แร่ธาตุ ลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ภูเก็ตมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรต่าง ๆ เช่น แร่ธาตุ ป่าไม้ รวมถึงทรัพยากรชายฝั่งที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตจนปัจจุบัน
แร่ธาตุและอัญมณีต่าง ๆ เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งที่ปรากฏอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ บนเกาะภูเก็ต เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงให้ภูเก็ตเจริญรุ่งเรืองตลอดมา แร่ธาตุและอัญมณีที่พบในภูเก็ต เช่น แร่ดีบุก แร่ควอทซ์ แร่โมนาไซท์ แร่วุลแฟรม ทองคำ เพชร กาเนต เป็นต้น
แร่ดีบุก (Tin) แร่ดีบุกเป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะในอดีต แร่ดีบุกเป็นปัจจัยหลักของภูเก็ตที่ส่งผลให้เกิดการค้าขายดีบุกระหว่างประเทศ ดีบุกที่พบในภูเก็ตมีลักษณะเนื้อแร่มันวาวคล้ายเพชร สีของแร่ดีบุกส่วนมากมีสีน้ำตาลหรือสีดำ สีน้ำผึ้ง สีเขียว เหลือง แดง น้ำเงิน สีม่วง เป็นต้น โดยทั่วไปแร่ดีบุกมักมีเหล็กปนเล็กน้อยประมาณ 3% ของน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของธาตุโคลัมเบียมและแทนทาลัม
ลักษณะเด่นของดีบุก
แร่ดีบุกในประเทศไทยพบมากในภาคใต้ทุกจังหวัด พบมากที่สุดในจังหวัดภูเก็ต โดยทั่วไปแร่ดีบุกพบอยู่ในกลุ่มหินพวกแกรนิต สายแร่ดีบุกโดยปกติมักมีแร่ที่มีฟลูออรีนหรือโบรอนอยู่ด้วย เช่น พวกทัวมาลีน (Tourmaline) โทแปซ ฟลูออไรท์และอะปาไทท์ แร่อื่นที่พบเกิดร่วมกับแร่ดีบุกได้แก่ แร่วุลแฟรม แร่ดีบุกในลักษณะเป็นก้อนกรวดในแหล่งลานแร่เรียก ดีบุกตามลำน้ำ (Stream Tin)
ชาวโลกได้ใช้ประโยชน์ดีบุกผสมกับทองเหลืองเป็นสัมฤทธิ์(สำริด, บรอนซ์)มาประมาณ ๕,๐๐๐ ปีแล้ว ในด้านอุตสาหกรรมใช้เคลือบโลหะอื่น ๆ เช่น เหล็ก ทองแดงและทองเหลือง แผ่นเหล็กที่ชุบดีบุก มีคุณสมบัติต้านทางการกัดกร่อนของกรดอื่น ๆ ไม่เป็นสนิมไม่เป็นพิษต่อร่างกาย จึงนิยมนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเลคทรอนิก เป็นต้น ปัจจุบันแร่ดีบุกได้ลดความสำคัญต่อภูเก็ตลง ทั้งนี้เพราะความต้องการของตลาดโลกลดลง ราคาดีบุกตกต่ำที่สำคัญอุตสาหกรรมเหมืองแร่ได้ก่อให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมถูกทำลายมากมาย ปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงเข้ามามีบทบาทแทนแร่ดีบุก ส่งผลให้แร่ดีบุกได้หายไปจากวิถีการดำรงชีวิตของชาวภูเก็ตในที่สุด จึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ไว้เป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว
ทงอี ตอน21 t3 t4 ทองแดง ดีบุก ใน ทงอี จอมนางคู่บัลลังก์ แร่โคลัมไบท์-แทนทาไลท์ (Columbite-Tantalite) Columbite มาจากโคลัมเบีย ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษเรียก นีโอเบียม
Tantalite มาจากชื่อเทพเจ้า Tantalus ในนิทานกรีกในความหมายที่แร่นี้ละลายในกรดได้ยาก
แหล่งที่พบมักพบปนอยู่กับแหล่งแร่ดีบุก ในจังหวัดตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา ชุมพร กาญจนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี และเชียงใหม่ ประโยชน์ของโคลัมไบท์-แทนทาไลท์ คือการนำมาถลุงเอาโลหะนิโอเบียมและแทนทาไลท์ ซึ่งเป็นธาตุหายาก โลหะนีโอเบียมใช้ในการทำโลหะผสมในการเชื่อมเหล็กกล้า แข็ง คมและโลหะผสมที่ทนความร้อนสูง เช่น ใช้ทำเครื่องยนต์ไอพ่นต่าง ๆ ในโรงงานพลังงานปรมาณู ส่วนโลหะแทนทาลัมนั้นทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดจึงใช้ทำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในทางเคมี ใช้ทำแผ่นแทนกะโหลกและผนังในทางศัลยกรรมและยังใช้ในการทำเครื่องมือเหล็กและอุปกรณ์ในหลอดอิเลคทรอนิก
ด้วยเหตุที่โคลัมไบท์-แทนทาไลท์ พบปะปนอยู่ในแหล่งแร่ดีบุกจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่พบแร่ชนิดนี้มากในภูเก็ต จนมีความพยายามที่จะตั้งโรงงานถลุงแทนทาลัมขึ้นในจังหวัดภูเก็ตจนก่อให้เกิดการคัดค้านและนำไปสู่เหตุการณ์เผาโรงงานขึ้นในปี พ.ศ. 2529
แร่วุลแฟรม (Wolframite) แร่วุลแฟรมเป็นคำที่มาจากภาษาเยอรมันดั้งเดิม “Wolframite” โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามส่วนประกอบของเหล็กและแมงกานีส คือ เฟอร์เบอร์ไรท์ (Ferberite) เป็นวุลแฟรมชนิดที่มีเหล็กสูงมาก วุลแฟรมไมท์ (Wolframite) เป็นวุลแฟรมชนิดที่มีเหล็กและแมงกานีส เฮอบเนอไรท์ (Huebnerite) เป็นวุลแฟรมชนิดที่มีแมงกานีสสูงมาก
วุลแฟรมพบปนอยู่ในสายแร่เปกมาไทท์ หรือในสายแร่ควอทซ์ ชนิดอุณหภูมิสูงซึ่งเป็นสายแร่ที่ตัดผ่านในหินแกรนิตหรือหินชั้นก็ได้ มักจะพบเกิดร่วมกับแร่ดีบุก โดยปกติไม่ค่อยพบวุลแฟรมในบริเวณที่เป็นแหล่งลานแร่
วุลแฟรมเป็นสินแร่ทังสเตนที่สำคัญอันดับหนึ่ง โลหะทังสเตนใช้ทำไส้หลอดไฟฟ้า ผสมเหล็กให้มีความแข็งแกร่ง เพื่อใช้ทำอุปกรณ์เครื่องจักรกล เช่น ทำเกราะ มีด มีดโกน หัวเจาะ ตะไบ เป็นต้น ในจังหวัดภูเก็ตพบแหล่งวุลแฟรมอยู่ไม่มากนัก ซึ่งปะปนอยู่กับแหล่งแร่ดีบุก เช่น ที่เขาโต๊ะแซะและเขาบางทอง เป็นต้น วุลแฟรมจึงไม่มีบทบาททางเศรษฐกิจต่อภูเก็ตเหมือนแร่ดีบุก
แร่สตอโรไลท์ (Staurolite) มาจากภาษากรีกซึ่งหมายถึงกากบาทเนื่องจากผลึกมีรูปร่างของผลึกแฝดคล้ายกากบาท เนื้อแร่ที่มีความบริสุทธิ์มีความวาวแบบยางสนและแก้ว ส่วนแร่ที่มีความบริสุทธิ์จะมีลักษณะด้านคล้ายดิน สีน้ำตาลแดงถึงดำออกน้ำตาลแสดงถึงคุณสมบัติโปร่งแสง
แหล่งกำเนิดพบในหินแปรจำพวกชีสท์ หินชนวนและหินไนส์ เกิดร่วมกับ แร่กาเนต ไคยาไทท์และทัวมาลีน ชนิดที่โปร่งใสซึ่งส่วนมากมาจากบราซิล ใช้ทำเป็นรัตนชาติได้และยังเป็นแร่ตัวอย่างเพื่อการศึกษา สำหรับในภูเก็ตมีเล็กน้อยไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังพบแถบจังหวัดระนองและพังงา
แร่กาเนตหรือโกเมน (Garnet) มาจากภาษาลาตินว่า Granutus ซึ่งหมายถึงลักษณะที่เป็นเม็ด โดยทั่วไปกาเนตมีสีแดง ซึ่งมักจะเรียกกันว่า “โกเมน” นอกจากนี้พบว่าอาจมีสีอื่น ๆ ได้เช่น สีน้ำตาล เหลือง ขาว เขียว ดำ สีผงละเอียดสีขาว คุณสมบัติโปร่งใสและโปร่งแสง
แร่กาเนตมีหลายชนิดขึ้นกับองค์ประกอบว่าประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง ได้แก่
๑. ไพโรป (Pyrope) มีสีแดงเข้มจนเกือบดำมีคุณสมบัติโปร่งใสจึงใช้เป็นรัตนชาติได้ ๒. อัลมันไดท์ (Almandite) เป็นกาเนตที่พบได้โดยทั่วไปมีสีแดงเข้มโปร่งใส ใช้เป็นรัตนชาติได้ ๓. สเปสซาร์ไทท์ (Spessartite) เป็นแร่กาเนตชนิด แมงกานีสมีสีน้ำตาลถึงแดง ๔. กรอสซูลาไรท์ (Grossularite) เป็นกาเนตชนิดแคลเซียม ๕. แอนดราไดท์ (Andradite) มีสีเขียว เหลือง น้ำตาลถึงดำ ๖. ยูวาโรไวท์ (Uvarovite) เป็นแร่กาเนตชนิดโครเมียม มีสีเขียวมรกต ในจังหวัดภูเก็ตพบแร่กาเนตเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอต่อการลงทุนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ในประเทศไทยพบมากที่ จังหวัดแพร่ กาญจนบุรี จันทบุรีและตราด
แร่แอนดาลูไซท์ (Andalusite) ชื่อแร่มาจากชื่อเมืองแอนดาลูเซีย (Andalusia) ในประเทศสเปน แร่แอนดาลูไซท์ เป็นแร่ที่ไม่ละลายในกรด การกำเนิดของแร่เกิดจากการแปรสภาพของหินดินดาน (Shale) หรือหินชนวน (Slate) ที่มีอลูมิเนียมสูง
แหล่งที่พบในประเทศไทย พบตามหินแปรที่ถูกเปลี่ยนโดยหินแกรนิต พบตามหินดาน (Bed rock) ของเหมืองลานแร่ทั่ว ๆ ไป เช่น ในจังหวัดภูเก็ต พังงาและระนอง
ประโยชน์ใช้ทำพวกเครื่องเคลือบเนื่องจากมีคุณสมบัติทนไฟ ชนิดที่โปร่งใสทำเป็นรัตนชาติได้
แร่เลปิโดไลท์ (Lepidolite) ชื่อเลปิโดไลท์ มาจากภาษากรีกหมายถึงเกล็ด (Scale) เรียกทั่วไปว่า “ลิเธียมไมกา” เป็นแร่หายาก อยู่ในหินเปกมาไทท์เกิดร่วมกับลิเธียมอื่นๆ เช่นทัวมาลีนสีชมพูและสีเขียว แอมบลิโกไนท์ (Amblygonite) และสปอดูมิ่น การหลอมตัวขั้นที่ ๒ ให้สีเปลวไฟสีแดง (ลิเธียม) ไม่ละลายในกรด จะให้น้ำที่เป็นกรดในหลอดทดลองปิด
แหล่งที่พบในประเทศไทย พบในหินเปกมาไทท์โดยทั่วไป พื้นที่ที่พบคือจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะที่เหมืองบางนาวและเหมืองในปลาด อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมีไม่มากพอที่จะพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมได้ แร่เลปิโดไลท์เป็นตัวให้ลิเธียม ซึ่งคุณสมบัติทนความร้อนนิยมใช้ในอุตสาหกรรมแก้วทนไฟ
แร่ควอทซ์ (Quartz) มาจากภาษาเยอรมันโบราณ (quarz) มีลักษณะผลึกเป็นแท่งยาวปลายแหลมทั้งหัวและท้าย ความวาวคล้ายแก้ว บางทีคล้ายเทียนไขส่องแสงเป็นประกายแวววาว สีอาจเป็นสีขาวหรือไม่มีสี เนื้อโปร่งใสถึงโปร่งแสง
คุณสมบัติไม่หลอมละลายง่าย ละลายได้ในกรดเกลือ จากการวิเคราะห์พบว่าผลึกที่สมบูรณ์แบบของแร่ควอทซ์ยังมีร่องรอยของแร่อื่น ๆ ปนอยู่ด้วย เช่น ลิเธียม โซเดียม โปตัสเซียม อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส และไททาเนียม แร่ควอทซ์ในภาษาบางท้องถิ่นเรียกหินเขี้ยวหนุมาน
แร่ควอทซ์มีหลายชนิดแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ ๒ พวก คือ พวกที่เกิดเป็นผลึกหรือมีผลึกหยาบ (Coarsely crystalline varieties) และพวกที่เกิดเป็นผลึกละเอียดยิบหรือเนียนละเอียด มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (Crypto crystalline varieties) แร่ควอทซ์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหินอัคนีชนิดที่มีซิลิกามาก ๆ เช่น หินแกรนิต ไรโอไลท์และเปกมาไทท์เป็นแร่ที่ทนทานต่อการทำลายทั้งทางเคมีและทางกลศาสตร์ เมื่อหินอัคนีแตกหักผุพังลง แร่นี้จะสะสมตัวกันเป็นหินชั้น ซึ่งได้แก่หินทรายและก็อาจพบได้ในหินแปรจำพวกไนส์และชีสท์ ในหินอัคนีโดยทั่วไปจะพบแร่ควอทซ์เกิดอยู่ร่วมกับเฟลด์สปาร์ และมัสโคไวท์เป็นสายแร่ อาจพบแร่ควอทซ์เกิดอยู่ตามชายท้องน้ำลำธารและตามฝั่งทะเลในรูปของทราย เป็นส่วนประกอบในดินด้วย
แร่ควอทซ์ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ มากมาย ควอทซ์สีม่วง สีชมพู สีควันไฟแก้วตาเสือ เป็นต้น ใช้เป็นรัตนชาติและหินประดับ แร่ควอทซ์ที่อยู่ในรูปของทราย ถูกนำมาใช้ผสมคอนกรีตและวัสดุขัดสีในอุตสาหกรรมแก้วและอิฐ เป็นต้น
ในประเทศไทยพบหลายชนิด พวกผลึกใสพบที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ระนอง พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และอื่น ๆ สีม่วงพบที่ลำปาง ตาก นครนายก สีชมพูพบที่ ลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
ในจังหวัดภูเก็ตปรากฎอยู่ทั่วไปทั้งพวกผลึกใสและสีชมพูพื้นที่แหล่งแร่ควอทซ์พบอยู่ตามชายท้องน้ำลำธาร เช่น เขตใกล้เคียงเขาพระแทว เขานาคเกิด ชาวภูเก็ตเรียกแร่ควอทซ์ว่า “หินเขี้ยวหนุมาน”
เพชร (Diamond) Diamond มาจากภาษากรีกว่า adamas หมายถึง เอาชนะไม่ได้หรือทำลายไม่ได้ (invincible) หรือแข็งมากตามคุณสมบัติของเพชรนั่นเอง
เพชรมีคุณสมบัติเด่นคือ มีความแข็งที่สุดมีความแวววาวเป็นประกาย และหนักผิดปกติกว่าแร่อโลหะทั่วไป ปกติเพชรไม่มีสีหรือสีอ่อน แต่อาจมีสีเหลือง น้ำเงิน แดง ชมพู เทาและดำ ชนิดที่มีสีดำและอับแสง เรียก คาร์โบนาโด (Carbonado)
เพชร เป็นรัตนชาติสูงค่าอันดับหนึ่ง นอกจากนี้ใช้เป็นผลขัดในการเจียระไนเพชรพลอดต่าง ๆ ตลอดจนใช้ในการตัดกระจกและวัตถุอื่น ๆ เพชรดำหรือคาร์โบนาโด ใช้ฝังในเหล็กใช้เป็นหัวเจาะหินแข็ง ๆ หรือวัตถุแข็ง ๆ
จังหวัดภูเก็ตพบเพชรปนอยู่กับแร่ดีบุกในลานแร่ดีบุกโดยเฉพาะบริเวณหน้าอ่าวภูเก็ต
ทองคำ (Gold)
ลักษณะของทองคำโดยทั่วไปเป็นเกล็ดหรือเม็ดกลมหรืออาจพบเป็นก้อนใหญ่ที่เป็นรูปผลึกนั้นหาได้ยากและมักไม่สมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ของทองคำคิดเป็นกะรัตหรือไฟน์เนส (Karat or Fineness) ทองคำบริสุทธิ์จะเท่ากับ ๒๔ กะรัตของทองคำคิดเป็นกะรัตหรือไฟน์เนส (Karat or Fineness) ทองคำบริสุทธิ์จะเท่ากับ ๒๔ กะรัต ทองคำมักเกิดผสมกับเงินหรือธาตุอื่น ละลายในกรดกัดทอง (aqua regia) กรดธรรมดา ไม่สามารถจะละลายทองคำได้ ทองคำเป็นโลหะมีค่าสูง ใช้ทำเครื่องประดับทำเหรียญสตางค์ และใช้ในวงการทันตแพทย์ ส่วนมากได้จากทองคำธรรมชาติ ที่เป็นสารประกอบเพียงเล็กน้อย ในประเทศไทยได้พบถึง ๒๘ จังหวัดจนได้ชื่อว่า “สุวรรณภูมิ” แหล่งสำคัญแต่โบราณได้แก่ กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โต๊ะโมะ จังหวัดนราธิวาส ท่าตะโก จังหวัดลพบุรี ป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ห้วยหลวง จังหวัดเชียงราย บ้านคำด้วง จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น ในภูเก็ตพบทองคำบางพื้นที่ เช่น บริเวณหาดทรายแก้ว ท่าฉัตรไชยและบริเวณชายหาดบางชายหาดชายฝั่งทะเลอันดามันแต่ไม่มากพอที่จะพัฒนาเป็นให้อาชีพที่สำคัญของภูเก็ตได้
ข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี “แร่”
|