Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow พมร.กะทู้ arrow ปลาว่ายน้ำได้แล้ว
ปลาว่ายน้ำได้แล้ว PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 22 มิถุนายน 2009

 ปลาหุ่นยนต์ว่ายน้ำได้

เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่เด็กไทยได้มารวมตัวกันเพื่อทำสิ่งที่ท้าทาย อย่างการประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย และต้องนำหุ่นยนต์เหล่านั้น "ลงน้ำ" ซึ่งหลังจากเปิดประตูให้เด็กๆ ได้รู้จักกับ "หุ่นยนต์ปลา" ไปในค่ายวิทยาศาสตร์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ความผิดพลาดและข้อบกพร่องในครั้งก่อนได้พยุงให้หุ่นยนต์ของเด็กๆ ในค่ายครั้งใหม่ว่ายน้ำได้แล้ว
       
       ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อ สังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัด "ค่ายหุ่นยนต์ปลา" ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ระหว่าง 17-19 มิ.ย.52 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี โดยมีนักเรียน ม.ปลายเข้าร่วม 45 คน ซึ่งก่อนหน้าได้จัดค่ายแรกไปเมื่อกลางเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา

นวตกรรม สิ่งประดิษฐ์-เทคโนโลยี เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก
 
"หุ่นยนต์ปลา" ของเด็กไทยว่ายน้ำได้แล้วนะ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์21 มิถุนายน 2552 10:29 น.

การแข่งขันหุ่นยนต์ปลาในค่ายวิทยาศาสตร์ ซึ่งครั้งนี้หุ่นยนต์ของเด็กๆ ว่ายน้ำได้ทุกตัวแล้ว (ภาพ สวทช.)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
เด็กๆ ลุ้นหุ่นยนต์ปลาของทีมไหนจะถึงเส้นชัยก่อนกัน (ภาพ สวทช.)

หุ่นยนต์ปลา 2 ตัวกำลังแข่งชักเย่อกัน (ภาพ สวทช.)

ทีมลูกชุบกับหุ่นยนต์ที่สร้างมาด้วยหวังรางวัลความคิดสร้างสรรค์ (ซ้ายไปขวา) นายอภิรักษ์ เอนกบริบูรณ์ น.ส.อัลญา ภูตานนท์ และ นายวัชรินทร์ อินพยา

ผศ.ดร.สโรช ไทรเมฆ

จักรพันธ์ ชวนอาษา และอนุสรณ์ เลิศศักดิ์ศรีสกุล ผู้อยู่ในทีมพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำเด็กๆ

       
       ค่ายล่าสุดนี้มีการแข่งขันความสามารถของหุ่นยนต์ใน 5 ด้านคือ ว่ายเร็ว ว่ายตรง ความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และสุดยอดพลัง (Super power) ซึ่งหุ่นยนต์ปลาจะต้องแข่งชักเย่อกันในน้ำ โดยหุ่นยนต์ที่ดึงให้หุ่นยนต์ทีมอื่นเข้าหาตัวเองได้จะเป็นฝ่ายชนะ และสิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในค่ายนี้คือหุ่นยนต์ปลาว่ายน้ำได้ทุกตัว
       
       การแข่งขันเกิดขึ้นในวันสุดท้ายของค่ายโดยใช้สระว่ายน้ำของบ้านวิทยาศาสตร์ สิรินธรเป็นสนามแข่งขัน เยาวชนในค่ายซึ่งมาจากหลากหลายโรงเรียนทั่วประเทศได้แบ่งกลุ่มออกเป็นทีมละ 3 คน ซึ่งแต่ละกลุ่มต้องประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลาที่ต้องลงแข่งประชันความสามารถทั้ง 5 ด้านขึ้นมา 1 ตัว
       
       ทีมอื่นอาจต้องการชนะการแข่งขันในน้ำ แต่สำหรับ "ทีมลูกชุบ" ที่มีนายวัชรินทร์ อินพยา นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน นายอภิรักษ์ เอนกบริบูรณ์ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จ.ชลบุรี และ น.ส.อัลญา ภูตานนท์ นักศึกษา ปวช.ปี 1 โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ จ.ชลบุรี แล้วขอเพียงรางวัลความคิดสร้างสรรค์ โดยออกแบบหุ่นยนต์ที่เลียนแบบแมงกะพรุน แต่กลับได้หุ่นยนต์ที่กลายเป็น "เม่นทะเล"
       
       "ตอนแรกเราจะเอารางวัลความคิดสร้างสรรค์อย่างเดียวเลย ผลก็เป็นไปตามคาดครับ แพ้หมดทุกอย่าง คงต้องรอลุ้นผลรางวัลความคิดสร้างสรรค์" อภิรักษ์กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์อย่างยอมรับต่อการตัดสินใจของทีม และผลที่ได้ ซึ่งที่สุดเขาทั้งสามก็ได้รับรางวัลที่ตั้งใจไว้ พร้อมทั้งแอบไว้ลายเล็กๆ กับอันดับแข่งขันว่ายตรงซึ่งทีมลูกชุบคว้าที่ 4 มาครอง
       
       ทั้งสามคนเผยกับทีมข่าวด้วยว่าเคยผ่านการประดิษฐ์หุ่นยนต์ประเภทอื่นๆ มาก่อน อภิรักษ์เคยทำหุ่นยนต์เดินได้ วัชรินทร์เคยทำหุ่นยนต์วิ่งแข่ง ส่วนอัลญาเคยทำหุ่นยนต์แมลงที่มีมอเตอร์ยกตัวหุ่นยนต์ แต่หุ่นยนต์ทุกตัวที่พวกเขาเคยผ่านมานั้นเป็นหุ่นยนต์ที่อยู่บนบกและไม่เคย มีตัวไหนได้ลงน้ำเหมือนครั้งนี้ ซึ่งความแตกต่างที่พวกเขาได้เรียนรู้คือบนบกจะมีแรงโน้มถ่วงมากกว่าในน้ำ ขณะที่ในน้ำจะมีแรงยกตัวด้วย อีกทั้งพวกเขายังต้องเรียนรู้การเคลื่อนที่ของปลาและศึกษาการเขียนภาษาซี เพื่อโปรแกรมหุ่นยนต์ซึ่งอัลญาบอกว่าไม่เคยเรียนในห้องเรียนมาก่อน
       
       คนที่ปลื้มกับกิจกรรมในค่ายครั้งนี้ที่สุดเห็นจะไม่พ้น ผศ.ดร.สโรช ไทรเมฆ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผู้ศึกษาหุ่นยนต์ ปลามาหลายปีและเป็นวิทยากรในค่ายหุ่นยนต์ปลานี้ทั้งสองค่าย เขาบอกกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ครั้งนี้หุ่นยนต์ปลาแตกต่างจากครั้งก่อนตรงที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งได้เรียนรู้จากค่ายครั้งก่อนทำให้เกิดแรงต้านในการว่ายน้ำลดลงและว่าย น้ำได้อย่างไม่มีปัญหา อีกทั้งยังไม่มีปัญหา "หางหลุด" เหมือนค่ายที่ผ่านมา
       
       ที่สำคัญเด็กๆ ในค่ายมีเวลามากขึ้นกว่าค่ายครั้งก่อน และยังได้ไปเรียนรู้การเคลื่อนที่ของปลาจริงๆ ที่ "วังปลา" ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ ผศ.ดร.สโรชบอกด้วยว่า ค่ายครั้งก่อนนั้นมีคนอยากเรียนอิเล็กทรอนิกส์แต่ไม่ ได้เรียน ครั้งนี้จึงได้สอนเรื่องไมโครคอนโทรลเลอร์และการเชื่อมต่อสัญญาณ วิทยุกับมอเตอร์ แต่การเชื่อมต่อดังกล่าวทำให้กำลังมอเตอร์ลดลง ดังนั้นเด็กๆ จึงได้เรียนรู้ แต่ในขั้นปฏิบัติจริงไม่ได้นำไปใช้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลาด้วย
       
       นอกจากนี้เบื้องหลังความสำเร็จในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลายังมี "พี่เลี้ยง" จากคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มจธ. ที่คอยให้คำแนะนำการประดิษฐ์หุ่นยนต์ เตรียมอุปกรณ์ เตรียมความพร้อมของสนามแข่ง และบางคนก็รับหน้าที่เป็นกรรมการแข่งขัน ซึ่งจักรพันธ์ ชวนอาษา นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. และอนุสรณ์ เลิศศักดิ์ศรีสกุล นักศึกษาปริญญาโทจากภาควิชาเดียวกัน ผู้อยู่ในทีมพี่เลี้ยงบอกว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลานั้น ดัดแปลงมาจากอุปกรณ์รถบังคับวิทยุ และในทีมพี่เลี้ยงยังมีนักศึกษาปริญญาเอกที่ศึกษาเรื่องเรือดำน้ำมาให้คำ แนะนำเด็กๆ ในค่ายด้วย
       
       จักรพันธ์และอนุสรณ์บอกว่า รูปร่างของหุ่นยนต์ ครีบและหางเป็นปัจจัยให้ปลาว่ายน้ำได้เร็วและเคลื่อนไหวได้ ซึ่งชุดครีบนั้นเป็นส่วนที่ติดไปด้านข้างของหุ่นยนต์ปลาช่วยปรับทิศทางให้ หุ่นยนต์ว่ายได้ตรงขึ้น แต่จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ซึ่งทีมที่ใส่ครีบนั้นจะได้เปรียบในการแข่งขันว่ายตรงเป้า แต่สำหรับทีมที่ไม่ได้ใส่ครีบและมีปัญหาในการว่ายตรงจะแก้เกมโดยการเอียง หุ่นยนต์ตรงจุดเริ่มต้นก่อนการแข่งขัน
       
       "ตอนนี้ฮ่องกงเขาประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลาออกมาขายเป็นของเล่น ดำน้ำได้ แต่สำหรับของไทยยังตามเขาอยู่" จักรพันธ์บอกถึงความก้าวหน้าของแวดวงหุ่นยนต์ปลา
http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1535353/หุ่นยนต์ปลา%20%20ของเด็กไทยว่ายน้ำได้แล้วนะ
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้372
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1292
mod_vvisit_counterทั้งหมด10683001