Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow ชาวเล อูรักราไวย์บ้านราไวย์
ชาวเล อูรักราไวย์บ้านราไวย์ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 13 กุมภาพันธ์ 2020



ชาวเลราไวย์ : ดร.อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร

 


ชาวเลบ้านราไวย์


อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร

รวบรวม



ที่ตั้งและอาณาเขตของตำบลราไวย์ 




ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองภูเก็ต  ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองภูเก็ต 11 กิโลเมตร ตำบลราไวย์มีพื้นที่ประมาณ  38 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 23.750 ไร่) เป็นพื้นที่บนเกาะภูเก็ตประมาณ 23 ตารางกิโลเมตร และเป็นพื้นที่บนเกาะต่าง ๆ อีก 10 เกาะ ประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร  

ทิศเหนือ จด ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ทิศตะวันตก จด ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต  จังหวัดภูเก็ต และทะเลอันดามัน

ทิศตะวันออก จดอ่าวฉลอง ทะเลอันดามัน

ทิศใต้ จดทะเลอันดามัน


ประกอบด้วย 7  หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านในหาน (1,720 คน)

หมู่ที่ 2 บ้านราไวย์ (3,569 คน)

หมู่ 3 บ้านเกาะโหลน (พื้นที่เกาะบริวารทั้งหมด) (339  คน)

หมู่ 4 บ้านบางคณฑี (1,637 คน)

หมู่  5 บ้านบางคณฑี (1,637 คน)

หมู่ 6 บ้านแหลมพรหมเทพ (1,904 คน)

หมู่ 7 บ้านไสยวน  (2,977 คน) 


ชาวเลบ้านราไวย์ 
ตำบลราไวย์  อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต


ประวัติความเป็นมา


จังหวัดภูเก็ตมีชุมชนหลายเชื้อชาติ  ภาษา มีชนชาติปะปนกันอยู่หลายเผ่าพันธุ์  ทำให้ภูเก็ตมีขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่หลากหลาย ทั้งการแต่งงาน การเกิด การตาย การแต่งกาย สถาปัตยกรรมบ้านเรือนที่มีรูปแบบผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมและศิลปกรรมหลายเชื้อชาติ  และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

ชาวเลรุ่นบรรพบุรุษอพยพมาจากหลายแหล่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยทำกินกับทะเลและป่าบนบกสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน งานวิจัยหลายแหล่งประมวลได้ว่าชาวเลอยู่ในเกาะภูเก็ตมากนาน  ในทะเบียนบ้านของชาวเล เลขที่ 38 ต .ราไวย์ พบว่า นางเปลื้อง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2445 หากมีอายุถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) จะมีอายุถึง 117 ปี และเมื่อโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2456  ก็มีนักเรียนจากชุมชนไทยใหม่เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ตั้งแต่ พ.ศ.2482 เป็นต้นมา มีหลักฐานเก่าแก่ที่ยืนยันความเป็นชุมชนดั้งเดิมว่ามีชาวอุรักลาโว้ยอยู่อาศัย เช่น หลักฐานทะเบียนบ้านที่ระบุปีเกิดชาวเล พ.ศ. 2445 บัตรประชาชนปี พ.ศ. 2477  และพ.ศ. 2479 หลุมฝังศพของหัวหน้าเผ่า ป่าช้า ต้นมะพร้าวเก่าแก่ วัดสว่างอารมณ์ และโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ 

ในปี พ.ศ. 2502  ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรชุมชนชาวเลหาดราไวย์   มีบ้านชาวเลอาศัยอยู่ประมาณ 40 ครัวเรือน และจากการตรวจสอบอายุของซากกระดูก

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวเลเดินทางไปมาระหว่างหาดราไวย์กับเกาะเฮ เพื่อไปปลูกข้าวไร่ และทำสวน  และมีชาวเลบางส่วนอยู่ที่นั่นอย่างถาวรจนเป็นชุมชนใหญ่เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีช่วงหนึ่งที่เกิดโรคอหิวาต์ระบาดคนตายมาก  จึงย้ายกลับไปอยู่เกาะสิเหร่และหาดราไวย์ตามเดิม จนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

 เมื่อปี พ.ศ.2557 มีการขุดพบโครงกระดูกบริเวณชุมชนชาวเลที่หาดราไวย์      ได้ตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอกระดูกบรรพบุรุษชาวเลที่ขุดพบ และ เมื่อนำดีเอ็นเอจากกระดูกที่พบไปเปรียบเทียบกับผู้สูงอายุในหมู่บ้าน   ผลออกมาว่ามีดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งในชุมชน จากการวิเคราะห์ผู้นำและสาแหรกตระกูลของคนในชุมชนพบว่า สามารถโยงใยย้อนกลับไปได้ถึง 7  ชั่วอายุคน ซึ่งหลายคนยังมีหลุมฝังศพอยู่ที่สุสาน ยืนยันให้เห็นว่าชุมชนได้อยู่สืบต่อกันมานานนับร้อยปี

ข้อมูลทางโบราณคดีพบหลักฐานเครื่องเซ่นไหว้ตามพิธีกรรมของชาวเล เช่น เปลือกหอยสวยงาม ซี่งปกติไม่ได้พบหอยเหล่านี้ในบริเวณนี้ สอดคล้องกับพิธีกรรมฝังศพของชาวเลที่มักนำเปลือกหอยฝังรวมกับศพ ด้วยความเชื่อว่าดวงวิญาณของบรรพบุรุษชาวเลมีความผูกพันหรือมีวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงกับท้องทะเล 

ชื่อราไวย์  มีความหมายว่า เบ็ดราไวย์  ซึ่งเป็นเบ็ดชนิดหนึ่งที่ชาวเลเคยใช้ในการประกอบอาชีพหาปลา   หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ทะเล

ชุมชนชาวเลราไวย์  มีชาวเล 2 กลุ่ม อาศัยอยู่ ได้แก่ กลุ่มอูรักลาโว้ย  และกลุ่มมอแกน (มาซิง,สิงห์)

กลุ่มอุรักลาโว้ย 

 ชาวเลกลุ่มนี้เชื่อว่าบรรพบุรุษของตน อพยพมาจากหมู่เกาะในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย  มาอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะต่าง ๆ ได้แก่ เกาะเฮ เกาะบอน และแหลมกา จ.ภูเก็ต ต่อมาย้ายมาอยู่ที่บริเวณหาดราไวย์   จ.ภูเก็ต มีชีวิตผูกพันอยู่กับทะเล มีการเรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์ ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด จนเกิดความชํานาญ เป็นภูมิปัญญาจนมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่ รุ่น

กลุ่มมอแกน (มาซิง,สิงห์) 

 ชาวเลกลุ่มนี้เชื่อว่า บรรพบุรุษของตน  อาศัยอยู่ในประเทศแถบพม่า บริเวณเกาะสอง (วิคตอเรียพอยส์)  ได้อพยพมาอยู่ร่วมกับกลุ่มอุรักลาโว้ยที่บริเณหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต  เมื่อประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยอพยพผ่านมาทางเกาะปากจก บ้านบางสัก  ในเขตจังหวัดพังงา  


ภูมิปัญญาของชาวเล


ฌาลัดนูอาเยนะมือนีเลฮปี (ทิศทางการไหลของกระแสน้ำ)   การไหลของกระแสน้ำเป็นตัวกำหนดปรากฎการณ์ธรรมชาติหลายอย่าง ชาวเลใช้การสังเกตและสืบทอดภูมิความรู้ทางเทคนิควิธีเพื่อรับมือกับธรรมชาติและปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อการดำรงชีวิต เป็นเทคนิควิธีการในการประกอบอาชีพ 

การสังเกตกระแสน้ำ เป็นภูมิปัญญาหรือความชำนาญเฉพาะตัวในการสังเกตช่วงเวลาที่น้ำลง  กระแสน้ำจะไหลจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก โดยสลับกับช่วงเวลาน้ำขึ้น จะไหลจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ชาวเลจะมีประสบการณ์จากการสังเกตว่าช่วงเวลาก่อนเกิดพายุ กระแสน้ำในทะเลจะไหลไปบรรจบกันเป็นสายเดียวและมีความรุนแรงขึ้น โดยกระแสน้ำจะไหลไปในทิศทางเดียวกันกับที่จะเกิดพายุอยู่ประมาณ 3 - 4 วัน และนับจากนั้นไม่เกิน  3 - 7 วัน พายุจะเข้าถึงฝั่ง หรือสังเกตจากนกนางนวลท้องดำที่ปกติจะอาศัยอยู่บริเวณทะเลนอก แต่ช่วงที่มีพายุจะบินเข้าฝั่ง 

ทิศทางการไหลของน้ำจะช่วยให้ชาวเลสามารถกำหนดพื้นที่ทำมาหากิน หลีกเลี่ยงความรุนแรงของกระแสน้ำ โดยสามารถย้ายไปทำมาหากินยังอีกพื้นที่หนึ่ง เช่น ช่วงน้ำลงชาวเลที่มีความชำนาญ การเก็บหาของทะเลใต้น้ำ ต้องดำนำด้านหลังเกาะ (ทิศตะวันตก) เพราะไม่มีกระแสน้ำเชี่ยว ทำให้สามารถดำน้ำได้ลึกและนานได้อย่างสะดวกปลอดภัย   เมื่อถึงช่วง น้ำขึ้น จะต้องดำน้ำด้านหน้าเกาะ(ทิศตะวันออก)เพราะจุดด้านหลังเกาะเป็นจุดที่น้ำหวนกลับ (น้ำทะเลวนกลับ) 




พิธีทำน้ำมนต์ 


พิธีทำน้ำมนต์จัดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ชาวเลอื่น ๆ ทำพิธีลอยเรือ ชาวเลกลุ่มนี้จะทำพิธีในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 11 การทำพิธีเริ่มด้วยชาวเลโอรังลาโอดผู้หญิงจะช่วยกันทำขนมและคลึงเทียนให้เสร็จก่อนเวลา 16.00 นาฬิกา แล้วนำไปทำพิธีปากบางใกล้แหลมกา ส่วนเด็ก ๆ จะช่วยกันแกะสลักหุ่นเป็นภูตผีปีศาจ แล้วนำไปตั้งวางไว้ที่ประตูทางเข้าสถานที่ประกอบพิธี  โต๊ะหมอจะสวดมนต์คาถาที่ศาลาชั่วคราวกลางวง

พิธี ปักธงขาว ล้อมรอบศาลา อัญเชิญโต๊ะตามี่มารับของเซ่นสรวงขณะที่เผากำยานเป็นควันฟุ้งกระจายรอบศาลา ต่อจากนั้นโต๊ะหมอก็ส่งสัญญาณแก่ชาวเล-ภถึคตจขชให้นำขนมที่ใช้เซ่นไหว้แจกจ่ายกันกินโดยจะต้องกินให้หมดในสถานที่นั้น หลังจากนั้นชาวเลก็กลับไปยังหมู่บ้าน เมื่อกลับถึงหมู่บ้านชาวเลผู้ชายจะช่วยกันแบกโอ่งไปวางไว้กลางลานหมู่บ้าน และช่วยกันตักน้ำใส่จนเต็ม ต่อจากนั้นนำจานใส่เทียนและมะกรูดมาวางไว้หน้าโต๊ะหมอ โต๊ะหมอจะทำพิธีประกอบอัญเชิญโต๊ะตามี่มาเป็นประธานด้วยการอัญเชิญเป็นทำนองเพลงโบราณ ขณะเดียวกันจะมีชาวเลบางคนตีรำมะนาประกอบการทำพิธีด้วย เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนโต๊ะหมอจะนำเทียนและมะกรูดไปยังโอ่งน้ำผ่ามะกรูดและบีบน้ำมะกรูดลงในโอ่งน้ำทุกโอ่ง ส่วนชาวเลหนุ่มสาวจะมีการเต้นรำรองเง็งไปจนกระทั่งถึงเวลา 5.00 นาฬิกา ของวันขึ้น 14 ค่ำ (แต่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากการเต้นรองเง็งเป็นรำวง) แล้วทุกคนจะไปอาบน้ำที่โอ่งน้ำของตนกลางลานพิธี เมื่ออาบน้ำเสร็จก็ถือว่าเสร็จสิ้นการประกอบพิธี


ความเชื่อ

น้ำตาปลาพยูน


ชาวเลมีความเชื่อเรื่องพะยูนหรือดูหยง ซึ่งเป็นสัตว์ที่นักเดินเรือในยุคกลาง เชื่อว่าคือนางเงือก เนื่องจากแม่พะยูนเวลาให้นมลูกมักจะกอดอยู่กับอกและตั้งฉากกับทะเล ทำให้แลเห็นในระยะไกลคล้ายผู้หญิงอยู่ในน้ำ พะยูน มีชื่อเรียกในภาษายาวีและอูลักลาโว้ยว่า ดูหยง อันมีความหมายว่า หญิงสาว หรือผู้หญิงแห่งท้องทะเล มีนิทานพื้นบ้านเล่าว่า พะยูนเดิมเป็นผู้หญิงตั้งครรภ์และอยากกินหญ้าทะเล สามีจึงจึงลงไปนำหญ้าทะเลมาให้ แต่ว่าไม่พอแก่ใจ จึงลงไปกินหญ้าทะเลเองในน้ำ เมื่อน้ำขึ้น ก็กลายเป็นพยูนไป และได้ให้สัญญากับสามีว่า ถ้าต้องการพบให้ปักเสาไม้ลงไปหนึ่งเสา และจะมาที่เสานี้ตามที่เรียก มีความเชื่อว่า ทั้งเนื้อ กระดูก เขี้ยวพะยูน มีคุณสมบัติทางเมตตามหานิยม เรียกในวงการตลาดมืดว่า "งาช้างน้ำ" มีราคาแพง โดยนำไปทำเป็นหัวแหวนเหมือนกับหนามปลากระเบน นอกจากนี้น้ำตาปลาพะยูน หรือที่ชาวเลเรียก ดุหยง นั้น เป็นของขลังทางเสน่ห์อย่างแรงกล้า เช่นเดียวกับน้ำมันพราย ซึ่งเนื้อเพลงพื้นบ้านของชาวเลก็มีเรื่องราวกล่าวถึงเสน่ห์ของน้ำตาพะยูน ว่า ตันหยง ตันหยง หยงไหรละน้อง บังไปไม่รอดเสียแล้วเด ถูกเหน่ น้ำตาปลาดุหยง คดข้าวสักหวัด คิดถึงน้องรัก บังกินไม่ลง ถูกเหน่ น้ำตาปลาดุหยง บังกินไม่ลงสักคำเดียว ในสังคมชาวเลอูลักลาโว้ย ความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติและเสน่ห์ยาแฝดมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยได้เล่าขานสืบต่อกันมาว่า ชายหนุ่มที่หลงรักหญิงสาวแต่ไม่ได้รับรักตอบ ก็จะเที่ยวเสาะหาน้ำตาดุหยง โดยเข้าไปโขมยลูกปลาดุหยงที่ยังไม่หย่านมจากอกแม่ไปซ่อนหรือฆ่าเสีย เมื่อพรัดพรากจากกัน แม่ลูกก็ร้องไห้คิดถึงกัน ชายหนุ่มจะนำเอาใบตองกล้วยไปรอง นำตาจากแม่พะยูน มาใส่ขวดผสมกับว่าน นำมาประพรมตัวเองหรือสะลัดใส่คนที่ต้องการให้ติดเสน่ห์ หรือบางคนที่ต้องการให้ได้ฤทธิ์อนันต์ก็จะแอบโขมยหรือหลอกล่อเด็กๆที่ยังดูดนมไปเสียจากแม่ เมื่อเด็กร้องไห้ก็รองน้ำตาเด็กไปผสมกับน้ำตาดุหยง แล้วนำเด็กมาคืน แต่ชาวเลมีความเชื่อว่าเด็กที่โดนรีดน้ำตาจะเจ็บป่วยและมีอันเป็นไปในที่สุด ชาวเลอูลักลาโว้ยถือว่าการทำเสน่ห์ยาแฝด รีดน้ำตาดุหยงและเด็กเป็นความชั่ว และละเมิดกฎจารีตของกลุ่ม ชาวเลจะไม่ล่าพะยูน เมื่อติดอวนจะรีบปล่อยไป ใครฆ่าพะยูนจะทำให้เกิดอาเพท แต่ก็ยังมีคนบางส่วนเชื่อและเสาะหาจนปัจจุบันแม้วิทยาศาสตร์จะเจริญก็ตาม 

________________________________________

คำนิยาม :

ในสมัยโบราณชาวพื้นเมือง ชาวเกาะ กินเนื้อปลาพะยูน เขี้ยวและกระดูกก็จะนำไปทำของขลัง นำตาปลาพะยูนที่ได้จากแม่พะยูนหลั่งนำตาเมื่อที่พลัดพรากจากลูก เชื่อว่ามีคุณไสย์ในทางมหาเสน่ห์ 

ภูมิปัญญา :

เป็นนิทานพื้นบ้านที่แฝงคติชนของกลุ่ม เพื่อป้องกันการละเมิดกฏเกณฑ์ เช่น ห้ามหญิงตั้งครรภ์ลงทะเลลึกเดี๋ยวจะกลายเป็นพะยูน ซึ่งความจริงแล้วเป็นการดูแลรักษาสุขภาพแม่และเด็กในครรภ์ เพราะการลงทะเลอาจเกิดอันตรายได้ เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม กรณีไปโขมยลูกพะยูน ก็เหมือนการโขมยชีวิตเด็กบริสุทธิ์ ในชุมชน ซึ่งก็เป็นลูกหลาน เป็นการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่อยู่ในสถาวะแวดล้อมเดียวกัน เป็นการพึ่งพาอาศัยระหว่างมนุษย์และสัตว์ทะเล 

พะยูน เสน่ห์ยาแฝด น้ำตาดุหยง 


นามานุกรม :

นายหริ ฟองสายธาร เกิด อายุ๗๓ปี บ้านเลขที่ ม ๒ ต ราไวย์ อ เมือง จ ภูเก็ต กัญญ์วรา เชื้ออ่อน สัมภาษณ์ ๒๐ เมษายน๒๕ค๖๐ 



พิธีศพชาวเล 


พิธีกรรมการทำศพของชาวเล เป็นไปแบบเรียบง่ายเพราะต้องการส่งวิญญาณของคนตายให้กลับไปยังอีกโลกที่มีบรรพบุรุษรอคอยอยู่   เมื่อมีคนในชุมชนเสียชีวิตลง โต๊ะหมอ หรือผู้อาวุโสในกลุ่มจะได้รับเชิญมาแนะนำและดำเนินพิธีศพตามแบบของชาวเลเพื่อให้วิญญาณของผู้ตายไปสู่สุคติ  เมื่อสมาชิกในครอบครัวมาพร้อมหน้ากัน พิธีจะเริ่มด้วย

-การอาบน้ำศพ โดยรดน้ำตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าของศพ เพื่อเป็นกาไว้อาลัยและชำระล้างร่างกายให้กับคนตาย โดยน้ำที่ใช้อาบศพจะนำสมุนไพรบางชนิดใส่ลงไปด้วย 

-เมื่ออาบน้ำแล้วเสร็จ ก็นำร่างที่แต่งตัวเรียบร้อยแล้ววางใส่โลง โดยวางเครื่องใช้ส่วนตัวผู้ตาย เช่น เปลือกหอย ถ้วยชาม เครื่องมือประมง วางไว้ส่วนใต้เท้าศพในโลง  ช่วงกลางคืนจะมีการเฝ้าศพ โดยจะมีการก่อกองไฟหรือจุดตะเกียงไว้หน้าศพและไม่ให้ดับเพื่อเป็นเหมือนแสงนำทางไปอีกโลก 

-วันรุ่งขึ้น ญาติพี่น้องจะเดินทางไปทำพิธีแห่ศพ โดยเคลื่อนศพเพื่อนำไปฝังที่บริเวณหลาเปลวหรือสุสานชาวเล โดยนำร่างใส่โลงและใช้คนสี่คนหามไป  มีญาติพี่น้องหรือเพื่อนผลัดกันหาม ชาวเลจะแยกป่าช้าหรือเปลวของเด็กและผู้ใหญ่ เพราะเชื่อว่าวิญญาณต้องอยู่อย่างสงบเสียงเด็กจะไปรบกวนและพิธีศพของเด็กก็เพียงใส่กระสอบหรือตะกร้าเตยขุดหลุมฝังเท่านั้น 

-เมื่อถึงสุสาน โต๊ะหมอจะทำพิธีเลือกหลุมฝัง  เมื่อหาได้ที่แล้ว จะช่วยกันขุดหลุมลึกประมาณ วา 1 เพื่อวางโลงศพลงไป โดยศพจะหันศีรษะไปทางทิศใต้และกลบดินทรายทับให้สนิท ผู้ชายที่ขุดหลุมต้องกำทรายหว่านข้ามไหล่ตัวเองเพื่อปัดสิ่งอัปมงคลหรือวิญญาณที่อาจเกาะเกี่ยวไว้  

-ก่อนกลับบ้าน โต๊ะหมอกล่าวเชิญดวงวิญญาณผู้ตายให้ละทิ้งร่างและสิ่งที่เป็นห่วงทั้งหมด เพื่อให้เดินทางไปยังดินแดนของบรรพบุรุษ  

-ปลูกต้นมะพร้าไว้หน้าหลุม คนร่วมพิธีทยอยกลับและรับด้ายแดงผูกมือพร้อมทั้งวักน้ำทะเลล้างหน้าก่อนกลับบ้านเรือนและห้ามหันกลับมามองสุสานอีก 

คำนิยาม :

พิธีศพ เป็นพิธีกรรมชีวิตขั้นสุดท้ายของทุกคนในกลุ่มสังคม ชาวเลเมื่อตายลงจะได้กลับขึ้นฝั่งทอดร่างในสุสานที่เป็นเนินเขาน้ำท่วมไม่ถึงแต่ได้ยินเสียงคลื่น 

ภูมิปัญญา :

พิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่ม เป็นการสืบทอดการแสดงความเคารพต่อดวงวิญญาณที่ล่วงลับผู้เคยเป็นสมาชิกของกลุ่ม 

คำเชื่อมโยง :

หลาเปลว 

นามานุกรม :

นายหริ ฟองสายธาร อายุ74ปี เกิด. บ้านเลขที่ ม2 ต ราไวย์ อ เมือง จ ภูเก็ต 


พิธีฌีไร้ ปือตัด


พิธีฌือไร้ปือตัด หรือพิธีตกแต่งเปลว ทำความสะอาดหลุมศพ   เป็นพิธีกรรมที่ชาวเลอูรักลาโว้ย จัดขึ้นทุกปี ในวันข้างขึ้น เดือน 5 ช่วงเวลาใกล้เคียงกับเทศกาลเชงเม้งของธรรมเนียมจีน โดยลูกหลานจะนำจอบ เสียม และน้ำ ไปทำความสะอาด และปรับตกแต่งบริเวณรอบ ๆ หลุมฝังศพของญาติ ส่วนใหญ่ชาวอูรักลาโว้ย จะปลูกมะพร้าวไว้ตรงหัวของหลุมศพ ถ้าต้นมะพร้าวของบ้านใดเจริญงอกงาม แสดงว่าลูกหลานดูแลดี และจะนำความโชคดีมาให้ ส่วนบ้านใดหลุมศพไม่ได้รับการดูแล บรรพบุรุษอดอยากก็จะส่งผลให้ลูกหลานทำมาหากินลำบาก 

การจัดพิธี เซ่นสรวงบรรพบุรุษในวันนี้จึงมีความสำคัญ บางบ้านก็เปลียนสังกะสีที่คลุมศพใหม่ วางอาหาร เครื่องดื่มไว้ตรงปลายหลุม โต๊ะหมอ จะเป็นผู้นำในพิธี โดยสวดบริกรรมคาถา แล้วเดินไปตามหลุมศพของแต่ละบ้าน หว่านทรายไปบนหลุมเพื่อบอกกล่าวให้บรรพบุรุษมารับเครื่องเซ่นสังเวย บอกกล่าวขอขมาโทษที่อาจล่วงเกิน และขอให้บรรพบุรุษตอบแทนด้วยการปกป้องคุ้มครองลูกหลานของตน นำมาซึ่งความอยู่ดีเป็นสุข เสร็จแล้วแต่ละบ้านร่วมรับประทานอาหารรอบหลุมศพ เมื่อเดินออกจากเปลวหรือป่าช้า มีข้อห้ามว่าอย่าหันกลับมามอง แล้วเดินลงทะเล วักน้ำทะเลล้างหน้าก่อนกลับบ้าน

คำเรียกชื่ออื่น :

1พิธีแต่งเปลว 2 การทำความสะอาดหลุมฝังศพบรรพบุรุษ 

คำนิยาม :

การดูแลรักษาหลุมฝังศพบรรพบุรุษ ชาวเลทุกกลุ่มจะมีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติและนับถือผีบรรพบุรุษ( Treditional Lealigian ) การจัดพิธี ฌีไร้ ปือตัด หรือการใหว้หลุมศพของบรรพบุรุษเป็นแสดงออกซึ่งความเคารพและศรัทธาและเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ 

ภูมิปัญญา :

พิธีกรรมที่กำหนดบทบาทคนในกลุ่มให้สำนึกถีงตัวตน และรากเหง้า ให้มีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยอ้างเหตุแห่งการกระทำและไม่กระทำการย่อมมีผลต่อคนผู้นั้น เช่น การดูแลต้นมะพร้าวที่หลุมศพไม่ให้ตาย หมายถึง ความใส่ใจ และเห็นคุณค่าของชีวิต เพราะมะพร้าวเป็นพืชที่ต้องการการดูแลเฉพาะช่วงต้นอ่อน เมื่อยืนต้นได้ย่อมสามารถเติบโตและให้ผลต่อไป เหมือนชาวอูลักลาโว้ย และมนุษย์ทุกคนที่วัยทารกย่อมต้องการการฟูมฟักดูแล ความตายช่วงใหม่ๆก็เหมือนไปอยู่โลกใหม่ ที่ยังต้องการคนดูแล นั่นคือ หน้าที่ของลูกหลาน 

คำเชื่อมโยง :

1เปลว(หลุมศพ) 2 หลา (ป่าช้า,สุสาน) 3 เชงเม้ง 

นามานุกรม :

นายหริ ฟองสายธาร อายุ73 ปี เกิด บ้านเลขที่ ม 2 ต ราไวย์ อ เมือง จ ภูเก็ต 


สภาพทั่วไปของชุมชนชาวเลบ้านราไวย์ 

ชุมชนชาวเลราไวย์ (ชาวไทยใหม่)  ตั้งอยู่ใกล้หาดราไวย์ หมู่ที่ 2 ห่างจากถนนสายหลักไปแหลมพรหมเทพไม่กี่ร้อยเมตร   มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19 ไร่ เป็นชุมชนของชาวเลเผ่าอุรักลาโว้ยและมอแกน ที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี

มีจำนวนประชากร 2,065 คน เป็นชาย 1,000 คน เป็นหญิง 1,065 คน จำนวนครัวเรือน 2,254 ครัวเรือน   


การตั้งบ้านเรือนและที่อยู่อาศัย


ในอดีตบ้านของชาวเลจะมุงหลังคา และกั้นฝาบ้านด้วยใบจากหรือใบมะพร้าว   ปัจจุบันหลังคาบ้านจะมุงด้วยสังกะสี หรือกระเบื้อง บางบ้านก็ปลูกบ้านเหมือนของชาวไทยพื้นถิ่น  มีลักษณะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว หรือบ้านปูนชั้นเดียว สร้างแบบเรียบง่าย ภายในบ้านไม่มีห้องน้ำ แต่จะอาศัยห้องน้ำสาธารณะที่เทศบาลจัดสร้างให้  บ้านเรือนจะตั้งอยู่เป็นกลุ่มก้อน ไม่มีการวางผังของชุมชน อาศัยอยู่อย่างแออัด สิ่งแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ เนื่องจากชาวเลไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่อาศัย  เพราะโดยธรรมชาติของชาวเลจะต้องมีวิถีชีวิตอยู่ติดกับทะเล


 

จากชุมชนดั้งเดิมที่มีแต่ชาวอุรักลาโว้ย ก็มีชาวไทย ท้องถิ่ นและคนภายนอกเข้ามาอาศัยอยูด้วย ่ ความเป็ นชุมชนจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตั้ งแต่การท่องเที่ยวได้รุกลํ้ าเข้า มาตั้ งแต่ปี 2530 เนื่องจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ น เป็ นปัจจัยที่ ทําให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ในปัจจุบันของชาวอูรักลาโว้ยเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม และ เปลี่ยนแปลงด้านศาสนาความเชื่อแต่วัฒนธรรมความเชื่อเกี่ ยวกบบรรพบุรุษและเทพเจ้าของชาวอูรักลาโว้ยก ั ็ ยังคงดํารงอยู่ ภาษาของชาวอูรักลาโว้ย ถือเป็ นความภูมิใจและเป็ นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด แม้ไม่มี ภาษาเขียนและก็สืบทอดกนมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวอูรักลาโว้ยยังคงใช้ภาษาของตนเป็ นหลักในการสื่อสาร ั ในชุมชน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่มีต่อภาษาคือ คนรุ่นใหม่ไม่คิดจะสืบทอดและภาษาขาดการ บันทึกเพราะไม่มีภาษาเขียนมีแต่ภาษาพูด ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ ส่งผลต่อวัฒนธรรมและศิลปะการแสดงร็ องแง็ง ซึ่งเป็ นเอกลักษณ์ของชาวอูรักลาโว้ย พิธีลอยเรือเป็ นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธ์อันแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจ กนทั ั ้งชุมชน เป็ นการเฉลิมฉลองประจําปี การแสดงร็องแง็งซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมการแต่งกายและบท เพลงที่เป็ นภาษาดั้งเดิม ในปัจจุบันหนุ่มสาวไม่ค่อยให้ความสนใจจะเข้าร่วม เพราะความเปลี่ยนแปลงด้าน นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ การสืบทอดวัฒนธรรมการละเล่นดั้ งเดิมจึงลดน้อยลง แนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนากล่มชาติพันธ ุ ์อุ ูรักลาโว้ย บริเวณหาดราไวย์ ตําบลราไวย์ อําเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แนวทางการอนุรักษ์การสร้างความมันคงด้านที่อยู ่ อาศัย ด้วยการจัดทําโฉนดชุมชนเพื่อเป็ นเขตสังคม ่ และวัฒนธรรมพิเศษโดยให้มีการพิสูจน์สิทธิในที่อยูอาศัยของชุมชนผ ่ านภาพถ ่ ่ายทางอากาศและด้วยวิธีอื่นๆ ที่ไม่ ใช้เอกสารสิทธิแต่ เพียงอยางเดียว ่ ผอนปรนพิเศษในการประกอบอาชีพประมงที่ใช้อุปกรณ์ดั ่ ้งเดิมของกลุ่มชาวอู รักลาโว้ยในการเข้าไปทํามาหากินในพื้นที่อุทยานและเขตอนุรักษ์อื่นๆ 7 การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5 The 5 th STOU Graduate Research Conference แนวทางในการพัฒนา ด้านการศึกษาควรเร่งสร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นคุณค่าและความสําคัญ ของการศึกษา สร้างจิตสํานึกให้รู้จักหวงแหนและภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ ประเพณี และภาษาพูดของตน ส่งเสริม และสนับสนุนทุนการศึกษาอยางต ่ ่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดตั้งการศึกษาพิเศษ หลักสูตรท้องถิ่ นที่สอดคล้องกบวิถีชีวิต ั ชุมชน ด้านการประกอบอาชีพ อาชีพหลักคือการประมง อาชีพรองคือรับจ้างที่เกี่ยวข้องกบบริการทางทะเล ส ั ่วน ราชการควรเข้ามาจัดอบรมอาชีพและผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆเช่นการออกใบอนุญาตขับเรือและบัตรผอนปรน ่ การเข้าเขตจับสัตว์นํ้ าทางทะเล อภิปรายผลการวิจัย ประวัติความเป็ นมาของชุมชน ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่าการตั้งชุมชนเริ่มขึ้นเมื่อใด เพราะถ้ายึด เอกสารราชการก็จะยืนยันว่ามีการออกเลขบ้านเมื่อพ.ศ.2460 และการจัดตั้งโรงเรียนเทศบาลในชุมชนเมื่อพ.ศ. 2456 แต่เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางกายภาพและประวัติศาสตร์ชุมชน เช่น บ่อนํ้ าที่ขุดใช้ในชุมชน ต้นมะขาม ขนาด 7 – 8 คนโอบ และหลักฐานการขุดพบโครงกระดูกที่สามารถระบุความสัมพันธ์ทั้งพันธุกรรม DNA และ ลักษณะการประกอบพิธีกรรม หรือภาพถ่ายทางอากาศเมื่อพ.ศ.2495 สรุปได้วาชุมชนได้อยู ่ อาศัยมาก ่ ่อนพ.ศ.2508 ซึ่งเป็ นปี ที่มีการออกเอกสารสิทธิครอบครองที่อยูอาศัยในปัจจุบัน ่ สอดคล้องกบการศึกษาของ กรองแก ั ว ้ สูอํา พันธ์และเสาวภาพ อาศน์ศิลารัศน์(2552)อีกดลาโวจ. ั ซึ่งศึกษาเรื่องแผนที่การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเล ของชาวอูรักลาโว้ยในอดีต และการตั้ งถิ่ นฐานชุมชนชาวเล 41 ชุมชนในอาณาเขตประเทศไทย แสดงให้เห็นถึง การตั้ งถิ่ นฐานและการดํารงอยูที่สืบทอดมาของกลุ ่ ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย สอดคล้องกบทฤษฎีกระบวนการพัฒนา ั ไปสู่ความทันสมัย (ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ , สิริพร สมบูรณ์บูรณะ และวิริยะ สว่างโชติ (2550 : 48) ความ หลากหลายในการกระบวนการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย แต่ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงยังทําให้เกิด ลักษณะร่วมบางประการ คือ เงินตรากลายเป็ นสาระสําคัญของการดําเนินชีวิต ระบบการผลิตของชาวนาจะ เปลี่ยนไป สูญเสียที่ดินและกลายเป็ นแรงงานอุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรมขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม เศรษฐกิจ เหมือนกบทุกๆสังคม ประชากรในชุมชนมีวิถีชีวิตและค ั ่านิยม ตามกระแสภายนอก ลักษณะบุคลิกมีความผสมกลมกลืนเสมือนคนท้องถิ่ นภูเก็ตทัวไป และ ่ มีความภาคภูมิใจใน ฐานะพลเมืองของรัฐเพิ่ มขึ้นแต่ยังได้รับการปฏิบัติที่ไม่ เท่าเทียมบ้างในสิทธิบางประการ ทั้งนี้เนื่องมาจากนโยบาย ต่างๆ ของภาครัฐด้วย แต่ปัญหาหลักของชาวชุมชนอูรักลาโว้ย ตั้งแต่อดีตและทวีความรุนแรงในปัจจุบันก็คือ กรณีที่อยูอาศัย ซึ่งเอกชนได้ออกเอกสารสิทธิ ่ ์ครอบคลุมทับซ้อน ทั้งที่อยูอาศัยและพื ่ ้นที่พิธีกรรม สอดคล้องกบั การศึกษาของ นฤมล อรุโณทัย (2550) ที่อยูอาศัย ่ และพื้นที่พิธีกรรมมีความสําคัญและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ทํา ให้เกิดแรงจูงใจในการรุกรานและครอบครองโดยกลุ่มนายทุนที่มีอํานาจ สอดคล้องกับทฤษฎีความทันสมัย (Modernization) การอยู่ร่วมกนั เป็ งามพิศ สงวนสัตย์(2545: 28- 33) กระบวนการเปลี่ยนแปลงระบบราชการ (Bureaucracy) แบบระบบเครือญาติแต่มีความเป็ นปัจเจกเพราะวิถีชีวิตที่อาศัยในเรือของตน และทําการ ประมงยังชีพ มีการพึ่งพาอาศัยกนและก ั น มีความยึดมั ั นในคําสั ่ ่ งสอนของกลุ่มและเกรงกลัวบทลงโทษทางจารีต ของกลุ่ม ปัจจุบันเปลี่ยนเป็ นชุมชนที่สังกดการปกครองของรัฐ ัสอดคล้องกบการศึกษาของเยาลักษณ์ ศรีสุกใส ั (2545) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยางมากในระยะ 20 ่ -30 ปี ที่ผ่านมา มี เครื่องมือประมงที่ซับซ้อนมากขึ้น อาชีพประมงก่อให้เกิดประเพณี เช่น ลอยเรือ , บูชาแม่ยานาง สอดคล้องก ่ บั แนวทฤษฎีการกระทําระหว่างกนด้วย ชาวอูรักลาโว้ยแต่ละครัวเรือนต้องแกะสลักหุ่นไม้ระกา เป็ น ํ รูปคนเท่าจํานวนสมาชิกและนําไปวางใส่เรือปราฮู้ ที่ร่วมกนจัดทําเพื่อเป็ นการเซ่นสังเวยและคารวะต่อเทพเจ้า เสมือนเป็ นการลอยเคราะห์ ก่อให้เกิดความสวัสดีต่อตนและกลุ่ม สอดคล้องกบการศึกษาของ ฐากูร โกมารกุล ณ ัรักลาโว้ย เนื่องจากเป็ นชุมชนเครือญาติและสังคมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ ทําให้มีความสัมพันธ์ทางด้านสังคมสูง มีความ ช่วยเหลือเก้ ือกูลกนภายในกลุ ั ่ม สอดคล้องกบการศึกษาของ จิราพร บุตรสันต์ (2539) ั ชาวอูรักลาโว้ยมีความเป็ น ปัจเจกสูง มีลักษณะต่างคนต่างอยู เรียกว ่ า อัตลักษณ์ส ่ ่วนบุคคล (Individual Identity) ส่วนความสัมพันธ์กบเพื่อน ั บ้านภายนอกชุมชน มีลักษณะของการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างกน เทศบาลตําบลราไวย์ ให้นําไปใช้เป็ นข้อมูลในการก ั าหนด ํ นโยบาย และแผนพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 

เอกสารอ้างอิง กรองแกว สูอําพัน (2552). อีก ้ ดลาโวจ. สํานักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั ั ่ ง กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากด. ั จิราพร บุตรสันต์. (2539). ลักษณะและปัญหาในการสื่อสารต่างวัฒนธรรมระหวางชาวเลก ่ บเจ้าหน้าที่พัฒนา ั ชุมชน กรณีศึกษาโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลในตําบลราไวย์อําเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 9 การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5 The 5 th STOU Graduate Research Conference (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. (2550). ทฤษฎีมานุษยวิทยา. ในประมวลชุดวิชาการพัฒนาจากมุมมองของสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา หน่วยที่ 3 หน้า 22 – 53. นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา.(2540). ประวัติศาสตร์และชนชาติไทย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฐากูร โกมารกุล ณ นคร.(2549). สุรินทร์ ผืนนํ้ า แผนฟ้ า เท ่ ่าที่ดวงตามองเห็น.วารสารอสท,46(8),68-78. นฤมล อรุโณทัย.(2549). กลุ่มชาติพันธุ์ทางทะเลชายแดนและชายขอบ : การสร้างความมันใจและความมั ่ นคงใน ่ ประเทศกบความมั ั นคงของมนุษย์ ่ : จากปัญหาสู่พลังภาคี เอกสารประกอบการสัมมนาระดับชาติเรื่อง ประเทศไทยกบความมั ั นคงของมนุษย์ จุดยืนและก ่ าวต ้ ่อไป.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. เยาวลักษณ์ ศรีสุกใส.(2545). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคมและวัฒนธรรมของชาวเล ศึกษากรณีชาวเล ลังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ. สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฏีทางสังคมวิทยา.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชาวอูรักลาโว้ยบริเวณหาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต Socio-Economic and Cultural Change : A Case Study of Urak Lawoi Ethnic group at Rawai Beach, Phuket Province 10 การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5 The 5 th STOU Grauate Research Conference 11างหมู่บ้าน

https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/%E0%B8%9D%E0%B8%AA%E0%B8%AA/research/5nd/FullPaper/SS/Oral/O-SS%20009%20%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%20%20%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99.pdf

อรุโณทัย และคณะ. (2557). ทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. พิกัดภูมิศาสตร์


วิถีชาวเล


ชาวมอแกล๊น(มอแกล๊น=มาซิง=น้ำเค็ม)หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ชาวเลหรือชาวไทยใหม่(ถ้าแบ่งชาวเลตามภาษา จะได้ ๒ เผ่า คือเผ่ามอแกล๊น กับ เผ่าโอรังลาโอด) นับถือหลายความเชื่อ มีศาสนาพุทธ นับถือแม่พระเจ้าที่เจ้าทาง และตายายช่วย ตายายโช่ง ทุกปีจะมีการสะเดาะเคราะห์ให้กับหมู่บ้าน หรือตนเองโดยการนำข้าวสารหรืออาหารแห้ง ไปใส่ในเรือลำเล็กที่สร้างขึ้นแล้วนำเรือนั้นลอยออกไปในทะเล ความเชื่อนี้จะทำขึ้นทุก ๆ เดือน ๖ ในเวลากลางคืนจะมีการรำวง หรือรองเง็ง เป็นเวลา ๓วัน ๓ คืน และคืนที่สามจะมีการนำเรือที่สร้างขึ้นไปลอยกลางทะเล(พ.ศ.๒๕๔๙ มีพิธีที่บ้านแหลมตุ๊กแกเกาะสิเหร่ และบ้านแหลมหลา ส่วนที่บ้านราไวย์ จะมีพิธีอาบน้ำมนต์) ซึ่งประเพณีลอยเรือนี้จัดขึ้นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินจะจัดขึ้นในกลางเดือนหกและเดือนสิบเอ็ดและจะมีการแข่งเรือโดยแข่งกันสองลำ การแข่งเรือจะมีคนหกถึงเจ็ดคนอยู่ในหนึ่งลำ ส่วนกลางคืนจะมีการรำวงเรียกว่า งานประจัก จะจัดขึ้นในหมู่บ้าน โดยจะเริ่มจัดตั้งแต่ตอนบ่ายสามโมงขึ้นไป จะจัดขึ้นในวันขึ้นสิบสองหรือสิบสามค่ำ จัดกลางลานหมู่บ้าน และมีการเก็บเงินหลังละ ๑๐๐ บาท เพื่อนำไปเช่าตู้เพลงที่มีลำโพงใหญ่ เช่าลำโพงหลังละ ๕,๐๐๐ บาท มีลำโพงสองข้าง และจะมีความแตกต่างจากการจัดงานของชาวเลในเกาะสิเหร่ คือ ชาวเลที่เกาะสิเหร่จะมีการทำเรือลำเล็ก ๆ และทำหุ่นรูปคนปลอมใส่ไว้ในเรือ มีการนำขนม หมากพลู ยาสูบใส่ไว้ในเรือ ต่อจากนั้นก็จะมีการบนบานและขอพรแล้วก็โยนทุกสิ่งให้ลอยไปกับน้ำ เพื่อให้สิ่งโชคร้ายหายลอยไปกับน้ำ

 

การพักผ่อนของชาวเล

การพักผ่อนของชาวเลในตำบลราไวย์จะมีการนอนหาด นั่งคุยกัน ส่วนพวกเด็ก ๆ ก็จะมีการละเล่นทั่วไป เช่น ฟุตบอลชายหาด เล่นน้ำทะเล หาหอย หาปู ปลามากินกัน


งานศพ

จะมีการอาบน้ำศพ แต่งตัวศพให้เรียบร้อยก่อนนำใส่ในโลง มีการใส่หมากพลู ข้าวสารหรือถ้วยชาม เสื้อผ้าของผู้ตายรวมทั้งข้าวของ ของผู้ตายที่เคยใช้หรือชอบตอนยังมีชีวิตอยู่ใส่ลงไปในโลงให้หมด จะมีการเก็บศพไว้ก่อนฝังประมาณสองถึงสามวัน ต่อจากนั้นก็จะมีการนำศพไปฝังที่ป่าช้าจะไปโดยการเดินแบกศพไป ทุกคนในหมู่บ้านจะไป ถ้าไปฝังศพในหมู่บ้านจะมีการห้ามนำเรือออกไปหาปลาสักลำหนึ่ง ให้ศพฝังเสร็จเรียบร้อยก่อนถึงจะออกเรือได้

งานลอยกระทง

จะมีการทำกระทงกันเอง แล้วจะตัดเล็บ ตัดผม ใส่เงิน แล้วพากระทงไปลอยในทะเล ทำเหมือนคนพุทธทุกอย่างเลย


หลา

หลา คือ ศาลเล็ก ๆ ที่ชาวเลสร้างขึ้นบนเขา เพื่อเป็นที่บูชากราบไหว้ และทำพิธีบนบานขอพรหรือแก้บนของชาวเล และถ้าคำบนบานนั้นเป็นจริง จะมีการนำขนมแป้ง อาหารคาว – หวาน มาแก้บน

แต่เครื่องใหญ่กว่าเท่าตัว



การรักษาตัวแบบพื้นบ้าน


เมื่อถูกผีในน้ำเข้าหรือมาทำร้าย ก็จะมีวิธีแก้หรือรักษาคือ ให้หมอบ้านที่มีวิชาทางด้านไสยศาสตร์มาแก้ โดยจัดเตรียมหมากพลู ใบจากม้วนกับยาเส้น ตั้งในน้ำให้เป็นคำหนึ่งคำ แล้วนำไปปัดเด็กเพื่อทำพิธีขอขมาผีในน้ำทะเล ปลิง เป็นยารักษาโรค แก้เจ็บท้อง วิธีทำ ก็คือ นำปลิงมาต้มกับน้ำธรรมดาแล้วรินเอาน้ำกินไม่กินตัว รสชาติจะออกหวาน ๆ ถ้ามีใครเจ็บป่วยหรือโดนผีเข้าก็จะเรียกหมอบ้านหรือหมอไสยศาสตร์ให้มาทำพิธีปัดเป่าที่บ้านและต้องเตรียมหมากพลู ยาเส้นใส่ไว้ในถ้วยตั้งไว้ให้หมอบ้านมาดูว่าถูกอะไรเข้า เมื่อดูเสร็จหมอบ้านก็จะจัดยาสมุนไพรให้ไปกิน

การละเล่นของเด็กชาวเล (ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากการเรียนในระบบโรงเรียนของรัฐ)


การเล่นดีดลูกแก้ว อุปกรณ์ ลูกแก้ว 


วิธีเล่น ใช้นิ้วชี้ดีดให้ลูกแก้วของเราไปถูกอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้ หากลูกแก้วถูกฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าเราชนะและจะได้ลูกแก้วลูกนั้นไปเลย อีมอญซ่อนผ้า อุปกรณ์ ผ้าผืนเล็ก ๆ ๑ ผืน 

วิธีเล่น จะมีคนนั่งล้อมวงตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ต่อจากนั้นก็จะมีหนึ่งคนที่ต้องออกมาเดินอยู่นอกวงและถือผ้าที่เตรียมไว้ คนในวงก็จะร้องเพลงและปรบมือพร้อมกับระวังว่าคนถือผ้าจะวางผ้าไว้ที่ใคร ถ้าวางไว้ที่ตัวเองต้องรีบลุกขึ้นวิ่งไปตีคนที่วางให้ทัน หากไม่ทันเราก็ต้องเดินอยู่นอกวงเหมือนคนถือผ้า ทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเลิกเล่นเอง การเล่นแข่งตะกร้อ อุปกรณ์ ลูกตะกร้อ ๑ ลูกและตาข่ายกั้นเขตแดน 

วิธีเล่น การเล่นแข่งขันตะกร้อนี้ เด็กหนุ่มผู้ชายจะเป็นคนเล่นกันเอง โดยแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละประมาณสามคนขึ้นไป และจะมีตาข่ายที่เป็นเขตแบ่งแดนให้รู้ว่าถ้าออกเขตนี้ไปแล้วถือว่าฝ่ายนั้นได้คะแนน ถ้าลูกตะกร้อตกไปอยู่ของเขตฝ่ายตรงข้ามได้เราก็จะได้คะแนนเล่นไปเรื่อย ๆ จนครบคะแนนที่เรากำหนด ฝ่ายไหนได้คะแนนมากที่สุด ฝ่ายนั้นก็เป็นผู้ชนะ การเล่นจับปลาแข่งกัน อุปกรณ์ ไม้แหลมยาว ๆ และกระป๋องใส่ปลา 

วิธีเล่น จะเล่นกันในน้ำทะเลใช้มือเปล่า ๆ เล่นหรือจะใช้ไม้แหลมที่เอาไว้เสียบปลาเป็นอุปกรณ์จับปลาก็ได้แล้วแต่กติกาที่กำหนด มีการแบ่งเป็นฝ่ายแล้วแต่จะกำหนดว่าให้มีฝ่ายละกี่คน มีการจับเวลาในการจับปลาหากฝ่ายไหนจับปลาได้มากที่สุดในเวลาที่กำหนดให้ถือว่าชนะ การเล่นโดดยาง อุปกรณ์ สายยางยาว ๆ ๑ เส้น 

วิธีเล่น มีผู้เล่นตั้งแต่สามคนขึ้นไป ก่อนเล่นมีการกำหนดว่าใครจะเป็นผู้เล่นและใครจะเป็นผู้ถือสายยาง ๒ คน โดยใช้วิธีเป่ายิ้งชุ้บ และจะเริ่มโดดยางตั้งแต่ขั้นตาตุ้มถึงศีรษะหากใครโดดไม่ผ่านคือถูกสายยางก่อนก็จะต้องเป็นผู้มาถือยางต่อ การเล่นฟุตบอลชายหาด อุปกรณ์ ลูกฟุตบอล ๑ ลูก 

วิธีเล่น การเล่นฟุตบอลชายหาดจะเล่นกันเฉพาะเด็กหนุ่มและมีผู้เล่นตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยจะเล่นส่งบอลกันไปมา หรืออาจจะเล่นเป็นกลุ่มและมีกติกาเหมือนชาวไทยทั่วไปเล่นกัน จะเริ่มเล่นกันตั้งแต่ประมาณบ่ายสามโมงขึ้นไป

ทั่วไป ลักษณะบ้านเป็นชั้นเดียว เพิงหน้าจั่วหรือหมาแหงน มีห้องเดียว มีประตูทางเดียว และปูด้วยกระเบื้อง ฝาห้องบางทีก็ทำด้วยสังกะสีหรือทำด้วยกระเบื้องทั้งหลัง



พิธีแต่งงาน


มีการยกขั้นหมากไปสู่ขอฝ่ายหญิง ทำเหมือนประเพณีของชาวไทยพุทธทุกอย่าง ถ้ามีเงินมากก็จะสู่ขอและจัดงานใหญ่โต ถ้ามีเงินน้อยก็จะทำพิธีเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โต ค่าเงินสู่ขอมีตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ส่วนมากก็จะอยู่ที่สามพันบาทถึงห้าพันบาท มีการเลี้ยงอาหารเพื่อน ๆ ที่มาในงาน ส่วนมากเป็นญาติพี่น้องและคนในหมู่บ้าน อาหารที่เลี้ยงพิเศษก็คือ หอยนางรม เพราะปกติจะไม่ได้กินกันเนื่องจากมีราคาแพง จะมีก็วันที่เป็นงานมงคลถึงจะได้หาซื้อมาเลี้ยงหรือจัดงานกัน หอยนางรมที่นำมาเลี้ยงมีประมาณหนึ่งพันตัวขึ้นไป

ซึ่งหลานี้คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเล

คำบนบานของชาวเล

อย่าเจ็บไข้ได้ป่วย ขอให้อยู่ดีมีสุข ขอให้หาปลาได้เยอะ ๆ ขอให้คุ้มครองลูกและลูกหลานลูกด้วย ถ้าคำบนบานเป็นจริงลูกจะนำขนม หมากพลู มาให้


ความเชื่อ


ถ้าเห็นพระอยู่ใต้น้ำสามองค์ ถ้าสึนามิมาจะไม่ถูกและน้ำจะแยกไปทางอื่น คนที่เห็นจะไม่โดนสึนามิ 

ความเชื่อในเรื่องของการแก้บน คือ ถ้าบนแล้วได้สิ่งที่ต้องการก็จะนำผ้าสามสี สีอะไรก็ได้แต่ส่วนมากนิยม สีแดง น้ำเงินและขาว แล้วนำไปผูกที่เรือ เพื่อแก้บน(แก้เหมรย) 

ความเชื่อเกี่ยวกับน้ำทะเล คือ ถ้าถึงเวลาสิบห้าค่ำ จะไม่ปล่อยให้เด็กลงอาบน้ำเค็ม เพราะอันตรายอาจจะถูกของใส่ตัว ถ้าถูกของใส่ก็จะให้หมอบ้านมาแก้หรือปัดเป่า 

ถ้าคนแก่ขี้แถวทะเล เชื่อว่าผีเด็กจะมาอยู่ข้าง ๆ 

นกผีอยู่บนต้นไม้ พอเด็กร้องนกผีก็ร้องตาม 

ผีกระจะมากินข้าวหมูหลังบ้านทุกคืน 

พอไปเกาะบอล บางทีก็ได้ยินเสียงเด็กร้องแต่จริง ๆ ไม่มีอะไร

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ถ้าอาบน้ำเค็มเป็นประจำแล้วไม่อาบน้ำจืดเลย ผมจะเป็นสีแดง 

ถ้าน้ำทะเลลดกลางวัน จะขึ้นเวลากลางคืน 

ชาวเลเมื่อก่อนมีถิ่นฐานอยู่ที่เกาะอาดัง จังหวัดสตูล แล้วอพยพมาเรื่อย ๆ จนถึงภูเก็ต 

สะอาด บันทึกเมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙

บาลัย บาลัย เป็นเสมือนศาลาหรือศาลเพียงตา ที่ใช้เซ่นสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยโต๊ะหมอเป็นตัวแทนประกอบพิธีทำพิธี หรือคนในชุมชนจะบนบานศาลกล่าวต่อผีบรรพบุรุษ ซึ่งพิธีกรรมที่สำคัญคือ พิธีลอยเรือและอาบนำ้มนต์ โดยจัดขึ้นปีละ2ครั้ง ในอดีตชาวเลจะร่วมกันสร้างบาลัยจากไม้เนื้ออ่อนที่หาได้ในชุมชน ซึ่งทำให้ผุผังง่าย ปัจจุบันได้จากจากวัสดุที่ทนทานและแสดงออกทางสัญลักษณ์ว่าเป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณ โครงสร้างของบาลัยเป็นเหมือนบ้านเรือนชาวเลแบบย่อส่วน มีบันได5ขั้น หันหน้าไปทางทิศใต้ มีห้องนอน ครัว และชานต่อกับบันได ชาวเลจะแกะสลักหุ่นจากไม้ระกำเป็นตัวแทนของคนในกลุ่มใส่ใว้ในบาลัยด้วย เนื่องจากชาวเลนับถือผีบรรพบุรุษ การแสดงออกถึงความเคารพและบูชาจึงเป็นจารีตของสังคม เมื่อถึงวันสำคัญทาง พิธีกรรม เช่น วันลอยเรือ วันอาบน้ำมนต์. ชาวเลจะงดออกเรือหาปลา แต่จะช่วยกันจัดเตรียม บาลัย ให้สะอาดเรียบร้อย ทุกคนจะพร้อมเพรียงมีส่วนร่วมในพิธี ผู้ไม่เข้าร่วมย่อมหมายถึงการแสดงความลบหลู่ซึ่งจะนำโชคร้ายและเพทภัยมาสู่กลุ่ม หมวดหมู่ : มนุษยศาสตร์ คำเรียกชื่ออื่น : 1 ศาลบรรพบุรุษ 2 ground spirit คำนิยาม : บาลัย เป็นศาลบูชาบรรพบุรุษสร้างจำลองจากบ้านเรือนอาศัยของชาวเล มีบันได5 ขั้น ตั้งอยู่ในบริเวณ หลา หรือพื้นที่ประกอบพิธีกรรมของชุมชน ภูมิปัญญา : การสร้างสถานที่เคารพบูชา โดนจำลองวิถีชีวิตของกลุ่ม ทำให้คนในกลุ่มมีความรู้สึก เหมือนอยู่บรรยากาศที่เป็นอยู่ของชีวิต การสร้างจารีตให้คนเคารพบูชาบรรพบุรุษ เป็นการปลูกฝังให้เกิดความเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม และการสำนึกรักบ้านเกิดถิ่นฐาน ชาติพันธุ์ของตน คำเชื่อมโยง : 2 ประเพณีอาบน้ำมนต์ 2 โต๊ะหลา นามานุกรม : นายหริ ฟองสายธาร อายุ73ปี เกิด. บ้านเลขที่. ม2ต ราไวย์ อ เมือง จ ภูเก็ต ผู้เขียน : คุณ กัญญ์วรา เชื้ออ่อน เมื่อ 04/08/2017 16:25:21


อาชีพของชาวเล


อาชีพของชาวเล  ได้แก่ ประมงแบบดั้งเดิม ใช้เครื่ องมือแบบดั้งเดิม  การหาปลา โดยผู้ชายชาวเลในหมู่บ้านจะออกไปหาปลาในทะเล โดยลำหนึ่งจะไปกันสามถึงห้าคน อาทิตย์หนึ่งจะออกไปหาปลาสักครั้ง ซึ่งการออกไปหาปลาจะตั้งสังเกตดูน้ำทะเลว่ากี่ค่ำ  ถ้าสิบห้าค่ำจะไม่ออกไปหาปลา เวลาของการออกเรือไปหาปลาคือช่วงบ่าย และจะเดินทางกลับมาในตอนเช้าของอีกวัน เพื่อนำปลาที่หาได้ไปขายที่ร้าน หรือจะมีพ่อค้าจะมารับซื้อถึงที่   ปลาที่ขายได้แก่ ปลาขี้ตัง ปลามง ปลาเก๋า เป็นต้น 

อาชีพขับเรือรับจ้าง   โดยจะมีผู้โดยสารมาว่าจ้างให้ไปส่งยังเกาะต่าง ๆ เช่น เกาะเฮ เกาะบอน  เกาะแก้ว ไป – กลับ ราคาเริ่มต้นที่ ๑,๒๐๐ – ๑,๕๐๐ บาท โดยจะเริ่มตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าถึงบ่ายสามหรือบ่ายสี่โมงเย็น 

อาชีพการหาปลิงทะเลมาขาย ซึ่งจะขายในราคาตัวละหนึ่งบาท หรือนำไปส่งร้านทุกวันจันทร์และอังคาร ปลิงทะเลจะมีทุกวัน ชาวเลไปดำที่กลางทะเล เอาไปขายหนึ่งร้อยถึงสี่ร้อยกิโลกรัมต่อวัน โดยก่อนนำไปขายจะนำมาต้ม ย่างและตากแดด จึงจะไปส่งที่ร้านค้าหรือเอาไปขายสด ๆ กิโลละสามสิบบาท นอกจากนั้นก็จะมีการหาหมึก หอย ปู ตัดยาง ตัดหญ้า และรับจ้างทั่วไป

เรือประมง ดำน้ำลึกกว่า 30เมตร เพื่อให้ผู้หญิงได้นำอาหารทะเลมาวางแผงขาย เช่นกุ้งมังกร และหอยเป๋าฮื้อ 

เครื่องมือในการประกอบอาชีพ   เครื่องมือประมงที่ชาวเลใช้ ได้แก่

- ไซ ขนาดเล็กทํามาจากไม้ไผ่ ขนาดใหญ่จะ ทําจากหวายไม้และลวดเหล็กบริเวณที่นําไซ ไปวางได้แก่ พื้นทราย แนวปะการังหรือกองหิน รอบเกาะ มีทั้งบริเวณนํ้าตื้นและนํ้าลึก ขึ้นอยู่กับขนาดของไซ ถ้าไซใหญ่จะวางไว้ บริเวณนํ้าทะเลลึก โดยจะผูกไซไว้กับหิน และจะนําปลาออกจากไซทุก ๆ 4-5 วัน จนกระทั่งไซพัง ปลาที่จับได้ ด้วยการใช้ไซ ได้แก่ ปลาข้างเหลือง ปลานกแก้ว ปลาสลิดหินทะเล ปลาตะมะ ปลากะพง ปลาเก๋า เป็นต้น 

-อวน  การจับปลาด้วยอวน นิยมทําให้ช่วงนํ้าลง วิธีจับปลาด้วยอวน คือ การใช้ อวนล้อมหิน หรืออวนบริเวณนํ้าตื้น และใช้อุปกรณ์หรือสิ่งของให้ปลาตกใจกระโจนเข้าอวน ส่วนอวนอีก ประเภทหนึ่งคือ อวนถ่วง โดยออกเรือไปวางอวนในช่วงหัวคํ่า ออกอวนในตอนบ่ายหรือในวัน รุ่งขึ้น นํากุ้งและปลาหมึกตัวใหญ่ ๆ ไปขายที่แพปลาของเถ้าแก่  การหาหอยชาวเลใช้เหล็กต่อยหอยต่อยจากโขดหินที่นํ้าขึ้นถึงใน เวลานํ้าลด

-แห  

-ลอบ ไซ ลอบทำมาจากไม้ แล้วนำลวดมาถักเป็นตาข่าย   หน้าที่การใช้งานของลอบคือไว้ดักปลา หมึก มีขนาดใหญ่กว่าไซ

 -ทุ่น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ถ่วงเรือเอาไว้ไม่ให้เรือออกไป โดยจะใช้เชือกหนาผูกไว้กับสิ่งของหนัก ๆ เช่น เหล็กหรือลูกตุ้ม

 -เหล็กกรม เอาไว้ทิ่มปลาและจะมีลังไว้ใส่ปลา

-ระวิง 

เหล็กรม เครื่องรม เอาไว้หาหอยนางรม

เรือ มีตั้งแต่เรือหางยาว เรือยันหมา ซึ่งจะเป็นเรือที่มีเครื่องยนต์ใหญ่ยี่ห้อ   ฮอนด้า ซูซุกิ


ระบบครอบครัวและความสัมพันธ์ของสมาชิก

ชาวอุรักลาโว้ยใช้ชีวิตครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว โดยฝ่ายชายจะเข้าอยู่กับครัวเรือนฝ่ายหญิงชั่วคราว ก่อนแยก เป็นครอบครัวเดี่ยวเมื่อถึงเวลาสมควร




ภูมิอากาศและลักษณะพื้นที่

การคมนาคม

ประชากร

ลักษณะทางเชื้อชาติและภาษาของชาวเลบ้านราไวย์

เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙

นายเป็ด ลักเกาะ เพศชาย อายุ ๕๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๕๒ หมู่บ้านไทใหม่ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ให้ข้อมูลนางสาวณัฏยา ทองคำสะอาด เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙

ประเพณีลอยเรือ





 

 

 



 


การแต่งกาย



อาหารการกิน

ชาวเลกินข้าวเป็นอาหารหลักของ โดยจะซื้อข้าวสารไว้หุงและใช้ภายในครัวเรือนทีละมาก ๆ เพราะต้อง กินข้าวทุกมื้อ  ชาวเลจะไม่นิยมกินข้าวหอมมะลิเพราะมีราคาแพง และไม่อิ่มท้อง ปัจจุบันชาวเลหุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า เพราะสะดวกและรวดเร็ว 

 กับข้าวส่วนใหญ่จะมีปลาเป็นหลัก  อาหารที่ชาวเลนิยมรับประทานคือ ปลาทอด แกงส้มปลา ปลาเปรี้ยวหวาน และจะมีเนื้อหมู ไก่หรือเนื้อวัวเป็นบางมื้อ โดยนําหมูหรือไก่มาผัดกับผัก ต่าง ๆ หรือเป็น แกงเผ็ด ผัดเผ็ด เช่น ผัดเผ็ดปลากระป๋อง หอยก็จะนำหอยมาต้มกินกับน้ำพริก  ส่วนตัวหอยนางรมนำไปต้มกิน หอยพงนำมาต้มกินหรือกินสด ๆ ปูหิน หรือปูดำ นำมาต้มกิน แมงวาย มีลักษณะคล้ายปลาหมึก นำไปหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาต้มกิน 

การทําอาหารหลาย ๆ อย่าง ก็เมื่อมีงานหรือจะประกอบพิธีในหมู่บ้าน มีวัตถุดิบประเภทเนื้อหมู ไก่หรือเนื้อวัว เป็นบางมื้อ โดยนํามาทําผัดหมูหรือไก่กับผัก เก็บยอดผักบางชนิดจากปาแถบชายเกาะ ยอดผักที่ใช้จิ้มนํ้าพริก เช่น ยอดอ่อนของต้นมะม่วงหิมพานต์ เ ต้มยํากุ้ง กุ้งมะนาว ทอดมันกุ้ง ผัดสะตอผัดกับกะปิใส่กุ้ง แกงเหลืองปลากระบอก ผักเหลียงผัด ไข่ ขนมจีนนํ้ายาใต้ แกงไตปลา ข้าวยํา แกงคั่วหอยแครงใส่ใบชะพลูปิ้งงบ เหลง(ลักษณะคล้ายกุ้ง) นํามาทํากะปิ และมีมะพร้าวเป็น พืชหลักที่สําคัญในชีวิตประจําวันของชาวเล จะใช้มะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลักในการปรุงอาหารคาวหวาน 

ขนมที่นิยมรับประทานคือ ขนมหลาก้า เป็นขนมที่ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นกลม ๆ ต้มใส่นํ้าตาลใส่ขิง ขนมจูจุน (ขนมฝักบัว)   

ขนมแป้ง เป็นขนมคล้าย ๆ กับขนมโค ข้างในใส่ไส้มะพร้าว วิธีทำ ตอนแรกจะผสมแป้งกับน้ำ แล้วทำเป็นลูกกลม ๆ ให้ใหญ่ แล้วนำไปทอดใส่ไส้มะพร้าวมีลักษณะสีขาวเหลือง 

ขนมสาววา วิธีทำ นำแป้งมาทำเป็นวงกลม แล้วนำแป้งนั้นมาต้มกับน้ำกิน โดยใส่น้ำตาลเกลือเล็กน้อย

 


ศึกษาวัฒนธรรมอาหารการกินของชาติพันธุ์ชาวเลอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต โอกาส ทั้งในการใช้

การสาธารณสุข

ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล

ด้านอนามัยแม่และเด็ก

ด้านสิ่งแวดล้อม

ความเชื่อ 

ความเชื่อเรื่อง ผี    

การไหว้เรือ  ผูกผ้า ชาวเลมีการพรมนํ้ามนต์ก่อนนําเรือลํา ใหญ่ลงทะเล


วัฒนธรรม

ศาสนา

ชาวอุรักลาโว้ยนั้นนับถือผีบรรพบุรุษถือ ผีปู่ย่าตายาย  และสิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งลี้ลับที่มองไม่เห็น ว่ามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต  จึงมีการตั้งหลาเอาไว้เพื่อบนบาน ชาวเลที่ตำบลราไวย์นับถือศาสนาพุทธ แต่ชาวเลส่วนใหญ่จะไม่กินหมู  และศพจะนำไปฝังคล้ายกับพิธีฝังศพของศาสนาอิสลาม บางคนจะไปวัดปีละ  

การบวชของผู้ชาย 

           มวยกาหยง เป็นศิลปะการป้องกันตัวของชาวเล กลุ่มราไวย์ จ.ภูเก็ต ได้รับอิทธืพลมาจากประเทศมาเลเซีย จะแสดงในโอกาสต่าง ๆ เช่น พิธีไหว้ครู พิธีการแก้บนหรือภาษาพื้นบ้าน เรียกว่า การแก้หฺมฺรย และรับเชิญไปสาธิตการแสดงในโอกาสต่าง ๆ 

๑. การรำมวยกาหยง ในพิธีไหว้ครู

งานพิธีไหว้ครู ประจำปี  จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี  ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. หรือ ๕ โมงเย็น ถือเป็นประเพณี เพื่อความเป็นสิริมงคล และเชิดชูเกียรติระลึกถึงครูบาอาจารย์  ผู้ถ่ายทอดวิชาศิลปะการต่อสู้ มวยกาหยง โดยพิธีกรรม มีดังนี้

การจัดเตรียมเครื่องบวงสรวง บูชาครู  และจัดวางไว้กลางวงพิธี เครื่องบวงสรวง ๙ สิ่ง  ประกอบด้วย

๑.     กล้วยสุก ๓ เครือ  ได้แก่ กล้วยน้ำว้า  ๑ เครือ, กล้วยเปรี้ยว ๑ เครือ, และกล้วยขม ๑ เครือ

๒.     เครื่องหอม กำยาน สำหรับจุดไฟให้มีควัน  ถือเป็นเครื่องสื่อสารกับวิญญาณครู อาจารย์

๓.     เหล้าขาว ๑ แก้ว

๔.     น้ำ หรือน้ำหวาน ๑ แก้ว

๕.     ข้าวตอก

๖.     หมากพลู ๑ คำ

๗.     ใบจากหรือบุหรี่

๘.     เทียนขาว ๑ เล่ม

๙.     กำนล (เงินบูชาครู เท่าไรตามศรัทธา  ให้ลงท้ายด้วยเลข ๙ )

วางอุปกรณ์เครื่องดนตรี ที่ใช้ในการแสดง ทั้ง ๔ ชนิด ด้านหน้า โดยมีความเชื่อว่า ในขณะทำพิธี ห้ามผู้หญิงเข้าใกล้ และแตะต้องเครื่องดนตรี 

การประกอบพิธีไหว้ครู 

           ครูหมอ หรือโต๊ะครู ในพิธี จะกล่าวเชิญ ครู บา อาจารย์ มวยกาหยง เป็นภาษาชาวเล 

เข้ามาในพิธี โดยจัดควันกำยาน เชื่อว่า ควันกำยานที่จุด เป็นสัญญาณ นำทางให้ครูมาถึงที่จัดพิธี  จากนั้นจึงกเบิกเครื่องดนตรี โดยครูหมอจะยื่นมือไปตี และแตะเครื่องดนตรีทุกชิ้น ที่วางไวตรงหน้า จากนั้น กำข้าวตอก พร้อมกล่าวเป็นภาษาชาวเลขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมพิธี เสร็จแล้ว โปรยข้าวตอกไปรอบ ๆ บริเวณ ที่นั่งทำพิธี จากนั้น เชิญครูรับเครื่องบูชา โดยจัดเครื่องบูชาไปวางไว้ ข้างนอกบริเวณจนแล้ว เสร็จ               นักดนตรี รับเครื่องดนตรีของตนไปเตรียมพร้อมบรรเลงเพลง

นักมวย ออกมาทำการไหว้ครู ทีละคน โดยมีท่าคุกเข่าข้างหนึ่ง ใช้มือขวากอบควันกำยานใส่ศีรษะ แล้วกำข้าวตอกในพิธี โรยบนตัว และรอบ ๆ บริเวณ เป็นการแสดงความเคารพและเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง แล้วจึงแสดงท่ารำไหว้ครู ซึ่งเป็นท่ารำในลักษณะการอบอุ่นร่างกายเมื่อนักมวยทั้ง ๒ ฝ่าย ทำการไหว้ครูเสร็จแล้ว ฝ่ายนักดนตรี บรรเลงเพลงปี่มวยกาหยง นักมวยทั้งคู่ ออกมาร่ายรำ และแสดงศิลปะการต่อสู้ เป็นการร่ายรำ มีจังหวะลีลาการเคลื่อนไหวตามเสียงดนตรีเรียกว่า“ ปากาโยะ” หลังจากนั้น แสดงท่าการต่อย เรียกว่า “ตูโม๊ะ” ท่าเตะ เรียกว่า “ซิปะ” และท่าถีบ, เข่า เรียกว่า “ตะยัก” ซึ่งเป็นท่าการต่อสู้ และการป้องกันตัว โดยวิธีการปัด ป้อง และสะบัดมือ แขน ขา ไปตามจังหวะดนตรีเพลงมวย ไม่ได้มีการแตะต่อยกันจริงจัง เป็นท่ารำโชว์ลีลาท่าทางการ ร่ายรำ ตามเสียงเพลง มีชื่อเรียก ดังนี้

๑. ท่าทัดมือ ใช้มือข้างหนึ่งทัดขึ้นป้องที่ใบหน้า อีกข้างหนึ่งป้องที่ท้อง

๒. ท่ารำเปิด ใช้มือทั้ง ๒ ข้าง เปิดขึ้นในท่ารำ

๓. ท่าต่อสู้ ใช้ศอก เข่า และมือ ต่อย ตามลีลาจังหวะดนตรี ทั้งนี้มีท่านั่งยอง ๆ เป็นท่าหลบหลีก อีกด้วย

การบรรเลงเพลงปี่ มีชื่อเรียกว่า เพลง “ลากู” ส่วนท่ารำมวยกาหยง มีชื่อเรียกว่า “นารีกาหย๋ก”

เมื่อมีการรำ และพัก จนครบเจ็ดเพลง แล้ว จะหยุดพัก เพื่อแจกจ่ายอาหาร แก่ผู้เข้าร่วมในพิธีทุกคน เป็นอันเสร็จพิธี การไหว้ครู

๒. งานพิธีแก้บน หรือแก้เหมย 

จัดให้มีการรำมวยกาหยง เมื่อมีการจ้างวาน จากชาวบ้านในชุมชน ที่ได้บนบานศาลกล่าวไว้กับเจ้าที่เจ้าทาง หรือเจ้าทะเล ในกรณี เจ็บป่วย ไม่สบาย เมื่อหายแล้วและมีความพร้อมก็จะทำพิธีแก้บน และในกรณีที่เกิดอาเภท ออกทะเล แล้วประสบปัญหา ภัยทางทะเล แล้วบนบานไว้ หากปลอดภัยกลับถึงฝั่ง ก็ทำพิธีบูชาครูแก้บนโดยจัดให้มีการแสดง มวยกาหยง

๓. เมื่อได้รับเชิญไปสาธิตในงานการแสดงศิลปะการแสดงด้านวัฒนธรรม 

เมื่อได้รับเชิญให้ไปแสดง โดยมีการจ้างวานให้ไปแสดงในงานต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงโดยโชว์ลีลาการไหว้ครู แล้วการร่ายรำตามทำนองเพลงมวย ตามจังหวะดนตรี เช่นกัน แต่ไม่มีพิธีการบวงสรวงเท่านั้น

อุปกรณ์

เครื่องดนตรี มีเครื่องดนตรี ๔ ชนิด ประกอบด้วย 

๑. กลองทน ๒ ใบ เรียกตามภาษาชาวเลว่า เกอนักกาหยก มีลูกยืน ๑ ลูก ลูกขัด ๑ ลูก ซึ่ง

ลูกยืนเรียกว่า “กลางตัวเมีย” ส่วนลูกขัด เรียกว่า “กลองตัวผู้” เป็นกลองที่มีลักษณะตีได้ทั้ง ๒ หน้า ขึงด้วยหนังแพะ ทั้ง ๒ ด้าน มีขนาดเท่ากัน ใช้มือตีทั้ง ๒ ด้าน เพื่อควบคุมจังหวะดนตรี 

๒. ปี่กาหยง ๑ เลา เรียกตามภาษาชาวเล ว่า สุไนกาหยก ทำจากไม้กำจัด หรือไม้การบูร ในที่นี้ ลุงสน ผู้เป่าปี เป็นทำด้วยตนเอง ใช้ใบตะโหนดทำเป็นใบปี่ เป่าแล้วมีเสียงดัง ลิว ไพเราะ มีขนาดเหมาะมือ ยาว ๓๐ ซม.

๓. โหม่ง ๑ ชุด พร้อมไม้สำหรับตี เรียกตามภาษาชาวเล ว่า ตะวะกาหยก ลักษณะเป็นแผ่น

เหล็ก รูปวงกลม ตรงกลางมีปุ่มนูน ใช้ตีประกอบจังหวะดนตรี

๔. ไม้แกระ เรียกตามภาษาชาวเล ว่า กาหยู้กาหยก หรือ กาโตะกาแฉะ เป็นไม้ท่อนแบน ๆ 

๒ อัน ขนาดเหมาะมือ ใช้ตีกระทบกัน ประกอบเป็นจังหวัดดนตรี

๒. นักดนตรี มีนักดนตรี ๕ คน ประกอบด้วย 

๑. นายหริ ฟองสายธาร อายุ ๖๒ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๑๗ ถนนวิเศษ หมู่ที่ ๒ ตำบลราไวย์

อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 

มีความสามารถรำมวยกาหยง และเป็นมือกลอง ลูกที่ ๑ ที่เรียกว่า กลองตัวเมีย

๒. นายเกรียงศักดิ์ หลักเกาะ อายุ ๓๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๐ หมู่ที่ ๒   ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

มีความสามารถตีกลองตั้งแต่อายุ ๑๙ ปี มีอาจารย์สุเหม ประมงกิจ เป็นผู้สอน

๓. นายดัง ดำรงเกษตร อายุ ๖๘ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๓/๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลราไวย์ 

มีความสามารถรำมวยกาหยง เป็นคนตีแกระให้เข้าจังหวะดนตรี

๔. นายสน บังจาก อายุ ๖๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๓/๑ หมู่ ๒ ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต

เป็นนักเป่าปี่กาหยง มีความสามารถในการตีโหม่ง ตีแกระ

๓. นักมวย และครูหมอ

๓. นายจิม หลักเกาะ อายุ ๖๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๓ หมู่ ๒ ตำบลราไวย์

เป็นครูหมอ ประจำหมู่บ้าน ทำพิธีไหว้ครู ให้กับคณะแสดง ซึ่งได้รับการถ่ายทอด

จากบรรพบุรุษ คือลุง

๔. นายแก้ว บังจาก อายุ ๖๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๔๙/๔ หมู่ ๔ ตำบลราไวย์ 

เป็นนักมวยกาหยง ฝึกหัดเมื่ออายุ ๑๙ ปี จากอาจารย์ ชื่ออุชัง บังจาก ซึ่งเป็นลุง

๕. นายซุเต็ม หลักเกาะ อายุ ๖๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๒๔ หมู่ที่ ๒ ตำบลราไวย์ 

เป็นนักมวยกาหยง ฝึกหัดเมื่ออายุ ๑๙ ปี จากอาจารย์ ชื่ออุชัง บังจาก ซึ่งเป็นลุง

ลักษณะเฉพาะอื่นๆ

ส่วนประกอบสำคัญของศิลปะการแสดง “มวยกาหยง” ที่บ้านราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมืองภูเก็ต 

๑. ดนตรี

๒. นักดนตรี

๓. นักมวย / ครูหมอ

รองแง็ง  

                                ทักษะในการจับจังหวะ จดจำเสียงดนตรี และฝึกฝนเพิ่มเป็นเท่าตัว ทำให้ครูเพลงพื้นบ้านวัย 74 ปี หริ ฟองสายธาร เป็นเพียงไม่กี่คนที่สีซอหรือไวโอลิน แล้วขับร้องบทเพลงรองเง็งไปพร้อมๆ กันได้ เนื่องจากต้องใช้ทักษะมากเป็นพิเศษ การได้เรียนรู้วิธีการเล่น -ร้องเพลง รองเง็งมาจากครูเพลงรุ่นก่อน นอกจากสืบทอดสำเนียงดนตรีพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ ยังรักษาบทเพลงต้นแบบกว่า 50 เพลง เช่นเพลงลากูดูวา ลากูอายัมลิดิ ที่อยู่ในวิถีอูรักลาโวยจมานับร้อยปี เป็นเสียงดนตรีเพื่อความบันเทิงของคนในชุมชนไทยใหม่ราไวย์ถึงปัจจุบัน

วัยที่เพิ่มขึ้นของลูกวงทั้ง 9 คน ประกอบกับบางคนย้ายที่อยู่อาศัย ทำให้การรวมวงในนามลุงเง็ก อูรักลาโวยจไม่ง่ายเหมือนก่อน ตลอดจนยังไม่เคยถ่ายทอดให้กับเด็กๆ รุ่นใหม่ในหมู่บ้านจริงจัง จึงกังวลกันว่าอีกไม่นานเสียงเพลงรองแง็งอาจขาดหายจากชาวเลราไวย์

หริ ฟองสายธาร ครูเพลงพื้นบ้าน บ้านไทยใหม่ราไวย์ จ.ภูเก็ต เผยว่า"เด็กในยุคนี้ไม่สนใจ แม้ว่าเราอยากสอนอยากถ่ายทอด แต่เด็กๆ เห็นเข้าก็บอกยาก เพราะไม่พูดอูรักลาโวยจด้วยกันด้วย โดยเนื้อเพลงเป็นยาวีทั้งนั้น"

ในหมู่บ้านของชาวอูรักลาโวยจ จะได้ยินเสียงเพลงรองเง็งในงานมงคลต่างๆ อย่างเช่นงานแก้บน หรืองานแต่ง ซึ่งจะบรรเลงระหว่างแห่ขันหมากจากบ้านเจ้าบ่าวไปบ้านเจ้าสาว ซึ่งที่บ้านไทยใหม่ราไวย์นั้น ปัจจุบันเหลือคณะรองเง็งอยู่เพียงคณะเดียว สมาชิกอายุมาก และยังขาดแคลนเครื่องดนตรีที่จะใช้ถ่ายทอดต่อด้วย อย่างเช่นรำมะนาจากเดิมเคยหุ้มด้วยหนังแพะ ก็ต้องใช้ผ้าพลาสติกแทน

 

แม้ให้เสียงไม่แตกต่างมากนัก แต่หนังกลองที่ทำจากพลาสติกคงทนน้อยกว่าหนังแพะ ซึ่งบนเกาะภูเก็ต หนังแพะเป็นของหายากราคาสูง 20  ปีมานี้ทางคณะจึงจำเป็นต้องใช้รำมะนาที่ทำจากพลาสติก เครื่องดนตรีหลายชิ้นยังเสื่อมสภาพจากการเล่นต่อเนื่องมานาน เป็นที่มาของแผนงานฟื้นฟูดนตรีพื้นบ้านอูรักลาโวย ที่อยู่ระหว่างจัดหาทุนมาใช้จ่ายซ่อมแซมและจัดซื้อเครื่องดนตรีเพิ่ม

"รองเง็ง"นิยมแสดงในพิธีสำคัญของชุมชนคู่กับการรำมวยกาหยง บูชาครูแก้บนที่ขอกับเจ้าที่หรือเจ้าทะเล ปัจจุบันเหลือนักดนตรีพื้นบ้านที่นี่เพียงกลุ่มเดียวที่ยังรักษาศิลปะการป้องกันตัวแบบกลุ่มชนมลายูเดิม ส่วนในพิธีลอยเรือเดือน 11 ชาวอูรักลาโว้ยจากพื้นที่ต่างๆ ในภูเก็ต มักรวมตัวเล่นร้องเพลงรองเง็ง ในขบวนแห่เรือด้วยความภูมิใจ ซึ่งโครงการฟื้นฟูดนตรีชาติพันธุ์ ถือเป็นกิจกรรมแทนความหวังสืบต่อมรดกวัฒนธรรมชาวเลให้ภาพของห้องเรียนดนตรีกลางชุมชนอูรักลาโวยจแห่งนี้ ไม่เป็นแค่เพียงฝัน

อาบน้ำมนต์

พิธีนี้โต๊ะหมอจะให้ชาวบ้านนำของที่พิธี เช่น มะนาว มะรูด ใบพลู  เทียนขี้ผึ้ง ด้ายเจ็ดสี ด้ายลบ เหรียญหนึ่งบาทหรือตังค์รู่ หลังจากนั้นโต๊ะหมอจะพิธีเพื่อให้ชาวบ้านอาบน้ำมนต์.

กินข้าวกลางบ้าน

สภาพการศึกษา

นามานุกรม :

นายอาหลิน หาดทรายทอง ๑๑ มกราคม๒๕๐๓ 

บรรณานุกรม :

โอภาส ปัญญา .ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงเทคนิคเรื่อง อ่านน้ำจำลม อ่านฟ้าจำดาว.กรมทรัพยากทางทะเลและชายฝั่ง.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมิถุนายน ๒๕๕๓ 


ชาวเลอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต นฤนาถ จีระมานะพงศ์* และ พรรณวดี ขําจริง สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อําเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

บรรณานุกรม ขนิษฐา สิงหาไทย และ ศุภโชค รงค์กุล. (2560). ศึกษาการตั้งถิ่นฐานกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในแถบชายฝั่ งทะเลอันดามันพร้อมจัดทํา พิกัดทางภูมิศาสตร์. (รายงานผลการวิจัย). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. นฤมล ขุนวีช่วย และ มานะ ขุนวีช่วย. (2553). ชีวิตและวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโว้ยแห่งท้องทะเลอันดามัน. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. นฤมล อรุโณทัย. (บ.ก.). (2557). ทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล. กรุงเทพฯ:ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). มูลนิธิชุมชนไท. (2555). วิกฤติวิถีชาวเล. สืบค้น ตุลาคม 2561, จาก https://issuu.com/balckhamnuanchan/docs/ crisis_means_fishermen เมธิรา ไกรนธี. (2552). พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานชุมชนอูรักลาโว้ยในพื้นที่ภูเก็ตจากมุมมองนิเวศวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เยาวลักษณ์ ศรีสุกใส. (2545). ศึกษาการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ-สังคมและวัฒนธรรม ศึกษากรณี ชาวเลสังกาอู้ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริรัตน์ กตัญชลีกุล และคณะ. (2554). วารสารวิจัยสังคม ฉบับชาวเลอูรักลาโว้ย. สืบค้น ตุลาคม 2561, จาก https://issuu.com/cusri/docs/journal_of_social_research ศุภวรรณ จันทร์เติบ. (2556). ความมั่นคงทางอาหารและสิทธิชุมชน กรณีศึกษาการเข้าถึงแหล่งอาหารของชุมชนชาวเลหาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2555). รายงานสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิต ชาวเล. ใน การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553. (น. 34). กรุงเทพฯ: ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สาลินี ปราบ. (2543). ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวเลเกาะสิเหร่อําเภอเมืองภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ. สํานักงาน ศึกษาวัฒนธรรมอาหารการกินของชาติพันธุ์ 

สภาพทางสาธารณสุข สุขภาพและอนามัย


https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/6627/1052

https://www.tnews.co.th/columnist/177604/%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95!!-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A5-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99


พิธีปือตั๊ดญีไร๊ หรือการเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านเพื่อบูชาบรรพบุรุษ ซึ่งเดิมจะมีพิธีในเดือน3ถึงเดือน 11 ของทุกปี  นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมดั้งเดิมของชาวเล เช่น กาหยง โต๊ะหมอ และทำความสะอาดสุสาน ปัจจุบัน ชาวอุรักลาโว้ย ตั้งรกรากที่หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ตร่วมกว่า 100 ปี ผู้ชายจะออก มีนำรายได้จุนเจือครอบครัว แต่ด้วยปัญหาเขตอนุรักษ์ทำให้ไม่สามารถทำประมงได้เต็มที่  พื้นที่ชุมชนแออัดของชาวเลอุรักลาโว้ย 19ไร่ 244 ครัวเรือน ต้องอยู่ในสภาพไร้ห้องน้ำไร้ไฟฟ้า มีน้ำขังตลอดปี ส่งผลให้สุขภาวะชาวเลอุรักลาโว้ยป่วยเรื้อรัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากการตกสำรวจ จึงไม่ได้รับรัฐสวัสดิการเหมือนประชาชนทั่วไป หรือเปรียบได้ว่ากลุ่มชาวเลคือผลกระทบจากการพัฒนาเมือง หรือ ความจนบนเกาะสวรรค์นั่นเอง  พรทิพย์ โม่งใหญ่ วอยซ์ทีวี รายงาน


สำนักข่าวชายขอบ : http://transbordernews.in.th/home/?p=1405 .

นฤมล อรุโณทัย และคณะ. มารู้จักเรา–เด็กเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์ การพิมพ์  จำกัด, 2559. 64 หน้า: ภาพประกอบ

ทักษะวัฒนธรรมชาวเล : ร้อยเรื่องราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ยผู้กล้าแห่งอันดามัน / นฤมล อรุโณทัย บรรณาธิการ  กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2557 251 หน้า : ภาพประกอบ

https://www.posttoday.com/politic/report/189888

www.phuketdata.net





พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานชุมชนอูรักลาโว้ยในพื้นที่ภูเก็ตจากมุมมองนิเวศวัฒนธรรม

Other Titles: Development of Urak Lawoi community settlement in Phuket from cultural ecology perspective

Authors: เมธิรา ไกรนที


Advisors: นฤมล อรุโณทัย


Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย


Advisor's Email: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้


Subjects: อูรักลาโว้ย

ชาวเล -- ไทย -- ภูเก็ต

การตั้งถิ่นฐาน

นิเวศวิทยามนุษย์

วิทยาสังคม


Issue Date: 2552

Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16321

ตำนานได้กล่าวไว้ว่า พวกเขานำคนที่ตายแล้ว ไปยังเกาะที่เรียกว่า เกาะแห่งความตาย เพื่อให้วิญญาณคงอยู่ตลอดไป จะมีพิธีกรรมและการเฉลิมฉลองตามวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเขา ที่เรียกว่า พิธีลอยเรือ เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่สำคัญ เชื่อกันว่าพิธีลอยเรือนี้เป็นพิธีที่ช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากหมู่เกาะ ให้เรือนำเอาความชั่วร้ายอัปมงคลออกไปและนำความสุขคืนกลับมา


 

 

&&&๕๕๕&&&***
มนุษยศาสตร์  ความเชื่อ  

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1491
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1659
mod_vvisit_counterทั้งหมด10720750