Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ พมร.
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ พมร. PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 08 สิงหาคม 2009

 

อยากเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ กะทู้ ภูเก็ต

รายละเอียด

 

เทศบาลตำบลกะทู้กำลังสร้างพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ท่านอยู่ในแวดวงโดยตรงในกิจการเหมืองแร่
จึงขอความคิดความอ่านจากท่าน ช่วยสำแดงความเห็นเพื่อนำไปประกอบการจัดนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่
(KATHU MINING MUSEUM) ดูเพิ่มเติมใน http://www.phuketdata.net/index.php?op=prog&mdfd=contents&act=2&ID=50
หรือใส่คำค้นในเมนูค้นหาของ www.phuketdata.net

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

 

โดย : sommai [ 2007-01-20 07:02:55 ] เบอร์ติดต่อ : 08-1125-2548 61.47.109.97 DELETE    แจ้งลบกระทู้

( 1 )

ความคิดเห็นที่ : 1

ค้นหาข้อมูล
ระบุคำค้นหา

ใน http://www.phuketdata.net
เช่น

ร่วมด้วยช่วยคิด (เลือก บทความ)
เหมืองแร่ (เลือก ภาพ หรือ บทความ)
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (เลือก ภาพ หรือ บทความ)

ช่วยกันหน่อยนะขอรับเพื่อเป็นสมบัติของพวกเรา และเยาวชนผู้น่ารักของพวกเรา

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์


( 1 )

ความคิดเห็นที่ : 1

ค้นหาข้อมูล
ระบุคำค้นหา

ใน http://www.phuketdata.net
เช่น

ร่วมด้วยช่วยคิด (เลือก บทความ)
เหมืองแร่ (เลือก ภาพ หรือ บทความ)
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (เลือก ภาพ หรือ บทความ)

ช่วยกันหน่อยนะขอรับเพื่อเป็นสมบัติของพวกเรา และเยาวชนผู้น่ารักของพวกเรา

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

โดย : sommai [ 2007-01-20 07:20:19 ] เบอร์ติดต่อ : 08-1125-2549 61.47.109.97 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 2

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ กะทู้ ภูเก็ต มี web แล้วคือ http://www.kathutin.comมีไว้เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้สนใจกิจการเหมืองได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย ตั้งใจว่าหากมีผู้สนใจ
จะได้นำสาระทุกอย่างในกิจการเหมืองแร่ออกเผยแพร่ คือภาพการทำเหมืองทุกรูปแบบ
จดหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเหมืองแร่ เช่นจดหมายซื้อขายดีบุกของท้าวเทพกระษัตรี
จดหมายเหตุการตั้งชื่อนามสกุลในมณฑลภูเก็จ เป็นต้น ช่วยกันใช้
ช่วยกันเสนอแนะให้เป็นคลังข้อมูลของชาวเหมือง E-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

โดย : sommai [ 2007-08-14 14:36:06 ] เบอร์ติดต่อ : 083-1025-606 125.27.154.170 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 3

แนวการจัดนิทรรศการพิพธภัณฑ์เหมืองแร่ กะทู้ มีทั้ง Indoor และ Outdoor

INDOOR
ห้องรับแขกนายหัวเหมือง
กำเนิดโลก
กำเนิดแร่
กำเนิดฅน
ฅนพบแร่
ฅนใช้แร่
ฅนค้นหาแร่
เหมืองแล่น
เหมืองรู
เหมืองหาบ
เหมืองฉีด
เหมืองสูบ
เหมืองเรือขุด
เหมืองแพดูดแร่
การถลุงแร่
ผลิตภัณฑ์จากแร่
การเดินทางของผู้แสวงหาแร่
ท่าเรือ
บันส้าน ตลาดภูเก็จ
พบเหมืองพบรัก
บาบ๋า
นายหัวเหมือง
กุลีเหมือง
อ๊าม
กินผัก
ห้องจดหมายเหตุ
ห้องสมุด
E-Museum

OUTDOOR
เหมืองเรือขุดแร่
เหมืองรู
เหมืองอุโมงค์
เหมืองสูบ
เหมืองฉีด

ช่วยเสนอเพิ่มเติมอีกนะขอรับ

โดย : sommai [ 2007-08-15 01:15:34 ] เบอร์ติดต่อ : 083-1025-606 125.27.156.172 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 4

๑. พธม.ต้องการนักวิทยาศาสตร์ วท.บ. วท.ม. เพื่อช่วยออกแบบและจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
ดูแลห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ช่วยเสนอแนะ ช่วยจัดซื้อจัดจ้างการทำงานทางวิทยาศาสตร์ ใน พธม.
ต้องการให้ช่วยยกระดับการเรียนการสอนให้เด็กไทยมีความสามารถทางวิทยาศาสตร์
ได้เสนอจัดห้องปฏิบัติการทางวิทย์ ให้มีเครื่องชั่ง เครื่องวัดขนาด ที่มีความเร็วสูง
การพิสูจน์ตรวจสอบหิน ดิน แร่ อัญมณี การนำหิน ดิน แร่ ไปใช้ประโยชน์ มีเครื่องมือตรวจสอบอัญมณี ใน
พธม.มีพืชพรรณไม้หลายอย่าง ต้องการให้นักวิทย์สำรวจตรวจสอบ ควบคุมดูแลการกำเนิดโลก(สุริยจักรวาล
ดาวเคราะห์) กำเนิดแร่ ภูเขาไฟ หินหนืด ลาวา หินแกรนิต หินตะกอน หินแปร แผ่นดินไหว สึนามิ กำเนิดฅน
ฅนพบแร่ ค้นหาแร่ สำรวจตรวจสอบแร่

๒. พธม.เสนอให้สร้างห้องน้ำเพิ่มอีก ๑๒๐ ที่ ให้มากพอที่จะให้นักเรียนมาอยู่ค่ายทางวิทย์
กลางวันไปลุยดูสรรพพืช( http://www.kathutin.com/main/index.php?option=com_easygallery&act=categories&cid=34&Itemid=2 )สรรพสัตว์ชายทะเล สรรพสัตว์พืช ป่าชายเลน สรรพสัตว์และพืชในทะเลน้ำตื้น
กลางคืนมาเรียนรู้เรื่องดาว การพ่นลาวาของภูเขาไฟ กำเนิดโลก กำเนิดแร่ กำเนิดฅน ฅนพบแร่

๓. ต้องการนักการวัดผลทางการศึกษา เพื่อออกแบบข้อทดสอบให้มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบนักเรียนได้อย่างแม่นยำ
สร้างข้อทดสอบตรวจสอบความสามารถเพื่อช่วยการเรียนรู้

๔. โปรดติดต่อ สอบถาม อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

๕. ดูสาระ พธม. ใน http://www.phuketdata.net

โดย : sommai [ 2007-08-16 01:33:03 ] เบอร์ติดต่อ : 083-1025-606 125.27.154.236 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 5

ร่วมด้วยช่วยคิด
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ดีบุก กะทู้ ภูเก็ต


ขุมเหมืองนี้มีดีบุก เป็นป้ายแรก


ท่านรู้ได้อย่างไรว่ามีดีบุก? เป็นป้ายที่ ๒


ในอังมอเหลาช่วยท่านได้? เป็นป้ายที่ ๓



การตั้งคำถาม เป็นการช่วยสมองให้คิดหาคำตอบ
เป็นการกระตุ้นอินทรีย์ให้เตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งที่ตนคิดเอง
เพื่อนเป็นคนบอกหรือพิพิธภัณฑ์เป็นผู้บอก คำตอบถูกหรือผิดยังไม่สำคัญเท่าการที่ทำให้คนได้คิด
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ก็จักใช้แนวคิดเป็นหลักคิดเพื่อก่อให้เกิดแสงสว่างทางปัญญาทั้งความรู้และบันเทิงรื่น
เริงอารมณ์

การตั้งคำถาม เป็นการช่วยสมองให้คิดหาคำตอบ
เป็นการกระตุ้นอินทรีย์ให้เตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งที่ตนคิดเอง
เพื่อนเป็นคนบอกหรือพิพิธภัณฑ์เป็นผู้บอก คำตอบถูกหรือผิดยังไม่สำคัญเท่าการที่ทำให้คนได้คิด
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ก็จักใช้แนวคิดเป็นหลักคิดเพื่อก่อให้เกิดแสงสว่างทางปัญญาทั้งความรู้และบันเทิงรื่น
เริงอารมณ์

โสกราตีส เป็นอาจารย์ให้นักปรัชญาเพลโต้เจริญรอยตาม อริสโตเติ้ลเป็นหลานศิษย์
มีอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นเหลนศิษย์ แม้ศิษย์ หลานศิษย์และเหลนศิษย์
ไม่ได้นำหลักคิดในการตั้งคำถามไปใช้ดั่งโสกราตีส
แต่ก็ทำให้คนอีกซีกโลกรู้จักชื่อของท่านว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลก ลูกศิษย์ของโสกราตีสจำนวนมาก
เกิดการเรียนรู้จนกระทั่งพบความรู้ด้วยตนเองจากการตอบคำถามของโสกราตีสด้วยตนเอง
โสกราตีสจะไม่บอกองค์ความรู้ใด ๆ ให้ศิษย์ แม้ลูกศิษย์จะถามนำ
แต่โสกราตีสก็จะสวนถามย้อนให้ลูกศิษย์ผู้ถามตอบคำถามในขณะนั้น
การสนทนาของครูและศิษย์ต้องใช้สมองตลอดเวลา
ครูสามารถตรวจสอบความถูกต้องในองค์ความรู้ได้ทันทีที่ลูกศิษย์ตอบ เมื่อเป็นคำตอบที่ไม่ชัด
ครูก็จักป้อนคำถามเพิ่มจนศิษย์ตอบได้ถูกต้อง
ศิษย์จะได้รับความรู้ไปทันทีพร้อมการประเมินผลของครูทันทีเช่นกัน

อ่านต่อ ใน http://www.kathutin.com/main/index.php?option=com_content&task=view&id=4&Itemid=4
(copy แล้ววางลงใน address)

เรือสำเภาขนาดใหญ่ ภายในมีหุ่นบรรพชนจีนซี่โครงเป็นระนาดดุจบะกูด
ออกจากเรือที่โคลงเคลงเป็นแรมเดือนขึ้นฝั่งที่บ้านบางเหนียว มาเป็นกุลีในเหมืองหาบ
แต่งงานกับสาวไทยถิ่นมีลูกบาบ๋าหลานบาบ๋าสืบแซ่สกุล ด้วยความเป็นนักคิดประดิษฐ์ค้น
สายสกุลนี้จึงมีความสุขเป็นวิถีชีวิตชาวเหมือง หุ่นแต่ละตัว
ตั้งใจไว้ว่าจะขออนุญาตหน้าของบรรพชนเหมืองมาจำลองไว้เป็นอนุสรณ์
หุ่นแต่ละตนจักแสดงให้เห็นศิลปะของการปั้น มีเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ สายตาบ่งบอกอารมณ์
ท่าทางที่ต้องลุ้นอย่าให้มีอันเป็นไป เช่น ชายบึกบึนขนแร่ปะทะกับก้าถาว แร่ร่วงออกจากถุง
ตะแกตกใจรีบเอื้อมรับแร่ มองดูแล้วเหมือนตะแกจะร้องว่า

อ้ายหยา! หว้าม้ายซีเลี้ยวอา



ด้านนอกอังมอเหลา นอกจากจะสร้างรางเหมืองขนาดเท่าของจริงไว้ขวามืออังมอเหลา
ยังมีกลุ่มอาคารบ้านจีนมุงจาก ห้องแถวแบบจีน อังมอเหลา จัดให้เป็น "บ้านส้านในทู"
กิจกรรมอันใดที่ในทูมี ก็จักพยายามให้มี มีเจ้าหน้าที่แสดงตนเป็นชาวในทูที่ปฏิบัติงานจริงในร้านค้านั้น
ๆ ผัดบะหมี่ พาวโกปี้ใส่หงูเหล้ง ขายแก็ตเหล้งเตี๋ยว ทอดบะอีโพะ ตักถั่วแดงใส่ถ้วยโอเอ๋ว ร้องขาย
"อิ๋วจาโก๊ย ปาท่องโก๊ ต่าวกั๊วต่าวเหงกูฉ่ายโกยเตี๋ยวอา"



ท่านคิดว่าไง?


แจ้งใจส่งไปพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ สำนักงานเทศบาลตำบลกะทู้ ภูเก็ต ๘๓๑๒๐


ความสุขก็จะเป็นของท่านทันที.

โดย : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้ [ 2007-08-18 11:07:47 ] เบอร์ติดต่อ : 083-1025-606 125.27.155.128 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 6

http://www.kathutin.com/main/index.php?option=com_content&task=view&id=130&Itemid=4
ความคิดเห็นของผู้อยากเห็ฯพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ติดต่อ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

โดย : sommai [ 2007-09-01 07:17:47 ] เบอร์ติดต่อ : 0831025606 125.27.157.82 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 7

พธม.กะทู้ ประสงค์ผู้ออกแบบ DataBase เกี่ยวกับคลังข้อมูลเหมืองแร่ รายละเอียดดูใน http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=87

เสนอแนะไปที่ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

โดย : sommai [ 2007-09-16 16:31:56 ] เบอร์ติดต่อ : 0831025606 125.27.164.142 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 8

บรรณารักษ์พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ลาออกไปปฏิบัติงานที่หนังสือพิมพ์ ตำแหน่งบรรณารักษ์จึงว่างลง
ผู้ใดสนใจ โปรดติดต่อโดยด่วน และเตรียมหลักฐานคือใบคุณวุฒิ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน
เตรียมส่งใบสมัคร(ภายในเดือนตุลาคม ๒๕๕๐)ตามกำหนดประกาศสอบของเทศบาลตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ ภูเก็ต
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

โดย : sommai [ 2007-10-01 20:26:04 ] เบอร์ติดต่อ : 0831025606 61.19.65.9 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 9


พธม.กะทู้ จ้างจัดนิทรรศการ ๑๕ ล้านบาท สนใจดูรายละเอียดใน

http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=167&Itemid=4

โทร. 076 322 139 ต่อ 119

โทร. 076 321 500 ต่อ 119

E-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

โดย : sommai [ 2007-10-06 07:13:22 ] เบอร์ติดต่อ : 0-7632-2139 61.19.65.147 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 10

เทพเจ้าจีนเลาเอี๋ยเจ้าอ๊าม จัดแสดงไว้ในห้องวิถีชีวิตชาวเหมือง

โดย : sommai [ 2007-10-06 07:18:07 ] เบอร์ติดต่อ : 076321500 61.19.65.147 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 11

เลาเอี๋ยเจ้าอ๊าม ในอดีตเป็นชาวนาที่มีความซื่อสัตย์ งิ้วได้อัญเชิญเป็นครูประจำโรงงิ้ว
ชาวงิ้วให้ความเคารพ ก่อนการแสดงจะคารวะเลาเอี๋ยเจ้าอ๊ามในฐานะครูงิ้ว

โดย : sommai [ 2007-10-06 07:25:37 ] เบอร์ติดต่อ : 076 322 139 61.19.65.147 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 12

เพิ่มเรื่องเรือขุดแร่ลำแรกของโลก

เหมืองเรือขุด
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อยังทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย การปรับปรุงการปกครองต่อมาก็ได้มีส่วนทำให้การทำเหมืองแร่ดีบุกในจังหวัดภูเก็ตทันสมัย และตั้งอยู่ในระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งแม้ในปัจจุบันนี้ ก็ยากที่จะเปรียบเทียบได้
ประมาณปี ค.ศ. ๑๙๐๕ (พ.ศ. ๒๔๔๘) เมื่อได้มีการทำเหมืองหาบกันแพร่หลาย เหมืองแร่ที่อุดมสมบูรณ์ได้ร่อยหรอลงไป การทำเหมืองซึ่งเคยมีศูนย์กลางอยู่ตามลุ่มแม่น้ำถลาง ได้ย้ายมายังตำบลกะทู้ และทุ่งคา แหล่งแร่ที่สำคัญที่ไม่เคยมีการขุด ก็คือ ที่ดินในเขตศาลากลางทุ่งคา อันเป็นที่ตั้งสถานีตำรวจ ที่ทำการไปรษณีย์ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้ชักชวนให้มีการลงทุนทำเหมือง
กัปตัน เอดวาร์ด ที. ไมลส์ ชาวออสเตรเลียซึ่งได้เดินทางมาทำธุรกิจที่ปีนัง ได้รับเชิญให้มาสำรวจและมีความเห็นว่าการย้ายอาคารบ้านเรือนของทางราชการ ไม่น่าจะคุ้มกับการทำเหมืองแร่ แต่กลับไปสนใจในการทำเหมืองหาบในอ่าวทุ่งคา ซึ่งในขณะนั้นใช้ทำนบกั้นน้ำเค็มเป็นบริเวณประมาณ ๓๒๐ ไร่ เพื่อทำเหมืองหาบ และใช้คนงานหลายร้อยคนเป็นแรงงานขุด กัปตันไมลส์ เชื่อว่าแหล่งแร่ดีบุกซึ่งสะสมตามทางน้ำเดิมใต้บริเวณศาลากลางและเหมืองหาบชายฝั่ง คงจะเป็นสายออกไปในอ่าวทุ่งคา พ้นบริเวณที่มีการทำเหมืองอยู่แล้ว
ตามประวัติศาสตร์แต่ดั้งเดิม นับแต่ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งห้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๑ (ค.ศ. ๑๖๐๘) ไม่ปรากฏว่ามีชาวยุโรปเคยเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกในประเทศสยาม แต่เข้ามาเป็นคนกลางรับซื้อดีบุกไปขายเท่านั้นกัปตันไมลส์ จึงได้ทดสอบความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ในอ่าวทุ่งคาและเมื่อได้ผลยืนยันความคิดเดิมก็เริ่มดำเนินการเจรจาขอสัมปทานพิเศษ
เมื่อหม่อมฉันพบกัปตันไมลส์โล่เลียงดูได้ความว่า วิธีขุดแร่ด้วยใช้เรือขุดนั้นเขาใช้กันในตัสเมเนียหลายแห่งเป็นการใช้ได้แน่ หม่อมฉันเห็นว่าที่ในท้องทะเลอ่าวภูเก็ตมีแร่ดีบุกมาก ข้อนี้ใคร ๆ ก็รู้กันมาแต่ก่อน แต่หากไม่มีใครสามารถจะขุดได้ ทิ้งไว้ก็ไม่เป็นประโยชน์อันใด ถ้าอนุญาตให้กัปตันไมลส์ขุดสำเร็จได้ก็จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ถ้ากัปตันไมลส์ทำการไม่สำเร็จ ความเสียหายก็อยู่แต่กับตัวเขารัฐบาลไม่ต้องเสียหายอะไรด้วย เพราะฉะนั้นควรให้กัปตันไมลส์ลองขุดแร่ดีบุกในอ่าวภูเก็ตดู เมื่อกัปตันไมลส์ได้อนุญาตแล้วกลับไปหาทุนที่ออสเตรเลีย และไปว่าให้ต่อเรือขุดส่งมาคุมที่อู่ตำบลไปรในแขวงเมืองปีนัง คุมเครื่องขุดแล้วเสร็จประจวบเวลาหม่อมฉันออกมารับเสด็จสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงกลับจากยุโรปครั้งหลัง กัปตันไมลส์ได้เชิญหม่อมฉันไปทำพิธีเปิดเดินเครื่องขุดแล้วส่งเครื่องนั้นไปยังเมืองภูเก็ต เป็นเรือเครื่องขุดลำแรกที่มีทางแหลมมลายูนี้ เดิมใช้ขุดแต่ในท้องทะเล ทีหลังเกิดความคิดเอาเรือขึ้นไปขุดบนบกด้วย ขุดสระพอให้เรือลอยขุดดีบุกไปข้างหน้า เอาดินที่ขุดมาถมข้างหลัง ตัดค่าใช้จ่ายในการขุดแร่ดีบุกลงได้เป็นอันมาก (สมภพ จันทร์ประภา ข่าวสารโลหะกิจ ๒๕๐๕ หน้า ๖๕)
ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปฏิวัติครั้งใหญ่ ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ มีนายเรือออสเตรเลีย ชื่อ (CAPTAIN EDWARD T. MILES) ได้นำเรือขุดแร่ดีบุก เข้ามาเป็นลำแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ เขาได้จดทะเบียนตั้งบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ขึ้น ครั้งสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ และได้รับความสำเร็จอย่างดี จึงทำให้เกิดมีเรือขุดแร่ดีบุก มาดำเนินงานอีกหลายลำในประเทศไทย (วิชา เศรษฐบุตร ครบรอบ ๗๒ ปี กรมโลหกิจ ๒๕๐๖ หน้า ๑๗)
การที่กัปตันไมลส์ นำเรือขุดเข้ามาทำเหมืองแร่ในอ่าวทุ่งคาได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) นั้น จึงเป็นการใช้เรือขุดทำเหมืองแร่ในทะเล แห่งแรกในโลก และเป็นการเปิดเหมืองแบบใหม่ได้สำเร็จภายในระยะเวลาเพียง ๓ ปี นับตั้งแต่เริ่มสำรวจย่อมเป็นเครื่องแสดงถึงความเชื่อมั่นในความมั่นคงของบ้านเมือง และแสดงถึงประสิทธิภาพของการบริหารของรัฐบาลสยาม
ภายใน พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑) ได้มีเรือขุดเดินในทะเลขุดแร่ดีบุกอยู่ในอ่าวทุ่งคารวมถึง ๕ ลำ (ราชัน กาญจนะวณิชย์ ดีบุกกับภูเก็ตในสมัยรัตนโกสินทร์ ๑๐๐ ปี กรมทรัพยากรธรณี หน้า ๒๒๓ - ๒๒๔)
การทำเหมืองเรือขุด เป็นการทำเหมืองที่ต้องลงทุนสูงมากสำหรับเหมืองที่เปิดทำในแหล่งลานแร่ เฉพาะเรือขุดหนึ่งลำขนาดที่ขุดดินกรวดทรายได้ ๑๕๐,๐๐๐ ลูกบาศก์หลาต่อเดือน ขุดได้ลึก ๖๐ ฟุต จะมีราคาร่วม ๓๐ ล้านบาท ดังนั้นก่อนที่จะลงมือเตรียมการเพื่อเปิดทำเหมืองเรือขุด จำเป็นจะต้องมีแหล่งแร่ดีบุกในลานแร่ใหญ่พอสมควร พอที่จะเปิดทำเหมืองขุดแร่ด้วยเรือขุดได้ ๒๕ ปีเป็นอย่างน้อย แต่อาจจะลงทุนได้ต่ำกว่า ถ้าหากซื้อเรือขุดที่ใช้แล้ว
โดยที่เรือขุดสามารถขุดดินกรวดทรายได้ปริมาณสูง แหล่งแร่ดีบุกที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เช่นมีแร่ดีบุกประมาณ ๐.๒๕ ชั่ง ต่อดินกรวดทรายหนึ่งลูกบาศก์หลา ก็สามารถจะเปิดดำเนินการมีกำไรได้ แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยราคาแร่ดีบุกที่ไม่ตกต่ำไปกว่าราคาในปัจจุบัน (หาบจีนละ ๑,๘๐๐ บาท) ค่าใช้จ่ายในการทำเหมืองเรือขุดดินเฉลี่ยแล้ว ประมาณ ๒ - ๕ บาท ต่อดินกรวดทรายที่ขุดหนึ่งลูกบาศก์หลา (ไชยยุทธ ปิ่นประดับ การทำเหมืองแร่ดีบุก ศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้ ๒๕๔๐ หน้า ๗๒)
เรือขุดโดยมากจะต้องมาสร้างหรือประกอบขึ้น ณ ที่จะเปิดทำเหมือง เว้นแต่แหล่งลานแร่ที่อยู่ติดทะเล อาจจะสั่งซื้อเป็นเรือขุดที่ต่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว และใช้เรือลากจูงมาทำการขุดได้เลย ลักษณะเรือขุดเป็นโรงงานมากกว่าเรือ แต่เป็นโรงงานที่ลอยอยู่ในน้ำในอู่ที่ขุดขึ้น ส่วนสำคัญของเรือขุดได้แก่เครื่องขุดแร่อันได้แก่บันใด (Ladder) ซึ่งมีพวงลูกกระเชอเคลื่อนที่วางอยู่ ตะแกรงหมุน (Trommel) สำหรับคัดขนาดดินกรวดทราย เครื่องล้างแร่ได้แก่ จิ๊ก (Jigs) หรือรางกู้แร่ (Palongs) และรางปล่อยมูลดินทรายทิ้ง เรือตามที่กล่าวมานี้เป็นเรือขุดชนิดที่เรียกกันว่า เรือขุดใช้ลูกกระเชอ (Bucket Dredge) ซึ่งนิยมใช้ขุดแร่ดีบุก ในลานแร่ เรือขุดใช้ก้ามปู (Grab Dredge) วิธีการทำงานของเรือขุดใช้ลูกกระเชอยุ่งยากหรือซับซ้อน บันใดพวงลูกกระเชอทางหัวเรือขยับขึ้นลงได้ เพื่อให้ลูกกระเชอขุดดินกรวดทรายกะสะหรืออู่เรือขุดได้ตามระดับที่ต้องการ ดินกรวดทรายที่ลูกกระเชอขุดขึ้นมาแต่ละลูกจะถูกเทลงที่รับทางปลายด้านบนของบันใด ซึ่งเป็นที่ลูกกระเชอพลิกคว่ำเคลื่อนที่ไปใต้บันใดแบบสายพานไม่รู้จักจบ ดินกรวดทรายจากที่รองรับ (Chute) ไหลเข้าไปยังตะแกรงหมุน ซึ่งหมุนรอบช้า และมีน้ำฉีดภายในให้ดินทรายที่จับเป็นก้อนแตกออกจากกัน รูตะแกรงขนาดไม่เกิน ๑/๒ นิ้ว ส่วนที่ลอดรูตะแกรงหมุนจะลงไปสู่จิ๊ก (Jigs) ชุดแรก ซึ่งมีอยู่หลายสิบตัวทำการแยกเอาแร่ดีบุกออกจากน้ำและดินกรวดทรายที่ผ่านมาจากตะแกรงหมุน ส่วนที่ผ่านจิ๊กชุดที่จะไหลไปลงรางมูลดินทราย ไปทิ้งทางท้ายเรือเช่นเดียวกับดินหินที่ไม่ลอดตะแกรงหมุน แร่และทรายที่จิ๊กชุดแรกแยกเอาไว้นี้จะถูกส่งไปแยกที่จิ๊กชุดที่ ๒ และผลของจิ๊กชุดที่ ๒ จะถูกแยกเป็นครั้งสุดท้ายด้วยจิ๊กอีกชุดหนึ่ง ได้เป็นแร่สะอาดของเรือขุด ซึ่งจะมีแร่ดีบุกอยู่ประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ส่งไปล้างยังโรงล้างแร่ต่อไป
การเคลื่อนไหวของเรือขุดอาศัยสายลวดสลิงซึ่งมีอยู่ห้าสาย เป็นสายหัวสำหรับดึงให้เรือเดินหน้าหนึ่งสาย เป็นสายข้างขวาและซ้ายข้างละสองสาย สำหรับเคลื่อนลำเรือขุดไปทางขวาและซ้ายสายลวดสลิงเป็นลวดเหล็กกล้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ ๑/๒ นิ้ว ถึง ๒ นิ้ว ยาวเส้นละประมาณ ๑๐๐ เมตร แต่เส้นสายหัวจะต้องยาวเป็นพิเศษอย่างน้อยไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เมตร
การล้างแร่ภายในโรงล้างแร่เหมืองเรือขุด เป็นไปอย่างเดียวกับการล้างแร่ในโรงล้างแร่ของเหมืองสูบ
แหล่งแร่ดีบุกในทะเลบริเวณอ่าวหรือชายฝั่งที่น้ำไม่ลึก เรือขุดใช้ลูกกระเชอทำการขุดได้ผลดี ที่จังหวัดภูเก็ตมีเรือขุดใช้ลูกกระเชอ และเรือขุดใช้ก้ามปูทำการขุดอยู่ในทะเล ๒ ลำในระดับน้ำลึกประมาณ ๘๐ - ๑๐๐ ฟุต ปรากฏว่าทำการขุดแร่ดีบุกได้ดีทั้งสองลำ สำหรับเรือขุดก้ามปูลำนี้ได้สร้างขึ้นเป็นแบบใหม่ ไม่เหมือนเรือขุดทั่ว ๆ ไป รูปร่างเป็นเรือเดินทะเลเพราะเอาเรือบันทุกน้ำมันมาดัดแปลง ตอนหัวเรือมีก้ามปูขนาด ๔ ลูกบาศก์หลา ๒ ตัว สำหรับปล่อยลงไปงับเอาดินท้องทะเลขึ้นมา ส่วนเครื่องมือแยกแร่และการทำงานภายในเรือเป็นไปเช่นเดียวกับเรือขุดใช้ลูกกระเชอ เรือขุดใช้ก้ามปูชนิดนี้ใช้ทำการขุดแร่ในระดับน้ำลึกมากได้ และเข้าใจว่าในระดับน้ำลึกที่เรือขุดใช้ลูกกระเชอไม่สามารถขุดได้ เรือขุดลำนี้คงยังขุดได้ดี (ไชยยุทธ ปิ่นประดับ ศูนย์อนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกะทู้ ๒๕๔๐ หน้า ๗๓)
การทำเหมืองเรือขุดแร่ดีบุกเป็นของอังกฤษ และออสเตรเลีย ซึ่งขยายการลงทุนไปทั่วปักษ์ใต้ และเหมืองสูบของชาวจีนมีเปิดมากขึ้นแทนที่เหมืองปล่องและเหมืองหาบ ในการที่คนต่างชาติเข้ามาทำเหมืองมากมาย เช่นนี้ และหาคนไทยแท้ที่จะทำเหมืองได้ยาก พระบาทสมเด็จพระมหาธิราชเจ้า จึงได้มีพระบรมราชโองการสงวน บริเวณเหมืองจังหวัดชุมพรขึ้นมา มิให้มีการทำเหมืองแร่หรือสงวน บริเวณนี้ไว้ให้คนไทยในอนาคต (วิชา เศรษฐบุตร ครบรอบ ๗๒ ปี ๒๕๐๖ หน้า ๑๙)

โดย : samarin [ 2008-01-10 07:08:45 ] 125.27.163.170 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 13

http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_easygallery&act=categories&cid=23&Itemid=26

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.) กะทู้ได้รับ เพชร(Diamond)ภูเก็จ จากอาจารย์บุญกอบ อัยรักษ์

โดย : samarin [ 2008-01-10 07:16:23 ] 125.27.163.170 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 14


เพชรภูเก็จ

พมร.กะทู้ รับมอบเพชรภูเก็จ

โดย : samarin [ 2008-01-10 07:18:37 ] 125.27.163.170 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 15

ดีใจ และภูมิใจมากครับที่มีคนคอยอนุรักษ์ รักษาความเป็นไปของภูเก็จ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและร่วมอนุรักษ์ต่อไป ขอขอบพระคุณ อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มากครับ
ชัยวัฒน์ ทองเกิด (นท.451)

โดย : ซี๊ด [ 2008-01-29 12:41:35 ] 124.157.234.230 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 16

ขอบคุณอาจารย์สมหมายและคณะวิทยากรทุกท่านที่ได้กรุณาให้ความรู้และต้อนรับพวกเราชาวท้ายเหมืองวิทยาเป็นอย่างดี พวกเราสนุกและได้ความรู้มากมายจากที่นั่น
ขอบคุณค่ะ ถ้ามีโอกาสพวกเราจะไปเยี่ยมใหม่นะค่ะ
พวกเราชาวท้ายเหมืองจะเป็นกำลังใจให้เสมอสู้สู้นะค่ะ

โดย : นักเรียนโรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา [ 2008-02-13 17:22:46 ] 203.113.76.7 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 17

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ช่วยงานประจำปีท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร เพราะท้าวเทพกระษัตรี เคยเป็นนายหัวเหมืองแร่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ หลังศึกถลาง ๒๓๒๘ ท้าวเทพกระษัตรีไปทำเหมืองแร่ดีบุกที่บ้านสะปำ ได้ดีบุกนำไปแลกซื้อข้าวสารจากกัปตันฟรานซิส ไลท์ พ่อค้าชาวอังกฤษ นำข้าวสารไปเลี้ยงดูพลเมืองชาวถลาง พมร.กะทู้ ร่วมกับมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร มอบรางวัลเงินหมื่นแด่ผู้สนใจที่จะลับสมองลองปัญญา ในวันถลางชนะศึก ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑ ณ อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ใน www.chanmuk.com ผู้สนใจ โดย : samarin [ 2008-03-04 21:42:33 ] 118.173.77.189 DELETE    แจ้งลบคำตอบ


ความคิดเห็นที่ : 18

ผู้สนใจกิจการเหมืองแร่ โปรดคลิ้กตามติดปัญญาเลิศได้ที่
www.kathutin.com
มีภาพให้ท่านนำไปทำรายงานได้ซำบายนะ

โดย : samarin [ 2008-03-04 21:48:31 ] 118.173.77.189 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 19

ค้นหาข้อมูล
ระบุคำค้นหา

ใน http://www.phuketdata.net
เช่น

ร่วมด้วยช่วยคิด
เหมืองแร่
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่
บรรพชีวิน
ไม้กลายเป็นหิน
แทนทาลัม
ดีบุก
เหมืองรู

ช่วยกันหน่อยนะขอรับเพื่อเป็นสมบัติของพวกเรา และเยาวชนผู้น่ารักของพวกเรา

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

โดย : samarin [ 2008-03-04 21:54:03 ] 118.173.77.189 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 20

เปิดลับแลม่านฟ้าเกาะพญามังกรทอง


ภูเก็ต เป็นชื่อที่ใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2452 แทนชื่อภาษาไทยว่า “ภูเก็จ” (ภู หมายถึงภูเขา, จำนวนมาก; เก็จ คือรัตนะหมายถึงแก้วมีค่ายิ่ง) ซึ่งตรงกับความหมายที่ชาวทมิฬเรียกเมืองนี้ว่า “มณินครัม” ตามหลักฐานในศิลาจารึกเมื่อ พ.ศ.1568 เดิมใช้ จังค์ ซีลอน (คือสิลัน สลาง ฉลาง ถลางหรือเกาะภูเก็ต ในปัจจุบัน) ตามแผนที่ของคลอดิอุส ปโตเลมีเมื่อ พ.ศ.700 เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดียโดยผ่านแหลมมลายูและสิงคโปร์

http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_easygallery&act=photos&cid=403&Itemid=26

ภูเก็ตเป็นเมืองที่เติบโตมาจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งต้องใช้ดีบุกผสมทองแดงเป็นสัมฤทธิ์ และนำไปเคลือบโลหะกันสนิมมากว่า 500 ปี จึงทำให้ชาวยุโรป(โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ) และชาวจีนฮกเกี้ยน(ทั้งที่ผ่านมาจากสิงคโปร์และปีนังหรือมาจากจีนโดยตรง)หลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองและตั้งหลักแหล่งในภูเก็ต มีวัฒนธรรมผสมผสานไทย ยุโรปและจีน ทำให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น อาทิ สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส อาหารพื้นเมือง ภาษา การบูชาเทพเจ้า การแต่งกาย การแต่งงาน รวมไปถึงน้ำทะเลใสสีคราม หาดทรายสะอาดและแดดเมืองร้อน จนกลายเป็นมนต์เสน่ห์ ไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงก้องโลก


ภูเก็ตเป็นจังหวัดเดียวที่มีสภาพเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งภาคใต้ในทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตจากทิศเหนือจรดทิศใต้ 48.7 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดจากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก 21.3 กิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 3 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอถลางและอำเภอกะทู้

โดย : samarin [ 2008-05-24 05:43:32 ] เบอร์ติดต่อ : 0813262549 118.173.74.239 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 21

โปท้องหง่อก่ากี่
ชินวิถี
อัญมณีนายหัวเหมือง


สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส (CHINO-PORTUGUESE STYLE) (ชิโนหมายถึงจีน ส่วนโปรตุกีสหมายถึงยุโรป) สร้างขึ้นเป็นจำนวนมากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 จนถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ร.8 ส่วนใหญ่เป็นอาคารสองชั้นทั้งหลังเดี่ยว(อังมอเหลา)และห้องแถว กำแพงหรือผนังอาคารก่ออิฐฉาบปูนหนาตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป ใช้รับน้ำหนักอาคารทั้งหมด(ยุคหลังใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก) การใช้กำแพงรับน้ำหนักนี้ทำให้อาคารมั่นคงแข็งแรง หลังคามีความลาดชัน มุงกระเบื้องดินเผาแผ่นเล็กรูปตัว v วางสลับคว่ำ-หงาย บานประตูหน้าต่างชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นแบบสถาปัตยกรรมจีน มีการแกะสลักลวดลายธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์ตามคติความเชื่อของจีน ประตูหน้าต่างและช่องลมประดุจปากตาและคิ้วพญามังกร ช่องแสงเหนือหน้าต่างไว้ระบายอากาศเป็นลายลบมุมทั้งสี่จากรูปค้างคาว ส่วนชั้นบนมีหน้าต่างยาวถึงพื้นเรียกหน้าต่างแบบฝรั่งเศส บานหน้าต่างเป็นบานเกล็ดไม้ปรับมุมได้ ลวดลายตกแต่งผนังเป็นปูนปั้นมักเป็นลายที่มาจากสถาปัตยกรรมยุโรปในยุคนีโอคลาสสิกหรือยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (RENAISSANCE) มีเสาอิงที่มีลวดลายหัวเสาตามรูปแบบของโรมันและกรีกคลาสสิกหลายชนิด เช่น โครินเธียน(CORINTHIAN) ดอริก(DORIC) ไอโอนิก(IONIC) {{ทัสคัน (TUSCAN) คอมโพสิต(COMPOSITE)}} รวมทั้งซุ้มโค้งหน้าต่างมีการตกแต่งลวดลาย เป็นการผสมผสานของหลายยุคศิลปะมารวมไว้ในอาคารเดียวเรียกว่า ECLECTICISM
องค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งของอาคารแบบชิโนโปรตุกีส คือการมีเฉลียงหรือช่องทางเดินมีหลังคาคลุมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีและป้องกันแดดฝน เรียกว่าหง่อกากี่ (ARCADE)
อาคารสาธารณะแบบชิโนโปรตุกีสที่โดดเด่นคือสถานีตำรวจภูธรตลาดใหญ่ซึ่งมีหอนาฬิกาอยู่ชั้นบน, ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด, พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, สมาคมภูเก็ตฮกเกี้ยนสามัคคี, โรงแรมออนออน และอาคารเอกวานิช

http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_easygallery&act=categories&cid=45&Itemid=26

ในส่วนของคฤหาสน์หลังเดี่ยวที่เรียกว่า อังมอเหลา (อังมอ แปลว่าผมแดงคือชาวยุโรป, เหลาแปลว่าตึก) เช่น ตึกพระอร่ามสาครเขตร ตึกพระพิทักษ์ชินประชา ตึกชินประชา ตึกหลวงอนุภาษภูเก็ตการ
อาคารตึกแถวที่มีหง่อก่ากี่เยี่ยมชมได้ที่เมืองทุ่งคาคือถนนถลาง ถนนพังงา ถนนเทพกระษัตรีบริเวณแถวน้ำ ถนนภูเก็ต ถนนเยาวราช หากต้องการชื่นชมบานประตูสุดสวยต้องดูที่ตึกแถวถนนดีบุก

โดย : samarin [ 2008-05-24 05:46:46 ] เบอร์ติดต่อ : 0813262549 118.173.74.239 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 22

มีผู้เสนอชื่อภาษาอังกฤษมาให้ พมร.กะทู้พิจารณา
ท่านเห็นด้วยกับชื่อที่เสนอมาดังนี้ไหม??????
พอรับได้ไหม???

เปิดลับแลม่านฟ้าเกาะพญามังกรทอง The Golden Dragon Island
โปท้องหง่อก่ากี่, Welcome to Achade
ชินวิถี, The way of THAI-CHINESE'S LIFE
อัญมณีนายหัวเหมือง, Miner's asset
เรืองดารากร, Solar System
กำเนิดโลก, THE FORMING OF EARTH
กำเนิดแร่, THE FORMING OF MINERAL
กำเนิดชีวิต, THE FORMING OF LIFE
ไดโนเสาร์, JURASIC ERA
กำเนิดฅน, THE EVOLUTION OF HUMAN BEING
ฅนใช้ไฟ, THE UNDERSTAND ABLE OF FIRE
สัมฤทธิ์เหล็ก, METALLIFEROUS
สายแร่แห่งชีวิต, MINING
นิรมิตเล่นแร่แปรธาตุ, TIN SMELTING
ฉลาดนาวาชีวิต, THE PATH OF OVER SEA CHINESE
ลิขิตปรัชญ์สืบสาน, THE SETTLEMENT
บันส้านบางเหนียว, BANGNIEW PLACE
เก่วเกี้ยวในทู, SPIRITUAL OF CHINESE AT KATHU
อุปรากรจีน, A CHINESE OPERA
หนังตะลุง, SHADOW IMAGE
หลงผิดเสพ, THE ILLIAT WAY
เทพาภรณ์, BOUTIQNG'S ROOM
คฤหปตนินท์, A MILLIONAIRE'S PATH
บาบ๋าสินสมรส, BABA WEDING
ฉายาบทนฤมิต, (ชื่อร้านถ่ายรูป) LET'S SMILE SHOP
ภาพกิจปฐมเหตุ, THE CHRONICLE
วรรณวิเศษปัญญภูมิ THE INFORMATION CENTER

ผู้รู้ทั้งหลาย โปรดช่วยพิจารณาช่วยลูกควายด้วยขอรับครับกระผม

สำนวนเดิมที่ร้องขอไว้
http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=183&Itemid=5

แบ่งรู้ร่วมกัน
แบ่งปันปัญญา
พาโลกสันติสุข

โดย : samarin [ 2008-05-28 21:11:38 ] 118.173.77.114 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 23

ไม้กลายเป็นหินจากภาคอีสาน ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) มีพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่ และที่กลายเป็นโอปอล ผู้บริจาคให้ พมร.กะทู้ คือ รศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ตำบลสุรนารี นครราชสีมา

โดย : samarin [ 2008-05-30 02:19:25 ] 118.173.75.84 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 24


เพลงที่ใช้ศัพท์ชาวเหมืองแร่ท้องถิ่น เช่นเพลงของกินหรอย ๆ สัญญาหน้าอ๊าม รอพี่หน้าอาม ช่วยบรรยากาศชาวเหมืองได้น่ารื่นรมย์ ผู้สรรค์สร้างงานเพลง คือคุณจุมพล(โกไข่) ทองตัน อาโกหน้าเลือดจากภาพยนตร์มหาวิทยาลัยเหมืองแร่

โดย : samarin [ 2008-05-30 02:36:31 ] 118.173.75.84 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 25


ภาพในจังหวัดภูเก็ต เป็นภาพที่ใด เจ้านายที่ปรากฏในภาพคือท่านผู้ใด ไม่ใช่คำถามเพื่อรับรางวัลนะขอรับ ถามเพราะไม่ทราบว่าเป็นภาพ ณ ที่ใด อยากรู้

ภาพถัดไปก็ถามนะแหละว่า เหมืองของใคร เจ้านายใดเสด็จฯ

โดย : samarin [ 2008-05-30 03:24:36 ] 118.173.75.84 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 26


ภาพในจังหวัดภูเก็ต เป็นภาพเหมืองใด เจ้านายที่ปรากฏในภาพคือท่านผู้ใด ไม่ใช่คำถามเพื่อรับรางวัลนะขอรับ ถามเพราะไม่ทราบว่าเป็นภาพ ณ ที่ใด อยากรู้

โดย : samarin [ 2008-05-30 03:25:52 ] 118.173.75.84 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 27


ผู้ใดมีประวัติเลาเอี๋ยเจ้าอ๊ามกะทู้บ้าง ช่วยส่งให้หน่อยขอรับ เลาเอี๋ยเป็นครูงิ้ว เป็นชาวนามีสุนัขและไก่

โดย : samarin [ 2008-06-08 16:50:56 ] 118.173.77.90 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 28


คุณหรินทร์ สุขวัจน์ ส่งภาพมาถามว่าเป็นภาพ ณ สถานที่ใด ใครรู้ช่วยหน่อยครับ

โดย : samarin [ 2008-06-12 03:26:29 ] 118.173.74.58 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 29

ความคิดเห็นที่ 28 มีปรากฏบางส่วนในความคิดเห็นที่ 11 คือ เลาเอี๋ยเจ้าอ๊าม เป็นเทพเจ้าประจำโรงงิ้ว ประดิษฐานที่ศาลเจ้ากะทู้(ไลทูเต้าบูเก๊ง) ตั้งแต่เริ่มพิธีกินผักครั้งแรกของชาวในทู : อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร พมร.กะทู้ ให้ข้อมูล

โดย : samarin [ 2008-06-12 03:36:40 ] 118.173.74.58 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 30

ภาพจากความคิดเห็นที่ 9 เป็นเรือขุดแร่ลำแรกของโลก มีขัอความสนับสนุนจากความคิดเห็นที่ 12 ดูเพิ่มเติมจากงานของไชยยุทธ ปิ่นประดับ
http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=5

โดย : samarin [ 2008-06-12 03:41:00 ] 118.173.74.58 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 31

ภาพจากความคิดเห็นที่ 29 มีผู้ให้ความเห็นแล้วว่าเป็น ไทยซาร์โก ที่อ่าวมะขาม ในอ่าวภูเก็จ
โรงถลุงไทยซาร์โก้ ครับ ซึ่งตามภาพในขณะนั้น ยังไม่มีท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต


Chainarong Nujeenseng

Management Accountant

Thailand Smelting and Refining Co.,Ltd

80 Mu 8, Sakdidej Rd., Tambon Vichit,

Maung, Phuket 83000

Tel: 66-76-391111 Fax: 66-76-391121

www.thaisarco.com

โดย : samarin [ 2008-06-12 03:46:50 ] 118.173.74.58 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 32

หนูเคยไปมาแล้ว ตอนนั้นทางโรงเรียนหมวดภาษาไทยพาไปหลายที่เลย วัดฉลอง วัดพระทอง ถลางชนะศึก และที่พิพิธภัณฑ์ที่นี่ ตอนที่ไปกำลังสร้างอยู่ ใหญ่มาก ดูจากข้างนอก เหมือนไม่ใช่อาคารในประเทศไทย กว้างขวางใหญ่โต เดินทะลุกันได้ทั่ว การทำเหมืองแร่จำลองได้เหมือนจริง มีเรือด้วย วันนั้นเดินสะดุด เป็นแผลถลอก อยากเห็นตอนที่เสร็จสมบูรณ์ มันคงอลังการณ์น่าดูเลย มีอาจารย์คนนึงเป็นไกด์ให้ สนุกมาก ใจดี เก่ง อารมณ์ดี แต่หนูจำไม่ได้ว่าชื่ออะไร แต่มีรูปอยู่ที่รับมอบเพขรภูเก็จ ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะ โอกาสหน้าหนูมีเวลาจะแวะไปแน่นอน

โดย : ขวัญ [ 2008-07-10 09:53:55 ] เบอร์ติดต่อ : 0 89586 3985 117.47.211.172 DELETE    แจ้งลบคำตอบ

ความคิดเห็นที่ : 33

โดย : เด็กมรภ. [ 2008-12-17 17:57:33 ] 192.168.1.104, DELETE    แจ้งลบคำตอบ

 

อ้างอิง

http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=mining&id=1453
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 08 สิงหาคม 2009 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้747
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1537
mod_vvisit_counterทั้งหมด10724210