Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
พมร.ภูเก็ต แหล่งเรียนรู้ที่น่าทึ่ง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 12 สิงหาคม 2009

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่

แหล่งการเรียนรู้ที่น่าทึ่ง

ป้าแป๋วไม่มีภัย


เมื่อเดือนที่แล้ว ป้าแป๋วได้มีโอกาสไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ อ.กระทู้ จ.ภูเก็ตค่ะ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ป้าแป๋วประทับใจและทึ่งในแนวคิดและการจัดทำขึ้นมาค่ะ เดิมทีป้าแป๋วคิดว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คงเต็มไปด้วยความรู้เหมืองแร่ แร่ธาตุ ดิน หิน ฯลฯ ที่ไม่น่าสนใจเอาซะเลยแต่ความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อได้ไปสัมผัสของจริงที่นี่

ครอบครัวของเราได้รับความกรุณาจาก ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ที่พาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ป้าแป๋วและเด็กๆ ตื่นเต้นและประทับใจทุกๆ ก้าวที่ได้ก้าวเข้าไปชมค่ะ

เริ่มด้วยห้องนิทรรศการทรัพย์นายหัวเหมืองเป็นส่วนแสดงวัฒนธรรมของคนภูเก็ตก็ว่าได้ค่ะ

แต่ก็ตื่นเต้นมากๆ เมื่อเข้าห้องนิทรรศการกำเนิดโลก(ในระบบสุริยจักรวาล) ที่สามารถเข้าไปในโลกได้เห็นกำเนิดแร่ กำเนิดสิ่งมีชีวิตและคน

 

เดินตามมาเลยค่ะ ข้างในมีเรื่องน่าเรียนรู้เยอะแยะเลยค่ะ

ตรงนี้จะมีรูปปั้นมนุษย์ดึกดำบรรพ์มาวางไว้ค่ะ

มีแร่ประเภทต่างๆ จัดแสดงไว้ด้วยค่ะ

ต่อไปก็เป็นส่วนของการทำเหมืองแร่แบบต่างๆ ค่ะ

เหมืองแล่น เป็นเหมืองเปิดตามเขา ใช้แรงงานคนฉีดน้ำแล้วปล่อยให้ดินปนแร่ไหลไปตามราง หรือทำในหน้าฝน เป็นเหมืองที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีทุนน้อย

เหมืองรู หรือเหมืองปล่องเป็นเหมืองใต้ดิน ใช้แรงงานคนเปิดเหมืองและใช้เครื่องกว้านแร่สำหรับขนดินปนแร่ขึ้นมา

เหมืองหาบเป็นเหมืองที่ใช้กุลีมากที่สุด ช่วยขุด ช่วยขน ช่วยหาบ ลำเลียงน้ำเข้า ลำเลียงน้ำออก ขนหิน ขนดิน ขนแร่ ขนทราย ให้นายหัวเหมือง

เหมืองฉีดเป็นเหมืองที่เริ่มมีเครื่องยนต์มาใช้ในการสูบน้ำแล้วส่งไปยังหัวฉีด คนงานเหมืองฉีดจะใส่ชุดกันฝนที่เรียกว่า "จั่งซุย" ซึ่งทำมาจากใบปาล์มชก

รูปจั่งซุ้ยนี้ไปแอบหยิบมาจากบล็อค เจ้าป้ามหาภัย ขอบคุณมากๆ ค่ะ

หัวฉีดหรือจุ๊ยปีด

เหมืองเรือขุด กัปตันเอ็ดวาร์ด ไมล์ชาวออสเตรเลียได้ดัดแปลงเรือขุดร่องน้ำมาเป็นเรือขุดแร่ดีบุก ในปีพ.ศ.2452

ลูกเชอหรือกะพ้อตักแร่ของเหมืองเรือขุด

ต่อไปก็เป็นส่วนของการส่งแร่ ทำความสะอาดแร่ แยกแร่ ถลุงแร่และแปรแร่ดีบุกเป็นโลหะดีบุก และทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

รูปยังไม่หมดนะคะ เอาไว้มาต่อบล็อคหน้านะคะ ป้าแป๋วกลัวจะโหลดนานค่ะ

ขอขอบคุณ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ สำหรับความกรุณาที่นำเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ตลอดจนรูปภาพและบทความต่างๆ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ปล. ติดตามความรู้มากมายในเวปไซต์ของอาจารย์ได้ที่นี่นะคะ กระทู้ถิ่นดอทคอม

Create Date : 18 มิถุนายน 2551
Last Update : 20 มิถุนายน 2551 11:13:13 น.   58 comments 
Counter : 912 Pageviews. 

สวัสดีค่ะป้าแป๋วแวะมาเที่ยวพิพิธภันฑ์ด้วยคนค่ะ

โดย: paerid  วันที่: 20 มิถุนายน 2551 เวลา:13:33:07 น.     
 
สวยค่ะ เป็นแหล่งความรู้ได้ดีจริงๆค่ะ

อ.สมหมาย น่ารักเสมอค่ะ ฝันของ อ.เป็นจริงแล้ว สุดยอดค่ะ

โดย: เจ้าป้ามหาภัย IP: 124.157.217.173 วันที่: 20 มิถุนายน 2551 เวลา:22:53:37 น.    

นับว่าเป็นความรู้สำหรับเราคนไทย น่าสนใจมากๆ ค่ะ

แวะมาเก็บความรู้ด้วยค่ะ

ค่ะ รักษาสุขภาพ นะค่ะ

โดย: Lek (INGEN ER PERFEKT ) วันที่: 21 มิถุนายน 2551 เวลา:0:34:18 น. 

 

 













แต่ก็ตื่นเต้นมากๆ เมื่อเข้าห้องนิทรรศการกำเนิดโลก(ในระบบสุริยจักรวาล) ที่สามารถเข้าไปในโลกได้เห็นกำเนิดแร่ กำเนิดสิ่งมีชีวิตและคน





เดินตามมาเลยค่ะ ข้างในมีเรื่องน่าเรียนรู้เยอะแยะเลยค่ะ








ตรงนี้จะมีรูปปั้นมนุษย์ดึกดำบรรพ์มาวางไว้ค่ะ


มีแร่ประเภทต่างๆ จัดแสดงไว้ด้วยค่ะ




ต่อไปก็เป็นส่วนของการทำเหมืองแร่แบบต่างๆ ค่ะ



เหมืองแล่น เป็นเหมืองเปิดตามเขา ใช้แรงงานคนฉีดน้ำแล้วปล่อยให้ดินปนแร่ไหลไปตามราง หรือทำในหน้าฝน เป็นเหมืองที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีทุนน้อย



เหมืองรู หรือเหมืองปล่องเป็นเหมืองใต้ดิน ใช้แรงงานคนเปิดเหมืองและใช้เครื่องกว้านแร่สำหรับขนดินปนแร่ขึ้นมา



เหมืองหาบเป็นเหมืองที่ใช้กุลีมากที่สุด ช่วยขุด ช่วยขน ช่วยหาบ ลำเลียงน้ำเข้า ลำเลียงน้ำออก ขนหิน ขนดิน ขนแร่ ขนทราย ให้นายหัวเหมือง



เหมืองฉีดเป็นเหมืองที่เริ่มมีเครื่องยนต์มาใช้ในการสูบน้ำแล้วส่งไปยังหัวฉีด คนงานเหมืองฉีดจะใส่ชุดกันฝนที่เรียกว่า "จั่งซุย" ซึ่งทำมาจากใบปาล์มชก



รูปจั่งซุยนี้ไปแอบหยิบมาจากบล็อค เจ้าป้ามหาภัย ขอบคุณมากๆ ค่ะ


หัวฉีดหรือจุ๊ยปีด



เหมืองเรือขุด กัปตันเอ็ดวาร์ด ไมล์ชาวออสเตรเลียได้ดัดแปลงเรือขุดร่องน้ำมาเป็นเรือขุดแร่ดีบุก ในปีพ.ศ.2452





ลูกเชอหรือกะพ้อตักแร่ของเหมืองเรือขุด



ต่อไปก็เป็นส่วนของการส่งแร่ ทำความสะอาดแร่ แยกแร่ ถลุงแร่และแปรแร่ดีบุกเป็นโลหะดีบุก และทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

อ้างอิง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=paewphuket/&month=06-2008&date=18&group=12&gblog=69

 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้97
mod_vvisit_counterเมื่อวาน855
mod_vvisit_counterทั้งหมด10697218