Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
กล่าวรายงาน 100 ปี ถนนเทพกระษัตรี PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 26 เมษายน 2009
 ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

เรียน ........(ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นาย.......) ประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี

 

ข้าพเจ้า.....(นายนาง....... ตำแหน่ง.......) ตัวแทนชาวจังหวัดภูเก็ต กราบขอบพระคุณท่านที่เมตตาให้ เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ ๒ ช่วงวันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน ๒๔๕๒ ในวโรกาสนั้น พระองค์ทรงพระราชทานนามถนนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๓ สาย คือถนนภูเก็ตและถนนวิชิตสงครามในวันที่ ๒๘ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ และถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒

ใน “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘” ของ “นายแก้ว”(พระนามแฝงในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สรุปพระราชกรณียกิจความว่าในเช้าวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จมาทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี เจ้าพนักงานมณฑลภูเก็ตได้ปลูกปะรำไว้ที่ถนน โกมารภัจจ์ ซึ่งอยู่ริมโรงพยาบาลมณฑลภูเก็จใกล้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในครั้งนั้นมณฑลภูเก็ตได้อาราธนาคณะพระสงฆ์ มีเจ้าคุณอริยกระวี เจ้าคณะมณฑลภูเก็จเป็นประธาน หม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็จ เป็นผู้ถวายรายงานการสร้างถนนเทพกระษัตรี เเล้วกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี ทรงมีพระราชดำรัสตอบ พระราชทานนามถนนว่า ถนนเทพกระษัตรี ตามนามท้าวเทพกระษัตรีที่ได้ต่อสู้รบพุ่งต้านต่อกับพม่ายี่หวุ่น พล ๓,๐๐๐ คน เป็นเวลาเดือนเศษ พม่าเจ็บป่วยล้มตาย ประมาณ ๓๐๐ ๔๐๐ คน พม่าแตกทัพกลับไปเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘ มีนามปรากฏอยู่ในพระพงศาวดาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ตรัสชมว่าท้าวเทพกระษัตรีนี้ เป็นผู้หญิงเก่ง คนหนึ่ง ผู้หญิงที่จะได้มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในตำนานของชาติไทยเรามีน้อยนัก เพราะฉะนั้น จึงเป็นการสมควรแล้ว ที่จะมีอนุสาวรีย์ไว้ให้คนระลึกถึงและจำได้ต่อไปชั่วกาลนาน การที่ พระราชทานนามถนนสายถลางสายนี้ ตามนาม ท้าวเทพกระษัตรี นี้นั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง

ถนนเทพกระษัตรี(พ.ศ.๒๕๕๒)ยาวประมาณ ๔๓ กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนภูเก็ตติดถนนถลาง บริเวณ แถวน้ำ ในเขตเทศบาลนครภูเก็ตไปทางทิศเหนือผ่านหน้าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย หน้าวัดโฆษิตวิหาร ควนดินแดงเขต อบต.รัษฎาและ อบต.เกาะแก้ว ตัดข้ามคลองบางคูคดอันเป็นเขตแดนเมืองภูเก็จกับเมืองถลาง เข้าสู่อำเภอถลางในพื้นที่ อบต.ศรีสุนทร ผ่านด้านหลังจวนเจ้าเมืองภูเก็จพระยาวิชิตสงครามทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ในพื้นที่ของ พญาถลางเจ๊ะมะเจิม ผู้เป็นบิดาของพญาภูเก็จแก้วหรือปู่ของพญาภูเก็จทัต ผ่านสี่แยกบ้านท่าเรือต้นถนนศรีสุนทร และถนน เจ้าคุณคินเกตุ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ผ่านเมืองถลางบ้านลิพอน ถึงบ้านนครัม ข้ามบางปู สู่บ้าน หินรุ่ย เขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี “แต่ถนนไม่หมดอยู่เพียงนี้ ยังมีต่อไปอีกจนถึงท่ามะพร้าวฝั่งทะเล ขณะนั้นยังไปไม่ได้ เพราะสะพานยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ถนนช่วงหน้าวัดโฆษิตวิหารถึงบ้านท่าเรือโรยศิลาแล้วแน่นหนาเรียบดี ตอนตั้งแต่ บ้านท่าเรือไปบ้านเคียน อำเภอถลางยังไม่ได้โรยศิลา”

 

พวกเราเหล่าอนุชนได้อ่านบทพระราชนิพนธ์ดังกล่าว มีความซาบซึ้งเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมใน พระราชกรณียกิจในครั้งนั้นของพระองค์ และปวงข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ด้วยความจงรักภักดีแด่สถาบันพระมหากษัตราธิราชเจ้า ในช่วงที่พระองค์พระราชทานนามถนนเทพกระษัตรี กาลล่วงแล้วครบ ๑๐๐ ปีในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ วันนี้ด้วยอีก ประการหนึ่งนั้น จึงร่วมกันจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ

๑. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้รับทราบและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวภูเก็ต

๒. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้มีโอกาสร่วมถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราช-

สุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา

๓. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเกิดความสำนึก ความภาคภูมิใจ ในประวัติศาสตร์แผ่นดินของตนเอง

๔. เพื่อเป็นโอกาสอันดีที่ผู้นำศาสนาจะได้นำศาสนิกชนร่วมประกอบคุณงามความดีอีกวาระหนึ่ง

 

การจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ดำเนินงานมาได้ด้วยความร่วมมือขององค์กรรัฐ องค์กรเอกชน และบุคคลจำนวนมาก อาธิเช่น
.............................................................................

........................................................................................

 

ข้าพเจ้าจึงขอกราบเรียนท่านประธานประกอบพิธีเปิดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี จักได้เป็นสิริ มงคลสืบกาลสืบไป.

-------------------------------------------

 

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

นมัสการพระเดชพระคุณเจ้า ......................

เรียน ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต

........................................... .................................. ....................................

ท่านผู้มีเกียรติ

 

ด้วยหน้าที่ที่ดำรงไว้แห่งใจของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าพเจ้ามา บำรุงงานราชการในจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับข้าราชการหลายท่านในที่นี้

ข้าพเจ้าทราบดีว่าจังหวัดภูเก็ตเคยเป็นขุมคลังพระราชทรัพย์ในองค์พระมหากษัตราธิราชเจ้ามาตั้งแต่ สมัยสุโขทัย ชาวภูเก็ตและชาวถลางได้ทำงานอย่างหนักมาตลอด ๕๐๐ ปีที่ผ่านมาเพื่อรักษาและส่งพระราชทรัพย์เข้าสู่คลัง เมืองหลวง พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีจำนวน ๔ พระองค์ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการเหมืองแร่ดีบุกในจังหวัด ภูเก็ตมาตั้งแต่บรรพกาล และทราบรายละเอียดจากรายงานในพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานนามถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ และพี่น้องประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้ใช้ถนนเทพกระษัตรีสืบมายาวนานจนมีอายุครบ ๑๐๐ ปีในวันนี้

ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ได้ร่วมจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี จนเป็นรูปธรรม ด้วยความเรียบง่าย แต่มากล้นด้วยคุณค่าอเนกอนันต์ทางด้านจิตใจเพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งความ สามัคคีของทุกหมู่เหล่า บำรุงพระศาสนาทุกศาสนาอย่างเช่นวันนี้ และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีให้ปรากฏแก่สายตา ชาวโลกอย่างมั่นใจ

ข้าพเจ้าขออำนาจธรรมคุณของทุกพระศาสนา ขออำนาจบารมีในองค์พระมหากษัตริยาราชเจ้าทุก พระองค์ และบารมีแห่งความกล้าหาญด้วยสติปัญญาประดุจเทพของท้าวเทพกระษัตรี ได้ร่วมอำนวยพรให้ท่านผู้มีเกียรติ

มีความสุขความเจริญสืบไป

 

ข้าพเจ้าขอเปิดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ณ ฤกษ์มงคลบัดนี้

 

 

------------------------------------------------------------------------------------

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

เจริญพร สาธุชนผู้ยึดมั่นในความกตัญญูกตเวทิตาคุณ

โยม........(ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นาย.......) ประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี

โยม........

 

 

 

อาตมาภาพ.....(........ สมณศักดิ์.......) ตัวแทนคณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ต ได้เห็นญาติโยมสาธุชนมาร่วมชุมชุม ประกอบสาธารณกุศลด้วยความเต็มใจ เพียงเหตุเบื้องต้นดั่งนี้ อาตมาขอชื่นชมในคุณมงคลของสาธุชน

 

ในกรณียกิจแห่งมหาบพิตรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ ๒ ช่วงวันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน ๒๔๕๒ ในวโรกาสนั้น องค์มหาบพิตรรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานนามถนนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๓ สาย คือถนนภูเก็ตและถนนวิชิตสงครามในวันที่ ๒๘ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ และถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ กาลล่วงแล้วครบ ๑๐๐ ปีในวันนี้ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒

 

เมื่อ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เจ้าพนักงานมณฑลภูเก็ตได้ปลูกปะรำไว้ที่ถนนโกมารภัจจ์ ซึ่งอยู่ริมโรงพยาบาล มณฑลภูเก็จใกล้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในครั้งนั้นมณฑลภูเก็ตได้อาราธนาคณะพระสงฆ์ มีเจ้าคุณอริยกระวี เจ้าคณะมณฑลภูเก็จเป็นประธาน หม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็จ เป็นผู้ถวายรายงานการสร้าง ถนนเทพกระษัตรี เเล้วกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ ทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี ทรงมีพระราชดำรัสตอบ พระราชทานนามถนนว่า ถนนเทพกระษัตรี ตามนามท้าวเทพกระษัตรี ผู้เป็น ๑ ใน ๔ ของวีรสตรีสยามประเทศ

 

กุศลจิตของสาธุชนเป็นสิ่งที่มนุษยชาติพึงปรารถนาให้เกิดขึ้นทั้งในครอบครัว ชุมชนสถานที่อยู่อาศัย แผ่ไกลสู่เพื่อนร่วมชาติร่วมศาสนา ร่วมสายธาราแห่งชีวิต อาตมาจึงขออำนาจบารมีพระรัตนตรัยที่เผยแผ่ไพศาลมานานกว่า ๒๕๕๒ ปี ได้เป็นที่พึ่งพาเสริมกำลังจิตของสาธุชนประกอบคุณงามความดีอันก่อให้เกิดจตุรพิธพรชัยทั้งตนเอง ครอบครัว เครือญาติผู้สืบสายสกุล ให้มีความสุขเกษมสำราญตลอดกาลนิรันดร์ เทอญ

 

------------------------------------------------------------------------------------

 

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

เจริญพร สาธุชนผู้ยึดมั่นในความกตัญญูกตเวทิตาคุณ

โยม........(นายอำเภอถลาง นาย.......) ประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี เขตอำเภอถลาง

โยม........

 

อาตมาภาพ.....(........ สมณศักดิ์.......) ตัวแทนคณะสงฆ์อำเภอถลาง ได้เห็นญาติโยมสาธุชนมาร่วมชุมชุม ประกอบสาธารณกุศลด้วยความเต็มใจ เพียงเหตุเบื้องต้นดั่งนี้ อาตมาขอชื่นชมในคุณมงคลของสาธุชน

 

ในกรณียกิจแห่งมหาบพิตรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ ๒ ช่วงวันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน ๒๔๕๒ ในวโรกาสนั้น องค์มหาบพิตรรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานนามถนนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๓ สาย คือถนนภูเก็ตและถนนวิชิตสงครามในวันที่ ๒๘ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ และถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ กาลล่วงแล้วครบ ๑๐๐ ปีในวันนี้ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒

 

เมื่อ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เจ้าพนักงานมณฑลภูเก็ตได้ปลูกปะรำไว้ที่ถนนโกมารภัจจ์ ซึ่งอยู่ริมโรงพยาบาล มณฑลภูเก็จใกล้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในครั้งนั้นมณฑลภูเก็ตได้อาราธนาคณะพระสงฆ์ มีเจ้าคุณอริยกระวี เจ้าคณะ มณฑลภูเก็จเป็นประธาน หม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็จ เป็นผู้ถวายรายงานการสร้าง ถนนเทพกระษัตรี เเล้วกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ ทรงเปิดถนน เทพกระษัตรี ทรงมีพระราชดำรัสตอบ พระราชทานนามถนนว่า ถนนเทพกระษัตรี ตามนามท้าวเทพกระษัตรี ผู้เป็น ๑ ใน ๔ ของวีรสตรีสยามประเทศ พระองค์เสด็จประทับรถพระที่นั่งทรงขับรถยนต์ด้วยตัวพระองค์เองเสด็จฯมาทอด พระเนตรค่ายท้าวเทพกระษัตรีที่เกาะบ้านเคียน เสด็จฯวัดพระทอง เสด็จฯจวนพญาเมืองภูเก็จพระยาวิชิตสงครามทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ที่บ้านท่าเรือแล้วเสด็จกลับพลับพลาที่ประทับที่บ้านสามกอง

 

กุศลจิตของสาธุชนเป็นสิ่งที่มนุษยชาติพึงปรารถนาให้เกิดขึ้นทั้งในครอบครัว ชุมชนสถานที่อยู่อาศัย แผ่ไกลสู่เพื่อนร่วมชาติร่วมศาสนา ร่วมสายธาราแห่งชีวิต อาตมาจึงขออำนาจบารมีพระรัตนตรัยที่เผยแผ่ไพศาลมานานกว่า ๒๕๕๒ ปี ได้เป็นที่พึ่งพาเสริมกำลังจิตของสาธุชนประกอบคุณงามความดีอันก่อให้เกิดจตุรพิธพรชัยทั้งตนเอง ครอบครัว เครือญาติผู้สืบสายสกุล ให้มีความสุขเกษมสำราญตลอดกาลนิรันดร์ เทอญ.

 

------------------------------------------------------------------------------------

 

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

เรียน ........(นายอำเภอถลาง นาย.......) ประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ในส่วนอำเภอถลาง

 

ข้าพเจ้า.....(นายนาง....... ตำแหน่ง.......) ตัวแทนชาวอำเภอถลาง กราบขอบพระคุณท่านที่เมตตาให้ เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ ๒ ช่วงวันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน ๒๔๕๒ ในวโรกาสนั้น พระองค์ทรงพระราชทานนามถนนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๓ สาย คือถนนภูเก็ตและถนนวิชิตสงครามในวันที่ ๒๘ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ และถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒

 

ใน “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘” ของ “นายแก้ว”(พระนามแฝงในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สรุปพระราชกรณียกิจความว่าในเช้าวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จมาทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี เจ้าพนักงานมณฑลภูเก็ตได้ปลูกปะรำไว้ที่ถนน โกมารภัจจ์ ซึ่งอยู่ริมโรงพยาบาลมณฑลภูเก็จใกล้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในครั้งนั้นมณฑลภูเก็ตได้อาราธนาคณะพระสงฆ์ มีเจ้าคุณอริยกระวี เจ้าคณะมณฑลภูเก็จเป็นประธาน หม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็จ เป็นผู้ถวายรายงานการสร้างถนนเทพกระษัตรี เเล้วกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี ทรงมีพระราชดำรัสตอบ พระราชทานนามถนนว่า ถนนเทพกระษัตรี ตามนามท้าวเทพกระษัตรีที่ได้ต่อสู้รบพุ่งต้านต่อกับพม่ายี่หวุ่น พล ๓,๐๐๐ คน เป็นเวลาเดือนเศษ พม่าเจ็บป่วยล้มตาย ประมาณ ๓๐๐ ๔๐๐ คน พม่าแตกทัพกลับไปเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘ มีนามปรากฏอยู่ในพระพงศาวดาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ตรัสชมว่าท้าวเทพกระษัตรีนี้ เป็นผู้หญิงเก่ง คนหนึ่ง ผู้หญิงที่จะได้มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในตำนานของชาติไทยเรามีน้อยนัก เพราะฉะนั้น จึงเป็นการสมควรแล้ว ที่จะมีอนุสาวรีย์ไว้ให้คนระลึกถึงและจำได้ต่อไปชั่วกาลนาน การที่ พระราชทานนามถนนสายถลางสายนี้ ตามนาม ท้าวเทพกระษัตรี นี้นั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง

ถนนเทพกระษัตรี(พ.ศ.๒๕๕๒)ยาวประมาณ ๔๓ กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนภูเก็ตติดถนนถลาง บริเวณ แถวน้ำ ในเขตเทศบาลนครภูเก็ตไปทางทิศเหนือผ่านหน้าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย หน้าวัดโฆษิตวิหาร ควนดินแดงเขต อบต.รัษฎาและ อบต.เกาะแก้ว ตัดข้ามคลองบางคูคดอันเป็นเขตแดนเมืองภูเก็จกับเมืองถลาง เข้าสู่อำเภอถลางในพื้นที่ อบต.ศรีสุนทร ผ่านด้านหลังจวนเจ้าเมืองภูเก็จพระยาวิชิตสงครามทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ในพื้นที่ของ พญาถลางเจ๊ะมะเจิม ผู้เป็นบิดาของพญาภูเก็จแก้วหรือปู่ของพญาภูเก็จทัต ผ่านสี่แยกบ้านท่าเรือต้นถนนศรีสุนทร และถนน เจ้าคุณคินเกตุ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ผ่านเมืองถลางบ้านลิพอน ถึงบ้านนครัม ข้ามบางปู สู่บ้าน หินรุ่ย เขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี “แต่ถนนไม่หมดอยู่เพียงนี้ ยังมีต่อไปอีกจนถึงท่ามะพร้าวฝั่งทะเล ขณะนั้นยังไปไม่ได้ เพราะสะพานยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ถนนช่วงหน้าวัดโฆษิตวิหารถึงบ้านท่าเรือโรยศิลาแล้วแน่นหนาเรียบดี ตอนตั้งแต่ บ้านท่าเรือไปบ้านเคียน อำเภอถลางยังไม่ได้โรยศิลา”

 

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงขับรถพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง เสด็จฯ จากหน้าวัดโฆษิตวิหาร อำเภอเมืองภูเก็ต เข้าสู่อำเภอถลาง เสด็จฯ ทอดพระเนตรค่ายท้าวเทพกระษัตรี ที่เกาะบ้านเคียน เสด็จฯ วัดพระทอง เสด็จฯ เสวยพระกระยาหารเที่ยงที่บ้านหลวงบริบูรณ์ นายอำเภอถลาง เสด็จฯ จวน เจ้าเมืองภูเก็จพระยาวิชิตสงครามทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จึงเสด็จฯ กลับพลับพลาที่ประทับที่บ้านสามกอง

 

พวกเราเหล่าอนุชนได้อ่านบทพระราชนิพนธ์ดังกล่าว มีความซาบซึ้งเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมใน พระราชกรณียกิจในครั้งนั้นของพระองค์ และปวงข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ด้วยความจงรักภักดีแด่สถาบันพระมหากษัตราธิราชเจ้า ในช่วงที่พระองค์พระราชทานนามถนนเทพกระษัตรี กาลล่วงแล้วครบ ๑๐๐ ปีในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ วันนี้ด้วยอีก ประการหนึ่งนั้น จึงร่วมกันจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ

๑. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้รับทราบและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวภูเก็ต

๒. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้มีโอกาสร่วมถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราช-

สุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา

๓. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเกิดความสำนึก ความภาคภูมิใจ ในประวัติศาสตร์แผ่นดินของตนเอง

๔. เพื่อเป็นโอกาสอันดีที่ผู้นำศาสนาจะได้นำศาสนิกชนร่วมประกอบคุณงามความดีอีกวาระหนึ่ง

 

การจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ดำเนินงานมาได้ด้วยความร่วมมือขององค์กรรัฐ องค์กรเอกชน และบุคคลจำนวนมาก อาธิเช่น
.............................................................................

........................................................................................

 

ข้าพเจ้าจึงขอกราบเรียนท่านประธานประกอบพิธีเปิดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี จักได้เป็นสิริ มงคลสืบกาลสืบไป.

 

 

------------------------------------------------------------------------------------

 

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

นมัสการพระเดชพระคุณเจ้า ......................

เรียน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี

นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี

ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง

........................................... .................................. ....................................

ท่านผู้มีเกียรติ

 

ด้วยหน้าที่ที่ดำรงไว้แห่งใจของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงได้มอบหมาย ให้ข้าพเจ้ามาบำรุงงานราชการในอำเภอถลาง ร่วมกับข้าราชการหลายท่านในที่นี้

ข้าพเจ้าทราบดีว่าอำเภอถลางซึ่งพัฒนามาจากเมืองถลางเคยเป็นขุมคลังพระราชทรัพย์ในองค์พระ มหากษัตราธิราชเจ้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ชาวถลางได้ทำงานอย่างหนักมาตลอด ๕๐๐ ปีที่ผ่านมาเพื่อรักษาและส่ง พระราชทรัพย์เข้าสู่คลังเมืองหลวง พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีจำนวน ๔ พระองค์ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการ เหมืองแร่ดีบุกในจังหวัดภูเก็ตมาตั้งแต่บรรพกาล และทราบรายละเอียดจากรายงานในพระราชกรณียกิจในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานนามถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ และพี่น้อง ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้ใช้ถนนเทพกระษัตรีสืบมายาวนานจนมีอายุครบ ๑๐๐ ปีในวันนี้

ข้าพเจ้าทราบว่าพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จฯ ถึงอำเภอถลาง คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวในกาลสืบมา พระองค์ได้เสด็จฯ ถึงค่ายท้าวเทพกระษัตรีที่เกาะบ้านเคียน และทรงพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุ ร.ศ.๑๒๘ ให้พวกเราซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์แผ่นดินถลางแผ่นดินมาตุภูมิของพวกเรา

ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ได้ร่วมจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี จนเป็นรูปธรรม ด้วยความเรียบง่าย แต่มากล้นด้วยคุณค่าอเนกอนันต์ทางด้านจิตใจเพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งความ สามัคคีของทุกหมู่เหล่า บำรุงพระศาสนาทุกศาสนาอย่างเช่นวันนี้ และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีให้ปรากฏแก่สายตา ชาวโลกอย่างมั่นใจ

ข้าพเจ้าขออำนาจพระธรรมคุณของทุกศาสนา ขออำนาจบารมีในองค์พระมหากษัตริยาราชเจ้าทุก พระองค์ และบารมีแห่งความกล้าหาญด้วยสติปัญญาประดุจเทพของท้าวเทพกระษัตรี ได้ร่วมอำนวยพรให้ท่านผู้มีเกียรติ

มีความสุขความเจริญสืบไป

 

ข้าพเจ้าขอเปิดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ในส่วนอำเภอถลาง ณ ฤกษ์มงคลบัดนี้

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้885
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1008
mod_vvisit_counterทั้งหมด10687663