Skip to content

Phuketdata

default color
Home
แขกมาจากแคะ KHAEK , KHAE PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์   
จันทร์, 01 มิถุนายน 2009

แขก  

  

หมายถึง

แขก แคะ คือผู้มาเยือน 

 

สมาคมจีนแคะ “สมาคมแห่งแรกในไทย”

เมื่อ พฤ, 29/11/2007 - 14:28.
  
ภูมิหลัง-ประวัติศาสตร์ ชาวฮากกา 客家人

จีนแคะเมืองจีน กับจีนแคะในเมืองไทย นั้น มีความแตกต่างกันหลายประการ ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนั้น แต่ประเพณีบางอย่าง ก็ได้สืบทอดกันมาไม่ขาดสาย แม้จะไม่หวือหวา แต่ก็ยังคงเดิมอยู่ที่ช่วยกันรักษาความภาคภูมิใจต่อมาคำว่า “จีนแคะ” ต้องให้ความหมายเพื่อเข้าใจสักเล็กน้อย คำว่า “แคะ” ตรงกับคำว่า “เค่อ” ในภาษาจีนกลาง แปลว่าแขกหรือผู้มาเยือน ซึ่งความหมายนี้ มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ที่เล่าต่อกันมาหลายชั่วคน เหตุที่เรียกว่า “แขก” นั้น เป็นคำที่ชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ใช้เรียกคนจีนที่ลงมาอาศัยอยู่ทางใต้

 

ภูเก็จออกเสียง  [kh@?1]

เทียบเสียง  khaek  (khae)

 ตัองขอท้าวความเดิมว่า ในสมัยก่อนที่ราชวงศ์ฮั่นจะแตกนั้น คนจีนแทบจะไม่ได้อยู่ในเขตตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง เลยปล่อยให้แขก “พวกฮวน” อันหมายถึง ชนชาติส่วนน้อย เช่นพวกจ้วง ไต เวียดนาม และอื่นๆ อาศัยอยู่ ดังนั้นทางราชการจีนในเวลานั้น จึงถือเอาสถานที่ห่างไกลเช่นนั้นเป็นที่สำหรับเนรเทศชาว“ฮั่น” ที่มีความผิด หรือไม่ก็พวกกบฏ ที่ต้องการส้องสุมกำลังต่อต้านราชวงศ์ ก็หลบมาอยู่ในบริเวณนี้ และพวกที่หนีการรังแกของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ทุจริต คอยรีดนาทาเร้น ก็เช่นเดียวกันเนื่องจากความรักอิสรภาพ ดังจะเห็นได้จากการที่ในประวัติศาสตร์จีนต่อ ๆ มาจะมีการสะสมกำลังของกบฏ ทางตอนใต้เพื่อยกกำลังไปตีเมืองหลวงที่ฉางอันบ้าง ไคฟงบ้าง ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง คนที่เป็นชนชาติส่วนน้อยต่างๆ จึงเรียกคนจีนที่อพยพลงมานี้ว่า “เค่อ” หรือ “แคะ” อันเป็นการเรียกคนแปลกหน้า แต่เมื่อระยะเวลาผ่านมาคำนี้ก็เลือนๆ ความหมายเดิมไป กลายเป็นคำใช้เรียกคนจีน กลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลกลางตุ้งคาบเกี่ยวมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมบางอย่างในการดำเนินชีวิตเป็นของตนเอง แต่พวกจีนแคะ กลับเรียกตัวเองว่า “ฮากกา” ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกัน การกระจายของชาวจีนแคะไปอยู่ตามที่ต่าง ๆทำให้จีนแคะแยกออกเป็นสองกลุ่ม ง่ายๆ คือ แคะลึก กับแคะตื้น

แคะลึก หมายถึง จีนแคะที่อยู่ในบริเวณที่อื่นๆ และเป็นชนกลุ่มน้อยในชุมชนอื่น ซึ่งก็มีความผิดแผกทางด้านภาษาที่ใช้บ้าง แต่ก็รู้ว่าเป็นจีนแคะอยู่ สังเกตได้จากอาชีพจีนแคะนั้น จะมีความชำนาญในอาชีพทำเครื่องหวาย เครื่องเงิน ทอง เครื่องหนังต่างๆ เช่น รองเท้า ซึ่งบางอย่างมีความชำนาญ ที่ถ่ายทอดต่อกันมาไม่มีใครสู้ได้ ความรักอิสรภาพ ไม่ยอมอยู่ให้ใครรังแกของจีนแคะนั้นยังคงแสดงให้เห็นอยู่ต่อมาเป็นระยะๆ แม้จะเป็นพวกที่รักความสงบ นักปฏิวัติที่สำคัญของเมืองจีนอย่างท่านซุนยัดเซ็น หรือ ซุนจงซัน “บิดาของประเทศจีนยุคใหม่” ท่านเย่เจี้ยนอิง อดีตรัฐมนตรี กลาโหม และประธานสภาประชาชน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็เป็นแคะเหมือนกัน อยากทำความเข้าใจในที่นี้ว่า คำว่าจีนแคะ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยนหรือ ไหหลำนั้นไม่ได้หมายถึงแค่สถานที่ หรือชื่อเเซ่แค่นั้น แต่มีความหมายมากกว่านั้น เพราะวิถีชีวิตในสังคมจีนนั้น จะมีการอยู่รวมกลุ่มกัน เป็นหมู่บ้าน เป็นเมืองซึ่งมีอาณาเขตพอสมควร คนที่อยู่ในชุมชนเหล่านั้น ไม่ว่าจะมีแซ่อะไรก็ตาม จะต้องทำความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในด้านการอยู่กินประจำวัน มีการแบ่งงานในความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะด้านอาชีพ การรักษาปลอดภัยของชุมชน การเสียภาษา การใช้น้ำชลประทาน ตลอดจน การปันส่วนเครื่องอุปโภคบริโภคในยามจำเป็น เพราะคงเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เมืองจีนในสมัยนั้นความแร้นแค้นมีอยู่มาก และสงครามก็เกิดบ่อยเหลือเกิน ชุมชนจีนแบบนี้เอง เป็นที่มาของคำว่าจีนแต้จิ๋ว จีนแคะ ไหหลำดังกล่าว ซึ่งภาษาทางด้านสังคมวิทยา ก็กล่าวว่ามีลักษณะที่เรียกว่า “Clans” หรือจีนว่า “จู๋” ซึ่งต่างจากระบบ “วรรณะ” ของอินเดีย แต่ก็มีเป้าหมายไม่ต่างกันนัก ในด้านการสร้างความปลอดภัยแก่สมาชิกชุมชน สภาพทางสังคม อย่างนี้เองที่ติดตัวชาวจีนที่เดินทางออกมาจากแผ่นดินแม่ มาแสวงหาทางออกของชีวิต คนจีนโพ้นทะเลเหล่านี้ก็อดไม่ได้ที่จะไปรวมกลุ่มกันขึ้นมา พึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบที่เคยเป็นมา ในเมืองไทยเอง จะเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ชัดเจนจากบรรดาสมาคมชาวจีน ที่อยู่นับร้อยสมาคม จีนแคะเองก็เหมือน คนจีนอื่น ๆ โดยเฉพาะชาวจีนตอนใต้ ที่อพยพออกจากเมืองแม่ มายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ชาวจีนแคะนั้น อาชีพหลักตอนที่อยู่เมืองจีนนั้นก็คือการเกษตรกรรม เพราะดินแดนที่จีนแคะอาศัยอยู่นั้น อยู่ในหุบเขาตอนต้นแม่น้ำ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับพวกแต้จิ๋ว ซึ่งอยู่ปลายแม่น้ำติดฝั่งมหาสมุทร แล้วย่อมไม่อาจแข่งขันความสามารถทางการค้า กับเขาได้ ส่วนความชำนาญเฉพาะอย่างนั้นก็สู้พวกตอนเหนือที่เก่งเรื่องทำเหมืองไม่ได้อีก ฉะนั้นจึงพบว่า อาชีพของจีนแคะรุ่นแรก ๆ ที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย จึงมักเป็นกรรมกรตามท่าเรือเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมาเมื่อจีนแคะที่เป็นพวกมีความรู้ขึ้นมา เช่นพวกหมอยา หรือพวกช่างฝีมือ ที่เคยผ่านโรงเรียนมาบ้าง เดินทางเข้ามา ก็ทำให้มีคนหลายอาชีพมากขึ้น เพราะว่ากันตามจริงเมืองเหมยนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นเมือง การศึกษาที่สำคัญเมืองหนึ่งของกวางตุ้ง และคนจีนแคะเองนั้น ก็เป็นนักศึกษาหาความรู้ที่เก่งคนหนึ่ง แต่ก็มักจะมุ่งเป็นขุนนางจอหงวน หรือซิ่งไฉกัน จึงไม่เก่งการค้าเท่าที่ควร

ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2451 ชาวจีนแคะกลุ่มหนึ่ง ที่ทำธุรกิจในเมืองไทย 30 คน ได้เข้าร่วมลงลายมือชื่อเพื่อทำหนังสือยื่นต่อพระยาสุขุมนัยวินิต เพื่อขอตั้งสโมสรการค้า อย่างเป็นทางการ โดยขอให้พระยาสุขุมวินิตเป็นผู้อุปถัมภ์ และบำรุงสมาคม เมื่อได้รับหนังสือแล้ว พระยาสุขุมนัยวินิตได้นำเรื่องขึ้นกราบบังคม ทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาโดยได้เสนอความเห็นว่า “พวกชาติอื่น ๆ คอยดูพวกแคะอยู่เหมือนกัน ถ้าเป็นการเรียบร้อย ก็จะเอาอย่างบ้าง” ในการยื่นหนังสือครั้งนี้ กลุ่มที่ขอตั้งได้แสดงตัวยืนยันความบริสุทธิ์ใจ โดยทำหนังสือว่า ได้เลิกประพฤติตัวเป็นอั้งยี่เด็ดขาด และให้เจ้าหน้าที่กองตระเวนไปเก็บเครื่องสัญญาต่างๆ ที่มีอยู่ในที่ประชุมให้หมด ซึ่งทำให้สมเด็จฯกรมหลวงดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงพิจารณาเป็นควรให้ตั้งสมาคมได้ เพราะการเสนอนั้น ไม่ขัดต่อกฏหมาย โดยมีเงื่อนไขว่าให้ตั้งเฉพาะที่กรุงเทพฯ และให้มีสมาชิกที่เป็นจีนแคะจากเมืองจีน และบุตรจีนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง สโมสรจีนแห่งแรกจึงได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2451 โดยใช้ชื่อว่า “สโมสรจีนกรุงเทพฯ” ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และรัฐบาลรับรองอย่างเป็นทางการ ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาที่บีบรัด “ยิวแห่งบูรพทิศ” ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทำให้บทบาทของสมาคมการค้าจีนต่าง ๆ ซบเซาลงไป และสมาคมจีน ต้องหันมาดำเนินงานในด้านสังคมสงเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับกฏหมาย และไม่ถูกทางการเพ่งเล็ง ทำให้ความสัมพันธ์กับรัฐบาลเป็นไปโดยปกติ สมาคมจีนแคะแห่งประเทศไทย ซึ่งมีนายเซียวเต็กซู เป็นนายกสมาคมคนแรกได้ดำเนินงานมาด้วยดีนับได้จนถึงทุกวันนี้ก็ 50 ปี (นับแบบจีน) สำหรับผู้ก่อตั้งสมาคมรุ่นแรกๆ ที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ต้นตระกูลล่ำซำ ต้นตระกูลห้างใต้ฟ้า เป็นต้น

สิ่งที่น่าภาคภูมิใจของสมาคมจีนแคะก็คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาเยือนสมาคม ซึ่งถือเป็นเกียรติยศ ที่สมาคมได้รับมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ งานหลักของสมาคมจีนแคะนั้น คุณเต็กไหง่ ผู้จัดการสมาคมที่เป็นติดต่อกันมานานถึง 26 ปี เปิดเผยว่า เป็นงานสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือสมาชิก โดยมี ตั้งอยู่ที่ทำการของสมาคมหลังโรงภาพยนตร์เทียนกัวเทียน โรงเรียนจิ้นเตอะ โรงพยาบาลจงจินต์ อยู่ที่หัวลำโพง โรงเรียนจิ้นเตอะนั้นเปิดสอนภาษาจีนกลาง ปัจจุบันมีนักเรียน 400 กว่าคน โดยสมาชิกที่ส่งลูกหลานเข้ามาเรียนจะได้ลดค่าเล่าเรียนแต่ก็รับเด็กทั่วไปด้วยไม่จำเพาะเฉพาะสมาชิก ส่วนโรงพยาบาลนั้นสมาชิกสมาคม จะได้รับการลดค่ารักษา 20 % ของค่ารักษาปรกติ นอกจากนั้นยังมีบริการจ่ายยาจีนฟรีแก่ผู้คนทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็นใครอีกด้วย ในด้านสังคม ทีมกีฬาฟุตบอลของสมาคม ก็เคยมีชื่อเสียงเป็นที่ติดปากของแฟนฟุตบอลมานานแล้ว คือทีม “หวีฝ่อ” (แปลว่ารักสันติภาพ) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาใช้ชื่อสมาคม ฮากกา แทนคุณเต็กไหง่ ให้คำชี้แจงถึงการเปลี่ยนชื่อสมาคมจีนแคะ เป็นสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทยว่า

“คำว่าจีนแคะนี่ รู้จักกันแค่เมืองไทย ในโลกนี้ที่ไหนไหนก็เรียกว่าฮากกากันทั้งนั้น แม้ฝรั่งก็เรียกว่าฮากกา ก็เลยเปลี่ยนชื่อให้เข้าใจกันเวลาทำกิจกรรมอะไร” ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมฮากกาเข้ามาเนื่องจากสมาคมต่าง ๆ จังหวัดนั้นเดิมที่เป็นสาขาของสมาคมของกรุงเทพฯ ภายหลังได้เเยกออกไปตั้งเป็น สมาคมฮากกาของแต่ละจังหวัด ซึ่งสมาคมต่างจังหวัดที่ใหญ่มากก็อยู่ที่ตรัง เบตง หาดใหญ่ พิษณุโลก และอื่นๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ การเป็นสมาชิกของสมาคมนั้น ต้องเสียค่าสมาชิกคนละ 400-500 บาทต่อปี แต่กรรมการต้องเสียมากหน่อยคือ เดือนละ 3,500 บาท ต่อเดือน โดยเฉพาะประธานกิตติมศักดิ์ซึ่งช่วยงานของสมาคมมาโดยตลอด อย่างคุณเกียรติ คุณจรรย์สมร วัธนเวคิน นั้นนับได้ว่ามีส่วนช่วยงานของสมาคมด้วยดี นอกเหนือจากการดำเนินงานด้านในประเทศแล้ว สมาคมฮากกายังมีการติดต่อกับ สมาคมฮากกาในต่างประเทศทุกมุมโลก ไม่ว่าในอินเดีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น สหรัฐ นับพันเดินทางมาชุมนุมกัน นับได้ว่าเป็นการชุมนุมของจีนโพ้นทะเล ครั้งใหญ่ในเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง เหมือนกับที่สมาคมแต้จิ๋วโลก จัดในกรุงเทพฯ ในเวลาใกล้เคียงกัน แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบความยิ่งใหญ่ของสมาชิกแล้ว กลุ่มแต้จิ๋วจะมากกว่า แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นความสำคัญ และสามัคคีของชาวจีนแคะหรือ “ฮากกา” โดยเฉพาะในเมืองไทย แน่นอนว่าการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคม เพื่อทำการช่วยเหลือซึ่งกัน และกันตามธรรมเนียม ตั้งแต่ครั้งอพยพมาจากเมืองจีนนานมาแล้วเช่นนี้ เป็นสิ่งที่มีความหมายให้ชุมนุมเล็ก ๆ ซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ของเมืองไทยได้เป็นที่พึ่งของสมาชิก แม้ว่าปัจจุบันคน จีนรุ่นหลังจะกลายเป็นไทยกันหมดแล้ว แต่ธรรมเนียมเก่าแก่เหล่านี้ ก็ยังมีบทบาทที่จะดำเนินต่อไปอยู่ และคงจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพต่อไปในอนาคต

 

ธีรวิทย์ สวัสดิบุตร
ข้อมูลจากหนังสือ

"คนจีน 200 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร" หน้า 110-112
คัดลอกมาจาก หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติhttp://cul.hcu.ac.th/chinakax.htm

 

http://hakkapeople.com/node/65

 

***

หมายเหตุภูเก็จ

หมายเหตุ มทศ.

พจนานุกรมภาษาถิ่นภูเก็จ

วัฒนธรรม2วัฒน์ ภาษาสื่อสาร

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 25 มิถุนายน 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้555
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1309
mod_vvisit_counterทั้งหมด10730163