Andaman Center ศูนย์อันดามัน บ้านท่าด่าน ภูงา ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา 82000 Map to Andaman Center เส้นทางไปศูนย์อันดามัน ศูนย์อันดามัน อยู่ในเขตบ้านท่าด่าน ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา รัฐบาลไทยสร้างด้วยงบประมาณ 188 ล้านบาท เมื่อ พ.ศ.2552 มีห้องแสดงนิทรรศการ ๕ เรื่อง คือ 1. อันดามันเป็นที่สุดแห่งใจ 2. โบราณคดี 3. อันดามันวันนี้ 4. เขาป่านาเล และ 5. อันดามันคือสวรรค์แห่งความสุข เปิดเวลา 9.00 - 15.30 น. ทุกวันเปิดราชการ. 101 อันดามันคือสวรรค์แห่งความสุข 106 พังงา... สวรรค์แห่งป่าเกาะ ในเขตจังหวัดพังงา มีการค้นพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มานานหลายพันปี ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา ภาพเขียนสีผนังถ้ำและเพิงผา เป็นต้น เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ พบหลักฐานว่า เมืองทุ่งตึก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เคยเป็นเมืองท่า หรือสถานีการค้าระดับนานาชาติ ที่เคยรุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-16 ล่วงมาจนถึงสมัยอยุธยา พังงามีฐานะเป็นเมืองแขวง ขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง ครั้งถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ได้รับการยกฐานะให้เป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง ครั้นถึงสมับรัชกาลที่ 2 พม่าเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง จึงมีการย้ายผู้คนมาอยู่ที่ตำบล กราภูงา ซึ่งอยู่บริเวณปากน้ำพังงา และตั้งชื่อเมืองว่า ภูงา ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเพี้ยนเป็น พังงา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 เมืองพังงา เมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่ง ขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ กระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการยุบเมืองตะกั่วป่า ไปขึ้นกับเมืองพังงา หลังจากนั้น พังงาก็ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดในสมัยรัชกาลที่ 6 ทว่าช่วงที่เมืองรุ่งเรืองอย่างที่สุดนั้น อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะกิจการเหมืองแร่ดีบุกในพังงาเจริญก้าวหน้ามาก หลังจากหมดยุคเหมืองแร่ พังงาก็กลับสู่ความเงียบสงบ ก่อนจะกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่งดงาม โดยเฉพาะกลุ่มเกาะที่เรียงรายอยู่ในทะเลอันดามัน จนได้รับสมญานามว่า “ดินแดนแห่งป่าเกาะ” นอกจากนี้ ยังมีผืนป่าชายเลน ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย 106 Phang Nga- Land of the Island Jungle. Archaeological evidence shows that the land of Phang Nga province had been inhabited by humans for thousands of years since prehistoric time. It includes, for example, stone tools, ceramic utensils, and color paintings on walls and under overhanging cliffs. According to evidence, the town of Thung Tuk, Takua Pa district, Phang Nga province had been an ancient port and international trading post that prospered from the 13th to 16th Buddhist centuries (AD 8th -11th centuries). During the Ayutthaya period, Phang Nga was made a khweang town under the Takua Pa town. In the first reign of the Rattanakosin (Bangkok) era, it was upgraded to the same level as Takua Pa and Takua Thung. In the second reign, when Burma attacked Takua Pa, Takua Thung, and Thalang, there was an exodus to the Kra Phu Nga sub-district around Phang Nga estuary. The location came to be named Phu Nga subjected to the city of Nakon Si Thammarat. The name was later corrupted to Phang Nga. In the third reign, Phang Nga, Takua Pa, and Takua Thung were placed under Bangkok. In the fifth reign, Takua Pa was collapsed to merge with Phang Nga, with Phang Nga later upgraded to provinciality in the sixth reign. The most prosperous period, however, was during the fifth reign, due to the booming tin mining industry of Phang Nga. The end of the mining era saw Phang Nga returning to a peaceful town, before rising again to a new-found fame as a gala travel destination of sun, sand, and sea. It is especially famed for a mass of islands, outcrops, monoliths, cliffs, and breathtaking scenery dotting the coastal seashore of the Andaman Sea. Its so-called “Land of the Island Jungle” is well deserved. It also has one of the most fertile mangrove forests in Thailand. คำถาม 1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในเขต จ.พังงา พบว่าเมืองใด ในอำเภอตะกั่วป่า เคยเป็นเมืองท่า หรือสถานีการค้าระดับนานาชาติ ก. เมืองตะกั่วป่า ข. เมืองทุ่งทอง ค. เมืองทุ่งตึก ง. เมืองทุ่งมะพร้าว 2. สมัย ร.2 พม่าได้เข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง จึงมีการย้ายผู้คนมาอยู่ที่ตำบลใด ในบริเวณปากน้ำพังงา ก. ตำบลภูงา ข. ตำบลกราภูงา ค. ตำบลกระพังงา ง. ตำบลกราพังงา 3. พังงาได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดในสมัยรัชกาลใด ก. รัชกาลที่ 3 ข. รัชกาลที่ 4 ค. รัชกาลที่ 5 ง. รัชกาลที่ 6 4. ช่วงที่พังงารุ่งเรืองที่สุดด้วยกิจการเหมืองแร่ดีบุก คือรัชกาลใด ก. รัชกาลที่ 3 ข. รัชกาลที่ 4 ค. รัชกาลที่ 5 ง. รัชกาลที่ 6 5. พังงาเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่งดงาม จนได้รับสมญานามว่าอย่างไร ก. ดินแดนแห่งป่าเกาะ ข. ดินแดนแห่งขุนเขา ค. ดินแดนแห่งสวรรค์ ง. ดินแดนในหุบเขา (106 @ธิดารัตน์ ดิษฐอำไพ รายงาน) 107 อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ล่องเรือหรือพายคายักเที่ยวอ่าวพังงา ชมผืนป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ และชมความงามของภูมิประเทศบบป่าเกาะ พายลอดถ้ำลอด เยี่ยมชมหมู่บ้านลอยน้ำที่เกาะปันหยี ชมเขาตะปู เขาพิงกัน และภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาเขียน 107 Ao Phang Nga Marine National Park Visitors have options of cruising or sea-kayaking in the Phang Nga bay (Ao Phang Nga), observing a fertile mangrove forest, and admiring the scenic landscape of limestone rock formations of various size and shapes. Locations of uncommon interest include a floating sea village of Panyi Island, Tapu Island, Khao Ping Kan Island, and prehistoric rock painting on Khao Khian. คำถาม 1.หมู่บ้านลอยน้ำใน จ.พังงา ตั้งอยู่ที่ใด ก. เกาะพระทอง ข. เกาะละวะ ค. เกาะปันหยี ง. เกาะมะพร้าว (107 @ธิดารัตน์ ดิษฐอำไพ) ป่าพรุท่าปอม คลองสองน้ำ ป่าพรุท่าปอมเป็นป่าที่มีแหล่งน้ำสวยงามหลายแห่ง มีต้นกำเนิดจากแอ่งน้ำช่องพระแก้ว ซึ่งเป็นน้ำจืดใสสะอาดจนมองเห็นพื้นน้ำและรากไม้ป่า น้ำไหลเอื่อยมาบรรจบกับป่าโกงกางสู่ทะเลซึ่งเป็นน้ำเค็ม จึงได้ชื่อว่า คลองสองน้ำ ภายในมีการเดินศึกษาธรรมชาติ ให้นักนิยมไพรผู้รักธรรมชาติเดินศึกษาหาความรู้และความเพลิดเพลิน Tha Pom Peat Swamp Forest, Song Nam Canal The Tha Pom peat swamp forest is a source of several beautiful streams, which originate from the Chong Phra Kaeo pond. The freshwater is so crystal-clear that the bottom and submerged tree roots are plainly visible. The meandering water flows on to meet with the mangrove forest and seawater, hence its name Song Nam Canal, or Canal of Two Waters. The nature trail provided in the swamp affords nature lovers a chance to observe and learn about the flora and fauna, and to enjoy nature at its best. คำถาม ป่าพรุท่าปอม คลองสองน้ำ มีต้นกำเนิดจากแอ่งน้ำใด ก. แอ่งน้ำตกโตนปริวรรต ข. แอ่งน้ำคลองท่อม ค. แอ่งน้ำสระมโนราห์ ง. แอ่งน้ำช่องพระแก้ว 108 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามันที่มีทั้งหมด 9 เกาะ (คำว่า “สิมิลัน” เป็นภาษามลายู แปลว่า เก้า) ได้รับการยกย่องว่ามีความงามทั้งบนบกและใต้น้ำที่ยังคงความสมบูรณ์ของท้องทะเล สามารถดำน้ำได้ ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก มีปะการังสีสันสวยงามหลายชนิด ปลาหลากหลายสีสันและหายาก เช่น ปลากระเบนราหู วาฬ โลมา ปลาไหลมอเรย์ และปลาการ์ตูน 108 Similan Islands Marine National Park Similan Islands are comprised of 9 major Islands. (The word “Similan” is Malay, meaning ‘nine.’) The Islands have been praised for incomparable scenic beauty both above and under the sea, a proof of the richness of natural providence in the waters and Island. It is a divers’ paradise both for shallow and deep waters, boasting spectacular corals of many kinds, and colorful and rare fishes, e.g. Manla Ray, Whale Shark, Dolphin, Moray Eel, and Clown fishes. คำถาม 1.คำว่า “สิมิลัน” เป็นภาษาใด ก. ภาษามลายู ข. ภาษาสันสกฤต ค. ภาษาถิ่นใต้ ง. ภาษาผสมไทย-มลายู 2. คำว่า “สิมิลัน” แปลว่าอะไร ก. หมู่เกาะ ข. แปด ค. เก้า ง. ไม่มีข้อใดถูก 3. หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามันที่มีทั้งหมดกี่เกาะ ก. 6 เกาะ ข. 7 เกาะ ค. 8 เกาะ ง. 9 เกาะ (108 @ธิดารัตน์ ดิษฐอำไพ รายงาน) 110 อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ พื้นที่อุทยานฯ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำพังงา และแม่น้ำตะกั่วป่า สัตว์ที่มีให้พบเห็น ได้แก่ สมเสร็จ เสือ เลียงผา ลิง ค่าง กวาง เก้ง นกหว้า นกเงือก นกหัวขวาน นกปรอด นกขุนทอง สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ น้ำตกลำรู่ เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีทั้งหมด 5 ชั้น มีน้ำตลอดทั้งปี Khao Lak-Lamru Marine National Park The park area is an extensive mountain rang of continuous peaks, carpeted with wet evergreen forest that source and drainage areas of the Phang nga and Takua Pa rivers. The park is an habitat of richly-diverse wildlife species including tapir, tiger, serow, monkey, langur, great argus pheasant, hornbill, woodpecker, bulbul, and hill myna. Its popular tourist attraction is Namtok Lamru (Lamru waterfall), a 5-tiered medium-sized fall with year-round running water. คำถาม 1.ต้นกำเนิดของแม่น้ำพังงาและแม่น้ำตะกั่วป่า คือที่ใด ก. อุทยานแห่งชาติพังงา-ตะกั่วป่า ข. อุทยานแห่งชาติท้ายเหมือง ค. อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ง. อุทยานแห่งชาติลำปี 2. น้ำตกลำรู่ มีทั้งหมด 5ชั้น จัดเป็นน้ำตกขนาดใด ก. ขนาดเล็ก ข. ขนาดกลาง ค. ขนาดใหญ่ ง. ขนาดพิเศษ(110 ธิดารัตน์ ดิษฐอำไพ รายงาน) 111 ระนอง... ประตูสู่อันดามัน Ranong-Gateway to The Andaman ระนอง เป็นดินแดนที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐานอย่างน้อยตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ดังปรากฏหลักฐานชุมชนโบราณต่างๆ เช่น ภูเขาทอง บางหว้า ควนบางโร ซึ่งเป็นเมืองท่าซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ระหว่างคนพื้นเมือง กับพ่อค้าสำเภาต่างถิ่น สมัยอยุธยาเมืองระนองเป็นหัวเมืองขนาดเล็กที่ขึ้นอยู่กับเมืองชุมพรซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นตรี กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองระนองให้เป็นหัวเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่5 ระนองมีฐานะเป็นหัวเมืองอิสระ และต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัด มีการยุบเมืองตระ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองชุมพร มาพร้อมๆกับระนอง แล้วเปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่าอำเภอกระบุรี ขึ้นกับจังหวัดระนองตั้งแต่นั้นมา ระนอง เป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ฝั่งอันดามัน หรือ “ประตูสู่อันดามัน” ในอดีตเป็นแหล่งแร่ดีบุกที่สำคัญ สันนิษฐานว่า คำว่า เมืองระนอง เพี้ยนมาจาก เมืองแร่นอง ปัจจุบันระนองแหล่งท่องเที่ยวมากมาย เหมาะสำหรับผู้รักธรรมชาติและความสงบเงียบ ท้องทะเลสวยใส อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรใต้น้ำ เกาะขนาดเล็กใหญ่จำนวนมาก แหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ และป่าไม้เขียวขจีบริสุทธิ์ 111 Ranong had been inhabited by man at laest since the early historic time. Archaeologicle evidence shows ancient communities with names like Phukhao Thong, Bang Wa, and Khuan Bangro, which are trading posts where locals and foreign merchants from arriving vessels carry on commercial transactions. During the Ayutthaya period, Ranong is a small seaside hamlet under Chumphon, belonging in the third class of provincial goverments. In the fourth reign of Bangkok, it was placed in the fourth class under control of Bangkok. In the fifth reign, it achieved an autonomous status, later upgraded to provinciality. The town of Tra, previously of equal status as Ranong under Chumphon, was changed into an amphoe (district), called Kra Buri district, and transferred under Ranong province. It has been so ever since. Ranong province come first on the southern route along the Andaman sea coast, henceits moniker “Gateway to the Andaman.” In the past, the seaside town was another chief source of tin. It is conjectured that the name Ranong was corrupted frome Rae Nong (mother lode). Today Ranong has many tourist attractions all lovers of nature and tranquility will find agreeable. Its sea is plentiful of marine treasure and dotted profusely with big and small islands. The land is lush with the greenery of virgin forest. คำถาม 1.ในสมัย ร.5 ระนองมีฐานะเป็นอย่างไร ก. เป็นเมืองขึ้น ข. เป็นหัวเมือง ค. เป็นหัวเมืองอิสระ ง. เป็นหัวเมืองจัตวา 2. คำว่า “ระนอง” เพี้ยนมาจากคำใด ก. เมืองรานอง ข. เมืองแร่นอง ค. เมืองแรมนอง ง. เมืองรัฐนอง (111 @ธิดารัตน์ ดิษฐอำไพ รายงาน) 112 พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ (จำลอง) พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ เดิมพระยารัตนเศรษฐี เจ้าเมืองระนองสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2433 ภายหลังยังได้ใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 อีกด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2507 ได้มีการรื้อถอนพระที่นั่ง แล้วสร้างเป็นศาลากลางหลังปัจจุบัน ต่อมา พ.ศ. 2545 จังหวัดระนอง ได้สร้างพระที่นั่งรัตนรังสรรค์จำลอง ขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่เดิม เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จประทับแรมของพระมหากษัตริย์ ทั้ง 3 พระองค์ 112 Rattana Rangsan Throne Hall (Replica) Rattana Rangsan Throne Hall was built by Ranong Governor Phraya Rattana Setthi as a reception residence for the visiting of King Chulalongkorn (King Rama V) in BE 2433 (AD 1890). It was later used also to welcome the King of the sixth and seventh reigns. In BE 2507 (AD 1964), It was dismantled and replaced with the city hall of the present day. In BE 2545 (AD 2002), Ranong authorities built a replica of Rattana Rangsan Throne Hall on a plot near its former spot to commemorate the royal visits and accommodation of the Kings. คำถาม 1.พระที่นั่งรัตนรังสรรค์เดิมเจ้าเมืองคนใดเป็นผู้สร้างขึ้น ก. พระยารัตนเศรษฐี ข. พระยารัตนพันธ์ ค. พระยารัตนรังสรรค์ ง. พระยารัตนรังสฤษดิ์ 2. ภายหลังพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ ได้มีการรื้อถอนแล้วสร้างเป็นอะไร ก. พระที่นั่งจำลอง ข. ศาลากลาง ค. ที่ว่าการอำเภอ ง. สำนักงานที่ดิน 3. พระที่นั่งรัตนรังสรรค์จำลอง ตั้งอยู่ที่จังหวัดใด ก. ระยอง ข. ระนอง ค. ยะลา ง. สตูล (112 @ ธิดารัตน์ ดิษฐอำไพ รายงาน) 133ภาพเขียนสี ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เขาแบนะ ภายในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมนอกจากทะเลและชายหาดที่สวยงามแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาแบนะ ซึ่งมีอายุนับพันๆ ปี เป็นหลักฐานแสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในยุคแรก ๆ Prehistoric Paintings at Bae Na Mountain Apart from the breathtaking sea and beaches, the Hat Chao Mai Marine National Park has another interesting attraction-prehistoric paintings at Bae Na Mountain, dating back several thousand years ago. The evidence confirms Trang as another ancient settlement for earliest people. คำถาม 1.อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมนอกจากทะเลและชายหาดที่สวยงามแล้ว ยังมีสิ่งใดที่น่าสนใจอีก ก. ปลาโลมา ข. ปะการัง ค. ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ง. หอยแปลก ๆ (133 จุทามาส บุตรมณี) 201 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ 208 ทุ่งตึก…สถานีการค้านานาชาติบนเส้นทางสายไหมทางทะเล แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก หรือ เหมืองทอง ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นเมืองท่าหรือสถานีการค้าระดับนานาชาติบน “เส้นทางสายไหมทางทะเล”ซึ่งเชื่อมโยงการค้าระดับโลกตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ทุ่งตึกยังเป็นเมืองท่าบนเส้นทางขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรไปมาระหว่างฝั่งทะเลอันดามันกับทะเลอ่าวไทย เรียกว่า“เส้นทางสายตะกั่วป่า – อ่าวบ้านดอน” ที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในสมัยศรีวิชัย กรมศิลปากร ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณทุ่งตึก พบซากโบราณสถานถึง ๘ แห่ง และโบราณวัตถุจำนวนมาก มีอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๖ เช่น เครื่องถ้วยจากเปอร์เซีย จีน เครื่องแก้วจากตะวันออกกลาง ลูกปัดหินและแก้วหลากสี ขวดแก้วใส่น้ำหอม เครื่องประดับทำจากทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าชั้นดีหรือสินค้าฟุ่มเฟือย แสดงให้เห็นถึงการเคยเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่เคยเฟื่องฟูอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา และเทวรูป แสดงว่าเป็นเมืองท่าแห่งนี้เจริญขึ้น ภายใต้อิทธิพลทางศาสนาทั้งพุทธและฮินดูจากประเทศอินเดีย การที่พ่อค้าชาวอาหรับ เปอร์เซีย อินเดีย และจีน เข้ามาตั้งสถานีการค้าบริเวณทุ่งตึก เนื่องจากตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสมในการเป็นที่จอดเรือหลบคลื่นลม มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้ทะเลหลวงขนาดใหญ่สามารถเข้าออกสะดวก อีกทั้งตั้งอยู่ตรงปากแม่น้ำตะกั่วป่า ซึ่งการคมนาคมทางเรือทั้งขึ้นและล่องตามลำน้ำจะต้องผ่านเสมอ และมีเส้นทางข้ามคาบสมุทรที่สะดวกกว่าเส้นทางสายอื่น ทุ่งตึกคงจะเจริญรุ่งเรืองอยู่ในสมัยศรีวิชัยในนาม เมืองตะโกลา และตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยเป็นเวลานาน ส่วนสาเหตุการซบเซาลงไปนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด อาจมาจากเกิดสงครามหรือถูกศัตรูรุกรานในตอนปลายของสมัยศรีวิชัย หรืออาจเกิดจากเส้นทางการเดินเรือที่เปลี่ยนไปเดินเรืออ้อมแหลมมลายูแทนการเดินทางข้ามคาบสมุทร ThungTuk…International Trading post on the Maritime Silk Route The ThungTuk (or Mueang Thong) archaeological site, KoKhao sub-district, Takua Pa distric, Phang-Nga province is an international part and trading post on the “Maritime Silk Route”, liking world trade between the West and the East. As a major crossroad of ancient international commercial traffic nestled in a clam bay, ThungTuk occupies a strategic position on the transpeninsular route between the Andaman coast and the Gulf of Thailand coast. This so-called Takua Pa-Ao Ban Don Route evidently flourished during the Sri Vijayaempire. The Fine Arts Department did an excavation at the ThungTuk archaeological site and found the ruins of as many as 8 an ancient structure and a large lot of ancient artifacts, whose estimated age ranges from the 13th-16th centuries BE(8th -11th centuries CE). They are Persion and Chinese ceramics, glassware from the Middle East, colored stone and glass beads, perfume glass bottles, and gold ornaments, all of which certainly are pricey or luxury items of hight quality. The discoveries confirm that the port was once clearly a big, flourishing port no the world’s sea trade route. There are also other discoveries including Buddha images, ceramic votive tablets, and deva iconic figures, which shows that this part flourished under Buddhist and Hindu influences. Arab, Persian, Indian and Chinese merchants chose ThungTuk as their trading post and settlement because of its location and natural environment that provide ideal shelter for mooring ships away from storms, its rich natural resources, accessibility and proximity to the big open sea. Its location on the Takua Pa estuary also commands a spot that both inbound and outbound river boats are bound to pass all the time. The port in further supported by inland trans peninsular route that are more convenient than in other zones of the isthmus. ThungTuk probably flourished during the Sri Vijaya period, know as Takola. It must have been under the control of the Sri Vijayaempire for a long period, but for lack of evidence, the cause of its decline has yet to be determined. Perhaps there was a war or it was invaded enemies in late Sri Vajaya times or a changeover of shipping route from overland transpebinsular transfer to the preferred circumvention of the Malay Peninsula in later times. คำถาม 1.สิ่งใดที่แสดงให้เห็นว่า เมืองท่าหรือสถานีการค้า เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ก. พบซากโบราณสถานถึง 8 แห่ง ข. พบพระพุทธรูปและเทวรูป ค. พบเครื่องประดับทำจากทองคำ ง. ถูกทุกข้อ (208 @ จริยา ย่องบุตร รายงาน) 209 เส้นทางคาบสมุทรภาคใต้ จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบว่าเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามสมุทรภาคใต้ จากฝั่งอันดามันมายังฝั่งอ่าวไทย สันนิษฐานว่ามีด้วยกันหลายเส้นทาง ที่สำคัญประกอบด้วย ๑. เส้นทางสายปากจั่น – เขาสามแก้ว จากปากน้ำกระบุรี จังหวัดระนอง ไปยังเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ๒. เส้นทางสายตะกั่วป่า – อ่าวบ้านดอน จากเมืองโบราณทุ่งตึก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ล่องตามลำน้ำตะกั่วป่า – เดินบกข้ามเขาสก – ล่องเรือตามคลอกสกแม่น้ำพุ่มดวง และแม่น้ำตาปี – อ่าวบ้านดอน ๓. เส้นทางสายปากคลองลาว – อ่าวบ้านดอน (บ้างเรียกว่าทางสายปากพนม) ล่องเรือจากปากคลองลาว อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ – เดินบกผ่านเขาต่อ มาบ้านปากพนม – ล่องเรือตามคลองพนม – แม่น้ำพุ่มดวง – อ่าวบ้านดอน ๔. เส้นทางสายคลองปกาไส – อ่าวบ้านดอน ล่องเรือจากปากตลองปกาไส อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ – คลองสินปูน – แม่น้ำตาปี – อ่าวบ้านดอน ๕. เส้นทางสายคลองท่อม – อ่าวบ้านดอน ล่องเรือจากควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ – คลองสินปูน – แม่น้ำตาปี – อ่าวบ้านดอน แม้จะมีเส้นทางข้ามคาบสมุทรหลายเส้นทาง แต่สันนิษฐานว่า เส้นทางสายตะกั่วป่า – อ่าวบ้านดอน น่าจะเป็นเส้นทางสำคัญที่สุดและมีพบหลักฐานทางโบราณคดีมากที่สุด คือ มีเมืองท่าที่อยู่ร่วมสมัยกันทั้งสองด้าน แถบอันดามัน คือ ทุ่งตึก บนเกาะคอเขา ส่วนแถบอ่าวไทย คือ แหลมโพธิ์ ในอ่าวบ้านดอน จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบโบราณวัตถุที่เหมือนกัน แสดงการติดต่อในช่วงเวลาเดียวกันอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ตามเส้นทางจากทุ่งตึก – อ่าวบ้านดอน ยังพบแหล่งโบราณคดีหรือโบราณสถานที่อยู่ร่วมกันเป็นระยะ ๆ ตลอดเส้นทาง เช่น เขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่า เขาพระนารายณ์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ควนพุนพิน เขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน เขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน และแหลมโพธิ์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เทคโนโลยีการเดินเรือและการต่อเรือเจริญก้าวหน้าขึ้น จึงมีการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกาอ้อมแหลมมาลายู ทำให้เมืองท่าสำคัญเปลี่ยนไปอยู่บริเวณปลายแหลมมลายูและเกาะสุมาตราแทน สถานีการค้าตอนกลางของคาบสมุทรทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย Southern Transpeninsular Route Based on archaeologists’ studies, transpeninsular route in the Souther Region linking the Andaman coast and the Gulf of Thailand coast are many in number, with some of the important ones as follows: 1. Pak Chan – KhoSamkaewRouteFrom the Kraburi estuary, Ranong to KhaoSamkaeo, Chumphon. 2. Takua Pa – Ao Ban Don Route From the ancient Port of ThungTuk, Takua Pa district, PhangNga province, saliting on the Takua Pa River, walking over KhaoSak (Mountain Sok), sailing anongKhlongPhanom, PhumDuang River, arriving at Ao Ban Don. 3. Park Khlong Lao – Ao Ban Don Route (or Pak Phanom Route) Sailing from Pak Khlong Lao, AoLuk district, Krabi province, walking overland through Khao To to Ban Pak Phanom, sailing along KhlongPhanom, PhumDuang River, arriving at Ao Ban Don. 4. KhlongPakasal – Ao Ban Don Sailing from KhlongPakasai, MueangKrabi district, Krabi province, to Khaol Sin Pun, Tapi River, and Ao Ban Don. 5.Khlong Thom – Ao Ban Don Route Sailing from KhuanLukpad, Khlong Thom district, along Khlong Sin pun, Tapi River, to Ao Ban Don. Although there are several transpeninsular routes, Its is belived that the Takua Pa – Ao Ban Don Route is probably the most important route. There is overwhelming evidence supporting this belief: Contemporary ports are found on both coasts. On the Andaman is the post of ThungTuk on KoKhoKhao. On the Gulf of Thailand coast is the port of Laem Pho in Ao Ban Don. Archaeological excavations unearthed similar ancient artifacts, showing that close trade relations between them existed at the sometime. In addition, along the ThunkTuk – Ao Ban Don Route are found archaeological sites or heritage sites that exist contemporarily at intervals throughout the route. They are, for example, KhaoPhraNoe, Takua Pa district, KhaoPhraNarai, Lapong district, PhangNga province, KhuanPhunPhin, Khao Sri Vujaya, Phunphin district, and Laem Pho, Chaiya district, SuratThani province. About the late 17th century BE (12th century CE), navigation and ship-building technology had advanced considerably, leading to heavier traffic on shipping lanes in the Strait of Malacca at the tip of the Malay Peninsula. The new development gave rise to the burgeoning of important ports around the tip of the Malay Peninsula and on Sumatra Island instead. The former trading posts in the middle (isthmus) section of the peninsula on both the Andaman coast and the Gulf of Thailand coast gradually therefore lost its importance, before finally being deserted. คำถาม 1.ข้อใดคือเส้นทางการขนส่งสินค้าจากฝั่งอันดามันมายังฝั่งอ่าวไทย ก. เส้นทางสายปากจั่น-เขาสามแก้ว ข. เส้นทางสายตะกั่วป่า-อ่าวบ้านดอน ค. เส้นทางสายปากคลองลาว-อ่าวบ้านดอน ง. ถูกทุกข้อ (209 @ จริยา ย่องบุตร รายงาน ) 210 เมืองท่าโบราณในอันดามัน การอยู่บนเส้นทางสายไหมทางทะเลของโลก และอยู่กึ่งกลางของเส้นทางเดินเรือระหว่างจีนกับอินเดีย ซึ่งมีอารยธรรมและการค้ารุ่งเรืองสืบเนื่องกันมานานนับพันปี การเดินเรือติดต่อค้าขายกันระหว่างสองประเทศ จึงต้องใช้คาบสมุทรของภาคใต้ของไทยเป็นทางผ่าน เมืองท่ายุคแรก ๆ ในอันดามันเกิดจากการเข้ามาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รวมถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของนักเดินเรือหรือพ่อค้าจากภายนอกโดยเฉพาะจากอินเดียในช่วงแรกและจึงค่อย ๆ ผสมผสานเข้ากับคนพื้นเมืองในภายหลัง ดินแดนอันดามันมีการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่สันนิฐานว่าเคยเป็นเมืองท่านานาชาติ หรือสถานีการค้าหลายแห่งที่สำคัญ เช่น -แหล่งโบราณดคีลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ -แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง -แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก หรือ เหมืองทอง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมืองท่าต่าง ๆ เหล่านี้มีอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๑๖ Ancient Ports in the Andaman The facts of being located on the world’s Sea Silk Route, and midway on shipping lanes between China and Indian whose civilization trade with each other had flourished for thousands of years make it necessary for their maritime shipping and trade to have recourse to Thailand’s southern peninsular as their shortcut pass. Early ports in the Andaman began with barter trade and cultural exchange, including settlement by voyagers or merchants from the outside world, particularly from India during earliest periods. These alien settlers were later assimilated into the local population. On the Andaman lands are discovered several archaeological sites believed to have been international ports or trading posts. The most important of these ancient outposts include, for examply, - KhuanLukpad archaeological site, Khlong Thom district, Krabi province. - Phukhao Thong archaeological site, Suk Samran district, Ranong province. - ThungTuk (or Mueang Thong) archaeological site, Takua Pa district, PhangNga province. These ports were in openation between the 6th – 16th centuries BE (1st – 11th centuries CE). คำถาม 1.เส้นทางสายไหมทางทะเลของโลก จะอยู่กึ่งกลางเส้นทางการเดินเรือระหว่างประเทศอะไร ก. เปอร์เซีย-จีน ข. จีน-อินเดีย ค. อินเดีย-มาเลเซีย ง. ถูกทุกข้อ 2. ข้อใดคือแหล่งโบราณคดีที่สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองท่านานาชาติ ก. แหล่งโบราณคดีลูกปัด ข. แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ค. แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก ง. ถูกทุกข้อ (210 @ จริยา ย่องบุตร รายงาน) 211 ควนลูกปัด…แหล่งผลิตลูกปัดแหล่งใหญ่ของไทย KhuanLukpad – Thailand’s Big Source of bead Production แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เป็นอีกหนึ่งสถานีการค้าโบราณที่สำคัญของอันดามัน โดยอยู่บนเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามคาบสมุทร “สายคลองท่อม – อ่าวบ้านดอน” พบหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีการติดต่อค้าขายกับดินแดนโพ้นทะเลตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ จุดเด่นของโบราณคดีแห่งนี้คือการค้นพบโลกปัดโบราณจำนวนมากพอที่จะกล่าวได้ว่า เป็นแหล่งผลิตลูกปัดโบราณแหล่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ลูกปัดที่โดดเด่น ได้แก่ ลูกปัดแก้วรูปหน้าคน (Face Bead) คล้ายสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ ลักษณะสีสันและริ้วลาย คล้ายลูกปัดจากโรมัน นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุประเภทเครื่องราง เครื่องประดับตราประทับจากกรีก โรมัน เปอร์เซีย และอินเดีย แสดงให้เห็นถึงการเป็นสถานีการค้าใยระดับนานาชาติของเมืองท่าแหล่งนี้ 211 KhuanLukpad archaeological site, Khlong Thom district, Krabi province is another ancient trading post of the Andaman. It traverses the overland transpeninsular route Khlong Thom – Ao Ban Don. Archaeological evidence confirms trade relation with overseas lands from the 6th century BE (1st century CE) The outstanding feature of this site is the discovery of a big quantity of ancient beads, whose sheer size qualifies it as one of Thailand’s biggest archaeological site of dead manufacture. One type of the outstanding beads is face beads which resemble the sun face. Its hues and patterns are similar to Roman beads. Other the Graeco-Roman Empire, Persia and India. These articles of evidence confirm this ancient port as an international trading post of significance. คำถาม 1.จากการที่ค้นพบแหล่งผลิตลูกปัดแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดอะไร ก. สตูล ข. ตรัง ค. กระบี่ ง. พังงา จริยา ย่องบุตร 301 อันดามันวันนี้ ชาวเล…ยิปซีแห่งท้องทะเล ชาวเลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มาลาโย-โปลินิเซียน (Malayo-Polynesian) ที่เดินทางอพยพเร่ร่อนตามเกาะแก่งและชายหาด ดำรงชีพด้วยการทำประมงชายฝั่งตั้งแต่เขตพม่า ไทย มาเลเซีย ไปจนถึงอินโดนีเซีย ชื่อที่ใช้เรียกชาวเลมีหลายชื่อ เช่น ชาวเล ชาวน้ำ ไทยใหม่ Sea Dyak Sea Gypsy Orange Selat (คนช่องแคบ) Orang Laut (ชาวทะเล) ฯลฯ ชนกลุ่มนี้มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ผิวคล้ำ ตาดำ ผมหยิก มีความรู้พื้นบ้านด้านนิเวศทางทะเล สามารถแยกแยะลักษณะและสภาพแวดล้อมของหัวแหลม แนวปะการัง ความลึก ลักษณะของคลื่น มีความสามารถในการดำน้ำลึกเพื่อหาปลิงทะเล ดำน้ำเก็บหอย แทงปลา จับกุ้งมังกรด้วยมือเปล่า นอกจากนั้นยังมีความรู้พื้นบ้านด้านสมุนไพร Chao Le...The Sea Gypsies. Chao Le of the Malayo-Polynesian ethnic group ,who live a nomadic life along islands and beaches. They subsist on coastal fishing in shallow waters ranging from Burma, Thailand , Malaysia, to Indonesia. Chao Le are known by many names depending on where the name arises. They include Chao Le (People of the Sea, or Sea Gypsies), Chao Nam (Water People), Thai Mai (New Thai) Sea Dyak, Sea Gypsy, Orang Selat (Straits People), and orang Laut (Sea People). These people have somewhat small stature, dark complexion, black eyes, and curly or afro-hair. Possessing the uncanny wisdom .They have an ability to dive to great depths in search of sea cucumber and shellfish, can spear fishes well, and catch lobsters with bare hands. They are also well-versed in folk herbal medicine. คำถาม 1.ข้อใดไม่ใช่ชื่อที่ใช้เรียกชาวเล ก.ชาวน้ำ ข.ไทยใหม่ ค.คนช่องแคบ ง.ชาวเขา 400 เขาป่านาเล และโลกสีคราม 401 ฟอสซิล ป่าชายเลน มักจะพบบริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นดินเลน โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำระบบนิเวศป่าชายเลน ถือเป็นระบบนิเวศอยู่ในแนวเชื่อมต่อระหว่างผืนแผ่นดินกับทะเล จึงเป็นระบบที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง Mangrove Forest Frequently located in muddy coastal areas, particularly in estuarine environment, a mangrove forest acts as an intermediary ecological system linking the land and the sea, which invariably transforms into a unique system of great biodiversity.https://www.facebook.com/Andamanmuseum/posts/1639703436346773 406 แนวปะการัง สามารถพบได้เฉพาะในเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของน้ำ ไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียสเท่านั้น ระบบนิเวศในแนวปะการังถือว่ามีความซับซ้อนในเรื่องของห่วงโซ่อาหาร Coral Reefs Found only in tropical or sub-tropical sea where water temperature is not less than 18 degrees Celsius, the eco-system of coral reefs shows a highly complex development in terms of a food chain. 407 หญ้าทะเล พบได้ตามบริเวณชายฝั่งหรืออ่าวกึ่งปิดที่มีคลื่นลมค่อนข้างสงบ ซึ่งหญ้าทะเลนั้นมีวิวัฒนาการจากพืชบกแล้วค่อย ๆ ปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเล 407 Sea grass Found in coastal areas or semi-enclosed bays with calm sea, Sea grass was formerly land vegetation, gradually adapting itself to underwater conditions. 409 ป่าชายหาด เป็นป่าที่อยู่ระหว่างทะเลกับแผ่นดิน แต่อยู่ลึกเข้ามาในแผ่นดินจนน้ำทะเลท่วมไม่ถึง โดยพืชสามารถปรับตัวให้รับกับแรงลม ทนต่อความเค็มของไอทะเล และต้านทานต่อความแห้งแล้งได้ดี 409 (Beach Forest) This type of forest acts as a cushion between the sea and inland. Its location is just far enough to avoid seawater flooding. Vegetation in the area so adapts itself as to withstand strong wind and develop resistance to the saltiness of sea air. They also have good drought resistance. ในบริเวณป่าชายหาดสามารถพบต้นไม้ประเภทใดมากที่สุด ก. ต้นสน ข. ต้นแสม ค. ต้นไทร ง. ต้นโกงกาง อาทิตา เหมรา 411 ป่าดิบชื้น ป่าดิบชื้น มีลักษณะเป็นป่ารกทึบ ไม้ยืนต้นส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ยาง-ตะเคียน ที่มีลำต้นตั้งตรง สูงใหญ่ ถัดลงมาเป็นไม้ต้นขนาดกลางและขนาดเล็ก ไม้พื้นล่างรถทึบเต็มไปด้วยเถาวัลย์ ตามลำต้นของต้นไม้มีเฟิร์นและมอสส์ขึ้นอยู่ทั่วไป 411 (Tropical Rainforest) A tropical rainforest has a dense tangle of vegetation ranging in layers from emergent and canopy to understory and forest floor, under the year-round conditions of high rainfall, temperature and humidity. The majority of trees in Andaman rainforests are of the family Dipterocarpaceae (including Dipterocarps and Hopeas), which have vertically-straight, tall trunks, in addition to a huge number of medium and small trees, all competing for sunlight.Climbers and climbing plants carpet the forest floor, with vines, lianas, ferns and moss dangling from or covering the trunks and branches of trees. ในบริเวณป่าดิบชื้นสามารพบต้นไม้ประเภทใดมากที่สุด ก. ต้นตะเคียน ข. ต้นยางพารา ค. ต้นเฟิร์น ง. ถูกทุกข้อ(อาทิตา เหมรา รายงาน) 412 หลายพันธุ์ไม้ในป่าชายเลน พันธุ์ไม้ในป่าชายเลนจำนวนมากมีลักษณะที่พิเศษกว่าพันธุ์ไม้อื่น โดยประกอบด้วยพืช 2 กลุ่มใหญ่ คือ •พืชบก พันธุ์ไม้เด่นในป่าชายเลนส่วนใหญ่จะอยู่ในวงศ์ไม้โกงกาง (Rhizophoaceae) วงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) และวงศ์ตะแบก (Lythraceae) •พืชทะเล ได้แก่ สาหร่าย พบอาศัยอยู่ตามลำต้น และรากของไม้ป่าชายเลน บางชนิดอยู่ตามดินเลน ก้อนหิน เปลือกหอย หรือแม้แต่ซากใบไม้ต่าง ๆ 412 Diversity of Plant Species Plant species found almost exclusively in mangrove forest habitats are distinct from other plant species, and roughly divided into land species and marine plants. • The major land species are in the families of Rhizophoaceae (red mangrove), Acanthaceae (black mangrove), and Lythraceae (mangrove apple). • The marine plants for example algae are found on the stems and roofs of mangrove plants. Other kinds grow on muddy sediments, rocks, shells, or even shedded, rotting leaves. ข้อใดคือประโยชน์ของป่าชายเลนที่ถูกต้องน้อยที่สุด ก. เป็นร่มเงาให้แก่สัตว์น้ำและสัตว์บก ข. เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำชนิดต่างๆในป่าชายเลน ค. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคของสัตว์น้ำและสัตว์บก ง. เป็นที่กำบังลมพายุ ช่วยป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษโดยไม้ชายเลนจะคอยกลั่นกรองสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่มากับน้ำ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำ (อาทิตา เหมรา รายงาน) 413 หลายพันธุ์สัตว์ในป่าชายเลน ในป่าชายเลนเราจะพบสัตว์และพืชที่มีลักษณะแปลกแตกต่างจากระบบนิเวศแบบอื่น ๆ เนื่องจากสัตว์และพืชเหล่านี้จะต้องมีการปรับตัวให้สามารถอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ได้รับอิทธิพลของน้ำขึ้น น้ำลง และการเปลี่ยนแปลงระดับความเค็มของน้ำอยู่ตลอดเวลา 413 Diversity of Animal Species Animals and plants that thrive in mangrove forest environments are often different from those in other ecosystems due to the reason that these biological species need to adjust themselves to a marine Eco zone that is affected by ebb and flow tides, and the constantly-changing saline conditions of waters. สัตว์พันธุ์ใดที่สามารถพบในป่าชายเลนได้มากที่สุด? จ. กุ้ง,หอย ฉ. ปู, ปลา ช. งู, ลิง ซ. ถูกทุกข้อ (อาทิตา เหมรา 501) 502 508 รัชกาลที่ ๕ กับผืนแผ่นดินอันดามัน ตอนที่ ๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองอินเดีย ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับทางชลมารค โดยได้เสด็จประพาสหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตก คือ ภูเก็ต พังงา และไทรบุรี เพื่อทรงตรวจราชการและสัมผัสกับชีวิตของพสกนิกรอย่างใกล้ชิด แล้วเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคจากไทรบุรีข้ามแหลมมลายูมาลงเรือพระที่นั่งที่เมืองสงขลาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๑๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ร่วมแขวงปากลาว แขวงคลองพน และแขวงปกาไส ขึ้นเป็นเมือง เรียกว่า เมืองกระบี่ พ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเรียบแหลมมลายู ไปตามเส้นทางกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ – ชุมพร – ระนอง – ภูเก็ต – พังงา – กระบี่ – ตรัง – เกาะตะรุเตา – เกาะลังกาวี – ปีนัง – มะละกา – สิงคโปร์ – ปาหัง – ตรังกานู – กลันตัน – สงขลา – หมู่เกาะอ่างทอง – เกาะสมุย – เกาะพะงัน – ชุมพร – สมุทรปราการ – กรุงเทพฯ โดยทรงใช้เวลาถึง ๒ เดือนเต็ม (ตั้งแต่ ๑๖ เมษายน – ๑๕ มิถุนายน) 508 King Chulalongkorn In 1872, the newly-crowned, teenage King embarked on a series of regional and overseas tours in preparation for taking over the Royal duty of national administration upon reaching the legal age. He visited India and toured the western coastal cities of Phuket, Phang Nga, and Saiburi on the return trip for a close inspection and observation of the subjects’ living conditions. From Saiburi, he took an overland trip over the Malay Peninsula from Saiburi to Songkhla in order to sail for Bangkok. In 1872, the towns of Pak Lao, Khlong Phon, and pakasai were merged to create the city of Krabi. In 1890, King Chulalongkorn took an inspection tour of the Malay peninsular coasts of the country, via the itinerary of the following stops: Bangkok – Samut Prakan – Chumphon – Ranong – Phuket – Phang Nga – Krabi – Trang – Tarutao island – Langkawi island – Penang – Malaka – Singapore _ Pahang _ Trengganu _ Kelantan – Songkhla – Ang Thong archipelago – Samui island – Pha-ngan island – Chumphon – Samut Prakan – Bangkok. The entire trip took the King two full months to complete (from16 April to 15 June). คำถาม ข้อ ๑ พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองอินเดีย ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับทางชลมารค โดยได้เสด็จประพาสหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตก หัวเมืองใดที่ไม่ได้เสด็จประพาส ก.ภูเก็ต ข.พังงา ค.ไทรบุรี ง.ระนอง ข้อ๒ พ.ศ. ๒๔๑๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ร่วมแขวงปากลาว แขวงคลองพน และแขวงปกาไส ขึ้นเป็นเมือง เรียกว่า เมืองอะไร ก.เมืองกระบี่ ข.เมืองพังงา ค.เมืองภูเก็ต ง.เมืองนครศรีธรรมราช ข้อ๓ พ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเรียบแหลมมลายู ทรงใช้เวลานานถึงกี่เดือน ก.๑ เดือนเต็ม ข.๒ เดือนเต็ม ค.๓ เดือนเต็ม ง.๔ เดือนเต็ม 508@ปัญจาภรณ์ จิตตลอด รายงาน รูปภาพของ Andaman Center รูปภาพของ Andaman Center เข้าถึงแล้ว 22 คน โปรโมทโพสต์ 509 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เสด็จใต้ รัชสมัยพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) พ.ศ. ๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรทโอรสสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ได้แก่ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และ นครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๔๕๘ ซึ่งตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชคำริว่า เมืองกันดังนี้พื้นที่ไม่ปลอดภัยจากอริราชศัตรู อีกทั้งมีการระบาดของไข้อหิวาตกโรค จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ตำบลทับเที่ยง ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองตรังในปัจจุบัน พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตก เพื่อไปทรงตรวจราชการหัวเมืองชายทะเลในมณฑลภูเก็ต พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองสตูลที่เคยขึ้นกับมณฑลภูเก็ต ย้ายมาขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช เนื่องจากการคมนาคมสะดวกกว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จประภาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ King Vajiravudh In 1909, as the Crom prince of Siam, King Vajiravudh made an inspection tour of southern cities – Chumphon, Ranong, Phang Nga, Phuket, Krabi, Trang, and Nakhon Si Thammarat. In 1915, during the outbreak of World War I, King Vajiravudh, fearing that the town Kantang, on account of its location, might risk being attacked by enemies, in addition to the ongoing affliction of cholera-endemic areas, ordered the town’s relocation to Thap Thiang sub-district, which is the present location of the city of Trang. In 1917, King Vajiravudh visited southern cities on the western coast as part of the inspection tour of the coastal Phuket Monthon. In 1925, Satun was tranaferred from the Phuket Monthhon administration to the Nakhon Si Thammarat Monthon for reason of greater transportation convenience. King Vajiravudh (when being the Crown Prince) paid a visit to southern cities in 1909. คำถาม พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตก เพื่อไปทรงตรวจราชการหัวเมืองชายทะเลในมณฑลใด ก.มณฑลภูเก็ต ข.มณฑลไทรบุรี ค.มณฑลถลาง ง.มณฑลตะกั่วทุ่ง พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองสตูลที่เคยขึ้นกับมณฑลภูเก็ต ย้ายมาขึ้นกับมณฑลใด ก.มณฑลไทรบุรี ข.มณฑลถลาง ค.มณฑลนครศรีธรรมราช ง.มณฑลตะกั่วทุ่ง พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองสตูลที่เคยขึ้นกับมณฑลภูเก็ต ย้ายมาขึ้นกับมณฑลอื่น เนื่องจากสาเหตุใด ก.การย้ายถิ่นฐานของประชาชน ข.เศรฐกิจ ค.โรคระบาด ง.การคมนาคม ( ปัญจาภรณ์ จิตตลอด รายงาน)
*** มนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ . พิพิธภัณฑ์ MUSEUM Museum ศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา หอประชุมศูนย์อันดามัน 800 ที่นั่ง. กรมศิลปากร สร้าง พ.ศ.๒๕๐๒ มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา (อบจ.พังงา) เมื่อ ๘ มกราคม ๒๕๕๘ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผู้จัดการศูนย์อันดามัน เมื่อ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ - ไปศูนย์อันดามัน ไปได้ไง เส้นทางสู่ แหล่งการเรียนรู้อันดามัน ไปแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยว
|