การละเล่นของเด็กภูเก็จ |
เขียนโดย ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ | |
พฤหัสบดี, 06 กรกฎาคม 2017 | |
การละเล่น ผู้ใหญ่ชาวภูเก็จพังงามีการละเล่นเพื่อการบันเทิงอยู่ ๒ ประเภทคือการละเล่น ที่เป็นมหรสพ เช่น ยี่เกรำนา หนัง ควาย รองเง็ง รำวง โนราห่มท้าย และการละเล่นที่เป็นสื่อการพนัน เช่นสะบ้า ส่ามกอก และมีการละเล่นของเด็ก (ส่วนหนึ่งในการละเล่นพื้นบ้าน) เพื่อความสนุกสนานและมีผลพลอยได้ไปสู่ การพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม สติปัญญา และร่างกาย มีชื่อการละเล่นของเด็ก (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ ๒๕๕๔ : ๒๐๒-๒๑๗) เช่น อาหว้าย ดาวเด้อ เตย(เตยเลข 8, เตยมัด, เตยตี) อีฉุด จิ๊ว ทอยราว หมากเก็บ (มีชื่อย่อย เช่นหมากหนวย หมากตกเบ็ด หมากไก่เข้าเล้า) ฟัดกาล็อก (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผู้เขียน)
ชื่อการละเล่นของเด็ก เด็กเรียกการละเล่นว่าไปหร่ายบ้าง ไปเล่นบ้าง และเรียกชื่อการละเล่นเป็นการเฉพาะ เช่น ไปเล่นนางชี (พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๐, ๒๕๕๑ : ๒๕๕) ไปเล่นโตะ มีการละเล่นที่กระทำ อยู่เพียง คนเดียวและการรวมกลุ่มละเล่น มีการแบ่งฝ่ายด้วยกติกาฉีดอาหว้าย วันตูโซ่มหรือลาหล้า ทุมโบ๊ง มีชื่อ การละเล่นของเด็ก (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ ๒๕๕๔ : ๒๐๒-๒๑๗) เช่น ขว้างโพล้ ขว้างราว แซะ บินเลียด เป่ากบ เป่ากอง เข้ขึ้นบก เรือบิน มิดลอ หมากหลุม อาหว้าย เป็นต้น (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผู้เขียน)
อาหว้าย : การละเล่น การละเล่นของเด็กแบ่งเป็น ๒ ฝ่ายคือฝ่ายหลักและฝ่ายตี จำนวนเท่ากัน มีลูกกิ๋ว (ลูกบอลขนาดเล็ก, ลูกเทนนิส) และแท่งหลักเรียกว่าก๊วนมีขนาดเท่าแผ่นอิฐ แพ้ชนะอยู่ที่ฝ่ายหลักสามารถ เคลื่อนลูกกิ๋วไป ปะทะก๊วนของฝ่ายตี ก็เปลี่ยนฝ่ายกลับกัน ฝ่ายหลักก็เป็นฝ่ายตี ฝ่ายตีก็เป็นฝ่ายหลัก ฝ่ายตีมีชื่อท่าตี (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ ๒๕๕๔ : ๒๐๒-๒๑๗) ว่า อาหว้าย ชีหล้า ดัวหล้า โปะ ก้าด กางกาง เซปะ แต่ละชื่อท่าตีแบ่งเป็น ๓ ท่า เช่น อาหว้าย อาหว้ายตู และอาหว้ายดั่ว ถัดไปเป็นชีหล้า ชีหล้าตู และชีหล้า ดั่ว เป็นต้น ตัวอย่างท่าตีชีหล้า ผู้ตียืนหันหลังให้ก๊วน โยนลูกกิ๋วสูงขึ้นในแนวดิ่ง ใช้ฝ่ามือ หรือกำหมัด ที่ถนัดตีลูกกิ๋วไปฝ่ายหลัก ถ้าฝ่ายหลักรับลูกได้ ลูกกิ๋วไม่ตกถึงพื้น คนตีจะหยุดตี ีทีเรียกว่า ตาย เปลี่ยนคนตีใหม่ในท่าที่ไม่ผ่านนั้น จนหมดคนฝ่ายตีที่มีสิทธิ์ตีหรือที่เรียกว่าตายหมด ก็เปลี่ยนฝ่าย ฝ่ายตีก็เริ่มจากท่าตีที่ค้างอยู่ก่อนเปลี่ยนฝ่าย ช่วยให้ผู้เล่นมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ร่วมสังคมกับเพื่อน การเล่นอาหว้ายได้ใช้สติปัญญาที่จะกระทำให้ลูกกิ๋วไม่ตาย ทั้งฝ่ายตีและฝ่ายหลักได้ออกกำลังกาย ถ้วนทั่วทุกตัวคน (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผู้เขียน)
นามานุกรม สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผู้เขียน เพศชาย เกิด ๑ สิงหาคม ๒๔๘๙ ภูมิลำเนาวัฒนธรรมภูเก็ต สถานที่ติดต่อ ๑๗๕ หมู่ ๑ ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต FB:สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ โทร.0813262549 เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๘ บรรณานุกรม พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๕๑) นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ๕๖๔ หน้า สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ (๒๕๔๕) วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๓๘๓ หน้า |
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 27 กุมภาพันธ์ 2018 ) |
< ก่อนหน้า | ถัดไป > |
---|