Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow ปฏิรูปการศึกษารอบ 2
ปฏิรูปการศึกษารอบ 2 PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 17 สิงหาคม 2009

"จุรินทร์"ได้ฤกษ์เริ่มปฏิรูปการศึกษารอบ2

คมชัดลึก :

“ จุรินทร์ “ ได้ฤกษ์เริ่มปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เตรียมสังคายนาการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานถึงอุดมศึกษา ตั้งคำถามระบบการจัดการศึกษาในปัจจุบัน พัฒนาเด็กให้มีคุณลักษณะตามเป้าหมายได้จริงหรือไม่ พร้อมเจาะลึกความสอดคล้องกันของข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกับการเรียนการสอนในระดับขั้นพื้นฐาน หวั่นไม่ไปทางเดียวกัน กรรมตกกับเด็ก

 

เมื่อวันที่ 17 ส.ค.2552  นายจุรินทร์   ลักษณวิศิษฏ์    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร 5 องค์กรหลักของ ศธ. ว่า ศธ.เตรียมสังคายนาการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษาครั้งใหญ่ เป็นงานสำคัญชิ้นใหญื่ที่จะเริ่มต้นไปพร้อมกับการปฏิรูปการศึกษารอบ 2  ประเด็นสำคัญของการสังคายนาครั้งนี้นั้น ต้องการปรับปรุงการจัดการศึกษาทุกระดับตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา การจัดการศึกษาของ กศน. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ สามารถพัฒนาเด็กให้มีคุณลักษณะตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องทำให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์เป็น ขณะที่การผลิตบัณฑิตนั้นจะต้องตอบสนองความต้องการของภาคเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาประเทศ

 

รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า   ได้มอบหมายให้สภาการศึกษา (สกศ.) เชิญนักวิชาการ คนในแวดวงการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน ภาคเศรษฐกิจ มาร่วมระดมสมองและให้ความเห็นว่า ระบบจัดการศึกษาที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนั้น สามารถพัฒนาเด็กไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้หรือไม่ ซึ่งจะร่วมวิเคราะห์กันตั้งแต่ระบบการจัดการเรียนการสอน การวัดผล ความสอดคล้องต่อเนื่องของการจัดการศึกษาแต่ละระดับ โดยเฉพาะ ความสอดคล้องกันของระบบคัดเลือกคนเข้ามหาวิทยาลัยกับการจัดการเรียนการสอนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรอืไม่

 “ตัวอย่างที่จะหยิบยกขึ้นมาหารือในที่ประชุม คือ เรื่องการสอบ GAT / PAT ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ จะมาถกกันว่าข้อสอบ GAT / PAT ยากเกินไปหรือไม่ และสอดคล้องการจัดการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบันหรือไม่ ข้อสอบของสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ที่ใช้ในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยนั้นจะเป็นข้อสอบที่วัดการคิดวิเคราะห์ เพราะเป้าหมายของการจัดการศึกษาไม่ต้องการให้เด็กเรียนแบบท่องจำ แต่ต้องการให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์ เพราะฉะนั้น จะต้องมาดูว่าการจัดการเรียนการสอนระดับขั้นพื้นฐานของ สอนให้เด็กคิดวิเคราะห์หรือไม่ ขณะเดียวกันก็ต้องกลับไปดูด้วยว่าข้อสอบของ สทศ.สามารถสะท้อนการคิดวิเคราะห์ของเด็กได้จริงหรือไม่ ไม่เช่นนั้นแล้ว หากการเรียนการสอนกับข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ไปในทางเดียวกันแล้ว กรรมก็จะตกกับเด็ก ส่วนข้อสอบคัดเลือกคนเข้ามหาวิทยาลัย ก็จะต้องถูกวิเคราะห์ด้วยเช่นกันว่า สามารถคัดกรองเด็กที่มีคุณสมบัติตรงตามที่แต่ละคณะวิชาต้องการได้จริงหรือไม่" นายจุรินทร์ กล่าว

 รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า   เมื่อได้ข้อสรุปว่า ต้องปรับแก้การจัดการศึกษาระดับใดก็ต้องทำเพื่อให้การจัดการศึกษาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางสอดคล้องกันและไปสู้เป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม การที่ ศธ.เลือกที่จะสังคยนาในจังหวะนี้เพราะว่า ศธ.จะเสนอกรอบปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 18 ส.ค.เมื่อผ่าน ครม.จะเริ่มดำเนินการทันที ขณะที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็กำลังวางระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือ แอดมิชชั่นส์ ใหม่กันอยู่ ขณะเดียวกัน หลักสูตนใหม่จะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2553 จึงเป็นเวลาเหมาะสมที่เราจะจัดการศึกษาใหม่ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้283
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1659
mod_vvisit_counterทั้งหมด10719542