Skip to content

Phuketdata

default color
Home
เซิร์น(CERN)ปล่อยอนุภาคชนกัน หา “อนุภาคพระเจ้า” ต้นตอมวลในเอกภพ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 15 กันยายน 2008

 

เซิร์น(CERN)ค้นหาควาร์กและกลูออน

 

โดย ผู้จัดการออนไลน์11 กันยายน 2551 03:58 น.

http://www.norsorpor.com/ข่าว/n172392/%20เซิร์น%20อุ่นเครื่องผ่านฉลุย%20อีกหลายเดือนกว่าจะจับอนุภาคชนกัน 

 

โปรตอนลำแสงแรกถูกยิงออกไป สู่เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC) เพื่อให้วิ่งเข้าสู่แนวท่อทดลองความยาว 27 กิโลเมตร ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา โดยการเดินทางของโปรตอนครั้งนี้ จะช้ากว่าปกติ เพราะต้องการตรวจสอบระบบในแต่ละจุดว่า ทำงานตามที่คาดหมายหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถานีตรวจจับอนุภาคทั้ง 4 แห่งที่เป็นเสมือนหอคอยตั้งอยู่เป็นระยะ รายล้อมอุโมงค์

"เซิร์น" อุ่นเครื่องผ่านฉลุย อีกหลายเดือนกว่าจะจับอนุภาคชนกัน
โดย ผู้จัดการออนไลน์11 กันยายน 2551 03:58 น.

นักฟิสิกส์กำลังตรวจสอบการทำงานของระบบอย่างขมักเขม้น โดยในจอมอนิเตอร์คือภาพจำลองอุโมงค์ทดลองขนาดยักษ์ เปิดโหมดไฟเขียวตามจุดต่างๆ เพื่อบังคับให้ลำโปรตอนผ่านไปได้ ตามทิศทางที่กำหนดไว้ ก่อนจะทดลองจริงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า (ภาพ CERN)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
เจ้าหน้าที่ตรวจตราตามสถานีต่างๆ ผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้าแถบเครื่องมือต่างๆ ยังแสดงค่าออกมาเป็นสีเขียว ก็โล่งใจได้ (ภาพ CERN)


ช่วยกันลุ้น ทั้งแขกรับเชิญ ผู้เกี่ยวข้องกับเซิร์นตั้งแต่อดีตกระทั่งปัจจุบัน รวมถึงสื่อมวลชนที่มาเฝ้าสังเกตการณ์อย่างคับคั่ง (ภาพ CERN)


ห้องสังเกตการณ์ สำหรับสื่อมวลชนที่ต้องการเรื่องเทคนิคเน้นๆ (ภาพ CERN)

ติดป้ายให้เห็นๆ ว่านี่เป็นวันแรกของลำแสงที่จะผ่านเครื่อง LHC (ภาพ CERN)


แผนผังเส้นทางห้องทดลองใต้ดิน ส่วนด้านล่างเป็นภาพตัดขวาง ให้เห็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ (ภาพ CERN)


“เซิร์น” ตัดริบบิ้น เปิดเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยการยิงลำแสงแรกทดสอบระบบ ก่อนวางแผนปล่อยอนุภาคชนกัน หา “อนุภาคพระเจ้า” ต้นตอมวลในเอกภพ นักฟิสิกส์ย้ำแม้เกิดหลุมดำจิ๋วก็สลายตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ถึงขั้นกลืนกินโลก แต่หากอนุภาคเกินควบคุม แค่เครื่องพัง แต่ทุกอย่างยังอยู่ในอุโมงค์
       
       เสียงปรบมือของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ ณ ที่ทำการ “เซิร์น” หรือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อการวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (European Organisation for Nuclear Research : CERN) ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังขึ้นทันที ที่แสงโปรตอนลำแรก ถูกยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคยักษ์ เมื่อเวลา 09.35 น. ของวันที่ 10 ก.ย.51 ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 14.35 น. ตามเวลาประเทศไทย ถือเป็นการตัดริบบิ้น เปิดภารกิจการทดลองเพื่อค้นหาต้นกำเนิดของจักรวาลอย่างเป็นทางการ
       

       โปรตอนลำแสงแรกถูกยิงออกไป สู่เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC) เพื่อให้วิ่งเข้าสู่แนวท่อทดลองความยาว 27 กิโลเมตร ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา โดยการเดินทางของโปรตอนครั้งนี้ จะช้ากว่าปกติ เพราะต้องการตรวจสอบระบบในแต่ละจุดว่า ทำงานตามที่คาดหมายหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถานีตรวจจับอนุภาคทั้ง 4 แห่งที่เป็นเสมือนหอคอยตั้งอยู่เป็นระยะ รายล้อมอุโมงค์
       
       อีกราว 1 ชั่วโมงให้หลัง ทั้งนักวิทยาศาสตร์และผู้สื่อข่าวในห้องควบคุมของเซิร์น ต่างก็ได้เห็นจุดขาว 2 จุดปรากฎบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงว่า โปรตอนได้เดินทางครบรอบวงแหวนท่อทดลองที่ลึกลงไปใต้ดิน 100 เมตร
       
       ลิน อีวานส์ (Lyn Evans) ผู้นำโครงการทดลอง ไม่รอช้าที่จะชวนเพื่อนร่วมงาน เปิดแชมเปญจ์ฉลองภารกิจครึ่งเช้า ที่รอคอยมานาน พร้อมๆ กับนักวิทยาศาสตร์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Energy : DOE) และมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐฯ (National Science Foundation :NSF) ที่ชมการทดลองโดยการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม ที่ชิคาโก ในฐานะผู้มีส่วนร่วมคนสำคัญ ทั้งกำลังเงินและกำลังกาย ให้กับโครงการนี้ของเซิร์น
       
       อีก 4 ชั่วโมงถัดมา เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้พลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจำนวนมหาศาล เย็นตัวลง ลำแสงโปรตอนก็ถูกยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เพื่อตรวจดูว่า หากโปรตอนใช้เส้นทางและทิศทางนี้ จะมีปัญหาใดหรือไม่ ซึ่งการเดินทางของแสงก็ผ่านไปได้ด้วยดี แม้จะมีการติดขัดเล็กน้อย ที่บางสถานีระหว่างทาง
       
       อีวานส์ซึ่งทำงานกับเซิร์นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ดูผ่อนคลายขึ้น หลังจากด่านแรก ผ่านไปได้ด้วยดี เขากล่าวแก่บรรดานักข่าวว่า เครื่องกลชิ้นนี้มีความซับซ้อนอย่างมหาศาล ดังนั้นจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดเมื่อใดก็ได้ แต่การทดสอบในช่วงเช้าทำให้เขาโล่งใจ
       
       อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะอยู่ในฐานะหัวหน้าโครงการ แต่อีวานส์ก็ยังไม่ฟันธงลงไปว่า จะจับอนุภาคชนกันในวันใด เพียงแต่ยืนยันว่าขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถดำเนินการทดลองการชนกันได้แล้ว ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่เดือนถัดจากนี้
       

       แท้จริงแล้วการทดลองดังกล่าว เป็นเพียงการเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะเร่งให้อนุภาคชนกัน ซึ่งนรพัทธ์ ศรีมโนภาษณ์ นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำวิจัยร่วมกับเซิร์น และเคยเดินทางไปวิจัยอยู่ที่สถานีตรวจวัดอนุภาคของเซิร์น กล่าวว่า การทดลองครั้งนี้ เป็นเพียงการทดสอบดูว่า ลำอนุภาคสามารถวิ่งได้ครบรอบหรือไม่ ยังไม่มีการเร่งอนุภาคใดๆ และเป็นการประกาศถึงความพร้อมอย่างเป็นทางการ
       
       เครื่องเร่งอนุภาคถูกออกแบบขึ้นมา เพื่อให้ผลักลำโปรตอนเดินทางด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง ซึ่งจะทำให้วิ่งวนรอบอุโมงค์ทดลองได้ 11,000 รอบต่อวินาที และเมื่อลำโปรตอน 2 ลำวิ่งจากคนละทิศทาง เข้าหากันในสภาวะสุญญากาศ ทั้งเย็นยะเยือกและว่างเปล่ากว่าห้วงอวกาศ ขณะที่ลำแสงตัดผ่านกัน อนุภาคโปรตอนส่วนหนึ่งจะชนกัน จากนั้น เครื่องตรวจวัดอนุภาคขนาดใหญ่ จะบันทึกข้อมูลนับล้านๆ ไว้ภายในเสี้ยววินาที
       
       อย่างไรก็ดี เมื่อถึงวันที่ลำโปรตอนชนกันจริง จะทำให้เกิดข้อมูลมากมายมหาศาล โดยระบบจะเลือกข้อมูลที่น่าสนใจออกมา เทียบได้เท่ากับความจุของแผ่นวีซีดี 1 แผ่นต่อ 1 วินาที ดังนั้นตลอดทั้งปี จะมีข้อมูลออกมาเทียบเท่าวีซีดีประมาณ 23 ล้านแผ่น ซึ่งข้อมูลมากมายขนาดนี้ เซิร์นจำเป็นต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์กริด เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล โดยต้องเชื่อมกับศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่โยงกันกว่า 60,000 เครื่อง
       
       ทั้งนี้ หลายทศวรรษที่ผ่านมา เครื่องเร่งอนุภาคขนาดเล็กถูกนำมาใช้ตามห้องทดลองต่างๆ ทั่วโลก เพื่อให้นักฟิสิกส์ได้ค้นหาอนุภาคที่ก่อกำเนิดเป็นอะตอม โดยในช่วงไม่เกิน 100 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โปรตอนและนิวตรอนเป็นส่วนประกอบที่เล็กสุดที่อยู่ใจกลางอะตอม แต่ต่อมาเครื่องเร่งอนุภาคก็ทำให้ค้นพบว่า ยังมีอนุภาคที่เล็กลงไปกว่านั้น คือ ควาร์ก และ กลูออน รวมถึงแรงและอนุภาคอื่นๆ อีก แต่ก็ยังเชื่อว่า น่าจะมีอนุภาคมูลฐานซ่อนอยู่อีก
       
       ทำให้การทดลองของเซิร์นครั้งนี้ เป้าหมายสำคัญคือ การไขปริศนาจุดเริ่มต้นของกำเนิดจักรวาล ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามว่า สสารต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งอนุภาค "ฮิกก์ส" ที่นำเสนอในปี พ.ศ. 2507 โดยปีเตอร์ ฮิกก์ส (Peter Higgs) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ จนได้รับการขนานนามว่า เป็น "อนุภาคพระเจ้า" คือสิ่งสำคัญที่นักฟิสิกส์ต้องการค้นหาให้พบ เพื่อที่จะอธิบายว่ามวลเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมบางอนุภาคจึงมีมวล ขณะที่บางอนุภาคไม่มีมวล อาทิ วัตถุมืด และพลังงานมืด
       
       นอกจากนี้ เครื่องเร่งอนุภาคของเซิร์น ยังเป็นเครื่องมือที่จะพิสูจน์ทฤษฎีฟิสิกส์อีกมากมาย โดยนรพัทธ์อธิบายว่า นักฟิสิกส์ต่างมีทฤษฎีที่เชื่อว่าเป็นจริง และต่างรอผลที่เกิดขึ้น จากการทดลองจับอนุภาคชนกัน เพื่อนำไปทดสอบทฤษฎีต่างๆ
       
       "เครื่องเร่งอนุภาค จะเหวี่ยงให้ลำอนุภาค 2 ลำ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง ในทิศทางตรงข้ามกัน เมื่อถึงระดับพลังงานที่ต้องการ ก็บังคับให้ลำอนุภาคชนกันบริเวณที่มีเครื่องตรวจวัดอนุภาค" นายนรพัทธ์อธิบาย และเมื่ออนุภาคชนกัน จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน ในระยะที่เร็วกว่าเสี้ยววินาที ก่อนที่จะเปลี่ยนกลับเป็นอนุภาคต่างๆ ที่เรารู้จักและตรวจวัดได้
       

       สำหรับทฤษฎีอื่นๆ ที่รอพิสูจน์จากการทดลองของเซิร์น อาทิ ทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวด ซึ่งอธิบายว่าอนุภาคมูลฐานนั้นมี “คู่ยิ่งยวด” ที่มีมวลมากกว่า เช่น สสารและปฏิสสาร โดยเชื่อกันว่าคู่ยิ่งยวดนี้ เกิดขึ้นและสลายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีมวลมากทำให้ไม่เสถียร และจะสร้างคู่ยิ่งยวดขึ้นมา ต้องสร้างเงื่อนไขให้คล้ายบิกแบง
       
       นอกจากนี้ยังมี ทฤษฎีซูเปอร์สตริง ซึ่งพยายามอธิบายอนุภาคและแรงพื้นฐานด้วยทฤษฎีเดียว โดยจำลองให้อนุภาคและแรงพื้นฐานเหล่านั้น คือการสั่นของเชือกเส้นเล็กๆ และแบบจำลองที่สมมติว่าเอกภพมีมากกว่า 4 มิติ โดยเรารับรู้ได้ถึงมิติของความกว้าง ยาว สูงและเวลา แต่ทฤษฎีนี้เสนอว่าเอกภพมีมิติมากกว่านี้
       
       โครงการเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีนี้ นำโดย 20 ประเทศในยุโรปที่เป็นสมาชิกเซิร์น โดยมีความร่วมมือกับนักวิจัยจาก 80 ประเทศ รวมถึงนักวิจัยอีกกว่า 1,200 คนในสหรัฐฯ และยังมีอีกหลายประเทศร่วมสังเกตการณ์ อาทิ ญี่ปุ่น ซึ่งร่วมลงขันไปไม่น้อย
       
       นักฟิสิกส์ต้องรอคอยมากกว่า 20 ปี กว่าจะได้ใช้เครื่องแอลเอชซีในวันนี้ เพราะความซับซ้อนในการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่ทนทานต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และตัวต้านทานระดับสูงอย่างซูเปอร์คอนดักเตอร์ ที่เพิ่งจะมีการพัฒนาใช้ได้เมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ฤกษ์ลงมือสร้างเครื่องยักษ์เริ่มขึ้นในปี 2544 และเสร็จลงในปี 2548 อีกทั้งค่าใช้จ่ายสูงขึ้นกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ถึง 25% ตามระยะเวลาที่เนิ่นนาน โดยต้องใช้ไปทั้งสิ้น 6 พันล้านฟรังค์สวิส (ประมาณ 14,000 ล้านบาท)
       
       ส่วนความกังวลว่าจะเกิดหลุมดำกลืนกินโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางอินเทอร์เน็ต (เวริล์ดไวด์เว็บที่เซิร์นได้พัฒนาขึ้น) มีสมมติฐานที่น่ากลัวเกิดขึ้นว่า ถ้าระหว่างการทดลองเกิดมีอนุภาคแปลกๆ หรือหลุมดำที่ควบคุมไม่ได้ ขยายขนาดจนกลืนกินโลกขึ้นมา จะเป็นอย่างไร ซึ่งทางคณะกรรมการของเซิร์น ได้ยืนยันการคำณวนและคาดการณ์ถึงความปลอดภัยของมวลมนุษยชาติในครั้งนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว
       

       ขณะที่ ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาทฤษฎีสตริง ได้อธิบายไว้ว่า ในการทดลอง เป็นไปได้ที่จะเกิด “หลุมดำจิ๋ว” แต่หลุมดำที่เกิดขึ้นนี้ เล็กเกินกว่าจะดูดกลืนโลกหรืออนุภาคอื่นๆ และสลายตัวอย่างรวดเร็ว
       
       ส่วนโอกาสเกิดระเบิดล้างโลก จากการทดลองของแอลเอชซีนั้น เขากล่าวว่าไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะปฏิกิริยาในเครื่องเร่งอนุภาคนั้น มีมวลน้อยเกินกว่าจะเกิด “มวลวิกฤต” ที่ทำให้เกิดระเบิดเช่นเดียวกับระเบิดนิวเคลียร์
       

       อีกทั้งยังมี สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลก ช่วยออกมายืนยันอีกแรงว่า การทดลองของเซิร์นนั้นปลอดภัยอย่างแน่นอน
       
       อย่างไรก็ดี โฆษกของเซิร์น แม้จะออกมาย้ำว่าเป็นเรื่อง "ไร้สาระ" แต่ก็อธิบายว่า หากเกิดควบคุมลำแสงไม่ได้จริงๆ ระหว่างการทดลอง สิ่งที่เสียหายก็จะเป็นเพียงแค่เครื่องเร่งอนุภาค และตัวท่อที่อยู่ในอุโมงค์เท่านั้น ซึ่งจากการทดลองให้แสงวิ่งผ่านในครั้งแรก ก็ดูเหมือนว่าไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ จนถึงวันที่เซิร์นเดินเครื่องเต็มกำลัง.


       
       Special : "เซิร์น" กับปฏิบัติการค้นหาต้นตอจักรวาล
       

 

Special : "เซิร์น" กับปฏิบัติการค้นหาต้นตอจักรวาล
โดย ผู้จัดการออนไลน์10 กันยายน 2551 15:59 น.
       องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (European Center for Nuclear Research) หรือชื่อย่อตามภาษาฝรั่งเศสอันเป็นต้นกำเนิดเดิม นามว่า "เซิร์น" (CERN) เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักวิทยาศาสตร์ โดยมีชื่อเสียงขึ้นมาเมื่อปี 2543 ในฐานะผู้ก่อกำเนิด "เวิรล์ด ไวด์ เว็บ" (WWW) และเซิร์นก็กลายเป็นที่คุ้นหูอีกครั้ง เมื่อ "แดน บราวน์" ใช้องค์กรแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของนิยายเรื่อง "เทวากับซาตาน" (Angles and Demons)
       
       งานหลักของเซิร์น ณ ปัจจุบันนี้ คือ โครงการเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC) ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งอยู่ใต้พื้นแผ่นดินสวิส-ฝรั่งเศส เพื่อค้นหาว่า "จักรวาลประกอบขึ้นจากอะไร"
       
       ทั้งนี้ ทีมข่าวผู้จัดการออนไลน์ได้ติดตาม ความเคลื่อนไหว และรายงานเรื่องราวเกี่ยวกับเซิร์น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่มาที่ไป สิ่งที่เซิร์นกำลังค้นหา นำไปสู่อะไร และอย่างไร อันตรายแค่ไหน ซึ่งได้รวบรวมเป็นรายงานชิ้นใหญ่...ติดตามอ่านได้ที่... เซิร์น : การทดลองสุดยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์ ค้นหาจุดเล็กสุดสู่กำเนิดจักรวาล
       
       ส่วนรายงานข่าวเหตุการณ์อื่นๆ เกี่ยวกับ "เซิร์น" และการค้นหาอนุภาคแห่งพระเจ้า ติดตามได้ตามลิงค์ด้านล่าง
       
       - "เซิร์น" อุ่นเครื่องผ่านฉลุย อีกหลายเดือนกว่าจะจับอนุภาคชนกัน
       - ชมบรรยากาศ "นักวิทย์-นักข่าว" ในวันยิงลำแสงแรกของเซิร์น
       - เก็บตกตัวเลขน่ารู้ จากเครื่องเร่งอนุภาคยักษ์ LHC
       - เผยภาพบันทึกอนุภาคแรก ในท่อทดลองจากเซิร์น
       - รอมากว่า 20 ปี ลำโปรตอนแรกสู่เครื่องเร่งอนุภาคใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว
       - อย่าห่วง! โลกไม่สลายแน่ "เซิร์น" แค่อุ่นเครื่อง ยังเร่งไม่เต็มพิกัด
       - เครื่องพร้อม-คนพร้อม "เซิร์น" พร้อมยิงแสงแรก 10 ก.ย.
       - “คอมพิวเตอร์กริด” ทลายพรมแดนโลก ของแถมจาก “เซิร์น” ระหว่างทางสู่บิกแบง  
       - "เซิร์น" สร้างสภาพเย็นยะเยือกยิ่งกว่าอวกาศห้วงลึก สู่ต้นกำเนิดบิกแบง
       - "เซิร์น" ย้ำไม่ทำโลกหายนะ ซ้ำน้อยกว่าอนุภาคชนกันในธรรมชาติเสียอีก
       - "เซิร์น" เปิดบ้านรับ 6 หมื่นคนดูเครื่องเร่งอนุภาคหากำเนิดจักรวาล
       - ฟ้องศาลระงับ "เซิร์น" เดินเครื่องหวั่นเกิดหลุมดำทำลายโลก
       - ชิ้นส่วนสุดท้ายต่อเสร็จ! "เซิร์น" พร้อมเดินเครื่องสู่ "ทฤษฎีสรรพสิ่ง" กลางปี
       
       - รู้จัก "ปีเตอร์ ฮิกก์ส" ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีอนุภาคพระเจ้า
       
       ส่วนข้างล่างนี้ได้รวบรวมข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับ "หลุมดำ", "บิกแบง" และทฤษฎีต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับการทดลองของเซิร์น
       
       - ภาพถ่ายจาก "หลุมดำ" ยืนยันทฤษฎีลำอนุภาคบิดเป็นเกลียว
       - จับภาพหลักฐานแรก "หลุมดำ" เร่งอนุภาคเร็วใกล้แสงได้ไง
       - "จอห์น วีเลอร์" นักฟิสิกส์ผู้นิยามคำว่า "หลุมดำ" ลาโลกในวัย 96
       - "หลุมดำ" เล็กสุดที่เคยพบอยู่ในกาแลกซีของเราเอง
       - เผย "ขุมทรัพย์" ข้อมูลเกิด-ดับแห่งจักรวาล
       - ฝ่าทฤษฎี! "หลุมดำ" จากดาวฤกษ์ใหญ่สุดที่เคยพบ
       - กาล-อวกาศโค้งงอรอบ "ดาวนิวตรอน" ตาม "ไอน์สไตน์" ทำนาย
       - "หลุมดำ" อาจไม่มีอยู่จริง
       - พบความเชื่อใหม่ ! หลุมดำไม่ได้เกิดจากการระเบิดแค่ครั้งเดียว
       - ญี่ปุ่นเอาบ้างปล่อยดาวเทียมศึกษา “หลุมดำ”
       - แฟน "ไซ-ไฟ" อาจฝันสลาย เมื่อข้ามเวลาผ่าน "รูหนอน" ไม่ง่ายอย่างที่คิด
       - หลุมดำสีสวยกลางกาแล็กซีเซนทอรัส
       - "ฮอว์กิง" ยอมรับหลุมดำพ่นวัตถุออกมา แต่ป่นปี้เกินกว่าจะใช้การได้!!
       - “หลุมดำ” จิ๊กซอว์แห่งอดีตและอนาคตของจักรวาล
       - "ฮอว์กิง" พลิกแนวคิดเรื่อง "หลุมดำ" ที่เชื่อมากว่า 30 ปี
       
       ทั้งนี้ สำหรับท่านผู้อ่านที่สงสัยเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการทดลองของเซิร์น รวมถึงฟิสิกส์ทฤษฎี สามารถโพสต์คำถามทิ้งไว้ได้ และทางทีมงานจะติดตามหาคำตอบมานำเสนอในคราวต่อๆ ไป.
ทดลองวันแรก ไขปริศนาจักรวาล E-mail
Imageสำนักข่าวต่างประเทศรายงานความสามารถของมนุษย์เพื่อค้นคว้ากำเนิดของจักรวาลว่า เมื่อช่วงบ่ายวันพุธที่ 10 ก.ย. ตามเวลาประเทศไทย องค์การวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (เซิร์น) ในสวิตเซอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จกับการทดลองครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ด้วยการ เดินเครื่องเร่งความเร็วอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Large Hadron Collider-LHC) เพื่อยิงอนุภาคโปรตอนให้ชนกันอย่างรุนแรง จนเกิดความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง เพื่อค้นคว้าหาที่มาของปรากฏการณ์ “บิ๊กแบง” หรือการชนปะทะของอนุภาคเล็กๆอย่างรุนแรงตามทฤษฎี การก่อกำเนิดของจักรวาลเมื่อ 13,700 ล้านปีก่อน อันเป็นก้าวสำคัญของโลกวิทยาศาสตร์อีกขั้นหนึ่งที่ต้องการศึกษาไขปริศนาหลายอย่างของจักรวาล  

ทั้งนี้ นายลิน อีวานส์ หัวหน้าโครงการกล่าวว่า กระบวนการเร่งความเร็วอนุภาคเกิดขึ้นภายในอุโมงค์ ขนาดยักษ์ ที่มีลักษณะเป็นท่อใต้ดินวนเป็นวงกลมยาว 27 กม. โดยอุโมงค์นี้ฝังอยู่ใต้พื้นดินลึกลงไปประมาณ 100 เมตร หรือประมาณ 300 ฟุต มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บริเวณพรมแดนฝรั่งเศสกับสวิตเซอร์แลนด์ โดยขั้นตอนเริ่มด้วยการยิงลำแสงโปรตอนเข้าไปในอุโมงค์ดังกล่าว แล้วเร่งความเร็วของอนุภาคจนใกล้ระดับความเร็วแสงถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ หมุนวนด้วยความเร็ว 11,245 ครั้งต่อวินาที อยู่ภายในอุโมงค์ในรูปแบบตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา จนก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กพลังสูง ลักษณะเดียวกับทฤษฎีกำเนิดจักรวาล เพื่อปล่อยให้สองอนุภาคชนกัน เปรียบเทียบง่ายๆ คล้ายกับการยิงกระสุนปืนหลายๆนัด กระสุนบางนัดที่ทะลุทะลวงอากาศอาจพลาดเป้าหมาย แต่ก็จะมีหนึ่งนัดโดนเป้าหมายที่เล็งไว้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงช่วงเสี้ยววินาที และระหว่างดำเนินการก็จะเกิดความร้อน มีอุณหภูมิสูงกว่าแกนกลางของดวงอาทิตย์เกิน 100,000 เท่า กระนั้น ระบบหล่อเย็นรอบวงแหวนแอลเอชซี ประกอบด้วยสารเหลวซุปเปอร์ฮีเลียม จะคอยรักษาระดับอุณหภูมิของเครื่องแอลเอชซีไว้ที่ -271.3 องศาเซลเซียส คาดว่าการชนกันครั้งแรกจะเกิดขึ้นในอีกหลายสัปดาห์

ขณะเดียวกัน นายโรเบิร์ต ไอยมาร์ ผู้อำนวยการทั่วไปของเซิร์น เปิดเผยว่า คณะนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และช่างเทคนิค ร่วมโครงการนี้มีอยู่ราว 5,000 คน จากกว่า 30 ประเทศ เริ่มโครงการศึกษาชิ้นนี้มานานเกือบ 20 ปี ใช้งบประมาณมากกว่า 5,460 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 185,640 ล้านบาท) นับเป็นการค้นคว้าทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ใช้งบประมาณสูงสุดติดอันดับโลก และถือเป็นงานวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนมากที่สุดในโลก 

ก่อนการทดลองทางฟิสิกส์ครั้งใหญ่สุดของโลกครั้งนี้จะเริ่มขึ้น ได้เกิดข่าวลือมากมายและส่งต่อๆกันไปในโลกอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะออกมาในทางลบ จนสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน โดยหลายฝ่ายระบุว่าโครงการแอลเอชซีกำลังพยายามสร้าง “หลุมดำ” (Black Hole) หรือปรากฏการณ์อุโมงค์พิศวงขนาดเล็ก ที่มีพลังดึงดูดดาวเคราะห์ต่างๆให้หายไปจากจักรวาลได้ อย่างง่ายดาย รวมถึงดาวโลก ถึงขั้นทำลายล้างโลก หรือที่รู้จักกันว่า วันมหาวิปโยค (Doom's Day) ซึ่งเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กโลกให้เหลือข้างเดียวได้ อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ ได้ประเมินความเสี่ยงแล้ว พบว่าเป็นไปไม่ได้ และไม่พบหลักฐานว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด 

ด้านนักวิทยาศาสตร์ไทย นายสุทัศน์ ยกส้าน นักทฤษฎีฟิสิกส์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แสดงความคิดเห็นถึงการทดลองจำลองการเกิดปรากฏการณ์บิ๊กแบง โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคความเร็วสูงเกือบเท่าแสงหรือ แอลเอชซี ว่าโอกาสการเกิดหลุมดำจากการทดลองมีเพียง 1 ใน 50 ล้านเท่านั้น และหากเกิดหลุมดำจริง จะเป็นหลุมดำที่จะมีขนาดเล็กได้ถึงระดับพิโคเมตร หรือ 10-15 เมตรเท่านั้น

นายสุทัศน์ได้อธิบายอีกว่า ทั้งนี้เพราะตามทฤษฎีการเกิดหลุมดำขนาดใหญ่ในเอกภพโดยทั่วไป เกิดจากการยุบตัวด้วยแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ กล่าวคือ โดยปกติดาวฤกษ์ในเอกภพจะอยู่ในสภาพสมดุล คือต้องมีแรงผลักออกซึ่งเกิดจากการปล่อยแสงสว่างหรือรังสีที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ และแรงดึงดูดที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง เมื่อดาวฤกษ์ได้เผาผลาญพลังงานนิวเคลียร์ ภายในตัวจนหมด จะทำให้ไม่มีแรงผลักออก เหลือเพียงแรงดึงเข้าสู่จุดศูนย์กลาง จนเกิดการยุบตัวกลายเป็นหลุมดำ 

“สิ่งสำคัญที่ควรสนใจคือหากเกิดหลุมดำขนาดจิ๋วจริง ทุกคนจะเห็นว่าหลุมดำรูปร่างเป็นอย่างไร อีกทั้ง ทฤษฎีของฮอว์กิ้งยังค้นพบว่า หลุมดำไม่ได้เป็นสีดำ เพราะในช่วงการสลายตัวจะมีการปล่อยรังสีฮอว์กิ้ง (Hawking  radiation) ออกมา จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากหากได้เห็น” นายสุทัศน์กล่าว 

ทั้งทฤษฎีการปล่อยรังสีฮอว์กิ้ง มีต้นกำเนิดมาจากนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แม้จะมีสภาพเป็นคนพิการ แต่ ก็ได้ชื่อว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะของโลก ผู้พยายามถอดรหัสจักรวาล โดยผลงานวิจัยที่สำคัญที่สุดของอัจฉริยะพิการผู้นี้ น่าจะได้แก่ งานวิจัยเกี่ยวกับ “หลุมดำ” และ ผลงานเขียนหนังสือที่โด่งดังมากได้แก่ประวัติย่อของเวลา

 

 

"นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ" กับประสบการณ์วิจัยที่เซิร์น
โดย ผู้จัดการออนไลน์16 กันยายน 2551 10:46 น.

นายนรพัทธ์ ศรีมโนภาษ

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
บรรยากาศภายในห้องควบคุม ของ "วันเฟิร์สบีมเดย์" หรือวันปล่อยลำอนุภาคแรกเข้าเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีของเซิร์น (ภาพจากเซิร์น)

สัญญาณจากการส่งลำอนุภาคเข้าเครื่องเร่งอนุภาค (ภาพจากเซิร์น)

เครื่องตรวจวัดอนุภาคซีเอ็มเอส ก่อนติดตั้งในอุโมงค์ใต้ดิน (ภาพจากเอเอฟพี)

นรพัทธ์กับเพื่อนที่ทำงานเกี่ยวกับการวัดและระบบแม่เหล็กของเครื่องเร่งอนุภาคแอเอชซี เมื่อครั้งทำงานวิจัยที่เซิร์น (นรพัทธ์)

แกะที่อยู่บนพื้นดินเหนือเครื่องเร่งอนุภาคขนาดเล็กก่อนเร่งอนุภาคเข้าเตรื่องแอลเอชซี (นรพัทธ์)

นักศึกษาที่แลกเปลี่ยนทำวิจัยกับเซิร์นเมื่อปี 2547 (นรพัทธ์)

ก้าวแรกของ "เซิร์น" ในการประกาศความพร้อม ที่จะเริ่มต้นทดลองไขปริศนาจักรวาลได้ผ่านไปแล้ว ท่ามกลางการจดจ้องของคนทั่วโลก ไม่เว้นกระทั่งคนไทยหลายๆ คน ที่ไม่เคยสนใจวิทยาศาสตร์แม้แต่น้อย ก็ยังคงตื่นเต้นต่อเรื่องนี้ และในก้าวแรกนี่เอง ก็มีคนไทยเล็กๆ คนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งในนั้น
       

       นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือหนึ่งในคนไทยไม่กี่คน ที่ได้มีส่วนร่วมในการทดลองที่ เซิร์น (CERN) หรือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (European Center for Nuclear Research) ก่อนที่จะมีการทดลองยิงลำอนุภาคแรกเข้าเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี เมื่อวันที่ 10 ก.ย.51
       
       ครั้งแรกเขาได้รับทุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนภาคฤดูร้อนไปทำวิจัยที่เซิร์นอยู่ 3 เดือน เมื่อปี 2547 ซึ่งได้ไปประจำที่สถานีตรวจวัดอนุภาคซีเอ็มเอส (CMS) ซึ่งเป็นสถานีตรวจวัดที่วัดอนุภาคทั่วไป โดยงานที่ทำคือศึกษาว่า อนุภาคนิวตรอนซึ่งไม่มีประจุนั้น รบกวนสัญญาณเครื่องตรวจวัดอนุภาคหรือไม่
       
       ตัวอย่างของการตรวจวัดของซีเอ็มเอส ซึ่งตรวจหาสัญญาณของฮิกก์สที่จะสลายไปเป็นอนุภาคมิวออน (muon) 4 ตัว ซึ่งก็ต้องดูว่ามีอะไรรบกวนสัญญาณของมิวออนหรือไม่ โดยมิวออนจัดอยู่ในอนุภาคประเภทเลปตอน (lepton) หรืออนุภาคที่ไม่ได้ประกอบควาร์ก
       
       ทั้งนี้ หากการวิจัยในช่วงก่อสร้างเครื่องเร่งอนุภาคของเซิร์นนั้น พบว่านิวตรอนมีผลรบกวนสัญญาณค่อนข้างมากแล้ว กลุ่มงานของนรพัทธ์จะต้องพูดคุยกับ กลุ่มที่สร้างเครื่องตรวจวัด ให้ทำตัวดูดซับนิวตรอนเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่จากการศึกษาครั้งนั้น พบว่านิวตรอนที่เกิดขึ้นไม่มีผลต่อสัญญาณ
       
       จากการวิจัยครั้งแรกนี่เอง ทำให้นรพัทธ์ได้หัวข้อสำหรับทำวิจัยระดับปริญญาเอก ในเรื่องทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวด (Supersymmetry) ที่เขากำลังศึกษาอยู่ และได้กลับไปร่วมงานที่เซิร์นอีกครั้ง เมื่อปี 2549 และ 2550 จากการไปทำวิจัยต่างประเทศตามข้อกำหนดของทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) เป็นเวลา 1 ปี แต่เขาได้แบ่งเวลาศึกษาออกเป็นปีละ 6 เดือน
       
       สำหรับการทดลองยิงลำอนุภาคแรกในวัน "เฟิร์สต์บีมเดย์" (LHC First Beam Day) ของเซิร์นครั้งที่ผ่านมา นรพัทธ์ระบุว่าเป็นเหมือนการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ คล้ายกับประกาศว่า "พร้อมแล้วนะ" โดยการทดลองครั้งนี้ เป็นเพียงการทดสอบเตรียมความพร้อมของเครื่องเร่งอนุภาคว่า ลำอนุภาควิ่งได้ครบรอบอุโมงค์วงแหวนหรือไม่
       
       "อันที่จริงสามารถทำเงียบๆ ได้ แต่เนื่องจากเซิร์นได้รับเงินจากหลายประเทศ จึงต้องทำให้เห็นว่าได้ทำอะไร อีกทั้งเป็นโอกาสให้นักข่าวสามารถซักถามเกี่ยวกับเรื่องเซิร์นได้เต็มที่ เนื่องจากมีนักวิทยาศาสตร์ที่คอยตอบคำถามโดยเฉพาะ" นรพัทธ์กล่าว
       
       เขากล่าวด้วยว่า หากเกิดกรณีพลังงานไม่เพียงพอ ระบบภายในเซิร์นจะคำนวณว่าต้องดับหรือหยุดการทำงานส่วนไหน จากนั้นก็วัสดุดูดซับอนุภาคภายในท่อ ซึ่งความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องมีวัสดุดูดซับดังกล่าวก็ได้ เนื่องจากมีผนังคอนกรีตอยู่โดยรอบ ที่ดูดซับอนุภาคต่างๆ อยู่แล้ว
       
       ส่วนความกังวลว่าจะเกิดเหตุอันไม่คาดคิดจากการทดลองของเซิร์นหรือไม่นั้น นรพัทธ์กล่าวชัดเจนว่า "ถ้ามีจะอะไรเกิดขึ้น คงเกิดมานานแล้ว" โดยเขาขยายความต่อว่า ระดับพลังงานที่เกิดขึ้นถือว่าสูงในระดับพลังงาน แต่น้อยมากเมื่อเทียบในชีวิตประจำวัน โดยน้อยกว่าวัตถุ 1 กิโลกรัมที่ตกสู่พื้นระดับความสูง 1 เมตร ซึ่งคิดเป็นพลังงานได้ 9.8 จูล ขณะที่พลังงานจากเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีนั้นทำได้ 14 เทราอิเล็กตรอนโวลต์ หรือ 22 X 10-7 จูล เท่านั้น นอกจากนี้ รังสีที่ไว้ได้จากเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีนั้นอยู่ที่ปีละ 10 ไมโครซีเวิร์ต* ขณะที่รังสีจากสิ่งแวดล้อมทั้งหมดในสวิตเซอร์แลนด์วัดได้ 2,400 ไมโครซีเวิร์ต
       
       ส่วนต่างประเทศมีความตื่นตระหนกต่อการทดลองของเซิร์นบ้างหรือไม่นั้น นายนรพัทธ์กล่าวว่า เนื่องจากเขาอยู่ท่ามกลางนักวิทยาศาสตร์ของเซิร์น ซึ่งทุกคนทราบอยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก็ไม่ได้มีความตื่นตระหนกในเรื่องนี้ แต่ก็ได้ให้ความเห็นต่อบรรยากาศที่เกิดขึ้นในเมืองไทยว่า เป็นไปอย่างไม่ฟังเหตุผลเท่าไหร่ ขณะที่ต่างประเทศจะรับฟังเหตุผล และไม่นำเสนอความตื่นกลัวอย่างพร่ำเพรื่อ
       
       สำหรับความประทับใจจากการได้ร่วมวิจัยกับองค์กรระดับโลกนี้ นรพัทธ์เปิดใจว่า ที่เซิร์นมีความพร้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำวิจัยมาก พร้อมยกตัวอย่างว่า หากมีปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ก็มีเจ้าหน้าที่ดูแล มีปัญหาเรื่องวีซาในการเดินทางไปทำวิจัยก็มีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ หรือห้องสมุดที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง มีอิสระในการทำงานที่จะเลือกอะไรหรือเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องคิดจุกจิก ดังนั้นจึงทำงานได้อย่างเต็มที่



       
       Special : "เซิร์น" กับปฏิบัติการค้นหาต้นตอจักรวาล
       

http://www.norsorpor.com/ข่าว/n171741/มหัศจรรย์!%20พบซากสมบูรณ์ของแมลงดึกดำบรรพ์ในอำพัน%20110%20ล้านปี

 

"มัธยมวัดสิงห์" พาเรื่อง "สตอร์มเซิร์จ" ชนะเลิศประกวด นสพ.ยักษ์
โดย ผู้จัดการออนไลน์13 กันยายน 2551 23:41 น.

ทีมชนะเลิศหนังสือพิมพ์ยักษ์ จากโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ (ซ้ายไปขวา) ด.ญ.เสาวลักษณ์ กุทธิพันธ์ , ด.ญ.ฐายิกา แซ่เอี๊ยว,นายรัฐภูมิ เจริญเศรษฐพันธ์ และ น.ส.จันทร์จิตรา แวงแสน

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

"มัธยมวัดสิงห์" พาเรื่อง "สตอร์มเซิร์จ" ชนะประกวดหนังสือพิมพ์ยักษ์ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ ระบุนำเสนอเรื่องดังกล่าว เพราะอยากให้ผู้คนตระหนัก และหาแนวทางป้องกัน
       

       กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดประกวดผลิตสื่อหนังสือพิมพ์ยักษ์สำหรับเยาวชน ในหัวข้อ "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับปัญหาโลกร้อน" เมื่อวันที่ 12 ก.ย.51 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเป็นการแข่งขันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งแบ่งกลุ่มไม่เกิน 4 คน จัดทำสื่อหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ 44x32 นิ้ว และใช้เทคนิควาดภาพระบายสีจัดรูปแบบให้เหมือนหนังสือพิมพ์ทั่วไป
       
       ทั้งนี้ มีทีมผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 9 โรงเรียน ซึ่งคัดเลือกจากการรับสมัครผ่านศูนย์ข่าวเยาวชนไทย โดยการแข่งขันกำหนดระยะเวลา 2 ชั่วโมงในการวาดภาพประกอบ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมการออกแบบ เนื้อหาและข้อมูลข่าวสารล่วงหน้า ส่วนกรรมการตัดสินมีทั้งตัวแทนจากสื่อมวลชนสายวิทยาศาสตร์และนักประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
       
       ผลจากการแข่งขัน ทีมจากโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ได้รับรางวัลชนะเลิศ พร้อมทุนการศึกษา 10,000 บาทและโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสมาชิกทีมประกอบด้วย น.ส.จันทร์จิตรา แวงแสน นายรัฐภูมิ เจริญเศรษฐพันธ์ ด.ญ.ฐายิกา แซ่เอี๊ยว และ ด.ญ.เสาวลักษณ์ กุทธิพันธ์ ซึ่งศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
       
       สมาชิกทีมผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ เปิดเผยกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า เลือกนำเสนอเรื่อง "สตอร์มเซิร์จ" (Storm Surge) หรือคลื่นพายุหมุนที่ทำให้น้ำทะเลยกตัวสูง เนื่องจากต้องการให้ผู้คนตระหนักถึงเรื่องนี้และหาแนวทางป้องกัน ซึ่งในการเข้าประกวดครั้งนี้ก็เตรียมตัวและหาข้อมูล โดยนำข่าวจริงมาสรุปเป็นเนื้อหาเพื่อประกอบในหนังสือพิมพ์ยักษ์ และทั้ง 4 คนยังเป็นสมาชิกชมรมศูนย์ข่าวเยาวชนไทยของโรงเรียนวัดมัธยมวัดสิงห์ด้วย โดยรับผิดชอบในการผลิตสื่อ "สคูลทีวี" (School TV) ที่รายงานข่าวและกิจกรรมภายในในโรงเรียน
       
       ส่วนทีม ที่ได้รับรางวัลอันดับที่ 2 คือ ทีมโรงเรียนสารสาส์นเอกตรา ซึ่งได้รับทุนการศึกษา 5,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และทีมที่ได้รับรางวัลอันดับที่ 3 คือ ทีมโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ซึ่งได้รับทุนการศึกษา 4,000 บาทพร้อมโล่รางวัล นอกจากนี้ยังมีทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยอีก 3 รางวัล ซึ่งได้รับทุนการศึกษาพร้อมโล่รางวัล 3,000 บาท ได้แก่ ทีมโรงเรียนชลกันยานุกูล จ.ชลบุรี ทีมโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จ.กาญจนบุรี และทีมโรงเรียนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร.

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 17 กันยายน 2008 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้541
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1745
mod_vvisit_counterทั้งหมด10711551