Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow เพิ่มมูลค่าวัฒนธรรม
เพิ่มมูลค่าวัฒนธรรม PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 19 สิงหาคม 2009
วันที่ 19 สิงหาคม 2552 02:02

ไทยทุ่ม 8พันล้านเพิ่มมูลค่าวัฒนธรรมเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ

  

ปลัดร่วมประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมเอเซีย เผยไทยใช้ 8พันล้านลงทุนสร้างมูลค่าวัฒนธรรมฟื้นเศรษฐกิจ ชงเวทีให้เศรษฐกิจพอเพียง

 

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)ในฐานะผู้แทนนายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในการประชุมระดับรัฐมนตรีวัฒนธรรมแห่งเอเซีย (Asia Cultural  Ministerial Round-table Meeting) ซึ่งมีประเทศต่างๆเข้าร่วม 22 ประเทศ ณ โรงแรมฮอลิเดอินน์ เมืองเออร์ดอส เขตปกครองตนเองมองโกเลียในสาธารณรัฐประชาชนจีน

เขาระบุว่า ภายใต้วิกฤตทางการเงินทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทางรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประชาชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางการแก้ไขเศรษฐกิจและแนวทางการใช้ชีวิตแบบยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์ 

"หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีทั้งหมด 3 แนวทาง คือ ความพอประมาณ รู้จักผลิตและการบริโภคให้อยู่ในระดับพอประมาณความมีเหตุผล รู้จักตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล รอบคอบ และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่ง 3 หลักนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การสหประชาชาติว่า เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศและสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน"

ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมไทย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังพัฒนาประเทศโดยใช้มิติทางวัฒนธรรมจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่ห้องสมุด โรงละคร พิพิธภัณฑ์ วัด ศูนย์ทางศาสนา สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม และโบราณสถานรวมถึงอุทยานวัฒนธรรมอุทยานประวัติศาสตร์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมมากยิ่งขึ้น โดยนักท่องเที่ยวรวมถึงคนไทย เด็กนักเรียน นักศึกษาด้วยโดยมีกิจกรรมต่างๆ ครอบคลุมถึงการทำอาหารไทย การสอนเด็กเล่นดนตรี การเรียนภาษาใหม่ๆ หรือภาษาท้องถิ่น การฝึกความรู้ด้านช่าง นวดแผนโบราณ ฯลฯ

ทั้งนี้ กำลังมีการพิจารณาจะเปิดให้บริการแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวข้างต้นให้ยาวนานมากขึ้นเพื่อให้บริการประชาชนที่อยู่ในภาวะความเครียดจากวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจ ซึ่งจากการดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา ผลงานของกระทรวงวัฒนธรรมเป็นที่พอใจของประชาชนอยู่ในลำดับที่ 4 จาก 19 กระทรวง

"ในสถานการณ์ปัจจุบัน รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในเอเชียต่างตระหนักว่าวัฒนธรรมสามารถสร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นมรดกวัฒนธรรม"หรือ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์" (Creative Economy) ซึ่งรัฐบาลไทยก็ได้ให้ความสำคัญ โดยได้จัดสรรงบประมาณให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเงิน 8,000 ล้านบาท ในระหว่างปี 2552-2555 เพื่อดำเนินการโครงการพิเศษจำนวน 14 โครงการ

เช่น โครงการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ โครงการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  โครงการเทศกาลวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โครงการฟื้นฟูแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่ชุมชน โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างรายได้สู่ประชาชน และโครงการมรดกวัฒนธรรมไทยในโลกดิจิตอล" ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว

ศธ.จัดมหกรรมเสริมการอ่านในเด็กและเยาวชน

Bookmark and Share

คมชัดลึก :ศธ.จัดมหกรรมรักการอ่าน ส่งเสริมการอ่านในเด็กและเยาวชน ชู 10 วิธีสร้างนิสัยรักการอ่านของ “พระราชินี” ที่ประชาชนควรปรับใช้ เผยแผนส่งเสริมคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยคนละ 10 เล่มต่อปีให้ได้ภายใน 1-2 ปี แจงหนังสือดี 6 เรื่องทุกห้องสมุดในสังกัด ศธ.ต้องมี พร้อมประสานกับห้องสมุดหน่วยงานอื่น ปัดเรื่องงบจัดซื้อบอกเป็นเรื่องภายในมอบ สพฐ.ไปจัดการ

เมื่อวันที่ 14 ส.ค.เวลา 10.00 น.  ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว นายจุรินทร์ ลักษรวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “รักการอ่าน เทิดมหาราชินี”ระหว่างวันที่ 14-16 ส.ค. ทั้งในกรุงเทพและทุกจังหวัดที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เขต 1 มหกรรมนวัตกรรมการอ่านเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนีนาถ และสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านในเด็กและเยาวชนไทย ว่า การปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ประเทศไทยมีสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนินาถ ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีควรค่าแก่การยกย่อง แม่ของแผ่นดิน

ดังปรากฎในพระราชนิพนธ์เรื่อง “แม่” ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงเล่าถึงวิธีการวิธีการซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้อบรมพระราชโอรสและพระราชธิดา สะท้อนถึงกลวิธีสร้างนิสัยรักการอ่านในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอันเปี่ยมไปด้วยศาสตร์และศิลป์ ซึ่งสงเคราะห์ออกเป็น 10 วิธีการที่พสกนิกรควรน้อมนำไปปรับใช้เพื่อสร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน

 นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สรุปผลการอ่านของคนไทยในปี 2551 พบว่า คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านหนังสือเรียนและหนังสือนอกเวลาเรียน คนละ 39 นาทีต่อวัน ขณะที่ผลสำรวจจากหน่วยงานอื่น ๆ พบว่าคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยคนละ 5 เล่มต่อปี ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ ศธ.ที่จะมีการพัฒนาและส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กและเยาวชน โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งตนเป็นประธานทำหน้าที่ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว และได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติเห็นชอบให้ยกระดับการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ให้วันที่ 2 เมษยนของทุกปีซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นวันรักการอ่าน และให้ปี 2552-25861 เป็นปีทศวรรษแห่งการอ่าน ทั้งนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการอ่านฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการอ่านของคนในประเทศ โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 1-2 ปีนี้หรือภายในระยะที่ดำเนินการส่งเสริมการอ่าน จะต้องทำให้คนไทยหันมาอ่านหนังสือเฉลี่ยคนละ 10 เล่มต่อปี

 ทั้งนี้ ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชวิจารณ์หนังสือ 6 เล่มที่เด็กและเยาวชนควรอ่าน ได้แก่ พระอภัยมณี รามเกียรติ์ นิทานชาดก อิเหนา พระราชพิธีสิบสองเดือน และกาพย์เห่เรือ เจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร) นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การอ่านจะช่วยเสริมสร้างความคิด จินตนาการ รวมถึงการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ทุกคน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเห็นสอดคล้องตรงกันว่า ร้อยละ 80-90 ของกลุ่มคนที่รู้ข่าวสารข้อมูลนั้นเกิดมาจากการอ่าน

 “หนังสือเหล่านี้ ศธ.จะสนับสนุนให้มีอยู่ในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชนในสังกัด ศธ. รวมถึงห้องสมุดในสังกัดอื่นๆ ก็จะขอความร่วมมือไปด้วย ส่วนจะใช้งบประมาณในการสนับสนุนการจัดซื้อให้แก่ห้องสมุดอย่างไรนั้น เป็นเรื่องภายในซึ่งได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปดำเนินการ แต่ที่แน่นอนที่สุดขณะนี้ ศธ.มีแผนงานในการพัฒนาห้องสมุด 3D ที่จะต้องประกอบด้วยหนังสือดี บรรยากาศดี และบรรณารักษ์ โดยทุกโรงเรียน โรงเรียนดีประจำตำบล ฯลฯ จะต้องมีห้องสมุด 3D ที่รวบรวมหนังสือดี ๆ รวมถึงหนังสือดี 6 เรื่องนี้ไว้บริการแก่นักเรียนและเยาวชน” รมว.ศธ. กล่าว

 อย่างไรก็ตาม  10 กลวิธีสร้างนิสัยรักการอ่าน ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีดังนี้ 1.ใช้เวลาสบาย ๆ ของครอบครัวเพื่อส่งเสริมการอ่าน 2.เลือกหนังสือดีที่เด็กสนุก 3.ให้เด็กได้รู้เรื่องราวหลากหลายจากพหุวัฒนธรรม 4.มีกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิด 5.ใช้ทักษะนาฏการในการเล่า 6.ใช้กิจกรรมศิลปะเชื่อมโยง 7.สอนให้รู้จักสกัดความรู้และจับใจความสำคัญ 8.ต่อยอดจากประสบเดิมของพี่เรียน 9.นำเด็กสู่โลกแห่งวรรณคดี และ 10.พัฒนาทักษะไพรัชภาษาพาสู่โลกกว้าง

อ้างอิง

http://www.norsorpor.com/ข่าว/m1624512/%C8%B8.%A8%D1%B4%C1%CB%A1%C3%C3%C1%E0%CA%C3%D4%C1%A1%D2%C3%CD%E8%D2%B9%E3%B9%E0%B4%E7%A1%E1%C5%D0%E0%C2%D2%C7%AA%B9
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้154
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1128
mod_vvisit_counterทั้งหมด10724745