one found on a stone pillow.

Hao Benxing, an HPCRA researcher, said it was hard to tell if the mausoleum was robbed before the damage done by recent tomb raiders.

"But it is clear that the tomb was built with imperial solemnity and scale, the 40-m tunnel leading to the tomb's gate being one example," Hao said.

It is also clear that the tomb was built and furnished austerely, which is in accordance with historical records saying Cao ordered his tomb to be built "on non-arable highland, with no (pyramid-shape) mound or any plantation upon it", and "no treasures of gold and jade in it", Hao added.

The fact that the tomb's location is only a few kilometers from Yecheng (to the southwest of today's Linzhang county, Hebei province), historically the political center of Wei kingdom, is also strong proof that it is Cao's tomb, according to archaeologist Liu Qingzhu of the Chinese Academy of Social Sciences.

In Yecheng, Cao built the famous Bronze Sparrow Terrace, where musicians and dancers would perform to entertain guests at his banquets.

Before his death, Cao left word he wanted his tomb to be built in a place where his children could see from the terrace anytime they remember him, or from where he, as a spirit in the underworld, could enjoy the performances on the terrace.

"The stone tablets bearing inscriptions of Cao's posthumous reference are the strongest evidence," said Liu. "No one would or could have so many relics inscribed with Cao' posthumous reference in the tomb unless it was Cao's."

Experts agree that excavation of the mausoleum has just started and further research and study would prove the historical importance of the discovery, considering the important role Cao played in history.

"The tomb is a capsule of the historical time in which Cao lived," said Liu. "For example, it will serve as a clear chronological reference for many other relics, whose age would otherwise be too difficult to tell."

As a king's mausoleum is often built in the center of a tomb compound, it is likely that there are many burial sites in the surrounding area, Liu added.

 

http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8708094/X8708094.html

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 29 ธันวาคม 2009 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้664
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1537
mod_vvisit_counterทั้งหมด10724127