Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
ยางกล้วย PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 15 มิถุนายน 2009

“กล้วย” เป็นอาหารเสริมลำดับที่สองรองจาก “นมแม่” ของเด็กไทยในอดีต แม้ในปัจจุบันจะมีอาหารเสริมชนิดอื่น ๆ เข้ามาแทน แต่ความสำคัญของกล้วยมีได้หมดไปกลับมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย

 

ทุก ๆ ส่วนของกล้วยเช่น “ใบ ก้าน กาบ ลำต้น ราก ดอก(หัวปลีก) ผล” มีประโยชน์ทั้งสิ้น และได้มีการศึกษาวิจัยพัฒนาก้าวหน้าไปไกลมาก แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่คนไม่เข้าใกล้และไม่เห็นคุณค่า แต่กลับมีประโยชน์และสร้างรายได้อย่างที่เราคาดไม่ถึงนั่นคือ


คุณสมบัติของยางกล้วย

 

สมพจน์ จันทร์เที่ยง
ลักษณา โล่ห์พิทักษ์สันติ


ยางกล้วยมีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อถูกเสื้อผ้าแล้วจะติดแน่นชักไม่ออก ถ้าติดช้ำ ๆ ที่เดียวกันจะเป็นสีนำตาลเข้ม และถ้าชักบ่อย ๆ สีน้ำตาลจะสดใสมากยิ่งขึ้น สีของยางกล้วยเกือบทุกชนิดเมื่อได้มาจากต้นใหม่ๆ จะลักษณะเป็นสี "ขาวขุ่น" แต่ถ้าตั้งทิ้งไว้นาน ๆ จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงจาง ๆ จากคุณสมบัติของยางกล้วยดังกล่าวนี้เอง จึงกลายเป็นจุดเด่นในการสร้างงานศิลปะที่งดงามจากวัสดุธรรมชาตินั่นคือ "ศิลปะลายผ้าจากยางกล้วย"

วิธีเก็บยางกล้วย

๑. อุปกรณ์ มืด ถุงพลาสติก ขวด หนังยางหรือเชือก

๒. เวลาเก็บยางกล้วย ควรเป็นเวลาหลังเที่ยงวันเป็นต้นไป เพราะจะได้น้ำยางมากและน้ำยางจะมีคุณภาพดี

๓. ส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วยที่ได้เก็บน้ำยาง
๑) จากก้านหัวปลีกล้วย
๒) จากก้านกล้วย
๓) จากลำต้น
๔) จากก้านเครือกล้วย

จาก ๔ ส่วนของต้นกล้วยดังกล่าว ใช้มีดตัดและนำถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะสวมแล้วมัดให้แน่น ระวังอย่าให้น้ำและอากาศเข้า จะทำให้น้ำยางไม่เข้มข้นและเสื่อมคุณภาพ ทิ้งไว้ ๒-๓ ชั่วโมงแล้วเก็บรวบรวมใส่ในขวดปิดฝาให้แน่น

สำหรับลำต้น ควรเป็นต้นแก่ตัดเครือแล้วสมารถเก็บยางได้ทุกส่วนตั้งแต่ยอดถึงโคน แต่ยางที่มีคุณภาพดี คือ ส่วนที่ได้จากก้านหัวปลีและก้านเครือกล้วย

วีธีการเก็บรักษายางกล้วย

ยางกล้วยถึงแม้ว่าจะติดแน่นและให้สีน้ำตาล ถ้าทิ้งไว้ให้โดนอากาศจะเสียง่าย ดังนั้นเมื่อเก็บยางกล้วยได้แล้วจะต้องใส่ในขวดหรือถุงพลาสติก แล้วปิด-ผูกให้แน่นไม่ให้อากาศเข้า จะสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นจะสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน

ลักษณะของผ้าที่เหมาะกับยางกล้วย

จากการทดลองกับผ้าหลายชนิดสามารถใช้ได้เกือบทุกชนิดเช่น ผ้าไหม เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต ฯลฯ แต่ผ้าที่เหมาะที่สุดเป็นผ้าฝ้าย ผ้าดิบ ฯลฯ ที่เนื้อแน่น ดูดชับได้ดีแต่ไม่ดูดซึม ไม่หนา ไม่บาง ไม่แข็งเกินไป แต่ถ้าผ้ามีแป้งควรชักเสียก่อน


อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับระบายยางกล้วยบนผ้า

๑. พู่กัน (เบอร์เล็ก – ใหญ่) ดินสอ กระดาษ ก้านกล้วย (แทนพู่กันและทำลวดลายได้) แบบลวดลายที่ต้องการจากหนังสือต่างๆ หรืออาจวาดลายเองตามจินตนาการและความสามารถของผู้ทำก็ได้ เช่น ดอกไม้ วิว การ์ตูน ฯลฯ


วิธีการวาดยางกล้วยลงบนผ้า

การวาดทำเล็กลักษณะเดียวกับระบายสีทั่วไป

๑. เลือก ผ้า เสื้อ กระโปรง ฯลฯ ที่ต้องการ

๒. เลือกลายจากแบบต่างๆ หรือวาดขึ้นจากความคิดของผู้ทำ

๓. วาดหรือลอกลายที่เลือกลงบนผ้า ตรงตำแหน่งที่ต้องการ ถ้าผ้าบางไม่ต้องใช้กระดาษก็ได้ สามารถใช้ผ้าวางทับบนลายแล้วใช้ดินสอลากเบา ๆ ตามลายที่เลือกไว้ได้เลย

๔. ใช้พู่กันขนาดเล็กหรือใหญ่จุ่มยางกล้วย แล้ววาดลงตามแบบ หนึ่งครั้งก่อน พอยางหมาดลงทับอีก ๒-๓ ครั้งทิ้งไว้ให้แห้งก็จะได้ภาพบนลายผ้าเป็นสีน้ำตาล และแต่งเติมตามใจชอบ ถ้าต้องการเน้นส่วนไหน ให้มีความเข้มเพิ่มมากขึ้นก็วาดทับลงไปอีกหลาย ๆ ครั้ง เราก็จะได้สีน้ำตาล อ่อน – เข็ม เราก็จะได้สีน้ำตาลอ่อน – เข้ม ที่แตกต่างกัน

ข้อควรระวัง

- อย่างให้ยางกล้วยมีเศษผงหรือข้นเกินไป
- การวาดหรือระบายไม่ควรจุ่มยางมากนักเพราะจะทำให้น้ำยางซึมแผ่ขยายลงในเนื้อผ้ากว้างเกินและจะได้ลายไม่สวยงาม
- ผ้าที่ระบายแล้วต้องทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ก่อนนำไปชักด้วยมือหรือเครื่องโดยใช้ผงชักฟอกชนิดใดก็ได้


ลักษณา โล่ห์พิทักษ์สันติ
บันทึกเมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้607
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2782
mod_vvisit_counterทั้งหมด10709872