Skip to content

Phuketdata

default color
Home
ภาษาถิ่นภูเก็ตภูเก็จ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 27 ธันวาคม 2009
ภาษาถิ่นภูเก็จภูเก็ต  : สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

โทร. 081 326 2549

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

 

--- --- --- --- --- --- ---

 

หลักในการพิจารณา  ๑. เสียง  ๒. แบบสร้าง  ๓. ความหมาย

 

๑.      เสียง ใช้สัทอักษรเป็นหลักแทนการออกเสียง เช่น น้ำ ภูเก็จออกเสียงว่า naam7  ภาษากลางออกเสียงว่า naam2;  ม้า ภูเก็จออกเสียงว่า maa7  ภาษากลางออกเสียงว่า maa2

 

๒.     แบบสร้าง คือการใช้อักษรมีพยัญชนะ สระและรูปวรรณยุกต์ เป็นการกำกับรูปแบบคำ  จำเป็นต้องอิงรูปแบบมาตรฐานภาษากลาง  เช่นมีความรู้สึกว่าเสียงอยู่ในระดับสูงมาก น่าจะเขียนว่า โน้ต แต่พยัญชนะต้นเป็น น อักษรต่ำ จึงเขียนรูปแบบเป็นโน้ต(noot2)

 

                        นก(nok2)(กลาง) = หน็อก (n)k7)(ภูเก็จ)  จะกำหนดให้เขียนเป็น หน็อก  หรือ  นก 

บางอักษรระหว่างอักษรสูงกับอักษรต่ำ ที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนได้มากกว่า ๑ แบบสร้าง ก็เป็นปัญหาที่จะเลือกใช้  เช่นเสียง maa1 = หม้า ม่า;  yaa1 = หญ้า  หย้า ย่า  ญ่า 

 

รูปวรรณยุกต์ มีรูปแบบ ไม้เอก  ไม้โท  ไม้ตรี  และไม้จัตวา และไม่มีรูปแบบที่เสียงสามัญ  ส่วนทางใต้หรือภูเก็จ มีระดับเสียงอย่างน้อย ๗ ระดับ  มีแบบให้ใช้ที่ตรงกันระหว่างกลางกับภูเก็จ คือ ไม้เอก  ไม้โท  ไม้ตรี และไม้จัตวา เพียง ๔ แบบ  อีก ๓ แบบที่ระดับเสียงต่างกันจะกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์ใด (ในส่วนเสียง กำหนดใช้ 0=สามัญ 1=โท 2=ตรี 3=ต่ำกลางกลาง 4=กลางกลาง 5=กลางต่อนสูง 6=จัตวา  7=เอก ได้)

 

๓. ความหมาย คือคำแปลจากรูปแบบสร้างและเสียง

เช่น ออกเสียงว่า maa1 หมายถึง  หมา  ส่วนแบบสร้างจะให้เขียนว่า ม่า  หม้า  หรือ  หมา

 

                 ไข่  ภูเก็จออกเสียงว่า khai1  ภาษากลางออกเสียง khai7  ปัญหาคือจะมีแบบสร้างเป็น คั่ย ไค่ หรือใช้ ไข่ 

 

คำยืมภาษาจีนฮกเกี้ยนมีความหมายเดียวกัน  แต่เมื่อตำแหน่งคำอยู่ในประโยคหรือเป็นคำประสม จะมีระดับเสียงสูงต่ำแตกต่างกัน  เกี่ยมฉ่าย  ฉ้ายป้อ(chaay7-chaay1); 

  ๑. เสียง 

ชาวภูเก็ตมีเสียงพิเศษที่เป็นอัตลักษณ์อีก ๔-๕ ประการ คือ มีเสียง ย และ ว สะกดตามหลังคำที่ใช้สระอีและสระอู เช่น ดีปลี จะออกเสียงเป็น ดีย-ปลีย, สูสี เป็น สูว-สีย, ดูดี เป็น ดูวดีย; เปลี่ยนเสียงสระอือในหลายคำเป็นเสียงสระอี+ย เช่น รูสะดือ เป็น รุว-ดีย, ดีปลี(พริกขี้หนู) เป็น ดีย-ปลีย; หนังสือ เป็น หนัง-สีย, มือถือ เป็น มีย-ถีย; ชาวจังหวัดอื่นออกเสียงโอะลดรูป ในคำ นก ถนน รถยนต์ ชน แต่ชาวภูเก็ตเปลี่ยนเป็นเสียงเอาะ จะออกเสียงเป็น หน็อก หน็อน ร็อด ย็อน ช็อน; ชาวภูเก็ตเปลี่ยนเสียงเอะที่มีตัวสะกด เป็นเสียงแอะ เช่น เด็ก เจ็ด เป็ด เห็ด เห็บ เก็บ เป็น แช่น แด็ก แจ็ด แป็ด แห็ด แห็บ แก็บ แป็น; ชาวภูเก็ตเปลี่ยนเสียงจากสระเสียงยาวที่มีตัวสะกดแม่กก เช่น

ปลีก-ปลิ, แทก-แทะ, แตก-แตะ, แปลก-แปละ, เปียก-เปียะ, พวก-พัวะ, หลีก-ลิ, ลูกเหลียก-ลุเลียะ

 

๒. แบบสร้าง 

การออกเสียงของชาวภูเก็ตไม่เป็นไปตามหลักการใช้ภาษากลาง และไม่เป็นไปตามหลักของชาวใต้ทั่วไปอยู่หลายประการ เมื่อจำเป็นต้องใช้อักขระเพื่อเขียนแทนเสียง จึงก่อให้เกิดปัญหาในการเขียน เพราะต้องใช้อักษรที่ใช้อยู่ในภาษาไทยกลางเป็นหลัก และชาวใต้มีหลักในการใช้อักษรต่ำและอักษรสูงอยู่ก่อนแล้ว  ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาทบเท่าทวีคูณให้การเขียนคำของชาวภูเก็ตเพิ่มความยุ่งยากขึ้นอีก

  

ชาวภูเก็ตยังมีคำยืมจีนอีกเป็นพันคำ แต่ละคำก็มีปัญหาในการเขียน

เทศกาลสารทจีนจะเขียนอย่างไร พ้อต่อ หรือ ผ้อต่อ,

ศาลเจ้า-อ๊าม-อ๊ำ-อ้ำ, กิวอ๋องไต่เต่-กิ๋วอ๋องตั่ยเต่-กิ้วอ๋องไตเต้-กิวอ๋องไต้เต, จิ่มแจ้-ฉิ่มแช่-ชี้มแจ้, อังหม่อต๊าน-อั้งมอต้าน-อังม้อต้าน-อังมอตาน, หลาวเต้ง-หล่าวเต๊ง-เหลาเต๊ง-เลาเต้ง, งอกากี-หงอก่ากี่-หงอข่าขี้-หงอค้ากี่-หงอคากี้, รถโปท้อง-รถโพถอง-รถโป้ถ้อง-รถโพทอง-รถโผถ้อง, ก๋ง-ก้อง-ก๊อง-ก้ง-ก๊ง,

อาหม้า-อาม่า-อ่าม้า, โกเจียว-โก้เจี้ยว-โก๊เจี๊ยว,

บีโกมอย-บีโก้ม่อย-บี้โกหมอย...

 

๓. ความหมาย 

ปัญหาสืบเนื่องจากการออกเสียงและรูปแบบสร้างของคำที่ยังไม่ยุติ  เมื่อคำเดียวกันออกเสียงได้หลายเสียง  คำเดียวกันเขียนได้หลายรูปแบบ ทั้งที่มีความหมายเดียวกันนั้น  ผู้รับสารจะรู้ได้ยังไงว่าผู้ส่งสารให้หมายถึงอะไร

 

คำหลายคำมีหลายเสียง  แต่ละเสียงที่แตกต่างกันนั้น  มีความหมายเดียวกัน

                ความหมายว่า ลานซักล้าง(หรือมีบ่อน้ำ) ออกเสียง จิ่มแจ้  ฉิ่มแจ้  ชิมแจ้

            ความหมายว่า ตึกฝรั่ง ออกเสียงว่า  อังมอเหลา  อังมอหลาว  อั้งม้อเหลา  อังมอเล้า  อังมอล่าว 

คำหลายคำมีระดับเสียงแตกต่างกัน แต่มีความหมายเดียวกัน

                เตาซ้อ  เต่าส้อ  ต่าวซ้อ  ต่าวส้อ  ตาวซ้อ

                พ้อต่อ  ผ้อต่อ

                หง่อข่ากี่  หง่อก่ากี่  หง่อค้ากี่ 

  

คำหลายคำ มีแบบสร้างแตกต่างกัน แต่แต่ละแบบสร้างที่แตกต่างกันมีความหมายเดียวกัน

ความหมายว่า มะม่วงหิมพานต์  มีแบบสร้างและเสียง เช่น กาหยี  กายี่ย  เล็ดล่อ  แหล็ดหลอ เม็ดล่อ แหม็ดหลอ  

***

หมายเหตุภูเก็จ

สารานุกรม มทศ.

พจนานุกรมภาษาถิ่นภูเก็จ

วัฒนธรรม2วัฒน์  ภาษาสื่อสาร แถว2

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 03 ตุลาคม 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1193
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2782
mod_vvisit_counterทั้งหมด10710458