Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
นามสถานเกาะยาว : กนกวรรณ นาคสง่า PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 02 มกราคม 2021
.

ชื่อบ้านนามเมืองเกาะยาว
(ส่วนหนึ่งของงานวิจัย)
กนกวรรณ นาคสง่า

ภาษาไทย มรภ.ภูเก็ต
๒๕๖๓

 

อ่าวหินกอง

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 

“อ่าวหินกอง” มีที่มาจากคำว่า อ่าว หมายถึง ชายหาดที่มีลักษณะทอดยาว คำว่าหินกอง หมายถึง กองหินที่มีอยู่จำนวนมากที่ตั้งอยู่บริเวณนั้น ลักษณะของหินที่กองทับกันอยู่บริเวณอ่าวแห่งนั้นแสดงถึงจุดเด่นของสิ่งที่มีอยู่ คือ กองหิน

“อ่าวหินกอง” เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอเกาะยาวใหญ่ อ่าวหินกอง สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งชื่อที่นำเอาลักษณะความโดดเด่นของลักษณะภูมิประเทศ ของสถานที่มาตั้งเป็นชื่อหลัก นั่นคือ คำว่า “อ่าว” ส่วนคำว่า “หินกอง” เป็นการนำเอาลักษณะสภาพแวดล้อมที่โดนเด่นภายในรอบ ๆ ด้วยลักษณะความเป็นอ่าว หมายถึง ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลเป็นเว้าทอดยาว ทำให้อ่าวแห่งนี้ประกอบไปด้วยทรัพยากรทางทะเลที่อยู่บริเวณอ่าว ที่ผู้คนเห็นโดยทั่วกันและด้วยสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น จึงทำให้คนในท้องถิ่นเกิดความเชื่อว่าสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมาให้อยู่ในท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี ควรแก่การดูแลรักษา ดังที่ปรากฏให้เห็นจนถึงปัจจุบัน บริเวณอ่าวแห่งนี้มีความเป็นชื่อเฉพาะของพื้นที่ เพราะอ่าวแห่งนี้มีสิ่งที่เห็นได้ชัด คือ ความเป็นอ่าว สลับกับกองหินที่อยู่ในบริเวณอ่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการนำเอาทรัพยากรที่ปรากฏในบริเวณนั้นมาตั้งเป็นชื่อสถานที่และหินจำนวนมากที่มีอยู่บริเวณอ่าวแห่งนี้

                   (นายอุดม กูลดี 2562, สัมภาษณ์)

 

 

บ้านคลองดินเหนียว

หมู่ที่ 5 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“บ้านคลองดินเหนียว” มีที่มาจาก“คลองดินเหนียว” เนื่องจากมีคลองทอดผ่านหมู่บ้านซึ่งเป็นลักษณะของคลองที่มีพื้นดินเป็นดินเหนียว

“บ้านคลองดินเหนียว” เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศบ้านคลองดินเหนียว สะท้อนให้เห็นถึงการนำเอาพื้นที่คือคำว่า “บ้าน” มาตั้งชื่อรวมกับลักษณะความโด่ดเด่นของพื้นที่ภายในหมู่บ้านที่เห็นได้ชัดซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอดีต คือ มีคลองทอดยาว แต่คลองในพื้นที่ตรงนั้นจะเป็นคลองที่มีลักษณะเป็นดินเหนียว ซึ่งอาจจะแตกต่างในพื้นที่อื่น ๆ เนื่องจากเป็นคลองที่เป็นดินเหนียว แต่พื้นที่อื่น ๆ อาจเป็นคลองแต่เป็นดินกรวด หรือดินทราย แต่ที่บ้านคลองดินเหนียวแห่งนี้คลองจะมีลักษณะที่เป็นคลองดินเหนียว ดังที่ผู้คนในอดีตเรียกขานกันมาจนปัจจุบันว่า “บ้านคลองดินเหนียว”

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์ )

                  

อ่าวปากคลอง

หมู่ที่ 6 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

          “อ่าวปากคลอง” มีที่มาจาก คำว่า “ปากคลอง” หมายถึง ทางเข้าออกของเรือ และเป็นทางออกของแม่น้ำเนื่องจากบริเวณตรงนี้มีชื่อที่เรียกที่ตรงกับลักษณะของพื้นที่อย่างเห็นได้ชัด “อ่าวปากคลอง”เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศบ้านอ่าวปากคลอง เป็นการนำเอาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากธรรมชาติโดยอ่าวคือพื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหลเหมาะแก่การ ซึ่งชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนเมื่อเห็นสิ่งแวดล้อมที่เขาคุ้นเคยทุกวัน เขาเลยนำค่าว่า “อ่าว” มาวางในการตั้งชื่อเป็นคำหลัก ส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนขยายคือลักษณะของบริเวณรอบ ๆ คลองซึ่งมีขนาดกว้างชาวบ้านจึงเรียกว่า “ปากคลอง” ลักษณะทางกายภาพของคลองแห่งนี้ชาวบ้านในท้องถิ่นสามารถใช้ในการเดินเรือได้ ไม่ว่าจะเป็นจะออกไปหาปลา หรือจะใช้เป็นท่าเรือขนส่งขนาดเล็กก็ได้ในสมัยก่อน

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์ )

 

บ้านพรุใน

หมู่ที่ 6 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

               “บ้านพรุใน” มีที่มาจาก คำว่า “พรุ” หมายถึง บริเวณลุ่มน้ำที่มีน้ำขัง คำว่า “ใน” หมายถึงด้านในหรือภายใน เมื่อนำความหมายมารวมกัน หมายถึง บริเวณลุ่มน้ำที่มีน้ำขังอยู่ด้านใน บ้านพรุใน เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ซึ่งตามเรื่องเล่าขานได้กล่าวไว้ว่า สมาชิกกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบ้านพรุในชื่อว่า โต๊ะงกเง็ก หรือเรียกว่าตาเก็บ และโต๊ะตาเง็น หรือเรียกว่าตอเหตุ ซึ่งเดินเข้ามาบุกเบิกถางพงหญ้า เพื่อก่อสร้างบ้านเรือน เมื่อประมาณ 200 ปีก่อน พื้นที่บ้านพรุในเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับการทำเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูก ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือการเลี้ยงสัตว์ เมื่อบรรพบุรุษทั้งสองคนเข้ามาบุกเบิกได้ระยะหนึ่ง ลูกหลานและเพื่อนบ้านแถบใกล้เคียงเริ่มย้ายถิ่นฐานเข้ามาปักหลักเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และกลายเป็นหมู่บ้าน ตำบลมาถึงปัจจุบัน จากสืบค้นหลักฐานตามบันทึกของชุมชน ทรงคณิต อิสลาม อดีตกำนันตำบลเกาะยาวใหญ่ บ้านพรุในเมื่อสมัยก่อนอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวใหญ่ ระบุว่าชื่อตำบลบ้านพรุในนั้นมีที่มาจากภูมิประเทศอันเป็นที่ตั้ง ซึ่งเมื่อก่อนมีสภาพเป็น “พรุ” และอยู่ในพื้นที่กลางของตำบลหรืออยู่ส่วนในของตำบล ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่แห่งนี้ว่า บ้านพรุใน มาตั้งแต่ดั้งเดิม

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์ )

แหลมนกออก

หมู่ที่ 2 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

               “แหลมนกออก” มีที่มาจาก คำว่า “แหลม” หมายถึง ลักษณะของชายหาดที่ทอดยาวเป็นแนว คำว่า “นกออก” หมายถึง เป็นที่อยู่อาศัยของนก แหลมนกออก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง พื้นที่บริเวณแหลมนกออกเป็นพื้นที่ที่มีหาดทรายสีขาวสวยงาม เดิมในสมัยก่อนเป็นที่พักของชาวประมงเรืออวนปลากะตัก ซึ่งชาวประมงกลุ่มนี้จะเข้ามาพักในช่วงระยะเวลาเพียง 6 เดือน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม-เดือนตุลาคม เพื่อเป็นการหลบภัยพายุในช่วงมรสุม และเมื่อผ่านช่วงมรสุมก็จะได้ยินเสียงนกบินออกมาเป็นจำนวนมากส่งเสียงร้องทุกวัน ชาวประมงในแถบนั้นจะมีความรู้ว่าถ้าหากได้ยินเสียงนกร้องแสดงว่าผ่านช่วงมรสุมแล้ว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณอ่าวแห่งนั้นว่า แหลมนกออก

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์ )

 

บ้านตีน

หมู่ที่ 3 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

               “บ้านตีน” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน คำว่า “ตีน” หมายถึง ทิศเหนือ บ้านตีน เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง พื้นที่บริเวณของบ้านตีนอยู่ในละแวกของบ้านอ่าวกะพ้อ ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่ ซึ่งคนในท้องถิ่นมักเรียกว่า “ประตีน” ตามลักษณะของการนอน โดยปกติคนมักจะนอนต้องให้เท้าชี้ไปทางทิศเหนือ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณแห่งนั้นว่า บ้านตีน

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์ )

 

บ้านหัวนอน

หมู่ที่ 2 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                     “บ้านหัวนอน” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน คำว่า “หัวนอน” หมายถึง ทิศที่ใช้ในการนอนซึ่งจะผันศีรษะไปทางทิศใต้ บ้านหัวนอน เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง พื้นที่บริเวณบ้านหัวนอน เป็นพื้นที่ที่อยู่ในละแวกบ้านซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ซึ่งคนในท้องถิ่นมักเรียกตามภาษาถิ่นเกาะยาวว่า ทิศใต้ คือ ทิศหัวนอน ซึ่งเรียกตามลักษณะการนอนของบุคคล ที่มีการนอนโดยผันศีรษะไปทางทิศใต้ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณแห่งนั้นว่า บ้านหัวนอน

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์ )

 

บ้านอ่าวทราย

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                     “บ้านอ่าวทราย” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน คำว่า “อ่าวทราย” หมายถึง ลักษณะของหาดทรายที่เป็นแนวทอดยาว บ้านอ่าวทราย เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง พื้นที่บริเวณชายหาดมีความสวยงาม เหมาะแก่การไปเที่ยวพักผ่อน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่จึงเรียกบริเวณนั้นว่า บ้านอ่าวทราย

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

บ้านท่อง

หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “บ้านท่อง” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน คำว่า “ท่อง” หมายถึง ทุ่ง ซึ่งในบริเวณหมู่บ้านตรงนั้น มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นทุ่งนากว้างขวาง บ้านท่อง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ด้วยลักษณะของทุ่งนาที่กว้างใหญ่นั้นทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่นเกาะยาวเรียกว่า ท่อง พื้นที่ภายในทุ่งนาแห่งนั้นสามารถตอบสนองต่ออาชีพของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้คนในเกาะยาวมีอาชีพปลูกข้าว ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาชีพหลักอีกอาชีพหนึ่งที่รองลงมาจากอาชีพการประมง เนื่องจากอิทธิพลภาษาไทยถิ่นใต้จากคำว่า ทุ่ง ชาวบ้านเรียกเป็นคำว่า ท่อง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เรียกบริเวณนั้นเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านท่อง

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

                      

บ้านน้ำจืด

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                   “บ้านน้ำจืด” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน คำว่า “น้ำจืด” ในความหมายของชาวบ้าน หมายถึง รสชาติของน้ำที่มีรสกร่อย ซึ่งในบริเวณหมู่บ้านตรงนั้น มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหมู่บ้านรวมกับแหล่งน้ำที่มีรสชาติกร่อย บ้านน้ำจืด เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ด้วยลักษณะสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านที่มีแหล่งน้ำซึ่งมีรสชาติที่แตกต่างไปจากหมู่บ้านอื่น ๆ บนเกาะยาวน้อย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านน้ำจืด

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

คลองน้ำจืด

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

          “คลองน้ำจืด” มีที่มาจาก คำว่า “คลอง” หมายถึง ลักษณะของแหล่งน้ำที่ทอดยาวมีน้ำไหลผ่านตลอด คำว่า “น้ำจืด” ในความหมายของชาวบ้าน หมายถึง รสชาติของน้ำที่มีรสกร่อย ซึ่งในบริเวณหมู่บ้านตรงนั้น มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหมู่บ้านรวมกับแหล่งน้ำที่มีรสชาติกร่อย บ้านน้ำจืด เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ด้วยลักษณะสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านที่มีแหล่งน้ำเป็นลำคลอง ที่ชาวบ้านสามารถนำมาใช้อุปโภค บริโภคได้ในขณะนั้น แต่น้ำในคลองแห่งนี้มีรสชาติที่แตกต่างไปจากคลองอื่น ๆ บนเกาะยาวน้อย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า คลองน้ำจืด

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นาน้ำจืด

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

          “นาน้ำจืด” มีที่มาจาก คำว่า นา หมายถึง “ทุ่งนา” คำว่า น้ำจืด ในความหมายของชาวบ้านหมายถึง รสชาติของน้ำที่มีรสกร่อย เมื่อนำความหมายของทั้งสองคำนี้มารวมกัน หมายถึง นาน้ำจืด ซึ่งในบริเวณทุ่งนาตรงนั้นตั้งอยู่ในหมู่บ้านน้ำจืด บ้านน้ำจืด เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ด้วยลักษณะสภาพแวดล้อมของทุ่งนาที่มีแหล่งน้ำเล็ก ๆ ทอดผ่านบริเวณทุ่งนา เพื่อให้ผู้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำตรงนั้นในยามที่ถึงฤดูการทำนา เนื่องจากอาชีพการทำนา ปลูกข้าว ถือเป็นอาชีพหลักอาชีพหนึ่งที่รองลงมาจากการทำอาชีพประมง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาน้ำจืด

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ควนในวัง

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

            “ควนในวัง” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง ลักษณะของเนินเขาที่สูงไม่มากนักตั้งอยู่ด้านล่างของควนจุก คำว่า “ในวัง” หมายถึง ในวังน้ำ เมื่อนำความหมายของทั้งสองคำนี้มารวมกัน หมายถึง ลักษณะของควนที่มีน้ำไหลผ่านลงมาตลอดควนในวัง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ด้วยลักษณะสภาพแวดล้อมของควนที่ตั้งอยู่ด้านล่างของยอดเขาควนจุกที่เกิดวังน้ำ และควนในวังก็อยู่ใต้วังน้ำที่ไหลลงมาจากควนจุก นอกจากนี้ยังมีสถานที่อีก 2 แห่ง ที่ใช้การตั้งชื่อในลักษณะที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ นาในวัง และน้ำตกในวัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ควนในวัง

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านโละปาเหรด

หมู่ที่ 7 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“บ้านโละปาเหรด” มีที่มาจาก คำว่า “โละ” มีที่มาจากภาษามลายู คือ คำว่า “ตะโละ” แปลว่า อ่าว คำว่า “ปาเหรด” มีที่มาจากภาษามลายู คือ คำว่า ปาแฆะ แปลว่า คูน้ำ เมื่อนำความหมายของทั้งสองคำมารวมกัน คือ คำว่า โละปาเหรด แปลว่าลักษณะของอ่าวที่มีคูน้ำประกอบอยู่ด้วย ซึ่งในบริเวณหมู่บ้านตรงนั้น มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหมู่บ้านซึ่งมีอ่าวรวมกับคูน้ำอยู่ในพื้นที่เดียวกัน บ้านโละปาเหรด  เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แล้วปรากฏให้ผู้คนเห็นโดยที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ด้วยลักษณะสภาพแวดล้อมของบริเวณหมู่บ้านที่เป็นอ่าวพร้อมทั้งมีคูน้ำอยู่ร่วมด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เห็นว่าภาษามลายูมีอิทธิพลต่อคนในชุมชนมาตั้งแต่สมัยอดีต จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เรียกบริเวณนั้นว่า บ้านโละปาเหรด

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์ )

 

บ้านใหญ่

หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังง

                      “บ้านใหญ่” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน คำว่า “ใหญ่” หมายถึง ความหนาแน่นของประชากร ซึ่งในบริเวณหมู่บ้านตรงนั้น มีลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่บ้านที่กว้างและมีขาดใหญ่เพียงพอต่อการตั้งถิ่นฐานของประชากรที่เข้ามาอาศัยอย่างหนาแน่น บ้านใหญ่ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งมีอาณาเขตบริเวณกว้างขวางใหญ่ที่สุดในตำบลเกาะยาวน้อย ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของบริเวณหมู่บ้านที่ที่มีขนาดใหญ่ จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เรียกบริเวณนั้นว่า บ้านใหญ่

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านป่าทราย

หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                     “บ้านป่าทราย” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน คำว่า “ป่าทราย” หมายถึง หาดทรายที่กว้างยาว ซึ่งในบริเวณหมู่บ้านตรงนั้น มีลักษณะภูมิประเทศรอบ ๆ หมู่บ้านเป็นพื้นที่หาดทรายกว้าง บ้านป่าทราย เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งมีลักษณะเป็นแนวผืนทรายที่ทอดยาวตามชายหาด ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านที่ปกคลุมไปด้วยหาดทราย จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เรียกบริเวณนั้นว่า บ้านป่าทราย

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านท่าเขา

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

          “บ้านท่าเขา” มีที่มาจาก คำว่า บ้าน หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชนคำว่า “ท่าเขา” หมายถึง ลักษณะที่ตั้งของพื้นที่ซึ่งอยู่ด้านหลังภูเขา คำว่า “ท่า” มีอีกหนึ่งความหมายซึ่งหมายถึงท่าเรือ ในบริเวณหมู่บ้านตรงนั้น มีลักษณะภูมิประเทศที่อยู่ด้านหลังภูเขาประกอบกับมีท่าเรือสำหรับการจอดเรือของชาวประมง บ้านท่าเขา เป็นนามสถานที่ที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ด้านหลังเขาแนวภูเขารวมถึงบริเวณหมู่บ้านตรงนั้นยังมีท่าเรือตั้งอยู่ด้านหลังของภูเขาเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีสถานที่อีก 1 แห่งที่ใช้การตั้งชื่อที่เป็นไปในลักษณะแนวทางเดียวกัน คือ น้ำตกท่าเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เรียกบริเวณนั้นว่า บ้านท่าเขา

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นาใต้บ้าน

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                      “นาใต้บ้าน” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ทุ่งนา คำว่า “ใต้บ้าน” หมายถึง ลักษณะของพื้นนาอยู่ต่ำกว่าพื้นที่ของหมู่บ้าน นาใต้บ้าน เป็นนามสถานที่ที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะของทุ่งนาที่ตั้งอยู่บริเวณด้านล่างของหมู่บ้าน บ้านใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเรียกบริเวณนั้นว่า นาใต้บ้าน

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

บ้านตก

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                      “บ้านตก” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชนคำว่า“ตก” หมายถึง ทิศตะวันตก แต่ผู้คนในเกาะยาวนิยมเรียกทิศตามภาษาไทยถิ่นโดยใช้แค่คำว่าตก บ้านตกเป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้ง

ของหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก เนื่องจากพื้นที่ในชุมชนแห่งนี้มีการสร้างถิ่นฐานให้อยู่ไปในทางทิศตะวันตกของเกาะยาวใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านตก

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

 

บ้านแหลมยาง

หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา  

                      “บ้านแหลมยาง” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน“แหลม” หมายถึง ลักษณะพื้นดินที่ยื่นออกไปในทะเล คำว่า “ยาง” หมายถึง ต้นยางนา บ้านแหลมยาง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของหมู่บ้านที่มีพื้นดินยื่นออกไปในทะเล ประกอบด้วยพื้นที่ตรงนั้นซึ่งเป็นแหลมและเป็นที่อยู่ของต้นยางนาจำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านนิยมใช้น้ำมันจากต้นยางนาที่มีอายุเหมาะแก่การนำมาใช้งานโดยผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ โดยการนำน้ำมันต้นยางนามาทำเป็นขี้ใต้เพื่อใช้เป็นแสงสว่าง อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้การในการอุดรอยรั่วของเรือได้อีกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านแหลมยาง

(นายวินัย เปกะมล 2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านหาดยาว

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“บ้านหาดยาว” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน คำว่า “หาดยาว” หมายถึง ลักษณะของชายหาดที่ทอดยาว บ้านหาดยาว เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของหมู่บ้านที่มีลักษณะของชายหาดซึ่งมีความยาวทอดยื่นลงไปในทะเล ซึ่งเป็นชายหาดที่อยู่บริเวณหมู่บ้านเหมาะแก่การออกมาพักผ่อน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านหาดยาว

(นายเสรี เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นายาว

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                      “นายาว” มีที่มาจาก คำว่า “นา”หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “ยาว” คำว่า “ยาว” หมายถึง ลักษณะความยาวมากที่กว่าความกว้าง นายาว เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของทุ่งนาที่มีลักษณะผืนนาที่ยาวมากแต่มีความกว้างที่ไม่มาก และความแตกต่างของนาผืนนี้ คือ มีลักษณะยาวกว่าผืนนาอื่น ๆ ในหมู่บ้าน ซึ่งในอดีตบริเวณผืนนี้มีต้นมะม่วงเจริญเติบโตอยู่ด้วยหลายต้นซึ่งเป็นมะม่วงพันธุ์กล้วย เนื่องจากเมื่อผลของมะม่วงสุกจะมีลักษณะเรียว มีสีเหลืองคล้ายกับกล้วย แต่ปัจจุบันต้นมะม่วงนั้นไม่มีไม่ให้ปรากฏในบริเวณผืนนานั้นแล้ว ระยะหลังจึงทำให้มีคนในชุมชนเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาโสดม่วง แต่ชื่อที่คนส่วนใหญ่เรียกขานมาตั้งตั้งแต่สมัยก่อนเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นายาว

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นาทอน

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกะยาว จังหวัดพังงา

“นาทอน” มีที่มาจาก คำว่า “นา”หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “ทอน” หมายถึง  นาที่กว้างขวาง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของทุ่งนาที่มีลักษณะผืนนาที่มีความกว้างมาก และความแตกต่างของนาผืนนี้ คือ มีลักษณะความกว้างกว่าผืนนาอื่น ๆ ในหมู่บ้าน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาทอน

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

นาเกาะเปรว

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“นาเกาะเปรว” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “เกาะ” หมายถึง ขอบกั้นคันนาเพื่อใช้เป็นทางเดิน คำว่า “เปรว” หมายถึง สุสานหรือกุโบร์ นาเกาะเปรว เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของทุ่งนาที่มีการนำศพไปฝังไว้ในผืนนาแห่งนั้น เนื่องจากในสมัยก่อนมีหญิงตั้งครรภ์อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ตรงนั้น วันหนึ่งเขาผู้นั้นมีความรู้สึกอยากจะทานของเปรี้ยว ๆ เลยหันไปมองรอบ ๆ ก็เจอกับต้นหว้าที่กำลังผลิดอกออกผลเหมาะแก่การนำมารับประทาน เมื่อหญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นเห็นเขาก็รีบขึ้นไปปีนต้นหว้าต้นนั้นเพื่อที่จะเก็บมารับประทาน แต่เนื่องด้วยเขากำลังตั้งครรภ์อยู่และต้องปีนขึ้นต้นไม้ ทันใดนั้นเขาก็ตกลงมาจากต้นหว้า จึงเสียชีวิตลงในทันที ญาติพี่น้องของเขาจึงนำร่างไปฝังไว้ที่ผืนนาแห่งนั้น ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาเกาะเปรว

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ควนก้อง
หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “ควนก้อง” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง ลักษณะของเนินเขาที่สูงเล็กน้อย คำว่า “ก้อง” หมายถึง เมื่อมีคนขึ้นไปบริเวณนั้นแล้วตะโกนออกมาเสียงจะมีความก้อง ควนก้อง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของเนินเขาเล็ก ๆ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ควน ซึ่งบริเวณควนแห่งนั้นเมื่อพูดออกมา เสียงที่เปล่งออกมาซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นจะเป็นเสียงที่มีความก้องมากกว่าปกติ เนื่องจากลักษณะของภูมิประเทศบริเวณนั้นทำให้เสียงพูดที่เปล่งออกมาดังก้องมากกว่าพื้นที่บริเวณอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ควนก้อง

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ควนจุก

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

            “ควนจุก” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง ลักษณะของเนินเขาที่สูงเล็กน้อย คำว่า “จุก” หมายถึง ลักษณะของของจุดยอดที่อยู่สูงที่สุด ควนจุก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของยอดเขาที่อยู่สูงที่สุดบนเกาะยาวน้อย ซึ่งควนจุกเป็นยอดภูเขาที่ในสมัยอดีตมีการใช้เป็นสถานที่ตั้งกล้องส่องดูข้าศึก เพราะจะทำให้เห็นข้าศึกได้ชัดเจนเนื่องเป็นจุดยอดเขาที่สูงที่สุด นอกจากนี้ยังมีสถานที่อีก 1 แห่ง ที่ใช้การตั้งชื่อในลักษณะที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ป่าควนจุก ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ควนจุก

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ควนขวาง

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“ควนขวาง”มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง ลักษณะของเนินเขาที่สูงเล็กน้อย คำว่า “ขวาง” หมายถึง มีสิ่งที่กีดกั้นพื้นที่ตั้งของควนแห่งนั้น ควนขวาง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของเนินเขาที่สูงเล็กน้อย บริเวณของควนขวางจะมีการขวางกั้นพื้นที่ระหว่างบ้านโละหากับบ้านน้ำจืด เพื่อเป็นการแบ่งเขตระหว่างพื้นที่ของ 2 หมู่บ้าน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ควนขวาง

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

แหลมหาด

หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                     “แหลมหาด” มีที่มาจาก คำว่า “แหลม” หมายถึง ลักษณะของพื้นดินที่ยื่นออกไปในทะเล คำว่า “หาด” หมายถึง อ่าวหรือชายหาด แหลมหาด เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของชายหาดที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลมีลักษณะของหาดทรายที่ขาวสวยงาม ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่จะเรียกว่าหัวแหลม โดยหัวแหลมที่ชาวบ้านเรียกนั้นจะโผล่ขึ้นมาเมื่อตอนที่น้ำลด หรือเรียกอีกอย่างว่าสันหลังมังกร ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า แหลมหาด

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวบ่อเล

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

             “อ่าวบ่อเล” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าว” หมายถึง ชายหาด คำว่า “บ่อ” หมายถึง “บ่อน้ำ” คำว่า “เล” หมายถึง ทะเล เมื่อนำความหมายทั้งหมดมารวมกัน หมายถึง บ่อน้ำในทะเล อ่าวบ่อเล เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตั้งของชายหาดที่เกิดบ่อน้ำในทะเล ซึ่งบ่อน้ำแห่งนั้นจะเกิดขึ้นมาตอนที่น้ำแห้ง แต่ในทางกลับกันก็มีน้ำบ่อที่อยู่ในทะเลโผล่ขึ้นมาแทน แต่รสชาติของน้ำไม่เค็มแต่มีรสจืด เนื่องจากอิทธิพลภาษาไทยถิ่นจากคำว่า ทะเล ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า เล ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า อ่าวบ่อเล

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวโละหมุน

หมู่ที่ 3 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวโละหมุน” มีที่มาจาก คำว่า “โละ”มาจากภาษามลายู คือ คำว่า “ตะโละ” หมายถึง อ่าว คำว่า “หมุน” หมายถึง ทิศทางการไหลของน้ำ อ่าวโละหมุน เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณอ่าว ซึ่งเป็นอ่าวที่มีลักษณะรูปร่างโค้ง จึงทำให้น้ำไหลเวียนออกไปตามรูปร่างของอ่าวนั้นได้ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า อ่าวโละหมุน

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

แหลมหาดหอย

หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“แหลมหาดหอย” มีที่มาจาก คำว่า “แหลม” หมายถึง ลักษณะของพื้นดินที่ยื่นออกไปในทะเล คำว่า “หาด” หมายถึง อ่าวหรือชายหาดที่ทอดยาวยื่นออกไปในทะเล ประกอบกับพื้นที่ตรงนั้นมีเปลือกหอยเป็นจำนวนมาก แหลมหาดหอย เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณชายหาด ซึ่งเป็นลักษณะของแหลมที่ทอดยาวยื่นออกไปในทะเล จากลักษณะของการพบเปลือกหอยในบริเวณนั้นเป็นจำนวนมากแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะบริเวณนี้เป็นอ่าวค่อนข้างหลบกําบังลมเนื่องจากมีเกาะโบยขวางกั้นอยู่พื้นห้อง 4 ข้างเป็นโคลนเหลว พบแหล่งหญ้าทะเลพื้นที่ประมาณ 0.59 ตารางกิโลเมตร-อ่าวติดป่าชายเลน และแพร่กระจายออกไปด้านนอกอ่าวพ้นแนวน้ำลงต่ำเล็กน้อย เป็นแนวประมาณ 1,000 เมตร โดยเริ่มจากแนวป่าชายเลนที่ระยะ 200 เมตร ความหนาแน่นร้อยละ 20-70 ของพื้นที่ ปกคลุม ไปถึงแนวหญ้าทะเล ตอนกลางอ่าว สําหรับบริเวณไกลฝั่งออกไปพ้นแนวน้ำลงต่ำจะพบแนวหญ้าทะเล มีความหนาแน่นเพียงร้อยละ 10-20 ถัดขึ้นไปทางทิศเหนือถึงอ่าวโต๊ะเปีย พบแนวหญ้าทะเลเป็นแนวแคบ ๆ ประมาณ 100-300 เมตร ความหนาแน่นร้อยละ 20 พบหญ้าทะเลบริเวณแหลมหาดหอยทั้งสิ้น 4 ชนิด สรุปหญ้าทะเลที่พบในพื้นที่เกาะยาวใหญ่และเกาะยาวน้อยมีทั้งสิ้น 8 ชนิด ซึ่งพบอยู่ตามอ่าวต่าง ๆ บางแห่งพบอยู่ใกล้ป่าชายเลน ชายหาดหรือเนินทราย โดยที่เกาะยาวใหญ่มีพื้นที่หญ้าทะเลแพร่กระจายรวมทั้งสิ้น

5.73 ตารางกิโลเมตร พบหญ้าทะเล 8 ชนิด สําหรับเกาะยาวน้อยมีพื้นที่หญ้าทะเลทั้งสิ้น 1.98 ตารางกิโลเมตร พบหญ้าทะเล 5 ชนิด เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์เช่นนี้จึงทำให้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า แหลมหาดหอย

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นาแหลม

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“นาแหลม”มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “แหลม” หมายถึง ลักษณะของพื้นดินที่ยื่นล้ำออกไปจนสุดตา นาแหลม เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณผืนนาซึ่งมีลักษณะประกอบกับแหลมที่ยื่นล้ำออกไป พื้นที่ตั้งของนาผืนนี้อยู่ในละแวกหมู่บ้านแหลมยาง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า นาแหลม

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นาฟ้าผ่า

หมู่ที่ 7 ตำบลเกะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

              “นาฟ้าผ่า” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “ฟ้าผ่า” หมายถึง การเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขึ้นที่บริเวณนาผืนนี้ นาฟ้าผ่าเป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งจัดว่าอยู่ในสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์เช่นเดียวกัน ซึ่งบริเวณนาผืนนี้จะเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่าบ่อยครั้งโดยที่ไม่มีสาเหตุ จึงทำให้คนในชุมชนเกิดความหวาดกลัวเมื่อถึงช่วงมรสุมเพราะกลัวจะเกิดฟ้าผ่า ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาฟ้าผ่า

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ควนในนบ

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “ควนในนบ” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง ลักษณะของเนินเขาเล็ก ๆ ไม่สูงมาก คำว่า “นบ” หมายถึง ทำนบกั้นน้ำ ควนในนบ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณเนินเขาเล็ก ๆ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าควน บริเวณควนแห่งนั้นมีน้ำไหลออกมาจากตาน้ำไหลลงมาจากควนจุก เมื่อชาวบ้านทราบว่าน้ำที่ไหลมานั้นเป็นน้ำยากยอดเขาที่สูงที่สุดและเป็นน้ำที่สะอาด พวกเขาจึงสร้างทำนบกั้นน้ำไว้เพื่อชะลอการไหลของน้ำ และเพื่อเป็นที่กักเก็บน้ำที่ไหลลงมาจากควนจุกเพื่อเก็บเอาไว้ใช้ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า ควนในนบ

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

นาน้ำผุด

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

            “นาน้ำผุด” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า น้ำผุด หมายถึงบริเวณผืนนาแห่งนั้นมีตาน้ำผุดขึ้นมา นาน้ำผุด เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณผืนนา ซึ่งบริเวณผืนนาแห่งนั้นมีตาน้ำผุดไหลออกมาจากใต้พื้นดินโดยที่ไม่มีผู้ใดไปกระทำหรือขุดเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของนาผืนนั้นเรียกผืนนาแห่งนั้นว่า นาน้ำผุด

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ท่าพรุ

หมู่ที่ 3 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “ท่าพรุ” มีที่มาจาก คำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือ คำว่า “พรุ” หมายถึง แอ่งน้ำ ท่าพรุ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่ตั้งของท่าเรือขนาดเล็ก ที่คนในชุมชนใช้สำหรับเป็นที่จอดพักเรือประมง ซึ่งพื้นที่บริเวณใกล้เคียงท่าเรือแห่งนั้นมีแอ่งน้ำเล็ก ๆ ประกอบอยู่ด้วย รอบ ๆ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า ท่าพรุ

(นายเสรี เริงสมุทร2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านริมเล

5 หมู่ที่ ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “บ้านริมเล” มีที่มาจากคำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีผู้คนอาศัย คำว่า “ริมเล” หมายถึง บริเวณที่ติดกับชายหาด บ้านริมเล เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่ตั้งของบ้านที่อยู่ในบริเวณริมทะเล ซึ่งบ้านริมทะเลแห่งนี้มีชาวบ้านตั้งแต่สมัยก่อนไปถิ่นฐานสร้างบ้านเรือน เพื่อก่อตั้งเป็นชุมชนที่อยู่ติดริมทะเล เนื่องจากอิทธิพลภาษาไทยถิ่นใต้จากคำว่า ทะเล ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า เล ด้วยเหตุนี้เมื่อชาวบ้านที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนตรงนั้นจึงเรียกชื่อบริเวณนั้นว่า บ้านริมเล

(นายเสรี เริงสมุทร2563, สัมภาษณ์)

 

เกาะหลีมเปส

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                      “เกาะหลีมเปส” มีที่มาจาก ภาษามลายู คือ คำว่า “หลีเป๊ะ” หมายถึง ลีบแบน เกาะหลีมเปส เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่ตั้งรวมถึงรูปทรงของเกาะเข้าด้วยกัน จึงทำให้เห็นว่าเกาะแห่งนั้นมีลักษณะที่ไม่กว้างมากเนื่องจากมีความเรียว ลีบ ด้วยความเรียว ลีบ เช่นนี้ทำให้คนผู้คนได้เห็นถึงความตระการตาด้วยความสูงเด่นที่คล้ายกับมีมืดวางอยู่ในทะเล ซึ่งในสมัยก่อนพื้นที่เกาะตรงนั้นชาวบ้านนิยมเรียกว่า หลีเป๊ะ แต่ปัจจุบันมีการเพี้ยนเสียงมาเป็นคำว่า หลีมเปส หรือ ลิเป้ ซึ่งคำเหล่านี้ล้วนมีความหมายเดียวกันทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในพื้นที่จึงเรียกพื้นที่ของเกาะตรงนั้นว่า เกาะหลีมเปส

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

          

 

 

เกาะใต้

เป็นเกาะบริวาร ในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

  “เกาะใต้” มีที่มาจาก คำว่า “เกาะ” หมายถึง ลักษณะของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ คำว่า “ใต้” หมายถึง เกาะที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ เกาะใต้ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่ตั้งของเกาะที่เชื่อมกันระหว่างเกาะพลอง ซึ่งเกาะใต้เป็นการบ่งบอกถึงลักษณะของตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ล่างสุด ตั้งแต่สมัยอดีตถึงปัจจุบันผู้คนในชุมชนนิยมไปหาหอย ณ เกาะใต้แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น หอยพง หอยขาไก่ หอยมุก เพื่อนำมาเลี้ยงชีพภายในครอบครัว เนื่องลักษณะที่ตั้งของเกาะแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตำบลเกาะยาวน้อย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในพื้นที่จึงเรียกพื้นที่ของเกาะตรงนั้นว่า เกาะใต้

(นายเสรี เริงสมุทร2563, สัมภาษณ์)

เกาะบีและ

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                       “เกาะบีแหละ” มีที่มาจาก ภาษามลายู คือ คำว่า “บีแหละ” แปลว่า ห้อง เมื่อนำความหมายมารวมกัน หมายถึง เกาะห้อง เกาะห้อง เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่ตั้งรวมถึงรูปทรงของเกาะเข้าด้วยกัน จึงทำให้เห็นว่าภายในเกาะแห่งนั้นมีลักษณะรูปทรงของเกาะแบ่งออกเป็นห้อง ๆ  ลักษณะสภาพแวดล้อมโดยรวมเหมาะแก่การไปท่องเที่ยวเช่นเดียวกันเนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติที่ชวนหลงใหล เมื่อเกาะแห่งนั้นเป็นเกาะที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยม หน่วยงานภาครัฐจึงเปลี่ยนชื่อสถานที่เป็นชื่อทางราชการว่า เกาะห้อง ซึ่งแปลความหมายมาจากชื่อเดิมแต่ปัจจุบันชาวบ้านยังนิยมเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า เกาะบีแหละ

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ควนหน้าบ้าน

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“ควนหน้าบ้าน” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง เนินเล็ก ๆ คำว่า “หน้าบ้าน” หมายถึง พื้นที่หน้าหมู่บ้าน ควนหน้าบ้าน เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่ตั้งของหมูบ้านซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกันกับบ้านน้ำจืด ชาวบ้านจึงนำเอาสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนบริเวณที่อยู่อาศัยเพราะบริเวณพื้นที่ตรงนั้นมีเนินเล็ก ๆ ปรากฏอยู่หน้าหมู่บ้าน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านเรียกพื้นที่หมู่บ้านตรงนั้นว่า ควนหน้าบ้าน

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

เกาะนอก

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                    “เกาะนอก” มีที่มาจาก คำว่า “เกาะ” หมายถึง ลักษณะของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ คำว่า “นอก” หมายถึง เกาะที่ตั้งอยู่บริเวณด้านนอกของอำเภอเกาะยาว เกาะนอก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่ตั้งของเกาะ ซึ่งเกาะนอกเป็นการบ่งบอกถึงลักษณะของตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ด้านนอกอาณาเขตพื้นที่ของเกาะยาว ถึงแม้เกาะนอกจะเป็นเกาะที่อยู่บริเวณแหลมไทร แต่ด้วยระยะความห่างที่ไกลออกไปในทะเลจึงทำให้เป็นเกาะแห่งนั้นอยู่คนละผืนกับเกาะยาวน้อย แต่ก็ยังนับว่าติดกับติดแดนอาณาเขตของเกาะยาวน้อยอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านเรียกบริเวณเกาะแห่งนั้นว่า เกาะนอก

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

เกาะพลอง

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

            “เกาะพลอง” คำว่า “เกาะพลอง” หมายถึง ลักษณะของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบซึ่งพื้นที่นั้นมีสีขาวคล้ายกับไม้พลอง เกาะพลอง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่ตั้งของเกาะ ซึ่งเกาะพลองเป็นการบ่งบอกถึงของลักษณะรูปทรงของเกาะแห่งนั้นว่ามีลักษณะคล้ายไม้พลองสีขาว แนวหาดทรายที่ยื่นลงไปในทะเลนั้นจะมองเห็นเมื่อถึงช่วงที่น้ำลดแห้งว่าเกาะแห่งนั้นมีลักษณะคล้ายกับไม้พลองสีขาว เวลาต่อมาทางหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อทางการ คือ “สันหลังมังกร” ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อความแปลดใหม่ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน แต่ในปัจจุบันชาวบ้านนิยมเรียกว่า “สันหลังมังกร” เนื่องจากเป็นชื่อที่ใหม่และทันสมัยน่าดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมชม ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในพื้นที่จึงเรียกพื้นที่ของเกาะตรงนั้นว่า เกาะพลอง

(นายเสรี เริงสมุทร2563, สัมภาษณ์)

 

 

อ่าวทึง

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวทึง” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าว” หมายถึง ลักษณะของชายหาดที่ทอดยาวคำว่า “ทึง” หมายถึง ต้นทึง เนื่องจากบริเวณอ่าวแห่งนี้เคยมีต้นทึงขึ้นเองตามธรรมชาติในช่วงสมัยอดีตอ่าวทึง” เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากความเป็นธรรมชาติที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ปรากฏอยู่ในละแวกชุมชนหมู่ที่ 7 บ้าน อันเป้า ที่ทำให้อ่าวแห่งนี้ประกอบไปด้วยทรัพยากรทั้งทางทะเลและทางพื้นดิน ซึ่งลักษณะเด่นของพื้นดินบริเวณอ่าวทึงแห่งนี้มีลักษณะพื้นดินที่เป็นดินสีแดงผสมกับก้อนกรวดและก้อนหินเล็ก ๆ รอบ ๆ บริเวณอ่าว ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นลักษณะของพื้นดินที่หลากหลายทางชีวภาพ จึงมีความเหมาะสมแก่การดำรงชีวิตอยู่เจริญเติบโตได้ดีตามริมทะเล ตามชายหาด หรือบริเวณของหรือบริเวณป่าชายเลน พืชไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ต้นทึง หรือต้นสารภีทะเล เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบหนาเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อมีกลีบดอกสีขาว มีเกสรสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม มีผลกลมสีเขียวและเมื่อเวลาผลแก่จัดจะมีสีน้ำตาลจะมีการออกดอกในฤดูแล้ง จึงสะท้อนให้เห็นการตั้งชื่อที่นำเอาลักษณะความเด่นชัดของสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นบริเวณอ่าวทอดยาวมาตั้งเป็นชื่อหลัก นั่นคือคำว่า “อ่าว” ส่วนคำว่า “ทึง” เป็นการนำเอาทรัพยากรป่าไม้ที่เกิดขึ้นในบริเวณอ่าวแห่งนี้มาตั้งขยายต่อจากคำว่าอ่าว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นชื่อเฉพาะของสถานที่

         อ่าวทึง ในปัจจุบันต้นทึงที่เคยมีปรากฏอยู่ ณ อ่าวแห่งนี้ ไม่ได้มีให้เห็นอยู่อีกแล้ว เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมที่มีการพัฒนาบริเวณอ่าวโดยมีการนำก้อนหินมาก่อขึ้นเป็นผนังกั้นให้ดูสวยงาม และป้องกันดินสไลด์หรือดินถล่มลงมา และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับนักท่องเที่ยวหรือคนในชุมชน นอกจากอ่าวทึงจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแล้วยังเป็นท่าเรือเพื่อจอดเรือขึ้นฝั่งสำหรับชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงอีกด้วย และยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของอ่าวทึง ในสมัยอดีตที่คนในสมัยนั้นมีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญายาพื้นบ้าน ที่รู้จักการนำสรรพคุณทางด้านสมุนไพรของดอกทึงมาใช้ทำยาหอม โดยการนำเมล็ดมาทำน้ำมันทาแก้ปวดเมื่อยตามข้อ การที่คนในชุมชนในสมัยอดีตมีความรู้เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงการนำสิ่งที่อยู่ในในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งใช้เป็นยารักษาโรค และเครื่องหอมที่ใช้ในชีวิตประวันจำ

 

(นายสุอีด ภิญโญ 2562, สัมภาษณ์)

บ้านทับไต้
หมู่ที่ 3 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

          “บ้านทับไต้” มีที่มาจาก คำว่า “ทับ” หมายถึง ที่พักอาศัยของชาวประมง คำว่า “ไต้” หมายถึง ขี้ไต้ของคบที่ใช้จุดไฟเพื่อให้แสงสว่าง เนื่องจากพื้นที่บริเวณตรงนั้นมีต้นยาง ที่สามารถนำน้ำมันยางมาผสมกับต้นกะพ้อให้เป็นขี้ไต้เพื่อใช้เป็นแสงสว่าง“บ้านทับไต้”เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้โดยชาวบ้านได้ใช้คำว่า “บ้าน” ในการตั้งชื่อเป็นคำหลัก คือ หมู่บ้านที่มีผู้คนอาศัยอยู่ และใช้คำขยายอีก 2 คำ คือ คำว่า “ทับ” หมายถึง ถิ่นฐานที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกัน และคำขยายคำที่ 2 คือคำว่า “ไต้” หมายถึงขี้ไต้ที่ชาวบ้านใช้เพื่อให้เกิดแสงสว่าง บ้านทับไต้เป็นชื่อบ้านที่อยู่ในละแวกบ้านของหมู่ที่ 3 บ้านอ่าวกะพ้อ ซึ่งเดิมบริเวณนี้ในสมัยอดีตเป็นท่าเรือขนส่งที่ใช้ข้ามไปมายังอำเภอเกาะยาว และจังหวัดภูเก็ต ซึ่งในสมัยนั้นมีคนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ตรงนั้นเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า “บ้านทับไต้”

          เนื่องจากบริเวณพื้นที่ตรงนั้นมีต้นยางป่าขึ้นเป็นจำนวนมาก กลุ่มชนในสมัยนั้นมีอาชีพเก็บรังนกนางแอ่น จึงใช้คบเพลิงเป็นอุปกรณ์ในการขึ้นเกาะรังนกเพื่อใช้คบเพลิงเป็นแสงสว่าง หรือในขณะที่ต้องการไปในพื้นที่ที่มีความมืด เช่น ถ้ำ หรือ ใช้ในการออกไปหาหอย หาปู คบเพลิงคำนี้คนในท้องถิ่นเกาะยาวเรียกว่า “ไต้”ประกอบด้วยบริเวณนี้มีต้นกะพ้อ และต้นไผ่ขึ้นอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในชุมชนสิ่งของที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการนำเอาน้ำมันยางของต้นยางที่แก่จัดมาใช้คู่กับต้นกะพ้อและต้นไผ่ เพื่อใช้เป็นคบที่ให้แสงสว่างในตอนกลางคืน ส่วนที่จับด้านล่างของคบชาวบ้านเรียกกันว่าขี้ไต้ เพราะเหตุนี้เมื่อชาวบ้านเห็นสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นแล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันที่มากกว่าการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีสถานที่อีก 1 แห่ง ที่ใช้การตั้งชื่อที่เป็นไปในลักษณะแนวทางเดียวกัน คือ นาทับไต้ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า “บ้านทับไต้”

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์ )

 

 

ท่ายาง

หมู่ที่ 6 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“ท่ายาง”มีที่มาจาก คำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือเล็ก ๆ ซึ่งมีน้ำไหลผ่านได้ตลอด คำว่า“ยาง” หมายถึง ต้นยางป่าที่เจริญเติบโตอยู่ในพื้นที่แห่งนั้นในสมัยอดีตท่ายาง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้โดยชาวบ้านได้ใช้คำว่า “ท่า” ในการตั้งชื่อเป็นคำหลัก คือ ท่าเรือขนาดเล็กที่ใช้สัญจร และใช้คำขยายอีก 1 คำ คือ คำว่า “ยาง”สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านในชุมชนมีการนำเอาสิ่งที่ปรากฏในท้องถิ่นที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันมาตั้งเป็นชื่อสถานที่

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

โละปาไล้บ้านออก

หมู่ที่ 3 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                 “โละปาไล้บ้านออก” มีที่มาจาก คำว่า “โละ” หมายถึง อ่าว คำว่า “ปาไล้” หมายถึง ต้นกะพ้อ คำว่า “บ้านตก” หมายถึง พื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ด้านทิศตะวันออก เนื่องจากในสมัยก่อนในหมู่บ้านบริเวณนั้นเคยมีต้นกะพ้อขึ้นอยู่ตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นต่อมาในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2510 ทางการได้มีประกาศให้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็นภาษาไทยเพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยเปลี่ยนจากชื่อเดิม คือ โละปาไล้บ้านออก มาเป็นบ้านบูรพา แต่ชาวบ้านเห็นว่ายากต่อการเรียกชื่อใหม่ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกชื่อเดิมว่า โละปาไล้บ้านออก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้โดยชาวบ้านใช้คำว่า “โละ” ในการตั้งชื่อเป็นคำหลัก คือ อ่าว และใช้คำขยายอีก 2 คำ คือ คำว่า “ปาไล้” และคำว่า บ้านออก สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านในชุมชนมีการนำเอาพืชที่เจริญเติบโตในชุมชนมาใช้ในการตั้งชื่อสถานที่ และใช้คำว่า ออก ในการเรียกทิศทาง เป็นคำว่า โละปาไล้บ้านออก ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่า โละปาไล้บ้านออก

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์

 

โละปาไล้บ้านตก

หมู่ที่ 3 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

โละปาไล้บ้านตก” มีที่มาจาก คำว่า “โละ” หมายถึง อ่าว คำว่า “ปาไล้” หมายถึง ต้นกะพ้อ คำว่า “บ้านตก” หมายถึง พื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ด้านทิศตะวันตก เนื่องจากพื้นที่ตรงนี้ในอดีตก็เคยมีต้นกะพ้อขึ้นอยู่ตามธรรมชาติจำนวนมากเช่นเดียวกันกับโละปาไล้บ้านออก ในสมัยอดีตชาวบ้านเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่าบ้านอ่าวกะพ้อ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่ที่มีต้นกะพ้อ แล้วหลังจากนั้นชาวบ้านได้นำชื่อที่เป็นภาษามลายูมาแปลเป็นภาษาไทยว่า “บ้านอ่าวกะพ้อ” เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้โดยชาวบ้านใช้คำว่า “โละ” ในการตั้งชื่อเป็นคำหลัก คือ อ่าว และใช้คำขยายอีก 2 คำ คือ คำว่า “ปาไล้” และคำว่า บ้านตก สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านในชุมชนมีการนำเอาพืชที่เจริญเติบโตในชุมชนมาใช้ในการตั้งชื่อสถานที่ และใช้คำว่า ตก ในการเรียกทิศทาง เป็นคำว่า โละปาไล้บ้านตก นอกจากนี้ยังมีสถานที่อีก 1 แห่งที่ใช้การตั้งชื่อที่เป็นไปในลักษณะแนวทางเดียวกัน คือ อ่าวโละปาไล้ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่า โละปาไล้บ้านตก

 (ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวพ้อนุ้ย

หมู่ที่ 3 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

          “อ่าวพ้อนุ้ย” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าว” หมายถึง พื้นที่ที่เป็นชายหาด คำว่า “พ้อ” หมายถึง ต้นกะพ้อ คำว่า “นุ้ย” หมายถึง เล็ก  อ่าวกะพ้อ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้โดยชาวบ้านใช้คำว่า “อ่าว” ในการตั้งชื่อเป็นคำหลัก และใช้คำขยายอีก 2 คำ คือ คำว่า “พ้อ” และคำว่า นุ้ย สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านในชุมชนมีการนำเอาพืชที่เจริญเติบโตในชุมชนมาใช้ในการตั้งชื่อสถานที่ และใช้คำว่า นุ้ย หมายถึงหมู่บ้านขนาดเล็ก
ชาวบ้านสามารถนำต้นกะพ้อมาใช้ในครัวเรียนได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะใช้เป็นวัสดุอุปกรณ์สำหรับให้แสงสว่างก็สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่าพื้นที่บริเวณอ่าวแห่งนั้นว่า อ่าวพ้อนุ้ย

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวโละจาก

หมู่ที่ 1 ตำบลรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวโละจาก” มีที่มาจาก คำว่า “โละ” หมายถึง อ่าวหรือคลอง “จาก” หมายถึง ต้นจาก เนื่องจากพื้นที่ตรงนั้นในสมัยอดีตจะมีลักษณะเป็นคลองใหญ่ประกอบด้วยมีต้นจากขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันพื้นที่ตรงนั้นไม่มีต้นจากอยู่ในพื้นที่เหมือนสมัยก่อนแล้ว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า "อ่าวโละจาก" เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้โดยชาวบ้านใช้คำว่า “อ่าว” ในการตั้งชื่อเป็นคำหลัก คือ อ่าว และใช้คำขยายอีก 2 คำ คือ คำว่า “โละ” และคำว่า จาก ซึ่งคำว่าอ่า และคำว่าโละมีความหมายเดียวกันคือ พื้นที่ที่เป็นลักษณะของอ่าวหรือลำคลองขนาดเล็ก สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านในชุมชนมีการนำเอาพืชที่เจริญเติบโตในชุมชนมาใช้ในการตั้งชื่อสถานที่ คือ ต้นจาก ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่า อ่าวโละจาก

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์

อ่าวโละพลู

หมู่ที่ 5 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                    “อ่าวโละพลู” มีที่มาจาก คำว่า “โละ” หมายถึง อ่าวหรือคลอง คำว่า “พลู” ต้นพลู เมื่อนำความหมายมารวมกัน หมายถึง อ่าวที่มีต้นพลูเจริญเติบโตในบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก อ่าวโละพลู เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากคนในสมัยก่อนนิยมรับประทานหมากพลู เป็นกิจวัตรประจำวัน ใบพลูนอกจากจะใช้รับประทานแล้วยังสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ของแพทย์พื้นบ้านได้อีกด้วยที่ใช้ในการปัดเป่ารักษาผู้ป่วย ตามเรื่องเล่าได้มีการเล่าสืบต่อกันมาว่า มีกลุ่มคนที่อพยพจากมณฑลไทรบุรี (ไทรบุรี ปะลิส สตูล) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเขตอำเภอละงู ปากบารา เจ๊ะบิลัง ซึ่งเป็นการอพยพครั้งใหญ่ ที่กระจายอยู่ทั่วเกาะยาวในช่วงปี พ.ศ. 2435-2442 การอพยพของบรรพบุรุษคนเกาะยาวในครั้งนี้เกิดจากการสู้รบเพื่อควบคุมการขยายอำนาจของสยาม จากการบอกเล่าของบรรพบุรุษการขยายอำนาจของสยามในครั้งนี้ ใช้กำลังว่าจ้างชาวจีนฮกเกี้ยนที่มีกองกำลังทางเรือ และมีอาวุธที่พร้อมกว่าเข้าควบคุมจนทำให้ชาวบ้านและกลุ่มขุนทหารค่ายละงูต้องทิ้งบ้านทิ้งเมือง หนีเอาตัวรอดมาทางน้ำฝั่งทะเลอันดามัน บางท่านเล่าว่ากลุ่มกองกำลังค่ายละงูออกปล้นและเผากองเรือชาวจีนที่ถูกจ้ามาทำสงคราม จากนั้นหนีมาทางฝั่งทะเลอันดามันไปอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ซึ่งการอพยพของคนกลุ่มนี้น่าจะได้รับการเชื่อมโยงจากกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ก่อน หัวหน้าชนกลุ่มนี้ คือ ขุนสัน หรือเรียกว่า โต๊ะสัน ขุนดำ หรือเรียกว่า โต๊ะดำ และขุนปราบ ด้วยเหตุนี้โดยพวกเขามายึดทำเลบริเวณอ่าวโละพลูเป็นที่ตั้งถิ่นฐานและตั้งชื่อสถานที่ตรงนั้นว่า อ่าวโละพลู หลังจากนั้นบริเวณอ่าวแห่งนั้นได้ถูกทิ้งรกร้างและมีสุสานเก่า ๆ อยู่บริเวณนั้นผู้เล่าบอกว่าบรรพบุรุษชนกลุ่มนี้ คือ ตระกูล คล่องสมุทร ถิ่นเกาะยาว และดำนาดี

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวโละป่าเก่า

หมู่ที่ 1 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวโละป่าเก่า” มีที่มาจาก คำว่า “โละ” หมายถึง อ่าว คำว่า “ป่าเก่า” หมายถึง อ่าวที่มีป่าโบราณ อ่าวโละป่าเก่า เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนผืนป่าแห่งนี้ประกอบไปด้วยพืชพรรณไม้นานาชนิด เนื่องจากเป็นป่าดั้งเดิม ที่คนจีนในรุ่นแรก ๆ ที่เดินทางเข้ามาในเขตอำเภอเกาะยาว เพื่อเข้ามาพักอาศัยบริเวณนี้ แต่ในปัจจุบันบริเวณตรงนี้ถูกขายทอดตลาดให้แก่นายทุนที่ประกอบธุรกิจปลูกต้นโกโก้ ต่อมาเมื่อบริเวณตรงนั้นเต็มไปด้วยต้นโกโก้จึงทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นเห็นต้นโกโก้และเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า อ่าวโกโก้

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวท่าแค

หมู่ที่ 1 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                      “อ่าวท่าแค” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าว” หมายถึง แนวชายหาดคำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือขนาดเล็กของชาวบ้าน คำว่า “แค” หมายถึง ต้นแค อ่าวท่าแค เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ตรงนั้นเป็นชายหาดประกอบกับมีต้นแคขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง และใกล้ ๆ อ่าวแห่งนี้ก็มีท่าเรือเล็ก ๆ ของชาวประมงเพื่อใช้เป็นที่สำหรับจอดเรือ ซึ่งต้นแคที่กล่าวถึงนี้คือต้นแคที่สามารถนำดอกมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำขนม หรือต้มเพื่อรับประทานกับข้าวก็ได้เช่นเดียวกัน ปัจจุบันพื้นที่ตรงนั้นไม่มีต้นแคไว้ให้เห็นอีกแล้ว เนื่องจากมีการบูรณการใช้เป็นพื้นที่สำการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นตามสิ่งที่เห็นมาตั้งแต่ครั้งก่อน คือ ต้นแคพวกเขาจึงใช้เรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า อ่าวท่าแค

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

บ้านโละโป๊ะ

หมู่ที่ 1 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

          “บ้านโละโป๊ะ” มีที่มาจาก คำว่า “โละ” มาจากภาษามลายู คือ คำว่า “ตะโละ” แปลว่า อ่าว คำว่า “โป๊ะ” มาจากภาษามลายู คือ คำว่า “พาวโห้ะ” แปลว่า อ่าวมะม่วง เมื่อนความหมายมารวมแล้วหมายถึง “อ่าวมะม่วง” อ่าวมะม่วง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่หมู่บ้านตรงนั้นมีลักษณะเป็นอ่าวประกอบกับมีต้นมะม่วงที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้นแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น สาเหตุที่ทำให้บริเวณอ่าวแห่งนั้นมีต้นมะม่วง อาจมาจากพวกนกขนาดใหญ่ ที่เก็บกินผลไม้แล้วนำเมล็ดมาทิ้งไว้  แต่เดิมพื้นที่บริเวณตรงนั้นมีกลุ่มคนที่อพยพมาจากอำเภอละงู จังหวัดสตูล และจากอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยกลุ่มคนของอำเภอสายบุรีมาพร้อมกับสภาพเหตุการณ์บ้านเมืองที่อยู่ไม่เป็นปกติ ส่วนกลุ่มคนที่มาจากอำเภอละงูนั้นเร่ร่อนต้องการหางานเพื่อประกอบอาชีพ เช่น เก็บรังนกนางแอ่น ทำประมง เมื่อกลุ่มคนเหล่านั้นมาถึงบริเวณหมู่บ้าน จึงเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ประกอบกับลักษณะ ภูมิประเทศที่เหมาะต่อการกำบังลมพายุ พวกเขาเลยตัดสินใจตั้งหลักแหล่ง ลงหลักปักฐานจนสืบลูกสืบหลานต่อ ๆ กันมา

 ในส่วนของพื้นที่บ้านโละโป๊ะ มีการแบ่งตามขนาดของพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน มาตั้งแต่สมัยอดีตคือ พื้นบ้านโละโป๊ะน้อยซึ่งมีพื้นที่ขนาดเล็กกว่าพื้นที่บ้านโละโป๊ะใหญ่ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่บริเวณตรงนั้นว่า บ้านโละโป๊ะนุ้ย และบ้านโละโป๊ะใหญ่ ซึ่งอยู่ในละแวกหมู่บ้านเดียวกันเวลาต่อมาหน่วยงานภาครัฐได้มีการเปลี่ยนชื่อสถานที่เป็นชื่อทางราชการว่า “บ้านอ่าวมะม่วง” ซึ่งแปลมาจากความหมายเดิม แต่ในปัจจุบันชาวบ้านยังคุ้นชินกับการเรียกว่า “บ้านโละโป๊ะ” มากกว่าชื่อปัจจุบันเนื่องจากเป็นชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกขานกันมานาน

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

นาหนองหว้า

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

          “นาหนองหว้า” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะพื้นที่ของทุ่งนา คำว่า “หนอง” หมายถึงบริเวณที่มีลุ่มน้ำขัง คำว่า “หว้า” หมายถึง ต้นหว้าที่มีขนาดใหญ่ นาหนองหว้า เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ผืนนาตรงนั้นมีลักษณะเป็นหนองน้ำประกอบกับมีต้นหว้า จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้นแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ว่ามีพืชพรรณไม้ที่สามารถใช้รับประทานได้นั่นคือ ลูกหว้า หว้าเป็นต้นไม้ใหญ่และมักจะเจริญเติบโตบริเวณทุ่งนาที่มีหนองน้ำขัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านเรียกพื้นที่ผืนนาแห่งนั้นว่า นาหนองหว้า

(นายเสรี เริงสมุทร2563, สัมภาษณ์)

 

นาต้นโหนด

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “นาต้นโหนด” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา “ต้นโหนด” หมายถึง ต้นตาลโตนด นาต้นโหนด เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ผืนนาตรงนั้นมีต้นตาลโหนดเจริญเติบโตอยู่มาก จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ว่ามีพืชพรรณไม้ที่สามารถใช้รับประทานได้นั่นคือ ลูกตาลโตนด ซึ่งชาวบ้านสามารถนำผลของลูกตาลมาใช้รับประทานได้ทั้งผลสดและนำมาแปรรูปเป็นลูกตาลลอยแก้ว หรือแม้แต่ใบก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอีก เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า ต้นตาลโตนด ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า ต้นโหนด ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านบ้านที่อยู่ในบริเวณผืนนาแห่งนั้นเมื่อเห็นว่ามีต้นตาลโหนดขึ้นอยู่มากจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาต้นโหนด

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นาต้นขาม

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“นาต้นขาม” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “ต้นขาม” หมายถึง ต้นมะขาม นาต้นขาม เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ผืนนาตรงนั้นมีต้นมะขามเจริญเติบโตอยู่มาก จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ว่ามีพืชพรรณไม้ที่สามารถใช้รับประทานได้นั่นคือ มะขาม ซึ่งชาวบ้านสามารถนำผลของมะขามมาใช้รับประทานได้ทั้งผลสด ผลสุกและนำมาแปรรูปเป็นมะขามตากแห้ง เพื่อใช้สำหรับการปรุงอาหาร หรือแม้แต่ใบของมะขามก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอีก เช่น ใช้ต้มน้ำเพื่ออาบให้กับเด็กที่เป็นไข้หวัด แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า ต้นมะขาม ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า ต้นขาม ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกผืนนาแห่งนั้นว่า นาต้นขาม

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นาต้นกุล

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

            “นาต้นกุล” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “ต้นกุล” หมายถึง ต้นพิกุล นาต้นกุล เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ผืนนาตรงนั้นมีต้นพิกุลเจริญเติบโตอยู่มาก จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ว่ามีพืชพรรณไม้ที่สามารถใช้เป็นเครื่องหอมระเหยได้นั่นคือ ดอกพิกุล ซึ่งชาวบ้านสามารถนำดอกพิกุลมาใช้เป็นเครื่องหอม หรือนำดอกพิกุลมาตากแห้งเพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรคที่ช่วยได้ในหลาย ๆ โรค เช่น ช่วยขับลม แก้ฝีเปื่อย แก้เสมหะแก้เหงือกอักเสบ เป็นต้น ส่วนลำต้นของต้นพิกุล จัดว่าเป็นไม้เนื้อแข็งที่สามารถใช้สร้างบ้านเรือนได้ และเปลือกของต้นพิกุลสามารถนำมาใช้สกัดทำสีย้อมผ้าได้เช่นเดียวกัน แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า ต้นพิกุล ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า กุล แต่ในปัจจุบันบริเวณผืนนาแห่งนี้ไม่มีต้นพิกุลอีกแล้ว เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกผืนนาแห่งนั้นว่า นาต้นกุล

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นาพังกา

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“นาพังกา” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “พังกา” หมายถึง ต้นพังกา หรือต้นโกงกาง นาพังกา เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ผืนนาตรงนั้นมีพังกาเจริญเติบโตอยู่มาก จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ว่ามีพืชพรรณไม้ที่อยู่บริเวณฝั่งชายเลน และบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากเป็นที่อยู่ของสัตว์ทะเลแล้ว บริเวณรอบ ๆ ประกอบด้วยผืนนาที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของทรัพยากรในท้องถิ่นที่เห็นได้ชัดเจน คือ ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพการทำนาได้และผลผลิตของข้าวที่ออกมาจะมีรสชาติที่น่ารับประทานเนื่องจากปัจจัยของสภาพน้ำที่เป็นน้ำรสกร่อย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกผืนนาแห่งนั้นว่า นาพังกา

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

นาป่าจาก

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“นาป่าจาก” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “ป่าจาก” หมายถึง ลักษณะความหนาแน่นของต้นจากในบริเวณผืนนาแห่งนั้น นาป่าจาก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ผืนนาตรงนั้นมีต้นจากเจริญเติบโตอยู่หนาแน่น จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากผลของต้นจากมารับประทานทั้งผลสดหรือ น้ำมาแปรรูปเช่นเดียวกับผลของตาลโหนดได้เช่นเดียวกัน ส่วนยอดอ่อนของต้นจากชาวบ้านใช้นำมาตากแห้งเพื่อใช้สูบ เหมือนกับบุหรี่ในปัจจุบัน โดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติประกอบกับผืนนาที่แสดงให้เห็นถึงการประกอบอาชีพชาวบ้านที่มีการทำนา ปลูกข้าวมาตั้งแต่สมัยอดีต ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกผืนนาแห่งนั้นว่า นาป่าจาก

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

 

นาพรุแจด

หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“นาพรุแจด” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “พรุ” หมายถึง แอ่งน้ำเล็ก ๆ คำว่า “แจด” หมายถึง ต้นแจด นาพรุแจด เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ผืนนาตรงนั้นมีต้นแจดเจริญเติบโตอยู่จำนวนมาก จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากต้นแจด คือ สามารถนำต้นแจดซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับต้นกก ซึ่งชาวบ้านในอดีตจะนำต้นแจดมาใช้ในการจักสานเครื่องใช้ภายในครัวเรือน สาเหตุที่ทำให้ต้นแจดอุดมสมบูรณ์อยู่ในในพื้นที่ตรงนั้นเนื่องจากมีแอ่งน้ำที่เหมาะกับลักษณะชีวภาพการเจริญเติบโตของพืชชนิดนี้ ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติประกอบกับผืนนาที่แสดงให้เห็นถึงการประกอบอาชีพชาวบ้านที่มีการทำนา ปลูกข้าวมาตั้งแต่สมัยอดีต ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกผืนนาแห่งนั้นว่า นาพรุแจด

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

นาต้นพลับ

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“นาต้นพลับ” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “ต้นพลับ” หมายถึง บริเวณผืนนาที่ประกอบกับมีต้นพลับอยู่ด้วย นาต้นพลับ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ผืนนาตรงนั้นมีต้นพลับเจริญเติบโตอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นพื้นที่ละแวกเดียวกันกับพื้นที่นาเกาะเปรว จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากต้นพลับ คือ สามารถใช้เป็นที่ร่มเงาให้แก่ผู้คนได้ในระหว่างที่กำลังทำไร่ ทำนา ซึ่งลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติประกอบกับผืนนาที่แสดงให้เห็นถึงการประกอบอาชีพชาวบ้านที่มีการทำนา ปลูกข้าวมาตั้งแต่สมัยอดีต ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกผืนนาแห่งนั้นว่า นาต้นพลับ

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านโคกคล้า

หมู่ที่ 3 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“บ้านโคกคล้า” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีคนอาศัย คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “โคก”หมายถึง เนินเล็ก ๆ คำว่า “คล้า” หมายถึง ต้นคล้า บ้านโคกคล้า เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ของหมู่บ้านตรงนั้นมีลักษณะเป็นเนินเล็ก ๆ ประกอบกับมีต้นคล้าเจริญเติบโตอยู่จำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากต้นคล้ามีอายุเหมาะแก่การใช้งานไปสร้างเป็นเครื่องใช้จักสาน เช่น เสื่อ เป็นต้น ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติประกอบกับพื้นที่ของหมู่บ้าน ต้นคล้านอกจากจะใช้เป็นเครื่องจักสานแล้วยังใช้ในการมัดต้นกล้าก่อนที่จะนำไปปลูกได้เช่นเดียวกัน เพราะทรัพยากรที่มีอยู่ในหมู่บ้านสามารถตอบสนองการประกอบอาชีพชาวบ้านที่มีการทำนา มาตั้งแต่สมัยอดีต ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงหมู่บ้านแห่งนั้นว่า บ้านโคกคล้า

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

 

บ้านคลองบอน

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “บ้านคลองบอน” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีคนอาศัย คำว่า “คลอง” หมายถึง ทางไหลผ่านของแม่น้ำ คำว่า “บอน” หมายถึง ต้นบอน บ้านคลองบอน เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ของหมู่บ้านตรงนั้นมีลักษณะเป็นหมู่บ้านประกอบกับมีต้นบอนเจริญเติบโตอยู่จำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้นเพราะมีลำคลองไหลตัดผ่านบริเวณหมู่บ้านซึ่งรอบ ๆ ลำคลองแห่งนั้นปกคลุมไปด้วยต้นบอลที่ขึ้นเองธรรมชาติ ซึ่งบอนชนิดนี้ไม่สามารถน้ำมารับประทานได้ ถ้าหากไปโดนยางของต้นบอนก็จะเกิดอาการคันแสบร้อนไปทั้งตัว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านคลองบอน

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวคลองสน

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “อ่าวคลองสน” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าว” หมายถึง ชายหาดที่มีลักษณะโค้งเว้า คำว่า “สน” หมายถึง ต้นสน อ่าวคลองสน เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ของอ่าวตรงนั้นมีลักษณะเป็นแนวชายหาดทอดยาว ประกอบกับมีต้นสนขนาดใหญ่เจริญเติบโตอยู่จำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากต้นสน คือ สามารถใช้เป็นสถานที่ร่มเงาพักผ่อนในยามไปเที่ยวที่หาดแห่งนั้นลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติแล้วประกอบกับพื้นที่ของอ่าว ซึ่งมีน้ำจากลำคลองไหลผ่านบริเวณอ่าวที่มีต้นสนแห่งนั้น แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่นไทย จากคำว่า คลองสน ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า สน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกอ่าวแห่งนั้นว่า อ่าวคลองสน

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวเคียน

หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวเคียน” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าว” หมายถึง ชายหาดที่มีลักษณะโค้งเว้า คำว่า “เคียน” หมายถึง ต้นตะเคียน อ่าวเคียน เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ของอ่าวตรงนั้นมีลักษณะเป็นแนวชายหาดทอดยาว ประกอบกับมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่เจริญเติบโตอยู่จำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากต้นตะเคียน คือ สามารถใช้เป็นสถานที่ร่มเงาพักผ่อนในยามไปเที่ยวที่หาดแห่งนั้น นอกจากให้ประโยชน์เป็นที่ร่มเงาแล้ว ไม้ตะเคียน ถือว่ามีประโยชน์ที่หลากหลายไม่ว่าจะนำมาสร้างบ้านเรือน ใช้ทำเรือ เป็นต้น ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติแล้วประกอบกับพื้นที่ของอ่าวที่มีความสวยงาม แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า ต้นตะเคียน ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า เคียน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกอ่าวแห่งนั้นว่า อ่าวเคียน

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวม่วง

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวม่วง” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าว” หมายถึง ชายหาดที่มีลักษณะโค้งเว้า คำว่า “ม่วง” หมายถึง ต้นมะม่วง อ่าวม่วง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ของอ่าวตรงนั้นมีลักษณะเป็นแนวชายหาด ประกอบกับมีต้นมะม่วงเจริญเติบโตอยู่จำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากต้นมะม่วง คือ ในยามที่ถึงฤดูกาลที่ผลไม้ออกผลสามารถนำมะม่วงที่อ่าวแห่งนั้นมารับประทานได้ นอกจากนี้ต้นมะม่วงที่อยู่ในบริเวณอ่าวสามารถใช้เป็นสถานที่ร่มเงาพักผ่อนในยามไปเที่ยวที่หาดแห่งนั้นได้เช่นเดียวกัน ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติแล้วประกอบกับพื้นที่ของอ่าวที่มีความสวยงาม แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า ต้นมะม่วง ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า ม่วง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกอ่าวแห่งนั้นว่า อ่าวม่วง

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวต้นจิก

หมู่ที่  ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                      “อ่าวต้นจิก” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าวต้นจิก” หมายถึง ชายหาดที่มีลักษณะโค้งเว้าประกอบกับมีต้นจิก อ่าวต้นจิก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ของอ่าวตรงนั้นมีลักษณะเป็นแนวชายหาด ประกอบกับมีต้นจิกเจริญเติบโตอยู่จำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากต้นจิก ไม่ว่าจะใช้เป็นยารักษาโรคภายในครัวเรือน เช่น ใช้รักษาอาการไข้หวัด ไอ ซึ่งใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งประโยชน์ด้านอื่น ๆ คือ ในยามที่ไปบริเวณอ่าวแห่งนั้นสามารถใช้เป็นสถานที่ร่มเงาพักผ่อนในยามไปเที่ยวที่หาดแห่งนั้นได้ ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติแล้วประกอบกับพื้นที่ของอ่าวที่มีความสวยงาม ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกอ่าวแห่งนั้นว่า อ่าวต้นจิก

(นายอุดม กูลดี 2562, สัมภาษณ์)

 

ควนเขียม

หมู่ที่ 4ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                      “ควนเขียม” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง ลักษณะของเนินเล็ก ๆ คำว่า “เขียม” หมายถึง ต้นเคี่ยม ควนเขียม เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ตรงนั้นมีลักษณะเป็นเนินเล็ก ๆ ประกอบกับมีต้นเคี่ยมเจริญเติบโตอยู่จำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากต้นเคี่ยม ไม่ว่าจะนำไปสร้างบ้านเรือน ทำเรือ เป็นต้น เนื่องจากไม้เคี่ยมเป็นไม้เนื้อแข็ง ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติแล้วประกอบกับพื้นที่ของเนินเล็ก ๆ แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า ต้นเคี่ยม ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า เขียม ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นแห่งนั้นว่า ควนเขียม

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ควนช่องงิ้ว

หมู่ที่4ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                      “ควนช่องงิ้ว” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง ลักษณะของเนินเล็ก ๆ คำว่า “ช่อง” หมายถึง พื้นที่ว่างใช้สำหรับเป็นทางเข้าออกได้ คำว่า “งิ้ว” หมายถึง ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ควนช่องงิ้ว เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ตรงนั้นมีลักษณะเป็นเนิน ประกอบกับมีต้นงิ้วขาดใหญ่ 1 ต้น เจริญเติบโตอยู่บนพื้นที่ตรงนั้น และเมื่อถึงช่วงที่ลมผัดพื้นที่ตรงนั้นก็จะเป็นช่องรับลมที่ดีอีกที่หนึ่ง ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติแล้วประกอบกับพื้นที่ที่เป็นเนิน เหมาะแก่การไปรับลมชมวิวได้ดีอีกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นแห่งนั้นว่า ควนช่องงิ้ว

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

เกาะยูง

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“เกาะยูง” มีที่มาจาก คำว่า “เกาะยูง” หมายถึง ชายหาดที่มีลักษณะโค้งเว้าประกอบกับมีต้นไม้พยูงอยู่ด้วย เกาะยูง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่เกาะตรงนั้นมีลักษณะเป็นเกาะเล็ก ๆ ประกอบกับมีต้นไม้พยูงเจริญเติบโตอยู่จำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้นเนื่องจากพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ที่สามารถพบต้นไม้พยูงได้มากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในอดีตชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากต้นไม้พยูง ไม่ว่าจะนำไปสร้างบ้านเรือน ทำเรือ เป็นต้น เนื่องจากไม้พยูงเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ในปัจจุบันไม่สามารถตัดมาครอบครองได้แล้ว ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติแล้วประกอบกับพื้นที่ของเกาะ แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า ต้นพยูง ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า ยูง  ในอดีตชาวบ้านเรียกเกาะแห่งนี้ว่า เกาะโยง แต่ปัจจุบันมีชื่อเป็นภาษาทางการ คือ เกาะยูง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่บนเกาะแห่งนั้นว่า เกาะยูง

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

แหลมไทร

หมู่ที่ 5ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“แหลมไทร” มีที่มาจาก คำว่า “แหลม” หมายถึง ลักษณะของพื้นดินที่ยื่นออกไปในทะเล คำว่า “ไทร” หมายถึง ต้นไทร แหลมไทร เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ตรงนั้นมีลักษณะเป็นพื้นดินยื่นออกไปในทะเล ประกอบกับมีต้นไทรเจริญเติบโตอยู่จำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้นเนื่องจากพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ที่สามารถพบต้นไทรมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติประกอบกับพื้นที่ของความเป็นแหลมและมีชายหาดทอดยาวสวยงาม เหมาะแก่การไปท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่แห่งนั้นว่า แหลมไทร

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ท่าต้นโด

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“ท่าต้นโด” มีที่มาจาก คำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือขนาดเล็กของชาวประมง คำว่า “ต้นโด” หมายถึง ต้นประดู่ ท่าต้นโด เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนพื้นที่บริเวณใกล้เคียงตรงนั้นมีท่าเรือเล็ก ๆ อยู่ด้านหลังหมู่บ้าน ประกอบกับทางเข้าไปยังท่าเรือมีประดู่ขนาดใหญ่เจริญเติบโตอยู่บริเวณนั้นซึ่งไม้ประดู่ก็จัดว่าเป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกันลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะมีพืชพรรณไม้ที่เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติแล้วประกอบกับพื้นที่สำหรับการสัญจรของชาวบ้านของความเป็นท่าเรือ แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า ต้นประดู่ ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า ต้นโด ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่แห่งนั้นว่า ท่าต้นโด

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

 

 

ควนไม้ไผ่

หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“ควนไม้ไผ่” หมายถึง ลักษณะของเนินเล็ก ๆ ที่มีต้นไม้ไผ่อยู่ในพื้นที่ตรงนั้นด้วย ควนไม้ไผ่ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในพื้นที่บริเวณตรงนั้นมีมีลักษณะความเป็นเนินเล็ก ๆ ประกอบกับมีต้นไม้ไผ่เจริญเติบโตอยู่บริเวณนั้นเป็นจำนวนมากซึ่งไม้ไผ่ก็จัดว่าเป็นไม้ที่มีความสำคัญต่อคนในชุมชนหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในด้านต่าง ๆ เช่นการประกอบอาชีพการประมง การใช้เป็นเครื่องจักสาน เป็นต้น ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นซึ่งเต็มไปด้วยต้นไม้ไผ่อยู่ทั่วบริเวณควนแห่งนั้น ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่แห่งนั้นว่า ควนไม้ไผ่

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

เกาะบุหงา

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“เกาะบุหงา” มีที่มาจาก คำว่า “บุหงา” มาจากภาษามลายู แปลว่า ดอกไม้ เกาะบุหงา เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากบริเวณพื้นที่เกาะแห่งนั้นมีลักษณะเป็นเกาะเล็ก ๆ ประกอบกับมีรูปทรงที่คล้ายกับดอกกุหลาบซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสวยงามของธรรมชาติ ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นนอกจากจะเป็นพื้นที่ ที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวแล้ว ยังเหมาะสำหรับการมองภาพความสวยงามจากมุมสูงซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับดอกกุหลาบที่กำลังบาน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่บนเกาะแห่งนั้นว่า เกาะบุหงา

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

เกาะผักเบี้ย

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                     “เกาะผักเบี้ย” มีที่มาจาก คำว่า “ผักเบี้ย” หมายถึงพืชเลื้อยบนเนินทราย ลำต้นขนาดนิ้วก้อยมีสีแดง เกาะผักเบี้ย เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากบริเวณพื้นที่เกาะแห่งนั้นมีลักษณะเป็นเกาะเล็ก ๆ ประกอบกับบนพื้นที่ของเกาะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผักเบี้ย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางธรรมชาติที่มีทั้งสัตว์น้ำ และพืชพรรณต่าง ๆ ลักษณะโดยรวมบริเวณพื้นที่ตรงนั้นเหมาะแกการไปเที่ยวเยี่ยมชมความหลากหลายทางชีวภาพที่กล่าวมาข้างต้น ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่บนเกาะแห่งนั้นว่า เกาะผักเบี้ย

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

คลองจาก

หมู่ 5 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“คลองจาก” มีที่มาจาก คำว่า “คลอง” เส้นทางที่น้ำไหลผ่านได้ คำว่า “จาก” หมายถึง ต้นจากที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อย คลองจาก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามพรรณไม้ เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ลำคลองตรงนั้นมีต้นจากเจริญเติบโต และปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่นของทั้งสองฝั่งข้างคลอง จากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากผลของต้นจากมารับประทานทั้งผลสดหรือ น้ำมาแปรรูปเช่นเดียวกับผลของตาลโหนดได้เช่นเดียวกัน ส่วนยอดอ่อนของต้นจากชาวบ้านใช้นำมาตากแห้งเพื่อใช้สูบ เหมือนกับบุหรี่ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกลำคลองแห่งนั้นว่า คลองจาก

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

         

น้ำบ่อโต๊ะอีตา

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“น้ำบ่อโต๊ะอีตา” มีที่มาจาก คำว่า “โต๊ะ” มาจาก ภาษามลายูแปลว่า ผู้อาวุโส ซึ่งคำว่าโต๊ะ ใช้สำหรับเรียกแทนตัวผู้อาวุโสที่มีชื่อว่า “อีตา” เป็นบรรพบุรุษที่ขุดบ่อน้ำแห่งนั้น “น้ำบ่อโต๊ะอีตา” เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ปรากฏอยู่ในหมู่บ้านท่าเขา โดยมีบรรพบุรุษในสมัยอดีตมาขุดน้ำบ่อแห่งนี้เป็นคนแรก ที่มีชื่อว่าโต๊ะอีตา จึงสะท้อนให้เห็นการตั้งชื่อที่นำเอาชื่อของบุคคลที่ทำคุณประโยชน์หรือมีการริเริ่ม บุกเบิกสร้างถิ่นฐานที่อยู่อาศัย แต่ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน บางครั้งบุคคลสำคัญเหล่านี้อาจล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยความดีที่ควรแก่การนำมาเผยแพร่จึงทำให้บุคคลเหล่านี้เป็นที่น่าจดจำ และน่าสนใจของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านในสมัยนั้นตั้งชื่อว่าน้ำบ่อโต๊ะอีตา

คนรุ่นหลังรู้จักกันในชื่อว่าน้ำบ่อโต๊ะอีตาสืบต่อกันมา ซึ่งเป็นลักษณะของน้ำบ่อที่น้ำในบ่อไม่เคยแห้งแม้จะอยู่ในช่วงฤดูไหนก็ตาม น้ำในบ่อมีสีใสสะอาด ในสมัยก่อนถ้าหากใครที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคก็จะเดินทางไปที่บ่อน้ำแห่งนั้น เพื่อที่จะนำไปใช้ แต่ในปัจจุบันได้มีการบูรณาการเข้ามาดูแลจากทางหน่วยงานภาครัฐที่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยการสร้างหลังคายกขึ้นสูงที่บ่อน้ำแห่งนั้น เพื่อให้ผู้คนสะดวกแก่การมาใช้น้ำ

(นายเดชา เริงสมุทร, 2562 สัมภาษณ์)

พรุโต๊ะหม้อ

หมู่ที่ 2 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“พรุโต๊ะหม้อ” มีที่มาจาก คำว่า “พรุ” หมายถึง บริเวณลุ่มน้ำที่มีน้ำขัง คำว่า“โต๊ะ” มาจากภาษามลายูแปลว่า ผู้อาวุโสซึ่งคำว่าโต๊ะ ใช้สำหรับเรียกแทนตัวผู้อาวุโสที่มีชื่อว่า “โต๊ะหม้อ” เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งเป็นผู้หญิงที่มีอายุ เนื่องจากโต๊ะหม้อ ประกอบอาชีพทำสวนทำไร่ในบริเวณพื้นที่ตรงนั้น หลังจากที่โต๊ะหม้อได้เสียชีวิต บริเวณพื้นที่ตรงนั้นจึงมีหน่วยงานทางภาครัฐเข้ามากำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ ซึ่งมีพื้นที่ตามประกาศจำนวน 14 ไร่ และในปัจจุบันเป็นที่เก็บน้ำของชุมชน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านเรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า “ฝายเก็บน้ำพรุโต๊ะหม้อ”

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

ท่าโต๊ะหนะ
หมู่ที่ 1 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“ท่าโต๊ะหนะ” มีที่มาจาก คำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือ “โต๊ะหนะ” หมายถึง ผู้หญิงที่มีชื่อเรียกว่า หนะ ประกอบด้วยเป็นผู้อาวุโสที่นับถือศาสนาอิลาม ซึ่งโต๊ะหนะคนนี้ เขาประกอบอาชีพอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้ ๆ กับท่าเรือแห่งนั้นเป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งเป็นบรรพบุรุษในสมัยอดีตคนแรกที่ประกอบอาชีพอยู่ในบริเวณนั้น ที่มีชื่อว่าโต๊ะหนะด้วยเหตุนี้จึงสะท้อนให้เห็นการตั้งชื่อที่นำเอาชื่อของบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ริเริ่ม บุกเบิกสร้างถิ่นฐานที่อยู่อาศัยเก็บไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รับประโยชน์จากการใช้พื้นที่ตรงนั้น ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นแห่งนั้นโดยการยกย่องบรรพบุรุษที่ชื่อว่า โต๊ะหนะว่า ท่าโต๊ะหนะ

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวโต๊ะลาม้ะ

หมู่ที่ 1 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวโต๊ะลาม้ะ” มีที่มาจาก คำว่า “โต๊ะ”มาจาก ภาษามลายูแปลว่า ผู้อาวุโส ซึ่งคำว่าโต๊ะ ใช้สำหรับเรียกแทนตัวผู้อาวุโสที่มีชื่อว่า “ลาม้ะ” อ่าวโต๊ะลาม้ะ เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งเป็นบรรพบุรุษในสมัยอดีตคนที่ชื่อนางลาม้ะ ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่แห่งนี้ ซึ่งบริเวณดังกล่าวห่างไกลจากชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่ ในปี พ.ศ. 2463 เกิดการแพร่ระบาดของไข้น้ำ หรือไข้ทรพิษ ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่มีทางรักษาได้หายเนื่องจากในสมัยก่อนผู้คนยังขาดความรู้ที่จะใช้ยามารักษาแต่ทางเดียวที่สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคนี้ไปได้ คือ คนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะถูกเอามาปล่อยไว้ ณ อ่าวแห่ง นั้น รวมถึงคนที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ก็นำร่างมาฝั่งที่อ่าวแห่งนั้นเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความห่างไกลจากพื้นที่ในชุมชนของพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นชาวบ้านก็จะนำคนที่ป่วยด้วยโรคไข้น้ำ หรือไข้ทรพิษ มาปล่อยไว้ที่อ่าวแห่งนั้น ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกอ่าวแห่งนั้นว่า อ่าวโต๊ะลาม้ะ

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

แหลมไม้แก้ว

หมู่ที่ 1 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                   “แหลมไม้แก้ว” มีที่มาจาก คำว่า “แหลม” หมายถึง อ่าวหรือชายหาด คำว่า “ไม้แก้ว” คือ ชื่อบุคคล แหลมไม้แก้ว เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งเป็นบรรพบุรุษในสมัยอดีต คือหลวงแก้ว เขาผู้นั้นเป็นบุคคลผู้นำที่เริ่มบุกเบิกถางป่าบริเวณอ่าวแห่งนั้น และเมื่อเวลาล่วงเลยไปหลวงแก้วผู้นั้นก็เสียชีวิตลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสียสละของบุคคลผู้นั้นที่เริ่มตั้งหลักปักฐานเพื่อบุกเบิกพื้นที่ตรงนั้นไว้ให้แก่คนรุ่น ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกพื้นที่แห่งนั้นว่า แหลมไม้แก้ว

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

คลองตีหงี

หมู่ที่ 1 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “คลองตีหงี” มีที่มาจาก คำว่า “คลอง” หมายถึง เส้นทางที่น้ำไหลผ่านได้ คำว่า “ตีหงี” หมายถึง คนไทยเชื้อสายจีน คลองตีหงี เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งเป็นบรรพบุรุษในสมัยอดีต ที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนในสมัยก่อนเดินทางเข้ามาตัดไม้เพื่อเผาถ่านบริเวณคลองแห่งนี้ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตรงนั้นที่เหมาะแก่การเข้ามาประกอบอาชีพ โดยมีผู้บุกเบิกพื้นที่ คือ คนไทยเชื้อสายจีนในสมัยนั้น ต่อมาเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐโดยใช้เขตคลองตีหงีเป็นเขตป่าทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ด้านทิศเหนือ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกลำคลองแห่งนั้นว่า คลองตีหงี

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

เขาช่องติง

หมู่ที่ 1 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “เขาช่องติง” มีที่มาจาก คำว่า “เขา” หมายถึง ลักษณะของภูเขาคำว่า “ช่อง” หมายถึง ใช้เป็นทางสำหรับเข้าออกได้ เขาช่องติง เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งเป็นบรรพบุรุษในสมัยอดีต คือ โต๊ะติง หรือนายติง เป็นผู้ที่เดินทางเข้ามาสร้างรกรากบนพื้นที่แห่งนั้น เนื่องจากบริเวณช่องเขาติงตรงนั้น เป็นช่องเขาที่ชาวบ้านใช้เป็นช่องทางนำต้นกล้าข้าว อุปกรณ์การทำนา ข้ามผ่านบริเวณตรงนั้น ซึ่งทำให้ผู่คนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นเนื่องจากมีโต๊ะติงเป็นผู้บุกเบิกเส้นทางนี้ไว้ก่อนแล้ว ลักษณะโยรวมของพื้นที่ตรงนั้นแสดงให้เห็นถึงความง่ายของการใช้เส้นทางของพื้นที่ตรงนั้นที่เหมาะแก่การสัญจรของผู้คน โดยมีผู้บุกเบิกพื้นที่ คือ โต๊ะติง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในอดีตจึงเรียกช่องเขาแห่งนั้นว่า เขาช่องติง

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

แหลมยาจักร

หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“แหลมยาจักร” มีที่มาจาก คำว่า “แหลม” อ่าวหรือชายหาด คำว่า “ยาจักร” หมายถึง แหลมที่เชื่อว่าพระยาจักรีเดินทางเข้ามาโดยใช้เรือ แหลมยาจักร เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งในสมัยอดีตพระยาจักรีได้เดินทางผ่านเข้ามายังแหลมแห่งนั้น จากการที่พระยาจักรีได้เดินทางเข้ามายังแหลมนั้นชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการเสริมสร้างสิริมงคลให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนั้น แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า แหลมพระยาจักร ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า แหลมยาจักร ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่แหลมตรงนั้นว่า แหลมยาจักร

(นายเดชา เริงสมุทร 2562, สัมภาษณ์)

 

ท่าบ้านหลัด

หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“ท่าบ้านหลัด” มีที่มาจาก คำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือ คำว่า“หลัด” หมายถึง ปลัด ท่าบ้านหลัด เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งในสมัยบริเวณท่าเรือแห่งนั้นเคยเป็นบ้านพักของปลัด ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในอำเภอเกาะยาวแห่งนั้น แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า ปลัด ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า หลัด ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ท่าบ้านหลัด

(นายเดชา เริงสมุทร 2562, สัมภาษณ์)

โคกโต๊ะสู

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“โคกโต๊ะสู” มีที่มาจาก คำว่า “โคก” หมายถึง ควนหรือเนินเล็ก ๆ คำว่า “โต๊ะ”มาจาก ภาษามลายูแปลว่า ผู้อาวุโส ซึ่งคำว่าโต๊ะ ใช้สำหรับเรียกแทนตัวผู้อาวุโสที่มีชื่อว่า “สู” โคกโต๊ะสู เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งบุคคลผู้นั้นเป็นผู้เริ่มเข้ามาบุกเบิกพื้นที่เป็นคนแรก โดยบริเวณพื้นที่ที่เป็นโคกนั้นอยู่ใกล้กับบริเวณบ้านของบุคคลที่ชาวบ้านต่างรู้จักกันดี ด้วยลักษณะของพื้นที่ตรงนั้นเป็นโคกเนินเหมาะแก่การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เนื่องจากไม่เกิดปัญหาน้ำท่วม ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า โคกโต๊ะสู

(นายเดชา เริงสมุทร 2562, สัมภาษณ์)

 

เกาะทับเณรคง

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“เกาะทับเณรคง” มีที่มาจาก คำว่า “เกาะ” หมายถึงลักษณะของพื้นที่ซึ่งมีพื้นน้ำล้อมรอบ คำว่า “ทับ” หมายถึง ที่พัก คำว่า “เณรคง” ชื่อของบุคคลในสมัยนั้น เกาะทับเณรคง เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งบุคคลผู้นั้นเป็นผู้เริ่มเดินทางเข้ามายังเกาะแห่งนั้นเพื่อมาสร้างเป็นที่พักอาศัยในพื้นที่ตรงนั้นเป็นคนแรก ด้วยลักษณะของพื้นที่ตรงนั้นเป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์ เงียบเหมาะแก่การถือศีล เณรคงผู้นั้นเลยถือศีลอยู่ที่เกาะแห่งนั้น ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า เกาะทับเณรคง

(นายเดชา เริงสมุทร 2562, สัมภาษณ์)

 

เขาชายหลี

หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“เขาชายหลี” มีที่มาจาก คำว่า “เขา” หมายถึง ลักษณะของภูเขา คำว่า “ชาย” ในที่นี้หมายถึง คำนำหน้าการเรียกชื่อผู้อาวุโสเพศชาย คำว่า “หลี” หมายถึง ชื่อของบุคคล เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งบุคคลผู้นั้นเป็นผู้เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งหลักปักฐานที่แห่งนั้นเป็นคนแรก เพื่อมาสร้างที่พักอาศัยในพื้นที่ตรงนั้น ด้วยลักษณะของพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกสร้างบ้านเรือน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า เขาชายหลี

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวโต๊ะโท่ย

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “อ่าวโต๊ะโท่ย” ที่มาจาก คำว่า “อ่าว” หมายถึง ชายหาดที่มีลักษณะโค้งเว้า คำว่า “โต๊ะ” จากภาษามลายู แปลว่า ผู้อาวุโส ซึ่งคำว่าโต๊ะ ใช้สำหรับเรียกแทนตัวผู้อาวุโสที่มีชื่อว่า “โท่ย” อ่าวโต๊ะโท่ย เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งบุคคลผู้นั้นเป็นผู้เริ่มเข้ามาบุกเบิกพื้นที่เป็นคนแรก ซึ่งโต๊ะโท่ยผู้นั้นเป็นคนที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ เนื่องจากในอดีตสถานที่แห่งนั้นโต๊ะโท่ยเป็นบุคคลแรกที่มาอาศัย โดยบริเวณพื้นที่ที่เป็นอ่าวนั้นเป็นที่ตั้งบ้านของโต๊ะโท่ย ด้วยลักษณะของพื้นที่ตรงนั้นเป็นบริเวณอ่าวที่เอื้อแก่การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย รวมทั้งง่ายต่อการประกอบอาชีพประมง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า อ่าวโต๊ะโท่ย

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

 

นาโต๊ะราบ

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “นาโต๊ะราบ” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “โต๊ะ” จากภาษามลายู แปลว่า ผู้อาวุโส ซึ่งคำว่าโต๊ะ ใช้สำหรับเรียกแทนตัวผู้อาวุโสที่มีชื่อว่า “ราบ” นาโต๊ะราบ เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งบุคคลผู้นั้นเป็นผู้เริ่มเข้ามาบุกเบิกพื้นที่เป็นคนแรก ซึ่งโต๊ะราบเป็นเจ้าของผืนนาบริเวณนาผืนนั้น โดยบริเวณพื้นที่ที่เป็นผืนนานั้นเป็นที่ประกอบอาชีพของโต๊ะราบ เนื่องจากลักษณะของพื้นที่ตรงนั้นเป็นผืนนาที่เอื้อแก่การประกอบอาชีพเกษตรกร ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาโต๊ะราบ

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

 

นาพรุหมาดเส็น

หมู่ที่ 2 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“นาพรุหมาดเส็น” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “พรุ” หมายถึง แอ่งน้ำ คำว่า “หมาดเส็น” หมายถึง ชื่อของบุคคล นาพรุหมาดเส็น เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งบุคคลผู้นั้นเป็นผู้เริ่มเข้ามาบุกเบิกพื้นที่เป็นคนแรก ซึ่งบุคคลที่ชื่อหมาดเส็นเป็นเจ้าของผืนนาบริเวณนาผืนนั้น โดยบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงนาผืนนั้นประกอบกับมีแอ่งน้ำเล็ก ๆ อยู่ร่วมด้วย เพื่อไว้สำหรับการใช้ถ่ายน้ำเข้าไปในนา เนื่องจากลักษณะของพื้นที่ตรงนั้นเป็นผืนนาที่เอื้อแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาพรุหมาดเส็น

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

ถ้ำโต๊ะบวช

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“ถ้ำโต๊ะบวช” มีที่มาจาก คำว่า “ถ้ำ” หมายถึง ช่องที่เป็นโพรงลึกขนาดใหญ่ในภูเขา คำว่า “โต๊ะ”มาจาก ภาษามลายูแปลว่า ผู้อาวุโส ซึ่งคำว่าโต๊ะ ใช้สำหรับเรียกแทนตัวผู้อาวุโส คำว่า “บวช” ในที่นี้หมายถึง การถือศีลอดของศาสนาอิสลาม เมื่อนำความหมายมารวมกันแล้ว หมายถึง ถ้ำที่มีผู้อาวุโสซึ่งนับถือศาสนาอิสลามเดินทางไปถือศีลอด ถ้ำโต๊ะบวช เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งบุคคลผู้นั้นเดินทางไปยังบริเวณพื้นที่ที่เป็นถ้ำเพื่อทำการที่ถือศีลอด และผู้อาวุโสผู้นั้นเป็นบุคคลที่ชาวบ้านต่างรู้จักกันดี ด้วยลักษณะของพื้นที่ตรงนั้นเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การทำความดี สำหรับบุคคลที่ต้องการความเงียบสงบ และต้องการทำอิบาดะห์ (ความดี) ได้ดีกว่าในพื้นที่ที่มีคนเยอะ เนื่องจากมีความเงียบ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ถ้ำโต๊ะบวช

(นายเดชา เริงสมุทร 2562, สัมภาษณ์)

 

ฮ๋าวเหยบ

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                      “อ่าวเหยบ” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าว” หมายถึง ชายหาดที่มีลักษณะโค้งเว้าคำว่า “เหยบ” หมายถึงชื่อบุคคล อ่าเหยบ เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งบุคคลผู้นั้นเป็นผู้เริ่มเข้ามาบุกเบิกพื้นที่เป็นคนแรก ซึ่งบุคคลที่ชื่อเหยบผู้นั้นเป็นคนที่ชาวบ้านนับหน้าถือตา เนื่องจากในอดีตสถานที่แห่งนั้นบุคคลที่ชื่อเหยบเป็นบุคคลแรกที่มาอาศัย โดยบริเวณพื้นที่ที่เป็นอ่าวนั้นเป็นที่ตั้งบ้านของบุคคลดังกล่าว ด้วยลักษณะของพื้นที่ตรงนั้นเป็นบริเวณอ่าวที่มีแนวหาดทรายยาวซึ่งเอื้อแก่การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย รวมถึงง่ายต่อการประกอบอาชีพประมง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า อ่าวเหยบ

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

 

ควนสมหมาย

หมู่ที่ 4ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

            “ควนสมหมาย” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง ลักษณะของเนินเล็ก ๆคำว่า “สมหมาย” หมายถึง ชื่อของบุคคล ควนสมหมาย เป็นนามสถานที่ตั้งตามชื่อ ชื่อสกุล หรือตำแหน่งบุคคล ซึ่งบุคคลผู้นั้นเขาก็อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านท่าเขาเนื่องจากควนแห่งนี้อยู่ในละแวกพื้นที่บ้านท่าเขา ในทุกวัน ๆ เขาผู้นั้นจะทำหน้าที่ไปส่งภรรยาศึกเป็นครูผู้สอนที่โรงเรียนบ้านท่าเขา เป็นประจำทุกวันแต่วันหนึ่งเขาผู้นั้นถูกฆ่าด้วยการจริง เวลาต่อมาเขาก็เสียชีวิตลงที่ควนแห่งนั้น เนื่องด้วยลักษณะของพื้นที่ตรงนั้นเป็นควนประกอบกับมีต้นไม้ปกคลุมซึ่งเอื้อต่อการซุ่มตัวของคนร้ายก่อนที่จะลงมือ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านตึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ควนสมหมาย

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

          

ตู้กุนมดแดง

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “ตู้กุนมดแดง” มีที่มาจาก คำว่า “ตู้” ที่มาจาก ภาษามลายู บาตู แปลว่า “หิน” และ กุน ที่มาจาก ภาษามลายู แปลว่า “กอง” คำว่า “มดแดง” เนื่องจากมีมดแดงมาอาศัยอยู่ที่บริเวณกองหินเหล่านั้น“ตู้กุนมดแดง” เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เนื่องจากบริเวณพื้นที่แห่งนั้น มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสัตว์บางชนิด ซึ่งสัตว์ชนิดนี้ที่กล่าวถึง คือ มดแดง โดยปกติแล้วมดแดงส่วนใหญ่จะใช้ไม้ยืนต้นในการสร้างรังของมัน หรือไม้พุ่มใหญ่ ๆ ที่ใบดก ไม่ผลัดใบง่ายและใบไม้จะต้องใหญ่จนพอสร้างรัง ใบไม้ชนิดที่มดแดงชอบสร้างรัง เช่น ต้นมะม่วง ต้นกระถิน ต้นหูกวาง และต้นหว้า เป็นต้น พื้นที่ที่มดแดงใช้สร้างรังมักเป็นพื้นที่รกร้าง และพื้นที่เกษตรกรรม แต่จุดที่น่าสังเกต และน่าสนใจคือ ในอำเภอเกาะยาวนั้น มีสัตว์ชนิดที่กล่าวมานั้นคือมดแดง ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณโขดหิน หรือกองหินเป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่ที่มดแดงไปอาศัยอยู่นั้นไม่ได้จัดอยู่ในปัจจัยของการสร้างที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดนั้น

           เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ จากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ จึงทำให้พื้นที่บริเวณหินตรงนั้นเป็นที่อยู่ของมดแดง เมื่อชาวบ้านเห็นลักษณะที่ปรากฏอยู่ จึงนำชื่อของสัตว์ชนิดนั้นมาตั้งชื่อนามสถานคือ“ตู้กุนมดแดง” ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อสถานที่เป็นชื่อทางราชการว่า “หินมดแดง” ซึ่งเป็นการแปลความหมายมาจากชื่อเดิม แต่ปัจจุบันชาวบ้านยังนิยมเรียกว่า “ตู้กุนมดแดง” มากกว่าเนื่องจากเป็นชื่อพื้นบ้านที่ใช้เรียกกันมายาวนาน อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของนามสถานที่มีการรับวัฒนธรรมทางภาษาที่เป็นภาษามลายูเข้ามาเกี่ยวข้องในการตั้งชื่อนามสถานอีกด้วย และยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของชีววิทยาเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ที่อาศัยอยู่ได้หลากหลายพื้นที่

(นายเดชา เริงสมุทร 2562, สัมภาษณ์)

 

อ่าวไร้ควาย

หมู่ที่ 2 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวไร้ควาย” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าวไร้ควาย” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนาที่เป็นอ่าวไว้สำหรับสัตว์เลี้ยง อ่าวไร่ควาย เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เดิมทีชาวบ้านเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า อ่าวไว้ควาย เนื่องจากบริเวณพื้นที่แห่งนั้นมีลักษณะอ่าวเป็นทุ่งนาที่กว้างชาวบ้านจึงใช้เป็นพื้นที่สำหรับการเลี้ยงควายประกอบกับมีพื้นที่เก็บน้ำจืดไว้สำหรับให้ควายได้เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อหน่วยงานภาครัฐเข้ามาจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น อ่าวไร้ควายด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า อ่าวไร้ควาย

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านคลองเหีย

หมู่ที่ 2 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                “บ้านคลองเหีย” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีผู้คนอาศัย คำว่า “คลองเหีย” หมายถึง ลำคลองที่เหี้ยอาศัยอยู่ บ้านคลองเหีย เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เนื่องจากบริเวณพื้นที่หมู่บ้านแห่งนั้น มีลำคลองทอดยาวผ่านหมู่บ้าน ซึ่งในคลองนั้นสมัยอดีตมีตัวเงินตัวทอง (ตัวเหี้ย) อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จึงทำให้มีสัตว์อาศัยอยู่ร่วมด้วย แต่เมื่อเวลาผ่านไปการออกเสียงเริ่มผิดเพี้ยนไปจากเดิม จากคำว่า คลองเหี้ย แปรเสียงวรรณยุกต์มาเป็น คลองเหียจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีสถานที่อีก 1 แห่ง ที่ใช้การตั้งชื่อที่เป็นไปในลักษณะแนวทางเดียวกัน คือ น้ำตกคลองเหีย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านคลองเหีย

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวนกเป็ดน้ำ

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวนกเป็ดน้ำ” มีที่มาจาก คำว่า “อ่าวนกเป็ดน้ำ” หมายถึง ลักษณะของชายหาดที่โค้งเว้าซึ่งมีนกเป็ดน้ำอาศัยอยู่ อ่าวนกเป็ดน้ำ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เนื่องจากบริเวณพื้นที่อ่าวแห่งนั้น มีลักษณะชายหาดที่ทอดยาวและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติจึงทำให้มีนกเป็ดน้ำมาอาศัยอยู่ร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก พื้นที่ ณ อ่าวแห่งนั้นซึ่งเป็นอ่าวที่เหมาะแก่การมาเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากมีความร่มรื่นจากธรรมชาติแล้วยังได้เห็นความสวยงามของนกเป็ดน้ำ

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวโละหวัก

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“อ่าวโละหวัก” มีที่มาจาก คำว่า “โละ” มาจากภาษามลายู คือคำว่า ตะโละ ในภาษามลายู แปลว่า “อ่าว” คำว่า “หวัก” หมายถึงนกกวัก เมื่อนำความหมายมารวมกันแล้ว หมายถึง อ่าวที่มี นกกวัก อ่าวโละหวัก  เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เนื่องจากบริเวณพื้นที่อ่าวแห่งนั้น มีลักษณะชายหาดที่ทอดยาวและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติจึงทำให้มีนกกวักอพยพมาอาศัยอยู่ร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก พื้นที่ ณ อ่าวแห่งนั้น ซึ่งเป็นอ่าวที่เหมาะแก่การมาเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากมีความร่มรื่นจากธรรมชาติแล้วยังได้เห็นความสวยงามของนกกวัก แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า นกกวัก ชาวบ้านเรียกเหลือเพียง คำว่า หวัก ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่แห่งนั้นว่า อ่าวโละหวัก

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

คลองเข้

หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“คลองเข้” มีที่มาจาก คำว่า “คลองเข้”หมายถึง คลองที่มีจระเข้อาศัยอยู่ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เนื่องจากบริเวณพื้นที่แห่งนั้น มีลำคลองทอดยาวผ่านตามแนว ซึ่งในคลองนั้นสมัยอดีตมีจระเข้อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จึงทำให้มีสัตว์อาศัยอยู่ร่วมด้วย ซึ่งในปัจจุบัน สถานที่แห่งนั้นไม่ได้มีจระเข้อาศัยอยู่อีกแล้ว แต่ลำคลองสายนี้อยู่ด้านหลังของโรงเรียนเกาะยาววิทยา แต่เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่น จากคำว่า จระเข้ ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกเหลือเพียงคำว่า เข้ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า คลองเข้

(นายวินัย เปกะมล 2563, สัมภาษณ์)

 

เกาะเหลายัม (เกาะเขียว)

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“เกาะเหลายัม” มีที่มาจาก ภาษามลายู คือคำว่า “กุเลา” แปลว่า เกาะ คำว่า “อายัม”มีที่มาจากภาษามลายู แปลว่า “ไก่” เมื่อนำความหมายมารวมกันแล้ว หมายถึง เกาะที่มีไก่ เกาะเหลายัม เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เนื่องจากบริเวณพื้นที่เกาะแห่งนั้น มีลักษณะชายหาดที่ทอดยาวและมีความอุดมสมบูรณ์ด้านธรรมชาติที่ดีจึงทำให้มีไก่เหล่านั้น มาอาศัยอยู่ร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก พื้นที่ ณ อบบริเวณเกาะแห่งนั้น ไก่พวกนั้นจึงสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ลักษณะโดยรวมของเกาะแห่งนั้นเป็นสถานที่เหมาะแก่การมาเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากมีความร่มรื่นจากธรรมชาติแล้วยังได้เห็นความสวยงามของไก่บนเกาะแห่งนั้น ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่แห่งนั้นว่า เกาะเหลายัม

                      บางครั้งคนในชุมชนก็เรียกเกาะแห่งนั้นว่าเกาะเขียว แต่ทั้งสองชื่อนี้ถึงจะเรียกแตกต่างกันแต่ก็เป็นสถานที่เดียวกัน เื่องจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ที่เขียวชอุ่ม สาเหตุที่ป่าไม้บนเกาะแห่งนั้นยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่เพราะได้รับความร่วมมือและการเอาใจใส่ในธรรมชาติบ้านของตน จึงทำให้ป่าไม้บนเกาะยังคงอุดมสมบูรณ์

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

 

ตู้กุนนี

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“ตู้กุนนี” มีที่มาจาก ภาษามลายู คือ คำว่า “ตู้กุน” แปลว่า กองหิน หรือโขดหินที่อยู่ในทะเล คำว่า “นี” หมายถึง ชะนี ตู้กุนนี เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เนื่องจากบริเวณพื้นที่โขดหินแห่งนั้นซึ่งอยู่ในทะเล โดยปกติแล้วในทะเลจะไม่มีชะนีไปอาศัยอยู่ แต่เนื่องจากรอบ ๆ บริเวณโขดหินก้อนนั้นมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะการการอาศัยของชะนีเมื่อเวลาน้ำลดระดับลงชนะพวกนี้จะมาอาศัยอยู่ที่โขดหินก้อนนั้นเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องด้วยมีการรับอิทธิพลของภาษามลายูเข้ามา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ตู้กุนนี

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

 

บ้านย่าหมี
หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวใหญ่
อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                       “บ้านย่าหมี” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีผู้คนอาศัย คำว่า “ย่า” หมายถึง อย่าหรือห้าม คำว่า “หมี” หมายถึง สัตว์ดุร้ายที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตรงนั้น บ้านย่าหมี เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ เนื่องจากบริเวณพื้นที่หมู่บ้านแห่งนั้นมีความอุดมสมบูรณทางธรรมชาติที่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ที่รกจึงทำให้มีสัตว์เข้ามาอาศัยอยู่ร่วมด้วย แต่สัตว์ชนิดนี้เป็นสัตว์ที่ดุร้าย นั่นคือ หมี ซึ่งบริเวณพื้นที่ตรงนั้นเมื่อมีคนนอกที่เดินทางเข้ามายังหมู่บ้านแล้วไม่ทราบมาก่อนว่าที่นั่นมีหมีดุร้าย ชาวบ้านก็ห้ามไม่ให้เข้าไปในบริเวณพื้นที่ตรงนั้นและจะสั่งห้ามว่า “อย่ามีหมี” เนื่องด้วยอิทธิพลภาษาไทยถิ่นจึงเกิดการกร่อนคำ เหลือเพียงคำว่า ย่าหมี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านย่าหมี

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

         

บ้านท่าค่าย

หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

บ้านท่าค่าย” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีผู้คนอาศัยคำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือ และ คำว่า “ค่าย” หมายถึง ที่ตั้งทัพของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านท่าค่าย” เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้เคยเกิดเรื่องราวความเป็นมาที่สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยลักษณะบริเวณบ้านท่าค่ายเป็นหมู่บ้านที่มีท่าเรือ ไว้ใช้สำหรับการเดินทางหรือการออกเดินเรือประกอบอาชีพประมง ด้วยลักษณะของหมู่บ้านที่ง่ายแก่การสัญจรไปมา เนื่องด้วยพื้นที่ความเป็นเกาะเส้นทางหลักที่ใช้ในการสัญจร คือ การเดินทางโดยทางน้ำ ซึ่ง “ท่า” ที่หมายถึง ท่าเรือ จึงมีความสำคัญและเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ที่มากกว่าการคมนาคม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บริเวณแห่งนี้ในสมัยอดีตนั้น เคยมีการตั้งเป็นที่พักของทหารญี่ปุ่น เพื่อสู้รบกันระหว่างทหารญี่ปุ่นและข้าศึกที่ต้องการเข้ามารุกรานในพื้นที่อำเภอเกาะยาว และเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ชาวบ้านไม่สามารถที่จะออกมาต่อสู้ได้ เนื่องจากขาดแคลนอาวุธ และกำลังพลที่จะต่อสู้ จึงทำให้ชาวบ้านต้องหาสถานที่หลบภัยอยู่ชั่วคราว โดยการขุดหลุมหลบภัยใกล้บริเวณนั้น สาเหตุของการเข้ามาของข้าศึกอาจเป็นเพราะความเอื้ออำนวยของพื้นที่ ที่เหมาะแก่การเข้ามาสู้รบเนื่องจากอยู่ใกล้กับท่าเรือ

บ้านท่าค่ายในอดีตเมื่อเหตุการณ์การสงครามจบสิ้นลง ในปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นก็กลายมาเป็นชื่อหมู่บ้าน และสถานที่แห่งนั้นก็เคยเป็นพื้นที่ฉายหนังกลางแปลง ที่ผู้คนให้ความนิยมในสมัยนั้น หรือคนในพื้นที่อำเภอเกาะยาว เรียกว่า หน้าวิก หรือ ท่าค่าย นั่นเอง ทั้งสองชื่อนี้แม้จะเรียกต่างกันแต่ก็เป็นชื่อสถานที่เดียวกันที่เคยมีเหตุการณ์ศึกสงครามเกิดขึ้น จึงทำให้พื้นที่ตรงนั้นกลายเป็นที่พักของทหารในอดีต แต่ในปัจจุบันเมื่อเหตุการณ์สงบชาวบ้านก็ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่บริเวณแห่งนั้น

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

 

ควนโจม

หมู่ที่ 2 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “ควนโจม” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง ลักษณะของของภูเขาที่สูง คำว่า “โจม” หมายถึง ยอดเขาที่มีความสูงที่สุดในพื้นที่ตำบลพรุในใช้เป็นสถานที่ตั้งกล้องส่องดูข้าศึก ควนโจม เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้เคยมีเรื่องราวความเป็นมาที่สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะในสมัยสงครามบูรพา ทหารญี่ปุ่นยึดพื้นที่ของสยามรวมทั้งพื้นที่ของอำเภอเกาะยาวโดยการใช้ควนโจมเป็นสถานทั้งกล้องส่องดูข้าศึก มีการสร้างกระโจมเหล็กเอาไว้พร้อมปักธงสีแดง ชาวบ้านในสมัยนั้นสามารถมองเห็นธงและตัวกระโจม ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงตั้งชื่อสถานที่แห่งนั้นว่า ควนโจม ต่อมาหน่วยงานภาครัฐได้ขึ้นไปลงปักหมุดพื้นที่ในบริเวณดังกล่าว

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

ควนโละหา

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

      “ควนโละหา” มีที่มาจาก คำว่า “ควน” หมายถึง โคกหรือเนินเล็ก ๆคำว่า“โละ” หมายถึง “อ่าว” คำว่า “หา” หมายถึง โรคห่า ควนโละหา เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากคนในหมู่บ้านแห่งนี้เคยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคห่า ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นควน หรือเนินสูงซึ่งที่ตั้งของควนแห่งนั้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับอ่าวโละหา นอกจากนี้ยังมีสถานที่อีก 1 แห่งที่ใช้การตั้งชื่อเป็นไปในลักษณะแนวทางเดียวกันเนื่องจากมีความเป็นมาที่เหมือนกัน และเป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้กัน คือ อ่าวโละหา ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ควนโละหา

(นายสุอีด ภิญโญ 2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านอันเป้า

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “บ้านอันเป้า” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีผู้คนอาศัย คำว่า “อันเป้า” หมายถึง ซองแดงที่ใส่เงินของชาวจีนเอาไว้แจกในงานมงคล งานเฉลิมฉลองต่าง ๆ บ้านอันเป้า เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตคนไทยเชื้อสายจีนเดินทางเข้ามาโดยใช้เรือเข้ามายังหมู่บ้าน เพื่อหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์แล้วจึงได้วาหลักปักฐานในพื้นที่ตรงนั้นเนื่องจากเหมาะแก่การดำรงชีพประกอบกับทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ทั้งทางบกและทางทะเล หลังจากนั้นกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนได้สร้างหลุมถ่านขึ้นเพื่อทำการเผ่าถ่านแล้วส่งออกไปยังจังหวัดภูเก็ต โดยการใช้เรือใบซึ่งในการบรรทุกด้วยเรือใบพวกเขามีวิธีการที่จะถ่วงน้ำหนักของเรือไม่ให้เรือล่มด้วยการ ใช้ขี้แร่ หรือที่เรียกว่าขี้กราง (ตะกรัน) เมื่อคนไทยเชื้อสายจีนเข้ามาอยู่ก่อน ระยะหลังก็เริ่มมีบุคคลอื่นเข้ามาอยู่ร่วมในหมู่บ้านแห่งนั้นเช่นกัน เมื่อมีคนเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้นแล้วบางส่วนก็เข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างของคนจีน เมื่อถึงช่วงเทศกาสำคัญ คนจีนจะแจกอั่งเปาให้กับชาวบ้านเพื่อเป็นการตอบแทนและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ได้เหน็ดเหนื่อยร่วมกันทำงาน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านอันเป้า

(นายสุอีด ภิญโญ 2563, สัมภาษณ์)

 

เกาะโบย

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

            “เกาะโบย” มีที่มาจาก คำว่า “เกาะ” หมายถึง ลักษณะของพื้นที่ซึ่งมีพื้นน้ำล้อมรอบ “โบย” หมายถึง การเฆี่ยนตี เกาะโบย เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตสถานที่แห่งนั้นเคยเป็นสถานที่ทำโทษสำหรับนักโทษ ซึ่งใช้การเฆี่ยนตีด้วยหวาย เพื่อเป็นการลงโทษ เพราะสมัยก่อนยังไม่มีคุกที่ใช้กักขังผู้กระทำความผิด คนที่เป็นผู้นำในสมัยนั้นจึงใช้วิธีการเฆี่ยนหรือการโบยแทนการกักขัง ซึ่งจะพานักโทษที่กระทำความผิดไปลงโทษที่เกาะ แสดงให้เห็นว่าการที่ผู้นำพานักโทษไปโบยที่เกาะแห่งนั้นเนื่องจากเป็นเกาะที่ห่างไกลออกไปจากอาณาเขตหมู่บ้านเป็นการกระทำเพื่อไม่ให้คนในหมู่บ้านเห็นเป็นแบบอย่างของความรุนแรง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า เกาะโบย

(นายสุอีด ภิญโญ 2563, สัมภาษณ์)

นาบ้านร้าง

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “นาบ้านร้าง” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึงลักษณะของทุ่งนา คำว่า “บ้านร้าง” หมายถึง หมู่บ้านที่ไม่มีผู้คนอาศัย นาบ้านร้าง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตสถานที่แห่งนั้นเคยมีผู้คนอาศัยอยู่เพราะมีผืนนาที่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำไร่ ทำสวน แต่มีช่วงหนึ่งที่มีโรคไข้น้ำ หรือไข้ทรพิษระบาดหนักขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยลักษณะพื้นที่ความห่างไกลของหมู่บ้านตรงนี้ ที่ยากต่อการเดินทาง และการติดต่อไปยังคน อื่น ๆ เมื่อมีคนที่เป็นโรคนี้ในหมู่บ้านจะไม่มียารักษาให้หายได้เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ คนป่วยเริ่มเยอะขึ้น คนที่ยังอยู่พื้นที่ตรงนั้นต้องรีบหาทางหนีออกมาจากหมู่บ้านตรงนั้นเพื่อหนีโรคไข้น้ำ หรือไข้ทรพิษ และบริเวณพื้นที่หมู่บ้านตรงนั้นก็ไม่มีใครอาศัยอยู่อีกเลย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาบ้านร้าง

(นายสุอีด ภิญโญ 2563, สัมภาษณ์)

 

สนามเป้า
หมู่ที่ 7
ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“สนามเป้า” มีที่มาจาก คำว่า “สนามเป้า” หมายถึง ลานกว้างที่ใช้สำหรับการฝึกหัด  ต่าง ๆ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตสถานที่แห่งนั้นเคยมีชาวบ้านไปฝึกซ้อมการยิงเป้า หรือยิงธนูให้เกิดความแม่นยำ เพราะในสมัยนั้นยังมีการสู้รบและการทำสงคราม ชาวบ้านในละแวกนั้นจึงต้องรู้จักวิธีการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัว ด้วยกากออกมาฝึกหัดความคล่องแคล่วของตัวเอง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า สนามเป้า

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

 

เกาะเหลาลาดิง
เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“เกาะเหลาลาดิง” มีที่มาจาก คำว่า “เหลา” และคำว่า “ปุเลา”มาจากภาษามลายู แปลว่า เกาะ คำว่า “ลาดิง” มาจากภาษามลายู แปลว่า ดาบ เกาะเหลาลาดิง เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตสถานที่แห่งนั้นเคยมีชาวบ้านไปเจอดาบบนเกาะแห่งนั้น จึงทำให้ผู้คนสันนิษฐานว่าในสมัยก่อนที่มีการสู้รบทำศึกสงครามตรั้งนั้นอาจมีการนำอาวุธไปเก็บไว้ที่เกาะแห่งนั้นเพื่อความปลอดภัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกาะแห่งนั้นเหมาะแก่การเก็บสิ่งของที่มีค่าไว้ได้เนื่องจากเป็นเกาะที่อยู่ห่างออกไปจากอาณาเขตที่ผู้คนอาศัยอยู่ เนื่องด้วยอิทธิพลของภาษามลายู คือ คำว่า ลาดิง แปลว่า ดาบ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นโดยใช้ชื่อที่มีภาษามลายูว่า เกาะเหลาลาดิง

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

 

 

บ้านทับกัด

หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “บ้านทับกัด” มีที่มาจาก “ทับ” หมายถึง ที่พักหรือที่อยู่อาศัย ในอดีตนั้นเคยมีชาวจีนมาตั้งทัพอยู่เป็นครอบครัว และคำว่า “กัด” หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง “บ้านทับกัด” เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามการประกอบอาชีพ เนื่องจากพื้นที่บริเวณแห่งนั้นในสมัยอดีต มีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่หลายครัวเรือน โดยใช้เส้นทางการเดินเรือมาที่อำเภอเกาะยาว จากนั้นเมื่อมาถึงก็ได้เห็นสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต พวกเขาจึงได้ตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณนั้น จนกลายมาเป็นหมู่บ้านที่มีแต่ชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ในขณะนั้น ซึ่งลักษณะบ้านเรือนของชาวจีนจะเป็นบ้านทรงยกสูงสองชั้น เนื่องจากชาวจีนค่อนข้างจะเป็นคนที่มีฐานะและบางคนก็ร่ำรวย แต่บริเวณนั้นไม่มีป่าโกงกางเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง แต่รอบ ๆ บริเวณหาดทับกัดก็จะมีทิวต้นสนสวยงามที่เหมาะแก่การมาท่องเที่ยวหรือพักผ่อนด้วยสภาพแวดล้อมรอบข้างส่วนใหญ่ของชุมชนอำเภอเกาะยาว ผู้คนที่อาศัยอยู่นั้นก็จะต้องประกอบอาชีพที่มีความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการออกเดินเรือประมง การหาหอย การจับปู เป็นต้น

          ในการจับปลามีเครื่องมืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะต้องใช้ในขณะที่ประกอบอาชีพ คือ “กัด” ซึ่งเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ดักจับปลา หรือใช้ในการวางอวนจับปลา ใช้สำหรับวางจับปลาอวนลอย ที่จะต้องใช้เรือลำใหญ่เพื่อที่จะออกไปวางอวนจับปลาที่ฝั่งแถบทะเลนอกใกล้ ๆ ฝั่งของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งการออกเรือประมงนี้ไม่ใช่ใช้จับปลาแค่ในอาณาบริเวณอำเภอเกาะยาวเท่านั้น เนื่องจากชาวจีนที่เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในขณะนั้นเขามีเรือใหญ่เป็นของตนเองและในเรือหนึ่งลำนั้น ก็จะทำงานร่วมกันหลายคนล้วนแล้วก็เป็นเชื้อสายเดียวกัน เมื่อมีการดำรงชีพของชาวจีนเข้ามาอย่างกว้างขวางขึ้น จึงทำให้เกิดคุณค่าของนามสถานที่มีการนำชื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพมาตั้งชื่อนามสถานแห่งนี้ คือ “บ้านทับกัด” อีกทั้งยังมีการรับวัฒนธรรมทางภาษาที่เป็นภาษาจีนเข้ามาใช้ในการตั้งชื่อของหลุมฝังศพ คือ บ่องจีน หรือสุสานของชาวจีน

(นายจ๋า ภิญโญ 2562, สัมภาษณ์)

 

เกาะนัก

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“เกาะนัก” มีที่มาจาก คำว่า “เกาะ” หมายถึง ลักษณะของพื้นที่ซึ่งมีพื้นน้ำล้อมรอบ    คำว่า “พนัก” หมายถึง สถานที่พักผ่อน เกาะนัก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามการประกอบอาชีพ เนื่องจากลักษณะสภาพแวดล้อมของพื้นที่ตรงนั้นเป็นจุดที่สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนเนื่องจากเป็นสถานที่ที่ชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้ามาพักผ่อนเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติประกอบกับเป็นเกาะที่สวยงาม

(นายเดชา เริงสมุทร2562, สัมภาษณ์)

 

บ้านช่องหลาด

หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

                     “บ้านช่องหลาด” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีผู้คนอาศัย คำว่า “ช่อง” หมายถึง ช่องทางที่ใช้เดินทางได้ คำว่า “หลาด” ในความหมายของชาวบ้านมี 2 ความหมาย คือ ประการที่หนึ่ง คือ มุ ประการที่สอง คือ เส้นทางที่ใช้ไปตลาด และในความหมายของประการที่สองถ้าเกิดเป็นช่วงที่น้ำลดระดับลงชาวบ้านจะเรียกว่าช่องหลาดแห้ง ซึ่งในความหมายของชาวบ้าน คือ เส้นทางที่ใช้เดินทางไปจังหวัดภูเก็ต บ้านช่องหลาด เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามการประกอบอาชีพซึ่งจะอธิบายความหมายของคำว่าช่องหลาด ดังนี้

                       ช่องหลาดที่ใช้อธิบายประการแรก คือ ด้วยลักษณะพื้นที่บริเวณแห่งนั้นเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนใช้ มุ ซึ่ง มุเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดักปลาชนิดหนึ่งเป็นช่องทางที่ใช้เพื่อให้ปลาเข้าไปติดไซ ซึ่ง ไซเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดักปลาชนิดหนึ่งเช่นเดียวกัน เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตด้วยการประกอบอาชีพประมง                  

                        ช่องหลาดที่ใช้ในการอธิบายประการที่สอง คือ หลาด ที่ชาวบ้านหมายถึง คือ ตลาด ซึ่งในความหมายของชาวบ้าน คือ จังหวัดภูเก็ตเมื่อกล่าวโดยรวม คือ ช่องทางที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากลักษณะเส้นทางแห่งนี้เป็นเส้นทางที่เชื่อมการเดินเรือที่ชาวบ้านใช้เดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ต แต่ถ้าหากในช่วงที่ระดับน้ำลดลงจะไม่สามารถใช้ช่องทางนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกตามสภาพพื้นที่เมื่อน้ำลดระดับว่า ช่องหลาดแห้ง หรือบ้านช่องหลาด

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านท่าเรือ

หมู่ที่ 4 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“บ้านท่าเรือ” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีผู้คนอาศัย คำว่า “ท่าเรือ” หมายถึง สถานที่จอดเรือของชาวบ้าน และเป็นท่าเรือที่ก่อสร้างเป็นที่แรก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามการประกอบอาชีพ เนื่องจากพื้นที่บริเวณแห่งนั้นเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนใช้สำหรับการเดินทางสัญจรไม่ว่าจะใช้เป็นท่าสำหรับจอดเรือ เนื่องจากบ้านท่าเรือแห่งนั้นถูกสร้างเป็นท่าเรือแห่งแรกเพราะท่าเรือมีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพของผู้คนในชุมชนโดยการใช้เรือเป็นยานพาหนะที่สำคัญในการประชีพประมง ทั้งในอดีตและปัจจุบันท่าเรือแห่งนั้นก็ยังมีความสำคัญกับผู้คนในชุมชนตลอดมา ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านท่าเรือ

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี2563, สัมภาษณ์)

 

นาหลุมถ่าน

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “นาหลุมถ่าน” มีที่มาจาก คำว่า “นา” หมายถึง ลักษณะของทุ่งนา คำว่า “หลุมถ่าน” หมายถึง การประกอบอาชีพของคนในสมัยก่อนนาหลุมถ่าน เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามการประกอบอาชีพ เนื่องจากลักษณะสภาพแวดล้อมใกล้ ๆ ของพื้นที่ตรงนั้นอยู่ใกล้กับผืนนาของชาวบ้าน ในสมัยนั้นมีกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนได้เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ตรงนั้นเพื่อประกอบอาชีพ โดยเริ่มจากการสร้างหลุมถ่านขึ้นเพื่อทำการเผ่าถ่านแล้วส่งออกไปยังจังหวัดภูเก็ต โดยการใช้เรือใบซึ่งในการบรรทุกด้วยเรือใบพวกเขามีวิธีการที่จะถ่วงน้ำหนักของเรือไม่ให้เรือล่มด้วยการ ใช้ขี้แร่ หรือที่เรียกว่าขี้ตะกรัน เมื่อคนไทยเชื้อสายจีนเข้ามาอยู่ก่อน ระยะหลังเริ่มมีบุคคลอื่นเข้ามาอยู่ร่วมในหมู่บ้านแห่งนั้นเช่นกัน จึงทำให้คนที่เข้าไปในภายหลังเห็นว่าบริเวณนั้นยังมีร่องรอยจากการประกอบอาชีพเผ่าถ่านของชาวจีนที่เคยตั้งถิ่นฐานบริเวณนั้นอยู่ก่อนด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนในชุมชนเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า นาหลุมถ่าน

(นายจ๋า ภิญโญ 2563, สัมภาษณ์)

ท่ามาเนาะ

หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

            “ท่ามาเนาะ” มีที่มาจาก คำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือ คำว่า มาเนาะ หมายถึงนก ตามศัพท์ของชาวมอแกน (น้ำเค็ม)  ท่ามาเนาะ เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามกลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากลักษณะของความเป็นท่าเรือที่มีมาตั้งแต่ในสมัยอดีตแต่ในสมัยอดีตพื้นที่ตรงนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้ที่อยู่ชายฝั่งทะเล ซึ่งนับได้ว่าเหมาะแก่การมาสร้างเป็นที่พักอาศัยเนื่องจากง่ายต่อการเดินทางเพราะบริเวณพื้นที่ตรงนั้นอยู่ติดกับท่าเรือ ด้วยลักษณะความสมบูรณ์ของพื้นที่ดังกล่าวทำให้มีกลุ่มคนบางชนชาติอพยพเข้ามาอยู่อาศัยซึ่งบริเวณตรงนั้นเดิมทีเป็นพื้นที่ชุมชนของชาวมอแกน ซึ่งมีระยะความกว้างของพื้นที่ตั้งแต่ท่าเรือแห่งนั้นไปจนถึงคลองสุขา เมื่อมีชาวมอแกนเข้ามาสร้างเป็นชุมชนที่นั่นกลุ่มชาวมอรแกนก็มีผู้นำไว้สำหรับเคารพนับถือเป็นผู้อาวุโส ชื่อว่ามะหนอก ด้วยเหตุนี้จึงเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ท่ามาเนาะ

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

อ่าวมอญ

หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

อ่าวมอญ” มีที่มาจาก คำว่า อ่าว หมายถึง ลักษณะของชายหาดที่มีลักษณะทอดยาว และมอญมีที่มาจากมอญ หมายถึง ชาวมอญที่เดินทางเข้ามาที่อ่าวแห่งนี้ แล้วเมื่อเวลาผ่านไปเขาก็เสียชีวิตลงที่อ่าวแห่งนี้“อ่าวมอญ” เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามกลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากลักษณะของความเป็นอ่าวที่เหมือนกับอ่าวในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ที่สามารถตั้งที่อยู่อาศัยได้ ทำให้มีกลุ่มคนบางชนชาติอพยพไปอาศัยอยู่ นั่นคือ ชาวมอญ เมื่อเขาใช้ชีวิตอยู่ในเกาะแห่งนี้เหมือนกับคนธรรมดาทั่วไปด้วยการออกเดินเรือประมงเพื่อหาเลี้ยงชีพเช่นเดียวกัน แต่ด้วยความเป็นกลุ่มชนอื่นการคลุกคลีกับชาวบ้านดั้งเดิมก็มีน้อยเนื่องจากภาษาที่ใช้ต่างกัน จึงทำให้การสื่อสารไม่สามารถที่จะสื่อสารให้เข้าใจต่อกันได้ แต่ด้วยความเป็นมิตรไมตรีของชาวอำเภอเกาะยาวนั้นไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนชาติใดที่เข้ามาอยู่ก็จะไม่มีการระรานผู้อื่นให้เดือดร้อน เพราะชาวบ้านที่นั่นชอบช่วยเหลือผู้อื่นในยามตกทุกข์ได้ยาก เพื่อต้องการให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอ่าวมอญแห่งนี้ คือ เคยมีชาวมอญที่อาศัยอยู่ที่อ่าวได้เสียชีวิตลง อาจด้วยสาเหตุจากการเป็นโรคแล้วไม่มียารักษาหรือไม่มีการป้องกันที่ดีเนื่องจากในสมัยก่อนผู้คนก็ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องยาสมุนไพรหรือยารักษาโรค ถ้าหากป่วยไม่สบายขึ้นมาก็ยากที่จะกลับมาหายเป็นปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวมอญที่เข้ามานั้นเสียชีวิต แต่บริเวณแห่งนี้ไม่มีสถานที่ฝังศพ จึงทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นนำร่างของชาวมอญไปฝังไว้อีกที่หนึ่ง นั่นคือบริเวณ อ่าวต้นจิก หลังจากนั้นมาชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์จึงตั้งชื่อตามกลุ่มชาติพันธุ์ คือ “อ่าวมอญ” เนื่องจากเป็นอ่าวที่มีชาวมอญเสียชีวิตที่นั่น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ที่มีการเข้ามาของกลุ่มชนชาวมอญ

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

ท่าเจ้าหาย

หมู่ที่ 4 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

  “ท่าเจ้าหงาย” มีที่มาจาก คำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือ คำว่า “เจ้าหาย” หมายถึง กลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ครั้นสมัยก่อน “ท่าเจ้าหาย”เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามกลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากในสมัยก่อนคนจีนมีการประกอบอาชีพส่งออกถ่านไปยัง จังหวัดภูเก็ต เพราะพื้นที่แห่งนี้มีคนจีนอาศัยอยู่ก่อนเป็นจำนวนมาก ซึ่งการเดินทางโดยการใช้เรือท้ายเป็ด (เรือกอจ๊าน) แจวไปมาจากชุมชนทุ่งคามายังเกาะยาว อยู่มาวันหนึ่งมีคนต้องการเจอเจ้าของท่าแห่งนั้นปรากฏว่าไม่เจอใครอยู่ในพื้นที่นั้น ชาวบ้านจึงระดมคนกันออกตามหาแต่ก็ยังหาไม่เจอ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงตั้งชื่อสถานที่ตรงนี้ว่า ท่าเจ้าหาย

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

คลองท่าเจ้าหลุย

หมู่ที่ 2 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

“คลองท่าเจ้าหลุย” มีที่มาจาก คำว่า “คลอง” หมายถึง เส้นทางไหลผ่านที่เป็นที่มีลักษณะเป็นร่องน้ำ คำว่า “ท่า” หมายถึง ท่าเรือ คำว่า “เจ้าหลุย” หมายถึง คนไทยเชื้อสายจีนที่ชื่อว่าหลุย “คลองท่าเจ้าหลุย”เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามกลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากชื่อลำคลองแห่งนั้นได้ถูกตั้งชื่อตามชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนที่ชื่อว่าหลุย แซ่เจียง ซึ่งเดินทางโดยการนำเรือท้ายเป็ดจากชุมชนทุ่งคา หรือในปัจจุบันเรียกว่า จังหวัดภูเก็ต แจวเข้ามาจอดเพื่อบรรทุกถ่าน โดยที่เรือที่ใช้ในการเดินทางนั้นจะใช้การบรรทุกขี้ดินตะกรันถ่วงเรือมาทิ้งไว้บริเวณปากคลอง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงใช้ชื่อของเจ้าหลุยมาตั้งเป็นชื่อสถานที่เป็น “คลองท่าเจ้าหลุย”

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

 

บ้านทับแขก

หมู่ที่ 2 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

           “บ้านทับแขก” มีที่มาจาก คำว่า “บ้าน” หมายถึง ชุมชนที่มีผู้คนอาศัยคำว่า “ทับ” หมายถึง ที่พัก คำว่า “แขก” หมายถึง ชาวมุสลิม บ้านทับแขก เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามกลุ่มชาติพันธุ์เนื่องจากสมัยก่อนพื้นที่บริเวณตรงนี้เป็นสถานที่ที่ชาวมุสลิมเข้ามาพักอาศัย ลักษณะรอบ ๆ ของบ้านทับแขกจะเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะที่เป็นชายหาด และมีอ่าวที่ทอดยาวสวยงาม เหมาะแก่ไปการท่องเที่ยว เพราะมีชายหาดที่สวยงามอยู่ในบริเวณบ้านทับแขก บ้านทับแขกบริเวณตรงนี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนแขกดั้งเดิม หรือชาวมุสลิมดั้งเดิมที่อพยพมาจากทางเรือเพื่อต้องการเดินทางเข้ามาในพื้นที่อำเภอเกาะยาว มาสร้างทัพที่พักอาศัยในพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งแขกที่มาตั้งที่อยู่นั้นไม่ใช่เป็นแขกบ้านแขกเมืองที่เข้ามาท่องเที่ยวแต่เป็นแขกที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่ล่องเรือมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ตรงนั้นจึงทำให้ชาวบ้านเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า บ้านทับแขก

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี 2563, สัมภาษณ์)

เกาะเหลาอันตู

เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

 “เกาะเหลาอันตู” มีที่มาจาก คำว่า “เหลา” ที่มาจาก ภาษามลายูแปลว่า เกาะ “อันตู” ที่มาจากภาษามลายูแปลว่า ผี หรือชิน เนื่องจากเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่มีผีอยู่“เกาะเหลาอันตู” เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามความเชื่อ เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่เป็นเกาะและไม่ได้เป็นเกาะที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเหมือนเกาะอื่น ๆ จึงทำให้กลายเป็นเกาะที่น่ากลัว ผู้คนไม่ได้ให้ความนิยมกับเกาะแห่งนี้ แต่เกาะนี้เป็นทางผ่านสำหรับการสัญจรในการการออกเดินเรือประมงของชาวบ้าน เนื่องจากเป็นเกาะที่ต้องผ่านเมื่อต้องการเดินเรือประมง บางครั้งเมื่อเกิดมรสุมในขณะที่กำลังอยู่กลางทะเลนั้น ชาวบ้านที่เป็นชาวประมงโดยแท้จริงเขาจะรู้วิธีการป้องกันตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยจากมรสุมต่าง ๆ โดยการเข้าไปหาที่พักหลบชั่วคราวในบริเวณที่เป็นเกาะ พอที่จะสามารถจอดพักเรือก่อนได้ แล้วค่อยออกเรือไปต่อเมื่อทุกอย่างกลับเป็นปกติ ด้วยเหตุนี้เมื่อมีชาวบ้านที่เข้าไปพักที่เกาะแห่งนี้ หรือเดินเรือผ่านมักจะเจอกับวิญญาณ หรือชิน อยู่ที่เกาะแห่งนี้ บางครั้งไม่ได้มาในรูปแบบของผีอย่างชัดเจนแต่อาจมาได้หลายรูปแบบ เช่น ผีรังสวน ผีนางสวน หรือ ผีหลังกลวง เพราะด้านหน้าของผีตนนี้จะมีลักษณะสวย แต่ด้านหลังว่างกลวง แต่มีกิ้งกืออยู่ ด้วยเหตุนี้เมื่อชาวประมงเจอวิญญาณ หรือชิน ชาวประมงก็จะต้องมีการขอดุอาอ์ (ขอพร) จากพระผู้เป็นเจ้าให้คุ้มครองตนเอง ก่อนที่จะออกเดินเรือโดยการละหมาดเพื่อให้ตนเองได้รู้สึกปลอดภัยขณะออกไปประกอบอาชีพอยู่ท่ามกลางทะเล ซึ่งสามารถเจอกับสิ่งที่ไม่สามารถรับรู้ได้ล่วงหน้าตลอดเวลา แต่สิ่งที่จะช่วยได้คือความดีที่ปฏิบัติและนับถือ จึงทำให้การตั้งชื่อนามสถานแห่งนี้เกิดการตั้งชื่อตามความเชื่อ คือ “เกาะเหลาอันตู” อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของนามสถานที่มีการรับวัฒนธรรมทางภาษาที่เป็นภาษามลายูเข้ามาเกี่ยวข้องในการตั้งชื่อนามสถานอีกด้วย และยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของศาสนาที่เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์

(นายเดชา เริงสมุทร 2563, สัมภาษณ์)

 

แหลมหัวล้าน
เป็นเกาะบริวารในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

   “แหลมหัวล้าน” มีที่มาจาก คำว่า “แหลม” หมายถึง พื้นดินที่ยื่นลงไปในทะเลเป็นหัวแหลมของอำเภอเกาะยาว ซึ่งอยู่ด้านล่างสุดไม่มีต้นไม้อยู่บนบริเวณนี้เลยประกอบด้วยมีภูเขาที่เป็นลักษณะไม่มีพืชพรรณไม้เจริญเติบโตอยู่เป็นนามสถานที่ตั้งชื่อตามความเชื่อ เนื่องจากชาวบ้านยึดว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นหัวแหลมของเกาะยาว ซึ่งที่อยู่ด้านล่างสุดไม่มีต้นไม้อยู่บนบริเวณนี้ ส่วนด้านล่างจะมีถ้ำ ในสมัยก่อนผู้คนจะบูชาเจ้าที่ เนื่องจากมีเจ้าที่อยู่ตรงนั้นชื่อว่าโต๊ะแหลมหัวล้าน และมีถ้ำค้างคาวอยู่บริเวณนี้ด้วย หากมีคนลงไปในถ้ำแห่งนี้จะไม่สามารถขึ้นกลับมาได้ ด้วยเหตุนี้ในสมัยเมื่อก่อนเมื่อมีการออกเดินเรือไปหาปลาเขาจะต้องบนบานศาลกล่าวก่อนเพื่อขอให้ตนเองเดินทางไปกลับอย่างปลอดภัย ทำมาหากินได้ดี ในเมื่อก่อนเคยมีโจรเดินทางเข้ามาในหมู่บ้านผ่านการล่องเรือ แต่ก็มีโต๊ะแหลมหัวล้านคอยดูแลรักษาจึงทำให้เรือของโจรเข้ามาไม่ได้ แล้วมีเหตุการณ์อุบัติเหตุเกิดขึ้นบางครั้งก็ไปชนโขดหินบ้างจนทำให้เรือมีปัญหา ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า “แหลมหัวล้าน”

(ผอ.ประพัทธ์ วิจิตรนาวี2563, สัมภาษณ์)

 

 

 

นามานุกรม

 

จ๋า ภิญโญ อายุ 63 ปี อาชีพ เกษตรกร เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กนกวรรณ นาคสง่า เป็นผู้สัมภาษณ์,

ณ บ้านเลขที่ 49/3 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 82161.

เดชา เริงสมุทร อายุ 78 ปี อาชีพ เกษตรกร เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กนกวรรณ นาคสง่า เป็นผู้สัมภาษณ์,

ณ บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา82160.

ประพัทธ์ วิจิตรนาวี อายุ 60 ปี อาชีพ เกษตรกร เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กนกวรรณ นาคสง่า เป็นผู้สัมภาษณ์,

ณ บ้านเลขที่ 89 หมู่ที่ 6 ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 38000.

วินัย เปกะมล อายุ 47 ปี อาชีพ เกษตรกร เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กนกวรรณ นาคสง่า เป็นผู้สัมภาษณ์,

ณ บ้านเลขที่ 76/4 หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 82160.

สุอีด ภิญโญ อายุ 65 ปี อาชีพ เกษตรกร เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กนกวรรณ นาคสง่า เป็นผู้สัมภาษณ์,

ณ บ้านเลขที่ 49/3 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อยอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 82161.

เสรี เริงสมุทร อายุ 57 ปี อาชีพ เกษตรกร 65 เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กนกวรรณ นาคสง่า เป็นผู้สัมภาษณ์,

ณ บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา82160.

อุดม กูลดี อายุ 54 ปี อาชีพ ข้าราชการ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กนกวรรณ นาคสง่า เป็นผู้สัมภาษณ์,

ณ บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 6ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 83000.

 

 

กนกวรรณ นาคสง่า

วัน เดือน ปีเกิด            20 พฤษภาคม 2541

ภูมิลำเนา                    110 หมู่ที่ 9 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล 9110

ที่อยู่ปัจจุบัน               11/81 หมู่ที่ 3 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง

                               จังหวัดภูเก็ต 83000

ประวัติการศึกษา

ระดับประถมศึกษา        โรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์ 2550จังหวัดสตูล

ระดับมัธยมศึกษา          โรงเรียนกำแพงวิทยา จังหวัดสตูล

พ.ศ.๒๕๖๓                 กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย

                                      คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

                                      มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
***
คติชนวิทยา  
คติชนวิทยา

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 02 มกราคม 2021 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1991
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2873
mod_vvisit_counterทั้งหมด11411688