Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow เส้นทางจีนเดินเรือ
เส้นทางจีนเดินเรือ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 03 ตุลาคม 2009

เส้นทางมังกร

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

 

ณ สุดห้วงมหานที  มีชาวจีนอาศัย

 ก่อนเข้าภูเก็ต                ปรากฏหลักฐาน JUNK CEYLON ที่หมายถึงเกาะภูเก็ตในแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อ พ.ศ.700

คำว่า JUNK หมายถึงเรือสำเภาจีน จีนได้ใช้ JUNK ติดต่อทางการค้าทางเรือกับอาณาจักรอื่นสืบเนื่องต่อกันมา และมีอิทธิพลทางด้านรัฐศาสตร์ และสืบพระศาสนาในบางสมัย 

 1. เส้นทางจาริกแสวงบุญของพระภิกษุอี้จิง

                ออกจากกวางตุ้งไปอาณาจักรศรีวิชัย ประมาณ พ.ศ.1214 – 1232 แวะพักที่พุทธสถานบุโรพุทโธ เมืองปาเล็มบังในชวา แวะตอนเหนือเกาะสุมาตรา ไปขึ้นบกที่เมืองตามรลิปติ เข้าสู่แคว้นมคธในอินเดีย


                2. เส้นทางข้ามคาบสมุทรสุวรรณภูมิ

                จากท่าเรือที่แหลมโพธิ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าปากอ่าวบ้านดอนทวนน้ำเข้าสู่แม่น้ำตาปี เข้าคลองพุมดวง แวะเข้าคลองศก  เดินบกข้ามช่องเขาศกลงสู่แม่น้ำตะกั่วป่า ไปเขาพระเหนอและทุ่งตึกบนเกาะคอเขา  ใช้เส้นทางนี้ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัยถึงอาณาจักรศิริธรรมนคร ศตวรรษที่ 11-18 และเมื่อย้อนกลับก็จะเป็นเส้นทางลำเลียงพระราชทรัพย์ที่ใช้สืบต่อมาถึงสมัยกรุงธนบุรี(ถึง 2325) 

 ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาสุรินทราชา(จัน จันทโรจน์วงศ์)ได้ขอพระราชทานเปลี่ยนเส้นทางเป็นปากคลองมะรุ่ย ปากลาว ขึ้นบกแล้วลงแม่น้ำตาปี  ออกอ่าวบ้านดอน แวะพักที่แหลมโพธิ์  เข้าอ่าวไทย  เข้าสู่กรุงเทพมหานคร                 3. เส้นทางสำรวจโลกของเจิ้งเหอ

                เจิ้งเหอผู้บัญชาการทหารเรือสมัยราชวงศ์หมิง นำกองเรือออกจากเมืองนานกิง สำรวจโลก 7 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ.1948 – 1975 ล่องเรือลงใต้ตามแนวชายฝั่งจีนใกล้มณฑลฝูเจี้ยน ใกล้เกาะไห่หนาน  แวะอาณาจักรจามปา ผ่านปลายแหลมสุวรรณภูมิ  แวะทางตอนเหนือเกาะสุมาตรา มุ่งตรงไปศรีลังกาและอินเดีย  และใช้เป็นเส้นทางเดินเรือทั้งไปและกลับ  ครั้งหนึ่งได้แวะเข้าสู่สยามทางอ่าวไทย สู่ปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ.1951

 

สู่ภูเก็ต

 

                4. เส้นทางเพื่อชีวิตใหม่

 

จากท่าเรือเอ้หมึงในมณฑลฝูเจี้ยน แวะเกาะไห่หนาน สิงคโปร์ มะละกา และปีนัง  เข้าสู่เกาะภูเก็ตตั้งแต่ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(2367-2394)ถึงสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ราว 2480)

 

5. เส้นทางยุคแร่ดีบุกรุ่งเรือง

 จากท่าเรือเอ้หมึง มณฑลฝูเจี้ยน ลงสู่ทะเลจีนใต้  มุ่งตรงปลายแหลมสุวรรณภูมิ  แต่ไม่แวะสิงคโปร์ มะละกา และปีนัง  เข้าสู่เกาะภูเก็ต ช่วงปี 2449-2464                                                                                                                                  
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 27 กุมภาพันธ์ 2010 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้310
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1537
mod_vvisit_counterทั้งหมด10723773