Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
ข้อเสนอแนะของปราชญ์ต่อ พมร.ภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 06 กันยายน 2009

From: "Prachaya khaphajan"
To: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้
Subject: My first greeting
Date: Sun, 6 Sep 2009 17:50:05 +0700

ท่านอาจารย์สมหมาย


ขอบคุณเหลือหลาย  ที่ได้กรุณานำชพิพิธภัณฑ์หมืองแร่ภูเก็ต เมื่อวันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2552 (ที่ผมไปกับรองศาสตราจารย์พอตา บุตรสุทธิวงศ์) และนักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงอีก  2  คน (คุณอัจนา และคุณสายใจ)   
นับเป็นวาสนาชะตาชีวิต ที่ได้มีโอกาสรู้จักกับคุณ และได้มีคุณเป็นมัคคุเทศก์บรรดาศักดิ์(เชลยศักดิ์)  นำเที่ยวชเหมืองแร่จำลอง   

 

ผมไม่เคยเห็นเหมืองแร่มาก่อนเลยในชีวิต  มาภูเก็ตนับเป็นหลายสิบครั้ง ในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา    คราวนี้ ได้เรียกร้องบรรดาลูกศิษย์ ว่าอาจารย์อยากเห็นเหลือเกิน ช่วยพาไปเที่ยวหน่อย    ปรากฏว่าอยู่เหนือคำบรรยาย  เกินกว่าที่ผมจินตนาการเอาไว้อย่างมากมาย  ได้รับความรู้ใหม่ ๆ อย่างมาก    มีสิ่งดี ๆ งาม ๆ หลาย ๆ อย่างให้ศึกษาน่าชม เสียดายที่ผมมีเวลาน้อยมาก   การใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง ณ ที่นั้น นับว่าน้อยเกินไปสำหรับผม  ซึ่งเป็นคนสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับโบราณคดี ประวัติศาสตร์  เผ่าชนวิทยา   สิ่งแวดล้อมศึกษา ฯลฯ  เป็นอย่างมาก   ของดี ๆ  อย่างนี้  สำหรับผม ต้องเที่ยวชม ใช้เวลาเป็นวัน จึงจะได้รับความซาบซึ้ง   และเข้าใจเรื่องราว รายละเอียดต่าง ๆ  อย่างเต็มที่ 

 

ได้ทดลองเปิดดูเรื่องราวต่าง ๆ ของคุณจากอินเทอร์เน็ต(www.phuketdata.net)  ทำให้ได้ความรู้อื่น ๆ  เพิ่มเติมไปด้วยอีกมากมาย  

 

เสียดายจริง ๆ ที่พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต(พมร.ภูเก็ต)แห่งนี้อยู่ลึกลับ  ห่างไกลเกินไป ยากนักที่คนทั่วไปจะเข้าถึงได้     หากไปมาได้สะดวก มีการประชาสัมพันธ์ดี ๆ และมีการทำเรื่องราวต่าง ๆ ในทำนองหุ่นจำลอง   แสดงรูปแบบการดำเนินชีวิตของชาวภูเก็ต สมัยเมื่อ 2-3 ร้อยปีก่อนนี้    วิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ   มีการแสดงเส้นทางเดินเรือ (ที่มีรายละเอียดมากกว่าแผนที่เพียงแผ่นเดียว)    มีเรื่องราวการดำเนินชีวิตขอชนชาติต่าง ๆ ในภูเก็ต  เส้นทางการเดินทางของแร่ดีบุก  ที่เมื่อขุดได้แล้วไปที่ไหน  คนชาติอื่น ๆ  ที่เขาซื้อนั้น เขาเอาไปทำอะไร   ทำนองนี้   จะยิ่งเป็นการดีมาก    ผมเสียดาย ที่เรื่องราวเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนน้อยเหลือเกิน  จนอาจจะกล่าวได้ว่า  ไม่ได้รับความสนใจจากทางราชการเลยด้วยซ้ำไป  และการดำเนินการของเทศบาลเมืองกะทู้เอง  ก็เป็นภาระที่หนักเกินกำลัง  ที่จริงควรจะเป็นเรื่องของประเทศไทยมากกว่า   หากบริหารแบบกระจายอำนาจ  และภูเก็ตได้บริหารตนเอง  โดยเป็นอิสระ  หาเงินหาทองได้ ก็ใช้ในภูเก็ตเอง  อาจจะส่งเสริมสนับสนุน การสร้างพิพิธภัณฑ์ให้เจริญงอกงามยิ่งกว่านี้ได้อีกมาก 

 

พิพิธภัณฑ์ในลักษณะเช่นนี้ หากสร้างอยู่แถวหาดป่าตอง เรียกค่าเข้าชมคนละ 1,000 บาท  ผมเชื่อแน่ว่า จะมีคนเข้าชมวันละไม่ต่ำกว่า 1 พันคน หรือทำให้มีรายได้จากการเข้าชมวันละ 1 ล้านบาท  ได้อย่างสบาย  ๆ  และเมื่อมีเงินมากขนาดนั้น การจะลงทุน เนรมิตทำสิ่งไรขึ้นมา ให้เป็นประโยชน์ ให้เห็นความเจริญงอกงามของพิพิธภัณฑ์แบบมีชีวิต  ที่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนการแสดงไปเรื่อย ๆ ตามรอบวัฏจักรที่ควรจะเป็น  จะเป็นการดีมากทีเดียว

   
ขอบคุณอย่างยิ่ง  ที่เอื้อเฟื้อให้ความรู้ที่มีค่ายิ่งแก่พวกเรา   ผมมีโอกาสตอบแทนเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ด้วยการส่งหนังสือให้อ่านเป็นบรรณาการ 2-3 เล่ม ซึ่งจะดำเนินการให้ในเร็ว ๆ วันนี้ (ไม่เกิน 2 วัน)


ระลึกถึงเสมอครับ

   
ปราชญา กล้าผจัญ

 

หมายเหตุ

รองศาสตราจารย์ ดร.ปราชญา กล้าผจัญ เข้าเยี่ยมชม พมร.ภูเก็ตเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๒  ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ต้อนรับและนำชม พมร.

เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง

นักศึกษาปริญญาโทเข้าเยี่ยมชม พมร.

ดร.ปรีดี นำ ป.โท ชม พมร.

ดร.ปรีดี โชติช่วง รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ๖๙ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.) วันอาทิตย์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๑.๑๕-๑๓.๑๐ น. ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ แบ่งเป็น ๓ กลุ่มให้จิรชัย อนุสัตย์ และอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เป็นผู้บรรยายประจำฐาน : โชคชัย แสงเขียว ถ่ายภาพ

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 06 กันยายน 2009 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1837
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1874
mod_vvisit_counterทั้งหมด10696123