Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow พมร.กะทู้ arrow ถ้ำทางโบราณคดีในจังหวัดกระบี่
ถ้ำทางโบราณคดีในจังหวัดกระบี่ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 06 มกราคม 2008

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดกระบี่

 

1.             ประวัติความเป็นมา

                 ตามประวัติกล่าวว่าเมืองกระบี่แต่เดิมเรียกว่า เมืองกาไส หรือ ปกาไส เป็นแขวงเมืองขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช แขวงเมืองกาไสเกิดเป็นชุมชนขึ้นโดยเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ให้พระปลัดเมืองมาตั้งเพนียดจับช้างเพื่อส่งไปเมืองนคร กระบี่สมัยนั้นยังเป็นป่าทึบอุดมด้วยสัตว์ป่านานาพันธุ์ การตั้งเพนียดจับช้างนี้ประมาณการว่าคงเป็นปลายสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับสมัยเจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากในการต่อเรือขนาดใหญ่และการค้าขาย พระปลัดเมืองมาตั้งเพนียดจับช้างอยู่เป็นเวลานาน ผู้คนก็อพยพตามเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ภายหลังได้ยาฐานะเป็น แขวงเมืองกาไส หรือปกาไส                 ในปี พ.ศ.2413 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า กระบี่ให้ตั้งที่ทำการที่ตำบลกระบี่ใหญ่ (บ้านตลาดเก่า) แต่ยังขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช โดยมีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2418 โปรดให้เมืองกระบี่เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร                  ในปี พ.ศ.2443 พระยาคงคาธราธิบดี ครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็น พระพนธิพยุหสงคราม ได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ตำบลปากน้ำคือตัวจังหวัดกระบี่ปัจจุบันเนื่องจากมีความสะดวกในการคมนาคมทางน้ำมากกว่าที่เดิม                คำว่า กระบี่ มีผู้ให้ความหมายอยู่หลายนัยทั้งความหมายที่แปลว่า ดาบ และ ลิง ดังนี้                 1. คำว่า ปกา หรือ ปากา นักโบราณคดีนั้นบางท่านให้ความหมายว่า ดาบ คำว่า ไส หมายถึง แหล่งที่ทำมาหากินที่หักร้างถางพง   ชื่อเมืองกระบี่จึงนำเอาแนวคำเดิมมาตั้งซึ่งแปลว่า เมืองดาบ                2. กระบี่เป็นคำเลือนมาจากคำ กะรอบี กะลูบี คอโลบี ซึ่งเป็นชื่อต้นไม้จำพวกสละระกำชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า ต้นหลุมพี                3. กระบี่น่าจะเลือนมาจากคำว่า กระบี่สมัยก่อนมีกระบือมาก เป็นการเลือนเสียงทั้งนี้เนื่องจากสมัยก่อนมักเขียนโดยไม่มีตัว 2.             สภาพทางภูมิศาสตร์                จังหวัดกระบี่ตั้งอยู่ในภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ประมาณ 946 กิโลเมตร และโดยทางสายเอเชียผ่านจังหวัดสุราษฏร์ธานีไปกระบี่ประมาณ 820 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 4.624.30    ตารางกิโลเมตร  (ประมาณ 2.890.187 ไร่) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ                 อำเภอเมืองกระบี่                                 อำเภออ่าวลึก                อำเภอคลองท่อม                                  อำเภอปลายพระยา                อำเภอเขาพนม                                     อำเภอเกาะลันตา                กิ่งอำเภอลำทับ                ลักษณะภูมิประเทศ ประกอบด้วยภูเขาที่ราบและเนินสูงๆต่ำ ๆ มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 160 กิโลเมตร อุดมด้วยป่าแสมและโกงกาง มีเกาะใหญ่น้อยประมาณ 130 เกาะ ที่มีคนอาศัย 13 เกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การเกษตรได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะม่วงหิมพานต์ กาแฟและสวนผลไม้                 อาณาเขต                                ทิศเหนือ                จดจังหวัดพังงาและจังหวัดสุราษฏร์ธานี                                ทิศใต้                     จดจังหวัดตรังและทะเลอันดามัน                                ทิศตะวันออก       จดจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช                                ทิศตะวันตก          จดทะเลอันดามัน                ดินฟ้าอากาศ  จังหวัดกระบี่ได้รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี  มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ 2.568.5 มิลลิเมตร  ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 70.5% - 90.6% นับว่ามีความชื้นอยู่ในเกณฑ์สูง                กระบี่ไม่มีแม่น้ำใหญ่ ๆ มีแต่แม่น้ำสายสั้น ๆ ที่สำคัญ คือ แม่น้ำกระบี่ (กระบี่ใหญ่) ไหลผ่านตัวเมืองลงสู่ทะเลอันดามัน นอกนั้นก็มีลำคลองสายเล็ก เช่น คลองกระบี่น้อย คลองปกาไส จากเขชาพนมเบญจา ซึ่งมีความสูงประมาณ 1400 ฟุต (420 เมตร)3.             ทรัพยากรธรรมชาติ                3.1 ป่าไม้ เป็นทรัพยากรสำคัญส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณ มีไม้หลุมพอ ไม้เคี่ยม ไม้ตะเคียน ไม้หงอนไก่ ไม้ยาง และป่าชายเลนที่ยังอุดมสมบูรณ์                3.2 แร่ แร่สำคัญที่พบและนำมาใช้แล้วคือ แร่ลิกไนต์ ที่อำเภอเมืองกระบี่ มีปริมาณมากนำมาผลิตไฟฟ้าในโรงงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขต 3 แร่ชนิดอื่น ๆ ยังมีน้อย                3.3 รังนก มีที่เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ แต่การประมูลเรียกเก็บภาษีที่จังหวัดภูเก็ต รายได้จึงตกเป็นของจังหวัดภูเก็ต                3.4 ผลิตผลจากการประมง จากสัตว์น้ำทะเลและปลาน้ำจืด ซึ่งทำรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการเป็นอย่างดี4.             ประชากร                ประชากรจังหวัดกระบี่ สำรวจเมื่อเดือนเมษายน 2533 มีจำนวนทั้งสิ้น 291.488 คน เป็นชาย 151.354 คน หญิง 140.134 คน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 62 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ในเขตเทศบาลเมืองความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 864 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร5.             สภาพทางเศรษฐกิจ                5.1 เกษตรกรรม จังหวัดกระบี่มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดประมาณ 1.000.618 ไร่ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ มะม่วงหิมพานต์และข้าว                5.2 การเลี้ยงสัตว์และการประมง ที่เลี้ยงเพื่อใช้งานเป็นพวกโค กระบือ ช้าง ที่เลี้ยงเพื่อขายได้แก่ ไก่ เป็ด สุกร ส่วนสัตว์น้ำในจังหวัดกระบี่จับได้จากทะเลประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ อีก 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นสัตว์น้ำจืด                5.3 การอุตสาหกรรม ปัจจุบันได้ขยายตัวขึ้น ได้แก่อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม โรงไม่บดย่อยหิน รมควันยางพารา โรงอิฐ ซ่อมเครื่องยนต์ บรรจุก๊าช เป็นต้น จำนวนโรงงานที่จดทะเบียนแล้วทั้งสิ้น                5.4 การพาณิชย์และการตลาด สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ สินค้นทางการเกษตรมี ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ มะม่วงหิมพานต์ สินค้าประมงต่าง ๆ สินค้าเข้าได้แก่จำพวกข้าว น้ำมันเชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้างเครื่องอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ปัจจุบันการลงทุนทางธุรกิจการท่องเที่ยวได้ขยายตัวเป็นอย่างมาก ในปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาประมาณ 300.000 คน6.             สภาพทางสังคม                6.1 ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาประมาณร้อยละ 60 ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 40 ศาสนาอื่นมีเพียงเล็กน้อย                6.2 การศึกษา จังหวัดกระบี่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษารวม 270 แห่ง                6.3 ประเพณีท้องถิ่น มีงานบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีแห่พระ ประเพณีออกบวชของชาวไทยมุสลิม งานเมาลิด ประเพณีกินเจของชาวจีน ประเพณีลอยเรือของชาวเล                 6.4 การเล่นพื้นเมือง มีหนังตะลุง มโนห์รา ลิเกป่า รองแง็ง  เพลงตันหยง7.             แหล่งท่องเที่ยว                7.1 หาดนพรัตน์ธารา  ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ต. อ่าวนาง อำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 18 กิโลเมตร                7.2 อ่าวพระนาง อยู่ใกล้หาดนพรัตน์ธารา โดยเลียบทะเลทางด้านทิศใต้อีกประมาณ 3 กิโลเมตร                7.3 เขาขนาบน้ำ อยู่ระหว่างฝั่งแม่น้ำ กระบี่หน้าเมืองกระบี่ ระยะทางจากสะพานเจ้าฟ้าโดยเรือประมาณ 10 นาที                7.4 สุสานหอยเจ็ดสิบห้าล้านปี ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลไสไทย อำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 19 กิโลเมตร                7.5 หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่หมู่ที่ 7, 8 ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดโดยห่างทางทะเลประมาณ 42 กิโลเมตร                7.6 สระแก้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาทอง อำภอเมือง ระยะทางห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 28 กิโลเมตร                7.7 สวนรุกขชาติธารโบกขรณี ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลอ่างลึกใต้ อำเภออ่างลึก ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 42 กิโลเมตร                7.8 ถ้ำผีหัวโต ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อท่อ อำเภออ่าวลึก ห่างจากที่ว่าการอำเภออ่าวลึกประมาณ 8 กิโลเมตร                7.9 ถ้ำลอดเหนือ/ใต้ อยู่ใกล้กันกับถ้ำผีหัวโต ห่างจากตัวอำเภออ่างลึกประมาณ 6 กิโลเมตร                 7.10 ถ้ำเพชร ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลอ่าวลึกเหนือ อำเภออ่าวลึก ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร                7.11 ถ้ำบุญมาก (ถ้ำหัวกะโหลกใน) ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อท่อ อำเภออ่าวลึก ต่อจากถ้ำผีหัวโตเข้าไปตามลำคลองประมาณ 100 เมตร                7.12 ถ้ำโต๊ะหลวง ตั้งอยู่ในเขตบ้านนบ หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 15 กิโลเมตร                7.13 น้ำตกห้วยโต้ ตั้งอยู่ในตำบลทับปริก อำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 25 กิโลเมตร                       7.14 น้ำตกหินเพิง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลลองพน อำเภอคลองท่อม ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 25 กิโลเมตร                7.15 ธารน้ำซับทุ่งเตียว ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  ตำบลคลองท่อมเหนือ ห่างจากตัวอำเภอคลองท่อมเหนือประมาณ 25 กิโลเมตร                7.16 เกาะลันดา มีเกาะใหญ่น้อยรวมกันประมาณ 25 เกาะที่สวยงามได้แก่ เกาะรอก เกาะไหง เกาะหม้อ หาดหลังสอด แหลมคอกวาง   หาดคลองนิน                7.17 พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม ตั้งอยู่ที่วัดคลองท่อม อำเภอคลองท่อม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 42 กิโลเมตร                 7.18 ถ้ำเสือเขาแก้ว อ่างลูกธนู ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำเสือ ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร                 7.19 น้ำตกคลองแห้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลเขาพนม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 49 กิโลเมตร                7.20 ถ้ำปูนเหนือ / ใต้ ตั้งอยู่ระหว่างเขตจังหวัดกระบี่กับพังงา ห่างถ้ำผีหัวโตไปทางตะวันตกโดยทางเรือประมาณ 30 นาที       บทที่ 2แหล่งโบราณคดีบนฝั่งทะเลอันดามัน                 สภาพของภาคใต้เป็นผืนแผ่นดินแคบทอดยาวจากเหนือมาใต้ มีทะเลขนาบทั้ง 2 ด้าน คือด้านมหาสมุทรแปซิฟิกทางทะเลอ่าวไทย และด้านมหาสมุทรอินเดียบริเวณทะเลอันดามัน แนวฝั่งทะเลของไทยยาวถึง 1.672 กิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบแคบ ๆ ทั้งสองชายฝั่งทะเล                 ทางด้านตะวันตกมีแนวเขาทอดจากจังหวัดชุมพรยาวมาทางตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นแนวกั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดชุมพรและระนอง ทอดเลียบชายฝั่งลงมาถึงจังหวัดกระบี่ พื้นที่ชายฝั่งแคบและลึกเว้าแหว่งมีเกาะแก่งมากมาย มีแม่น้ำและลำคลองสายสั้น ๆ ไหลลงทะเลอันดามัน สภาพลมฟ้าอากาศทั่วไปได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างเต็มที่ ความชื้นค่อนข้างสูง                ภาคใต้มีหลักฐานทางโบราณมากมายเช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในเวิ้งอ่าวพังงา กระบี่ นับว่าเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ในสมัยโบราณแหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งในประเทศไทย ร่องรอยการประกอบกิจกรรมของมนุษย์มีหลักฐานปรากฏอยู่ทั่วไปติดต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย ทางฝั่งทะเลตะวันตกนับเป็นประตูแรกที่เปิดรับนักแสวงโชคทั้งหลายที่เดินทางมาสู่สุวรรณภูมิ ตามบันทึกหลักฐานเก่า ๆ ที่รู้กันอยู่ทั่วไป แต่การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับดินแดนทางฝั่งนี้ไม่กว้างขวางเพียงพอทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความไม่เอื้ออำนวยของสภาพภูมิประเทศ เช่น อากาศชุ่มชื้นมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี สภาพที่รกทึบยากต่อการเข้าไปสำรวจจึงปรากฏแหล่งโบราณคดีที่เป็นหลักฐานไม่มากนัก การค้นคว้าก็อยู่ในขอบเขตจำกัดเฉพาะผู้ที่สนใจบางกลุ่ม แหล่งสำคัญบางแหล่งถูกทำลายไป อย่างน่าเสียดาย                 ในบรรดาแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ ๆ ที่นักโบราณคดีเข้าไปค้นคว้าศึกษา ส่วนใหญ่มักอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออก หรือฝั่งอ่าวไทย ส่วนฝั่งตะวันตกที่กล่าวถึงกันบ่อย ๆ ได้แก่ ชุมชนตะกั่วป่า (ตะโกลา) เพียงที่เดียว ทั้ง ๆ ที่มีร่องรอยเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมาย ส่วนใหญ่รู้กันในหมู่ชาวบ้าน พวกหาของเก่า ชาวเหมือง คนงานทำรังนก และพระธุดงค์ เป็นต้น ซึ่งบางแห่งชาวบ้านก็ได้แจ้งให้ทางการทราบแต่ก็ไม่ค่อยจะได้รับความสนใจหรือให้ความสำคัญเท่าที่ควร การขุดค้นทำลายจึงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสูญหายไปในที่สุด เช่น การขุดทำลายบริเวณควนลูกปัด  ชุมชนเก่าคลองท่อมและถ้ำสำคัญอื่นๆ เป็นต้น ความสนใจต่อการค้นคว้าของนักโบราณคดีไทย เพิ่งจะมีขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ภายหลังจากที่นักโบราณคดีฝรั่งเข้ามาสำรวจและเสนอเรื่องราวกันไปทั่วโลกแล้ว เอกสารเก่า ๆ ที่เกี่ยวกับดินแดนแถบนี้ เช่น ความเรียงเรื่องโบราณคดีสยาม [ Essai d Inventaire  Archeologioqur  du  siam] โดย เอเตียน เอ็ดมองต์ ลูเนต์ เดอ ลาจงกี แยร์ (E.E Lunet de Lajorquiere) กล่าวถึงภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์บน ผนังถ้ำในจังหวัดพังงา ซึ่งพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ.2455 หรือ 78 ปี มาแล้วนอกจากนั้นก็มี นายเจ.บูล เบท์ (Jean Boulbet)   ชาวฝรั่งเศลได้เข้ามาค้นคว้าเพิ่มเติมและเสนอไว้ในรายงานเรื่อง ภาพเขียนโบราณบริเวณอ่าวพังงา อ่าวลึก กระบี่ (Un Heritege Etrange : Les Roches peintes,sites inedits : Thailands du sud provinces du Phangnga   Krabi)   การขุดค้นที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งที่ถ้ำหลังโรงเรียน ( Lang Rongrien Rockshelter) ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดย ดร.ดักลาส ดี.แอนเดอร์สัน และคณะ พบหลักฐานที่อยู่ของมนุษย์ ซึ่งคำนวณอายุได้ถึง 37,000 ปี นับว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย                หลักฐานทางโบราณคดีฝั่งทะเลตะวันตก มักจะไม่ปรากฏเมืองโบราณมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นถ้ำและเพิงผา มีร่องรอยการอาศัยของมนุษย์ดึกดำบรรพ์เสียมากกว่าหลักฐานในยุคประวัติศาสตร์และบางแห่งอาจมีวัฒนธรรมทับถมกันมาหลายสมัยทั้งก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์กระจัดกระจายอยู่ทุกหนทุกแห่งตลอดแนวชายฝั่งทะเล ข้อมูลใหม่สมัยไพลสโตซีนตอนปลาย (Upper Pleistocece) ที่กระบี่                การขุดค้นทางโบราณคดีของ ดร.ดักลาส ดี.แอนเดอร์สัน  จากมหาวิทยาลัยบราวน์สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2526 ที่เพิงผาถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยเสนอรายงานว่าเพิงผาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย หลักฐานต่าง ๆ ที่พบ เป็นโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ เศษเถ้าถ่าน เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา เมล็ดพืชและเปลือกหอย เมื่อนำหลักฐานจากชั้นล่างไปพิสูจน์แล้วมีอายุถึง 27,000-37,000 ปี นับว่ามีความสำคัญมากในด้านความเก่าแก่                จากการค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ควรที่จะมีการตีความเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมและทางเทคโนโลยีของมนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใหม่ เครื่องมือจากยุคไพลสโตซีนที่ถ้ำหลังโรงเรียนส่วนมากเป็นเครื่องมือ หินกะเทาะที่มีการแต่งขอบภายหลัง เทคนิคในการประดิษฐ์เครื่องมือหิน เช่นนี้จึงพัฒนาในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันเช่นเดียวกันกับ ที่พบในประเทศจีนและ(อินโดนีเซีย)                 จากการค้นพบหลักฐานที่ถ้ำหลังโรงเรียนนี้ นับว่าเป็นข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดของหลักฐานโบราณคดีในประเทศไทย หรืออาจจะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย                หมายเหตุ ดร. ดักลาส ดี.แอนเดอร์สัน ได้มาขุดค้นเพิงผาหลังโรงเรียนทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่อีกครั้ง เมื่อเดือนมิถุนายน 2533 แต่ยังไม่ได้เสนอรายงานผลจากการขุดดินชั้นลึกลงไปอีก ได้หลักฐานเพิ่มเติมซึ่งคาดว่าจะมีอายุเก่าแก่กว่าที่เคยรายงานเอาไว้ การเคลื่อนย้ายของมนุษย์โบราณในภาคใต้                นักโบราณคดีได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับชนชาติและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในภาคใต้โดยพิจารณาจากข้อมูลแวดล้อมหลายประการ เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ เอกสาร ตำนานทั้งของไทยและต่างประเทศ ชนพื้นเมืองที่ยังหลงเหลืออยู่ในภาคใต้ วัฒนธรรมสืบทอดกันมาและหลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดี แล้วเสนอความคิดไว้ 2 ทาง คือ                 1. การอพยพจากดินแดนตอนเหนือของภาคใต้ลงไป อพยพต่อไปทางมาเลเซียและหมู่เกาะต่าง                  2. การอพยพจากดินแดนที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ ขึ้นสู่ภาคใต้                ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ได้เสนอแนวความคิดไว้ในบทความ ดินแดนภาคใต้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สรุปได้ดังนี้                1. ประมาณ 500,000-10,000 ปี พวกคนดึกดำบรรพ์ เรียกว่า มนุษย์วานร หรือ คนผู้ยืนตัวตรง (Homoerectus) อพยพจากดินแดนภาคกลางของประเทศไทยสู่ภาคใต้                2. คนรุ่นต่อรุ่น คนผู้ยืนตรง เป็นพวก นีกีโต (Negrito) ร่างเตี้ย ผิวดำ ผมหยิก คล้ายพวกออสตราลอยด์ (Australoid)                 3. ระหว่าง 10,000-5,000ปีมาแล้ว เป็นสมัยของพวกเมลานีเชียน ซึ่งอยู่ทางแถบภาคกลางของประเทศไทยเป็นชนกลุ่มก่อนพวกออสโตรเนเชียน (Pre – Austronesisn) อพยพลงมาสู่ภาคใต้เมื่อประมาณ 5,500 ปีมาแล้ว                4. ระหว่าง 4,500-3,500 ปีมาแล้ว พวกมาเลย์รุ่นเก่าหรือ โปรโตมาเลย์ (Proto – Malays) ได้อพยพจากจีนภาคใต้ผ่านลาว ไทย ผ่านลงไปถึงอินโดนีเซีย การอพยพของพวกนี้มีอย่างน้อย 2 ครั้ง และมีการอพยพจากภาคใต้แถบอินโดนีเซีย มาเลเซียขึ้นสู่เหนือมาตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ด้วย                5. ระหว่าง 2,500-1,900 ปีมาแล้วมีกลุ่มชนอพยพจากดินแดนตอนเหนือมาตั้งถิ่นฐานในภาคใต้และต่อไปในมาเลเซียและอินโดนีเซีย                พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ได้เสนอบทความทางวิทยุกระจายเสียงเมื่อปี พ.ศ.2478 ให้ราบละเอียดเกี่ยวกับชนชาติที่มีอยู่ในดินแดนภาคใต้โบราณว่ามี 4 พวก คือ                 1. พวกกาซาฮี ผิวดำ ตาโปนขาว ผมหยิก รูปร่างสูงใหญ่ หน้าบาน ฟันแหลม ชอบกินเนื้อสัตว์และคน นิสัยดุร้ายซึ่งเราเรียกกันว่า ยักษ์                2. พวกซาไก ผมหยิก ผิวดำ ตาโปน ริมฝีปากหนา ไม่ดุร้ายอยู่กันเป็นหมู่ ทำเพิงพักเป็นที่อยู่อาศัย                3. พวกเซมัง คล้ายกับพวกซาไก แต่ชอบอยู่บนภูเขาสูง                 4. พวกโอรังลาโอต (ชาวน้ำ) อาศัยอยู่ตามเกาะแก่งชายทะเล มีเรือเป็นพาหนะ อยู่ไม่เป็นที่ชอบเร่ร่อน                โดยพวกซาไก หรือเซมังผสมกับพวกโอรังลาโอตกลายเป็นชนพื้นเมืองภาคใต้ หรือพวกโอรังลาโอตผสมกับชนชาติไทยจากภาคกลางเป็นชนพื้นเมืองในภาคใต้ ซึ่งเป็นชนสมัยแรก เริ่มประวัติศาสตร์                ทฤษฎีอื่นๆ เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มชนและกระแสการอพยพ ซึ่งนักวิชาการตะวันตกกล่าวไว้ดังนี้                1. ชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนภาคใต้ของไทยนั้น ประกอบด้วยกลุ่มต่อไปนี้คือ                1.1 พวกไทย-กะได (Tai-Kadai) ได้แก่ คนไทยปักษ์ใต้ที่พูดภาษาไทย                1.2 พวกมาลาโย-โปลีนีเชียน  (Malayo – Polynesien) ได้แก่พวกมาเลย์มอเก็นและโอรังลาโอต                1.3 พวกออสโตรเซียติก  (Austrosiatic)  คือ พวก นิกริโต  (Nigrito) ได้แก่พวกมังเซมัง หรือพวกเงาะป่า2. สมัยไพลสโตซีน ไม่น้อยกว่า 10,000-8,000  ปี   ออสตราลอยด์พวกหนึ่ง ได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบใกล้ฝั่งทะเลต่อมาถูกผู้คนที่อพยพมาภายหลังผลักดันให้เคลื่อนย้ายไปอยู่ตามป่าเขา3. หลังสมัยไพลสโตซีน ประมาณ 7,500-4,500 ปีมาแล้ว มีพวกซาไกหรือ ซีนอยด์อพยพมาจากแหลมอินโดจีนมายังดินแดนทางภาคใต้ พวกนี้ลักษณะคล้ายพวกเวดด้า (Vedda) ที่เคยอาศัยแถบเกาะทางใต้ของอินเดียและเอเชียอาคเณย์4. พวกโปรโดมาเลย์ (Proto – Malays) จากแผ่นดินใหญ่เข้าสู่แหลมอินโดจีน และลงสู่ภาคใต้เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว อพยพไปสู่หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นบรรพบุรุษของพวกโปลีนีเซียน 5. การเคลื่อนย้ายของพวกมองโกลอยด์จากแผ่นดินใหญ่ลงสู่แหลมอินโดจีน เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ ผสมกับพวกที่อยู่เดิมกลายเป็นชนพื้นเมืองสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของภาคใต้ 6. พวกโปรโต มาเลย์    ซึ่งอยู่ในดินแดนแถบมาเลย์และตอนใต้     ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ริมฝั่งทะเลเป็นชุมชนชาวน้ำ คือพวกมอเก็นและโอรังลาโอต                จากสภาพภูมิประเทศของภาคใต้ซึ่งเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล มีแนวทิวเขาขนานไปกับฝั่งมีที่ราบตามชายฝั่งทะเลและระหว่างแนวเขา มีถ้ำและเกาะแก่งมากมาย ถิ่นที่อยู่ของกลุ่มชน นักโบราณคดีได้จัดเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ พวกชาวถ้ำและพวกชาวน้ำ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ทั่วไปทั้งสองฝากฝั่งทะเล ภาพเขียนสี                ในเวิ้งอ่าวพังงา อ่าวลึก  นับว่าเป็นแหล่งภาพเขียนสีที่มากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้สำหรับเจ้าของภาพเขียนเหล่านั้นจะเป็นชนกลุ่มใดยังไม่สามารถให้ความแน่ชัดได้เป็นเรื่องที่จะต้องหลักฐานมาวเคราะห์กันต่อไป   ตามทฤษฎีต่าง ๆ ที่เสนอเกี่ยวกับกลุ่มชนโบราณในดินแดนภาคใต้ดังกล่าวมาแล้ว  อยางไรก็ตามสิ่งที่บ่งบอกได้อีกอย่างหนึ่งว่าดินแดนบริเวณนี้นั้นเป็นแหล่งอาศัยของกลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของฟากฝั่งทะเลนี้                เอเดียน  เอิตมองต์  ลูเจร  เดอ  ลาจงกีแยร์  ( E.E Lunet de Lajorquiere ) ได้เสนอความเรียงเกี่ยวกับภาพเขียนสีในถ้ำจังหวัดพังงาเมื่อ  78  ปีก่อน  หลังจากนั้นก็มีการค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อมา  ในปี พ.ศ. 2528  เจ.บูลเบท์  ชาวฝรั่งเศสได้มาสำรวจศึกษาเกี่ยวกับภาพเขียนสีเพิ่มเติม                ภาพเขียนที่พบนี้ไม่ได้เป็นภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เสียทั้งหมด  มีภาพทั้งสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ด้วย  แหล่งที่พบภาพเขียนสีในเวิ้งอ่าวพังงา กระบี่ที่รู้จักกันมาแต่เดิม เช่น  เขาเขียนในจังหวัดพังงาและถ้ำผีหัวโต  ถ้ำไวกิ้งในจังหวัดกระบี่  แหล่งอื่น ๆ ที่ เจ.บูลเบต์เสนอไว้ในเอกสารของเขามีดังนี้                ในจังหวัดพังงาที่เขาพระอาด  เกาะนากายา  เกาะพระยา  เกาะโละกาหลาด  ( เกาะรังนก ) ส่วนในจังหวัดกระบี่ที่แหลมไฟไหม้  ถ้ำชาวเล  เขาเทียบ แหลมกาโรส ( ท้ายแรด ) เขาดาบน้ำ เขาเขียนในสระตามแผนที่ประกอบ  นอกจากนี้แล้วเขายังได้เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับภาพเขียนในถ้ำอื่น ๆ อีกด้วย  เช่น  ถ้ำหมากป่า ( Mhark Pa ) ( ถ้าดูตามแผนที่น่าจะเป็นถ้ำ ป่าหมาก ในท้องที่บ้านนบ ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึกจังหวัดกระบี่ ) ถ้ำสาม ( Tham  Sam ) และถ้ำที่เกาะพนัก ( Ko Phanak ) จังหวัดพังงาเป็นต้น                 ถ้ำที่พบภาพเขียนหรือถ้ำที่อยู่ใกล้เคียงกับที่พบภาพเขียน  หลักฐานทีสำคัญที่พบได้แก่ เครื่องมอหิน  ทั้งหินกะเทาะและหินขัด  เศษภาชนะดินเผา  กำไลเปลือกหอย  หินลับเครื่องมือนอกจากนี้แล้วยังมีซากเปลือกหอยจำนวนมากมากกระดูกสัตว์อื่น ๆ พบบ้างเล็กน้อย                ลักษณะของภาพเป็นภาพคน  สัตว์  ส่วนของอวัยวะเช่นแขนและมือและเท้า  รูปที่ดูไม่ออกว่าคนหรือสัตว์และรูปเรขาคณิตทั่วไป  แหล่งที่ตั้งของภาพมีทั้งเพิงผาและถ้ำในพื้นราบทั่วไปรวมที่อยู่กลางน้ำ  สีที่ใช้มักเป็นสีแดง  สีดำ  สีส้ม สีม่วงน้ำเงิน  นักโบราณคดีกล่าวว่าอาจได้จากแร่บางชนิด  เมล็ดพืช  ถ่าน  ไขมันสัตว์ผสมเลือด                ความมุ่งหมายในการเขียนภาพนั้นสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ บ้างก็ว่าเป็นศิลปะของมนุษย์ที่ต้องการแสดงออกตามปกติ  บ้างก็ว่าเป็นลักษณะของความเชื่อบางประการเกี่ยวกับพิธีกรรม  เช่น  ก่อนออกไปล่าสัตว์  หรือเมื่อจับสัตว์มาแล้ว  หรืออาจเขียนเพื่อเป็นการสื่อความหมายระหว่างกลุ่มก็ได้  ไม่สามารถคำนวณอายุได้แน่นอน  เฉพาะภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อนุมานอายุได้ว่าประมาณ 3,000 5,000 ปีมาแล้ว                เส้นทางเดินข้ามคาบสมุทร                ดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝั่งตะวันตก  เป็นประตูแรกที่บรรดาพ่อค้า  นักเดินเรือ นักแสงโชคเดินทางมาถึง  และต่อไปทางคาบสมุทรตะวันออก  การเดินทางข้ามแหลมในสมัยก่อนอาศัยเส้นทางลำน้ำเป็นสำคัญ  นักโบราณคดีได้กำหนดเส้นทางข้ามคาบสมุทรไว้แต่เดิม 6 เส้นทาง คือ 1.       แม่น้ำตะนาวศรี เริ่มจากเมืองมะริดไปออกทะเลด้านอ่าวไทยที่ทับสะแก  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์2.       แม่น้ำกระบุรี  จังหวัดระนอง  ไปออกอ่าวไทยที่ปากน้ำชุมพร3.       แม่น้ำตะกั่วป่า  ผ่านเขาสกไปลงน้ำพุมดวงออกแม่น้ำตาปีต่อไปอ่าวบ้านดอนได้4.       แม่น้ำตรัง  ข้ามช่องเขาเข้านครศรีธรรมไปออกที่ปากพนัง5.       แม่น้ำไทรบุรี   ออกต่อมายังแม่น้ำปัตตานี 6.       แม่น้ำเปรัก  ไหลลงแม่น้ำโก ลกออกทางตากใบ  จังหวัดนราธิวาสต่อมาได้มีการสำรวจและเสนอข้อมูลเพิ่มเติม  ว่ามีร่องรอยหลักฐานที่จะเป็นเส้นทางเดินข้ามแหลมได้  คือ 1.   คลองท่อม สินปุน อ่าวบ้านดอน  จากคลองท่อมเดินบกไปลงคลองสินปุน  ออกแม่น้ำตาปีต่อไปออกอ่าวบ้านดอนได้  คือ2.    ตรัง นครศรีธรรมราช  เดินบกเข้าร่อนพิบูลย์  เขาชุมทองและนครศรีธรรมราช3.   กระบุรี เขาสามแก้ว  เริ่มจากปากน้ำกระบุรี  ปากจั่น  คลองชุมพร  บ้านเสียบยวน  ท่าตะเภาเขาสามแก้วออกปากน้ำชุมพร4.   ปากลาว บ้านดอน  เริ่มจากปากลาว  อำเภออ่าวลึก  ผ่านเขาต่อ  ปากพนม  คลองพุมดวงออกแม่น้ำตาปี  บนเส้นทางนี้มีแหล่งโบราณคดีเป็นจำนวนมาก5.   บ้านเตรียม อ่าวบ้านดอน  เริ่มจากบ้านเตรียม  คลองกำพวน  บ้านตาขุน  ออกแม่น้ำพุมดวง  เช่นเดียวกัน  แหล่งโบราณดคีสำคัญบนเส้นทางนี้  เช่น  บ้านเตรียม  คลองแสง  ถ้ำปากอม  เป็นต้น 6.   นางย่อน บ้านดอน  เริ่มจากคลองนางย่อน  จังหวัดพังงาแล้วเดินบกผ่านทับไทรควนต้นตอ ถึงคลองปลายแสงออกแม่น้ำพุมดวง  หรือแยกอีกทางเข้าทางต้นน้ำคลองหยี  ซึ่งจะไหลมาลงคลองแสงเช่นเดียวกันในบริเวณจังหวัดกระบี่  ก็มีร่องรอยการเดินทางข้ามแหลมเช่นเดียวกัน   นอกเหนือจากเส้นทางที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว  เช่น  คลองกระบี่ใหญ่  ย้อนลำน้ำขึ้นไปออกอ่าวลึกต่อไปคลองอีปันออกแม่ตาปี  หรือผ่านช่องเขาไปทางอำเภอเขาพนมไปบ้านสองแพรก  คลองโตรม  ลงเรือต่อไปแม่น้ำตาปีได้  หรือจะใช้เส้นทางคลองกระบี่น้อย คลองปกาไส   ขึ้นไปทางอำเภอเขาพนมต่อกับเส้นทางที่กล่าวมาแล้ว  หรือจะแยกไปทางท่ายาง ( อ.ท่ายาง อ.ทุ่งใหญ่ ) จ.นครศรีธรรมราช  ต่อไปนครศรีธรรมราชได้  เส้นทางเหล่านี้สมัยที่ยังไม่มีถนนชาวบ้านใช้กันมาช้านาน  และกล่าวว่าเส้นทางเหล่านี้เป็นเส้นทางที่ใช้กันมาแต่โบราณนั่นเอง                  จากการสำรวจถ้ำและเพิงผาพบเศษเครื่องปั้นดินเผาประเภทต่าง ๆ มากมาย  มีทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์  สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์  บางแหล่งพบว่าปะปนซับซ้อนกันมาหลายสมัยในที่เดียวกัน                เครื่องปั้นดินเผาที่พบเป็นหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญพบในจังหวัดสุราษฎร์  นครศรีธรรม  ตรังพัทลุง  ยะลา  เฉพาะในจังหวัดกระบี่พบที่ชุมชนโบราณคลองท่อม  แหล่งถ้ำเสือแหล่งเขาขนาบน้ำ                  สมัยประวัติศาสตร์  แหล่งสำคัญที่พบได้แก่  ชุมพร  สงขลา  พัทลุง  กระบี่  นครศรีธรรมราช   สุราษฎร์ธานี  ในจังหวัดกระบี่พบที่แหล่งเขาช่องตลาด  อำเภออ่าวลึก  จังหวัดกระบี่  เคยพบเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย อยุธยา                ภาชนะดินเผาโบราณภาคใต้มีหลายลักษณะ  ทั้งประเภทผิวเรียบ  ลายเชือกทาบ  ลายขูดขีดเซะร่อง  ลายกดประทับและลายเขียนสี  รูปแบบที่พบเป็นพวกหม้อสามขา  ชามภาชนะทรงพาน  ถ้วย  เหยือก กะปุกดินเผา  โอ่งและไห  นอกนั้นก็มีเครื่องใช้อื่น ๆ ที่  ทำด้วยดินเผา  เช่น  ลูกถือดินเผา  ลูกกระสุน  ตราประทับและพระพิมพ์ดินดิบ  เป็นต้น เครื่องมือหิน                  เครื่องมือเครื่องใช้หินที่พบในภาคใต้  นับได้ว่าเป็นหลักฐานของกลุ่มที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้ตั้งแต่ยุคแรก ๆ คือสมัยก่อนประวัติศาสตร์และรวมไปถึงวัฒนธรรมสืบทอดมาในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยประวัติด้วย  ที่สำคัญได้แก่1.       เครื่องหินกะเทาะและหินขัด  ที่พบมีหลายรูปแบบตามลักษณะของการใช้งานนอกจากนั้นยังพบเครื่องมือหินกะเทาะที่มีการขัดแต่งบางส่วนแล้วด้วย  ซึ่งถือเป็นการพัฒนาครื่องมือเครื่องใช้  แหล่งพบเครื่องมือหินหินกะเทาะหินขัดที่สำคัญในจังหวัดชุมพร  สุราษฎรานี  นครศรีธรรมราช  ทางทะเลอันดามันพบที่ถ้ำสระ  อำเภอปลายพระยา  ถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก  เพิงผาหน้าชิง  อำเภอเมืองกระบี่  และที่เหมืองแร่บ้านน้ำตก พรุ เดียวในจังหวัดพังงา2.       แท่นหินบด  ครกหิน  ลูกกลิ้งหินบด  สากหิน หินลับ  ที่พบในภาคใต้มักทำจากหินอัคนีทำใช้งานไปตามรูปแบบต่าง ๆ นักโบราณคดีกำหนดว่าคงคิดทำขึ้นไม่น้อยกว่า  6,500 ปีมาแล้ว  แหล่งพบลูกกลิ้งหินบดที่สำคัญในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์  พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  สงขลา ปัตตานี  ฝั่งทะเลอันดามันพบที่ชุมชนคลองท่อม  จังหวัดกระบี่  ชุมชนตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา  แหล่งพบหินลับที่สำคัญที่จังหวัดชุมพร  สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช  สงขลา ฝั่งทะเลอันดามัน  พบที่ชุมชนคลองท่อม  จังหวัดกระบี่3.       เครื่องประดับทำจากหิน  คนก่อนประวัติศาสตร์ภาคใต้ทำเครื่องประดับจากหินชนวน  หินดินดาน   หินแอนด์ไซต์และคว็อทซ์   มาขัดเป็นกำไลซึ่งพบทั่วไป  ทางฝั่งทะเลอันดามันพบกำไลรูปแผ่นโค้งหนา  ขอบหยักเป็นร่องที่แหล่งถ้ำเสือ  ตำบลกระบี่น้อย  พบลูกปัดประกอบหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำแห้งบางเหียน  อำเภอปลายพระยา   จังหวัดกระบี่  พบลูกปัดสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ชุมชนโบราณ ตะกั่วป่าจังหวัดพังงาและชุมชนโบราณคลองท่อม  จังหวัดกระบี่     บทที่ 3แหล่งโบราณคดีในจังหวัดกระบี่                 แหล่งโบราณคดีนั้นหมายถึงบริเวณที่ปรากฎหลักฐาน  เช่น  โบราณวัตถุ  โครงกระดูกมนุษย์โบราณร่องรอยการประกอบกิจกรรมของมนุษย์โบราณ  และนักโบราณคดีวินิจฉัยว่าอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะดินแดนที่เป็นจังหวัดกระบี่เท่านั้น  โดยจะขอแบ่งเป็น  3  ประเภท   ตามที่นักโบราณคดีกำหนดไว้  ดังนี้ 1.       แหล่งพบหลักฐานและแหล่งตามคำบอกเล่า ข้อมูลจากแหล่งค้นพบโดยชาวเรือหรือบุคคลทั่วไปที่มิใช่เป็นนักโบราณคดี  หลักฐานต่าง ๆ ที่ได้เป็นพวก  เครื่องมือหิน  ภาชนะดินเผาและอื่น ๆ นำมาเก็บไว้เป็นส่วนตัวหรือมอบให้วัดหรือพิพิธภัณฑ์  บางแห่งก็บอกเล่าถึงการพบวัตถุ  นักโบราณคดีได้พิจารณาตามสภาพทางภูมิศาสตร์แล้วเห็นว่าเป็นไปได้ที่น่าจะเป็นแหล่งที่มนุษย์เคยอยู่อาศัย  ดังนี้1.1      แหล่งพบหลักฐาน1.1.1           แห่ล่งถ้ำลูกหนู  ( เขาแก้ว ) หมู่ที่ 2 ตำบลกระบี่น้อย  อำเภอเมืองกระบี่ 1.1.2           แหล่งถ้ำนาพรุ  บ้านหนองพูด  ตำบลปริก  อำเภอเมืองกระบี่1.1.3           แหล่งถ้ำเขาหม้อ  ตำบลห้วยยูง  อำเภอเมืองกระบี่1.1.4           แหล่งถ้ำเขาร้อน  ตำบลห้วยยูง  อำเภอเมืองกระบี่1.1.5           แหล่งคลองปกาไส  ตำลปกาไส  อำเภอเมืองกระบี่1.1.6           แหล่งเกาะอ่าวพระนาง  ตำบลอ่าวนาง  อำเภอเมืองกระบี่1.1.7           แหล่งถ้ำเขาแว ( เขากลาง ) หมู่ที่ 6  ตำบลคลองหิน  อำเภออ่าวลึก1.2      แหล่งตามคำบอกเล่า1.2.1           แหล่งถ้ำหนองพูด ( ถ้ำผี  ถ้ำแพะ  ถ้ำบัวทอง )  ตำบลทับปริก  อำเภอเมืองกระบี่1.2.2           แหล่งถ้ำหน้าผึ้ง  อำเภอคลองท่อม1.2.3           แหล่งเขาชวาปราบ   ปลายคลองสินปุน  อำเภอคลองท่อม1.2.4           แหล่งเขาหน้าถ้ำ  ตำบลคลองท่อมเหนือ  อำเภอคลองท่อม1.2.5           แหล่งลำคลองวัดโพธิ์เลื่อน  บ้านเขาพนม  อำเภอเขาพนม1.2.6           แหล่งถ้ำรอบ  ตำบลเขาเขน  อำเภอปลายพระยา  1.2.7           แหล่งถ้ำช่องบ่อเพลง  หมู่ที่ 5 ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา1.2.8           แหล่งเขาห้างขาว ( ถ้ำตานอง  ถ้ำแป้ง ) อำเภอปลายพระยา1.2.9           แหล่งถ้ำบางแก้ว  หมู่ที่  5  ตำบลปลายพระยา  อำเภอปลายพระยา1.2.10       แหล่งถ้ำเขาเกราะ  หมู่ที่ 2 ตำบลปลายพระยา  อำเภอปลายพระยา 2.       แหล่งสำรวจทางโบราณคดีเป็นแหล่งที่นักโบราณคดีได้เข้าสำรวจแล้วเป็นเบื้องต้น  มีรายละเอียดที่แน่นอนของหลักฐาน  ได้แก่2.1   แหล่งควนหินเหล็กไฟบางโสก  หมู่ที่  4  บ้านบางโสก  ตำบลเขาต่อ  อำเภอปลายพระยาพิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง 8   35  เหนือ  แวง  98   47  ตะวันออก2.2   ถ้ำแห้งบางเหียน  เขาหม้อ ( ถ้ำทำบุญ )  หมู่ที่ 6  บ้านบางเหียน  ตำบลปลายพระยา  อำเภอปลายยา  พิกัด  รุ้ง  8   34   21  เหนือ  แวง  98  52   12  ตะวันออก2.3   แหล่งถ้ำสระ  หมู่ที่ 5  ตำบลเขาต่อ  อำเภอปลายพระยา  รุ้ง   8   34  เหนือ  แวง  98  49   ตะวันออก   2.4   แหล่งคลองลาวบ้านเขาต่อ  หมู่ที่  4   บ้านเขาต่อ  ตำบลเขาต่อ   อำเภอปลายพระยา  รุ้ง  8   34   เหนือ  98  45  ตะวันออก2.5   แหล่ง ถ้ำน้ำช่ำ  ( เขาเปลว / ถ้ำหนองขอนเทิน )  หมู่ที่ 6 บ้านบางเทียน  ตำบลปลายพระยา  รุ้ง  8   33   25  เหนือ  แวง   98    52  12    ตะวันออก2.6   แหล่งถ้ำเขาเขน / เขาทอง  หมู่ที่ 2  ตำบลปลายพระยา  อำเภอปลายพระยา  รุ้ง  8    29   45   เหนือ  แวง    98   51   ตะวันออก2.7    แหล่งห้วยบางมัด  หมู่ที่ 4  ตำบลนาเหนือ  อำเภออ่าวลึก  รุ้ง  8   29    30   เหนือ  แวง   98    42   40     ตะวันออก2.8   แหล่งถ้ำเขาลังตัง  หมู่ที่ 1   ตำบลนาเหนือ  อำเภออ่าวลึก  รุ้ง  8  28   เหนือ  แวง  98  40  10  ตะวันออก   2.10   แหล่งถ้ำต้นเหรียงเขายิงหมี  ( ถ้ำเขานุ้ย )  หมู่ที่  4  ตำบลปลายพระยา  อำเภอปลายพระยา    รุ้ง   8     27   10    เหนือ  แวง   98   54  45   ตะวันออก2.11   แหล่งถ้ำเสือน้อย  หมู่ที่  5  บ้านถ้ำเสือ  ตำบลอ่าวลึกใต้  อำเภออ่าวลึก    รุ้ง    8    24    15   เหนือ  แวง  98  41   25   ตะวันออก2.12   แหล่งถ้ำกะโหลกผี  หมู่ที่  2   บ้านบ่อท่อ  ตำบลอ่าวลึกใต้  อำเภออ่าวลึก  รุ้ง  8  22  40  เหนือ  แวง  98  40   25   2.13   แหล่งถ้ำโต๊ะหลวง  หมู่ที่  2  บ้านนบ  ตำบลคลองหิน  อภเภออ่าวลึก  รุ้ง  8  18  10  เหนือ  แวง   98   49  25  ตะวันออก2.14   แหล่งเขาแหลมเกาะกาโรส   อำเภอเมือง   จังหวัดกระบี่  รุ้ง  8  14  เหนือง  แวง  98  48  ตะวันออก 2.15   แหล่งเพิงหินอ่าวลูกธนู  ( หน้าซิง ) หมู่ที่ 1  บ้านซิง  ตำบลกระบี่น้อย  อำเภอเมือง  กระบี่   รุ้ง  8   8   เหนือ  แวง  98  55   50   ตะวันออก2.16   แหล่งถ้ำเสือ  บ้านถ้ำเสือ  ตำบลกระบี่น้อย  อำเภอเมือง  รุ้ง   8    8   เหนือ  แวง  98   55   50  ตะวันออก                2.17   แหล่งถ้ำไสไทย  ( ช้างสี )  บ้านคลองจิหลาด  ตำบลไสไทย  อำเภอเมือง  รุ้ง  8  5  เหนือ  แวง   98    52   30   ตะวันออก2.18   แหล่งถ้ำเขาหลัก  ( เกาะหลัก )  ตำบลศรีบอยา  อำเภอเมือง  รุ้ง  7   53    40   เหนือ  แวง  99   3   ตะวันออก 3.   แหล่งขุดค้นทางโบราณคดี                เป็นแหล่งที่นักโบราณคดีเข้าขุดค้น  พบหลักฐานรายละเอียดมาเพียงพอที่สันนิษฐานได้ว่าเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์อันสำคัญ  ที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาเรื่องราวของชุมชน  หรือวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ต่อไป  ได้แก่                3.1   แหล่งถ้ำเขานุ้ย  หมู่ที่ 2  บ้านนน  ตำบลคลองหิน  อำเภออ่าวลึก  รุ้ง  8   19   35  เหนือ  แวง  98  52   26  ตะวันออก                3.2   แหล่งถ้ำโรงเรียน   บ้านทับปริก  ตำบลทับปริก  อำเภอเมือง  รุ้ง   8   10    15   แวง  98   52   26   ตะวันออก                3.3   แหล่งเขาขนาบน้ำ  ตำบลปากน้ำ   อำเภอเมือง  รุ้ง    8    4    36   เหนือ  98   55   30  ตะวันออก                  นอกจากนี้แล้วในบางแหล่งจะมีหลักฐานสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์และสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในที่เดียวกัน   เช่น   แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด ( ชุมชนคลองท่อมโบราณ )  หมู่ที่  2  ตำบลคลองท่อม  นอกจากพบลูกปัดแก้ว  เครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยประวัติศาสตร์แล้วยังพบเครื่องมือหินอีกด้วย  แหล่งอื่น  ๆ ที่พบหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ด้วย เช่น  เพิงผาเขาขนาบน้ำ  แหล่งถ้ำเสือ  แหล่งถ้าไสไทย  แหล่งถ้ำเขาหลัก  เป็นต้น                อย่างไรก็ตามในบางแหล่งนักโบราณคดีก้ยังสรุปแน่นอนลงไปไม่ได้แน่ชัด  โบราณวัตถุก่อนประวัติศาสตร์มาปรากฏอยู่ในแหล่งสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์  อาจเนื่องมาจากเป็นการสืบทอดแนวความคิดติดต่อมาในการทำวัสดุขึ้นใช้  นำมาพัฒนาให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของตนหรือไม่ก็นำมาเก็บเพราะเห้นว่าเป็นของแปลก  เหมือนที่เราในปัจจุบันได้เก็บไว้ก็อาจเป็นได้  ในการพิจารณาแหล่งกำเนิดจริง ๆ อาจต้องมีการขุดค้น  ตรวจสอบหลักฐานอื่น     ประกอบด้วย         เอกสารอ้างอิง กลิ่น  คงเหมือนเพชร    จากตะวันตกสู่ตะวันออกตามเส้นทางชาวบ้านฝั่งทะเลกระบี่                   วารสารเมืองโบราณ   ปีที่  14  แบบที่  3  กรกฎาคม  -   กันยายน  2531 ชิน  อยู่ดี  และ  สุด  แสงวิเชียร  อดีต  โรงพิมพ์พิฆเณศ  2517   ดักลาส  ดี .  แอนเดอร์สัน  และวรรณี  วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน, มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์                ที่จังหวัดกระบี่ อนุสรณ์  ส่ง  วิบูลย์สวัสดิ์   โรงพิมพ์เอเชีย  เพรส, 2513  ประทุม  ชุ่มเพ็งพันธุ์  เมืองคลองท่อม  เมืองท่าสำคัญบนแหลมมลายู  ศิลปากร  ปีที่ 25                  ฉบับที่ 3  กรกฎาคม  2524เยี่ยมยง  สังขยุทธย์   สุรกิจบรรหาร ชื่อบ้านและชื่อเมืองและถ้อยคำสำเนียงไทยปักษ์ใต้                  รำลึกชาติได้   พิมพ์แจกในงานบำเพ็ญกุศลฉลองอายุครบ  60  ปี  พระภัทรศีลสังวร                ( ช่วง  อตถเวที ) วัดมัชฌิมาวาส  สงขลา  29  พฤศจิกายน  2506  ศรีศักดิ์  วัลลิโภดม, ความก้าวหน้าของโบราณคดีในภาคใต้  การประเมินเพื่อเสนอภาพรวม                 วารสารเมืองโบราณ  ปีที่  14  ฉบับที่  3 กรกฎาคม  -  กันยายน 2531สายันต์  ไพรชาญจิตร  การแหลความเบิ้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมป่าชายเลนจากหลักฐาน                 แหล่งโบราณคดีที่พบใหม่ในอ่าวพังงา วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 14 ฉบับที่  3                กรกฎา -  กันยายน 2531  สุวิทย์  ชัยมงคล  หลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ริมฝั่งทะเลอันดามันบริเวณอ่าวพังงา อ่าวลึก                 ถลาง  ภูเก็ต  และชายฝั่งทะเลอันดามัน  กรมศิลปากรจัดพิมพ์,  2532สำนักงานจังหวัดกระบี่,  รายงานข้อราชการจังหวัดกระบี่  ประจำปี  2533องค์กรบริหารส่วนจังหวัดกระบี่,  ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค  โรงพิมพ์  ดี . แอล . เอส.อมรา  ศรีสุชาติ   แหล่งโบราณคดีฝั่งทะเลอันดามัน  ข้อมูลเก่า ใหม่ ศิลปากร  ปีที่ 31                  ฉบับที่   3   กรกฎาคม  - สิงหาคม  2530  อมรา  ศรีสุชาติ   แหล่งโบราณคดีในภาคใต้  สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้  เล่ม  10                ทักษิณคดีศึกษา   สงขลา,  2527อาทรสังวรกิจ, พระครู  บันทึกความรู้เรื่องควนลูกปัด   เอกสารพิมพ์ดีดอินทปัญญาจารย์   พระครู ( พุทธทาสภิกขุ )  แนวสังเขปของโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน                วารสารศรีวิชัย  ปีที่ 5 ฉบับที่ 5   พฤศจิกายน  2533 Fine  arts  Department, An Archaeological visit to the South, Jean  Boulbet, Un  Heritage  etrange :  Les  Roches  Peintes  sites   Innedits  de  Thailands   du   sud  Provinces  de  phangnga  et  Krabi,  Anderson, Douglas  D.  Excabations  of  a  Pleistocene  Rockshelter  in  accompanying  a  lecture  by  Archaeology  Division  in  Collabaration  with  the  Division  of  Nation  Museums,  Fine  arts  Department,  August  5,  2 = - 9      บทที่  4
การเคลื่อนย้ายของมนุษย์สมัยโบราณในภาคใต้ 
                        แหล่งที่จัดว่าเป็นโบราณคดีของจังหวัดกระบี่นั้น  ไมได้มีสภาพเป็นสิ่งก่อสร้าง  โบราณสถานหรือเมืองโบราณเหมือนกับแหล่งเมืองเก่าอื่น ๆ สภาพที่มีจะเป็นเรื่องราวของข้อมูลสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่  เป็นแหล่งมนุษย์ถ้ำและคนทะเล  ที่ทิ้งร่องรอยการเข้าประกอบกิจกรรมมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์   วัตถุโบราณส่วนใหญ่จะเน้นไปทางเครื่องมือ หิน  มีวัตถุสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์อยู่ด้วย  ในบางแหล่งยังอยู่ในป่าเขา  บางแหล่งอยู่ในทะเล  บางแหล่งถูกบุกรุกทำลายโดยหลาย ๆ วิธี   เช่น  ชาวบ้านหักร้างถางพงเข้าไปเพื่อเป็นแหล่งทำกิน  ทำสวนยางพารา ทำสวนปาล์ม  สวนกาแฟและปลูกสร้างบ้านเรือน  นักขุดค้นหาสมบัติโบราณ  ชาวบ้านเข้าไปขุดเอาดินฟอสเฟตมาทำปุ๋ย สำนักสงฆ์ที่ยึดเอาเถื่อนถ้ำเป็นที่พนักรวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งหลาย  มีส่วนทำให้หลักฐานต่าง ๆ ถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย   บางแหล่งนอกจากเป็นหลักฐานทางโบราณคดีแล้วยังมีความสวยงามด้วยธรรมชาติรอบด้านอีกด้วย  เช่น  แหล่งอ่าวพระนาง  เกาะไวกิ้งและเกาะพีพี  ถ้ำผีหัวโต  เป็นต้น  ซึ่งสถานที่เหล่านี้จะปรากฎอยู่โปรแกรมของการท่องเที่ยวอีกด้วย   ยิ่งในปัจจุบันธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง  ผลกระทบต่าง ๆ จึงติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  สภาพแวดล้อมจึงถูกทำลายมากขึ้น  ทั้งด้วยจงใจและรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ถ้าหากว่าเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์และมองเห็นความสำคัญแล้ว  ตอไปภายหน้าเราก็คงไม่มีอะไรให้ลูกหลานได้ศึกษากันอีก  ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันสภาพเดิมก็ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วการศึกษาและสำรวจครั้งนี้  เพื่อรายงานสภาพปัจจุบันให้ใกล้ความจริงมากที่สุด  ถ้าเวลาและฤดูกาลอำนวยจะดำเนินการในส่วนที่เหลือต่อไป  เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการหาทางอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป                                              ชื่อ    เมืองคลองท่อมบ้านควนลูกปัดตำบลคลองท่อมใต้อำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่                                                                                รุ้ง       7     55     30        เหนือ 
                                                                                แวง    99      9       5        ตะวันออก
1.       อาณาเขต  ทิศเหนือ                                ติดต่อกับที่ดินวัดคลองท่อม  บ้านเรือน  สวนยางพาราและสวนผลไม้ทิศใต้                                     ติดต่อกับที่ครอบครองของชาวบ้าน  สวนและป่าละเมาะทิศตะวันออก                       ติดต่อกับที่นา  บ้านเรือน  สวนยางพาราทิศตะวันตก                          ติดต่อกับสวนผลไม้   บ้านเรือนและวัดคลองท่อม2.       เส้นทางคมนาคม                สามารถเดินทางไปได้สะดวก  โดยทางหลวงหมายเลข  4  เพชรเกษม  หากจากตัวจังหวัดกระบี่  ประมาณ  42  กิโลเมตร  ถึงวัดคลองท่อมมีทางลูกรังต่อเข้าไปอีกเล็กน้อยก็จะถึงบริเวณควนลูกปัด3.       สภาพทางภูมิศาสตร์ลักษณะเป็นเนินดินอยู่กลางหมู่บ้าน  แวดล้อมด้วยสวนยางพารา  สวนผลไม้  ป่าละเมาะ  และบ้านเรือนของชาวบ้าน  ด้านตะวันออกเป็นแนวสูงต่อมาจาไหล่เขา  เนินด้านเหนือไปสิ้นสุดกลางบริเวณที่ราบต่ำ    ทางภาคใต้และตะวันตกเป็นที่ราบมีลำคลองท่อมไหลผ่าน4.       ลักษณะของแหล่ง4.1      ลักษณะเป็นเนินดิน4.2      ไม่มีคูเมือง  4.3      ขนาด  เป็นเนินราบในระดับความสูง  8  เมตร จากระดับน้ำทะเล  ที่ราบกว้างประมาณครึ่งตารางกิโลเมตร5.       หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ5.1           ลูกปัดแร่ประกอบหิน   แก้วหลอม5.2            เศษภาชนดินเผา5.3            เครื่องมือหินชนิดต่าง ๆ 5.4            เครื่องสำริด5.5           เหรียญโลหะสำริด5.6          แม่พิมพ์หินใช้ทำเครื่องประดับ   5.7          จารึกบนแผ่นตราประทับอักษรอินเดียใต้ภาษาสันสกฤต5.8          ลูกปัดฯลฯ                                วัตถุเหล่านี้ส่วนหนึ่งท่านพระครูอาทรสังวรกิจเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม  บางส่วนอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดใกล้เคียง  อยู่ในความครอบครองของชาวบ้าน  นอกจากนี้แล้วที่สูญหายไปด้วยขบวนการลักลอบขุดทำลายจนไม่สามารถประมาณได้6.       แนวทางในการพัฒนา6.1      เป็นแหล่งให้การศึกษาทางประวัติศาสตร์โบราณคดี  เนื่องจากยังมีเนินดิน  ลูกปัดที่ยังหลงเหลืออยู่ในดิน  และพิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อมซึ่งอยู่ใกล้เคียงสามารถให้ข้อมูลบางประการแก่ผู้สนใจได้6.2      เป็นแหล่งท่องเที่ยว  เนื่องจากผู้สนใจต้องการชมวัตถุโบราณที่พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม  แล้วก็ผ่านไปชมบริเวณควนลูกปัดนั้นด้วย6.3      สนับสนุนการจัดพิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อมให้เป็นระบบ  เนื่องจากวัตถุโบราณต่ง ๆ ที่ท่านพระครูอาทรสัวรกิจเก็บไว้นั้นมีคุณค่าทางโบราณคดีมา  ยังขาดคนที่สนับสนุนในการจัดเก็บที่ถูกต้อง6.4      ให้หยุดยั้งการลักลอบขุดโดยเด็ดขาด  เพราะปัจจุบันถึงแม้ว่าทางการจะห้ามขุดแล้วก็ตามก็ยังปรากฏร่องรอยการลักลอบขุดอยู่เสมอ7.       สภาพปัจจุบัน7.1      ความสำคัญของชุมชน  เป็นที่ตั้งควนลูกปัด  หมู่ที่  2  ตำบลคลองท่อมใต้  อำเภอคลองท่อม  จังหวัดกระบี่7.2      ชาวบ้านส่วนมามีอาชีพทำสวนยางพารา ทำสวนปาล์มน้ำมันและทำนา7.3      ภาษาที่ใช้เป็นภาษาท้องถิ่นปักษ์ใต้7.4      ศาสนา  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  มีวัดอยู่ภายในหมู่บ้านคือ วัดคลองท่อม7.5      เนินควนลูกปัดตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน  บางส่วนเป็นที่ตั้งบ้านเรือนราษฎร  7.6      การลักลอบทำลายยังปรากฎอยู่8.       ประวัติของชุมชน8.1      ประวัติทางโบราณคดีจากการขุดค้นทางโบราณคดีพบหลักฐานแสดงการเข้าอยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์  แต่ก็มีการพบวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่ด้วย  คงจะเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมมาจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์  กลุ่มคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเนินดินคลองท่อมคงเป็ชนพื้นเมืองสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ตามถ้ำป่าเขาใกล้เคียงนั้นเอง  เพราะจากหลักฐานต่าง ๆ จากบริเวณอ่าวพังงาลงมาถึงบริเวณเขาขนาบน้ำ  ถ้ำเสือ  ถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก  ถ้ำหน้าซิง  ล้วนเป็นที่อยู่ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น        ชุมชนคลองท่อมอยู่ใกล้ทะเล   มีลำคลองท่อมไหลผ่านอยู่ในเส้นทางการเดินทางและเป็นที่ผ่านไปมาของชนชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเดียใต้  โดยหลักฐานต่าง ๆ ที่ค้นพบ  คลองท่อมสมัยนั้นจะมีชื่อเรียกอย่างไม่ทราบได้  พิกัดในแผ่นที่โบราณก็ไม่แน่นอนนัก  เมืองคลองท่อมอาจจะเป็น  ตะโกลา ได้    ทั้งนี้ก็อยู่ที่หลักฐานที่จะวิเคราะห์กันต่อไป8.2      ประวัติชื่อชุมชน                 คำว่า ควนลูกปัด   เป็นชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกกัน     เมื่อมีการค้นพบลูกปัดแก้วสีต่าง ๆเนินดิน  แต่ทิ้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  ไม่มีใครสนใจเท่าไรนัก  อาจเห็นว่าไม่มีค่าอะไร  และยังไม่กล้าเอาไปใช้ด้วยเพราะเห็นว่าเป็นของโบราณเกรงเกิดอาเพทต่าง  ๆ ตามความเชื่อ  จึงเรียกเนินดินนั้นว่า    ควนลูกปัด                         ส่วนชื่อคลองท่อม  กล่าวกันว่าตั้งขึ้นตามชื่อของลำคลอง  แต่เดิมบริเวณนี้ขึ้นอยู่กับอำเภอคลองพน  ซึ่งห่างออกไปประมาณ  15  กิโลเมตร  การไปมาไม่ค่อยสะดวก  จึงได้ย้ายที่ทำการมาตั้งบริเวณคลองท่อมซึ่งสะดวกกว่าเปลี่ยนชื่อเป็น  อำเภอคลองท่อม  หลายท่านได้ให้ความหมายคำว่า  ท่อม   ว่าเป็นชื่อพันธุ์ไม้พุ่มชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณนี้  พระครูอาทรสังวรกิจ  เจ้าอาวาสวัดคลองท่อมให้ข้อสันนิษฐานว่า  คำว่า คลองท่อม   อาจมาจากคำว่า คลองทุ่ม  ก็เป็นได้   โดยเฉพาะเมื่อประมาณ  100  ปีเศษ  มานี้ได้เกิดโรคระบาดร้ายแรง  ผู้คนล้มตายกันเป็นอันมก  พวกที่เหลือก็พากันอพยพทิ้งถิ่นไปอยู่ที่อื่น   การทิ้งถิ่นฐานนี้ภาษานบ้านเรียกว่า   ทุ่ม   แล้วกลายมาเป็นคลองท่อมภายหลัง8.3      ประวัติตามคำบอกเล่า                พระครูอาทรสังวรกิจ  กล่าวว่า บริเวณควนลูกปัดนี้มีตำนานพื้นบ้านเล่ากันมาช้านานว่าเดิมบริเวณนี้เป็นเมืองของ ขุนสาแหระ  บ้านเมืองพรั่งพร้อมด้วยความสุขสมบูรณ์  ชุนสาแหระมีลูกสาวสวยเพียงคนเดียว  จึงมีความรักและห่วงมาก  พยายามอบรมสั่งสอนให้อยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดี  ต่อมาลูกสาวเกิดไปรักชอลกับเด็กคนใช้ในวังนั้นเอง    ขุนสาแหระโกรธจึงจับทั้งสองคนขังไว้ในอุโมงค์ใต้ดิน   ด้วยความแค้นขุนสาแหระสั่งให้จุดไฟเผาเมืองเสีย   ทรัพย์สินทั้งหลายก็ทุบทำลายเสียสิ้น   เพื่อไม่ให้ตกเป็นสมบัติของใครต่อไป  เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมอดไหม้ลงไปแล้วก็อพยพผู้คนออกเดินทางไปทางทิศตะวันออก   แต่ก็ไม่ปรากฏว่าไปตั้งเมืองใหม่ที่ใด                         ลักษณะทิ้งร้างเช่นนี้เรียกกันว่า  ทุ่มบ้านทุ่มเมือง  อาจเป็นต้นทางให้เกิดคำว่า  คลองทุ่ม  (ทิ้ง)   ดังที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นอีกทางหนึ่งด้วย.                                                                                                                                                                           ชุมชนโบราณชื่อ        ถ้ำหลังโรงเรียนบ้านทับปริก ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่รุ้ง  8   10    15  เหนือ  แวง  98  52  26  ตะวันออก 1.       อาณาเขต                                   ทิศเหนือ                ติดต่อกับโรงเรียนบ้านทับปริก                                   ทิศใต้                      ติดต่อกับสวนยางพาราของชาวบ้าน                                   ทิศตะวันออก          ติดต่อกับสวนกาแฟและที่ดินของโรงเรียน                                    ทิศตะวันตก            ติดต่อกับวัดทับปริกและที่สวนของชาวบ้าน2.       เส้นทางคมนาคม                        การเดินทางสะดวกไปได้ทุกฤดูกาล มีถนนลูกรังแยกจากถนนเพชรเกษมที่บ้านตลาดเก่า( ปากทางบ้านคลองใหญ่) ไปทางเส้นทางไปน้ำตกห้วยโต้และอุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจาประมาณ 10 กิโลเมตร  ผ่านหน้าโรงเรียนทับปริก  ที่ตั้งของแหล่งอยู่ในเขาหินปูนหลังโรงเรียน3.       สภาพทางภูมิศาสตร์                            หุบเขาตั้งอยู่ในลุ่มน้ำกระบี่ ( คลองกระบี่ใหญ่)  ห่างจากแม่น้ำประมาณ 4 กิโลเมตร บ้านทับปริก  อำเภอเมือง  จังหวัดกระบี่  ห่างจากทะเลประมาณ 12 กิโลเมตร  เพิงผาอยู่ในที่โลงตามรอยบากของภูเขา  ภูมิประเทศรอบด้านเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา  เป็นสวนยางพาราและสวนผลไม้ของชาวบ้าน4.       ลักษณะของแหล่ง4.1      เป็นเพิงถ้ำในรอยบากภูเขาหินปูน4.2      ขนาดเนื้อที่เพิงผายาวไปตามหุบเขาประมาณ 35 เมตร4.3      ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  75  เมตร5.       หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ                      ดร. ดักลาส  ดี.  แอนเดอร์สัน ได้ขุดค้นทางโบราณคดีครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.  2526  และครั้งหลังในปี พ.ศ. 2533 การขุดครั้งหลังสุดยังไม่ได้เสนอรายงาน  จากการขุดค้นครั้งแรกหลักฐานพอสรุปได้ดังนี้5.1        หลุมฝังศพและโครงกระดูก5.2         เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ5.3        เครื่องมือหิน5.4       เครื่งมือทำจากเขาสัตว์ กระดูก5.5      กระดูกเขาสัตว์ใหญ่และเปลือกหอย5.6      เมล็ดพืช     วัตถุเหล่านี้ยังฝากเก็บไว้ที่กรมศิลปากร กรุงเทพมหานคร6.       แนวทางในการพัฒนา6.1   เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะจากหลักฐานที่พบคำนวณอายุได้ถึง 27,000 -  37,000  ของยุคไพลสโตซิน  นับว่าเป็นแหล่งเก่าแก่ที่สุดในประเทศหรือหรือแม้แต่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้6.2      สนับสนุนให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดกระบี่ ดร.ดักลาส ดี.แอนเดอร์สันได้เสนอแนวความคิดเห็นหลายครั้งในการที่ผลักดันให้มีพิพัธพัณพ์ของท้องถิ่น โดยเฉพาะในจังหวัดกระบี่ โดยยินดีที่จะนำหลักฐานต่างๆ ที่ขุดพบเหล่านั้นกลับมาเก็บไว้ที่กระบี่ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการศึกษาต่อไป      7. สภาพปัจจุบัน                                7.1.  สภาพถ้ำอยู่ในป่าไม่ห่างจากเมืองมากนัก                                7.2.  ก่อนมีการขุดค้นทางโนราณคดี สภาพเพิงผาถูกขุดทำลายโดยชาวบ้านเข้าไปหาดิน ฟอสเฟต         (ดินขี้ค้างคาว)   ทำให้หลักฐานบางอย่างถูกทำลายไป7.3. หลักฐานที่นักโบราณคดีเข้าไปขุดค้นแล้ว ก็ยังมีร่วงรอยชาวบ้านเข้าไปขุดหาของมีค่า   8.  ประวัติของแหล่ง                8.1.  ยุดสมัยทางโนราณคดีการขุดค้นครั้งแรกของนักโบราณคดี ได้ขุดลึกลงไปถึงดินชั้นที่ 10 จากการคำนวณอายุโดยทางวิชาการในชั้นที่ 9 ให้อายุถึง 37,000 ปี    ผลจากการคำนวนอายุนี้แสดงถึงยุคที่น่าสนใจมากในการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ในเอเชีย เมื่อหมู่เกาะฟิลิปปินส์และอินโดนนิเชียกับแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผืนดินติดต่อกัน เป็นยุคของการอพยพครั้งแรกสุดของมนุษย์ลงลงไปทางใต้ จากเอเชียตะวันออกเฉิยงใต้สู่นิวกีนีและออสเตรเลีย และเป็นช่วงที่มนุษย์สมัยโบราณพัฒนาจากมนุษย์ไปเป็นมนุษย์สมันใหม่ที่เรียกว่า เครื่องมือชุดไพลสโตชีนที่ถ้าหลังโรงเรียนส่วนมากเป็นเครื่องมือหินกระเทาะ   ที่มีการแต่งขอบภายหลัง  ดังเช่นที่พบในจีนและอินโดยนิเชีย   เครื่องมือหินเหล่านี้คงใช้ในการดำรงชีวิตแบบล่าสัตว์และเก็บพืชผลจากป่ามาบริโภคหลักฐานที่พบนี้แสดงว่าเป็นอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย    สำหรับการขุดค้นใหม่ในปี 2533 ในชั้นดินลึกลงไปอีก      การพบหลักฐานเพื่มเติมครั้งนี้คาดว่าคงจะมีอายุเก่าแก่ กว่าเดิมอย่างแน่นอน             8.2.  ประวัติตามคำบอกเล่ม                                บริเวณนี้เป็นหมู่บ้านชื่อ ทับปริก ชาวบ้านสว่วนใหญ่อพยพมาจากเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง มาตั้งหลักแหล่งอยู่สมัยเมื่อยังเป็นป่า คำว่า ทับ หมายถึงกระท่อมที่ใช้เป็นที่พับชั่วคราว     ปริก  เป็นชื่อต้นไม้ยื่ยต้นชนิดหนึ่งใช้ทำยาได้                ในย่านนี้คงมีต้นไม้จำนวนมากในอยู่มากในสมัยนั้น เมื่อผู้คนอพยพเข้าไปตั้งทับกระท่อมอยู่แถบนั้น           เมื่อเป็นบ้านใหญ่ขึ้นจึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า ทับปริก            อีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า บริเวณนี้แต่เดิมอยู่ใกล้ลำคลองใหญ่ สามารถย้อนต้นน้ำขึ้นไป ลัดช่องเขาไปออกทางอ่าวลึกและเขาพนมได้ จึงเป็นเส้นทางที่จะผ่านไปมาได้   ครั้งหนึ่งท่านเจ้าเมือง           (ไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ได) ได้ผ่านมาเยี่ยมเยียนชาวบ้านได้ปลูกทับขึ้นริมคลอง      เพื่อเป็นที่พักของท่านเจ้าเมือง    ชื่อต่อมาได้กลายมาเป็นชื่อ ทับปริก 8.3.  ปรากฏการณ์      วัตถุโบราณบางแห่งมีอิทธิพลต่อความเชื่อของชาวบ้าน  ไม่กล้าเข้าไปขุดทำลายหรือนำไปครอบครองเป็นส่วนตัว    เชื่อว่าจะเกิดความเป็นไปต่าง ๆ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านทับปริกคนปัจจุบันได้เล่าว่า เมื่อไม่นานมานี้ลูกจ้างผู้ช่วยขุดค้นของ ดร.ดักลาส  ดี. แอนเดอร์สัน คนหนึ่ง ได้แอบเอากำไลหอยไปเป็นสมบัติส่วนตัวชิ้นหนึ่ง ปรากฎว่าเขาเกิดล้มป่วยลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดการฝันร้ายหวาดผวา  ใคร ๆ ก็บอกว่าเพราะเขาเก็บเอากำไลหอยซึ่งเป็นสมบัติของคนตายมาไว้นั่นเอง     เขาก็เอากำไลชิ้นนั้นไปคืนไว้ที่เดิมก็ปรากฎเขาหายป่วยเป็นปกติ.  แหล่งถ้ำไสไทยบ้านคลองจิหลาด ตำบลไสไทย อำเภอเมือง          จังหวัดกระบี่                                                    รุ้ง       8      5     -                   เหนือ
                                                    แวง     98      52      30                    ตะวันออก 
 1.  อาณาเขต    ทิศเหนือ                            แนวพืดเขาและสวนยางพารา    ทิศใต้                                 แนวป่าและทะเล    ทิศตะวันออก                   สวนยางพารา    ทิศตะวันตก                      แนวพืดเขาหินปูน2.  เส้นทางคมนาคมแหล่งถ้ำไสไทย (ช้างสี) ตั้งอยู่ริมถนนสายกระบี่ หนองทะเล  ที่บ้านคลองจิหลาด  ตำบลไสไทย  อำเภอเมืองกระบี่  ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ  7  กิโลเมตร  มีรถยนต์รับจ้างผ่านไปบ้านหนองทะเล  หรือรถยนต์ที่รับผู้โดยสารไปหาดนพรัตนธาราและอ่าวนางผ่านตลอดเวลา3.  สภาพทางภูมิศาสตร์                สภาพทั่วไปเป็นที่ราบระหว่างหุบเขาค่อยลาดเทลงไปทางตะวันออกและทางทิศใต้ไม่ไกลจากทะเลมากนัก  พรรณไม้ทะเลจากสภาพของป่าเลนเดิมยังปรากฎอยู่ทั่วไปทางด้านที่ติดกับทะเลระหว่างหุบเขาใกล้เคียงกลายเป็นสวนยางพาราและสวนผลไม้ของชาวบ้านเพราะเป็นแหล่งที่มีดินอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดกระบี่4.  ลักษณะของแหล่ง     4.1  เป็นโพรงถ้ำในภูเขาหินปูน     4.2  มีซากหอยเกาะจับอยู่ตามผนังถ้ำทั่วไป   อันบ่งบอกถึงถ้ำและภูเขาที่น้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน     4.3  ภายในถ้ำแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนหน้าติดกับถนนเป็นเพิงเข้าไปไม่ลึกนัก  ถ้ำตอนในอยู่สูงขึ้นประมาณ 3 เมตร  เป็นโพรงถ้ำกว้างและทะลุไปอีกด้านหนึ่งได้5.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์     5.1  ขวานหิน  จากคำบอกเล่าทั่วไปไม่แน่ใจว่าผู้ใดเก็บได้     5.2  พระพิมพ์ดินดิบ  จากคำบอกเล่นเช่นเดียวกัน  และบอกว่าความเก่าใกล้เคียงกับที่พบบริเวณแหล่งเขาขนาบถ้ำ    325.3     เทวรูปสำริดขนาดเล็กเช่น พระคเนศ ฤาษี รูปลิง (คงหมายถึงหนุมาน)5.4    รูปคล้ายเจดีย์สำริด ภายในบรรจุด้วยวัดถุสีทองและดวงแก้วใส ชาวบ้านเรียนกันว่า  กรอบแก้ว        คุณนิวัติ  วัฒนยมนาพร ได้รับตกตกทอดมาจากบิดาเก็บไว้ 6.    แนวทางในการพัฒนา                    เป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาติศาสตร์และโบราณคดี ซึ่งนักโบราณคดีระบุว่า แหล่งถ้าใส ไทนเป็นแหล่งโบราณคดีหลายสมัยในที่เดียวกัน กล่าวคือนอกจากเป็นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์แล้วยังเป็ยหลั่งแรกเริ่มประวัติศ่ตร์และและสมัยประวัติศาตร์ แต่มีได้ต่อเนื่องทางวัฒธรรมและอายุสมัย จึงน่าจะช่วยกันอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา7.    สภาพปัจจุบัน               7.1.   แหล่งที่ตั่งตัวใกล้ชิดกับถนนมากเพียง 2 3 เมตร อาจได้รับกระทบสำหรับการพัฒนาขยายถนนในอนาคต7.2.   ถ้าสายไทยอยู่ในเส้นทางพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด คือเส้นทางที่จะผ่านไปหาดนพรัตน์ธาราและอ่าวพระนาง7.3.   ร่องรอยการขุดคุ้ยทำลายภายในถ้ามีอยู่ทั่วไป8.        ประวัติของแหล่ง8.1    ประวัติทางโบราณคดีนักโบราณคดีจากกรมศิลปากรเคยเข้าสำรวจ  จากหลักฐานต่าง ๆ ที่เก็บได้พออนุมานได้ว่าถ้ำไสไทยนอกจากเป็นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์แล้ว  ยังเป็นสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์   สมัยประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์อีกด้วย                          วัตถุสมัยประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่  คงจะเป็นพระพิมพ์ดินดิบ  ที่น่าจะเป็นสมัยเดียวกันกับแหล่งขนาบน้ำ  แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้เก็บบางรายมิได้เห็นความสำคัญปล่อยให้สูญหายและแตกทำลาย  ซึงหลายท่านย่อมรับว่าเคยมีวัตถุเหล่านั้น  นอกจากนี้ก็มีเทวรูปขนาดเล็กในศาสนาฮินดู  เชื่อว่านักเดินทางคงจะนำติดตัวเข้ามา  เพราะกระบี่อยู่ในเส้นทางขอบพวกพ่อค้าและนักแสวงโชคทั้งหลาย  ที่จะเดินทางข้ามฝั่งตะวันตกไปสู่ตะวันออก  ดินแดนฟากนี้จึงเป็นประตูแรกที่จะเปิดไปสู่สุวรรณภูมิ  ฉะนั้นบนเส้นทางคลองท่อม  ปากลาว  คลองปกาไส  คลองกระบี่น้อย  คลองกระบี่ใหญ่  (แหล่งขนาบน้ำ)  ล้วนพบหลักฐานเป็นจำนวนมาก8.2    ประวัติจากคำบอกเล่าถ้ำไสไทย ( ช้างสี ) อยู่ที่บ้านคลองจิหลาด ตำบลไสไทย คำว่า จิหลาด  ยังไม่ทราบความหมายแน่ชัด  มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นคำภาษามลายูว่า จีลัท   แปลว่า  ซัด สาด  เช่น  เสียงคลื่นซัดฝั่ง  การสาดของคลื่น  สภาพเดิมของคลองจิหลาดน้ำทะเลขึ้นถึง  เพิ่งตื้นเขินไปเมื่อไม่นานมานี้เอง  ยังพอมองเห็นร่องรอยทะเลอยู่  ถ้าคำว่า จิหลาด  มาจากคำ จีลัท คงแปลว่า  แหล่งที่คลื่นซัดสาดถึง   คำว่า      ไสไทย                        ไส แปลว่า  แหล่ง บ้าน ที่ทำกิน  ป่าที่เราหักร้างเข้าไปเราเรียกกันว่า  ป่าไส            ไสไทย จึงแปลว่า แหล่งที่คนไทยเข้าไปหักร้างถางพงสร้างบ้านแปลงเมือง  หมายถึงบ้านไทยนั่นเอง  สมัยที่ยังเป็นป่าดิบบริเวณนี้มีสัตว์ป่านานาชนิด  ลิง  งู  เสือ  ช้างนั่นมากที่สุด  ชาวบ้านเลยพบฝุงช้างป่าเดินเลียบถ้ำอยู่เสมอ  บางครั้งก็หยุดพักผ่อน  เอาเนื้อตัวถูกับผนังถ้ำนานเข้าถ้ำที่ยังไม่มีชื่อก็เรียกกันว่า  ถ้ำช้างสี ประดิษฐกรรมที่น่าสนใจพวกเจดีย์สำริดขนาดเล็ก  พลไม่มากนักในบริเวณถ้ำกระบี่  จนบางท่านบกว่าเป็นวัตถุปลอมแปลง  บ้างก็วาเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง  พิจารณาดูแล้วมองไม่เห็นเหตุผลวาจะปลอมขึ้นเพื่ออะไร  เพราะไม่ใช่วัตถุที่บรรดานักเล่นของเก่าจะนิยม  ท่านพระครูอาทรสังวรกิจ  เจ้าอาวาสวัดคลองท่อมท่านให้เหตุผลที่น่าพิจารณาว่า  เจดีย์สำริด (ชาวบ้านว่า กรอบแก้ว เพราะดวงแก้วอยู่ภายในมองเห็นได้จากช่องที่เจาะไว้ทั้งสี่ด้าน)  เป็นวัตถุทางพุทธศาสนาที่พวกอินเดียนำติดตัวเข้ามาประมาณต้นพุทธกาล  โดยกล่าวว่า  ครั้งหนึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ 84,000 องค์เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์เพื่อเป็นพุทธบูชาและเผยแพร่พุทธศาสนา  ฉะนั้น  พระเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกทรงจัดสร้างนั้นน่าจะเป็นเจดีย์ขนาดเล็กมากกว่าพรเจดีย์องค์ใหญ่  ( ซึ่งต้องลงทุนมากและไม่มีวันจะสร้างให้ครบจำนวนได้ ) เมื่อสร้างแล้วก็แจกจายกันไปแก่บรรดาผู้นับถือทั้งหลาย  นำติดตัวไปบูชาตามปรารถนาของตน ข้อสันนิษฐานนี้จึงมิควรละเลยไปเสียทีเดียว 8.3    ปรากฏการณ์คุณนิวัฒน์  วัฒนยมนาพร  เป็นผู้หนึ่งที่เก็บพระเจดีย์สำริดตกทองมาจากบิดาเล่าถึงเรื่องการได้มาของวัตถุว่า  ได้ใช้วิถีนั่งทางในเพื่อค้นหา  บางครั้งต้องข้ามเขาไปตั้งหลายลูกจึงจะพบแหล่ง  เมื่อผู้กระทำพิธีชี้ลง    ที่ใดก็ขุดตรงนั้น  แม้แต่ผนังถ้ำที่ดูทับไปหมด  แต่เมื่อเจาะเข้าไปก็จะพบโพรงถ้ำและวัตถุดังกล่าว  วัตถุชนิดนี้ยังขุดพบบริเวณถ้ำอื่นอีกด้วย  ซึ่งส่วนใหญ่มักเก็บเป็นสมบัติส่วนตัว                ปรากฎการณ์ที่น่าพิสวงอีกประการหนึ่งจากคำบอกเล่า  ในการขุดพบพระเจดีย์สำริดชิ้นหนึ่งมีดวงแก้วสวยงามมากอยู่ข้างใน  ผู้กระทำพิธีบอกว่าชิ้นนี้ให้เก็บไว้กับตัว  ห้ามให้ผู้อื่นเป็นอันขาด มิฉะนั้นแล้วจะมีอันเป็นไป  อยู่มาวันหนึ่งมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้บังคับบัญชาของบิดาได้หามา  เห้นวัตถุชิ้นนั้นก็ชอบใจและขอไป ด้วยความเกรงใจผู้บังคับบัญชาจึงจำใจให้ไปและมิได้คิดว่ามันจะเกิดเหตุร้ายอะไร หลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน บิดาก็ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม..หลายคนก็บอกว่าเป็นเพราะได้ให้วัตถุนั้นไปกับคนอื่น  เรื่องนี้จะเป็นการประจวบเหมาะหรือเป็นเรื่องลึกลับก็ไม่สามารถจะบอกได้  และปรากฏการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว.  เพิงหินหน้าชิง บ้านหน้าชิง  ตำบลกระบี่น้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดกระบี่                                                                                รุ้ง         8        8      -      เหนือ                                                                         แวง     98     55     50     ตะวันออก                                 1.       อาณาเขตทิศเหนือ                เป็นสวนยางพาราของชาวบ้านทิศใต้                     เป็นสวนยางพาราและบ้านเรือนทิศตะวันออก       หมู่บ้านและถนนลูกรังทิศตะวันตก          สวนยางพารา2.       การคมนาคมบ้านหน้าชิงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดกระบี่ประมาณ  10  กิโลเมตร  โดยใช้เส้นทางเดียวกับแหล่งถ้ำเสือกระบี่น้อย  คือถนนเพชรเกษมช่วงกระบี่ตรัง  มีถนนแยกเข้าวัดถ้ำเสือแล้วต่อไปบ้านหน้าชิงประมาณ  4  กิโลเมตร3.       สภาพทางภูมิศาสตร์สภาพทั่วไปเป็นที่ราบ  มีภูเขาหินปูนลูกโดด ๆ เป็นแนวจากเขาถ้ำเสือ  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน  มีห้วยเล็ก ๆ ชื่อ     ห้วยส้มแจก      ไหลผ่านไปลงคลองกระบี่น้อย4.       ลักษณะของแหล่ง4.1    เพิงผาในเทือกเขาหินปูน4.2    ความสูงจากระดับพื้นดินประมาณ  10  เมตร5.       หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ5.1    ชิ้นส่วนหม้อสามขา5.2    ขวานมีดหินขัด5.3    เครื่องมือสะเก็ดหิน5.4    กระดูกคนและสัตว์5.5    โกลนวัตถุเหล่านี้คณะสำรวจของ  ดร. ดักลาส ดี. แอนเดอร์สัน  และคณะสำรวจงานวิชาการกองโบราณคดี  กรมศิลปากรรวบรวมไว้  ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่เก็บชิ้นส่วนหม้อสามขาและกระดูกสัตว์บางส่วนประมาณ 3-5 ชิ้น 6.    แนวทางในการพัฒนา        เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดี  ถึงสภาพถ้ำและเพิงผาอันเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์7.    สภาพปัจจุบัน              7.1   มีร่องรอยชาวบ้านเข้าไปขุดเอาดินฟอสเฟต ( ดินขี้ค้างคาว )  มาเพื่อใช้ทำปุ๋ย              7.2   เป็นถ้ำที่มิได้อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว  จึงมิถูกรบกวนจากภายนอกมากนัก8.    ประวัติของแหล่ง               8.1   ประวัติทางโบราณคดี               จากการสำรวจของนักโบราณคดี  จัดเข้าประเภทแหล่งสำรวจทางโบราณคดีเดิมเป็นแหล่งที่พบหลักฐานตามคำบอกเล่า  แล้วเข้าไปปฏิบัติงานทางโบราณคดีเบื้องต้นมีรายละเอียดเกี่ยวกบแหล่งอย่างแน่นอนตามคำบอกเล่า  เกี่ยวกับหลักฐาน  แต่มิอาจระบุอายุสมัยได  เพียงบอกได้ว่าเป้ฯแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์  การสำรวจครั้งแรกเริ่มด้วยพระอาจารย์จำเนียร  สีลีเสฏโฐ  แห่งสำนักวิปัสนาถ้ำเสือกระบี่น้อยซึ่งอยู่ใกล้เคียงแจ้งให้ทางกรมศิลปากรทราบ  ดร.ดักลาส  ดี.  แอนเดอร์สัน  และคณะเข้าสำรวจในปี  พ.ศ.2522.  แหล่งถ้ำเสือบ้านถ้ำเสือ  ตำบลกระบี่น้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดกระบี่                                                                                รุ้ง  8  7  25   เหนือ
                                                                                แวง   98   55  40
 1.  อาณาเขต       ทิศเหนือ                         เป็นพืดเขาและสวนยางพารา       ทิศใต้                              เป็นสวนยางพาราและที่ราบต่ำลงไป       ทิศตะวันออก                                เป็นที่ราบลาดต่ำลงไปมีสวนยางพาราและสวนปาล์ม       ทิศตะวันตก                   เป็นพืดเขา2.  เส้นทางคมนาคม        สามารถเดินทางไปได้สะดวก  ห่างจากตัวจังหวัดกระบี่ประมาณ  9 กิโลเมตร     การเดินทางเริ่มต้นจากสี่แยกบ้านตลาดเก่าตามถนนสายกระบี่ ตรัง  ประมาณ 2 กิโลเมตร  ถึงปากทางเลี้ยวซ้ายเข้าถ้ำเสืออีกประมาณ 2 กิโลเมตร3.  สภาพทางภูมิศาสตร์       3.1     เป็นเขาหินปูนพืดติดต่อกับหลายลูก  หน้าเพิงถ้ำหันไปทางตะวันออก  ซึ่งลาดลงไปสู่ที่ราบ       3.2      สภาพแวดล้อมพืดเขา  สวนยางพาราและสวนปาล์มของชาวบ้าน       3.3  พืดเขาด้านในทางทิศเหนือเป็นหุบเขาเรียกกันว่า หุบเขาคีรีวง มีเขาล้อมอยู่ทุกด้านมีถ้ำต่างๆมากมายพร้อมต้นไม้ใหญ่ๆ ที่มีสภาพป่าดั้งเดิมอยู่มาก4.  ลักษณะของแหล่ง       4.1    เพิงผาและโพรงถ้ำในเทือกเขาหินปูนมีหลายถ้ำใกล้เคียงกัน       4.2    เพิงถ้ำด้านหน้ายาวขนมนไปกับพืดเขาสูงจากพื้นดินประมาณ  5 เมตรา       4.3    เป็นแหล่งโบราณคดีสองสมัยในที่เดียวกัน      4.4      เป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ถ้ำเสือ  5.  หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ       5.1  เครื่องมือหิน     5.2  พระพิมพ์ดินดิบ      5.3  เศษาภาชนะเครื่องปั้นดินเผา                วัตถุที่พบพระอาจารย์จำเนียร  สีลเสฏโฐ  ประธานสงฆ์สำนักถ้ำเสือเป็นผู้เก็บรักษาไว้ที่วัดถ้ำเสือเป็นจำนวนมาก  และบางส่วนอาจอยู่ในความครอบครองของชาวบ้าน396.  แนวทางในการพัฒนา      6.1  เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดี  เนื่องจากมีการพบวัตถุโบราณจากถ้ำต่างๆภายในถ้ำเสือที่ทางวัดได้เก็บไว้ 6.2     เป็นศูนย์กลางทางศาสนพิธี  เพราะมีสำนักสงฆ์เข้าไปตั้งอยู่  ปฏิบัติธรรมกรรมฐานมีพระภิกษุและ   แม่ชีอยู่นับร้อยๆรูป มีพระอาจารย์จำเนียร  สีลเสฏโฐเป็นประธานสงฆ์เป็นที่เคารพนับถือกันทั่วไป6.3     เป็นแหล่งท่องเที่ยว  เนื่องจากสภาพทั่วไปเป็นภูเขาแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สงบร่มรื่น  มีต้นไม้ใหญ่ๆ อายุนับร้อยๆปีภายในหุบเขา  มีถ้ำเล็กถ้ำน้อยที่น่าสนในหลายถ้ำบนยอดเขามีรอยหินคล้ายรอยพระพุทธบาทที่ท้าทายนักปีนเขาให้ขึ้นเที่ยวชม  บริเวณวัดก็ได้รับการตกแต่งไว้อย่างสวยงาม 7.  สภาพปัจจุบัน                7.1  สำนักสงฆ์ถ้ำเสือได้เข้าไปสร้างสิ่งก่อสร้างในเพิงผาและหุบเขา                7.2  ถ้ำเล็กถ้ำน้อยในหุบเขาด้านในถูกดัดแปลงให้เป็นที่พำนักของพระสงฆ์วิปัสสนา                7.3  ทางวัดได้บุกเบกภูเขาบางส่วนเพื่อสร้างบันไดขึ้นไปสู่รอยพระพุทธบาท                7.4  ต้นไม้และสัตว์ป่าบางชนิดได้รับการอนุรักษ์ไว้ด้วยเขตอภัยทาน                7.5  ถ้ำเสือถูกจัดเข้าอยู่ในโปรแกรมหนึ่งของเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่8.  ประวัติแหล่ง8.1     ยุคสมัยทางโบราณคดีนายประทุม  ชุ่มเพ็งพันธุ์  ได้มาสำรวจถ้ำในปี พ.ศ.2512  คณะสำรวจงานวิชาการ  กองโบราณคดีกรมศิลปากร  ได้มาศึกษาโบราณวัตถุที่ทางวัดเก็บไว้  และในปี พ.ศ. 2522  ธราพงศ์  ศรีสุชาติ และคณะได้มาศึกษาเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2533  จากการศึกษาทำให้ทราบข่าวว่าถ้ำเสือเป็นแหล่งโบราณคดี 2 สมัยในที่เดียวกัน คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์  8.2     ประวัติจากการบอกเล่า                สมัยที่บริเวณนี้ยังเป็นป่ารก  ชาวบ้านได้พบเห็นเสือโคร่งเดินเข้าออกแถบถ้ำนี้อยู่เสมอ จึงเรียกกันว่า  ถ้ำเสือ  และเป็นชื่อหมู่บ้านนี้ด้วย  เมื่อพระอาจารยจำเนียร สีลเสฏโฐมาบุกเบิกใหม่ๆ  ได้เล่าว่า ได้พบคนแปลกหน้าคนหนึ่งในหุบเขา คีรีวง ท่านได้ถามว่าภายในถ้ำนีเป็นอย่างไรบ้าง  ชายผู้นั้นได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆอีกมากมาย  โดยเล่าว่า  เมื่อประมาณ 1200  ปี มาแล้วหุบเขาถ้ำเสือเป็นเกาะใกล้ทะเล  ครั้งหนึ่งมีชาวเมืองไทรบุรี ได้ทราบข่าวการสร้างพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช  จึงพากันนำทรัพย์สินเงินทองจะมาบรรจุไว้ในพระธาตุ  เรือถูกพายุมาติดที่บริเวณถ้ำเสือเป็นเวลาช้านาน ผู้คนเหล่านั้นต่างก็ล้มตายไปหลายคน  ต่อมาก็ทาบว่าการสร้างพระบรมธาตุได้เสร็จสิ้นแล้ว  พวกที่เหลือก็เอาทรัพย์สมบัติฝังไว้ในถ้ำ  ช่วยสะกัดก้อนหินปากถ้ำไว้  โดยอาศัยระบบน้ำย่อยจนปากถ้ำแห้งสนิท                ต่อมาอีกหลายร้อยปีทะเลบริเวณนี้ ได้ตื้นเขินกลายเป็นป่าเสน  ผู้คนได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งกลายเป็นที่พกของพวกพ่อค้าเดินทางไปมา  หรือข้ามแหลมจากตะวันตกไปตะวันออก  พระอาจารย์จำเนียรฯกล่าวว่าชายคนนี้เล่าเหมือนเขารู้ประวัติศาสตร์ดีแต่จะเชื่อได้แค่ไหนขอให้ช่วยพิจารณาดู หลักจากนั้นท่านบอกว่าไม่พบชายคนนั้นอีกเลย  จึงคิดว่าเขาคงเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติภายในทรัพย์แห่งนี้จึงให้ชื่อถ้ำนั้นว่า ถ้ำคนธรรพ์       บริเวณนี้มีคนเคยพบพระพุทธรูปทองคำและวัตถุมีค่าอื่นๆอีกด้วย        ที่ใกล้เคียงกันยังมีถ้ำเล็กน้อยอีกมาก     เช่น ถ้ำปลาไหล  ถ้ำลูกธนู  ถ้ำช้างแก้ว  เป็นต้น8.3  ปรากฏการณ์                จากการที่พระอาจารย์จำเนียร  สีลเสฏโฐ  มาบุกเบิกใหม่ๆ  แล้วพบกับคนแปลกหน้าในหุบเขาตามที่เล่ามาแล้ว  ภายหลังเขาหายไปอย่างลึกลับ  หลายคนเชื่อว่าเขาเป็นวิญญาณเจ้าของทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ในถ้ำมาปรากฏตัวให้เห็น                บนยอดเขาถ้ำเสือมีพระและชาวบ้านพบเห็นดวงไฟลอยขึ้นลงอยู่เสมอ  จึงคิดว่าน่าจะมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่บนยอดเขา  ภายหลังได้มีการค้นหาได้รอยเท้าขนาดใหญ่อย่างหยาบๆอยู่บนพื้นดินบนยอดเขาสูงสุด  จึงเชื่อกันว่าเป็นรอยพระพุทธบาท  ขณะนี้ทางัดทำบันไดคอนกรีตเพื่อบุกเบิกไปสู่ยอดเขา  ซึ่งจะต้องใช้เวลาพอสมควรจึงจะถึง  คาดว่าจะต้องใช้บันไดไม่น้อยกว่า  2000 ขั้นทีเดียวและอีกไม่นานนักท่องเที่ยวและสาธุชนทั้งหลายก็คงมีโอกาสได้ขึ้นไปชมร่องรอยดังกล่าวพร้อมกับชมธรรมชาติอันกว้างไกลสุดสายตา. แหล่งถ้ำกะโหลก (ถ้ำผีหัวโต)ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่                                                       รุ้ง  8  22  40   เหนือ                                                       แวง  98  40  25    ตะวันออก1.  อาณาเขต                                ทิศเหนือ                                ติดกับคลองท่าปรัง                                ทิศใต้                                     เป็นแนวเทือกเขาและถ้ำบุญมาก  (ถ้ำหัวกะโหลกใน)                                ทิศตะวันออก                       เป็นคลองถ้ำลอด                                ทิศตะวันตก                          ติดกับคลองถ้ำผีหัวโต2. เส้นทางคมนาคม                สามารถเดินทางไปชมได้สะดวก  โดยเริ่มจากสี่แยกตลาดอ่าวลึกเหนือ  ไปตามถนนสายอ่าวลึกแหลมสัก  ประมาณ  8  กิโลเมตร  จะมีทางแยกขวามือตามถนนลูกรังไปประมาณ  2  กิโลเมตร  ถึงบ้านบ่อบ่อท่อ  มีเรือหางยาวรับจ้างไปส่งถ้ำหัวกะโหลกและถ้ำอื่นๆอยู่ตลอดเวลา3.  สภาพทางภูมิศาสตร์                     เป็นภูเขาหินปูนตั้งอยู่ในเทือกเขาภูเก็ตหรือแนวภูเขาในกลุ่มหินราชบุรี  มีเส้นทางน้ำกร่อยล้อมรอบอยู่หลายด้าน เช่น  คลองท่าปรัง  คลองถ้ำลอด  คลองถ้ำผีหัวโต  แวดล้อมด้วยป่าโกงกาง  แสมตะบูนที่ยังเป็นป่าสมบูรณ์4.  ลักษณะของแหล่ง4.1       เพิงผาและโพรงถ้ำในภูเขาหินปูน4.2      โพรงถ้ำแบ่งเป็น 2 คูหาใหญ่ๆ ต่อกัน4.3      มีภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่ทั้งสองคูหา4.4      ตัวถ้ำสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 30-35  เมตร  อยู่ชิดลำคลองผีหัวโต5.  หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ                ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์   ไม่พบหลักฐานอื่นๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา  เครื่องมือ เครื่องใช้ เป็นต้น  สำหรับภาพเขียนมีอยู่จำนวนมากประมาณ  30-40 ภาพ  พอแบ่งได้ 3 ลักษณะกว้างๆ คือ-         ภาพคนและสัตว์-         ภาพที่ดูไม่ออกว่าคนหรือสัตว์-         ภาพอวัยวะ  เช่นมือและเท้า  5.2       ภาพของคนที่เขียนเป็นร่าง  โครงร่างเฉพาะส่วนสำคัญในอิริยาบถต่างๆ  ไม่แสดงรายละเอียดมากนักมีหลายขนาด5.3      ภาพสัตว์  มีภาพปลามากที่สุดเขียนหลายรูปแบบ  เป็นลายเส้นก็มี  ลงสีทึบก็มี  นอกากนั้นมีภาพสัตว์อื่นๆ เช่นกุ้ง  เม่น จระเข้  นกและสัตว์เลื้อยคลาน5.4      ภาพเด่นพิศษที่ไม่แน่ใจว่าภาพคนหรือสัตว์  เป็นภาพที่อยู่บนเพดานถ้ำ  เขียนด้วยสีแดง ชัดเจน ถ้ามองในแนวตั้งเสื้อคลุมยาง  มีเครื่องประดับศรีษะ  ถ้ามองในแนวนอนก็คล้ายสัตว์จำพวกแพะภูเขา  บางท่านก็ให้เหตุผลว่า  เป็นภาพผสมระหว่างคนและสัตว์  หรือไม่ก็เป็นภาพเทพเจ้าที่พวกเขาจินตนาการขึ้นมานับถือหรือประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อก็ได้5.5      ภาพมือและเท้า  ภาพมือปรากฏอยู่บนผนังถ้ำ  ข้างหนึ่งมีนิ้ว 5 นิ้ว อีกข้างมีนิ้วตามปกติระบายสีภาพเท้าที่เขียนไว้โดดๆไม่มี5.6      ภาพเขียนเส้นอื่นๆ  ที่เรียกกันว่าภาพเรขาคณิต  มีอยู่อีกจำนวนมาก5.7      สีที่ใช้ในการเขียน  เป็นสีแดง  สีดำ  สีน้ำตาลแกมแดงหรือเข้ม  นักโบราณคดีกล่าวว่าคงได้มาจากวัตถุที่มีสีอยู่ในตัว  เช่น แร่แมงกานีส  เลือดผสมไขสัตว์  เมล็ดพืชบางชนิด  สีดำจากถ่าน เป็นต้น6.  แนวทางในการพัฒนา6.1       เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดี  ศึกษาภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์  ศึกษาเรื่องราวทางวัฒนธรรมจากภาพกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์โบราณบันทึกไว้ในบริเวณอ่าวพังงา-อ่าวลึก จะมีภาพเขียนสีทำนองเดียวกันนี้อยู่เป็นจำนวนมากอาจกล่าวได้ว่าเป็นแหล่งอาศัยและประกอบกิจกรรมของมนุษย์สมัยโบราณแหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของประเทศไทย6.2       เป็นแหล่งท่องเที่ยว  ชมภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์  ความสวยงามของถ้ำและธรรมชาติทางทะเล7.  สภาพปัจจุบัน7.1       ความสำคัญของแหล่ง  เป็นถ้ำภาพเขียนสีในภูเขากลางน้ำ  เป็นหลักฐานอันสืบค้นไปสู่การเคลื่อนย้ายอพยพของมนุษย์โบราณ7.2      นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเที่ยวชมไม่ขาดระยะตลอดทั้งปี  ทำให้ชาวบ้าน มีอาชีพในธุรกิจท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง7.3      ภาพเขียนสีบางส่วนถูกทำลายด้วยน้ำมือนักท่องเที่ยวที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยการขูดขีดให้ลบเลือน  หรือเอาสีวาดรูปอื่นๆทับลงไป  บางภาพกลบเลือนไปโดยธรรมชาติจากน้ำและหินปูน8.  ประวัติของแหล่ง8.1       ยุคสมัยของโบราณคดีนักโบราณคดีที่ศึกษาเรื่องนี้ให้ความเห็นว่า  ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์สร้างผลงานเหล่านี้หรือบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน  พิธีกรรมความเชื่อ  หรือใช้สื่อสารกันระหว่างกลุ่มก็ได้  กลุ่มชนเจ้าของภาพมีทั้งชุมชนชาวน้ำ  หรือพวกที่อาศัยอยู่ตามถ้ำเกาะแก่งทั้งหลายในอ่าวพังงา-อ่าวลึกที่ล้อมรอบอยู่  และชุมชนพื้นราบที่อาศัยถ้ำป่าเขาสัญจรทางบกเป็นกลุ่มชนหาของป่า ล่าสัตว์ เป็นต้นภาพเขียนสีที่ถ้ำนี้น่าจะเป็นของกลุ่มชนชาวน้ำ  อาจเป็นบรรพบุรุษของกลุ่มชาวเลในปัจจุบันก็ได้  แต่จาการสำรวจพบว่ามีการเขียนภาพทับซ้อนกันอยู่ก็มี  อาจเป็นไปได้ว่ามีกลุ่มชนหลายกลุ่มผ่านเข้ามาทำกิจกรรมในถ้ำแห่งนี้  สำหรับอายุสมัยของภาพเขียนไม่สามารถระบุได้แน่นอน  แต่พออนุมานได้อย่างกว้างๆ น่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง  3,000 – 5,000     ปีก่อนประวัติศาสตร์ 8.2 ประวัติท้องถิ่นถ้ำหัวกะโหลกหรือถ้ำผีหัวโตชาวบ้านแถบนี้ รู้จักกันมานาน  เดิมพบเศษกระดูกและหัวกะโหลกคนขนาดใหญ่   ภายหลับสูญหายไปกับนักท่องเที่ยวในสมัยแรกๆ  จากการพบหัวกะโหลกคนนี่เอง  จึงเรียกชื่อกันต่อมาว่า ถ้ำผีหัวโต กลุ่มชาวบ้านทั่วไปมิได้สนใจต่อภาพเขียนในถ้ำเท่าใดนัก  นอกจากจะไปขุดค้นหาสมบัติที่ฝังดิน  ภาพเขียนสีในอ่าวพังงา อ่าวลึกเป็นที่รู้จักกันทั่วไป  จากบทความของนักโบราณคดีตะวันตก  นายเอเตียน  เอ็นมองต์  ลูเนท์  เดอ  ลาจงกีแยร์  เสนอไว้ในความเรียง  เรื่องโบราณคดีสยาม  เมื่อปี พ.ศ.2455  ในปี พ.ศ. 2520 นายเสวก   ณ ถลาง หัวหน้าหน่วยการศึกษาอำเภออ่าวลึกได้บันทึกเรื่องราวการพบถ้ำและภาพเขียนลงในหนังสือจังหวัด  และในปี พ.ศ. 2528  นางจัง  บูลเบท์ ได้มาศึกษาเพิ่มเติมออกไปอีกหลายแหล่ง  และทาง ดร.ดักลาส  ดี.แอนเดอร์สัน  ได้มาสำรวจและเสนอบทความในวารสารทางโบราณคดี  หลังจากนั้นก็มีการสำรวจอีกหลายคณะ มาศึกษาจึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปจนกระทั่งทุกวันนี้.  ถ้ำบุญมาก  (ถ้ำกะโหลกใน)บ้านบ่อท่อตำบลอ่าวลึกใต้อำเภออ่าวลึกจังหวัดกระบี่รุ้ง                           8   16     40                            เหนือแวง                         98  38    20                            ตะวันออก_____________________________________________________________________1.  อาณาเขตทิศเหนือ                                                                ถ้ำผีหัวโตและคลองท่าปรังทิศใต้                                                     เป็นแนวเทือกเขาทิศตะวันออก                                       เป็นคลองถ้ำลอดทิศตะวันตก                                          คลองถ้ำผีหัวโต2.  เส้นทางคมนาคมการไปมาสะดวกโดยใช้เส้นทางเดียวกันกับการไปถ้ำผีหัวโต  ลงเรือที่ท่าเรือบ่อท่อไปถึงถ้ำผีหัวโตก่อน  แล้วต่อเข้าไปตามลำคลองด้านบันไดเข้าถ้ำผีหัวโตไปประมาณ  100 เมตร ก็จะถึงถ้ำ    บุญมาก3.  สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นภูเขาหินปูนตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาภูเก็ต  หรือในกลุ่มแนวภูเขาในกลุ่มหินปูนราชบุรี  มีเส้นทางน้ำกร่อยล้อมรอบ  มีพรรณไม้ทะเลจำพวกแสม  โกงกาง  ตะบูนยังอุดมสมบูรณ์4.  ลักษณะของแหล่ง                4.1  เพิงผาและโพรงถ้ำในภูเขาหินปูน4.2      เป็นแหล่งที่มีความสัมพันธ์กับถ้ำผีหัวโต  (ถ้ำหัวกะโหลก)4.3      สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  3 เมตร5.  หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ                5.1 เศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นลายทับเชือก  หนาและเนื้อหยาบกว่าที่เคยพบในแหล่งอื่นๆ  ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่เก็บไว้ประมาณ 10 ชิ้น6.  แนวทางในการพัฒนา  6.1  เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดี ในเพิงผาหน้าถ้ำมีร่องรอยการอาศัยของมนุษย์สมัยก่อน ประวัติศาสตร์  ได้พบเศษภาชนะ  ดินเผาที่บริเวณนี้จำนวนมาก  และคิดว่าคงจะมีความสัมพันธ์กับผีหัวโตอย่างแน่นอน  ที่นักโบราณคดีน่าจะเข้ามาศึกษา6.2 เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่  สภาพของโพรงถ้ำชั้นในเป็นถ้ำมืดกว้างขวางมากสามารถบรรจุคนได้นับพันๆคน  มีหินงอกหินย้อยสวยงาม  ยังไม่มีรองรอยผู้คนเข้าขีดเขียนทำลาย 7. สภาพปัจจุบัน7.1        เป็นถ้ำที่เพิ่งพบใหม่โดยนายบุญมาก(ไม่ทราบนามสกุล)  เป็นชาวบ้านแถบนั้นยังไม่มีชื่อถ้ำ จึงเรียกชื่อถ้ำ ตามผู้บุกเบิกครั้งแรกว่า ถ้ำบุญมาก7.2        สภาพภายในโพรงถ้ำยังสวยงามด้วยหินงอกหินย้อยน่าชมมาก  ยังไม่มีร่องรอยการขุดคุ้ยทำลายมากนัก7.3        สภาพเพิงถ้ำภายนอกอยู่ริมน้ำอากาศถ่ายเทได้สะดวก8.  ประวัติของแหล่ง                8.1 ยุคสมัยทางโบราณคดีจากเศษภาชนะดินเผาที่เก็บได้จากเพิงถ้ำด้านหน้า  เป็นภาชนะเนื้อหยาบกรวดและทรายมาก  เนื้อหนาประมาณ 1-1.5   ซม.  คิดว่าเป็นชิ้นส่วนของภาชนะขนาดใหญ่  วัตถุโบราณอย่างอื่นยังไม่พบ  ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการขุดค้นทางวิชาการ  ชิ้นส่วนที่พบครั้งนี้เป็นลายเชือกทาบ  คล้ายกับภาชนะดินเผาที่เคยพบที่ถ้ำสระอำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่                เนื่องจากถ้ำดังกล่าวอยู่ห่างจำถ้ำผีหัวโตเพียง 100 เมตร หลักฐานต่างๆจึงน่าจะเป็นยุคสมัยอันเดียวกัน   ผู้คนที่อยู่ในถ้ำผึหัวโต นี้อาจเป็นเจ้าของภาพเขียนบนผนังถ้ำผีหัวโตนักโบราณคดีหลายคนคาดคะเนว่าถ้ำผีหัวโต ไม่พบชิ้นส่วนภาชนะแต่ประการใดนอกจากภาพเขียน  แต่อย่างไรก็ตามน่าจะได้มีการศึกษาร่องรอยในถ้ำแห่งใหม่นี้ต่อไป8.2      ประวัติจากคำบอกเล่านายบุญมาก ( ไม่ทราบนามสกุล )  เป็นผู้พบและได้มาบุกเบิกถ้ำใหม่แห่งนี้เป็นคนแรก  ปัจจุบันคนใกล้เคียงเริ่มรู้จักและลักลอบเข้าไปขุดค้นบ้างแล้ว  และถ้าหากว่าทางการไม่สนใจดูแล  หลักฐานต่างๆอาจถูกทำลายไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ตำนานอื่นๆ เกี่ยวกับถ้ำยังไม่มี                                                                                   ชื่อ         ถ้ำเสือน้อยบ้านถ้ำเสือน้อยอำเภออ่าวอ่างลึกจังหวัดกระบี่                                                                รุ้ง    8     24     15   เหนือ
                                                       แวง  98   41     25   ตะวันออก
1.       อาณาเขต ทิศเหนือ               สวนยางพารา ทิศใต้                  สวนปาลม์น้ำมัน ทิศตะวันออก     สวนปาล์มน้ำมัน ทิศตะวันตก       สวนยางพารา2.       เส้นทางคมนาคม                    สามารถเดินทางไปได้โดยสะดวก โดยใช้เส้นทางอ่าวลึก- แหลมสัดประมาณ  8  กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามลูกรังตามเส้นทางที่จะไปถ้ำหัวกะโหลกผี ผ่านบ้ารบ่อท่อไปประมาณ  2 กิโลเมตร จะมีบ้านจะมีป้ายขวางทางเลี้ยวช้ายไปถ้าเสือน้อย ประมาณ  3  กิโลเมตร หรือจะใช้เส้นทางจากข้างที่ว่าการอำเภออ่างลึก - บ่อแสน ประมาณ  2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปถ้าเทพนิมิตร บรรจบกับเส้นทางเดิมทางไปถ้ำเสือน้อย3.       สภาพทางภูมิศาสตร์3.1. ภูเขาหินปูนลูกโดดค่อนข้างใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบมีลำน้ำสาขาคลองมะรุ่ยไหลผ่านไหม่ไกลจากถ้ำมากนัก3.2.  สภาพพื้นที่ทั่วไป เป็นที่ราบระหว่างภูเขาหินปูน แวดล้อมด้วยสวนสวนยางพารา สวรปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ของชาวบ้าน4.        ลักษณะของแหล่ง4.1    เป็นถ้าในภูเขาหินปูนลูกโดดอยู่บนพื้นที่ราบ4.2    ลักษณะของถ้าแบ่งเป็นสองตอน คือตอนนอกเป็นเพิงผาค่อนข้างกว้างใหญ่และตอนใน               เป็นโพรงถ้า4.3    เป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ถ้ำเสือน้อย       5.   หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ5.1.  ภาชนะดินเผาทรงพานแบบหม้อกลมทรงเตาปูน5.2.  แม่พิมพ์หินทราย5.3.  โครงกระดูกมนุษย์วัตถุบางอย่างท่านพระครูวิเศษบุญญากรเก็บไว้ที่วัดนาเหนือ บางส่วนอยู่ที่วัดถ้าเสือน้อย         สำหรับโครงกระดูกมนุษย์ส่วนหนึงเก็บได้จากถ้ำเสื้อน้อย แต่บางส่วนเก็บมาจากที่อื่น 6.       แนวทางในการพัฒนา6.1     เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณดตี  เพราะเป็นแหล่งที่พบต้อมมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับร่องรอยการเข้าอยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติประวัติศาสตร์6.2    เป็นแหล่งท้องเทียม สถาพถ้ำมีความสวยงามพอใช้สำหรับผู้ที่ชอบป่าเขาและธรรมชาติอันเงียบสงบ6.3    เป็นแหล่งศูนย์กลางการปฏิบัติธรรมของหมู่บ้าน เพราะเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ถ้ำเสือน้อย7         สภาพปัจจุบัน7.1    เป็นที่ตั้งหมู่บ้านถ้าเสือน้อย ( ถ้ำเสือใน )7.2    ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน7.3    เป็นที่ตั้งสำนักงานสงฆ์ถ้ำเสือน้อย7.4    ทางวัดได้พัฒนาถ้าเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมบ้าน โดยการปลูกสร้างเสนาสนะและกุฎิปฏิบัติธรรมในโพรงถ้ำ8         ประวัติของแหล่ง8.1    ประวัติทางโบราณคดีนักโบราณคดีหลานท่านมีความเห็นว่า กลุ่มชนที่ถ้ำเสือน้อยกับภาพเขียนประวัติศาสตร์ในถ้ำฝีหัวโตมีความสัมพันธ์กัน โดยชุมชนเหล่านั้นอาศัยอยู่ตามถ้าต่างๆโดยรอบถ้ำผีหัวโตซึ่งแหล่งถ้ำเสือน้อยก็ไม่ไกลนักนัก แต่เศษภาชนะดินเผาดินเผาที่พบในถ้ำนี้ค่อนข้างประสานกันดี ผสมดินเหนียวมากขึ้นกับทรายละเอียด มักขัดผิวนอกให้เรียบมากกว่าลายเชือกทาบ ค่อยล้างบางและขนาดไม่โตนัก เป็นภาชนะกลุ่มเดียวกับที่พบในถ้ำต้นเหรียถ้ำสระ ถ้ำเขาเขน เป็นต้น 8.2    ประวัติจากคำบอกเล่าสภาพตั้งเดิมบริเวณนี้เป็นป่า เป็นที่อยู่ของสิงสาราสัตว์มากมาย โดยเฉพาะเสื่อโคร่งมักเสือ        เข้าออกบริเวณนี้เสนอ ชาวบ้านจึงเรียนว่า ถ้ำเสือ  แต่ชื่อถ้ำเสือมีพ้องกันมากเช่น ถ้ำเสือที่ตำบลกระบี่น้อย ซึ่งเป็นสำนักวิปัสนาที่มีชื่อเสียง เมื่อพระภิกษุได้มาบุกเบิกถ้าแงนี้เป็นสำนักสงฆ์ใหม่ขึ้นจึงเรียกว่า ถ้ำเสือน้อย ความจริงชื่อหมู่บ้านเรียกว่า ถ้ำเสือใน ทั้งนี้เนื่องจากด้านหน้ายังมีหมู่บ้านถ้ำเสือเหมือนกัน เรียกว่าถ้ำเสือนอก อยู่ไม่ห่างกันนัก                 ชื่อ   ถ้ำเสือนอก (ถ้ำเทพนิมิตร)บ้านถ้ำเสือนอกตำบลอ่าวลึกใต้         อำเภออ่าวลึก                                                                         จังหวัดกระบี่                                                รุ้ง     8     24   15      เหนือ
                                                แวง   98   41   25     ตะวันออก 
1.       อาณาเขตทิศเหนือ     ติดต่อกับสวนปาล์มน้ำมันและป่าช้าบ้านถ้ำเสือนอกทิศใต้         ติดต่อกับบ้านถ้ำเสือในทิศตะวันออก    ติดต่อกับสวนปาล์มน้ำมันและบ้านเรือนของชาวบ้านทิศตะวันตก       ติดต่อกับพืดเขาถ้ำเสือนอก2.       เส้นทางคมนาคม2.1.  จากสี่แยกตลาด อ่างลึกเหนือ  ตามทางสายอ่าวลึก แหลมสักประมาณ 8กิโลเมตร จะมีทางลูกรังแยกทางขวามือไปบ้านบ่อท่อทางเดียวกับไปถ้ำผีหัวโต ต่อจากบ้านบ่อท่อไปประมาณ 2 กิโลกรัม  ถึงทางลูกรังแยกซ้ายมือไปถ้ำเสือนอกประมาณ 200 เมตร ติดกับสวนปาล์มของชาวบ้าน2.2  จากสี่แยกตลาดอ่าวลึกเหนือ ตามทางสายอ่าวลึก-แหลมสัก เสี้ยวขวามือ ตามทางลูกรังสายอ่าวลึก บ่อแสน ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอ ไปประมาณ 2 กิโลเมตรถึงทางลูกรังแยกไปซ้ายมือมีป้ายบอกสำนักสงฆ์เทพนิมิตร ทางแยกสายนี้จะติดต่อกับเส้นทางมาจากบ้านบ่อท่อตามข้อ 2.1                3.  สภาพทางภูมิศาสตร์  ภูเขาตั้งอยู่บนที่ราบเป็นลูกโดดติดต่อกับไปหลายลูกในทาง ตะวันออก เป็นแนวไป ต่อกับพืดเขาถ้ำเสือใน ระหว่างหุบเขาจะเป็นที่ราบสลับกันไป มีป่าไม้และสวนยางพารา สวนปาล์มของชาวบ้าน                4.  ลักษณะของแหล่ง                                4.1.   เพิงผาและโพรงถ้ำอยู่ในภูเขาหินปูน                                4.2.   มีถ้ำใกล้เคียงกันอยู่ 2 ถ้ำ  คือถ้ำเทพนิมิตรมีเผิงผาที่เต็มไปด้วยเปลืยกหอยจำนวนมากมีอุโมงค์น้ำทะลุลอดใต้ถ้า ชั้นบนเป็นถ้ำมือที่กว้างขวาง ถัดไปอีกประมาณ 50 เมตร ในเทือกเดียวกันมีถ้ำสวยงามอีกแห่งหนึ่งเรียกกันว่า ถ้าอรหินต์                4.3.  มีพระสงฆ์เข้าไปบุกเบิกเพื่อจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์เทพนิมิตร                5.  หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ                                                5.1.  เศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ส่วนมากชาวบ้านขุดเผาไป ศูนย์วัฒนธรรม                                                                                                                                                                                 จังหวัดกระบี่เก็บไว้ 2-3 ชิ้น                                                                                                                             5.2    โครงกระดูกพืดหิน5.3    พระพุทธรูปและเครื่องประดับบางอย่าง ทราบว่าอยู่ในความครอบครองของชาวบ้านที่6.             แนวทางในการพัฒนา6.1    เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดี  เพิงผามีร่องรอยการเข้ามาอาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์6.2    เป็นแหล่งท่องเที่ยว  เพราะมีถ้ำอันสวยงามอยู่ใกล้เคียงคือถ้ำอรหันต์วิจิตรไปด้วยหินย้อยระย้า  เหมือนหลอดแก้วผิดไปจากถ้ำอื่น ๆ ที่เคยมี6.3    เป็นแหล่งปฏิบัติธรรมวิปัสนา  มีพระภิกษุเข้าปฏิบัติธรรมกรรมฐาน  เพราะธรรมชาติเงียบสงบไม่ค่อยมีผู้คนเข้าไปรบกวนสมาธิ7.             สภาพปัจจุบัน7.1    นักท่องเที่ยวยังไม่เข้าไปรบกวนมากนัก  เพราะยังไม่เปิดให้ใครรู้จักนอกจากชาวบ้านใกล้เคียง7.2    เพิงพำนักของพระสงฆ์ในโพรงถ้ำอรหันต์ทำให้ดูเกะกะ  ลดความสวยงามของถ้ำลงไป7.3    บางส่วนของถ้ำถูกขุดค้นทำลาย  จากพวกแสวงหาเหล็กไหลและวัตถุโบราณ7.4    นักโบราณคดียังไม่ได้เข้าศึกษาในทางวิชาการ8.             ประวัติของแหล่ง8.1    ยุคสมัยทางโบราณคดี        เนื่องจากถ้ำนี้ไม่ได้มีนักโบราณคดีเข้าไปสำรวจมาก่อนเลย   แต่พิจารณาเศษภาชนะดินเผามีลักษณะเหมือนที่พบในถ้ำเสือน้อย  ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่มากนัก  คิดว่าน่าจะมีอายุรุ่นเดียวกันเพิงผาด้านหลังภูเขาสูงจากพื้นดินประมาณ  15-20 เมตร  มีซากเปลือกหอยทับถมกันเป็นจำนวนมาก  เศษภาชนะส่วนหนึ่งพบบริเวณนี้  จึงน่าจะเป็นเพิงพักของมนุษย์มาก่อน        จากคำบอกเล่าของชาวบ้านที่พบวัตถุเครื่องประดับและพระพุทธรูป  คงจะเป็นของคนรุ่นหลัง ๆ ที่เก็บซ่อนไว้ได้ 8.2    ประวัติจากคำบอกเล่าของชาวบ้านที่พบวัตถุ        นายบุญเลี่ยม  ผจงจิตยางกูร  ซึ่งมีบ้านพักอยู่แถบนั้น  ได้เล่าถึงการพบถ้ำว่า  ชาวบ้านเข้าไปพบเศษเครื่องปั้นดินเผาและพบสมบัติบางส่วน  ได้นำเอาไปใช้เป็นส่วนตัว  ภายหลังผู้นั้นได้กลายเป็นคนเสียสติไป ( ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ) ชาวบ้านเชื่อกันว่าเพราะอาถรรพ์จากทรัพย์โบราณ  ซึ่งเชื่อกันว่าสมัยที่ก่อสร้างพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช  ชาวบ้านแถบอ่าวพังงาได้พยายามรวบรวมทรัพย์สินเงินทองจะนำไปบรรจุในพระบรมธาตุ  แต่การเดินทางสมัยนั้นไม่สะดวกก็ทราบข่าวการสร้างพระบรมธาตุเสร็จแล้ว  จึงพร้อมในกันฝังซ่อนทรัพย์สมบัติไว้ในถ้ำนี้ถ้าพิจารณาตามสภาพแล้ว  ถ้ำเทพนิมิตรบ้านถ้ำเสือนอกก็ไม่ไกลจากลำน้ำอันเป็นเส้นทางคมนาคมของผู้คนในเวิ้งอ่าวพังงา  ที่จะเดินทางข้ามแหลมไปฝั่งตะวันออกโดยใช้เส้นทางปากคลองลาวเขาต่อ ปากพนม    ออกแม่น้ำพุมดวงที่คีรีรัฐนิคมออกไปอ่าวบ้านดอนได้บริเวณนี้จะพบข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์โดยตลอดการแวะเวียนจอดพักเรือตามเพิงถ้ำจึงเป็นเรื่องธรรมดาของผู้คนที่ปฏิบัติกันมาทุกยุคทุกสมัย  จึงพบหลักฐานทั้งเก่าและใหม่ในที่เดียวกัน        8.3   ปรากฎการณ์นายบุญเลี่ยม ผจงจิตยางกูรได้เล่าให้ฟังว่าบริเวณภูเขาลูกนี้เจ้าที่แรง  มักสำแดงนิมิตรให้ปรากฏบ่อยครั้ง พระภิกษุที่ธุดงค์มาบำเพ็ญภาวนาที่นี่  ถ้าไม่ตั้งใจหรือหย่อนยานในธรรมวินัยมักจะถูกเจ้าที่ขับไล่อยู่เสมอ  โดยนิมิตรต่าง ๆ เป็นที่ประจักษ์มาหลายรูปแล้ว  ด้วยเหตุนี้อาจเป็นที่มาของชื่อ  ถ้ำเทพนิมิตร                 ส่วนถ้ำอรหันต์ซึ่งอยู่ใกล้กัน  เชื่อกันว่าในอดีตเป็นสถานที่พระธุดงค์แวะเวียนมาปฏิบัติจนบรรลุธรรมไปหลายองค์แล้ว  เป็นนิมิตรหมายของถ้ำแห่งความสำเร็จ  จึงให้ชื่อว่า ถ้ำอรหันต์ นอกจากนี้ยังมีรอยประหลาดคล้ายเกล็ดงูทอดยาวจากปากถ้ำหายลึกเข้าไปในตรอกลี้ลับชาวบ้านเชื่อกันว่า    เป็นรอยงูใหญ่อาศัยเลื้อยเข้าออกในถ้ำนี้อยู่เสมอ             ชื่อ    ถ้ำสองพี่น้อง  ( เขาปูนเหนือ / เขาปูนใต้ )กลางทะเล      อำเภออ่าวลึก      จังหวัดกระบี่                                                รุ้ง          8        21      30      เหนือ
                                                แวง            98        37     45       ตะวันออก
 1.       อาณาเขตภูเขาหินปูนอยู่กลางทะเลลึกในเวิ้งอ่าวพังงา  ตรงเขตแดนระหว่างจังหวัดกระบี่กับจังหวัดพังงา  ไปทางทิศตะวันตก2.       การคมนาคมสามารถเดินทางไปได้โดยลงเรือหางยาวทีบ้านบ่อท่อ  ตามเส้นทางที่จะไปถ้ำผีหัวโต  นั่งเรือไปทางทิศตะวันตกประมาณ  30-40  นาที ( ขึ้นอยู่กับชนิดของเรือและการขึ้นลงของน้ำและคลื่นลม )  ถ้าคลื่นลมแรงอาจไม่สะดวกในการนำเรือเขาไปเทียบเพราะไม่มีชายหาดให้เรือจอดได้สะดวก3.       สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นภูเขาสองลูก  เรียงกันกลางทะเลลึกทางทิศตะวันตกจากท่าเรือบ้านบ่อตรงระหว่างเขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดพังงาคนละที่กับเกาะสองพี่น้อง ( ถ้ำนาด ) ในเขตอำเภอเมืองพังงา  ในแผนที่เรียกว่า เขาปูนเหนือ เขาปูนใต้  4.       ลักษณะของแหล่ง4.1    เพิงผาในภูเขาหินปูน4.2    ความกว้างของเพิงผาประมาณ 3 เมตร4.3    สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 5 เมตร5.       หลักฐานทางโบราณคดีที่พบพระภิกษุสำรอง ฯ วัดถ้ำเสือน้อยเป็นผู้ค้นพบในปี พ.ศ.2533  ต่อมามีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมาแจ้งคณะสำรวจสิ่งแวดล้อมศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่  วัตถุที่พบ5.1    โครงกระดูก  จำนวนมากไม่น้อยกว่า 40 โครง  ส่วนใหญ่ผุพังเหลือแค่กระโหลกและกระดูกสำคัญบางส่วน  พระภิกษุวัดถ้ำเสือน้อยได้เก็บมาไว้ที่วัดเพื่อพิจารณากรรมฐานยังหลืออยู่ที่เดิมอีกส่วนหนึ่ง5.2    กำไลมือสำริด 2-3 วง เก็บไว้ที่วัดถ้ำเสือน้อย5.3    เศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาทั้งเก่าและใหม่เก็บไว้ที่วัดถ้ำวัดเสือน้อย  ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่  เก็บมาเป็นตัวอย่างรประมาณ 10 ชิ้น 5.4    เครื่องประดับหู  เป็นห่วงเส้นลวดกลมปลายไม่ต่อกัน  นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเกินไป5.5    เครื่องประดับหู  เป็นห่วงกลมปลายไม่ตัดกัน  ทำด้วยไม้  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  1  นิ้ว  เก็บไว้ที่ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่6.       แนวทางการศึกษาเป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีจากหลักฐานที่พบมีหลายสมัยทั้งใหม่และเก่าควรแก่การศึกษา  เพราะเวิ้งอ่าวพังงาเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์สมัยโบราณแห่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่ง7.       สภาพปัจจุบัน        7.1          อยู่ในเส้นทางกาท่องเที่ยวชมทะเลและเกาะแก่งในเวิ้งอ่างพังงา        7.2  ถูกรื้อค้นจากกลุ่มคนที่ไปพบและชาวเรือที่แวะจอดพักหลบมรสุม8.     ประวัติของแหล่ง8.1    ยุคสมัยทางโบราณคดียังไม่ได้นำหลักฐานไปพิสูจน์ทางวิชาการ  จึงไม่สามารถบอกรายละเอียดแน่นอนได้  ถ้าดูจากหลักฐานที่พบ  โครงกระดูกมีทั้งใหม่และเก่า  เครื่องปั้นดินเผา  เนื้อค่อนข้างละเอียด  น้ำหนักเบา  สีค่อนข้างดำ  ผิวลื่น  มีลายเชือกทาบบ้างในส่วนบน  และอีกส่วนหนึ่งเป็นเศษภาชนะเคลือบสีแล้ว  เครื่องประดับต่าง ๆ มีทั้งเก่าและใหม่ ดูตามสภาพของถ้ำ  ไม่น่าใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้  เพราะเพิงหินแคบมาก  จึงน่าจะเป็นที่ฝังศพเท่านั้น  และใช้ต่อมากันหลายรุ่น  สำหรับโครงกระดูกที่ดูยังใหม่นั้น  น่าจะถูกนำมาทิ้งกองสุมไว้ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง  โดยมิได้ฝังแต่ประการใด  แต่ก็ไม่พบ  หรืออาจถูกเก็บทำลายไปก่อนแลวก็ได้  เศษวัตถุอื่นที่แสดง่ว่าเป็นมนุษย์ปัจจุบัน8.2    ประวัติจากคำบอกเล่าสอบถามชาวประมงถิ่นนั้นและพระภิกษุสำรอง  ซึ่งพบถ้ำแห่งหนึ่ง  บอกว่าไม่มีใครพูดถึงประวัติและตำนานที่เกี่ยวพันถึง  เพียงแต่ชาวประมงเห็นว่ามีเกาะ 2 เกาะ  เคียงคู่อยู่กันกลางทะเล  จึงเรียกว่า เกาะสองพี่น้อง ยังอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ยืนยันว่ามิใช่เกาะสองพี่น้อง  ( ถ้ำนาค )  ในเขตอำเภอเมืองพังงา  เพราะที่นั้นมีหินงอกหินย้อยสวยงาม  มีภาพเขียนสีเป็นรูปเรือ  รูปปลาอยู่ด้วย  และบางคนก็สันนิษฐานว่ากระดูกที่ดูค่อนข้างใหม่อาจถูกนำมาทิ้งไว้เพราะอุบัติเหตุกลางทะเล  ตายด้วยโรคระบาด  หรือไม่ก็ตายสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  เพราะเป็นที่ยึดครองของทหารญี่ปุ่นในสมัยนั้น  ชื่อ      แหล่งถ้ำชาวเลบ้านแหลมสัก                                                                ตำบลแหลมสัก                                                                อำเภออ่าวลึก                                                                จังหวัดกระบี่                                รุ้ง  8     16        30                 เหนือ
                                     98     38       20                 ตะวันออก
1.  อาณาเขต                                ทิศเหนือ                                ติดต่อกับภูเขาไสโต๊ะดำ                                ทิศใต้                                     ติดต่อกับอ่าวลึก                                ทิศตะวันออก                       ติดต่อกับอ่าวลึกและป่าโกงกาง2.  เส้นทางคมนาคม                เริ่มต้นจากสี่แยกอ่าวลึกเหนือ  ตามถนนสายอ่าวลึก แหลมสัก  ประมาณ 17 กิโลเมตร  ถึงสะพานปลาแหลมสัก  ลงเรือต่อไปทางตะวันตกของปลายแหลมประมาณ 10 15 นาที  ก็ถึงแหล่งถ้ำชาวเล3.  สภาพภูมิศาสตร์                พื้นที่เป็นปลายแหลมยื่นลงไปในทะเลทางทิศตะวันตกของแหลมสัก  สภาพป่าบนภูเขายังสมบูรณ์ มีฝูงนก  ลิง ค่าง  อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  น้ำทะเลใสสะอาด  เกาะแก่งบริเวณใกล้เคียงสวยงามมาก4.  ลักษณะของแหล่ง                4.1  เพิงผา  (รอยบาก)  ในภูเขาหินปูน                4.2  สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  5  เมตร                4.3  ภาพเขียนอยู่ตรงรอยบากของภูเขาที่อยู่สองกลุ่ม  กลุ่มที่หนึ่งอยู่ตรงรอยบากของภูเขาตรงปลายแหลม  อีกกลุ่มหนึ่งอยู่บริเวณปากถ้ำห่างจากปลายแหลมไม่มากนักปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีหินงอกหินย้อยเล็กน้อย5.  หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ                5.1  ภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำชาวเลมีอยู่  3  ภาพ คือ-  ภาพคนสองคนนั่งหันหน้าเข้าหากัน  มือถือวัตถุบางอย่าง  ทำอาการคล้ายกำลังสูบหรือเป่า-  ภาพที่สองคล้ายกับภาพแรก เป็นคนสองคนนั่งหันหน้าเข้าหากันมือถือวัตถุบางอย่างเช่นเดียวกับภาพที่กล่าวแล้ว-  ภาพที่สามเป็นภาพคนขี่บนหลังสัตว์คล้ายม้า  คนอยู่ในท่ายกแขนขึ้นคล้ายถือวัตถุบางอย่าง ทั้งสามภาพอยู่ไม่ห่างกันนัก     5.2  ภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ปลายแหลมชาวเล  อยู่ตรงรอยบากที่ปลายแหลมพอดีสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3-5 เมตร มีทั้งรูปคน  สัตว์และรูปเรขาคณิตอื่นๆ  ดูจากภาพดังกล่าวน่าจะเก่ากว่าถ้ำชาวเล  เพราะภาพดูออกเป็นภาพดั้งเดิมมากกว่า 6.       แนวทางในการพัฒนา6.1.   เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีเกี่ยวกับภาพเขียนสี่ก่อนประวัติศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษากลุ่มชนต่อไป6.2.   เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะถ้ำตั้งอยู่ในเคี้งอ่าวที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันสวยงามของเกาะแก่งและภูผาแปลกๆ7.       สภาพปัจจุบัน7.1.   บริเวณใกล้เคียงถ้ำชาวเล ชาวบ้านได้เข้าไปกระทำกะชังเลี้ยงปลา7.2.   บนผนังถ้ำใกล้เคียงภาพเขียน มีรอยซึ่งชาวบ้านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เอาสีไปพ้นทับบนฝาพนังถ้ำ7.3.   ร่องรอยบากเป็นเพิง7.4.   บนรอยบากของถ้ำเป็นเพิง ชาวเรืองมักจอดเรือหลบฝนฝนขึ้นไปพักนอกข้างบน อาจก่อให้เกิดการทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์8.        ประวัติของแหล่ง8.1. ยุคสมัยทางโบราณคดีอายุสมัยของภาพไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน เพียงแต่นักโบราณคดีคาดคะแน                ว่า น่าจะอยู่ช่วงหลักจากภาพเขียนที่ถ้ำหัวกะโหลก ( ถ้ำผีหัวหัว ) ภาพที่เขียรก็บอกได้ว่ามนุษย์ในภาพนั้นประกอบกิจกรรมอะไรกันแน่ กลุ่มชนผู้วาดภาพก็คงจะอาศัยอยู่ตามถ้ำต่างๆ ที่ไม่ไกลกันมากนัก เพราะในเพิ้งอ่าวพังงา อ่างลึกล้วนมีร่องรอยการเข้าอยู่อาศัยของมนุษย์สมัยโบราณมาแล้วทั้งทั้งนั้น แต่ภาพวาดในถ้ำในถ้ำนี้มีไม่กี่ภาพ อาจเป็นการวาดขึ้นโดยบังเอิญในขณะที่มาพักเพื่อหลบพายุฝนชั่วราวก็เป็นได้8.2    ชื่อถ้ำและชื่อแหลมชาวเล เข้าใจกันว่าแต่เดิมเป็นที่แวะพักของชาวเล ซึ่งอพยพเร่ร่อนหากินทางแถบชายทะเลย่านนี้ เพราะแหลมนี้อยู่ในช่องแคบเขาช่องตลาดเหมาะที่จะพักกำบังลมฝนในบางฤดูกาล ภาพเขียนต่างๆในเพิ้งอ่าวนี้ นักโบราณคดี บางท่านก็ว่าจะเป็นฝีมือของชาวเลโบราณเป็นผู้เขียนไว้                                              ชื่อ             ถ้ำไวกิ้ง     ( ถ้ำพญานาค )เกาะพีพีเคตำบลอ่าวนางอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่                                                               รุ้ง                    7     46     20                                                                  แวง               98      42      -________________________1.       อาณาเขตเกาะพีพี  เป็นเกาะอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งประมาณ 42 กิโลเมตร  ถ้ำไวกิ้งอยู่บนเกาะพีพีเลซึ่งอยู่ทางใต้ของเกาะพีพีดอน2.       เส้นทางคมนาคมการเดินทางไปเกาะพีพีหรือถ้ำไวกิ้งไปได้บางฤดูกาล  คือช่วงที่ปลอดมรสุมจึงจะสะดวก มีเรือท่องเที่ยวออกจากท่าเรือสะพานเจ้าฟ้า  การเดินทางใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง  ( แล้วแต่ชนิดของเรือ ) ช่วงเวลาที่เหมาะสมควรเป็นระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน  สามารถหาที่พักได้ที่เกาะพีพีดอน  เพราะมีหาดทรายและสถานที่บริการนักท่องเที่ยว  สามารถลงเรือไปเกาะพีพีเลเพื่อชมถ้ำไวกิ้งได้3.       สภาพทางภูมิศาสตร์พีพี  เป็นชื่อเกาะ 2 เกาะ คือ เกาะพีพีดอนและเกาะพีพีเล  ลักษณะเป็นเวิ้งอ่าวรูปครึ่งวงกลมทะเลเกือบจะถูกปิดล้อมด้วยหาดทรายที่ทอดจาปลายแหลม  มีภูเขาหินปูนมากมาย     เกาะพีพีดอนมีเนื้อที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร  ถ้ำไวกิ้งหรือถ้ำพญานาคอยู่บนเกาะพีพีเล4.       ลักษณะของแหล่ง4.1    ถ้ำไวกิ้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเกาะ  ภายในถ้ำกว้างขวาง  สูงประมาณ 80 เมตร  มีหินงอกหินย้อยสวยงาม4.2    สภาพถ้ำทางตะวันออกและด้านใต้  มีภาพเขียนบนผนังถ้ำ  มีหินงอกหินย้อยสวยงามเช่นเดียวกัน4.3    สภาพถ้ำอื่น ๆ แวดล้อมด้วยหินงอกหินย้อยสวยงาม4.4    เป็นเกาะที่ให้สัมปทานการเก็บรังนก  ตามปกติผู้ประมูลได้จะไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอก เข้าไปเพราะเป็นการรบกวนนก แต่เมื่อมีภาพเขียนสีจึงเปิดให้ผู้สนใจเข้าชม  โดยเก็บค่าเข้าชมคนละ        10 บาท5.    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบ        ภาพเรือซึ่งมีจำนวนมากกว่าภาพอื่น ๆ มีหลายประเภทดังนี้5.1    เรือใบ 3 เสา พวกเรือสำเภา เรือโป๊ะข้าม5.2    เรือใบ 2 เสา พวกเรือกำปั่น เรือฉลอม เรือที่ใช้กรรเชียง5.3    เรือใบยุโรป5.4    เรือใบอาหรับ                   5.5    เรือใบใช้กังหัน5.6    เรือกลไฟนอกจากนี้ยังมีภาพช้าง  คนขี่ช้าง  คนล่าช้างอีก 2-3 ภาพ         6.   แนวทางในการพัฒนา                6.1. แหล่งศึกษาทางประวัติศาตร์ เพราะเป็นแหล่งมีภาพเขียนสีสมัยประวัติศาตร์ที่สำคัญที่สุดอีก      แห่งหนึ่ง6.2. แหล่งท่องเที่ยว หมู่เกาะพีพีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันทั่วโลก  ในฤดูกาลท่องเที่ยวสามารถทำรายได้เข้าจังหวัดได้มากกว่าแหล่งอื่นๆเพราะมีความงามตามธรรมชาติของเกาะแก่งปะการัง  และถ้ำไวกิ้งก็มีหินงอกหินย้อยอันสวยงาม7.  สภาพปัจจุบัน        7.1  เกาะพีพีและถ้ำไวกิ้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด        7.2  ถ้ำไวกิ้งเป็นแหล่งรังนก  มีผู้ประมูลสัมปทานในการทำประโยชน์7.3  หมู่เกาะพีพีปัจจุบันกำลังได้รับผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อมอันสืบเนื่องมาจากการท่องเที่ยว7.4  มาตรการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังไม่ดีพอ8.  ประวัติของแหล่ง8.1  นักโบราณคดีหลายท่านได้สันนิษฐานว่า  รูปเรือที่เขียนในถ้ำไวกิ้งเป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์นี้เอง  หรือไม่ก็เขียนขึ้นประมาณสมัยอยุธยา  โดยฝีมือของนักเดินเรือหรือก็พวกโจรสลัดที่ซ่องสุมอยู่ในถ้ำนี้                จากการศึกษาเส้นทางการเดินเรือจากฝั่งตะวันตกไปตะวันออก  บริเวณหมู่เกาะพีพีเป็นจุดที่เรือสามารถแวะพักหลบมรสุม  ขนถ่ายสินค้า  หาเสบียงอาหาร  หรือซ่อมแซมเรือก่อนที่จะเดินทางต่อไป  จากการศึกษาทำให้ทราบว่า  ภาพส่วนใหญ่เป็นรูปเรือมีหลายแบบ  และไม่ได้เขียนขึ้นในเวลาเดียวกันทั้งหมด  ดูจากฝีมือและสีที่ใช้และประเภทของเรือก็สามารถบอกช่วงอายุของการใช้งานได้ อย่างไรก็ตามการเขียนภาพในถ้ำนี้คงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  ใครมาพักก็เขียนตามกันบ้าง  ใครมากับเรือแบบไหนคงจะเขียนรูปแบบเรือของตนไว้  อย่างไรก็ไม่สามารถกำหนดลงไปได้ว่าเขียนไว้แต่เมื่อใด  และผู้ที่มีส่วนร่วมในการเขียนภาพเหล่านี้  อาจเป็นพวกเก็บรังนกร่วมอยู่ก็ได้  เพราะอาชีพนี้มีการปฏิบัติกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว  แม้แต่ในสมัยปัจจุบันนี้ก็ตาม  สักวันหนึ่งเราอาจพบภาพเรือหางยาว  เรือท่องเที่ยวเข้ามาปรากฎอยู่ในกลุ่มภาพเหล่านี้ก็เป็นได้                 นอกจากภาพเรือแล้ว  ยังมีภาพสัตว์และภาพช้างอยู่ด้วย  อาจเป็นไปได้ที่นักเดินเรือเหล่านี้แสดงภาพประสบการณ์พิเศษของตนเอาไว้  และสมัยนั้นช้างก็เป็นสินค้าสำคัญจากฝั่งทะเลตะวันตกไปขายยังอินเดีย  แม้แต่ในสมัยเจ้าพระยานคร (น้อย) เมืองนครศรีธรรมราชสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ช้างก็ยังเป็นสินค้าออก ที่สำคัญที่สุด  บริเวณจังหวัดกระบี่ที่ใครๆก็รู้จักว่าเป็น เส้นทางค้าช้างของเจ้าพระยานครด้วย   8.2  ประวัติจากคำบอกเล่า                คำว่า  พีพีมีผู้ให้ความหมายไว้หลายนัยว่า  เกาะพีพีเป็นเกาะใหญ่อยู่ห่างฝั่ง เดิมเรียกว่า เกาะพีพี / เกาะพี่  หมายถึงเกาะที่ใหญ่กว่าเกาะอื่นนั่นเอง                ชาวทะเลที่อาศัยอยู่เรียกเกาะนี้ว่า ปูเลาปิอาปี ปูเลา แปลว่า เกาะ  ปิอาปี แปลว่า ต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งในจำพวกแสมโกงกาง  ขึ้นอยู่บริเวณน้ำเค็มทั่วไปบางทีเราก็เรียกว่า ต้นปีปี  ภาพหลังเพี้ยนมาเป็น พีพี                ส่วนชื่อถ้ำไวกิ้ง  เข้าใจว่าผู้เรียกคงหมายเอาภาพเรือโบราณว่าเป็นเรือไวกิ้ง  ความจริงมิได้เป็นเรือไวกิ้งตามที่เข้าใจ  ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสที่เกาะนี้ทรงเรียกชื่อถ้ำนี้ว่า ถ้าพญานาค  ตามลักษณะหินก้อนหนึ่งดูคล้ายเศียรพญานาค   เป็นหินก้อนสำคัญที่คนเก็บรังนกจะมาประกอบพิธีบูชาเจ้าที่เจ้าทางก่อนขึ้นเก็บรังนก  8.3  ตำนานบอกเล่า                ชื่อเกาะพีพีเป็นที่ตั้งถ้ำไวกิ้ง  มีความเกี่ยวพันกับตำนานเรื่องอ่าวพระนางสำนวนหนึ่ง  (ตำนานอ่าวพระนางมีเล่ากันหลายสำนวน ว่า                กาลครั้งหนึ่งที่บริเวณอ่าวพระนางในปัจจุบัน มีปราสาทอันตระการตาตั้งอยู่เหนือขุนเขาเป็นที่อยู่ของเทพธิดาแห่งความงามเรียกกันในนามว่า พระนาง  ความงามของนางเป็นที่หมายปองของบรรดาชายหนุ่มทั้งหลาย  ทำให้เทพยดาพีพีซึ่งอาศัยอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งมีความกังวลใจมากว่าความงามของน้องสาวจะเป็นเหตุนำมาซึ่งความยุ่งยากและเป็นอันตรายแก่พระนางได้                ในบรรดาเทพยดาที่มาหลงใหลในพระนางนั้นมีเทพยดาประเด๊ะ (โต๊ะประเด๊ะ) เทพยดาเกาะปู  เทพยดาหัวขวานเป็นต้น  วันหนึ่งเทพยดาหัวขวานได้มายังปราสาทพระนางเพื่อขอความรักจากนาง  แต่ก็ถูกปฏิเสธทำให้เทพยดาหัวขวานโกรธมาก  ตรงเข้ายื้อยุดจะฉุดพระนางไปให้ได้ ในขณะนั้นเทพยดาเกาะพญานาคมาพบเหตุการณ์เข้าจึงได้ขัดขวาง                ทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันอย่างดุเดือด  เทพยดาหัวขวานสู้ไม่ได้จึงล่าถอยไปด้วยความโกรธแค้น  จากความดีของเทพยดาเกาะพญานาคนี้เอง  ทำให้พระนางไม่สามารถปฏิเสธความรักได้  ในที่สุดทั้งสองฝ่ายตกลงจะแต่งงานกัน                เมื่อถึงกำหนดขบวนขันหมากจากเกาะพญานาคก็ยกมายังประสาทพระนาง  ข่าวนี้ล่วงรู้ไปถึงเทพยดาอื่นๆที่หลงรักพระนาง  ต่างก็ยกทัพมุ่งหน้ามาพร้อมกัน  ในที่สุดก็เกิดการต่อสู้แย่งชิงพระนาง  จากการรบทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างพินาศลงอย่างสิ้นเชิง  ต่างฝ่ายต่างก็ล้มตาย น้ำได้พัดดาเอาผู้คน  สิ่งของเกลื่อนไปทั้งทะเลรวมทั้งตัวพระนางเองด้วย  ส่วนเทพยดาพีพีผู้เป็นพี่ชายทราบดังนั้นก็เกิดความเสียใจตามไปด้วย                เมื่อเหตุการณ์ทั้งหลายสิ้นสุดลงทุกสิ่งทุกอย่างก็กลายเป็นหินไปสิ้น  ปราสาทกลายไปเป็นถ้ำพระนาง  และเกาะอื่นๆ เช่น เกาะประเด๊ะ  เกาะปู  เกาะขันหมาก  เขาหางนาค เขาหงอนนาค  เทพยดาผู้เป็นพี่ชายก็กลายเป็นเกาะพี่หรือเกาะพีพีที่ตั้งของถ้ำไวกิ้งทุกวันนี้                          ชื่อ        แหล่งถ้ำเขาพระบ้านเขาพระตำบลอ่าวลึกใต้อำเภออ่าวลึกจังหวัดกระบี่                                                                         รุ้ง    8    25   -        เหนือ
                                                                     แวง   98   44   20  ตะวันออก
1.  อาณาเขต                ทิศเหนือ                                                ถนนลูกรังอ่าวลึกใต้ ในยวน                ทิศใต้                                     ติดต่อกับทุ่งนา                ทิศตะวันออก                       ติดต่อกับทุ่งนา                ทิศตะวันตก                          ป่าละเมาะและบริเวณที่ดินสนามกีฬาอำเภออ่าวลึก2.  เส้นทางคมนาคม                สามารถเดินทางไปได้สะดวกทุกฤดูกาล  ตั้งต้นที่สี่แยกตลาดยาวอ่าวลึกเหนือ  ตามเส้นทางสายอ่าวลึก แหลมสัก  ประมาณ 2 กิโลเมตร  ถึงทางลูกรังแยกทางขวามือมีป้ายบอกทางไปเขาพระ เขาราง  เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตรถึงถ้ำเขาพระอยู่ด้านขวามือ  ไม่มีรถประจำทางต้องใช้รถมอเตอร์ไซด์รับจ้างหรือไม่ก็เดินเข้าไป3.  สภาพทางภูมิศาสตร์                เป็นภูเขาตั้งอยู่กลางที่ราบ  มีป่าละเมาะ  สวนและทุ่งนาอยู่ทางตะวันออกและทางทิศใต้ มีลำคลองสายเล็กๆไหลผ่านมาออกทุ่งนา4.  ลักษณะของแหล่ง                4.1  เพิงผาและโพรงถ้ำในภูเขาหินปูน                4.2  โพรงถ้ำแบ่งออกเป็น 2 ตอน  คือ เพิงด้านนอกส่วนหนึ่งและด้านในส่วนหนึ่ง  อากาศถ่ายเทได้สะดวก  มีช่องทะลุออกไปด้านหลังได้                4.3  เป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์เขาพระสุญญตาราม5.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบ                พระพุทธรูปเก่าแก่6.  แนวทางในการพัฒนา                6.1  แหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์                6.2  แหล่งปฏิบัติธรรมกรรมฐาน    7.  สภาพปัจจุบัน7.1. สำนักสงฆ์เข้าไปตั้งเป็นแหล่งปฎิบัติธรรมในโพรงถ้ำและบริเวณใกล้เคียง                                7.2. พื้นถาถูกคุยค้นจากชาวบ้านเพื่อเอาดินฟอสเฟตไปทำปุ้ย                8.  ประวัติของแหล่ง                                8.1. ประวัติทางโบราณคดี                                        เดิมในถ้ำนี้มีประพุทธรูปเก่าแก่อยู่องค์หนึ่ง ไม่มีใครบอกได้ว่าใครสร้างใครสร้างไว้ตั้งแต่เมื่อใด ชาวบ้านได้ปฏิบัติสังขรกันต่อมา ภายหลังได้มีผู้สร้างพระพุทธรูปขนาดเท่านันขนาบข้างไว้อีก 2 องค์ รอบๆฐานมีพระพุทธรูปไม้กาะสลักองค์เล็กๆอยุ่โดยรอบสำหรับเพิงผาและโพรงถ้ำ ดูตามลักษณะน่าจะเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแตโบราณ เช่นเดียวกับถ้ำบริเวณนี้ แต่สภาพถูกขุดค้นทำลายไปมากจนจนไม่สามารถหาหลักฐานอะไรได้8.3    ประวัติตามคำบอกเล่าจากคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่า พระพุทธรูปเก่าแก่ในถ้ำนี้สร้างขึ้นมาพร้อมๆกับการสร้างพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อมีผู้สรัทธารวบรวมทรัยย์สินเงินทองแล้ว ก็ทราบข่าวการสร้างพระบรมธาตุเสร็จแล้ว จึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมธาตุองค์นี้ขึ้น พร้อมกับฝังทรัยย์สินเงินทองไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย จากตำนานชาวบ้านดังกล่วก็อาจเป็นไปได้ เพราะส้นทางจากปากลาว เขาต่อ ปากพนม ตลอดไปจนถึงแม่น้ำตาปีนั้นเป็นส้นทางเดินข้ามแหลมมาแต่โบราณ และด้วยความเชื่อเช่นนั้นก็เป็นได้ทำให้ถ้ำถูกขุดค้นกันมาช้านานแล้ว จนไม่สามารถจะหาหลักฐานอื่นๆมายืนยันได้                ชื่อ แหล่งเผิงผาเขาขนาบน้ำ             ตำบลปากน้ำ              อำเภอเมืองจังหวัดกระบี่                                                                รุ้ง    8    4    36    เหนือ
                                                                แวง   98   55   30 ตะวันออก
1.       อาณาเขตทิศเหนือ                                ลำน้ำกร่อยและป่าเลน        ทิศใต้                                     ลำน้ำกร่อยและป่าเลน        ทิศตะวันออก                       ลำน้ำกร่อย        ทิศตะวันตก                          ลำน้ำกร่อยและถนนข้ามเมืองกระบี่2.       เส้นทางคมนาคมสามารถเดินทางไปได้สะดวกโดยเส้นทางแยกบ้านตลาดเก่าเข้าเมืองกระบี่ จะเห็นภูเขาหินปูนสองลูกอยู่คนละฝั่งน้ำ และเป็นสัญญัษณ์ ประจำเมืองกระบี่ ระยะห่างจากบ้านตลาดเก่าประมาณ 7 กีโลกรัม ลงเรืองที่สะพานเจ้าฟ้าไปเขาขนาบน้ำ ประมาณ 10 นาที        3.    สถาพทางภูมิศษสตร์                   เป็นภูเขาหินปูนอยู่กลางน้ำตรงปากคลองกระบี่ใหญ่หรือแม่น้ำกระบี่ แวดล้อมด้วยพรรณไม้ทะเลพวกโกงกาง แสมค่อนข้างจะเป็นป่าสมบูรณ์4.    สภาพของแหล่ง        4.1.  เพิงผาและโพรงถ้ำในภูเขาหินปูน        4.2.  ขนาดเนื้อที่เพิงผาประมาณ 23  (   ) 7  เมตร        4.3.  สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 5 เมตร        4.4.  โพรงถ้าถายในโปรงอาศาถ่ายเทได้สะดวก5.   หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบ        5.1.               เครื่องมือสะเก็ตหิน        5.2.              เครื่องภาชนะดินเผาลานเชืกทาบ        5.3.               เศษภาชนะดินเผาพื่นเรียบ        5.4.               ชิ้นส่วนภาชนะหม้อ 3 ขา5.5.                    ใบมีดหินขัด5.6.                          ชิ้นส่วนกระดูก5.7.                          พระพิมพ์ดินดิบสมัยคุปตะวัตถุโบราณจำพวกเครื่องมือหินขุดพบโดย ดร.ดักลาส ดี แอนเดอร์สันและคณะบางส่วนอยูในพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดใกล้เคียง ฃิ้นส่วนกระโดกถูกขุดต้นทำลายไปแล้วส่วยพระพิมฑ์ดินดิบเคยมีผู้พบหลายคน จากคำบอกเล่าของนายทองใน กาญจนะดิลก และพระสุตาวุธวิสิฐ เจ้าอาวาสวัดแก้วโกรวารามว่าเคยเก็บได้ แต่ผายหลังได้แตกหักสูนย์หายไปและอาจจะมีหลงเหลืออยู่บ้างตามบ้านนักเล่นของเก่าทั้งหลาย ที่พิพิธภัณฑ์วัดมิชฌิมาวาสจังหวัดสงขลาเคยเก็บตัวอย่างไว้                6.  แนวทางในการพัฒนา6.1. เป็นแหล่งท่องเที่ยว เขาขนาบน้ำมีธรรมชาติอันสวยงามเป็นลักษณะ ของกระบี่ อยู่ในรายการของนักท่องเที่ยวที่ไปแวะชมเสมอ6.2. เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดี จากการค้นคว้าของนักโบราณคดีเป็นทั้งแหล่งที่มัร่องรายการเข้าอาศัยของมนุษญ์สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในที่เดียวกัน                7.  สภาพปัจจุบัน7.1.  เขาขนาบน้ำตั้งอยู่ในทะเลที่สามารถเดินทางไปได้สะดวกใกล้ถนนและที่เรือ สภาพลำคลองมีน้ำขังตลอดปี ตื้นเขินบ้างตามโอกาศของน้ำขึ้นน้ำลง รอบด้านเป็นป่าเลน7.2.  ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามพอสมควร นอกจากเพิงผาใหญ่แล้วโดยรอบจะมีโพรงถ้ำเล็กน้อยอยู่ทั่วไป7.3.  สภาพภายในถ้ำถูกทำงายด้วยการขีดเขียนของบรรดานักท่องเที่ยว พื้นที่ถ้ำถูกขุดคุ่ยไปมาก7.4.  เทศบาลเมืองกระบี่ได้ขุดทรายจากแม่น้ำขึ้นมาทำหาดทรายเทียม ทำให้สภาพป่าที่ถูกทรายทับถมเสียทายไปบางสวน                8.  ประวัตุของแหล่ง                        8.1.  ยุคสมันทางโบราณคดีจากการสำรวจพบว่าเพิงผาเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณสมัยหินขัด พบร่องรอบการตั้งถิ่นฐานอยู่สูงจากกระดับน้ำ ขณะน้ำทะเลขึ้นประมาณ 1.50 เมตรจากเคลื่อนมือหินที่พบแสดงให้เห็นว่า มนุยษ์ ที่อาศัยเพิงผาแห่งนี้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จากหิน รู้จักปั้นภาชนะดินเผาใช้ รู้จักการพัฒนาการดำรงชิวิตให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ เปลือกหอยบางชนิดที่พบเป็นหอยน้ำลึก นอกจากนี้ยังพบชิ้นสวนกระดูกสัตว์อีกด้วย การคำนวนอายุโดยประมาณจากรอยขัดเซาของคลื่น ลมบริเวณเพิงผา นักโบราณระบุว่าประมาณ 5,000-6,000 ปี ในสมัยโฮโลชินตอนกลาง นอกจากนี้ยังพบหลักฐานสมัยประวัติศาตร์ อันแสดงถึงการเข้าหาพักพิงอาศัยของมนุษย์หลายยุคหลายสมัย การพบพระพิมพ์ดินดิบสมัยคุปตะ ย่อมแสดงถึงร่องรอยการเดินทางของชาวอินเดียมาสู่สุวรรณภูมิในยุคโบราณเพราะบ่านปากน้ำกระบี่ (คลองกระบี้ใหญ่) สมันก่อนลึกเข้าไปในแผ่นดินอีกมากเป็นเส้นทางหนึ่งที่ใช้เดินทางข้ามแหลมจากตะวันตกไปตะวันออกได้ พระพิมพ์ที่พบที่เขาขนาบน้ำ จังหวัดกระบี่ นับว่าเป็นพระพิมพ์ที่พบที่เขาขนาบน้ำ จังหวัดกระบี่นับว่าเป็นพระพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในภาคใต้8.2.  ตำนานขนาบน้ำจากคำบอกเล่า8.2.1.         เขานขนาบน้ำมีตำนานชาวบ้านเล่าผูกพันไปกับชื่อ กระบี่น้อย กระบี่ใหญ่ เล่ากันว่า เดิมมียักษ์และมนุยษ์มารักชอบธิดาเจ้าเมืองคนเดียวกัน ไม่สามารถตกลงกันได้จึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น ตั้งหลักประจันหน้ากันคนละฝั่งน้ำสำแดงฤทธ์ขว้างอาวุธวิเศษเข้าใส่กัน ต่างก็ถูกอาวุธตายลงทั้งคู่ กลานเป็นภูเขาคนละฝั่งน้ำ เขาลูกโตนั้นคือยักษ์ ที่เล็กกว่านั่นคือมนุยษ์ ดายของยักษ์ซึ่งใหญ่และหนักมากตกอยู่ที่นั้น คือบ้านกระบี่ใหญ่ในบัจจุบัน ดาบมนุยษ์ที่เล็กกว่าปลิวไปตกใกล้ถึงบ้านกระบี่น้อย8.2.2.         อีกตำบลหนึ่งผูกพันไปถึงชื่อ พนมเบญจา และ อ่าวนาง นายฟ้อง  คำฝอย เล่าว่า นางเบญจาเป็นลูกสาวชาวประมงอยู้ริมทะเลคลองแห้งปัจจุบัน นางมีความงามเป็นที่เลื่องลือ ทำให้เศรษฐีเฒ่าผู้หนึ่ง (ยักแปลงกายมา)มาสู่ขอนางแต่นางไม่ชอบจึงแยบหนีไปกับหมุ่มน้อยผู้หนึ่ง (พญานาคแปลงกายมา)ยักมาความโกรธมากจึงขว้างขวานออกลายาม ทั้งสองได้ต่อสู่กัน หนุ่มน้อยสู่ไม่ได้ถูกฟันจนกระบี่เด็นหารไปทั้งสองเล่ม จึงกลายร่างเป็นพญานาคสำแดงฤทธ์กั้นน้ำให้เป็นคลื่อน เข้าถล่มยักษ์ ฝ่ายยักษ์ก็เอาขวานกระหน่ำฟันจนหางนาคขาดออกเป็นสองท่อนหนีเข้าไปซ่อนในถ้ำ ยักษ์ ยักษ์ได้ยกเอาภูเขาสองลูกมาปักกั้นน้ำไว้แล้วติดตามหานางต่อไป ภูเขาสองลูกในนิทานดังกล่าวคือ เขาขนาบน้ำ นั่นเอง8.2.3.         เหตุการที่เพิ่งเขาขนานน้ำชั้นล่างริ่มฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าว่าเมื่อหลายสิบปีมาแล้วได้มีตันหยงขณะหนึ่ง (คระเล่นเพลงพื้นบ้าน) กลับจากการแสดงในที่แห่งหนึ่งได้แวะพักพักที่เพิงผาถ้ำซึ่งขณะนั้นเป็นเวลาน้ำลง คณะตันหยงคณะนี้ได้หยุดพักรอน้ำและหยุดพักผ่อนไปในตัว เพราะอ่อนเพลียจากการแสดงมาทั้งคืนทุกคนหลับสลบไสลไปจนน้ำขึ้นเข้าท่วมในถ้ำโดยไม่รู้ตัว ไม่สามารถออกมาได้ตายหมดทั้งคณะ เรื่องนี้จะเท็จจริงแค่ไหนไม่มีใครยืนยัน แต่ในวันดีคืนดีเดือนหงายกระจ่างฟ้า  ชาวบ้านใกล้เคียงมักจะได้ยินเสียงดนตรีรำมะนาและเสียงชอตันหยงแว่วมาเสมอ  ทุกวันนี้เสียงดนตรีจางหายไปแล้วคงเหลือแต่เพียงความทรงจำที่กำลังเลือนหายไปด้วย                ชื่อ       สุสานหอยเจ็ดสิบห้าล้านปี                                                                                บ้านแหลมโพธิ์                                                                                ตำบลอ่าวนาง                                                                                อำเภอเมือง                                                                                จังหวัดกระบี่                                                รุ้ง           8              1              30           เหนือ
                                                แวง         98           53           -              ตะวันออก
 1.  อาณาเขต                ทิศเหนือ                เป็นสวนยางพาราและบ้านเรือน                ทิศใต้                     ทะเล                 ทิศตะวันออก       ทะเล                ทิศตะวันตก          ทะเลและสวนยางพารา2.  เส้นทางคมนาคม                จากตัวเมืองกระบี่ไปสุสานหอยเจ็ดสิบห้าล้านปี  บ้านแหลมโพธิ์ประมาณ 19 กิโลเมตรตามถนนสายกระบี่ หนองทะเล มีทางแยกซ้ายมือที่บ้านไสไทย                    มีป้ายบอกทางไว้ชัดเจนเป็นถนนลูกรังเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตร   จากทางแยกดังกล่าวเข้าบ้านแหลมโพธิ์นี้ไม่มีรถประจำทาง3. สภาพภูมิศาสตร์                บ้านแหลมโพธิ์อยู่ริมทะเลติดต่อกับอ่าวน้ำเมา  มีสภาพเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลทางทิศตะวันออก4.  ลักษณะของแหล่ง                4.1  เป็นซากฟอสซิลดึกดำบรรพ์อายุ  75 ล้านปี                4.2  เกิดจากซากหอยจับกันเป็นพืดหินปูนยาวประมาณ  200 เมตรไปตามแนวทะเล5.  หลักฐานทางโบราณคดี                ซากฟอสซิล 75 ล้านปี6.  แนวทางในการพัฒนา                6.1  เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีและธรณีวิทยา  เพราะหลักแหล่งเช่นนี้มีแห่งเดียวในประเทศไทย  และเป็นที่หนึ่งในสามแห่งของโลก  คือมีที่ชิคาโก  สหรัฐอเมริการและที่ญี่ปุ่น6.2    เป็นแหล่งท่องเที่ยว  ซึ่งนักท่องเที่ยวเห็นว่าเป็นสิ่งที่แปลกน่าชม  ที่มีหอยนับจำนวนล้านๆตัวมาตายทับถมกันเป็นพืด7.   สภาพปัจจุบัน                7.1  แหล่งสุสานหอยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเกาะพีพี หาดนพรัตน์ธารา                7.2  อุทยานฯ กำลังปรับปรุงบริเวณให้มีที่พักผ่อน  และการจัดระเบียบของร้านจำหน่ายของที่ระลึก                7.3  สภาพการพังทลายของซากฟอสซิลด้วยแรงคลื่นลมเป็นไปอย่างรุนแรง                7.4  นักท่องเที่ยวพยายามลักลอบนำชิ้นส่วนเอาไปเป็นที่ระลึก8.   ประวัติของแหล่ง                8.1  ประวัติทางธรณีวิทยา                ซากดึกดำบรรพ์ ( Fossil )  นี้ ส่วนใหญ่เป็นหอยขมตัวป้อมยาวประมาณ 2 เซนติเมตร  ได้ถูกทับถมกันโดยมีน้ำประสานธาตุปูนเป็นตัวจับให้กลายเป็นหินแข็งหนาประมาณ 40 เซนติเมตร  ชั้นถัดลงเป็นลิกไนท์ ( Lignite )  หนาประมาณ 10 เซนติเมตร  ใต้ลงไปเป็นหินดาน จากลักษณะดังกล่าวสามารถคำนวณได้ว่า เมื่อประมาณ 75 ล้านปีมาแล้ว  บริเวณนี้เป็นหนองน้ำมาก่อน  ซากต้นไม้ทับถมกันมากมาย  จนกลายเป็นถ่านหิน                ระยะต่อมามีหอยหลายชนิดเข้ามาอาศัยและแพร่พันธุ์ออกนับล้าน ๆ ตัว  ภายหลังพื้นโลกบริเวณนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา  หนองน้ำตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลเป็นเหตุให้หอยเหล่านี้ตายหมดสิ้น  ธาตุปูนจากทะเลเข้ามาประสานหอยให้ติดกันเป็นพืด  ต่อมาเมื่อไม่นานมานี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง  ทำให้พื้นหินโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมาบางส่วนดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน                8.2  ประวัติตามตำนานบอกเล่า                                จากตำนานอ่าวนางสำนวนหนึ่งเล่าว่า  ตายมดึงกับยายรำพึงมีลูกสาวสวยคนหนึ่งชื่อว่า     นาง    และเพื่อนบ้านชื่อตาวาปราบกับยายบามัย มีลูกชายชื่อ บุญ แต่ทั้งสองบ้านนี้เป็นอริกัน                ก่อนที่ยายรำพึงจะมีลูกสาวนั้น  ได้เคยไปบนบานศาลกล่าวกับเทพเจ้าแห่งท้องทะเล  พญานาคได้มาปรากฎกายขึ้นบอกกับยายรำพึงว่าจะมีลูกสาว  แต่เมื่อโตขึ้นจะต้องแต่งงานกับลูกชายของตน  ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ได้ ด้วยความอยากมีลูกจึงตกลงรับปาก  เวลาล่วงเลยมาจน นาง เป็นสาวก็ได้ไปรักชอบกับ บุญ ลูกชายของตาวาปราบและยายบามัย  ทั้งๆที่ทั้งสองบ้านเป็นอริกันพ่อแม่ก็จำยอมเมื่อลูกรักกัน และนัดหมายวันแต่งงานกันในที่สุด                                  เมื่อนัดหมายวันแต่งงานกันแล้ว  ฝ่ายเจ้าบ่าวก็ยกกระบวนขันหมากมาทางทะเล นำโดยตาวา-ปราบสะพายดาบยาวไว้บ่นบ่าทั้งสอง  ขณะที่งานกำลังดำเนินไปอย่างสนุกสาน  ข่าวนี้ล่วงรู้ไปถึงพญานาคจึงยกพรรคพวกมาเพื่อแย่งชิงเจ้าสาว  ตายมดึงเมื่อเห็นว่าเหตุการณ์จะผันแปรไปก็พยายามพาลูกสาวหลบไป  ตาวาปราบเห็นเข้าก็หาว่าตายมดึงจะพาลูกสาวหนี จึงชักดาบทั้งสองขว้างไปหมายจะฆ่าตายมดึงแต่ว่าไม่ถูก  ดาบทั้งสอบได้ปลิวไปตกในที่ต่างๆกลายชื่อบ้านตำบลซึ่งอยู่ใกล้เคียง                                ขณะที่กำลังวุ่นวายกันอยู่นั้น  พระฤาษีซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ในถ้ำข้างเคียงได้ออกมาห้ามปรามแต่ทว่าไม่มีใครฟังใคร  พระฤๅษีมีความโกรธมากจึงออกปากสาปให้ทุกอย่างกลายเป็นหินไปทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้คน  เครื่องใช้  บ้านเรือนก็กลายเป็นภูเขา ถ้ำ  เป็นเกาะแก่งในทะเล  บ้านเจ้าสาวกลายเป็นภูเขา  เรือนหอก็กลายเป็นถ้ำพระนาง  พญานาคก็หนีกระเสือกกระสนไปกลายเป็นหินอยู่ด้านหนึ่งเรียกกันว่า  หงอนนาค  ข้าวเหนียวกวนที่นำมาเลี้ยงกันในงานนี้แหละที่ได้มาเป็น สุสานหอย                                 หมายเหตุ  นิทานเกี่ยวกับตายมดึงนี้ มีเล่ากันมาตลอดตั้งแต่จังหวัดชลบุรี  เพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์  พังงา  และกระบี่- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้662
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1874
mod_vvisit_counterทั้งหมด10694948