Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow การวิเคราะห์ของนักเรียน
การวิเคราะห์ของนักเรียน PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 15 ธันวาคม 2009

 

สอนเด็กวิเคราะห์ปี53


 ศธ.  สั่ง  รร.ปรับตารางสอน  เพิ่มชั่วโมงกิจกรรม  ลดเนื้อหาซ้ำซ้อนลง 30%  เน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้น  ต่อไปข้อสอบต้องมีทั้งอัตนัยและปรนัย  พร้อมจัดครูแนะแนวให้เด็กค้นพบตัวเองตั้งแต่ประถม

     นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  (ศธ.)  ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ  ศธ.  ว่า  ศธ.มีนโยบายจะปรับกระบวนการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย  โดยจะเน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้นและลดการสอนท่องจำเท่าที่จำเป็น  โดยจะเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ปีการศึกษา  2553  ในเดือน  พ.ค.นี้  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สอนให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้น  ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชาลง  30%  นอกจากนั้นยังลดตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนลงจากที่มีทั้งหมดกว่า  4,000  ตัวชี้วัดเหลือเพียง  2,165  ตัวชี้วัดเท่านั้น

     นายจุรินทร์กล่าวอีกว่า  ทั้งนี้การตัดเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนออกจะไม่ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนลดลง  แต่จะมีผลดีตรงที่ทำให้เด็กมีโอกาสเรียนนอกห้องเรียนอย่างสร้างสรรค์มากขึ้น  โดยแต่ละ  รร.จะต้องออกแบบและสรุปว่าจะต้องมีกิจกรรมใดบ้างใน  3  เรื่องหลัก  คือ  1.ทุก  รร.จะต้องหาแหล่งเรียนรู้ใน  รร.ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้นอกห้องเรียน  2.แหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิ่นซึ่งทุกโรงเรียนจะต้องมีข้อสรุปว่าในท้องถิ่นของตนเองมีแหล่งเรียนรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบใดบ้าง   และข้อสุดท้าย  คือทุก  รร.จะต้องกำหนดการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  เช่น  การเข้าค่าย  ทัศนศึกษา  ดนตรี  กีฬา  ศิลปะ  เป็นต้น  โดยนโยบายเรียนฟรี  15  ปีจะมีส่วนเข้าไปสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย

     อย่างไรก็ตาม  ทั้งหมดนี้นำไปสู่การปรับตารางสอน  ซึ่ง  รร.ต้องไปคิดว่าจากเดิมที่เด็กต้องเรียนทั้งหมดถึง  30  ชั่วโมง/สัปดาห์  ควรจะลดลงกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์  และจะมีชั่วโมงกิจกรรมกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์       ส่วนการปรับกระบวนการเรียนการสอน  แบ่งออกเป็น  2  ระดับ  คือ  สอนให้คิดวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน  ซึ่งจะเน้นในช่วงชั้นที่  1  และ  2  ตั้งแต่  ป.1-ป.6  คือสอนให้รู้จักสื่อสาร  สังเกต  สำรวจ  ค้นหา  และแยกแยะเป็น  ระดับที่สองคือ  การคือวิเคราะห์ระดับสูง ในช่วงชั้นที่  3-4  ตั้งแต่  ม.1-ม.6  คือสอนให้เด็กรู้จักการนิยาม  วิเคราะห์  สังเคราะห์  แก้ปัญหา  ตัดสินใจ  และคิดอย่างมีวิจารณญาณได้  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสิ่งใหม่คือกระบวนการสอนจะเน้นให้เด็กเขียนเรียงความและย่อความมากขึ้น  

     "ต้องยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมาเราขาดหายเรื่องนี้ไป  อีกทั้งต่อจากนี้ได้มอบเป็นนโยบายลงไปว่าข้อสอบของทุก  รร.ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (สพฐ.)  จะต้องมีข้อสอบอัตนัยและปรนัยผสมกัน  และให้  สพฐ.ไปประสานกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  (สทศ.)  เพื่อให้ข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต  สอดคล้องกับการเรียนการสอน"  นายจุรินทร์กล่าว

     นอกจากนั้น  จะมีกระบวนการแนะแนวของครูที่ปรึกษาในทุกระดับ  และควรจะเริ่มแนะแนวเรียนอาชีพตั้งแต่  ม.1  เป็นอย่างช้า  ซึ่งทั้งหมดนี้  รร.ดี  3  ระดับ  จะเป็นแกนหลักสำคัญเป็นแม่ข่ายช่วย  รร.ต่างๆ.

อ้างอิง

http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1810091/สอนเด็กวิเคราะห์ปี53

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้279
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1980
mod_vvisit_counterทั้งหมด10696545