เอกลักษณ์ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตอนันต์ อารีย์พงศ์ เอกลักษณ์ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตสามารถจำแนกได้ ๓ ประการ ดังนี้ ๑. เอกลักษณ์ด้านเสียง ๒. เอกลักษณ์ด้านคำ ๓. เอกลักษณ์ด้านความหมาย
๑. เอกลักษณ์ด้านเสียง ๑.๑ เสียงวรรณยุกต์ มีจำนวนเสียงทั้ง ๓ อำเภอ ๗ หน่วยเสียง เท่ากับภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดอื่น ๆ ความเป็นเอกลักษณ์ด้านเสียงวรรณยุกต์มีคล้าย ๆ กับภาษาไทยถิ่นใต้อื่น ๆ คือ ๑.๑.๑ ไม่มีการแยกเสียงระหว่างช่อง A กับ B (ของกล่องวรรณยุกต์ ตามแนวคิดของ William J.Gedney) ได้แก่ คำว่า (ขา) กับ (ข่า) จะออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงเดียวกันคือ สูง-ระดับ-ตกท้าย (๔๓)
๑.๑.๒ ระดับเสียงวรรณยุกต์จะสอดคล้องกับการจำแนกพยัญชนะที่แบ่งเป็นอักษร ๓ หมู่ คือ คำใดที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูงระดับเสียงวรรณยุกต์จะเป็นอักษรสูง อักษรกลางระดับเสียงวรรณยุกต์ จะเป็นระดับกลาง และอักษรต่ำระดับเสียงวรรณยุกต์จะเป็นระดับต่ำ (ดูตัวอย่างจาก ๑.๑.๔) ๑.๑.๓ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งเขตภาษาถิ่น ระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับใต้ โดยใช้วรรณยุกต์เป็นเกณฑ์ โดยเฉพาะการใช้ช่อง A กับ B จะรวมกัน แต่ภาษาไทยถิ่นอื่น ๆ ทุกภาคจะแยกกัน ดังเช่นงานวิจัยของเกศมณี เทพวัลย์ ที่ใช้วรรณยุกต์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับใต้ สามารถขีดเส้นแผนที่ภาษาได้ที่ตำบลทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๑.๑.๔ เมื่อเปรียบเทียบระบบเสียงวรรณยุกต์ระหว่างภาษาจีนฮกเกี้ยนที่ปราณี กายอรุณสุทธิ์ (๒๕๒๖) สรุปไว้ในงานวิจัยเรื่องคำยืมภาษาจีนในภาษาไทยปัจจุบันกับภาษาไทยถิ่นภูเก็ตที่คำนวณ นวลสนอง และคณะ (๒๕๒๗) วิจัยไว้ในเรื่องภาษาไทยถิ่นที่ใช้ในปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ต แม้จะไม่ค่อยตรงกันทั้งจำนวนและระดับ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตมี ๗ หน่วยเสียง /1/ สูง-ระดับ-ตกตอนท้าย(43) ถาม ถ่าน /2/ สูง-ระดับ(44) ถ้ำ ถาก ถัด /3/ กลาง-ขึ้น-ตก (332) กา แก่ กับ บิน ป่า /4/ กลาง-ระดับ(33) ก้าง กาบ บ้า บอด /5/ ต่ำ-เลื่อนลง(21) คา /6/ ต่ำ-ขึ้น(23) พ่อ พาด /7/ ต่ำ-ระดับ(22) แพ้ พัก แต่เมื่อภาษาไทยถิ่นภูเก็ตยืมคำจีนฮกเกี้ยนเข้ามาใช่ในภาษาของตนแล้ว มีการปรับระดับเสียงให้เข้ากับระดับเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตได้อย่างกลมกลืนและสนิทเหมือนอย่างการปรับระดับเสียงวรรณยุกต์ของจีนแต้จิ๋วกับภาษาไทยถิ่นกลาง ๑.๒ เสียงพยัญชนะ ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตจะมีสัญลักษณ์ จำนวนและหน้าที่ของหน่วยเสียงพยัญชนะคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับภาษาไทยมาตรฐานจะแตกต่างจนสามารถแสดงเอกลักษณ์ของเสียงและพยัญชนะภาษาไทยถิ่นภูเก็ตก็คือ ๑.๒.๑ พยัญชนะต้นเดี่ยว ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตจะมีหน่วยเสียงพยัญชนะต้นนาสิกก้องเพดานแข็ง เหมือนภาษาไทยถิ่นอีสานและเหนือ ซึ่งจัดเป็นเสียงดั้งของภาษาตระกูลไทที่ภาษาไทยถิ่นทั้ง ๓ ภาครักษาเสียงนี้ไว้ได้ แต่ภาษาไทยถิ่นกลางได้สูญเสียงนี้ไปแล้ว ๑.๒.๒ พยัญชนะประสม (ควบกล้ำ) ภาษาไทยถิ่นภูเก็ต มีหน่วยเสียงพยัญชนะประสมที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐานและภาคอื่นแต่เหมือนกับภาษาไทยถิ่นใต้อื่น ๆ คือ หน่วยเสียง /มร/ และ /มล/ ซึ่งเป็นหน่วยเสียงดั้งเดิมของภาษาตระกูลไทด้วย และมีหน่วยเสียงพยัญชนะประสมที่ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตใช้แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน คือ หน่วยเสียง /ตร/ ของภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตจะใช้ /กร/ เช่น
กท. ภก. ตรวจ/truat/ กรวด/kruat/ เตรียม/triam/ เกรียม/kriam/ ๑.๒.๓ พยัญชนะท้าย (สะกด) ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตมีการออกเสียงพยัญชนะท้ายที่แตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นใต้บางจังหวัดและภาษาไทยถิ่นภาคอื่น คือ การออกเสียงพยัญชนะสะกด /-k/ เมื่อตามหลังเสียงสระยาวจะเปลี่ยนไปเป็นเสียง /-?/ เช่น กท. ภก. ออก เอาะ ถูก ถุ้ แจก แจะ โยก โหยะ เชือก เฉือะ ลักษณะเด่นข้อนี้สามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตภาคระหว่างภาษาไทยถิ่นใต้ด้วยกันได้ ฌัลลิกา มหาพูนทอง (๒๕๓๙) ใช้พยางค์ที่มีเสียงสระยาวกับพยัญชนะท้าย /-k/ หรือ /-?/ ในการกำหนดแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออกกับภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก จนสามารถจะลากเส้นแนวแบ่งเขตจากอ่าวไทย ซึ่งอยู่ตอนเหนือของจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงมาทางใต้ผ่านบริเวณดังต่อไปนี้ ๑. ผ่านระหว่างอำเภอเมืองและอำเภอกาญจนดิษฐ์ลงมายังจุดเก็บข้อมูลบ้านท่าเพชร บ้านท่าสน อำเภอเมือง จากนั้นลากผ่านเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอกาญจนดิษฐ์กับอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒. ผ่านระหว่างบริเวณอำเภอฉวาง กับอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยลากผ่านจุดเก็บข้อมูลบ้านจันดี อำเภอฉวาง ๓. ผ่านระหว่างบริเวณอำเภอทุ่งสง และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยลากผ่านจุดเก็บข้อมูลบ้านหนองหว้า อำเภอทุ่งสง แล้วผ่านตรงกึ่งกลางระหว่างจุดเก็บข้อมูล บ้านฉางกับบ้านกะโสม อำเภอทุ่งสง ๔. ผ่านจุดเก็บข้อมูลบ้านวังเต่า อำเภอทุ่งสง แล้วผ่านตรงกึ่งกลางระหว่างจุดเก็บข้อมูลบ้านคลองท่อมใต้กับบ้านห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แล้วลากสู่ทิศตะวันตกจรดทะเลอันดามัน ๑.๒.๔ ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตเป็นภาษาที่ออกเสียงพยัญชนะนาสิก เพดานอ่อน ( ) ในตำแหน่งต้นคำได้ ซึ่งต่างจากภาษาไทยถิ่นใต้บางถิ่นออกไม่ได้ จะเปลี่ยนไปเป็นเสียงเสียดแทรก ช่องเน้นเสียง /h/ ภก. สข. งาม ฮาม ลักษณะดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นใต้ได้ เช่น งานวิจัยของ ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ และคณะ (๒๕๒๑) ได้ใช้ ( ง ) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตภาษาถิ่นย่อยของจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ออกเสียง ( ง ) เป็น ( ฮ ) ได้แก่ ภาษาในอำเภอท่าฉาง ไชยา และท่าชนะ และกลุ่มที่ออกเสียง ( ง) เป็น (ฮ) ได้แก่ ภาษาในอำเภอเกาะสมุย คีรีรัฐนิคม พุนพิน เมือง กาญจนดิษฐ์ นาสาร พระแสง พนม กิ่ง อ.ตาขุน กิ่ง อ.เคียนซา กิ่ง อ.เวียงสระ กิ่ง อ.ดอนสัก และ กิ่ง อ.พงัน ๑.๓ เสียงสระ ภาษาไทยถิ่นภูเก็ต มีหน่วยเสียงสระตรงกับภาษาไทยมาตรฐาน แต่ที่มีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ๑.๓.๑ เสียงย่อยสระประสมสั้น (ia) ในภาษาไทยมาตรฐานจะเกิดกับคำเลียนเสียง เช่น เพียะ /phia?/ ฯลฯ ไม่เกิดกับคำทั่วไป แต่ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตสามารถเกิดกับคำทั่วไปได้ เช่น กท. ภก. เชือก เฉียะ เกือก เกือะ เมือก เหมือะ เลือก เหลือะ ๑.๓.๒ สระเสียงสั้นภาษาไทยมาตรฐานเป็นสระเสียงสั้นอื่นในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต กท. ภก. เป็ด แป็ด เม็ด แหม็ด หด ฮ็อด อบ อ็อบ ๑.๓.๓ สระเสียงยาวพยางค์เปิด* ในภาษาไทยมาตรฐานเป็นสระเสียงสั้น แล้วเพิ่มเสียงสะกดเป็นพยางค์ปิด** ในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต กท. ภก. หู หู้ว หมู หมู้ว ปี ปีย สี่ สี้ย ๑.๓.๔ สระเสียงสั้นในภาษาไทยมาตรฐานเป็นสระเสียงยาวในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต กท. ภก. มือ สะดือ * พยางค์เปิด : พยางค์ ** พยางค์ปิด : พยางค์ที่มีตัวสะกด ๑.๓.๕ สระเสียงสั้นในภาษาไทยมาตรฐานเป็นสระเสียงยาวในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต กท. ภก. หุง กุ้ง เส้น แน่น ลิ้น ขึ้น ส้น เล่า ๑.๓.๖ สระเสียงยาวภาษาไทยมาตรฐานเป็นสระเสียงยาวอื่นในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต กท. ภก. เปลี่ยน เอียน ๑.๓.๗ สระสูง-ยาว /i: / / u: / พยางค์เปิดในภาษาไทยถิ่นภูเก็ตจะเปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้นหรือยาว พยางค์ปิด มีเสียงสะกดอย่างสม่ำเสมอ และมีกฎเกณฑ์ แต่ภาษาไทยถิ่นใต้บางถิ่น เช่น ภาษาไทยถิ่นตรัง จะเปลี่ยนเป็นสระกลาง-ยาว อย่างไม่มีกฎเกณฑ์ กท. ตร. สี่ ปู่ สัทลักษณะของสระสูง ดังกล่าวนี้ เจริญขวัญ ธรรมประดิษฐ์ (๒๕๒๔) ได้นำไปเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นใต้ในจังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และภูเก็ต ซึ่งผลการวิจัยสรุปว่าภาษาไทยถิ่นตรังเป็นกลุ่มที่มีการออกเสียงสระ /i : / และ /u : / เป็น /e : / และ /o : / อย่างไม่มีเกณฑ์ ต่างไปจากภาษาไทยถิ่นภูเก็ตและพังงาที่ออกเสียงสระ / i ; / และ / u :/ ออกเสียงเป็น (ei) และ (ou) อย่างมีเกณฑ์ และภาษาไทยถิ่นกระบี่ออกเป็นเสียง ( i ) และ (u : ) เสมอ ๒. เอกลักษณ์ด้านคำ ภาษาไทยถิ่นภูเก็ต นอกจากจะมีวงศัพท์ที่ตรงกับภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นอื่น และภาษาไทยถิ่นใต้แล้ว ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตยังมีวงศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะถิ่นของตน ทั้งที่เป็นคำไทยและคำยืม โดยคำยืมภาษาจีนฮกเกี้ยน นับว่าเป็นจุดเด่นที่สุดของภาษาไทยถิ่นภูเก็ต เอกลักษณ์ด้านคำสามารถจำแนกได้ดังนี้ ๒.๑ มีวงศํพท์ที่เป็นคำไทยเฉพาะถิ่นของตนเอง ปลาถ้ำ ผักแกล็ด ผักไห บ้าหวัง ถั่วใต้ดิน เหล็กไฟ ถั่วฝรั่ง ทวยมัน เคยเค็ม โพล้ (กระป๋อง) ครกเบือ หาญตาย (เป็น)รวด รักขบ ล่อง(ร่อง) ล่อง,ร่อง หม้อไฟ* สดวด ว่าแยบ เกลือเคย ไขขรวน,หอยขรวน ลมหนู** เคลื่อน ไหมล เล็ดล่อ,เหน็ดล่อ,เหม็ดล่อ เบื้องแก้ว ดันพุง ในไฟ พรวด พวม(พร้าว) ลิงจุน*** ชักตา เอวเฉาะ,เอวจม,เอ็นเฉาะ,เอ็นจม ลิงพังกา**** ถีน ถกหวัก เหยาะ มีดบาง ช้ำทอน แมงแป๊ะ ยอใจ ไฟแกบ รางราง ผีลามทุ่ง***** ลักซอก (ลักเซาะ) หมี่แก หลี่ว (เคลิ้มหลับ) ช้ำแฉ็น****** เหลว เอากะ(ออกกาก) มีดแกะ เล่นนางชี หลาพ่อตา ท้องหู ดันโชน ส้มควาย หม่านิ่ง******* หัวเทียมแดง ท่อนไต้ เรียนผรัง * หม้อไฟ : หม้อแบตเตอรี่ ** ลมหนู : ไส้ไก่ยางรถ *** ลิงจุน : ลิงลม **** ลิงพังกา : ลิงพิมเสน ***** ผีลามทุ่ง : เริม ****** ช้ำแฉ็น : วัณโรค ******* หม่านิ้ง : เป็ดเทศ ๒.๒ มีการยืมคำภาษาจีนฮกเกี้ยนมาใช้จำนวนมาก หมวดที่เด่น ได้แก่ คำนามที่ใช้เรียกเครือญาติ เนื่องจากประชากรในจังหวัดในจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน การเรียกเครือญาติจึงมักยืมมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน จนกลายเป็นจุดเด่นของภาษาไทยถิ่นภูเก็ต จากงานวิจัยของศุภมาส เอ่งฉ้วน (๒๕๓๗) เรื่อง คำเรียกญาติ ภาษาจีนฮกเกี้ยนในภาคใต้ของประเทศไทย (ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ตรัง เรียกญาติแต่ละคำในภาษาจีนฮกเกี้ยนแตกต่างกันมี ๖ ประการ คือ รุ่นอายุ สายเลือด อายุฝ่ายพ่อ/แม่ เพศ และการแต่งงาน เมื่อเปรียบเทียบการใช้คำเรียกญาติและระบบเครือญาติในภาษาจีนฮกเกี้ยนทั้ง ๕ จุด พบว่ามีความคล้ายคลึงกันและต่างกันเป็นคู่ ๆ ดังนี้ เมื่อพิจารณาดูโดยรวมทั้งญาติพื้นฐาน และที่สัมพันธ์โดยการแต่งงานนั้น จังหวัดตรังและพังงามีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เมื่อพิจารณาดูเฉพาะญาติพื้นฐาน พบว่าจังหวัดภูเก็ต และเกาะปีนังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันในเรื่องญาติที่สัมพันธ์โดยการแต่งงาน ถ้าพิจารณาดูเฉพาะญาติที่สัมพันธ์โดยการแต่งงาน จังหวัดกระบี่และภูเก็ตมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันในเรื่องญาติพื้นฐาน การใช้คำและระบบคำเรียกญาติพื้นฐานในภาษาจีนฮกเกี้ยนจังหวัดกระบี่ และการใช้คำและระบบคำเรียกญาติที่สัมพันธ์โดยการแต่งงาน ในภาษาจีนฮกเกี้ยน เกาะปีนังจะมีลักษณะที่ไม่คล้ายคลึงกันกับถิ่นใดเลย สรุปจังหวัดภูเก็ต และเกาะปีนัง จะมีระบบและการใช้คำเรียกญาติคล้ายคลึงกัน จังหวัดภูเก็ตและเกาะปีนังต่างจากถิ่นอื่น คือ มีระบบและคำที่ใช้เรียกญาติปนกันทั้งของภาษาฮกเกี้ยนและภาษาไทย ส่วนหมวดอื่น ๆ เช่น สรรพนาม กริยา เครื่องใช้ อาหาร อาชีพ ประเพณี ความเชื่อ ฯลฯ การศึกษาหมวดคำต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ นภดล กิตติกุล ได้ศึกษาไว้ในงานวิจัยเรื่อง คำยืมภาษาจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ตอย่างละเอียดแล้ว ส่วนการรวบรวมคำยืมจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ต ได้มีการรวบรวมไว้แล้วในพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ ๒๕๒๕ ของสถาบันทักษิณคดีศึกษา ลักษณะการยืมคำจีนฮกเกี้ยนในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต มีลักษณะเด่น ดังนี้ ๒.๒.๑ ทับศัพท์ออกเสียงเหมือนภาษาเดิม เสียวโป๋ย ต่าวโฮ้ย โปะเปี้ย อี้เจ่ จุ้ยก้าว ป๋าน ก่าโต้ อ่างอิ่ว ๒.๒.๒ ใช้คำไทยประสม หรือคำซ้อนกับคำจีน ค่อใน เฉี่ยถ้าง หน่ำฉ่อ หัวฉ้ายถาว หนมต่าวซ้อ หมูต่าวอิ่ว แกงทึ้ง เชียกเกี่ยมฉาว ฉ่าเกือะ หัวเหล่งถาว อ้ามพระจีน ๒.๒.๓ สร้างคำใหม่ เป็นคำที่ไม่เคยมีใช้ในภาษาจีนมาดั้งเดิม โกปี้ฮู่เล้ง เต่ซึ้ง ๒.๓ มีการยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ ส่วนมากมักเป็นคำเกี่ยวกับช่างและเครื่องมือ เช่น แย็ก (Jack) แม่แรง ฟอแม้น (foreman) หัวหน้าคนงาน กะบิด้า,แค้บบิต้า (carbureter) คาร์บิวเรเตอร์ ปลั๊ก (plug) หัวเทียน ริ่ง (ring) ล้อรถ ริ่งลูกสูบ (ring) วงแหวนลูกสูบเครื่องยนต์ ลอรี่ (lorry) รถบรรทุก หอน (horn) แตร (ขา)ตาร์ท (start) ขาสตาร์ท บอริ่ง (boring) เจาะหาแร่ ปั๊ม (pump) ที่สูบลม ๒.๔ มีคำยืมภาษาเขมร ซึ่งเป็นคำยืมจากเขมรยุคก่อนพระนคร ยุคพระนคร และปัจจุบัน แต่ได้ใช้กลมกลืนกับภาษาไทยจนผู้ใช้หรือผู้ยืมไม่ทราบว่าคำนั้น ๆ เป็นคำยืม เพราะคำยืมดังกล่าวนี้ได้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะภาษาไทยจนแทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นคำยืมจากภาษาเขมร เปรมินทร์ คาระวี (๒๕๓๙) ได้วิจัยเรื่องนี้ไว้ใน “คำยืมภาษาเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้” สรุปได้ว่า คำยืมภาษาเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ ส่วนมากมักจะยืมโดยตรงจากภาษาเขมรยุคก่อนพระนคร และพระนคร โดยไม่ได้ผ่านทางภาษาไทยถิ่นกลาง เป็นการยืมคำโดยตรง สามารถสรุปการยืมได้ดังนี้ ๒.๔.๑ คำยืมเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ที่สามารถค้นคำโบราณมาสนับสนุนได้ และสันนิษฐานว่ายืมมาจากคำเขมรยุคก่อนพระนคร ๖๐ คำ เช่น จัด, ชัน (กุ้ง), แม่หวัด, ผุก, พวด (ดอกเบี้ย),โตน, เที่ยง, ตุ๊กตา ฯลฯ ๒.๔.๒ คำยืมเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ที่สามารถค้นคำโบราณมาสนับสนุนได้ และสันนิษฐานว่ายืมมาจากคำเขมรยุคพระนคร ๘๔ ตำ เช่น ดุด(สะดุด) (ต้น)จิก งาย งาน ปูน สวด ฮุบ คาบ โคก (หอย)แครง ทวด ธง (ส้ม)กรูด ลู้ด(ลื่น) โหล(ขวด) โทน, ระ(วัง) วง วัด (ก) ฯลฯ ๒.๔.๓. คำยืมเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ที่สามารถค้นคำโบราณมาสนับสนุนได้ และสันนิษฐานว่าได้ยืมมาจากคำเขมรยุคก่อนพระนครและพระนคร ๓๘ คำ เช่น จันทัน, ปี(กุน) (ต้น)เคียน คัด(คับ) ล้าง เนิน พูน ส้มป่อย เทียน วะ (แยก,แหวก) ฯลฯ ๒.๔.๔ คำยืมเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ที่สามารถค้นคำโบราณมาสนับสนุนได้ และสันนิษฐานว่าได้ยืมมาจากคำเขมรยุคปัจจุบัน ๖๙ คำ เช่น อะไร เอียด อุด(ก้น) อ่อน(ปี) จอ จอก แก (สรรพนาม) เสียด(ป้าย) หลุบ เลือก มด (กระ)รอก ฉลอง,มึก(ดื่ม),นึก,สระ(น้ำ) (ปี)เถาะ ถอย ทอน ถอง (ปี)วอก ฯลฯ ๒.๔.๕ คำเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ที่สามารถค้นคำเขมรโบราณมาสนับสนุนได้ แต่ไม่อาจสันนิษฐานสมัยของยืมได้ ๒๗๒ คำ เช่น แอบ อับ อ่าง อาจ(มีความใคร่) แบะ (กระ)เบน แบก เบิก บัง บาง(หมู่บ้าน) แจ้ง(สว่าง) แจก เจิม จำ (ต้น)จาก ฉอก(แหว่ง,เว้า) หับ(ปิด) โยม ควน ขูด (ทะ)เล (ข้าว)หลาม ปี (ฉ)ลู (ปีมะ)โรง ญัด(ไว้ใจ) แพะ,หัว(ไพล),พลู พรุ ปลัก (ปีมะ)เส็ง เสาะ(น้ำลด) ถัง ถลาง แหวก (จ)วัก (wak) (ส)ว่าง ฯลฯ ๒.๔.๖ คำยืมเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ที่ไม่สามารถค้นคำโบราณมาสนับสนุนได้ และสันนิษฐานว่ายืมมาจากคำเขมรยุคโบราณ ๑๒๔ คำ เช่น อด จิ้งหรีด ขิง คางคก ขุม (ตะ)ไคร้ (เต่า)กระ ดีปลี รังแค ลำเลิก ลัด ๆ ลายมาย หมุก (ภาชนะสาน) ญุก(ขยุก) ญุกญิก (ตะ)โพก พลัด (ผี)พราย สุพัน(กำมะถัน) (กระ)เทียม (กะ)ทะ ทาง(มะพร้าว) ทุย(ก้น,หาง) ทูน(ฟันเขยิน) โทง(ปลาเข็ม) ฯลฯ ๒.๔.๗ คำยืมเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ที่ไม่สามารถค้นคำโบราณมาสนับสนุนได้ และสันนิษฐานว่ายืมมาจากคำเขมรยุคปัจจุบัน ๑๒ คำ เช่น ลวก โละ(ส่องสัตว์) มอด ฯลฯ ๒.๔.๘ คำยืมเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ไม่สามารถค้นคว้าเขมรโบราณมาสนันสนุนได้และไม่อาจสันนิษฐานสมัยของการยืมได้ ๖๓ คำ เช่น (สะ)อึก เอียน เอิด(อวดดี) อวก(อาเจียน) อ้อล้อ จอบ ผักฉีด(ผักกะเฉด) แกห, (หัว)หอม (ตะ)เกียง (ปีระ)กา เกลอ ลุน(ตาโปน) ฯลฯ ๒.๕ มีคำยืมภาษามลายู ซึ่งน่าจะนำเข้ามาโดยชาวจีนฮกเกี้ยนที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศ มาเลเซีย โดยเฉพาะที่เกาะปีนัง เป็นผู้นำมาใช้ จนกลายเป็นคำยืมในภาษาไทยถิ่นภูเก็ต และมีข้อน่าสังเกตว่าการออกเสียงคำยืมเหล่านี้ออกเสียงแล้ว ฟังดูเหมือนคำยืมภาษาจีนไป จนทำให้บางคนเข้าใจว่าเป็นคำยืมจากภาษาจีนด้วยซ้ำ ดิลก วุฒิพาณิชย์ (๒๕๔๒) ได้รวบรวมไว้ในบทความประกอบการสัมมนา “วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาภูเก็ต“ ไว้ดังนี้ ๒.๕.๑ คำยืมภาษามลายู เช่น ชันชี บ้าหวัง เป๊ะ ฯลฯ ๒.๕.๒ คำยืมภาษามลายูสำเนียงจีนฮกเกี้ยน เช่น โต่หลง ตาเบ๊ะ บ่านซ้าน เหล่ล้อง โกปี โหล่ตี้ เส่ล้อง อ่าโป้ง ซ้าบุ๋น ต่อล้า หงู่หนี้ เซกสี่ หล่องปั้ง ต้าห่าน ซูกู้ ๒.๕.๓ คำยืมภาษามลายูที่นิยมแพร่หลายน้อย เช่น ก่าวหงิน ตี่บุ่น อ่าซ้อม เป่าเต๋ อ่า ตับ ลอกุน ซูกะ ม้าต๋า เยี้ยมหงาน ลักซ้า บ้าบ๋า ๒.๖ มีการใช้ลักษณนามที่แตกต่างไปจากภาษามาตรฐาน กท. ภก. ไข่ไก่ ๒ ฟอง หน่วย ไม้ขีด ๓ กลัก กุบ,ราง ขันน้ำ ๕ ใบ หน่วย มุ้ง ๒ หลัง ตีน ๒.๗ มีการใช้หมวดคำลงท้ายที่แตกต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐาน กท. ภก. ไปไหนหรือ อ้าว ไปเที่ยวตะ เหอ มาทำไม สาย ทำอย่างไร พลุ๋ย ๒.๘ การสร้างคำประสม ๒.๘.๑ เรียงลำดับคำสับที่กับภาษาไทยมาตรฐาน กท. ภก. บ่อน้ำ หน่ำบอ ๒.๘.๒ นิยมใช้คำว่า “ลูก” นำหน้าชื่อไม้ผล ลุะเรียน ลุะนาว ๒.๘.๓ นิยมใช้คำว่า “ก่า” นำหน้าคำนามบอกสถานภาพ ก่าหญิง ก่าชาย ก่าเหมีย ๓. เอกลักษณ์ด้านความหมาย สามารถจำแนกได้ดังนี้ ๓.๑ ใช้คำต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน กท. ภก. ซุกซน ด้น ใกล้ แค่ เก้ง พ่าน ไข(กุญแจ) แทง ตำ เหยาะ รีบเร่ง แขบ ๓.๒ ใช้คำเดียวกันแต่มีความหมายต่างกัน กท. ภก. งง ชง งัดแงะ คัด ย่ำ(ตอน) หัว รางน้ำ ท่อ หนี ทุ่ม ตอน(กริยา) ลด ใช้คำยืมภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาเขมร และภาษาอังกฤษ มาใช้แทนคำภาษาไทย ดังกล่าวมาแล้วในข้อ ๒ เอกลักษณ์ด้านคำ ข้อคิด ๑. คนระดับอายุร่วมสมัย (อายุไม่เกิน ๒๕ ปี) ไม่นิยมใช้คำภาษาไทยถิ่นภูเก็ต หันไปใช้คำไทยมาตรฐานแทนมากขึ้น จนทำให้เกิดความน่าห่วงใยว่าคำภาษาไทยมาตรฐานกำลังจะกลืนคำไทยถิ่นภูเก็ตแท้ (ดั้งเดิม) ไปจนหมดในอนาคตใกล้ ๆ นี้จนเหลือสำเนียง (วรรณยุกต์) เท่านั้น งานวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ฯ ในเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน ได้แก่ งานวิจัยของวรรณพร ทองมาก (๒๕๒๖) เรื่อง “แนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้โดยใช้ศัพท์เป็นเกณฑ์” ปี พ.ศ.๒๕๒๖ ผลวิจัยสรุปได้ว่า การใช้ศัพท์เป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งเขตภาษาระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับใต้ได้ตั้งแต่บ้านน้ำตก ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก ถึงบ้านกรูด ตำบลชิงชัย อำเภอบางสะพาน งานวิจัยเรื่องนี้ใช้ผู้บอกภาษาที่มีระดับอายุเพียงระดับเดียว ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๕ พริ้มรส มาลีประสิทธิ์ (๒๕๓๕) ได้วิจัยเรื่องทำนองนี้ซ้ำอีก คือ “การแปรของเขตปรับเปลี่ยนภาษาระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้ ตามอายุของผู้พูด : การศึกษาคำศัพท์” โดยเก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษา ๓ กลุ่มอายุ (อายุ ๑๐–๒๐ อายุ ๓๕–๔๕ และอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป) ผลการวิจัยเขตแบ่งภาษาระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับใต้ที่วรรณพร ทองมาก เคยวิจัยไว้ ได้เกิดการปรับเปลี่ยนใหม่ดังนี้ กลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เขตปรับเปลี่ยนภาษาอยู่ที่บริเวณบ้านละหาน ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับเขตปรับเปลี่ยนภาษาของกลุ่มอายุ ๒๕–๔๕ คือ ที่บ้านห้วยสัก ตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย ส่วนกลุ่มอายุ ๑๐–๒๐ ปี เขตปรับเปลี่ยนภาษาอยู่ที่บ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอเมืองชุมพร แสดงว่าคนรุ่นใหม่มีการปรับเปลี่ยนการใช้คำจากภาษาไทยถิ่นใต้มาเป็นภาษาไทยถิ่นกลางมากขึ้น จนสามารถจะทำนายได้ว่า หากใช้ศัพท์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตภาษาระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับใต้ แนวปรับเปลี่ยนเขตภาษาก็คงจะเลื่อนมาครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดในอนาคตอย่างแน่นอน ๒. วงศัพท์ภาษาไทยถิ่นภูเก็ต กำลังจะถูกวงศัพท์ภาษาไทยถิ่นกลางกลืนหมดไปในเวลาไม่ช้านี้ โดยเฉพาะคำยืมภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษามลายู และภาษาอังกฤษ เท่าที่ได้สัมผัสกับผู้พูดภาษาไทยถิ่นภูเก็ต ระดับอายุไม่เกิน ๒๕ ปี พบว่าคนรุ่นนี้หันไปใช้คำไทยถิ่นกลางแทนคำยืมจีนฮกเกี้ยนเกือบหมดแล้ว คนรุ่นกลางอายุ ๓๕–๔๕ ปี ตลอดจนอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ก็กำลังเลิกใช้คำยืมจีนฮกเกี้ยนมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วกันไปใช้คำไทยถิ่นกลางมากขึ้นตามลำดับ อนาคตเอกลักษณ์ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตที่มีคำยืมภาษาดังกล่าวนี้ก็คงหมดไปเหมือนกัน ๓. ขอฝากให้ชาวภูเก็ตจงช่วยกันอนุรักษ์ทั้งคำศัพท์เฉพาะถิ่น ศัพท์ร่วมถิ่น และคำยืมเอาไว้เถอะ จงช่วยกันพูดภาษาถิ่นภูเก็ต ด้วยสำเนียงภูเก็ต และใช้คำศัพท์ดังกล่าว อย่าอาย อย่าคิดว่าพูดภาษากลางแล้วจะโก้ เพราะนั่นเรากำลังจะทำลายเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นภูเก็ตแล้ว โดยเฉพาะในโรงเรียน นอกห้องเรียน จงช่วยกันพูดภาษาถิ่นกับนักเรียนเถอะ ในบ้านในครอบครัวจงพูดภาษาถิ่นกับลูกหลาน ไม่เช่นนั้นเด็กรุ่นหลัง คงจะรู้จักเอกลักษณ์ภาษาถิ่นภูเก็ตจากเอกสารเท่านั้น เพราะพวกเขาจะพูดภาษาภูเก็ตไม่ได้ หากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่บัดนี้. บรรณานุกรม
เกศมณี เทพวัลย์. แนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้ : การศึกษาโดยใช้วรรณยุกต์เป็นเกณฑ์. วิทยานิพนธ์ อ.ม.กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๒๖. คำนวณ นวลสนอง และคณะ. ภาษาไทยถิ่นที่ใช้ในปัจจุบันจังหวัดภูเก็ต. สงขลา : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ,๒๕๒๗. เจริญขวัญ ธรรมประดิษฐ์. การใช้ลักษณะทางลัทธิใต้ของสระสูงในการแบ่งเขตภาษาถิ่นในจังหวัด ตรัง กระบี่ พังงาและภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ อ.ม. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๔. ฌัลลิกา มหาพูนทอง. การกำหนดแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออกกับภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก โดยใช้พยางค์ที่มีสระเสียงยาวกับพยัญชนะท้าย/k/หรือ/?/ วิทยานิพนธ์ อ.ม. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙. ธีระพันธ์ ล.ทองคำ และคณะ. เสียงและระบบเสียงภาษาไทยถิ่นใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑๖ อำเภอ. โครงการวิจัยภาษาไทยและภาษาพื้นเมืองถิ่นต่าง ๆ. ๒๕๒๑. นพดล กิตติกุล. คำยืมภาษาจีนฮกเกี้ยนที่ใช้ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดภูเก็ต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,๒๕๓๔. ปราณี กายอรุณสุทธิ์. คำยืมภาษาจีนในภาษาไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ อ.ด.กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๒๖. ปรมินทร์ คาระวี. คำยืมภาษาเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้. วิทยานิพนธ์ อ.ด. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๓๙. พริ้มรส มาลีประสิทธิ์. การแปรของเขตปรับเปลี่ยนภาษาระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นใต้ ตามอายุของผู้พูด : การศึกษาคำศัพท์. วิทยานิพนธ์ อ.ม. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๓๙. วรรณพร ทองมาก. แนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้โดยใช้ศัพท์เป็นเกณฑ์. วิทยานิพนธ์ กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๒๖. ศุภมาส เอ่งฉ้วน. คำเรียกญาติภาษาจีนฮกเกี้ยนในภาคใต้ของประเทศไทยและเกาะปีนัง. วิทยานิพนธ์ อ.ม. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๒๖. สถาบันทักษิณคดีศึกษา. พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ ๒๕๒๕. กรุงเทพ ฯ : กรุงสยามการพิมพ์,๒๕๒๕. |