Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
พระปฏิมากรรม PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 06 พฤศจิกายน 2009

ทำไมเรียกชื่อพระพุทธรูป ว่าเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง รัตนโกสินทร์ แล้ว อยุธยาหายไหน

vote  

ไม่เข้าใจ

จากคุณ: โฟมน่ารัก
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 17:52:25
ถูกใจ: วาหนิติ์นิกร



      ความคิดเห็นที่ 1  

      -ที่กล่าวมาจะมีลักษณะเฉพาะของงาน
      รอผู้ชำนาญ ตัวจริงมาอธิบาย
      -อย่างพวกเจดีย์ก็เหมือนกัน คนทั่วไป
      ดูแล้วก็เหมือนๆกัน แต่จะมีลักษณะเฉพาะที่ดูง่ายๆ เช่นที่ฐานใต้ปล่องไฉน คนที่รู้มองปราดเดียวก็รู้

      จากคุณ: หลี่ เสียนหลอ
      เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 18:35:46
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 2  

      ศิลปะสกุลช่างอยุธยา ไม่ได้หายไปไหน แต่มีเสน่ห์ไม่แพ้สกุลช่างสุโขทัยและเชียงแสน เพียงแต่ว่า คนไทยติดค่านิยมอันเป็นมงคล พ้องกับหมวดศิลปะ เลยทำให้สกุลช่างอยุธยาหลงลืมไป

      เริ่มจากต้นกรุงศรีอยุธยา รูปแบบศิลปะยังคงสืบทอดความเข้ม และเครียด จากศิลปะลพบุรี ทำให้พระพักตร์เคร่ง แต่ได้ผ่อนเบาลง เค้าหน้าเหลี่ยม มีกรอบพระพักตร์ ซึ่งก็สืบทอดมาจากศิลปะอู่ทอง

       
       

      จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
      เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:43:42

ความคิดเห็นที่ 3  

สมัยต่อมาพระพักตร์ เริ่มคลายความเครียดลง พระพักตร์ยิ้ม อิ่มเอิบ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:45:17
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 4  

ยุคต่อมารับศิลปะราชวงศ์สุโขทัยเข้ามา ทำให้ศิลปะอยุธยาผสมสุโขทัย พระพักตร์เรียวขึ้น บางครั้งมีการฟื้นฟูศิลปะสุโขทัยเข้ามาทั้งหมด ทำให้พระบางองค์เกิดความสับสนทางศิลปะ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:49:46
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 5  

และอยุธยามีการแผ่อำนาจเหนือดินแดนไปถึงนครศรีธรรมราช ทำให้เกิดศิลปะอยุธยา เรียกว่า แบบขนมต้ม คือมีความล่ำสัน

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:53:54
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 6  

ต่อมาการพัฒนาศิลปะของพระสมัยอยุธยา นำระบบราชาธิราชจากกัมพูชาผสม ถือทัศนะจักรพรรดิราช ระหว่าง กษัตริย์และพระพุทธ ผสมรวมกันออกมาเป็นศิลปะแบบปราสาททอง ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ สวมแหวน ประทับทับทรวง กรองคอ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:55:54
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ, เจ้่าชายกบ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 7  

หลังสมัยดังกล่าวการผสมกันระหว่างศิลปะสุโขทัยอีกทอดหนึ่ง การแต่งองค์ทรงเครื่องได้ผ่อนคลายลง กลายเป็น พระอยุธยาศิลปะทรงเครื่องน้อย

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:57:18
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 8  

พระพุทธรูปยืน ศิลปะอยุธยาแบบทรงเครื่องใหญ่

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:59:39
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 9  

ปลายสมัยอยุธยา ศิลปะของพระเป็นการผสมผสานกัน และไม่ค่อยสวย เนื่องจากบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงคราม ศิลปะสกุลช่างมีหลากหลาย

แบบพระไม้แกะและการบุ ก็กำเนิดขึ้นเพื่อลดปริมาณโลหะมีค่า

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 20:02:42
ถูกใจ: เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 10  

พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก ลดทอดรูปแบบไป

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 20:03:41
ถูกใจ: เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 11  

หรือแม้กระทั่งรับแบบสุโขทัยผสมพร้อมตกแต่งฉากหลังแบบอลังการ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 20:05:05
ถูกใจ: เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 12  

พระชัยหลังช้าง ก็เป็นสกุลช่างอยุธยาด้วย

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 20:07:08
ถูกใจ: เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 13  

ขอบคุณคุณ หนุ่มรัตนะ มากครับ

จากคุณ: เจ้าคุณแม่ทัพ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 21:16:19
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 14  

อยากทราบข้อมูลว่าทำไมถึงจัดพระชัยหลังช้างคห.12

เป็นสกุลช่างอยุธยาครับ

ผมว่าพระพักตร์เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปยุครัตนโกสินทร์ด้วยซ้ำ

ขอทราบข้อมูลด้วยครับ ขอบคุณครับ

จากคุณ: เจ้่าชายกบ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 21:47:22
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 15  

คุณหนุ่มรัตนะอธิบายได้แจ่มแจ้งดีครับ
เพียงผมยังสงสัยว่า ในสมัยสุโขทัย ได้มีพระสงฆ์ชาวลังกาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งนครศรีธรรมโศกราช และสุโขทัย
จึงอาจนำเอาศิลปะจากลังกา มาผสมผสานด้วยจะเป็นไปได้ไหมครับ
ซึ่งช่วงเวลายังคาบเกี่ยวกับศิลปะเชียงแสน แต่องค์พระกับไม่อวบอ้วนเหมือนศิลปะเชียงแสน เพราะสองเมืองนี้ก็ยังติดต่อกันด้วยดี

จากคุณ: นครเหมันต์
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 04:17:33
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 16  

ตอบข้อสงสัยในคห. 14

ในความชื่นชมประติมากรรมพระพุทธแต่ละยุคสมัยของไทยนั้น แต่ใครเคยสังเกตและพิเคราะห์กัน บ้างไหมว่า พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์นี้มีรูปลักษณะพุทธศิลป์อย่างไรกัน ในเรื่องนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านได้เขียนไว้ ก็ขอนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง ท่านว่า

เมื่อวันสองวันมานี้ผมไปคุยกับอาจารย์ประติมากรรมที่ผมเคารพนับถือท่านหนึ่ง

ที่ๆ คุยกันอยู่นั้นเป็นห้องทำงานของท่าน เห็นมีรูปปั้นบุคคลต่างๆ ซึ่งท่านได้ปั้นไว้และหล่อเป็นปลาส เตอร์ไว้แล้วหลายรูปก็เลยคุยกันด้วยเรื่องรูปปั้นบุคคลเหล่านั้นก่อน

อาจารย์บอกว่า รูปปั้นบุคคลเหล่านั้นบางรูปก็ดี ถูกใจท่าน บางรูปก็ไม่ดี ไม่ถูกใจ

ผมชี้ไปที่รูปปั้นรูปหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่าเหมือนตัวจริง แต่อาจารย์กลับบอกว่ารูปปั้นนั้นไม่ดี ถึงจะเหมือนก็เหมือนแบบรูปถ่าย เป็นรูปตาย เพราะไม่มีอะไรอยู่ข้างใน

อะไรที่อยู่ข้างในนั้นก็คือบุคลิกลักษณะของบุคคลที่เป็นแบบให้ปั้น ถ้าศิลปินสามารถเก็บเอาบุคลิก ลักษณะนั้นเข้าไว้ในรูปปั้นได้ รูปปั้นนั้นถึงจะไม่เหมือนก็ยังจะมีชีวิต

และที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นตัวบุคคลที่ปั้น

อาจารย์ชี้ให้ดูรูปปั้นอีกรูปหนึ่ง ซึ่งอาจารย์บอกว่ามีอะไรอยู่ในนั้นครบถ้วน ผมดูไปแล้วก็เห็นจริง ยิ่งนั่งดูไปก็ยิ่งแลเห็นชีวิตแลเห็นความเคลื่อนไหว และแลเห็นตัวของผู้ที่มาเป็นแบบให้ปั้นนั้นได้ชัดยิ่งขึ้น

อาจารย์กำลังแต่งพระพุทธรูปที่ได้ปั้นไว้แล้วองค์หนึ่ง ผมถามท่านว่าพระพุทธรูปองค์นั้นเป็นแบบไหน ท่านก็บอกว่าไม่มีแบบแน่นอน เพราะในพระพุทธรูปองค์นั้นมีพระพุทธรูปแบบต่างๆ เช่นแบบเชียงแสน แบบอู่ทอง แบบสุโขทัย เอามาผสมกันเข้า

แบบแต่ละแบบที่มาผสมกันนั้นก็ยังแยกกันอยู่แลเห็นได้ชัด เช่นพระพักตร์เป็นสุโขทัย ลำพระองค์เป็นอู่ทอง และพระหัตถ์เป็นเชียงแสน

ผมถามอาจารย์ว่า พระพุทธรูปที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นแบบรัตนโกสินทร์นั้นมีหรือไม่

อาจารย์ตอบว่าไม่มี

เพราะพระที่สร้างกันในยุครัตนโกสินทร์ตอนแรก ก็เป็นพระแบบอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น ส่วนพระที่สร้างขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต่อๆ มา ก็เป็นแบบผสม หาอะไรเป็นของตัวเองไม่ได้

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 07:40:32
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 17  

สกุลช่างรัตนโกสินทร์ที่คิดว่าหลุดพ้นจากศิลปะอยุธยา น่าจะเป็นการตกแต่งจีวรและฐานขององค์พระที่เริ่มต้นในช่วงรัชกาลที่ ๒

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 07:42:09
ถูกใจ: orcahappy

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 18  

แวะมานมัสการพระปฎิมาขอรับ สาธุครับ

จากคุณ: โตนิค
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 08:29:09
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 19  

ขอบคุณ คุณหนุ่มรัตนะครับ ได้ความรู้ซะแน่นเชียวครับ

จากคุณ: Numenor
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 09:54:40
  

อ้างอิง

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K8512707/K8512707.html

 
< ก่อนหน้า

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้254
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1589
mod_vvisit_counterทั้งหมด10712853