Skip to content

Phuketdata

default color
Home
การรายงานผลการดำเนินงานวัฒนธรรม PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 03 มิถุนายน 2009

การรายงานผลการดำเนินงานวัฒนธรรม

 

งบประมาณ ๒๕๔๘

แบบฟอร์มที่  ๒
                  

การรายงานผลการดำเนินงานโครงการ/งานที่มีความสำคัญตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ ๙
                         

ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  ๒๕๔๘  (๑  ตุลาคม  ๒๕๔๗ - ๓๐  กันยายน  ๒๕๔๘
     ..........................................

๑.  แนวทางการพัฒนาหลักของยุทธศาสตร์  แผน  ๙  ลำดับที่ ๑  ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี


๑.๑  โครงการสันติวัฒนธรรม


(๑)  วัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
  วัตถุประสงค์
          ๑.  เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนของสังคม  และภาครัฐเข้าใจถึงความ
แตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น
        ๒.  เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่น  ได้มีบทบาทสำคัญในการเป็นเจ้าของ
วัฒนธรรม  การบริหารจัดการและการพัฒนาวิถีชีวิตของตนเอง  โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน
        ๓.  เพื่อเผยแพร่แนวทางสันติวัฒนธรรมมิติต่าง ๆ  ให้กับสังคม
  เป้าหมาย
          ดำเนินในการในจังหวัดปัตตานี  ยะลา  และนราธิวาส
  ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
          ๑.  ประชาชนองค์กรภาครัฐและเอกชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและปรับเปลี่ยนวิธี
ดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในสังคม
        ๒.  ชุมชนมีความรัก  ความสามัคคี  และให้ความร่วมมือกับสังคมและภาครัฐใน
  การเสริมสร้างสันติสุข
        ๓.  ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการลดปัญหาความขัดแย้ง  ความรุนแรง
 และมีความสมานฉันท์ต่อกันมากขึ้น
        (๒)  ความสอดคล้องกับนโยบายอื่น
  โครงการสันติทางวัฒนธรรม  มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านวัฒนธรรม  และ
ประเด็นยุทธศาสตร์  ข้อที่ ๒  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
        (๓)  ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการ/งาน
  จากการประเมินผล  โครงการสันติวัฒนธรรม  พบว่าการจัดกิจกรรมภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม  การดำเนินงานเป็นไปตามวัสดุประสงค์ที่กำหนด


        (๔)  ผลผลิตและผลลัพธ์
๑. ประชุมเชิงปฏิบัติการ  เรื่องแนวทางการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความสันติสุขบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม  จำนวน  ๓  ครั้ง  ณ  โรงแรม  ไดอีชิ  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  คือ
        ครั้งที่ ๑  ระหว่างวันที่  ๓๐ พ.ย. – ๒ ธ.ค.  ๒๕๔๗  สำหรับกลุ่มเป้าหมายจากจังหวัดปัตตานี
        ครั้งที่ ๒  ระหว่างวันที่  ๘ - ๑๐  ธ.ค.  ๒๕๔๗  สำหรับกลุ่มเป้าหมายจากจังหวัดนราธิวาส
        ครั้งที่ ๓  ระหว่างวันที่  ๑๒ - ๑๔  ธ.ค.  ๒๕๔๗  สำหรับกลุ่มเป้าหมายจากจังหวัดยะลา

ผลจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ได้สร้างวิทยากรกระบวนการเพื่อเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนให้เกิดแผนงานและกิจกรรมทางวัฒนธรรมท้องถิ่น  จำนวน  ๒๘๘  คน  เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในพื้นที่ตำบล  โดยประชุมหรือระบบความคิดการสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ  กลุ่มแกนนำท้องถิ่น  และประชาชน  เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น  ซึ่งสำนักวานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติให้การสนับสนุนงบประมาณ  จำนวน  ๖,๒๖๐,๐๐๐  บาท  นับเป็นประโยชน์ต่อการจัดการวัฒนธรรมท้องถิ่น  ซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรมได้เปิดเวทีที่ร่วมกันคิด  ร่วมกันทำ  ร่วมกันแก้ไขปัญหา  และร่วมใจกันพัฒนาท้องถิ่น  โดยใช้มิติทางวัฒนธรรม  การถอดบทเรียน  การจัดกิจกรรมวิทยากรและกระบวนการครั้งนี้เป็นบทเรียนสำคัญสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรพัฒนาบุคลากรเครือข่ายทางวัฒนธรรมในพื้นที่อื่น ๆ ได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย
 ๒.  จัดอบรมเยาวชนแกนนำวัฒนธรรมสัญจรจังหวัดชายแดนภาคใต้   เพื่อนำเยาวชนจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ  และเสริมสร้างความสมานฉันท์  รู้รักสามัคคีเพื่อสร้างความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยการนำผู้เข้ารับการอบรมไปศึกษาเรียนรู้สถานที่สำคัญ  เช่น  หออัครศิลปิน  พิพิธภัณฑ์  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  และแหล่งท่องเที่ยวทาง
วัฒนธรรมต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร  ปทุมธานี  ขอนแก่น  นครราชสีมา  ร้อยเอ็ด  และมุกดาหาร
 ผลการดำเนินงาน  เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  จำนวน  ๑๒๐  คน  มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง
วัฒนธรรมและมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรม  ในภูมิภาคต่าง ๆ เป็นการเสริมสร้างความสมานฉันท์  รู้รักสามัคคี  ได้ซึมซับคุณค่าทางวัฒนธรรมและสร้างความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้แก่เยาวชนที่ต่างศาสนาได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
 ๓.  จัดประชุมผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในภูมิภาค  เพื่อมอบนโยบายด้านการบริหารงานศาสนา  ศิลปะ
และวัฒนธรรม  และสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานบนพื้นที่จังหวัดปัตตานี  ยะลา  และนราธิวาส
เมื่อวันที่  ๒  กันยายน  ๒๕๔๘ 
 ผลการดำเนินงาน  ผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย
มีความเชื่อมั่น  และกำลังใจในการปฏิบัติงาน  ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้ง  ได้รับความห่วงใยจาก
ผู้บริหารอันจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมในพื้นที่เป็นอย่างดี
 ๔.  จัดเวทีประชาคมสันติวัฒนธรรมโดยบูรณาการกิจกรรมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี  ยะลา  และนราธิวาส
 ๕.  ให้รางวัลยกย่องหน่วยงาน  ชุมชน  และคู่มือดีเด่น 
       - หน่วยงาน  ที่เป็นตัวอย่างขององค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความรัก  ความสามัคคีระหว่างหน่วยงานและชุมชน  เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
       -  ชุมชน  ที่มีความสมานฉันท์ เอื้ออาทร  ส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมที่ดีงามซึ่งกันและกันอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
       -  คู่มือ  ที่ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง  สำหรับนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม  และสอดคล้องกับวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น
 ๖.  จัดพิมพ์หนังสือ “วัฒนธรรมกับสันติภาพ”  จำนวน  ๓,๐๐๐  เล่ม  เป็นการรวบรวมพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  คำคม  อมตะวาจา  ของบุคคลสำคัญต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ  ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการสร้างสันติสุขเพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่แก่สาธารณชน
 ๗.  จัดประชุมสมัชชาแห่งชาติ  เรื่อง “คนไทยกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม”  ร่วมกับคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ  ในวันที่  ๒๙  สิงหาคม  ๒๕๔๘  ณ  หอประชุมใหญ่ 
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
 ผลการจัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติ  เรื่อง “คนไทยกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม” สำเร็จ
ลุล่วงไปได้ด้วยดี  จากความร่วมมือขององค์กรภาคีและผู้เข้าร่วมการประชุมจากทุกภาคส่วนของสังคมทั้งภาครัฐ  เอกชน  เยาวชน  นิสิต นักศึกษา เครือข่ายทางวัฒนธรรม ฯลฯ โดยการจัดการประชุมดังกล่าวได้ทำหน้าที่เป็นเวทีที่จะจุดประกายให้สังคมไทยและคนไทยได้เห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะท้อน
วัฒนธรรมอันมีคุณค่าที่ทุกท้องถิ่นจะต้องได้รับการยอมรับและได้รับการส่งเสริมอย่างเท่าเทียมกันตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้คนไทยเกิดความรู้สึกเคารพในความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม  ซึ่งจะทำให้ผู้คนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี  มีเกียรติ  มีความเคารพวัฒนธรรมของกันและกันอันนำมาซึ่งสันติสุข
๑.๒  โครงการส่งเสริม  สนับสนุน  และพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม
         (๑)  วัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
  วัตถุประสงค์
        ๑.  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรเครือข่ายที่มีศักยภาพในการดำเนินงานวัฒนธรรมในท้องถิ่นได้อย่างมีสัมฤทธิผลตามกรอบนโยบาย
          ๒.  เพื่อจัดทำฐานข้อมูลประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น
  เป้าหมาย
          จัดสรรงบประมาณให้องค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรม  จำนวน  ๑,๓๖๙  แห่ง
  ผลประโยช์ที่ประชาชนจะได้รับ
          ๑.  ประชาชนทั่วประเทศ มีโอกาสร่วมกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรม
          ๒.  ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมของท้องถิ่นตนเอง
  (๒)  ความสอดคล้องกับนโยบายอื่น
          โครงการส่งเสริม  สนับสนุน  และพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม  มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านวัฒนธรรม  และประเด็นยุทธศาสตร์  ข้อที่ ๒  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
  (๓)  ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการ/งาน
           เพื่อให้เครือข่ายองค์กรทางวัฒนธรรมมีงบประมาณและกรอบแนวทางใน
การดำเนินงานวัฒนธรรมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  (๔)  ผลผลิตและผลลัพธ์
          ผลผลิต
   ๑)  ได้องค์กรเครือข่ายร่วมดำเนินงานวัฒนธรรมดำเนินกิจกรรมตามนโยบายของ
                                               กระทรวงวัฒนธรรม  และสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ 
                                               จำนวน  ๑,๓๖๙  แห่ง
   ๒)  ได้จัดทำฐานข้อมูลประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น    (แผนที่ทางวัฒนธรรม
                                                ของชุมชน)  ๗๖  จังหวัด
   ๓)  ประชาชนในท้องถิ่นมีแหล่งเรียนรู้เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น
   ๔)  ประชาชนรู้ถึงคุณค่าแห่งภูมิปัญญาไทย
          ผลลัพธ์
   ประชาชนคนไทยในทุกท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจ  รักและหวงแหนมรดก
วัฒนธรรมไทย  ท้องถิ่น  ซึ่งนำไปสู่สันติสุขของสังคมไทย


๒.  แนวทางการพัฒนาหลักของยุทธศาสตร์แผน  ๙  ลำดับที่ ๒  ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม


๒.๑ โครงการ  ภูมิบ้านภูมิเมือง


 (๑)  วัตถุประสงค์  เป้าหมายและผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
             วัตถุประสงค์
   ๑.  กระตุ้นให้เกิดการธำรงรักษาวิถีชีวิต  การปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม
วิถีชีวิตของชุมชนทั่วทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ
   ๒.  ส่งเสริม  สนับสนุน  เผยแพร่องค์ความรู้ในมรดกวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชนมา
ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคนและชุมชนและสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มแก่สังคม
   เป้าหมาย
    ได้กำหนดเนื้อหา  สาระของการดำเนินงานประกอบด้วย  ๔  กลุ่มเรื่อง  คือ 
ภูมิหลัง  ภูมิปัญญา  ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม  และภูมิทัศน์
   ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
    ๑.  บุคคล  ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามรถเข้าถึงองค์ความรู้มรดกวัฒนธรรมวิถีชีวิตและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ตามบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
   ๒.  บุคคล  ชุมชนเกิดความรู้และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน
   ๓.  เป็นการนำมิติวัฒนธรรมมาใช้ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
    (๒)  ความสอดคล้องกับนโยบายอื่น
   โครงการภูมิบ้านภูมิเมือง มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านวัฒนธรรม  และประเด็นยุทธศาสตร์  ข้อที่ ๒  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
     (๓)   ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการ/งาน
   เพื่อให้ดำเนินงานบริหารจัดการข้อมูลวัฒนธรรมของชุมชนและชาติ  อย่างเป็นระบบ  โดยเฉพาะมรดกวัฒนธรรมวิถีชีวิต  (Intangible  Cultural  Heritage)   นับตั้งแต่การจัดเก็บรวบรวม
ข้อมูล  การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม  การเผยแพร่ข้อมูล  ส่งเสริม  สนับสนุนการนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการศึกษา  ค้นคว้า  เผยแพร่  อนุรักษ์และฟื้นฟูเพื่อการสืบสาน  ตลอดจนการนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคน  ชุมชน  สังคมและประเทศไทยให้สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนบนฐานของ
วิถีชีวิตของตนเอง  ต่อไป
     (๔)  ผลผลิตและผลลัพธ์
         ได้แนวทางการดำเนินงาน โดยจัดพิมพ์เป็นคู่มือ จำนวน ๗ เล่ม ประกอบด้วย
   ๑.  ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม (ส่งเสริมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
   ๒.  ภูมิทัศน์วัฒนธรรม
   ๓.  ภูมิบ้านภูมิเมือง  การจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดง
   ๔.  ภูมิหลังภูมิปัญญาด้านงานช่างฝีมือพื้นบ้าน
   ๕.  ภูมิหลังภูมิปัญญาด้านมุขปาฐะประเพณีพิธีกรรมและความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และจักรวาล
   นอกจากนี้ได้จัดประชุมผู้บริหารงานวัฒนธรรมในระดับจังหวัดทั่วประเทศระหว่างวันที่  ๒๓ - ๒๔  กันยายน  ๒๕๔๘  ณ  จังหวัดภูเก็ต  เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนและชี้แจงนโยบายการดำเนินงานวัฒนธรรม  ในปี  ๒๕๔๙
        ๒.๒  โครงการอนุรักษ์และสืบทอดความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  (๑)  วัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
          วัตถุประสงค์
   ๑.  เพื่อให้ได้ข้อมูลวัฒนธรรมที่หลากหลายของท้องถิ่น
   ๒.  เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย


        เป้าหมาย
        ดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้  และจัดกิจกรรมสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี
ภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล   องค์กรที่มีบทบาทในด้านอนุรักษ์    และ
สืบสานวัฒนธรรมดังนี้
   -  ศิลปินแห่งชาติ  จำนวน  ๙  คน
   -  ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม  จำนวน  ๕  คน
               ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
   ๑. ประชาชนได้ชื่นชมและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดความหลากหลายทางวัฒนธรรม
   ๒. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น
        (๒)  ความสอดคล้องกับนโยบายอื่น
  โครงการอนุรักษ์และสืบทอดความหลากหลายทางวัฒนธรรม   มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านวัฒนธรรม  และประเด็นยุทธศาสตร์  ข้อที่ ๒  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
        (๓)  ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการ/งาน
  เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอัตลักษณ์ของตนเอง 
ชุมชนและสังคม โดยเน้นการจัดเก็บความรู้ทางวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน  และสร้างกระแสการรับในสังคม
        (๔)  ผลผลิตและผลลัพธ์
  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์และสืบทอดความหลากหลายทางวัฒนธรรม  เพื่อให้ได้ข้อมูลวัฒนธรรมที่หลากหลายของท้องถิ่น  และส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายโดยมีกิจกรรมหลัก  ๓  กิจกรรม  คือ
  ๑.   การสรรหา  คัดเลือก  และยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๗ 
เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีงามให้คนรุ่นหลังได้เจริญรอยตามและเกิดแรงเสริมให้ผู้ที่ได้รับการยกย่องมีพลังที่สร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานเพื่อสืบสานงานด้านศิลปะต่อไปในอนาคต  โดยได้ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติมาตั้งแต่ปี  ๒๕๒๘ ถึงปี  ๒๕๔๗  รวมเป็นเวลา  ๑๙  ปี  ปัจจุบันมีศิลปินแห่งชาติ  จำนวน  ๑๖๓  คน  ได้แก่สาขาทัศนศิลป์  จำนวน  ๓๑  คน  สาขาสถาปัตยกรรม  จำนวน  ๑๑  คน  สาขาวรรณศิลป์  จำนวน  ๒๔  คน  และสาขาศิลปะการแสดง  จำนวน  ๙๖  คน  และในปี  ๒๕๔๗  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศยกย่องศิลปินแห่งชาติ  จำนวน  ๘  ท่าน  ดังนี้
  ๑.  นายไพบูลย์  มุสิกโปดก  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์  (ภาพถ่ายศิลปะ)
  ๒.  นายสันต์  สารากรบริรักษ์  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์  (จิตรกรรม)
  ๓.  นายจุลทัศน์  กิติบุตร  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาสถาปัตยกรรม  (แบบร่วมสมัย)
  ๔.  คุณหญิงวนิดา  ดิถียนต์  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาวรรณศิลป์
  ๕.  นายชาติ  กอบจิตติ  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาวรรณศิลป์
  ๖.  นายราฆพ  โพธิเวส  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาศิลปะการแสดง  (นาฏศิลป์โขน)
  ๗.  นางจินตนา  ปาลกะวงศ์  ณ  อยุธยา  (จินตนา  สุขสถิตย์)  ศิลปินแห่งชาติ 
      สาขาศิลปะการแสดง  (ดนตรี – ขับร้อง)
๘. นายไพรัช  สังวริบุตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง  (ภาพยนตร์หรือละคร)
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ได้จัดงานเชิดชูเกียรติและเผยแพร่ผลงาน
ของศิลปินแห่งชาติ  ปี  ๒๕๔๗  เมื่อวันที่  ๒๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๔๘  โดยดำเนินการดังนี้
  -  นำศิลปินเข้ารับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ  จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  ผู้แทนพระองค์  ณ  ศาลาดุสิตดาลัย  พระราชวังสวนจิตรลดา  การเข้าเฝ้าครั้งนี้บันทึกเสนอข่าวโดยสถานีโทรทัศน์กองทัพบก  ช่อง ๕
-  ศิลปินแห่งชาติ   ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน  ณ  หอประชุมใหญ่   ศูนย์วัฒนธรรม
แห่งประเทศไทย  โดยมีสื่อมวลชนร่วมสัมภาษณ์  จำนวน  ๓๐  คน
-  จัดงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ศิลปินแห่งชาติ  ณ  หอประชุมเล็ก  ศูนย์วัฒนธรรม
   แห่งประเทศไทย  โดยมีผู้ร่วมแสดงความยินดี  จำนวน  ๒๒๒  คน
-  จัดการแสดงเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ   โดยการจัดแสดงโชว์ อลังการ  “คุณค่าแห่งแผ่นดิน”  คอร์รัสประสานเสียง  จากคณะประสานเสียงมหาวิทยาลัยรามคำแหง  และละครเวทีเรื่อง  มิติมหัศจรรย์  มีผู้เข้าร่วมชมการแสดงประมาณ  ๑,๐๐๐  คน
- จัดพิมพ์หนังสือศิลปินแห่งชาติ  ปี  ๒๕๔๗  เนื้อหาประกอบด้วย  ประวัติผลงานของ
ศิลปินแห่งชาติ  ข้อคิดคำคมของศิลปินแห่งชาติ และทำเนียบศิลปินแห่งชาติ ปี  ๒๕๒๘- ๒๕๔๗ และจัดทำสูจิบัตรประกอบการแสดงเนื่องในงานเชิญชูเกียรติ จำนวน ๑,๕๐๐เล่ม
-  จัดนิทรรศการแสดงประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ  ณ  หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  เนื้อหาประกอบ  พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
พระปฐมบรมศิลปิน  และประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ     จำนวน  ๘  ท่าน
  ๒.  การสรรหา   คัดเลือก   และยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม    องค์กร
ดีเด่นทางวัฒนธรรม  จังหวัดทางวัฒนธรรม  และสภาวัฒนธรรม  เพื่อดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ และกรุงเทพมหานคร  สืบค้นบุคคลและสถาบันที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับมีหลักฐานชัดแจ้งตรวจสอบได้แล้ว  ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม  องค์กรดีเด่นทางวัฒนธรรม  จังหวัดดีเด่นทางวัฒนธรรม  สภาวัฒนธรรมดีเด่นเพื่อเป็นต้นแบบในการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทำงานด้านวัฒนธรรม  โดยจัดทำคู่มือการสรรหาและคัดเลือกบุคคลและสถาบันดีเด่นทางวัฒนธรรม  เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน    ใช้เป็นคู่มือในการสรรหาและคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นทาง
วัฒนธรรม  องค์กรดีเด่นทางวัฒนธรรม  จังหวัดดีเด่นทางวัฒนธรรม  สภาวัฒนธรรมดีเด่น  ให้เป็นแนวทางเดียวกันและเสนอรายชื่อพร้อมข้อมูล  ประวัติ  และผลงานมายังสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  โดยมีกลุ่มเป้าหมาย  ดังนี้
  ๑)  ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม  มี  ๔  สาขา  คือ
        (๑)  สาขามนุษยศาสตร์  (ด้านการใช้ภาษาไทย)
        (๒)  สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ทางวัฒนธรรม
        (๓)  สาขาภูมิปัญญา
        (๔)  สาขาสื่อสารมวลชน
  ๒)  องค์กรดีเด่นทางวัฒนธรรม  มี  ๔  สาขา
        (๑)  สาขาภาครัฐ
        (๒)  สาขาภาคเอกชน
        (๓)  สาขาผู้ประกอบการธุรกิจ
        (๔)  สาขาสื่อสารมวลชน
  ๓)  จังหวัดดีเด่นทางวัฒนธรรม  คือสรรหาจังหวัดที่มีการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมดีเด่น
เฉพาะระดับประเทศ  ไม่ระบุจำนวนขึ้นอยู่กับผลงาน
๔)  สภาวัฒนธรรมดีเด่น  คือ  สรรหาจังหวัดที่มีการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมดีเด่นเฉพาะ
ระดับประเทศ  ไม่ระบุจำนวนขึ้นอยู่กับผลงาน
 สำหรับในปี  ๒๕๔๘   ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม    สาขา
มนุษย์ศาสตร์  (ด้านการใช้ภาษาไทย)  จำนวน  ๗  คน  คือ
  ๑.  นายปองพล  อดิเรกสาร
  ๒.  นายสันติภพ  เจนกระบวนหัด
  ๓.  นางสาวสายสวรรค์  ขยันยิ่ง
  ๔.  นางสมจิต  คงพูล
๕.  นางดวงมน  จิตรจำนงค์
  ๖.  นางนันทา  ขุนภักดี
  ๗.  นายธนู  บุณยรัตพันธุ์
  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  จัดงานเชิดชูเกียรติและเผยแพร่ผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม   สาขามนุษย์ศาสตร์ (ด้านภาษาไทย)   เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ   วันที่  ๒๙ 
กรกฎาคม  ๒๕๔๘  ณ  หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  เพื่อเชิดชูเกียรติและเผยแพร่ประวัติและผลงานผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม  สาขามนุษย์ศาสตร์  (ด้านการใช้ภาษาไทย)  เพื่อให้เยาวชนเห็นความสำคัญ  และคุณค่าของภาษาไทย  และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนชาวไทยเกิดจิตสำนึกในการสืบทอดภาษาไทยไว้เป็นศักดิ์ศรีของชาติไทย กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
  -  การมอบโล่เชิดชูเกียรติผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม  และเกียรติบัตรผู้สร้างสรรค์จรรโลงค่าภาษาไทย
  -  จัดการอบรมค่ายผู้นำหมอภาษา  ประกวดร้านหมอภาษา  เปิดบริการหมอภาษา  จัดนิทรรศการแสดงการเรียนรู้ภาษาไทยยุคปฏิรูป  โดยรวมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กทม. และสมาคมรักษ์ภาษาไทย
  -  จัดนิทรรศการแสดงประวัติและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม  ประกอบด้วยพระบรมสาธิตลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และภาพประวัติและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทาง
วัฒนธรรม  ๗  ท่าน
  ๓.  การส่งเสริม  สืบสานประเพณีและวันสำคัญของชาติ
        เพื่อส่งเสริมและสืบสานประเพณีและวันสำคัญของชาติทั้งในระดับท้องถิ่น    และ
ระดับชาติ  โดยจัดกิจกรรม 
  -  วันขึ้นปีใหม่  ประจำปี  ๒๕๔๘  ระหว่างวันที่ ๙ ธันวาคม  ๒๕๔๗  ถึง  ๖  มกราคม  ๒๕๔๘  ณ  ค่ายประรัฐสงคราม  จังหวัดร้อยเอ็ด  เพื่อเป็นการส่งเสริมประเพณี  โดยมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมได้แก่  จัดนิทรรศการประเพณีวันปีใหม่   ๔  ภาค  จัดสาธิตกลอง  ๔  ภาค  การสอนวาดภาพการ์ตูน การสอนทำของชำร่วย การสอนการแกะสลักผักผลไม้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ  ๒๓,๒๙๒  คน
  -  ประเพณีกวนข้าวทิพย์  เมื่อวันที่  ๒๗  ตุลาคม  ๒๕๔๗  ณ  สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
จังหวัดร้อยเอ็ด  เพื่ออนุรักษ์  สืบสาน  และฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป   โดยมีกิจกรรมทาง
วัฒนธรรม ได้แก่ การประกวดร้องสรภัญญะอีสาน การประกวดกวนข้าวทิพย์ และการประดับประทีปโคมไฟ (ใต้น้ำมัน)  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ  ๑๐,๐๐๐  คน
  -  วันลอยกระทง  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม  ได้จัดกิจกรรมให้การส่งเสริม  สนับสนุน  การจัดงานประเพณีลอยกระทง  โดยได้ดำเนินการดังนี้
       ๑.  ประชุมระดมความคิดเห็นและขอความร่วมมือในด้านการจัดงานประเพณีลอยกระทง  ที่มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน  ความสงบเรียบร้อย  การจัดงานที่ก่อให้เกิดคุณค่าและความหมายที่ดีต่อชุมชน
        ๒.  การเสวนาวิชาการเรื่อง  “ฤากระทงจะหลงทาง”  ในวันที่  ๑๕  พฤศจิกายน 
๒๕๔๗  ณ  หอประชุมเล็ก  ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  วิทยากร 
     -  นายวีระศักดิ์  โควสุรัตน์ (กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม)
     -  ศาสตราจารย์สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์
     -  นายวัฒนะ  บุญจับ
     -  นายปรีชา  จันทร์เทพ
     -  นายบุญเตือน  ศรีวรพจน์
     -  นางสาวมนฤดี  ไชยวิเศษ
       ๓.  การสาธิตประเพณีลอยกระทง  ๔  ภาค  วิทยากร  ได้แก่  คณะวิทยากรจากสำนักพระราชวัง  นำโดย  อาจารย์บุยชัย  ทองเจริญบัวงาม  และอาจารย์เพ็ญพรรณ  สิทธิไตรย์
       ๔.  การสอนประดิษฐ์กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ  วิทยากร  ได้แก่  คณะวิทยากรจากสำนักพระราชวัง  นำโดย  นางวาสนา  อัญชัญบุตร
     ๕.  การประกวดการประดิษฐ์กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการ
กำหนดไว้แล้ว  โดยได้รับรางวัลจาก  เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
       ๖.  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ได้ให้การส่งเสริม  สนับสนุน  และให้ความร่วมมือหน่วยงาน  องค์กรอื่น  ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง  ได้แก่
   ๖.๑  บริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพ  จำกัด  (รถไฟฟ้ามหานคร  BTS) ได้จัดกิจกรรมร่วมสืบสานประเพณีไทย  ใส่ใจสิ่งแวดล้อม  โดยจัดงานขึ้น  ในวันที่  ๒๖  พฤศจิกายน  ๒๕๔๗  ณ  สถานีรถไฟฟ้าสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ       ภายในงานมีกิจกรรมการประกวดการประดิษฐ์กระทงที่ทำจากวัสดุ
ธรรมชาติ  และวัสดุที่ย่อยสลายได้(KU GREEN)  และการแสดงทางวัฒนธรรม  โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ให้การสนับสนุนการแสดงทางวัฒนธรรม  คือการแสดงนาฏศิลป์  ดนตรี   วงโปงลาง  ของสมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ   และเป็นกรรมการตัดสิน
การประกวดกระทง
   ๖.๒  เทศบาลเมือง  จังหวัดร้อยเอ็ด  จัดงาน “สมมาน้ำคืนเพ็ง  เส็งประทีป”  ในวันที่  ๒๖  พฤศจิกายน  ๒๕๔๗  กิจกรรมภายในงานได้แก่  การประกวดนางนพมาศ  การประกวดการประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติ  และกระทงประดิษฐ์(ใหญ่)  ขบวนแห่กระทงของแต่ละชุมชน  การสาธิตกระทง ๔ ภาค การแข่งขันและการแสดงทางวัฒนธรรม  โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ   ร่วมจัด
กิจกรรมสอนการประดิษฐ์กระทงจากวัสดุจากธรรมชาติ  โดยเชิญวิทยากร จากสำนักพระราชวัง  และจัดทำกระทงรูปเรือสุพรรณหงส์  ไปแสดงในงานที่จังหวัดร้อยเอ็ด
   ๖.๓  การจัดนิทรรศการและเผยแพร่  คุณค่า  สาระความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง  ณ  สนามบินดอนเมือง  และบริเวณหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร  โดยดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่  บทความ  ทางหนังสือพิมพ์  จัดทำสปอตโฆษณา  ให้ความอนุเคราะห์แก่หน่วยงานต่าง ๆ
  -  “สีสันสงกรานต์สยาม”   เป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรม   ที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  กรุงเทพมหานคร   และประชาคมบางลำพู 
วิสุทธิกษัตริย์    โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ  ได้แก่
    การสาธิตชุดรดน้ำขอพรในเทศกาลสงกรานต์  การละเล่นประจำเทศกาลสงกรานต์  การละเล่นของไทยและการละเล่นของชนกลุ่มน้อย  การสาธิตอาหารประจำเทศกาลสงกรานต์  การแสดงทางวัฒนธรรม   ประติมากรรมน้ำแข็ง   ประติมากรรมเจดีย์อากาศ   การประกวดก่อพระเจดีย์ทราย
การประกวดนางสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์  การสร้างที่เก็บน้ำสำหรับประชาชนในการเล่นน้ำสงกรานต์
อย่างสุภาพ    มีผู้เข้าร่วมประมาณ  ๑๐๐,๐๐๐   คน

        ๒.๓  โครงการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
      (๑)  วัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
              วัตถุประสงค์
   เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ  และเครือข่ายให้ศูนย์กลางการบริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่ทันสมัย  ทั้งในระดับ
ท้องถิ่น  ระดับชาติ  และนานาชาติ
   เป้าหมาย
      จัดกิจกรรมจุดประกายความหลากหลายทางวัฒนธรรม  พัฒนาห้องสมุด
วัฒนธรรม  ผลิตสื่อศิลปกรรมเพื่อการเผยแพร่งานวัฒนธรรม  นิทรรศการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ทาง
วัฒนธรรมและสร้างและบริการเครือข่ายลูกค้าสัมพันธ์ 
ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
   ๑)  ได้รับความรู้  ความเข้าใจทางวัฒนธรรมได้ฝึกทักษะ  เพิ่มศักยภาพตนเอง  สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต  เพื่อพัฒนาการศึกษา  อาชีพ  การดำรงชีวิตครอบครัวตลอดจนสังคมและประเทศชาติไปสู่ความมั่นคงรุ่งเรือง
   ๒)  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม  โดยผ่านสื่อนิทรรศการที่จัดแสดงเผยแพร่ในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
   ๓)  ได้สื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางวัฒนธรรม  และสื่อสนับสนุนงานด้าน
วัฒนธรรมรูปแบบต่าง ๆ  อันก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
  (๒)  ความสอดคล้องกับนโยบายอื่น
          โครงการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมมีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้าน
วัฒนธรรม  และประเด็นยุทธศาสตร์  ข้อที่ ๒  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
  (๓)  ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการ/งาน
           เป็นศูนย์กลางบริการแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป  ด้วยการบริหารจัดการในเชิงบูรณาการ   ส่งเสริมประสบการณ์ด้วยวิธีต่าง ๆ   ฝึกทักษะการปฏิบัติและถ่ายทอดพัฒนาสหวิชาชีพ  รวมทั้งปลูกฝังสุนทรียภาพทางอารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกทางศิลปะทุกแขนง
  (๔)  ผลผลิตและผลลัพธ์ 
      เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ  และเครือข่ายให้เป็นศูนย์กลางการบริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่ทันสมัย  ทั้งในระดับท้องถิ่น  ระดับชาติ  และระดับนานาชาติ  โดยจัดกิจกรรมดังนี้
       ๑)  การเผยแพร่ผลงานทัศนศิลป์ของนักศึกษาผลงานดีเด่นจาก  “ค่ายเยาวชน”  ณ  ประเทศ
สหรัฐอเมริกา 
       ผลการดำเนินงาน  “ค่ายเยาวชนสร้างสรรค์งานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ”  ระหว่างวันที่  ๔ - ๗  พฤศจิกายน  ๒๕๔๗  ณ  หออัครศิลปิน  มีนักศึกษาเข้ารับการอบรม  ๗๐  คน  วาดภาพคนละ ๑ ภาพ  โดยศิลปินแห่งชาติได้คัดเลือกผลงานจิตรกรรมดีเด่น  ๘  ภาพ  ระดับดี  ๓๒  ภาพ  และเพื่อขยายผลปณิธานที่
มุ่งมั่นในการสร้างยุวศิลปิน  ดังนั้น  นายกมล  ทัศนาญชลี  จึงให้การสนับสนุนและริเริ่มการเผยแพร่ผลงาน
ทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)  ณ  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  โดยนำคณะเยาวชนที่มีผลงานดีเด่น  ๘  คน  จากภาคเหนือ  กลาง  อีสาน  และใต้  เดินทางไปแสดงนิทรรศการ  “ผลงานเยาวชนไทย”  และทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์ศิลปะในประเทศสหรัฐอเมริกา  ระหว่างวันที่  ๑๓ - ๓๐  ตุลาคม  ๒๕๔๘
       ๒)  การเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ  ในวาระครบ  ๑๐๐  ปีเกิด 
      สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม  ได้จัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ  ในวาระครบรอบ  ๑๐๐  ปีเกิด  นางเฉลย  ศุขวะณิช  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาศิลปะการแสดง  (นาฏศิลป์)  ประจำปี พ.ศ.  ๒๕๓๐  และนายไชยลังกา  เครือเสน  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน)  ประจำปี  พ.ศ.  ๒๕๓๐  ระหว่างวันที่  ๒๙  ธันวาคม  ๒๕๔๗ - ๒๙  มกราคม  ๒๕๔๘  ณ  หออัครศิลปิน  เพื่อเชิดชูเกียรติ  ร่วมระลึกถึงคุณความดี  เผยแพร่ประวัติชีวิต  ผลงานการถ่ายทอดภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติที่เสียชีวิตแล้ว  และสร้างความมีส่วนร่วมให้แก่ทายาท  ลูกศิษย์  และผู้ใกล้ชิด  ที่ร่วม
สืบสานภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติ  โดยถ่ายทอดในรูปแบบกิจกรรม  ดังนี้
  -  นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ  ในวาระครบรอบ  ๑๐๐ ปีเกิด
  -  การแสดงทางวัฒนธรรม (ยามค่ำคืน)  อาทิ  การแสดงสาธิตนาฏศิลป์  และการสาธิต
   เพลงพื้นบ้าน  ประเภทการขับร้อง
            ๓)  วันเด็กแห่งชาติ  ประจำปี  ๒๕๔๘  
       วันเสาร์ที่ ๑๐  มกราคม  ๒๕๔๘  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ได้จัดวันเด็ก
แห่งชาติ  ประจำปี  ๒๕๔๘  ณ  หออัครศิลปิน  และไทยนิทัศน์  ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  เพื่อให้เด็ก
และเยาวชนได้ร่วมสนุกสนานอย่างมีสาระกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  การแสดงทางวัฒนธรรม  ลานจราจรวัฒนธรรม  การขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าสร้างสรรค์งานศิลปะ  แรลลี่หาคำตอบในหอไทยนิทัศน์  ร้องเพลงไทยคาราโอเกะ  ประกวดวาดภาพกับบุญเจิมภายใต้หัวข้อ  “การละเล่นของเด็กไทยในอดีต”  เกม  ฯลฯ
 ผลการดำเนินงาน  เด็กและเยาวชนได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ระเบียบวินัยของสังคม  ความรู้ความบันเทิง  การแสดงออกทางความคิด  และทางกายภาพในทางที่สร้างสรรค์และถูกต้อง  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ประมาณ  ๑๐,๐๐๐  คน
       ๔)  งานสัปดาห์เชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ  ประจำปี  ๒๕๔๗  
       ด้วยวันที่  ๒๔  กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ  สำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม  ร่วมกับอำเภอคลองหลวง  และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัด
กิจกรรมสัปดาห์เชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ  ปี  ๒๕๔๗   และศิลปินแห่งชาติทุกท่าน   ระหว่างวันที่
๒๑ - ๒๗  กุมภาพันธ์  ๒๕๔๘  โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ  ดังนี้ 
  -  งานนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ  ปี  ๒๕๔๘  จำนวน  ๘  ท่าน  (นำเสนอด้วยบอร์ด  Ink – Jet) 
-  งานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ศิลปินแห่งชาติที่ล่วงลับแล้ว
-  การถ่ายทอดงานศิลป์ของศิลปินแห่งชาติ  (ภาคบ่าย)  (การบรรยาย  อภิปราย  สาธิต 
ต่อยอดทักษะ)
-  การแสดงกิจกรรมทางวัฒนธรรม (ภาคค่ำ)  (การแสดงโขน ,ลิเก, เพลงลูกทุ่ง  ฯลฯ)
-  กิจกรรมสวนสนุกทางวัฒนธรรม  บรรยากาศแบบงานวัด  (ซุ้มระบายสีการ์ตูน,
ม้าหมุน ฯลฯ) 
       ๕)  โครงการค่ายเยาวชน  ทัศนศิลป์ รุ่นที่ ๒ 
             เมื่อวันที่  ๔ - ๙  เมษายน  ๒๕๔๘  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวง
วัฒนธรรม  ได้ดำเนินงาน “ค่ายเยาวชนสร้างงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ  รุ่น ๒ “  ณ  หออัครศิลปิน  เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)  โดยรับการต่อยอดทักษะการสร้างงานศิลป์จากศิลปินแห่งชาติ  คืออาจารย์กมล  ทัศนาญชลี , ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด  พงษ์ดำ ,อาจารย์พิชัย  นิรันต์  นอกจากนี้  ได้มีการจัดนิทรรศการ  “จิตรกรรมนำฝันสานสัมพันธ์ไทย – อเมริกา”  ระหว่างวันที่  ๕  เมษายน – ๕  พฤษภาคม  ๒๕๔๘  เพื่อเผยแพร่ผลงานจิตรกรรม  และถ่ายทอดประสบการณ์ทัศนศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาของนักศึกษา “ค่ายเยาวชนฯ รุ่นที่ ๑“ 
       ในภาคทฤษฎีนักศึกษาได้รับความรู้จากศิลปินแห่งชาติ  และได้รับประสบการณ์ทัศนศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกาจากรุ่นพี่  ภาคปฏิบัตินักศึกษา  ๖๒  คน  ได้เขียนภาพจิตกรรม  คนละ ๒ ภาพ คือ ๑)  ภาพเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ๒)  ภาพแนวคิดอิสระ  ส่วนช่วงค่ำมีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
       ๖)  โครงการค่ายเยาวชนนักเขียน
       เนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ   ๒๙  กรกฎาคม  ๒๕๔๘    สำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม  ได้จัด “ค่ายเยาวชนนักเขียนสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ”  เมื่อวันที่  ๑๓ - ๑๗  กรกฎาคม  ๒๕๔๘  เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการเขียนเรื่องสั้น  ให้กับนักศึกษาปริญญาตรีจากสถานศึกษาต่าง ๆ  จากภาคเหนือ  กลาง  อีสาน  และใต้  จำนวน  ๕๓  คน  โดยรับการถ่ายทอดจากศิลปินแห่งชาติ  สาขาวรรณศิลป์  อาจารย์คำสิงห์  ศรีนอก, อาจารย์เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์, อาจารย์อัศศิริ  ธรรมโชติ  และอาจารย์ชาติ  กอบจิตติ  รวมถึงนักเขียนผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณศิลป์  อาจารย์ไมตรี  ลิมปิชาติ, อาจารย์นิเวศน์  กันไทยราษฎร์, อาจารย์กนกวลี  พจนปกรณ์,    อาจารย์
สมคิด  ลวางกูร, อาจารย์จิระ  มะลิกุล  ซึ่งในภาคปฏิบัตินักศึกษาเขียนเรื่องสั้นคนละ ๑ เรื่อง  รวม  ๕๓  เรื่อง  ศิลปินแห่งชาติได้ประเมินและตัดสินผลงานเรื่องสั้นดีเด่น  จำนวน ๑๕ เรื่องระดับดี  จำนวน  ๑๓  เรื่อง  และระดับปานกลาง  ๒๕  เรื่อง

       ๗)  โครงการ “One  Day  Trip  เพื่อกาเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี”    ณ  หออัครศิลปิน
       ด้วยจังหวัดปทุมธานีได้แต่งตั้งผู้อำนวยการหออัครศิลปิน  ให้เป็นคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดปทุมธานี  หออัครศิลปิน  จึงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมกับจังปทุมธานีส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการท่องเที่ยว  กีฬาและนันทนาการ  จังหวัดปทุมธานี  จัดโครงการ   “One  Day  Trip  เพื่อการเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี”   ซึ่งได้รับงบประมาณ จำนวน  ๑,๐๐๘,๐๐๐  บาท  และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษา  ในจังหวัดปทุมธานี  รวมทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ คน  ได้ทัศน์ศึกษาแหล่งเรียนรู้  และสถานที่สำคัญต่างๆ ในจังหวัดปทุมธานี  ระหว่างวันที่  ๑๖  สิงหาคม  ๒๕๔๘  รวมทั้งหมด  ๑๙  แห่ง  อาทิ   หออัครศิลปิน   พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก   พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ  หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙  ศาลากลางจังหวัดปทุมธานีหลังเก่า  เป็นต้น
       ในการนี้  หออัครศิลปิน ได้ต้อนรับและนำชมนิทรรศการภายในหออัครศิลปิน  แก่นักเรียน
นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนี้จำนวนทั้งสิ้น  ๑,๕๕๐  คน  ซึ่งประโยชน์จากการจัดโครงการดังกล่าว  ได้ทำให้เยาวชนในจังหวัดปทุมธานีได้รู้จักและเกิดความภาคภูมิใจ  ตลอดจนหวงแหนรักษาแหล่งเรียนรู้และสถานที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์หออัครศิลปินให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
       ๘) โครงการ “พานักเรียนไปทัศนศึกษาหาความรู้จากองค์กรสนันสนุนการเรียนรู้ในจังหวัดปทุมธานี
       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี  เขต ๑  ได้รับมอบหมายจากจังหวัดปทุมธานี  ให้จัด
กิจกรรมทัศนศึกษายังองค์กรสนับสนุนการเรียนรู้ในจังหวัดปทุมธานีให้กับเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดปทุมธานี  ในระหว่างวันที่ ๑๓ - ๒๓  กันยายน  ๒๕๔๘
       หออัครศิลปิน  ในฐานะองค์กรสนับสนุนการเรียนรู้  จึงเป็นหน่วยงานที่ได้รับการต้อนรับและให้ความรู้เกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ตลอดจนผลงานของศิลปินแห่งชาติ  อันเป็นความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม  ให้แก่เยาวชนในจังหวัดปทุมธานี  จำนวนทั้งสิ้น  ๓,๐๐๐  คน  ถือเป็นการปลุกกระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมให้กับคนในท้องถิ่น  และสร้างทัศนคติที่ดีต่อแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ  เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  แทนการเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า
       ๙)  การจัดอบรมการเรียนรู้และแสดงออกทางศิลปะ  ประจำปี  ๒๕๔๘  ระหว่างวันที่  ๓๐  มกราคม – ๑๒  มิถุนายน  ๒๕๔๘  ณ  ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการแสดงออกทางศิลปะสำหรับประชาชนผู้สนใจ  และการรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมส่วนรวม  โดยจัดอบรมภาคทฤษฎี – ภาคปฏิบัติศิลปะ ๔ สาขา  คือ  สาขาศิลปะเด็ก  สาขาขับร้อง  สาขาระบายสีน้ำ ๑ - ๒ และสาขาระบายสีน้ำมัน
       ผลการดำเนินงาน  มีผู้ผ่านการอบรมการเรียนรู้และแสดงออกทางศิลปะประจำปี  ๒๕๔๘  จำนวน  ๑๓๒  คน  โดยจัดพิธีมอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรมเมื่อวันที่  ๒๖  มิถุนายน  ๒๕๔๘  ณ  ห้องนิทรรศการหมุนเวียน  และจัดนิทรรศการการแสดงผลงานผู้เข้าอบรม  ระหว่างวันที่  ๒๗ มิถุนายน –  ๒กรกฎาคม  ๒๕๔๘  ณ  ห้องนิทรรศการหมุนเวียน  มีผู้เข้าชม  จำนวน  ๓๔๘  คน
       ๑๐)  งานมหกรรมภาพยนตร์ยุโรป
       สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติร่วมกับผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรป  โรงภาพยนตร์เครือ  Major  Cinep,SFX  Cinema  และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย  ช่อง  ๑๑  จัดงานมหกรรมภาพยนตร์ยุโรป  ระหว่างวันที่  ๒๐ พฤษภาคม – ๒๖  มิถุนายน  ๒๕๔๘  ณ  กรุงเทพมหานคร  เชียงใหม่  และภูเก็ต  กิจกรรมประกอบด้วย  การเสนอฉายภาพยนตร์ยุโรป  จำนวน  ๓๒  เรื่อง  การบรรยายพิเศษ  เกี่ยวกับยุโรปด้านวัฒนธรรม  ความเป็นอยู่  การศึกษา  การเมือง  การปกครอง  และการเสวนาวิจารณ์
       ผลการดำเนินงาน  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทวีปยุโรป  เทคนิคการวิจารณ์ภาพยนตร์  และคนไทยได้เห็นคุณค่าและสุนทรียะทางศิลปะ  เพื่อนำสู่การพัฒนาประเทศต่อไป  มีผู้เข้าร่วมจำนวน  ๑๕,๐๐๐  คน
       ๑๑)  การแสดงศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ  การแสดงอุปรากรจีน  เรื่อง  พระอรหันต์จี้กง  CHI
  KONG  HE  LIVING  BUDDHA  เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการสร้างสรรค์และรับรู้ในสุนทรียภาพ โดยการจัดสัมมนาหัวข้องิ้วในเมืองไทย  ณ  หอประชุมเล็ก  ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  - จีน  และการจัดการแสดงอุปรากรจีนจากใต้หวัน  จำนวน  ๒  รอบ  มีผู้เข้าชมและร่วมกิจกรรมทางวิชาการ  ประมาณ  ๓,๐๐๐  คน
       ๑๒)  จัดนิทรรศการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
       สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ    ได้จัดนิทรรศการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ทาง
วัฒนธรรม  เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมในรูปของนิทรรศการ  โดการจัดนิทรรศการเผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  รวม  ๑๗  ครั้ง  คือ
  (๑)  การแสดงภาพเขียนของศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์เรื่อง  นิทรรศการวาดฟ้าพื้น  ณ  หอนิทรรศการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  จังหวัดเชียงราย  ระหว่างวันที่  ๒ - ๑๑  สิงหาคม  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๒๐,๐๐๐  คน  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ๑,๕๐๐  คน  และหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก  มหาวิทยาลัยบูรพา  จังหวัดชลบุรี  ระหว่างวันที่  ๒๐ -  ๓๐  สิงหาคม  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๕๐,๐๐๐  คน  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ๗๐๐  คน
  (๒)  ประเพณีกวนข้าวทิพย์  จังหวัดร้อยเอ็ด  เมื่อวันที่  ๒๗  พฤษภาคม  ๒๕๔๗  มีผู้เข้าชม  ๕,๐๐๐  คน
  (๓)  นิทรรศการลอยกระทง  ณ  หอประชุมเล็ก  และจังหวัดร้อยเอ็ด  ระหว่างวันที่ 
๒๕ - ๒๖  ธันวาคม  ๒๕๔๗  มีผู้เข้าชม  ๕๐,๐๐๐  คน
  (๔)  นิทรรศการประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทย  ๔ ภาค  ณ  จังหวัดร้อยเอ็ด  ระหว่างวันที่    ๒๙  ธันวาคม  ๒๕๔๗ - ๖  มกราคม  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๑๐,๐๐๐  คน
  (๕)  นิทรรศการวันข้าราชการพลเรือน ณ  เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ระหว่าง  วันที่  ๓๑ มกราคม – ๓ เมษายน  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๑๐๐,๐๐๐  คน
(๖)  นิทรรศการสัมมนาทางวิชาการเรื่องภูมิปัญญาไทย  ณ  จังหวัดพิษณุโลก  ระหว่าง
วันที่  ๑๐ - ๑๖  เมษายน  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๕,๐๐๐  คน 
(๗)  นิทรรศการกวนข้าวมธุปายาส  เนื่องในวันวิสาขบูชา  ณ  วัดบิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ 
 จังหวัดฉะเชิงเทรา  ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๒  พฤษภาคม  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม   ๕,๐๐๐  คน
(๘)  นิทรรศการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีพิธีหล่อเทียนจำพรรษาเนื่องในวันเข้าพรรษา 
 ณ  วัดถ้ำเขาฉกรรจ์  จังหวัดสระแก้ว  ระหว่างวันที่  ๒๐  มิถุนายน – ๑๑  กรกฎาคม  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม 
๕๐,๐๐๐  คน
(๙)  นิทรรศการคุณค่าความเป็นไทย – นิยมไทย  ณ  ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์  ระหว่างวันที่  ๑ - ๒  กรกฎาคม  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๕๐,๐๐๐  คน
(๑๐)  นิทรรศการคนไทยกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม”  เนื่องในการประชุม
สมัชชาแห่งชาติ  ณ  หอประชุมใหญ่  ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  ระหว่างวันที่  ๒๙ - ๓๐  สิงหาคม  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าร่วม  ๑๐,๐๐๐  คน
(๑๑)  นิทรรศการแสดงผลงานของกระทรวงวัฒนธรรม  เนื่องในการสถาปนา  ๒๗  ปี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ระหว่างวันที่  ๑ - ๗  กันยายน  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๕,๐๐๐  คน
(๑๒)  นิทรรศการเนื่องในการจัดสัมมนาวัฒนธรรมพื้นบ้าน : มรดกร่วมในอุษาคเนย์ 
  ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค  ระหว่างวันที่ ๑๙ -๒๐ กันยายน มีผู้เข้าชม ๕๐๐  คน
(๑๓)  นิทรรศการ”โครงการวันผู้สูงอายุสากลประเทศไทย”  ระหว่างวันที่  ๒๐ 
กันยายน –  ๒  ตุลาคม  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๕,๐๐๐  คน
(๑๔)  นิทรรศการแสดงผลงานกระทรวงวัฒนธรรม  ณ  หอประชุมกองทัพเรือ  เมื่อ
วันที่  ๒  ตุลาคม   ๒๕๔๘  มีผู้เข้าร่วมชม  ๒๐,๐๐๐  คน
(๑๕)  นิทรรศการเนื่องในสัปดาห์วัฒนธรรม  ณ  กรุงโรม  ประเทศอิตาลี  ระหว่าง
วันที่  ๒๘  พฤษภาคม – ๒  มิถุนายน  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๒๒๐,๐๐๐  คน
(๑๖)  นิทรรศการและการสาธิตวิถีชีวิตไทยเนื่องในการจัดงานวันวัฒนธรรมไทยใน
  รัฐเซีย  ณ  กรุงมอสโค    สหพันธรัฐรัฐเซีย  ระหว่างวันที่  ๙ - ๑๕  กันยายน  ๒๕๔๘  มีผู้เข้าชม  ๕๐,๐๐ คน 
(๑๗)  จัดทำนิทรรศการสำเร็จรูปเรื่องเครื่องดนตรีไทย
(๑๘)  การให้บริการนิทรรศการสำเร็จรูป  จำนวน  ๑๓  เรื่อง  จำนวน  ๑๒๐  ครั้ง
       ๑๓)  การผลิตสื่อศิลปะเพื่อเผยแพร่งานวัฒนธรรม  ได้ดำเนินการดังนี้
(๑)  การผลิตสื่อศิลปกรรมขนาดใหญ่  (คัตเอาท์)  จำนวน  ๑๒  ครั้ง  คือวันปิยมหาราช 
วันเฉลิมพระชนมพรรษา  ๕  ธันวาคม  งานวันริบบิ้นสีขาว  วันเด็กแห่งชาติ  ลิเกเด็ก  งานเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ  งานคนอารมณ์ดีกับ ๙ ปีก่อนบ่ายคลายเครียด  งานอุปรากรจีน  งานสงกรานต์  วันภาษไทย  วันแม่แห่งชาติ 
(๒)  การผลิตศิลปกรรมเพื่อสนับสนุนงานวัฒนธรรม  จำนวน  ๖  งาน  คือ  ๑)  งานแสดง
ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  จำนวน  ๑๑  ครั้ง  ๒)  งานศิลปกรรมนิทรรศการภายในประเทศและต่างประเทศ  ๓๓  ครั้ง  ๓)  งานออกแบบและผลิตสื่อศิลปกรรมในการตกแต่งสถานที่  จำนวน  ๘  ครั้ง   ๔)  ออกแบบและผลิตสื่อศิลปกรรมในการแถลงข่าวประชุมสัมมนา    จำนวน  ๘  ครั้ง 
๕)  ออกแบบแบบและผลิตสื่อศิลปกรรมเอกสารและสิ่งพิมพ์  จำนวน  ๑๓  ครั้ง  และ ๖)  งานออกแบบและผลิตสื่อศิลปกรรม  จำนวน  ๑  ครั้ง
       ๑๔) ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารทางวัฒนธรรมอย่างอัตโนมัติทางโทรศัพท์และโทรสาร  โดยให้บริการข้อมูลการแสดงและข่าวสารทางวัฒนธรรมแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ  อย่างอัตโนมัติ  ทางโทรศัพท์ในรูปแบบของเสียง (Voice) และทางโทสารในรูปแบบเอกสาร (Data)หรือ Content)  ตลอดเวลา  ๒๔  ชั่วโมง  จำวน ๔  คู่พร้อมๆกันผ่านทางเบอร์โทรศัพท์เบอร์เดียวทั่วประเทศ  ได้แก่  ๐๒ ๒๔๗ ๐๐๖๖  และสามารถรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนได้ (จากการบันทึกเสียง) โดยเก็บไว้ในฐานข้อมูล
       ๑๕)  การสร้างเครือข่ายลูกค้าสัมพันธ์  โดยการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่องเปิดโลกแหล่งเรียนรู้วิถีไทยยุคไอที ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๘  ณ ห้องประชุม ๑  ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
       ๑๖) การบริการเช่าใช้สถานที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  คือการให้บริการเช่าใช้สถานที่  ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  เพื่อจัดการแสดงทางวัฒนธรรมทุกประเภทในระดับท้องถิ่น  ระดับชาติและระดับนานาชาติ  อันได้แก่หอประชุมใหญ่   หอประชุมเล็ก  โรงละครกลางแจ้ง  ห้องนิทรรศการ  ห้องประชุมสัมมนา  เป็นต้น
       การให้บริการเช่าใช้สถานที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  ดำเนินการตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ว่าด้วยการใช้ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๗  การบริการเช่าสถานที่นี้  สถาบันวัฒนธรรมศึกษาได้พัมนาระบบการให้บริการด้วยการลดขั้นตอนการให้บริการให้รวดเร็วขึ้น  เพื่อให้เป็นไปตามการดำเนินการงานตัวชี้วัดเรื่อง  ความพึงพอใจแก่ประชาชนที่มาใช้บริการ  ตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้บริการแก่ประชาชนเป็นหลัก   ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กำลังพัฒนาโปรแกรมการจองใช้สถานที่แบบ Online  เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน  และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีโอกาสใช้สถานที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมได้อย่างทั่วถึง  และโปร่งใส  สามารถเรียกดูวัน  เวลา  และสถานที่ต้องการใช้บริการได้โดยสะดวก
       ๑๗) โครงการรับรู้ศิลปะและวัฒนธรรม
 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ได้ดำเนินการโครงการรับรู้ศิลปะและวัฒนธรรม  เพื่อพัฒนาเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์  ส่งเสริมความมีสุนทรียศาสตร์ให้กับประชาชน  และเสริมสร้างคุณค่าของชีวิตในด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้กับประชาชน  โดยจัดฝึกอบรม  จำนวน  ๓  ครั้ง 
 ครั้งที่ ๑  ระหว่างวันที่  ๗ - ๑๐  สิงหาคม  ๒๕๔๘  ณ  โรงแรมชลจันทร์  จังหวัดชลบุรี
 ครั้งที่ ๒  ระหว่างวันที่  ๑๔ - ๑๗  สิงหาคม  ๒๕๔๘  ณ  โรงแรมริมกก  จังหวัดเชียงราย
 ครั้งที่ ๓  ระหว่างวันที่  ๒๘ - ๓๑  สิงหาคม  ๒๕๔๘  ณ  วังยางริเวอร์พาร์ครีสอร์ท 
              จังหวัดสุพรรณบุรี
 ผู้เข้ารับการฝึกอบรม  ครั้งละประมาณ  ๖๐  รวม  ๑๘๐  คน
 นอกจากนี้  ได้ดำเนินการผลิตสื่อทัศนศิลป์  จำนวน  ๑๐๐  ภาพ  ผลิต VCD  เรื่องมองรู้ดูออกทางศิลปกรรม   เพื่อเป็นสื่อให้เกิดบูรณาการในการใช้ศิลปะเพื่อสร้างสรรค์งานวัฒนธรรมให้กับเครือข่าย
ด้านวัฒนธรรม  สถาบันการศึกษา  เด็กและเยาวชน  และประชาชนที่สนใจ
       ๒.๔  โครงการส่งเสริมและพัฒนามูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรม
  (๑)  วัตถุประสงค์ เป้าหมายและผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
         วัตถุประสงค์
                ๑.  เพื่อพัฒนามูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรม  ให้แก่สินค้าและบริการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
                    ๒.  เพื่อพัฒนารูปแบบการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของสินค้าทางวัฒนธรรมและความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าวัฒนธรรมของชุมชน
     เป้าหมาย
                   จัดกิจกรรมพัฒนาสินค้าวัฒนธรรม (ภูมิไทยพัฒนาตราสัญลักษณ์สินค้าวัฒนธรรมไทย
และพัฒนาสินค้าวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่นำร่อง อย่างน้อย   ๔  ผลิตภัณฑ์
                           (๒) ความสอดคล้องกับนโยบายอื่น
                                โครงการส่งเสริมและพัฒนามูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรม  มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านวัฒนธรรม  และประเด็นยุทธศาสตร์  ข้อที่ ๒  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
               (๓)  ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการ
เพื่อส่งเสริมสังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพใน ๓ ด้าน คือ สังคมคุณภาพ สังคมแห่ง
ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน พร้อม ๆ กับการพัฒนาเศรษฐกิจบนรากฐานความรู้ของตนเองเพื่อสามารถแข่งขันได้ ในระบบเศรษฐกิจของเวทีโลก
                (๔) ผลผลิตและผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมาย
          ๑) พัฒนาสินค้าวัฒนธรรมชุมชนนำร่อง : จังหวัดเชียงราย โดย
-  ลงนามข้อตกลงความร่วมมือระดับพื้นที่การดำเนินงานพัฒนาสินค้าวัฒนธรรมชุมชนในพื้นที่นำร่อง : จังหวัดเชียงราย ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จังหวัดเชียงราย (โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)
                         -  ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระดับกระทรวงว่าด้วยความร่วมมือการฟื้นฟูส่งเสริมสร้างสรรค์มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนระหว่างกระทรวงแรงงานกับกระทรวงวัฒนธรรม
                         -  การฝึกอบรมทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับชุมชนนำร่อง
                         -  การสนับสนุนชุมชนนำร่องในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน ๔ ชุมชน คือ
 ชุมชนที่ ๑ กลุ่มหัตถกรรมไม้แกะสลัก  มีทักษะการแกะสลักที่ยอดเยี่ยมและมีลักษณะเฉพาะตัวสูง ดังนั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมใหม่นั้นจะต้องนำไปสู่การใช้งานในชีวิตประจำวันสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสัตว์ประจำปีเกิด  โดยจัดทำชุดเครื่องใช้ในบ้าน  โต๊ะอาหาร และไม้สำหรับจิ้มสับปะรด  ซึ่งสับปะรดนางแลจังหวัดเชียงรายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงมากในเรื่องของความหวานหอม อร่อย
ชุมชนที่  ๒ การออกแบบเครื่องถ้วยเวียงกาหลง นั้นเป็นการเสริมการอนุรักษ์ของ  ชุมชนมากกว่าการออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ เนื่องจากแนวคิดดั้งเดิมของกลุ่มและทักษะของกลุ่มนี้มีความสามารถในการทำงานเชิงอนุรักษ์ได้เป็นอย่างดี  ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเป็นการเสริมผลิตภัณฑ์ให้มีความแข็งแรงในการขนส่งได้โดยมีการออกแบบหีบห่อให้สวยงามทนทาน และสามารถนำไปใช้ได้ในหลาย ๆ  ขนาด ตลอดจนหาจุดเด่นให้กับสินค้าประเภทรูปสัตว์ต่าง ๆ โดยให้ผลิตรูปสัตว์ ประจำปีเกิดของล้านนา โดยทำเป็นที่เสียบธูปหอมเพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอยอีกทางหนึ่ง
ชุมชนที่  ๓ กลุ่มผ้าทอเชียงแสนนี้เดิมเป็นการทอผ้าเพื่อการตัดเย็บเสื้อผ้า การค้าขายผ้าเฉพาะกลุ่มที่สนใจ จึงออกแบบเพิ่มโดยให้นำผ้าทอพื้นบ้านไปทำกระเป๋าในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทันสมัยเหมาะสมกับเมืองท่องเที่ยว คือ กระเป๋าเครื่องดื่มที่สามารถเก็บความเย็นได้โดยผสมกับวัตถุฟรอยด์กันความร้อนเข้าไปและออกแบบให้ทันสมัย เพื่อการขายให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งราคาต่อหน่วยจะถูกกว่าการขายผ้าเป็นผืนมาก การใช้วัตถุดิบน้อย และเวลาการทอน้อย
ชุมชนที่  ๔ ของเล่นเด็ก  การออกแบบมุ่งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ชาย หญิง กับเด็กชาย เด็กหยิง เพื่อลบพรมแดนระหว่างเพศให้ผสมผสาน กลมกลืนกันโดยมีส่วนร่วมในการผลิต ผลิตภัณฑ์ของเล่นด้วยกัน จากการศึกษา เรื่องของเล่นในชุมชนป่าแดดนี้พบว่าของเล่นที่มีผู้นิยมมากที่สุดและเป็นของเล่นที่สร้างขึ้นให้กับชุมชนคือ “งูไม้ไผ่” จึงผสมผสานเรื่อง งูไม้ไผ่ เข้ากับตุ๊กตาผ้าโดยตุ๊กตา ผ้านี้จะหุ้มงูไม้ไผ่ไว้ข้างในจะสามารถดูดนิ้วคนได้  ทั้งนี้ตุ๊กตาผ้าภายนอกจะแปลเปลี่ยนไปเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ได้
๒) ประกวดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมดีเด่นแห่งชาติ  เพื่อตอบแทนผู้ผลิต ผลิภัณฑ์วัฒนธรรมดีเด่น  โดยแบ่งการให้รางวัลเป็น ๒ ประเภท คือ   (๑)  ประเภทผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมต้นแบบดีเด่น   (๒) ประเภทแผนธุรกิจเชิงวัฒนธรรมดีเด่น  โดยดำเนินการดังนี้
         -  ประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต (hiip:/www.Thai- culturealpoducts.com) และสื่อต่างๆ เช่น โปสเตอร์ Website ของกระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
                       -     อบรมเชิงปฏิบัติการผู้สนใจ/อาสาสมัครเรื่อง วิธีการและเทคนิคการเขียนแผนธุรกิจ จำนวน ๓ ครั้ง
                    -   ได้แผนที่กลยุทธ์การดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
                    -   ประกวดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมดีเด่น ๑๐ รางวัล
                ๓)  ภูมิไทย – ชุดไทย     คือ เครื่องแต่งกายประจำกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงแบบแผนการดำรงชีวิต ค่านิยมและความเชื่อในสังคมอันหล่อแหลมขึ้นเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชาติพันธ์ ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลายในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดย
ได้จัดทำรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ ๑  (พ.ค.-ส.ค.๔๘)  โครงการวิจัย “ภูมิไทย ชุดไทย”  ภาคเหนือตอนบน และต้นฉบับหนังสือ “ภูมิไทย ชุดไทย”  ภาคเหนือตอนบน ซึ่งประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ คือ ไทยยวน  ไทยลื้อ  ยอง  ไทยเขิน ไทใหญ่  ลัวะ  ปะกาเกอะยอ  ลิซู  เมี้ยน  อาช่า  มัง และลาหู่
 ๒.๕  โครงการ  คนดี  คิดดี  สังคมดี
  (๑)  วัตถุประสงค์เป้าหมายและผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
          วัตถุประสงค์
   ๑.  เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  เนื่อง
      ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ  ๕๐  พรรษา
   ๒.  เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทย  เห็นคุณค่าของการทำความดี  อันจะนำไปสู่การอยู่
       ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุขและเอื้ออาทร
   ๓.  เพื่อสร้างกระแสให้เกิดการคิดดี  ทำดี  และสร้างสรรค์สิ่งที่ดี  เป็นประโยชน์ต่อ
      ประเทศชาติ
   ๔.  เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เยาวชนไทย
          เป้าหมาย
   จำนวนประชาชน ๕ %  ของประเทศที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร  เกิดการรับรู้  เข้าใจ  ตระหนัก  มีส่วนร่วม  เกิดค่านิยมที่พึงประสงค์  เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดี  วัฒนธรรมไทยได้รับการอนุรักษ์  สืบทอด  เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย  และนำสื่อที่ผลิตไปเผยแพร่ต่อทั้งในสถานศึกษา  และองค์กรต่าง ๆ
          ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
   ประชาชนและเยาวชนได้รับความรู้และความบันเทิงจากสื่อที่ดี  พร้อมทั้งได้รับแบบอย่างที่ดี  และก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
        (๒)  ความสอดคล้องกับนโยบายอื่น
โครงการคนดี  คิดดี  สังคมดี  มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านวัฒนธรรม  และ
ประเด็นยุทธศาสตร์  ข้อที่ ๒  การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
        (๓)  ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการ/งาน
  เทคโนโลยีสมัยใหม่มีความรวดเร็วในสื่อสาร  สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี  และสามารถเก็บและเผยแพร่ได้หลายรูปแบบ
        (๔)  ผลผลิตและผลลัพธ์
   ๑)  ผลิตรายการละครโทรทัศน์ “อยู่กับก๋ง” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง๕  ทุกวันเสาร์และอาทิตย์   เวลา  ๒๐.๑๕  น.  ตั้งแต่มิถุนายน  ถึง  สิงหาคม   ๒๕๔๘  รวม  ๒๗   ตอน  ผู้ชมประมาณ  ๔๐  ล้านคน 
                  ๒)  จัดประกวดเรียงความ  “คนดี”  มีอยู่ใกล้ตัว /ข้อคิดจากละครอยู่กับก๋ง   มอบโล่และทุนการศึกษา  จำนวน  ๑๒  ทุน
                                 ๓)  ค้นหาหยกในโรงเรียน  เป็นกิจกรรมการคัดเลือกเด็กดีตัวอย่าง  จำนวน  ๑๐  คน  จากทั่วประเทศเพื่อนำเสนอประวัติในละครโทรทัศน์อยู่กับก๋ง  มอบโล่และทุนการศึกษา  จำนวน  ๑๐  ทุน 
 ๔)  ผลิตสปอตวิทยุและโทรทัศน์  จำนวน  ๓  สปอต  เพื่อรณรงค์  ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกให้คนหันมาทำความดี
           ๕)  ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์  จำนวน  ๕  สื่อ  คือ  แผ่นป้ายโฆษณา  (Banner)  จำนวน  ๓,๐๐๐  แผ่น  หนังสือการ์ตูนอยู่กับก๋ง  จำนวน  ๓,๐๐๐  เล่ม  คำคมข้อคิดจากละคร  จำนวน  ๓,๐๐๐  เล่ม  และสติกเกอร์  “คนดี  คิดดี  สังคมดี”  จำนวน  ๒๐,๐๐๐  แผ่น
   

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1276
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1355
mod_vvisit_counterทั้งหมด10689409