การเรียนการสอน |
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ. | |
พุธ, 05 สิงหาคม 2009 | |
วันที่ 5 สิงหาคม 2552 จำนวนคนอ่าน 700 คน จี้โละ!ระบบสอบทุกระดับใช้"นครปฐมโมเดล"แก้การศึกษาคมชัดลึก :กว่า 10 ปีในรั้ว "รามคำแหง" ถักทออุดมการณ์ "สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์" ประจัญหน้าสู้อำนาจเผด็จการทหารอย่างองอาจในฐานะอดีตเลขาธิการพรรคสานแสงทอง และอดีตนายก อ.ศ.ม.ร. "เขา" ร่วมสร้างประวัติศาสตร์การเมืองไทย จนมีคำกล่าวถึงวันประชามหาปิติ 14 ตุลาฯ 2516 ที่นักศึกษาและประชาชนร่วมต่อสู้จนเอาชนะเผด็จการทหารว่า "เริ่มต้นที่รามคำแหง จบลงที่ราชดำเนิน" ณ วันนี้ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ชี้ทางออกการศึกษาชาติต้องโละ! ระบบสอบคัดเลือกทุกระดับ ปั้นเยาวชนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งด้านจิต ปัญญา วิชาการ การศึกษาคือ "ยาขมหม้อใหญ่" แต่ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ทำให้ ส.ว.สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ต้องระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดเสวนา 6 ครั้ง ศึกษาวิจัยจากโพลล์หลายสำนัก ดูงานการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ จนกระทั่งพบทางออกที่ "เขา" เชื่อมั่นว่าจะสามารถ "ปลดล็อก" ปัญหาการศึกษาชาติได้ "ปัญหาการศึกษาชาติ ต้องแก้ใน 3 ประเด็นหลัก 1.ปรับปรุงหรือรื้อระบบสอบคัดเลือกทุกระดับ 2.อุ้มเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาให้ได้เรียนหนังสืออย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม และ 3.พัฒนาครูทั้งระบบ" โละ! ระบบสอบคัดเลือกทุกระดับชั้น โดยเฉพาะระบบการคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย เพราะการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยเป็นบันไดขั้นสุดท้ายที่บีบให้บันไดขั้นล่างต้องเดินตามช่องเดียวตลอด คือระบบแพ้คัดออก เพราะแม้ระบบแอดมิชชั่นส์จะให้น้ำหนักผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรม.ปลาย เพื่อลดความเครียดจากระบบเอนทรานซ์เดิม แต่ไม่รับเด็กที่คิดดีทำดี บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ทำให้เราไม่สามารถไปบรรรลุการสร้างคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง การจัดการศึกษาจุดมุ่งหมายและหลักการต้องยึดคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามพ.ร.บ.การศึกษา 2542 หมวดที่ 1 เราต้องผลิตนักเรียน นักศึกษาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ปัญญา สังคม อารมณ์ แต่ที่ผ่านมาเราผลิตเฉพาะคนเก่งในตำราท่องจำมาสอบ ทำให้ละเลยเด็กที่มีพฤติกรรมดี คิดดี ทำดี เด็กที่ช่วยครอบครัว ช่วยชุมชน ช่วยงานครู ช่วยงานโรงเรียน ต้องทำความเข้าใจตรงกันว่าคุณภาพผู้เรียนต้องหมายถึงจิตสาธารณะ จิตอาสา คุณธรรม จริยธรรม คิดเป็น ทำเป็น หรือมีทักษะชีวิตด้วย "กรรมาธิการการศึกษาเสนอใช้โมเดลนครปฐมแก้ปัญหาการศึกษา เพราะจากรับนักเรียน นักศึกษาที่คิดดี ทำดี มีคุณธรรม เข้ามาใช้ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พิสูจน์มาแล้ว 3-4 ปี ปรากฏว่าสามารถไปตอบโจทย์ในเรื่องคุณภาพของผู้เรียนได้ ทั้งทางด้าน จิต ปัญญา และวิชา เราแน่ใจได้เมื่อเขาจบการศึกษาออกไปประกอบอาชีพจะกลายเป็นพลเมืองที่มีความซื่อสัตย์ เสียสละ เข้มแข็ง" เรื่องของคนยากจน เด็กด้อยโอกาส ที่ผ่านมาสังคมไทยต้องยอมรับว่ามีความเหลื่อมล้ำกันสูงมาก ผลพวงจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมา ทำให้ประชาชนในต่างจังหวัดถูกละเลย เพราะรวมศูนย์ทุกอย่างเอาไว้ที่กรุงเทพมหานคร ถึงที่สุดคนที่เข้มแข็งก็อยู่ที่ กทม. รวมถึงระบบการจัดการศึกษา รัฐก็ทุ่มเทสูงในพื้นที่กทม. เมื่อ 2 อย่างบวกกันยิ่งทำให้เกิดความเลื่อมล้ำมากขึ้น เชื่อมโยงปัญหาทางการเมืองระดับชาติ เช่น มีความขัดแย้ง คนจนคนรวยเสื้อเหลืองเสื้อแดง ความเหลื่อมล้ำในสังคมเชื่อมโยงมาจากระบบการศึกษา ดังนั้นหากจะขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม คนยากจนต้องได้รับการศึกษา เพราะพบว่าปัญหาของคนยากจนเขาไม่มีเงินเรียนหนังสือ ไม่มีเงินที่จะเลี้ยงดูลูกให้ได้รับการศึกษาอย่างคนในเมือง "เรียนฟรี 15 ปี ผมสนับสนุนรัฐบาลมาถูกทางแล้ว เพราะตามรัฐธรรมนูณปี 2540 และตามพ.ร.บ.การศึกษา 2542 รัฐต้องจัดเงินอุดหนุนให้เด็กด้อยโอกาส ผมชื่นชมที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำได้ แต่ประเด็นที่ผมไม่เห็นด้วย รัฐอุดหนุนเรียนฟรีให้เด็กทุกๆ คนเท่ากัน ระหว่างเด็กยากจนกับเด็กที่ร่ำรวย ผมเคยท้วงติงในประเด็นนี้ในสภา แต่รัฐบาลก็ออกมาชี้แจงว่า เขาจะต้องทำตามกฎหมาย เพราะกฎหมายเขียนว่าต้องเสมอภาคกัน ผมก็บอกว่ารัฐบาลตีความผิด เพราะรัฐบาลต้องทำให้เกิดความเสมอภาคเมื่อมีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย รัฐบาลต้องให้เงินคนที่ขาดแคลนกว่าหากให้เงินเท่าเทียมกัน ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งห่างกัน รัฐตีความกฎหมายผิดถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิคนยากจนและคนด้อยโอกาส ผมอยากให้ปรับกฎหมายใหม่" เหนืออื่นใด การจะให้บรรลุเป้าหมายปั้นนักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้นั้น ต้องไม่ลืมพัฒนาครู ที่ผ่านมาล้มเหลวเพราะไม่ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องของครู ทั้งที่ครูเป็นมนุษย์ ที่ต้องมาสร้างคุณภาพของผู้เรียน ครูผู้สอนใกล้ชิดผู้เรียนมากที่สุด เป็นปัจจัยที่สำคัญแต่เราไม่ได้สร้างให้ครูเข้มแข็ง รัฐต้องสร้างครูให้เข้มแข็ง 3 ประการคือ 1.คุณภาพชีวิตครู รายได้ สวัสดิการ การยอมรับทางสังคม 2.จิตวิญญาณความเป็นครู ความมุ่งมั่นเอาใจใส่กับเด็ก และ3.ทักษะหรือความเชี่ยวชาญในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนไปบรรลุภาพอย่างสมบูรณ์ แต่ครูขาดตรงนี้มาก ครูมุ่งแต่สอนให้ความรู้ตามตำรา ละเล่นจิต ปัญญา วิชา มุ่งสอนตามตำรา ขณะเดียวกันในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาก็เรียนมากเกินไป จนกระทั่งเด็กเบื่อการเรียน ไม่มีความสุขในการเรียน ถึงที่สุดแล้วแม้แต่ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการก็ล้มเหลวหมดทุกวิชา "ผมไม่อยากโทษครู แต่ที่ผ่านมาเราไม่ให้ความสำคัญกับครู ครูไม่เข้มแข็ง ทางออกสาเหตุ 3 ประเด็นต้องทำให้คุณภาพชีวิตครูดีขึ้น รายได้ สวัสดิการดี การยอมรับในสังคมต้องมี ต้องแก้ปัญหาตั้งแต่การผลิตครู เราต้องคัดนักเรียนที่มีจิตสาธารณะ เด็กที่คิดดีทำดี เอาคนเหล่านี้เข้ามาเรียนครู ตั้งหลักสูตร อาจเรียน 5 ปี เมื่อเรียนจบแล้วมีตำแหน่งรองรับ คล้ายคุรุทายาทในอดีต ที่เราได้ครูเก่งและดีมาเป็นครู ปัญหาคุณภาพการศึกษาก็น้อยลง เด็กเรียนหนังสืออย่างมีความสุข" ส.ว.สิริวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
ความคิดเห็นอ้างอิง http://www.norsorpor.com/ข่าว/m1609223/%A8%D5%E9%E2%C5%D0%21%C3%D0%BA%BA%CA%CD%BA%B7%D8%A1%C3%D0%B4%D1%BA%E3%AA%E9+%B9%A4%C3%BB%B0%C1%E2%C1%E0%B4%C5+%E1%A1%E9%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2 |
< ก่อนหน้า | ถัดไป > |
---|
ความคิดเห็นที่ 1
กลางๆ
pinitcbs2009-08-05 07:20:34
เดิมความคิดที่ไม่สอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อผมเห็นด้วย แต่จากประสบการณ์เมื่อเราใช้วิธีจับฉลากให้นักเรียนเข้าเรียนโดยไม่สอบคัดเลือก (ทั้ง ๆ ที่โรงเรียนใกล้เคียงเขามีที่ว่างให้เรียนอยู่จำนวนมาก) พฤติกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนแย่ลง เพราะที่จับฉลากเข้ามาเรียนนั้นเรียนอ่อน อ่านหนังสือไม่ออก เรียนไม่ทันเพื่อน ในที่สุดก็หนีโรงเรียน ปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกมาก โรงเรียนก็ต้องตามแก้ปัญหา เมื่อเปรียบเทียบกับการสอบคัดเลือกเข้าเรียน เราได้นักเรียนที่เรียนเก่งปัญหาพฤติกรรมหนีโรงเรียน หรือไม่สนใจเรียนไม่มี เราก็มุ่งพัฒนาในทางวิชาการให้ ตัวอย่างเช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมหิดล ฯ ซึ่งได้จากการสอบคัดนักเรียนเก่ง ก็ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศ เราควรมองเป็นสองมุมว่าเราต้องการความเสมอภาคหรือต้องการคนเก่งมาพัฒนาประเทศ ปัญหาโลกแตกของนักวิชาการหรือวิชาเกิน