Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow พัฒนาครูตามศักยภาพ
พัฒนาครูตามศักยภาพ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 13 สิงหาคม 2009

“กษมา” ประกาศเลิกอบรมครูเหมาโหล

สั่งออกแบบ-จัดหลักสูตรเสริมจุดด้อย-จุดเด่นรายคน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์13 สิงหาคม 2552 08:10 น.

 

       “คุณหญิงกษมา” ประกาศเลิกอบรมครูแบบเหมาโหล เตรียมยกเครื่องหลักสูตรพัฒนาครู แบ่ง 3 ระบบ “ต้น กลาง สูง” แย้มจับมือ “มหาวิทยาลัย-สสวท.-คุรุสภา-กคศ.” ร่วมจัดหลักสูตรให้เหมาะกับแต่ละคน
       
       คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( กพฐ.)กล่าวว่า ในการพัฒนาคุณภาพของครูนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญที่ครูทุกคนจะต้องได้รับการพัฒนา แต่สพฐ.ไม่ต้องการเห็นการอบรมครูแบบเหมาโหลหรือครูทุกคนได้รับการอบรมเหมือนกันหมด แต่ต้องการให้เป็นมาตรฐานว่า ครูที่ดีนั้นจะต้องมีองค์ความรู้ความสามารถอะไรบ้าง

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา

       ดังนั้น จะมีการประเมินครูและจัดหลักสูตรให้เหมาะตามข้อเด่นข้อด้อยของแต่ละคน ซึ่ง สพฐ.พร้อมจะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยอาจแบ่งครูออกเป็นกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มที่อยู่ในระดับล่างลงมาจะให้วิทยากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ดูแล แต่ในระดับที่สูงขึ้นมาตามลำดับนั้น จะทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งสพฐ.จะประสานงานกับสถาบันการศึกษาต่อไป
       
       “ครูทุกคนจะได้รับการพัฒนาแต่ไม่เหมือนกัน และก่อนที่จะเข้ารับการพัฒนาครูจะต้องสอบ ซึ่งผลการสอบจะไม่ได้วัดว่าได้หรือตก แต่ข้อสอบจะเป็นลักษณะวินิจฉัยว่าอะไรที่ทำได้แล้ว อะไรที่เป็นจุดอ่อน เพื่อนำไปสู่การออกแบบหลักสูตร ซึ่งจะไปเสริมจุดที่ยังอ่อนอยู่”คุณหญิงกษมากล่าว


       ด้านนายพิษณุ ตุลสุข ผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันครูสังกัด สพฐ. มีประมาณ 4.5 แสนคน และในจำนวนดังกล่าวมีครูผู้สอนและผู้บริหารประมาณ 4.2 แสนคน โดยแบ่งออกเป็นนครูโรงเรียนขนาดเล็ก ครูสอนอนุบาล ครูสอนโรงเรียนขยายโอกาส ครูสอนโรงเรียนมัธยม นอกจากนี้ยังมีการแยกตามกลุ่มสาระวิชา เพราะฉะนั้นจะอบรมในเรื่องเดียวกันคงไม่ได้ เช่น อบรมให้ตามสาระวิชานั้น หรือโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่บนดอย ไม่ต้องเน้นเรื่องสาระวิชาเพราะครูต้องสอนครบทุกวิชา

 ทั้งนี้ จากฐานความต้องการของครูที่มีความหลากหลายและหลายประเภทโรงเรียน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.ศธ. ได้แบ่งโรงเรียนออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1.โรงเรียนที่จะพัฒนาให้ได้มาตรฐานสากลจำนวน 500 โรง 2.โรงเรียนที่จะพัฒนาให้เป็นโรงเรียนดีในระดับอำเภอ 2,500โรง และ 3.โรงเรียนที่จะพัฒนาให้เป็นโรงเรียนดีในระดับตำบล 7,000 โรง ส่วนโรงเรียนอื่นๆ ยังพัฒนาตามปกติ
       
       “โรงเรียนแต่ละระดับจะถูกพัฒนาคนละรูปแบบ เช่นเดียวกับผอ.โรงเรียนที่จะถูกพัฒนาคนละหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบ เพราะต้องการวัดผล วัดบุคลากร ครูทุกคนว่ามีจุดเด่น จุดอ่อน แล้วเราจะมาจำแนกครูออกเป็น 3 ระดับ ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง แต่ละระดับจะมีสมรรถนะย่อย หากสอบผ่านระดับต้นก็จะขยับขึ้นเป็นระดับกลาง และระดับสูง จากระดับสูงจะส่งต่อเป็นมาสเตอร์ทีชเชอร์ ส่งไปเรียนต่อปริญญาโท ปริญญาเอก หรือส่งไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อยกระดับเป็นครูต้นแบบ การพัฒนาครูลักษณะนี้เป็นเรื่องยุ่งยาก ซับซ้อนพอสมควร เพราะครูหนึ่งคนจะถูกพัฒนาในหลายลักษณะ
       
       นายพิษณุ กล่าวว่า นี่คือแนวทางการพัฒนาครูทั้งระบบแบบคร่าว ๆ เพื่อนำเสนอผู้บริหารองค์กรหลักรับทราบและทำงานร่วมกัน เพราะคิดว่าลำพัง สพฐ.จะพัฒนาคนของ สพฐ.ทั้งหมดไม่ได้ คงต้องอาศัยเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) คุรุสภา คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เป็นต้น ดังนั้น จะกำหนดว่า ปีแรก ปี 2 ปี 3 ที่ใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น จะพัฒนาครูจำนวนเท่าไหร่และมีเป้าหมายที่ชัดเจน
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้911
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1309
mod_vvisit_counterทั้งหมด10730519