Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow พมร.กะทู้ arrow ต้นไม้ตดได้ไหม
ต้นไม้ตดได้ไหม PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 01 ตุลาคม 2008

"ต้นไม้ตดได้ไหม?" คำถามจาก "อาฟาง" สู่ไอเดียแยกคาร์บอนจาก CO2

 

โดย ผู้จัดการออนไลน์17 สิงหาคม 2551 10:02 น.

http://www.norsorpor.com/ข่าว/m269985/%20ต้นไม้ตดได้ไหม%20%20%20คำถามจาก%20%20อาฟาง%20%20สู่ไอเดียแยกคาร์บอนจาก%20CO2 

 

นักเรียน ม.ปลายคิดบรรเจิดใช้สารนาโนแยกคาร์บอนจาก CO2 ชนะเลิศเขียนเรียงความ "ใช้นาโนลดโลกร้อน" พร้อมเสนอจินตนาการอื่นอีกเพียบ ทั้งให้ออกซิเจนเป็นอาหารต้นไม้ เสนอผลิตเสื้อนาโนที่ยืด-หดตามอุณหภูมิ ไม่เปื้อนง่าย ให้สวมใส่สบาย ไม่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆ ลดปริมาณการผลิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเสนอให้ผลิตภัณฑ์นาโนย่อยสลายเองได้
       
       "ต้นไม้ตดได้หรือเปล่า?" ณัฐวดี บุญโนนแต้ หรือ "อาฟาง" นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช เปิดประโยคสนทนาแรกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ หลังได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเขียนเรียงความหัวข้อ "นาโนเทคโนโลยีกับการแก้ปัญหาโลกร้อน" ผ่านเว็บไซต์ "ไทยนาโน" (Thai-Nano.com ) ของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ซึ่งมีพิธีมอบรางวัลภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2551 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เมื่อวันที่ 16 ส.ค.51

"ต้นไม้ตดได้ไหม?" คำถามจาก "อาฟาง" สู่ไอเดียแยกคาร์บอนจาก CO2
โดย ผู้จัดการออนไลน์17 สิงหาคม 2551 10:02 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
อาฟาง

อาฟาง รับรางวัลจาก ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล

พิธีมอบรางวัลประกวดเรียงความ "นาโนลดโลกร้อน"

       
  
       อาฟางเผยแนวคิดในเรียงความว่า ตั้งคำถามเล่นๆ กับเพื่อนว่า "ต้นไม้ตดได้ไหม" และเผยว่าได้ เพราะอากาศเสียจากต้นไม้คือคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งต้นไม้ปล่อยออกมาในบางช่วงนั่นเอง จึงคิดต่อว่าจะจัดการกับคาร์บอนไดออกไซด์อย่างไรดี และอยากการได้อ่านแนวคิดรวบยอดจากคำนำหนังสือนาโนเทคโนโลยี ที่นำเสนอความคิดของนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย สหรัฐฯ และสวิส ก็ได้แนวคิดว่าน่าจะเอาสารที่มีความเล็กระดับอะตอม ไปแยกคาร์บอนออกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
       
       อย่างไรก็ดี เธอไม่คิดว่าทุกอย่างที่เล็กลงแล้วจะดีเสมอ ดังนั้นการจะนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ต้องเกิดประโยชน์ ปลอดภัย ประหยัดและใช้ได้จริง ส่วนแนวคิดของเธอนั้นเธอเองมองว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น
       
       นอกจากนี้อาฟางยังมีแนวคิดด้วยว่า เสื้อนาโนที่มีคุณสมบัติกันน้ำ-กันเปื้อนในปัจจุบันนั้น น่าจะพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่หดได้เมื่ออยู่ที่มีอากาศเย็นเพื่อกระชับร่างกายให้อบอุ่น และเมื่อออกกลางแจ้งหรืออยู่ในที่อากาศร้อนก็ขยายตัวเพื่อให้ผู้สวมใส่สบาย หากมีเสื้อผ้าแบบนี้ก็จะทำให้โรงงานไม่ต้องผลิตเสื้อผ้าออกมาก เพราะเราสามารถใส่เสื้อผ้าตัวเดียวได้ทุกโอกาส ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงงงานสู่ชั้นบรรยากาศได้ ส่วนออกซิเจนที่เหลือจากการแยกคาร์บอนไดออกไซด์ก็เอาไปเป็นอาหารให้ต้นไม้ เกิดประโยชน์ ไม่สูญเปล่า และยังมีอีกคิดคือพัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนที่สามารถย่อยสลายเองได้
       
       "หนูเป็นคนชอบคิด มีความคิดบ้าๆ บอๆ" อาฟางเผยเหตุผลในการส่งประกวดเรียงความ และบอกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ด้วยว่า แนวคิดในการเขียนเรียงความครั้งนี้ส่วนหนึ่งได้มาจากการดูสารคดีเกี่ยวกับการย่อขนาด ตั้งแต่จักรวาล ลงมาสู่ดวงดาว โลก จนไปถึงอะตอมและสิ้นสุดที่ควาร์ก สารคดีดังกล่าวทำให้รู้ว่า "สิ่งที่เล็กที่สุดเป็นพื้นฐานของสิ่งที่ยิ่งใหญ่"
       
       สำหรับผู้ได้รับรางวัลประกวดเรียงความคนอื่นๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ม.ต้น ม.ปลาย และอุดมศึกษา ได้แก่
       ระดับ ม.ต้น
       รางวัลชนะเลิศ - ด.ช.สุวิทย์ พรมเสน
       รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 - ด.ญ.กิตติกานต์ ปานอยู่
       รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 - ด.ช.วัชรภัทร ด่านคงรักษ์
       รางวัลชมเชย - ด.ญ.สายวรุณ ผิวนวล
       รางวัลชมเชย - ด.ช.กิตติพงศ์ ทีภูเวียง
       
       ระดับ ม.ปลาย
       รางวัลชนะเลิศ - น.ส.ณัฐวดี บุญโนนแต้
       รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 - น.ส.กมลกร บินรัมย์
       รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 - นายสุทธิพันธ์ อารมย์แก้ว
       รางวัลชมเชย - นายสุทธิ สีพิกา
       รางวัลชมเชย - นายอภิสิทธิ์ แซงภูเขียว
       
       ระดับอุดมศึกษา
       รางวัลชนะเลิศ - น.ส.อัจฉราภรณ์ แข็งแรง
       รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 - น.ส.นัฐวี ธระวรรณ์
       รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 - นายเกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง
       รางวัลชมเชย - น.ส.อภิชญา จินาติ
       รางวัลชมเชย - น.ส.พรประภา ม่วงประเสริฐ
       
       ทั้งนี้ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดได้สมัครผ่านเว็บไซต์ไทยนาโนในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. โดยไม่ต้องกรอกประวัติชื่อสถาบัน ดังนั้นทางคณะกรรมการจึงไม่มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อโรงเรียนของเยาวชนแต่ละคน สำหรับผู้เป็นประธานในการมอบรางวัลครั้งนี้คือ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 01 ตุลาคม 2008 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1257
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2221
mod_vvisit_counterทั้งหมด10648625