Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
ใจกลางโลกร้อนเท่าน้องผิวอาทิตย์ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 14 สิงหาคม 2009
Sunday, April 15, 2007

ใจกลางของโลกยังคงร้อนจัด ร้อนขนาดน้องๆ ผิวอาทิตย์


นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจวัดอุณหภูมิที่ใจกลางของโลก ลึกจากพื้นลงไปหลายพันกิโลเมตร พบว่ามีอุณหภูมิสูงถึง 3,676 องศาเซลเซียส ร้อนระดับน้องๆ อุณหภูมิที่ผิวพื้นของดวงอาทิตย์ซึ่งร้อนถึง 5,526 องศา

วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ ของสหรัฐฯฉบับใหม่ กล่าวแจ้งว่า นักธรณีวิทยาได้ศึกษา เพื่อต้องการที่จะหาความรู้ว่า ความร้อนภายในโลกที่เป็นต้นตอของเหตุแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุ ตลอดจนสนามแม่เหล็กโลก ถ่ายเทออกมาได้อย่างไร

นักวิทยาศาสตร์โรเบิร์ต แวน เดอ ฮิลสต์ กับคณะของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ ได้ศึกษาบริเวณใต้ผิวโลกแถบอเมริกากลาง โดยการติดตามคลื่นที่เกิดเมื่อแผ่นดินไหว คลื่นนั้นเดินทางลึกลงไปใจกลางโลก ลึกลงไปเป็นระยะทางไกลหลายพัน กม. และได้อาศัยตรวจวัดอุณหภูมิภายในของโลกที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกและแกนได้ หากว่าอ่านและตีความข้อมูลเป็น

ดาวเคราะห์ทุกดวงเมื่อตอนเกิดขึ้นใหม่ๆ ล้วนแต่ร้อนจัดทั้งสิ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเป็นพันๆล้านปี จึงค่อยเย็นลงเป็นลำดับ.

ทำไมตรงใจกลางโลกมันถึงได้ร้อน?

 

เป็นสมาชิกตั้งแต่:
17 กุมภาพันธ์ 2008

คำตอบที่ดีที่สุด - เลือกโดยเจ้าของคำถาม

ใจกลางโลกร้อนแค่ไหน ยิ่งลึกลงไปใต้ผิวโลก อุณหภูมิก็ยิ่งร้อนขึ้น เพราะโลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ดับและเย็นลง เมื่อผิวโลกเย็นแล้ว เย็นพอที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ได้ แต่ที่ใจกลางโลกยังร้อนอยู่มาก ร้อนจนกระทั่งโลหะก็หลอมละลายหรือร้อนถึงหลายพันองศาเซลเซียส มนุษย์จึงอาศัยอยู่ไม่ได้ ตรงกลางโลกอาจจะอ่อนนุ่มมากกว่าที่คิด เนื่องจากคลื่นเสียงสามารถเดินทางผ่านเข้าไปได้ บริเวณตอนกลางของโลกคือพื้นที่ที่อยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกไปประมาณ 660 - 2,900 กิโลเมตร ความกดสูงกว่าความกดของระดับน้ำทะเล 230,000 เท่า ความร้อนอยู่ที่ 1,500-3,700 องศาเซลเซียส

โลก ( Earth ) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่าดับแล้ว มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน ( 4.57×109 ) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์

โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71 % และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา

แก่นโลก
ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่น ๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่น ๆ เช่น ตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่

แก่นโลกชั้นนอก ( outer core ) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว

แก่นโลกชั้นใน ( inner core ) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0

ที่มา:

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้547
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1081
mod_vvisit_counterทั้งหมด10728846