Skip to content

Phuketdata

default color
Home
มหา 'ลัยเหมืองแร่ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 01 พฤษภาคม 2009
เพลงบรรเลงมหา'ลัยเหมืองแร่
ปี พ.ศ. 2492 โชคชะตาของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ได้นำพาให้เขาต้องเดินทางข้ามฟาก จากโลกศิวิไลซ์ในเมืองหลวง ไปสู่อีกโลกหนึ่งอันไกลแสนไกล อาจินต์ ปัญจพรรค์ ในวัย 22 ปี คือเด็กหนุ่มคนนั้น เขาถูกรีไทร์จากคณะวิศวะฯ ปี 2 ...นั่นเองเป็นจุดสิ้นสุด ของความเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกัน มันคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่การเรียนรู้ชีวิตจริง ที่ไม่สามารถเรียนรู้จากตำราเล่มไหน มันไม่ได้มีวางขายทั่วไปและหาซื้อได้ด้วยเงิน มันต้องแลกด้วยเวลาและหัวใจ ...สู้ - ท้อแท้, สนุก - เศร้า, พบ - จาก...
อาจินต์ในเวลานั้น ขณะที่เขานั่งอยู่บนรถขนหมูที่วิ่งจากภูเก็ตไปพังงา ยังไม่รู้เลยว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร ไม่รู้จักกระทั่งสถานที่ที่เขากำลังจะไป สำหรับเขา จ.พังงา อ.ตะกั่วทุ่ง ต.กระโสม เคยเป็นเพียงสถานที่อันไม่มีความสำคัญใดใด แม้เพียงจะจุดลงบนแผนที่ แต่ในวันนี้ มันกำลังจะกลายเป็นสถานดัดสันดาน ที่ถูกพ่อส่งให้ไปอยู่

มหา'ลัย เหมืองแร่ : The Tin Mine
Official website
แนว : ดราม่า
ความยาว : 111 นาที
กำหนดฉาย : 26 พฤษภาคม 2548

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อาจินต์มาถึงเหมืองกระโสม ที่นี่เขาได้พบและสัมภาษณ์งานกับ นายฝรั่ง (Anthony Howard Gould) และนายฝรั่งก็รับเขาเข้าทำงาน ในตำแหน่งที่นายฝรั่งเรียกว่าเป็น 'สมุดพก' ให้กับแก นั่นหมายถึงการฝึกงาน การติดตามนายฝรั่ง และทำงานแทนคนงานที่ขาดงาน อาจินต์ภูมิใจกับงานที่ได้รับ

และที่นี่ - วันนี้ - ชีวิตปี 1 ใน มหา'ลัย เหมืองแร่ ได้เริ่มขึ้นแล้ว...

เขาจะทำอย่างไรจึงจะเป็นน้องใหม่ที่ดีของที่นี่ได้ เขาจะทำอย่างไรจึงผ่านชีวิตในสถาบันแห่งนี้ได้ เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิง อาจจะเป็นเพียงมหา'ลัยที่เขาได้ความภูมิใจแทนปริญญา หาได้มีไว้เพื่อความโก้หรือโอ้อวดกับใครไม่ ผิดไหมที่เขาจะภูมิใจกับเกียรติยศ ..ที่เขาขุดมันขึ้นมาด้วยตนเอง


หากเอ่ยชื่อของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ หลายคนคงคุ้นหู และเคยได้ยินชื่อเสียงในด้านวรรณกรรมของเขาเป็นอย่างดี ยิ่งหากเป็นคนในวงการน้ำหมึกด้วยแล้ว คงทราบกันดีว่า เขาคือนักเขียนที่มีสไตล์การประพันธ์แบบตรงไปตรงมาฉะฉาน จนดูน่าเกรงขาม ถึงแม้จะเคยฝากผลงานต่างๆ ไว้ในวงการมากมาย รวมไปถึงการสร้างนักประพันธ์ฝีปากกาเข้มข้นอีกนับไม่ถ้วน ไม่ว่าใครจะยกให้เป็นอะไรก็ตาม ตัวเขายังคงยืนยันว่า เขาเป็นเพียงนักเลงในตรอกวรรณกรรมเท่านั้น

ประสบการณ์ชีวิตที่ทรงคุณค่าของเขา ถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษรลงในวรรณกรรมชิ้นเอก ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เหมืองแร่ คืออดีตที่เขาบรรจงประพันธ์ขึ้น เพื่อให้โลกได้รับรู้ถึงด้านมืดของชีวิต ที่เขาต้องฟันฝ่าให้ผ่านจุดนั้นมาให้ได้ ด้วยความอดทนและอุตสาหะ วันนี้บันทึกชีวิตวัยหนุ่มของเขา กำลังจะกลายเป็นภาพยนตร์ 'ชีวิตรักชีวิต' ที่คนไทยไม่ควรพลาด มหา'ลัย เหมืองแร่ ผลงานกำกับเรื่องที่ 2 ของผู้กำกับฯ จิระ มะลิกุล

ปีพุทธศักราช 2546 ภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 ผลงานกำกับฯเรื่องแรกของ จิระ มะลิกุล ได้สร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการภาพยนตร์ครั้งใหญ่ ด้วยเรื่องราวความเชื่อของชาวท้องถิ่นในแถบอีสาน จนสามารถกวาดรางวัลจากทุกสถาบันกว่า 21 รางวัล นับจากวันนั้น ชื่อของ จิระ มะลิกุล ก็สามารถเข้าไปนั่งในใจของแฟนหนังไทยได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผลงานของเขากลายเป็นที่กล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน และในปีพุทธศักราช 2548 นี้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ และ จิระ มะลิกุล กำลังจะสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่วงการภาพยนตร์อีกครั้ง ด้วยการหยิบเอาวรรณกรรมชิ้นเอกเรื่อง 'เหมืองแร่' หนังสือ 1 ใน 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ผลงานของ อาจินต์ ปัจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มาสร้างเป็นภาพยนตร์ ตามความฝันและความเชื่อมั่นของเขา

มหา'ลัย เหมืองแร่ นำแสดงโดย พิชญะ วัชจิตพันธ์ รับบท อาจินต์ ปัญจพรรค์ น้องใหม่มหา'ลัย เหมืองแร่, ดลยา หมัดชา รับบท สาวละเอียด, Anthony Howard Gould รับบท นายฝรั่ง, นิรันต์ ซัตตาร์ รับบท พี่จอน, สนธยา ชิตมณี 'สน คนคว้าดาว' รับบท ไอ้ไข่

ภาพยนตร์เรื่อง มหา'ลัย เหมืองแร่ สร้างโดยบริษัท GMM ไท HUB จำกัด อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารโดย ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม, บุษบา ดาวเรือง, วิสูตร พูลวรลักษณ์, จินา โอสถศิลป์ อำนวยการสร้างโดย จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน, ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ บทภาพยนตร์และกำกับภาพยนตร์โดย จิระ มะลิกุล ดำเนินงานสร้างโดย สุวิมล เตชะสุปินัน กำกับภาพโดย ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ ออกแบบงานสร้างโดย เอก เอี่ยมชื่น ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย อภิญญา ชวรางกูร ลำดับภาพโดย ปาน บุษบรรณ

 

 

 

 

 


กำหนดฉาย : 26 พฤษภาคม 2548

ปี พ.ศ. 2492 โชคชะตาของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ได้นำพาให้เขาต้องเดินทางข้ามฟาก จากโลกศิวิไลซ์ในเมืองหลวง ไปสู่อีกโลกหนึ่งอันไกลแสนไกล อาจินต์ ปัญจพรรค์ ในวัย 22 ปี คือเด็กหนุ่มคนนั้น เขาถูกรีไทร์จากคณะวิศวะฯ ปี 2 ...นั่นเองเป็นจุดสิ้นสุด ของความเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกัน มันคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่การเรียนรู้ชีวิตจริง ที่ไม่สามารถเรียนรู้จากตำราเล่มไหน มันไม่ได้มีวางขายทั่วไปและหาซื้อได้ด้วยเงิน มันต้องแลกด้วยเวลาและหัวใจ ...สู้ - ท้อแท้, สนุก - เศร้า, พบ - จาก...

อาจินต์ในเวลานั้น ขณะที่เขานั่งอยู่บนรถขนหมูที่วิ่งจากภูเก็ตไปพังงา ยังไม่รู้เลยว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร ไม่รู้จักกระทั่งสถานที่ที่เขากำลังจะไป สำหรับเขา จ.พังงา อ.ตะกั่วทุ่ง ต.กระโสม เคยเป็นเพียงสถานที่อันไม่มีความสำคัญใดใด แม้เพียงจะจุดลงบนแผนที่ แต่ในวันนี้ มันกำลังจะกลายเป็นสถานดัดสันดาน ที่ถูกพ่อส่งให้ไปอยู่

อาจินต์มาถึงเหมืองกระโสม ที่นี่เขาได้พบและสัมภาษณ์งานกับ นายฝรั่ง (Anthony Howard Gould) และนายฝรั่งก็รับเขาเข้าทำงาน ในตำแหน่งที่นายฝรั่งเรียกว่าเป็น 'สมุดพก' ให้กับแก นั่นหมายถึงการฝึกงาน การติดตามนายฝรั่ง และทำงานแทนคนงานที่ขาดงาน อาจินต์ภูมิใจกับงานที่ได้รับ

และที่นี่ - วันนี้ - ชีวิตปี 1 ใน มหา'ลัย เหมืองแร่ ได้เริ่มขึ้นแล้ว...

เขาจะทำอย่างไรจึงจะเป็นน้องใหม่ที่ดีของที่นี่ได้ เขาจะทำอย่างไรจึงผ่านชีวิตในสถาบันแห่งนี้ได้ เหมืองกระโสม ทิน เดรดยิง อาจจะเป็นเพียงมหา'ลัยที่เขาได้ความภูมิใจแทนปริญญา หาได้มีไว้เพื่อความโก้หรือโอ้อวดกับใครไม่ ผิดไหมที่เขาจะภูมิใจกับเกียรติยศ ..ที่เขาขุดมันขึ้นมาด้วยตนเอง


หากเอ่ยชื่อของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ หลายคนคงคุ้นหู และเคยได้ยินชื่อเสียงในด้านวรรณกรรมของเขาเป็นอย่างดี ยิ่งหากเป็นคนในวงการน้ำหมึกด้วยแล้ว คงทราบกันดีว่า เขาคือนักเขียนที่มีสไตล์การประพันธ์แบบตรงไปตรงมาฉะฉาน จนดูน่าเกรงขาม ถึงแม้จะเคยฝากผลงานต่างๆ ไว้ในวงการมากมาย รวมไปถึงการสร้างนักประพันธ์ฝีปากกาเข้มข้นอีกนับไม่ถ้วน ไม่ว่าใครจะยกให้เป็นอะไรก็ตาม ตัวเขายังคงยืนยันว่า เขาเป็นเพียงนักเลงในตรอกวรรณกรรมเท่านั้น

ประสบการณ์ชีวิตที่ทรงคุณค่าของเขา ถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษรลงในวรรณกรรมชิ้นเอก ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เหมืองแร่ คืออดีตที่เขาบรรจงประพันธ์ขึ้น เพื่อให้โลกได้รับรู้ถึงด้านมืดของชีวิต ที่เขาต้องฟันฝ่าให้ผ่านจุดนั้นมาให้ได้ ด้วยความอดทนและอุตสาหะ วันนี้บันทึกชีวิตวัยหนุ่มของเขา กำลังจะกลายเป็นภาพยนตร์ 'ชีวิตรักชีวิต' ที่คนไทยไม่ควรพลาด มหา'ลัย เหมืองแร่ ผลงานกำกับเรื่องที่ 2 ของผู้กำกับฯ จิระ มะลิกุล

ปีพุทธศักราช 2546 ภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 ผลงานกำกับฯเรื่องแรกของ จิระ มะลิกุล ได้สร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการภาพยนตร์ครั้งใหญ่ ด้วยเรื่องราวความเชื่อของชาวท้องถิ่นในแถบอีสาน จนสามารถกวาดรางวัลจากทุกสถาบันกว่า 21 รางวัล นับจากวันนั้น ชื่อของ จิระ มะลิกุล ก็สามารถเข้าไปนั่งในใจของแฟนหนังไทยได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผลงานของเขากลายเป็นที่กล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน และในปีพุทธศักราช 2548 นี้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ และ จิระ มะลิกุล กำลังจะสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่วงการภาพยนตร์อีกครั้ง ด้วยการหยิบเอาวรรณกรรมชิ้นเอกเรื่อง 'เหมืองแร่' หนังสือ 1 ใน 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ผลงานของ อาจินต์ ปัจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มาสร้างเป็นภาพยนตร์ ตามความฝันและความเชื่อมั่นของเขา

มหา'ลัย เหมืองแร่ นำแสดงโดย พิชญะ วัชจิตพันธ์ รับบท อาจินต์ ปัญจพรรค์ น้องใหม่มหา'ลัย เหมืองแร่, ดลยา หมัดชา รับบท สาวละเอียด, Anthony Howard Gould รับบท นายฝรั่ง, นิรันต์ ซัตตาร์ รับบท พี่จอน, สนธยา ชิตมณี 'สน คนคว้าดาว' รับบท ไอ้ไข่

ภาพยนตร์เรื่อง มหา'ลัย เหมืองแร่ สร้างโดยบริษัท GMM ไท HUB จำกัด อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารโดย ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม, บุษบา ดาวเรือง, วิสูตร พูลวรลักษณ์, จินา โอสถศิลป์ อำนวยการสร้างโดย จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน, ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ บทภาพยนตร์และกำกับภาพยนตร์โดย จิระ มะลิกุล ดำเนินงานสร้างโดย สุวิมล เตชะสุปินัน กำกับภาพโดย ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ ออกแบบงานสร้างโดย เอก เอี่ยมชื่น ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย อภิญญา ชวรางกูร ลำดับภาพโดย ปาน บุษบรรณ

http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/thetinmine/tin.html

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 26 กรกฎาคม 2017 )
 
< ก่อนหน้า

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้245
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1309
mod_vvisit_counterทั้งหมด10729852