Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow หลวงจีนเดินทางสืบสารพุทธ
หลวงจีนเดินทางสืบสารพุทธ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 01 ตุลาคม 2009
ในคริสต์ศตวรรษที่ ๗ พระอาจารย์จีนยวนจ่าง (พระถังซำจั๋ง ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง ค.ศ. ๖๐๐-๖๖๔) ได้ถือบุญจาริกไปชมพูทวีปและได้ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นสำนักสงฆ์ที่สำคัญยิ่ง ดังท่าน เขียนเล่าไว้ในรายการเดินทางของท่านทางเอเชียกลางไปจนชมพูทวีป ว่ามี พระศึกษาที่นั่นถึงหมื่นรูป

http://www.matichonbook.com/mail.php?send=2&id=470426104144

 หากเอ่ยนามสมณะเสวียนจั้ง ผมเชื่อว่าหลายท่านคงไม่รู้จักเท่าการเอ่ยนามพระถังซัมจั๋ง ยิ่งเมื่อกล่าวถึง "ไซอิ๋ว" วรรณกรรมเรื่องเยี่ยม และยิ่งใหญ่ หนึ่งในสี่ของจีน เราคงคุ้นเคยกับศิษย์ทั้งสามของท่านคือ "หงอคง" (อู้คง) หมายถึง สุญญตา" คือความว่างอันเป็นสมาธิขั้นสูงของผู้บรรลุธรรม "โป๊ยก่าย" (ปาเจี้ย) แปลว่า ศีลแปด และ "ซัวเจ๋ง" (ซาเซิง) หมายถึงพระผู้ใฝ่แสวงปัญญาอีกด้วย

ไซอิ๋วนั้น เขียนขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง ต้องการสะท้อนความไม่พอใจต่อความอ่อนแอ ไร้ความสามารถของชนชั้นปกครอง ที่ปล่อยให้ต่างชาติเข้ารุกรานแผ่นดิน และต่อต้านการกดขี่ข่มเหงประชาชนของนักการเมืองในสมัยนั้น โดยผูกเรื่องเชื่อมโยงการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกในชมพูทวีปของพระถังซัมจั๋ง ผู้แต่งให้พวกเขาได้ต่อสู้กับปีศาจร้าย เหมือนความเลวร้ายที่ท่านต้องเผชิญ ทำให้เห็นถึงวัตรปฏิบัติ และความมุมานะ อุทิศชีวิตฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อค้นหา แปล และเผยแผ่พระสัจธรรมในพุทธศาสนาในจีน ทำให้เรื่องราวของพระถังซัมจั๋งเป็นที่ศรัทธาทั้งในหมู่ชาวพุทธ และชาวโลก ทั้งในฐานะนักเดินทาง นักภาษาศาสตร์ และผู้รอบรู้พระพุทธศาสนา

พระถังซัมจั๋งถือ
เป็นอัจฉริยะโดยกำเนิดศึกษาพุทธธรรมตั้งแต่เด็ก และได้บวชเป็นเณรตอนอายุ
13 ปี ท่านศึกษา และปฏิบัติธรรมบ่มเพาะจิตใจให้มีคุณธรรมตั้งแต่วัยเยาว์

ภายหลังแม้ท่านใฝ่หาผู้รู้จนทั่วแผ่นดินจีน แต่ก็ไม่สามารถเข้าถึงแก่นเนื้อแท้ ขาดผู้รู้ภาษาบาลี-สันสกฤตอย่างลึกซึ้ง การศึกษาค้นคว้าของท่านทำให้รู้ว่า บางบทก็ผิดจากความจริง บางเรื่องก็ได้ความไม่ครบถ้วน

เมื่อย่างเข้าเดือน 8 ของปี พ.ศ.1172 ท่านตัดสินใจเดินทางไปดินแดนชมพูทวีป แม้การเดินทางครั้งนั้นจะยากลำบากยิ่งนัก พบอุปสรรคมากมายท่ามกลางความร้อนระอุของท้องทะเลทรายโดยลำพัง มีเพียงกองกระดูก และมูลม้าเป็นแนวทางให้แสวงหา ยิ่งเป็นช่วงเปลี่ยนราชวงศ์จากสุยเป็นถัง การเดินทางยิ่งถูกคุมเข้มงวดยิ่งขึ้น

พระถังซัมจั๋งใช้เวลาประมาณ 12 ปี ศึกษาค้นคว้าในนาลันทา มหาวิหารมหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุคนั้น จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาในที่ต่างๆ ที่ขึ้นชื่อว่ามีวิชาดี จนแตกฉาน สามารถเทศน์ได้จับใจสอนบุคคลทั่วไป และแต่งหนังสือขึ้น จนมีประสบการณ์มากพอ และทำให้ท่านมีชื่อเสียงในดินแดนชมพูทวีปไม่แพ้สมัยที่อยู่เมืองจีน รวมเวลาเดินทางไป-กลับ ประมาณ 19 ปี

การจาริกสู่ชมพูทวีปของท่านนั้น เป้าหมายปลายทางหลักคือศึกษาคัมภีร์ที่นาลันทา และนมัสการพุทธสถาน แต่เป้าหมายระหว่างทางคือโอกาสแห่งการศึกษา ที่ท่านมักหาโอกาสวิสัชนาธรรมกับผู้รู้อยู่ตลอด ทำให้เราพบว่า
แท้จริงแล้วธรรมนั้นมิได้อยู่คัมภีร์ แต่อยู่ที่การปฏิบัติดีด้วยจิตที่มุ่งมั่น ย่อมสามารถค้นพบ และเข้าถึงสัจธรรมได้


ท่านเดินทางกลับจีนเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1188 พร้อมได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระไตรปิฎก และพระพุทธรูปต่างๆ กลับฉางอาน ใช้ม้าบรรทุกถึง 20 ตัว รวมคัมภีร์ทั้งสิ้น 657 ปกรณ์

ในระหว่างการเดินทางกลับนั้น ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าถังไท้จงขึ้นครองราชย์ ทรงเลื่อมใสนับถือท่านมาก พระพุทธศาสนาในจีนรุ่งเรืองสุดสุด ด้วยคุณูปการยิ่งใหญ่ที่ท่านสร้างให้ไว้ และเมื่อท่านอายุ 69 ปี ก็ดับขันธ์อย่างสงบ โดยที่พระเจ้าถังไท้จงถึงกับทรงกันแสง และออกโอษฐ์ว่า "ดวงมณีของ

http://bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=ppbbz&board=5&id=119&c=1&order=numtopic

 

                มีประวัติเล่าอยู่ในหนังสือ มหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีป บ่งบอกว่าเมื่อครั้งที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระสมณทูตออกเผยแพร่พุทธศาสนา ก่อนพ.ศ. ๒๕๕ มีพระกลุ่มหนึ่งคือพระโสณะกับพระอุตตระติดเรือของพ่อค้าเดินทางเลียบชายฝั่งอ่าวเบงกอล ผ่านบังกลาเทศจนถึงพม่า (ชื่อนี้มีรากศัพท์มาจากคำว่าพรามัน) จนตัดมาถึงชายฝั่งทะเลอันดามันบริเวณที่เป็นอ่าวเมาะตะมะแถวเมืองเมาะละแหม่ง เมืองทวายและเมืองมะริดในบริเวณเคียงใกล้ซึ่งได้แก่เมืองในดินแดนสุวรรณภูมิ (พม่าเรียกประเทศของตัวเองว่าดินแดนสุวรรณภูมิมานานแสนนานแล้ว) ทั้งสองได้มาขึ้นฝั่งที่เมืองท่าอันเป็นสถานีค้าขายอันเก่าแก่ยาวนานแถวอ่าวมะตะมะนี้เอง

                ในตำนานพงศาวดารบันทึกว่าภิกษุทั้งสองฟันฝ่าเดินธุดงค์เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี ลงเรือมาตามลำน้ำแควน้อยแควใหญ่ ถึงต้นแม่น้ำแม่กลอง เข้ามาถึงบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย ชายทะเลที่เต็มไปด้วยโคลนตมและป่าชายเลนที่ต่อมาคือลุ่มแม่น้ำท่าจีน-แม่กลอง แถวนี้เป็นชุมชนโบราณมีอายุร่วมสามพันปีมาแล้ว อยู่แถวดอนตาเพชรหรืออำเภอพนมทวน กาญจนบุรีและลำน้ำจระเข้สามพัน-อำเภออู่ทอง(หรือในภาษาจีนเรียกว่า จินหลิน) สุพรรณบุรี จากที่นี่เองที่ศาสนาพุทธแพร่หลายออกไปยังที่อื่นๆบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสัก ลุ่มน้ำบางปะกง-พานทอง ลุ่มแม่น้ำชี-มูนและลุ่มแม่น้ำโขงเป็นต้น

(ซุน) ราชวงศ์ซ่งใต้ (1670-1822 หรือ ค.ศ. 1127 1279)ในทางการเมืองแม้สมัยซ่งใต้จะถูกจัดว่าเป็นราชวงศ์ที่อ่อนแอที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ กระนั้นความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในสมัยซ่งใต้กลับโดดเด่นสวนกระแสความตกต่ำทางการเมือง ด้วยอิทธิพลทางการค้าที่การค้าขายภายในประเทศและกับต่างประเทศถือว่าเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ในด้านการเกษตร ด้วยความที่พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่นั้นอยู่ภายในดินแดนของอาณาจักรซ่งใต้ ทำให้ระดับปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรของซ่งใต้นั้นไม่ได้ด้อยกว่าซ่งเหนือเลยในสมัยนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตอาวุธ การพัฒนาเครื่องมือทางการเกษตรใหม่ๆ การทำเหมืองแร่ หลอมโลหะ ต่อเรือ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเทคโนโลยีและขนาดการผลิตที่เหนือกว่ายุคซ่งเหนือมาก นอกจากนี้แล้วยังมีการพัฒนาการเลี้ยงหม่อนไหม การทอผ้าไหม การทอผ้าฝ้าย การผลิตเครื่องเคลือบดินเผา ซึ่งก็ถือว่ามีความก้าวหน้ามากกว่าเดิมเช่นกันยิ่งกว่านั้นหลังจากที่ปี่เซิง (毕升) ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือได้คิดค้นเทคโนโลยีการพิมพ์แบบใหม่ที่สามารถเรียงพิมพ์ได้ (活字印刷) ขึ้นทำให้การพิมพ์หนังสือเป็นจำนวนมากๆ ง่ายขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษก้าวหน้าตามขึ้นไปด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้วัฒนธรรมของราชวงศ์ซ่งแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วและเป็นไปในวงกว้างขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด มีนัยยะต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งก็คือ การค้าหรือ พาณิชยกรรมอ้างอิงจากแฟร์แบงค์และไรสชาวร์ สองนักประวัติศาสตร์จีนคนสำคัญของโลกตะวันตกมองว่า สมัยซ่งถือเป็นจุดกำเนิดของ การปฏิวัติพาณิชยกรรมในประเทศ โดยในสมัยซ่งใต้ การค้าภายในประเทศและกับต่างประเทศนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในส่วนของพ่อค้าจีนเองก็มีการค้าผ่านทางทะเลกับเกาหลี ญี่ปุ่น และดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังมีการแข่งขันกันทำการค้ากับชาวอาหรับและเปอร์เซียอีกด้วยสำหรับสาเหตสำคัญที่การค้าทางทะเลขยายตัวขึ้นอย่างมากในสมัยซ่งใต้ก็อันเนื่องมาจาก ดินแดนทางภาคเหนือของจีนที่แต่ดั้งเดิมเป็นเส้นทางการค้าทางบกที่เรียกกันว่าเส้นทางสายไหมนั้นตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอาณาจักรซีเซี่ยและจิน ทำให้พ่อค้าชาวจีนต้องหันไปใช้เรือขนส่งสินค้าแทน โดยผลที่ตามมาก็คือพ่อค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่วนเมืองต่างๆ ตามริมชายฝ่ายทะเลก็เพิ่มความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ
 ๔.จดหมายเหตุพระอี้จิง (I-Tsing)
 
พระอี้จิงขึ้นฝั่งที่ตามรลิปติ
พระอี้จิงเกิดเมื่อราว พ.ศ. ๑๑๗๘ ที่ฟันหยางใกล้กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน หลังจากพระถังซัมจั๋งกลับเมืองจีนท่านมีอายุ ๑๐ ปี เมื่ออายุได้ ๑๔ ปีก็บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบ ๒๐ ท่านได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุหลังจากได้ศึกษาพระธรรมอย่างช่ำชองแล้ว จึงเกิดแนวคิดที่จะไปสืบพระศาสนาในอินเดีย
     ต่อมาท่านเดินทางเข้าสู่ประเทศอินเดียต่อจากพระถังซัมจั๋งไม่นานนัก เมื่ออายุ ๓๗ ปี ผ่านทางทะเล โดยแวะที่สุมาตราเป็นเวลา ๘ เดือน ผ่านอาณาจักรศรีวิชัย พัก ๖ เดือน พักที่มาลายู ๒ เดือนจนถึงฝั่งที่อินเดียที่ตามรลิปติ
     จากนั้นเดินทางเข้ามคธ ได้สักการะสังเวชนียสถาน และศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ๑๐ ปี และกลับเส้นทางเดิมโดยแวะศึกษาภาษาสันสกฤตที่อาณาจักรศรีวิชัย ๔ ปี ได้รับการต้อนรับจากราชสำนักเป็นอย่างดี ท่านได้กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัย ไว้ว่า "
อาณาจักรศรีวิชัยนั้นพุทธศาสนารุ่งเรืองเหมือนในอินเดีย มีพระสังฆราชชื่อว่าศากยเกียรติ (Sakyakirti) เป็นประมุขสงฆ์ เมืองชั้นใหญ่น้อยหลายร้อยเกาะ พระจีนที่จะไปอินเดียควรเตรียมตัวเรียนสันสกกฤตที่นี่ก่อน"

   

แผนที่เส้นเดินทางของหลวงจีนอี้จิง

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 01 ตุลาคม 2009 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้848
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1309
mod_vvisit_counterทั้งหมด10730456