Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
สมบัติจีนจากพระราชวังต้องห้าม PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 11 สิงหาคม 2009
 จีนและไต้หวันจับมือกันแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ครั้งแรกในรอบ 60 ปี โดยจะเปิดนิทรรศการร่วมแสดงสมบัติจากยุคจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง ที่ไทเป เดือนตุลาคมนี้ ภาพ:ภาพเขียน หย่งเจิ้ง ครองราชย์ ปี ค.ศ. 1722-1735 ทรงมีชื่อเสียงด้านการต่อสู้คอรัปชั่น ภาพดังกล่าวถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ กรุงปักกิ่ง


       
       เอเจนซี--ณ ช่วงที่เมืองจีนกำลังระส่ำ ไฟสงครามลูกใหญ่รุกเข้ามาในต้นปี 1933 (2476) ก่อนที่กองทัพระจักรพรรดิแดนอาทิตย์อุทัยยาตราทัพเข้ามา พรรคกั๋วหมินตั่ง หรือที่ชาวไทยคุ้นเคยในชื่อ ก๊กมินตั๋ง ก็ได้ขนย้ายสมบัติบรรพบุรุษที่ตกทอดสั่งสมนับนับพันปี จากพระราชวังต้องห้ามนครปักกิ่ง ที่ถูกบรรจุใส่ลังไม้มากกว่า 13,000 ลัง
       
       พวกเขาได้แยกลังสมบัติวัตถุโบราณและแบ่งกันขนหนีไปตามที่ต่างๆทั่วประเทศจีน ให้พ้นเอื้อมมือผู้รุกรานที่อาจเข้ามาปล้นชิงไป สมบัติจากพระราชวังจีนเหล่านี้ ซึ่งนับเป็นศิลปะล้ำค่าที่สุดแห่งเอเชีย ได้ฝ่าไฟสงครามจากการทิ้งลูกระเบิดและการโจมตีบนพื้นดิน นานถึง 12 ปี กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองยุติในปี ค.ศ. 1945

 

---------------------------------------------

“รวมญาติ” สมบัติพระราชวังต้องห้าม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์18 กุมภาพันธ์ 2552 16:55 น.

--------------------------------------------------------------


       
       สมบัติพระราชวังได้กลับมารวมกันหลังสงครามในนครหนันจิง หรือนานกิง เมืองหลวงโบราณของจีน ขณะนั้น สงครามกลางเมืองระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังดำเนินต่อไป เมื่อมีสัญญาณชัดว่ากองทัพปลดแอกประชาชนของผู้นำคอมมิวนิสต์ จะเป็นผู้พิชิตชัยชนะ ผู้นำก๊กมินตั่งก็ได้คัดเลือกโบราณวัตถุชิ้นที่ล้ำค่าที่สุด นับได้มากกว่า 3,000 ลัง รวมกว่า 655,000 ชิ้น ขนส่งไปยังเกาะไต้หวันระหว่างปี 1948 และต้นปี 1949(2492)
ก่อนสิ้นสงครามกลางเมือง โบราณวัตถุที่ผู้นำก๊กมินตั๋งเลือกไปนั้น ล้วนเป็นสุดยอดงานศิลปะ อาทิเครื่องเคลือบและภาพเขียนที่หายากที่สุดในโลก รวมทั้งงานศิลปะในยุคราชวงศ์ชิง จนอาจเรียกได้ว่าโบราณวัตถุของพระราชวังต้องห้ามชิ้นเด็ดๆนั้น ตกอยู่ในมือไต้หวันเป็นส่วนใหญ่ ถึงขนาดมีคำกล่าวในชาวจีนบางกลุ่มว่า “ไต้หวันมีโบราณวัตถุแต่ไม่มีวัง ส่วนปักกิ่งมีวังแต่ไม่มีโบราณวัตถุ”
       

       
        ไฟล์ภาพประวัติศาสตร์ ผู้นำก๊กมินตั๋งขนย้ายโบราณวัตถุจากพระราชวังต้องห้ามหนีภัยสงครามไปตามที่ต่างๆทั่วประเทศจีนจีนอย่างยากลำบากตั้งแต่ปีค.ศ. 1933 จนสงครามโลกครั้งที่สองสงบในปี 1945
       
       ผู้นำคอมมิวนิสต์ได้ขนโบราณวัตถุที่ก๊กมินตั่งเหลือทิ้งไว้ไปไว้ที่พระราชวังต้องห้ามกรุงปักกิ่ง นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุ 2,221 ลัง ที่ถูกทิ้งไว้ที่พระราชวังเทียนเฉาในนครหนันจิงหลังจากที่รัฐบาลท้องถิ่นหนันจิงและปักกิ่งได้ถกเถียงกันถึงความเป็นเจ้าของสมบัติเหล่านี้
       
       นับเป็นเวลาถึง 60 ปี ที่สมบัติพระราชวังจีน ได้แยกกันอยู่คนละดินแดน โดยส่วนหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง และอีกส่วนหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติในนครไทเป ทั้งนี้ ผู้นำก๊กมินตั่งได้ตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติขึ้นที่ไทเป โดยใช้ชื่อเดียวกับพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามในปักกิ่ง คือ พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ (กู้กงโป๋อู้ย่วน 故宫博物院 –National Palace Museum)
       
       “รวมญาติ” สมบัติพระราชวังจีน
       
       
กระทั่งสัมพันธภาพระหว่างสองดินแดนจีนชื่นมื่นถึงที่สุดหลังจากที่ผู้นำพรรคก๊กมินตั่ง หม่า อิงจิ่ว ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ก็มีการเจรจาแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่สำคัญคือ การจัดแสดงนิทรรศการใหญ่รำลึกจักรพรรดิหย่งเจิ้ง ร่วมระหว่างสองดินแดน
       
       และในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นาง โจว กงซิน ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พระราชวังหลวงแห่งไทเป ได้นำคณะเดินทางไปประชุมที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง เพื่อเจรจาขอยืมวัตถุโบราณของพระราชวังต้องห้ามไปจัดแสดงนิทรรศการรำลึกจักรพรรดิหย่งเจิ้ง ที่ไทเปในเดือนตุลาคม โดยจะเปิดให้ผู้ชม 3 เดือน
       
       สำหรับผลการเจรจา สื่อจีน ไชน่า เดลี่เมื่อวันจันทร์(16 ก.พ.)เผยว่าพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ กรุงปักกิ่ง ตกลงให้ไทเป ยืมโบราณวัตถุราชวงศ์ชิง 29 ชิ้น โดยผู้แทนจากพิพิธภัณฑ์ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามข้อตกลงการยืมโบราณวัตถุครั้งนี้เมื่อวันอาทิตย์(15 ก.พ.) นอกจากนี้ ฝ่ายจีนยังแสดงความหวังที่จะยืมโบราณวัตถุจากไทเปมาจัดแสดงนิทรรศการที่แผ่นดินใหญ่ด้วย
       

       ไชน่าเดลี่อ้างสื่อไต้หวันว่า ด้านไต้หวันซึ่งครองวัตถุโบราณจากพระราชวังต้องห้ามชิ้นล้ำค่าไว้มากมายนั้น มีท่าทีบ่ายเบี่ยงที่จะให้ปักกิ่งยืมสมบัติเหล่านี้ เนื่องจากเกรงว่าจีนจะไม่ยอมคืนวัตถุโบราณที่ยืมไป อย่างไรก็ตาม ทั้งสองจะเจรจาความเป็นไปได้ในการจัดนิทรรศการร่วมแสดงโบราณวัตถุของพระราชวังต้องห้ามระหว่างงานเซี่ยงไฮ้ เอ็กซ์โป 2010
       
       สำหรับปักกิ่งการแลกเปลี่ยนนี้ นอกจากสะท้อนความร่วมมือในด้านศิลปะ ยังต้องการปรับปรุงภาพลักษณ์ของจีนแก่ชาวไต้หวัน เพื่อบั่นทอนกระแสต่อต้านการรวมชาติ
       
       สำหรับงานศิลปะที่ไทเปต้องการยืมไปจัดแสดงในนิทรรศการฯนั้น ส่วนใหญ่เป็นภาพวาดและตราประทับของจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 1722-1735 (พ.ศ.2266-2278)
ผู้เชี่ยวชาญศิลปะจีน นาย Marc F. Wilson ผู้อำนวยการ Nelson-Atkins Museum ในเคนซัสซิตี้ กล่าวว่า การยืมงานศิปละของทางไทเปนั้น “มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์มากกว่า เพราะวัตถุโบราณที่ยืมไปนั้น ไม่ใช่งานที่ยิ่งใหญ่”
       
        พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไทเป ออกแบบเหมือนห้องพระโรงหลวงของพระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง
       
       สำหรับการขอยืมงานศิลปะพระราชวังจากไทเปมาจัดแสดงในจีนนั้น นาง โจวกล่าวว่า “ขณะนี้ ยังไม่มีแผน” ซึ่งการกระทำเช่นนี้ จะยิ่งโหมกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในไต้หวันมาก เนื่องจากทางปักกิ่งนั้น อ้างตลอดมาว่า โบราณวัตถุพระราชวังทั้งหมดนั้นเป็นของปักกิ่ง สำหรับทางไทเปนั้น ไม่เคยโต้แย้งใดๆต่อการถือครองสมบัติพระราชวังของปักกิ่ง
       
       นอกจากนี้ นางโจวชี้ว่าพิพิพธภัณฑ์ทั้งสองแห่งจะได้รับประโยชน์ในด้านความชำนัญในการอนุรักษ์สมบัติบรรพบุรุษ ซึ่งไทเปมีจุดเด่นด้านเทคนิกใหม่ล่าสุดสำหรับการจัดแสดงงานศิลปะเก่าแก่ ขณะที่ปักกิ่งนั้น ชำนาญการเก็บรักษานาฬิกา “ทางเราก็มีนาฬิกา แต่เป็นจำนวนน้อย และก็ไม่กล้าที่จะแตะต้อง เพราะไม่มีทักษะด้านนี้”
       
       อย่างไรก็ตาม การแลกเปลี่ยนครั้งนี้ ก็ก่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในไต้หวัน โดยพรรคฝ่ายค้าน ประชาธิปไตยก้าวหน้า –ดีพีพี ชี้ว่าทางแผ่นดินใหญ่นั้น ไม่แม้แต่ยอมรับชื่อ “พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ” (National Palace Museum) เนื่องคำว่า “แห่งชาติ” อาจตีความเป็นการยอมรับอธิปไตยของรัฐบาลไต้หวัน สำหรับทางสำนักงานซินหัวได้อ้างถึงชื่อนี้ โดยใส่เครื่องหมายคำพูดกำกับไว้ เพื่อชี้ว่าเป็นชื่อเฉพาะ
       

       สำหรับนางโจวนั้น เป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะที่มีชื่อเสียง จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า เธอมุ่งไปที่ความร่วมมือด้านศิลปะเท่านั้น และหลีกเลี่ยงเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม แก่นเนื้อหาของนิทรรศการที่จะจัดในเดือนตุลาคม คือ ศิลปะโบราณวัตถุราชวงศ์ชิงแห่งรัชสมัยหย่งเจิ้งนั้น ก็มีกลิ่นอายทางการเมืองแอบแฝงอยู่
       
       จักรพรรดิหย่งเจิ้งทรงมีชื่อเลื่องลือด้านการต่อสู้คอรัปชั่น ขณะที่ เฉิน สุ่ยเปี่ยน อดีตประธานาธิบดีจากพรรคดีพีพี ที่ครองอำนาจประมุขดินแดน 8 ปี(2000-2008) กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีในข้อกล่าวหาคอรัปชั่น
       
       “นั่น เป็นเรื่องบังเอิญ เรามุ่งไปที่เรื่องศิลปะเท่านั้น” นางโจว ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ใจในการเลือกธีม นิทรรศการ.


   
ภาพเขียนหย่งเจิ้ง ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ ปักกิ่งภาพเขียนหย่งเจิ้งทรงชุดนักพรตเต๋า ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ ปักกิ่งภาพเขียนหย่งเจิ้งชมจันทร์ในวันขึ้นแปดค่ำ ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ ปักกิ่ง
   
ถ้วยทองประดับมุกและอัญมณีของจักรพรรดิเชียนหลง กษัตริย์ชิงถือเป็นสมบัติล้ำค่าจากบรรพบุรุษหม้อลวดลายมังกร สมบัติตกทอดจากยุคราชวงศ์ซ่ง ภาพวัว 5 ตัว 五牛图 ภาพวาดบนกระดาษชิ้นเก่าแก่ที่สุด เท่าที่มีอยู่ปัจจุบัน
   
นาฬิการูปแบบตำหนักทอง มีประตูเปิดออกอัตโนมัติพร้อมเซียนออกมาอวยพร สร้างในรัชสมัยเชียนหลง“ส่านซื่อผาน” จากปลายยุคซีโจว หรือโจวตะวันตก (ศตวรรษที่ 11 ก่อน ค.ศ.-771 ปี ก่อนค.ศ.) สิ่งที่ดึงดูดความสนใจผู้คนมากที่สุดคือ คำจารึก 357 ตัวอักษร บันทึกข้อตกลงข้อพิพาทดินแดนระหว่างแคว้นหลิน และแคว้นส่าน อีกหนึ่งสมบัติชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไทเป“เหมากงติ่ง” สันนิษฐานว่าเป็นติ่งในยุค โจวเซวียนหวัง ภายในติง ยังมีคำจารึก 500 ตัว นับเป็นเครื่องทองเหลืองในยุคซัง-โจวชิ้นเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ขุดพบ นอกจากมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์แล้ว ติ่งชิ้นนี้ ยังมีความสำคัญมากในงานวิจัยอักษรจีนโบราณ และลายมือเขียน สมบัติชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไทเป
   
ปิ่นโตจีนสี่ชั้น แกะสลักจากงาช้างเป็นเรื่องราว 8 เซียนข้ามทะเล รูปนกดอกไม้และคน ที่น่าอัศจรรย์ใจคือ มันเป็นปิ่นโตกึ่งโปร่งใส โดยช่างได้ใช้ชิ้นงาช้างบางเฉียบจนมองทะลุได้ปะติดระหว่างลวดลายได้อย่างเนียนมาก และ ก็แทบจะไม่อยากเชื่อเลยว่า มาจากงาช้างใหญ่ทั้งชิ้น! เป็นงานแกะสลักในยุคชิง หนึ่งสมบัติชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไทเปแจกันยุคราชวงศ์ชิง สุดยอดสมบัติพระราชวัง ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไทเป คัดเอกมาจัดแสดงในนิทรรศการผักกาดขาวแกะสลักจากหยกเขียว สูง 18.7 ซม. กว้าง 9.1 ซม. สุดยอดงานแกะสลักหยก ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติในไทเป
   
หยกขาวฉลุลายห่านป่าในบึงใหญ่ หัวเข็มขัดสมัยราชวงศ์หยวน-หมิง ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไทเปวานรคู่ขโมยลูกท้อ’ แกะสลักจากหยกไป๋อี้ว์ ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไทเปหยกสีแดง แกะสลักเป็นรูปทรงก้อนเนื้อหมูสามชั้น สุดยอดงานแกะสลักหยก ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติในไทเป
   
เครื่องห้อยงาช้างสลักสมัยราชวงศ์ชิง สูง 54.8 ซม. ลูกบอลมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 11.7 ซม. และ เจดีย์เก้าชั้นสมัยชิง แกะสลักจากงาช้าง สูง 67 ซม. กว้าง 21.6 ซม. อยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไทเปเครื่องเคลือบแจกันคู่ลายนกและดอกไม้ปลายยุคคังซีแห่งราชวงศ์ชิง ลวดยายงามวิจิตรสุดยอด ของพิพิธภัณฑ์พระราชวังหลวงแห่งชาติไทเป
  

อ้างอิง

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9520000018207
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1921
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1238
mod_vvisit_counterทั้งหมด10733877