Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
วัตถุประสงค์ของงานวัฒนธรรม สวช. PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 15 มิถุนายน 2009

สรุปคำบรรยาย
การเปิดประชุมและชี้แจง

 

วัตถุประสงค์ของงานวัฒนธรรม


กับความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม


โดย นางนพพร  มุกดามณี
รองเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ    ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการส่งเสริม  CSR กับงานวัฒนธรรม   เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจกับ CSR กับงานวัฒนธรรม ให้กับบุคลากรทางวัฒนธรรม และให้เกิดพลังการขับเคลื่อนการดำเนินงานวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยมุ่งหวังว่าจะดำเนินการ CSR อย่างไรกับภาคธุรกิจ   ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากวิทยากรที่มาบรรยายให้ความรู้ เรื่อง CSR กับงานวัฒนธรรม โดยขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ศึกษาและนำความรู้จากวิทยากรมาปรับกระบวนการทำงานของสำนักงานให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ได้อย่างไร  

 

เนื่องจาก CSR  เป็นนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงวัฒนธรรม   นอกจากนี้ภาคธุรกิจกำลังมีนโยบายที่จะให้ความร่วมมือกับภาคสังคม โดยให้งบประมาณสนับสนุนกับภาคสังคมและภาคราชการให้มากขึ้น  โดยภาคธุรกิจ เน้นเรื่องประชาชน  ซึ่งมีจุดหมายปลายทางคือ   ความเข้มแข็งของประชาชนเหมือนกับสำนักงานฯ  ดังนั้น สำนักงานฯ  จะต้องเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงให้กับภาคธุรกิจ  สนับสุนนงบประมาณและความคิด ในการดำเนินงานเพื่อสังคม หากหน่วยงานใดสามารถเสนอโครงการเพื่อสังคมให้กับภาคธุรกิจ   ภาคธุรกิจจะพิจารณาให้งบประมาณสนับสนุนง   เช่น  โครงการครูขยะของบริษัทเชฟร่อน  AIS  TURE  TVบูรพา  เป็นต้น  ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังดำเนินการเรื่องลดหย่อนภาษี ให้กับภาคเอกชนที่บริจาคเงินเพื่อสังคมด้วย


  การทำงานวัฒนธรรมแบบยั่งยืน  ต้องดำเนินการถึง ๒ เรื่อง คือ

๑. งานต้องเข้มแข็ง   หมายถึง      เนื้องานต้องชัดเจน สามารถมองในเชิงลึก ได้

๒.  งานต้องแข็งแรง หมายถึง    ต้องทำสามารถนำไปทำเป็นแผนงานยะระยาวได้ และ  ทำเป็นแผนของงบประมาณในปีต่อไป


            วิธีการทำงานให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยั่งยืน คือ ต้องเป็นนักวิชาการจัดการงานวัฒนธรรมในเชิงวิชาการ    ต้องดำเนินการใน  ๔ เรื่อง  ดังนี้


๑. ดำเนินการ MOU  กับภาคราชการให้เป็น
๒. ดำเนินการ CSR  กับภาคเอกชนให้ได้
๓. ประสานงานกับเครือข่ายให้เข็มแข็ง
๔. การประเมินผลชัดเจน


                      ข้อสังเกตจากประเมินผล   ส่วนใหญ่จะพบว่างบประมาณไม่พอ การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น สำนักงานฯจะต้องสร้างความเข้าใจงานวัฒนธรรมให้กับเครือข่ายให้มากขึ้น    โดยการให้เครือข่ายเห็นคุณค่าของงานวัฒนธรรม และชื่นชมกับเนื้องานวัฒนธรรม ไม่ใช้งบประมาณเป็นตัวตั้ง  ใช้เนื้องานเป็นตัวตั้งให้ได้  และในการจัดทำงบประมาณปีงบประมาณ  ๒๕๕๒  ต้องจัดทำเป็น Event ใหญ่ 

 

การบริหารจัดการงานวัฒนธรรม หมายถึง การบูรณาการจัดการองค์ความรู้ เป็นคู่มือที่สามารถให้วัฒนธรรมจังหวัดหรือประชาชนนำไปดำเนินการได้ ซึ่งการดำเนินคู่มือนี้สามารถใช้ประกอบการขอเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นในระบบแท่งต่อไปด้วย ดังนั้น ขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เก็บเกี่ยวความรู้ เก็บเกี่ยววิชาการ   เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานวัฒนธรรม  ขอให้ตั้งใจฟัง  ขอให้การประชุมครั้งนี้มีประโยชน์และ มีความสำคัญมาก   ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม   นายสุนทร  อรุณานนท์ชัย  เป็นอย่างสูงที่ให้ความเมตตากับสำนักงานฯ  และขอเปิดประชุมขอให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ  
     ……………………….

 


สรุปคำบรรยาย

 

CSR กับงานวัฒนธรรม


โดย นายสุนทร  อรุณานนท์ชัย


ความหมายของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม เป็นทรัพย์สินของชนชาติ สามารถบ่งบอกถึงอารยธรรมในอดีตได้เป็นยุคๆ แต่ละภาคส่วนของโลก อาจจะมีวัฒนธรรมแตกต่างออกไปตามสิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียบที่แตกต่างกันไป ประเทศชาติมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ประเทศหนึ่งในโลก ตั้งแต่อยู่ชมพูทวีป มีชนชาติวัฒนธรรมอ่อนน้อม ท่อมตน โอบอ้อมอารีย์ต่อผู้อื่นเคารพผู้อวุโส และสิ่งอื่น ๆ มากมายล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมที่ดีงามที่บรรพชนได้สร้างไว้ให้กับคนไทย ในวันนี้ วัฒนธรรมบางอย่างเป็ฯการบอกให้รู้ว่าเป็นคนชาติใด ศาสนาใด ขนบธรรมเนียบเป็นเช่นไรได้ ชนชาติใดที่มีสิ่งดีงามมาก ๆ ถ้าจะได้รับการยกย่องนับถือ โดยพลเมืองร่วมโลกได้ ตรงข้ามกับคนในชาติที่ไม่สามัคคี เช่น ฆ่า ประหารกันและกัน ก็จะได้รับการถูกว่าเป็นชาติที่ไม่มีอารยธรรม ป่าเถือนได้


 กระทรวงวัฒนธรรม เป็นกระทรวงสำคัญทางปัญญาด้านวัฒนธรรม ข้าราชการในกระทรวงโดยเฉพาะหน่วยงานของ สวช. มีความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะดูแลด้านวัฒนธรรม บำรุงรักษาให้อยู่คู่คนไทยไม่ให้วัฒนธรรมจากต่างชาติที่ไม่ดีมาย่ำยีเยาวชนคนไทย


 CSR ของภาคธุรกิจ ที่รับผิดชอบต่อสังคมมีเป้าหมายและแผนงานในการทำธุรกิจแบบยั้งยืนได้อย่างไร ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility – CSR)
แนวคิด “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ” (CSR)
 แนวคิด  CSR   ภารกิจหรือข้อผูกพันในกิจการขององค์กรใด ๆ ย่อมนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืนได้อย่างเป็นผลสำเร็จ ทั้งยังมีโอกาสค้นพบวัตนกรรมหรือธุรกิจใหม่ ๆ ธุรกิจย่อมไม่สามารภประสพความสำเร็จที่ยั่งยืนได้ในสังคมที่ล้มเหลว


นิยาม “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธรุกิจ” (CSR)


 นิยาม  (CSR) “การดำเนินธุรกิจ” ( และการดำเนินกิจการที่มิใช่ธุรกิจ) ภายใต้หลักจริยธรรม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance) ควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษา และฟื้นฟูไม่สร้างผลกระทบในทางลบต่อชุมชนสังคม (Social) และสิ่งแวดล้อม (Environment) รวมทั้งมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ผสมผสานอย่างบูรณาการ เพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจ และกิจการต่าง ๆ ให้ประสพความสำเร็จ เติบโตควบคู่การสร้างผลกำไร และผลิตภาพมูลค่าเพิ่มได้อย่างยั่งยืน (Sustainability)


นิยาม “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธรุกิจ” (CSR) ต่อสังคม  (Social)
 หมายถึง ทั้งสังคมใกล้ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับธุรกิจหรือกิจการนั้นโดยตรง เช่น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ผู้บริหาร กรรมการ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ชุมชนสังคมที่เป็นที่ตั้งของธุรกิจ และสังคมไกล คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยอ้อม เช่น ซับพลายเออร์ กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาชีพ องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาชนในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับโลก

 

นิยาม “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธรุกิจ” (CSR) ต่อสิ่งแวดล้อม (Environmest)
 หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งมีทั้งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ภูเขา ป่าไม้ พันธุ์ไม้ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แหล่งน้ำ แม่น้ำ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ค้นพบ และสร้างขึ้น เช่น หลักศาสนา ความเคารพเชื่อถือ ขนบธรรมเนียบประเพณี วัฒนธรรมอันดี


แนวปฏิบัติ 8 ด้านของ CSR


 ด้านที่ 1. การกำกับดูแบกิจการที่ดี
  จัดให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใสตรวจสอบได้


ด้านที่ 2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
  การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรมย่อมก่อให้เกิดความเชื่อมั่นกับผู้เกี่ยววข้องอันจะส่งผลดีต่อกิจการในระยะยาว


ด้านที่ 3. การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
  ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญของธุรกิจในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มผลผลิต


ด้านที่ 4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
  สินค้าหรือบริการของธุรกิจต้องมีคุณภาพ มีความคุ้มค่าไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยง หรืออันตรายต่อผู้บริโภค


ด้านที่ 5. (การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม (พร้อมกับแก้ไขผลกระทบจากธุรกิจในทางลบต่อสังคม)
  ธุรกิจควรจัดกิจกรรมทางสังคม หรือมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการของธุรกิจ


ด้านที่ 6. การดูและรักษาสิ่งแวดล้อม.
  ธุรกิจจึงมีหน้าที่ในการประกอบกิจการโดยต้องปรับปรุงสภาวะของโลก เพื่อคุณภาพชีวิต
  มนุษย์ด้วยการจัดปัญหาสิ่งแวดล้อมพร้อมกันไป


ด้านที่ 7. การพัฒนาและเผยแพร่วัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
  พัฒนาความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ในการดำเนินงานด้าน CSR จนกลายเป็นวัตกรรมในทางธุรกิจที่สามารถสร้างผลิตภาพมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้นไปได้อีกทั้งต่อธุรกิจ และสังคม


ด้านที่ 8. การจัดทำรายงานการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างโปร่งใน


  ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติตามแนวทาง CSR  ที่กล่าวมาอย่างถ้วน

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้825
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2500
mod_vvisit_counterทั้งหมด10691458