Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow พมร.กะทู้ arrow ทองคำแหล่งเขาพนมพา
ทองคำแหล่งเขาพนมพา PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 05 มกราคม 2008

ทองคำแหล่งเขาพนมพา

                                                                                                           ทองคำ คือ ? ? ?  คำตอบ : ทองคำ คือ


ขุดทองคำที่พิจิตรเจอแล้วหมื่นล้าน


ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://pumbaa.coe.psu.ac.th/webboard/reply.php?forum_id=3&topic_id=5588


นายพิเชษฐ สถิรชวาล รมช.อุตสาหกรรม เผยว่า บริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด ที่ได้รับสัมปทานสำรวจและ
ผลิตเหมืองทองคำ ที่เขาพนมพา ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ภายใต้ชื่อ "แหล่งทองคำชาตรี"

ได้แจ้งให้ทราบว่าบริษัทพร้อมที่จะผลิตทองคำแห่งแรก ในเดือน ธ.ค. 44 หลังจากที่ใช้เงินลงทุนสำรวจ
และทำเหมืองไปทั้งสิ้น 250 ล้านบาท โดยตั้งแต่ปลายปี 44 เป็นต้นไป บริษัทจะทุ่มเงินลงทุนทำเหมืองอีก
8,000 ล้านบาท และพบว่าสายแร่ทองคำในพื้นที่เป็นสายแร่ควอตซ์ แทรกอยู่ในหินภูเขาไฟมีปริมาณสินแร่
14.5 ล้านตัน มีปริมาณทองคำเฉลี่ย 2.6 กรัม และ 13.3 กรัมต่อสินแร่หนัก 1 ตัน สามารถสกัดเป็นโลหะ
ทองคำได้ 32 ตัน โลหะเงิน 98 ตัน มูลค่า 10,000 ล้านบาท และ 600 ล้านบาท ตามลำดับ จึงเท่ากับว่า
แหล่งทองคำชาตรีมีมูลค่ารวม 10,600 ล้านบาท ในพื้นที่ 1,200 ไร่ จากที่บริษัทได้สิทธิในพื้นที่สำรวจ 100,000 ไร่


ทั้งนี้ แหล่งสัมปทานทองคำของกรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) ยังมีอีกหลายแห่งและเอกชนก็ต้องการเข้ามาขอ
สิทธิ์สำรวจ แต่ยังติดขัดปัญหาพื้นที่ในเขต ส.ป.ก. และคณะกรรมการก็ไม่เรียกประชุมพิจารณาคำขอใช้พื้นที่
ที่ กทธ.ส่งไปให้ดำเนินการมานานแล้ว กทธ.จึงไม่สามารถให้สัมปทานสำรวจแก่เอกชนได้ อาทิ แหล่งแร่ทองคำ
ที่ จ.เลยหรือในแถบ จ.กาญจนบุรี อย่างไรก็ดี ไทยต้องการที่จะบริโภคทองคำเฉลี่ยปีละ 104 ตัน ช่วงปี 34-39
แต่ช่วงที่เศรษฐกิจทรุดตัว ทำให้ความต้องการลดเหลือ 67 ตัน และในปีนี้ 6 เดือนแรก ต้องการใช้แล้ว 35 ตัน

นายพิเชษฐกล่าวว่า แหล่งแร่ทองคำที่น่าสนใจขณะนี้คือ บริเวณดอยตุง จ.เชียงราย, เขาพนมพา จ.พิจิตร,
แหล่งแร่บ่อทอง จ.ลพบุรี แหล่งแร่ทองคำอ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์, ทองคำในสายแร่ควอตซ์ เขาสามสิบ
จ.สระแก้ว แหล่งแร่ทองคำบ้านบุเสี้ยว จ.ปราจีนบุรี, ทองคำในสายแร่ควอตซ์ที่ห้วยคำอ่อน จ.แพร่, แร่ซัลไฟด์มี
ทองคำปะปนที่ภูทับฟ้า จ.เลย แหล่งแร่ป่าร่อนจ.ประจวบคีรีขันธ์ แหล่งบ้านนาล้อม จ.ปราจีนบุรี แหล่งบ้านทุ่งฮั้ว
จ.ลำปาง แหล่งในแม่น้ำโขง จ.หนองคาย แหล่งบ้านผาช้างมูบ จ.พะเยา.


-------------------------

Image


"เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา"

ขุมทองของนักร่อนแร่  
   
 

6 กรกฎาคม 2547
---------->


"ทอง ทอง ทอง" พูดถึง "ทองคำ" หลายคนทำตาโตเท่าไข่ห่าน มีใครบ้างไม่ชอบทอง เหตุเพราะทองคำจัดเป็นทรัพย์สินที่มีค่า ประเมินราคาเป็นเม็ดเงินได้จำนวนมาก

อันที่จริง "ทองคำ" เป็นแร่โลหะชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงทำให้เกิดการสำรวจขุดค้นและค้นหาแหล่งแร่ทองคำตามแหล่งธรรมชาติต่างๆ เพื่อนำเอาแร่ทองคำเหล่านั้นมาแปรสภาพเป็นทองคำ ด้วยความที่ทองคำเหล่านี้มีประโยชน์นานับประการ สามารถใช้ เป็นหลักประกันทางการคลัง ใช้แทนเงินตรา ทำเครื่องประดับ และอีกสารพัดที่จะได้รับหากมีทองอยู่ในความครอบครอง

เมื่อทองคำมีค่าเช่นนี้ มีหรือที่จะไม่มีการออกสำรวจหาแร่ทองคำเกิดขึ้น เหมือนเช่นที่บริเวณบ้านเขาพนมพา หมู่ที่ 7 ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า "เขาพนมพา" ลักษณะเป็นภูเขาลูกน้อย ตั้งตัวโดดอยู่บนพื้นราบ ภายนอกดูเหมือนเขาธรรมดาพอมีการออกสำรวจขุดหาแร่ทองคำ ปรากฏว่ามีแร่ทองคำฝังตัวอยู่จริง จึงทำให้เขาลูกพนมพาลูกนี้ กลายเป็นภูเขาที่มีค่ามีราคาและนำพาไปสู่การเป็น "เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา" ขึ้นมา ณ ปัจจุบันนี้

 

จากการค้นพบ

สู่การเปิดเหมืองทองคำ


“เมื่อก่อนเขาพนมพาเป็นเพียงเขาธรรมดาๆ แต่หลังจากที่กรมทรัพยากรธรณีเข้ามาสำรวจหาสายแร่ทองคำและพบว่ามีแร่ทองคำอยู่จริงบนเขาลูกนี้ ทำให้ชาวบ้านที่รู้ข่าวว่ามีแร่ทองคำอยู่ที่เขา ต่างก็แอบเข้ามาลักลอบขุดดิน และหินลูกรัง เอาไปบด เอาไปร่อน ปรากฏว่ามีแร่ทองคำอยู่จริง สามารถเห็นด้วยตาเปล่าและมีขนาดก้อนใหญ่มาก จึงทำให้มีชาวบ้านแห่เข้ามาขุดดินไปร่อนแร่กันเป็นจำนวนมาก”

ประสิทธิ์ ถาวรศักดิ์ นายช่างโยธา 6 องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร ทำหน้าที่งานสิ่งแวดล้อมและประชาสัมพันธ์ เท้าความถึงความเป็นมาของ "เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา"

และจากการที่ชาวบ้านลักลอบขุดกันดินเป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้มีการเข้ามาดูแลในช่วงแรก ทำให้เกิดปัญหาการทำลายป่าไม้ และหน้าดินเกิดถล่มลงมาทับชาวบ้านจนได้รับบาดเจ็บและถึงขั้นเสียชีวิต ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเห็นถึงปัญหาจึงเร่งทำการแก้ไข โดยทำการขอใบอนุญาตจากหน่วยงานกระทรวงอุตสาหกรรม ขอสัมปทานบัตรใบอนุญาตให้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำที่ถูกต้องตามกฎหมายขึ้น โดยในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2545 ถือว่าเป็นวันที่เปิดกิจการ "เหมืองแร่เขาพนมพา" ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยอนุญาตให้ชาวบ้านเข้ามาขุดหาแร่ทองคำได้อย่างอิสระเสรี แต่อยู่ภายใต้การดูแล ควบคุม และการอำนวยความสะดวกจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรให้กับผู้ที่มาขุดแร่ในเหมืองฯ แห่งนี้

"เราไม่ได้หวังผลกำไรจากการทำธุรกิจนี้ เพียงแต่ว่าเราเข้ามาเพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและต้องการให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรมและถูกกฎหมาย นี่คือวัตถุประสงค์หลักที่เราเข้ามาทำกิจกรรมเหมืองแร่ทองคำ" ประสิทธิ์ กล่าว

 

เสี่ยงโชค เลี้ยงชีพ

ร่อนแร่หาทอง


เมื่อทางองค์การบริการส่วนจังหวัดพิจิตรเปิดเหมืองแร่ทองคำเขาพนมพาขึ้นอย่างเป็นทางการ ในลักษณะเป็นเหมืองเปิด อนุญาตให้ชาวบ้านสามารถเข้ามาขุดหาแร่ทองคำได้ โดยถูกต้องตามกฎหมาย ทำการขุดดินจากบนเขามาโม่แล้วนำมาจำหน่ายให้กับชาวบ้านในลักษณะเป็นวัสดุแร่ใส่กระสอบขายให้กับชาบ้านในราคา ถุงละ 40 บาทเพื่อให้ชาวบ้านนำไปร่อนหาแร่ทองคำเพื่อเป็นรายได้เลี้ยงชีพอีกทางหนึ่ง

“ป้าส่ง” ผู้ทำอาชีพร่อนทองมานานกว่า 5 ปี บอกว่าปกติป้ามีอาชีพทำนา แต่พอหมดหน้านา ก็จะเข้ามาเสี่ยงโชคขุดหาแร่ทองคำเพื่อนำไปขายเป็นรายได้ในยามไม่ได้ทำนา

"อาชีพร่อนทองทำมานานแล้วกว่า 5 ปี แต่ทำที่เหมืองอื่น พอเหมืองพนมพาเปิดก็มาร่อนทองที่นี่แทน วันนี้มาร่อนทองตั้งแต่เช้าแล้ว ซื้อทั้งหมด 16 กระสอบ เพิ่งจะได้ทองประมาณ 3 กรัมหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะถ้าได้ 3 กรัมก็เป็นรายได้ก็พออยู่ได้ วันละประมาณ 300-400 บาท แต่ว่าบางวันก็ขาดทุน" ป้าส่งบอกพร้อมๆ กับชูแร่ทองที่เอาตะกั่วหลอมจับเป็นก้อนไว้แล้วให้ดู

เมื่อเทียบกับการทำนาแล้ว ป้าส่งบอกว่าไม่รู้ว่ามันจะคุ้มหรือไม่คุ้มกว่ากัน รู้แต่ว่าเมื่อไม่ได้ทำนา ก็เข้ามาเสี่ยงโชคขุดทองร่อนแร่เอา เพราะว่ายังไงก็ดีกว่าไม่มีอาชีพอะไรเสริมเพื่อเลี้ยงปากท้อง

ณี ทองอ้น หรือ "พี่นี" เป็นอีกผู้หนึ่งที่มาร่อนทองที่นี่ตั้งแต่เปิดเหมือง 2 ปีกว่าแล้ว พี่นีบอกว่าเข้ามาร่อนแร่ก็เหมือนเป็นอาชีพเสริม หน้าแล้งก็ทำเหมือง หน้านาก็ทำนา ถ้าถามถึงรายได้ก็ไม่แน่นอน บางช่วง บางวันมันก็มีกำไรพออยู่ได้ บางช่วงถ้าแร่ไม่ติดก็ขาดทุน แต่ก็พอมีกำไรอยู่บ้าง พอเลี้ยงชีพ

“อย่างที่เป็นถุงๆ ถุงละ 40 บาท ถ้าเราซื้อ 100 ถุง ก็ 4,000 บาท ถ้าเรามาทำวันไหนติดดีก็ได้ 5,000 กว่าบาท – 6,000 บาท หักต้นทุนไป 4,000 หักค่าใช้จ่ายบ้างอาจจะเหลือ 1,000 กว่าบาท – 2,000 บาท ช่วงไหนที่ดี แต่ถ้าช่วงไหนไม่ติดก็ขาดทุน 1,000-2,000 บาทเหมือนกัน แล้วแต่โชค แต่ก็คิดว่าพอมีรายได้ ก็จะทำต่อไป เพราะทำนาเองก็เสี่ยงเดี๋ยวก็แล้ง เดี๋ยวก็ท่วม ก็ลงทุนเหมือนกันและก็เสี่ยงเหมือนมาขุดหาแร่นี่ละ" พี่นีบอกพร้อมกับนั่งร่อนแร่ต่อไป

 

เปิดเหมืองทองคำ

เพื่อการท่องเที่ยว


จากระยะเวลา 2 ปีที่ได้มีการเปิดเหมืองแร่ทองคำเขาพนมพาแห่งนี้ ภายใต้การดูแลและดำเนินกิจการเหมืองขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร นับว่าประสบผลสำเร็จในขั้นหนึ่ง ชาวบ้านสามารถเข้ามาขุดหาแร่ทองคำได้อย่างอิสระเสรี ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชาวบ้านเหมือนเมื่อก่อน ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรจึงได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเหมืองทองคำแห่งนี้ โดยมุ่งหวังจะเปิดเหมืองทองคำแห่งนี้ ให้ประชาชนทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวที่สนใจเรื่องการทำเหมืองแร่ทองคำได้เข้ามาเที่ยวชมถึงในตัวเหมืองกันได้อย่างใกล้ชิด

ประสิทธิ์ กล่าวว่า ทางองค์การบริการส่วนจังหวัดพิจิตรกำลังเร่งดำเนินการในเรื่องนี้อยู่ ได้ว่าจ้างให้คณะสถาปัตยกรรมจุฬามาออกแบบโครงสร้างต่างๆ ภายในเหมือง โดยจะมีการสร้างโรงประปาทำน้ำประปา เพื่อให้ประชาชนมีน้ำประปาสำหรับใช้ดื่มกิน และสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ มีการสร้างทางถนนที่จะเชื่อต่อเข้ามายังเหมืองให้เป็นถนนลาดยางเป็นคอนกรีตให้หมดทุกเส้นเพื่อความสะดวกในการเดินทางเข้ามายังเหมืองฯของนักท่องเที่ยว และที่สำคัญที่สุดคือ ทำการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ลักษณะเป็นอาคาร 3 ชั้น เพื่อใช้เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติเหมืองแร่ทองคำเขาพนมพาหมู่ ที่ 7 จัดแสดงอุปกรณ์การทำเหมืองแร่ ตลอดจนเกร็ดความรู้ต่างๆ มากมายเกี่ยวกับเรื่องการทำเหมืองแร่ทองคำของเขาพนมพาแห่งนี้ ให้กับชนรุ่นหลังได้มาศึกษาหาความรู้ เพื่อเป็นข้อมูล

“เป็นความภาคภูมิใจของเราชาวจังหวัดพิจิตรที่มีเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งมีไม่กี่ที่ในเมืองไทย และที่ทำให้เราภาคภูมิใจมากยิ่งขึ้นนั้น ก็คือที่เขาพนมพาเป็นเหมืองแร่ทองคำที่เปิดประชาชนโดยทั่วไปสามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ เพราะแร่ทองคำที่นี่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้”

ประสิทธิ์ อธิบายก่อนที่เล่าเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการที่จะเปิดเขาพนมพาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางผู้เกี่ยวข้องก็เตรียมพร้อมในเรื่องการท่องเที่ยว โดยจะมีที่จอดรถบัสเพื่อเตรียมรับปริมาณนักท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวมาดูการล้างร่อนแร่ และสามารถมาล้างร่อนแร่ด้วยตนเอง ทองที่ได้ก็จะได้เป็นกรรมสิทธิ์ด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีร้านค้าเพื่อใช้เป็นแหล่งศูนย์รวมของผลิตภัณฑ์โอทอปของจังหวัดพิจิตร ซึ่งจะเอามาอยู่รวมกัน เพื่อเป็นศูนย์รวมขายให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมในเหมือง

สำหรับโครงการทำ “เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา” เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพิจิตร ก็คงต้องตามดูกันต่อไปว่า เหมืองทองที่นี่จะเป็นแหล่งทำเงินทำทองให้จังหวัด หรือจะเป็นเพียงแค่ดินแดนที่มีเฉพาะนักร่อนทองมาเสี่ยงโชคเท่านั้น


* * * * * * * * * * ***************************************** *

"เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา"

ตั้งอยู่บริเวณบ้านเขาพนมพา หมู่ที่ 7 ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ลักษณะเป็นเหมืองเปิด โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานในการทำเหมือง ให้ประชาชนเข้ามาร่อนหาแร่ทองคำได้ โดยจะทำการนำแร่บนเขามาบดให้ละเอียดและบรรจุใส่ถุงกระสอบขายให้กับประชาชนในราคาถุงละ 40 บาท เพื่อนำไปร่อนหาแร่ทองคำ

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะไปเที่ยวชม “เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา” สามารถติดต่อไปได้ที่ องค์การบริการส่วนจังหวัดพิจิตร โทร. 0-5661-3463 ต่อ 111
- - -- - - - - - - - - - -- - - - - -- - - -


ข่าวและภาพบางส่วน จาก : ผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2547
ที่มา ; http://www.manager.co.th/
 
http://www.siam-handicrafts.com/Webboard/question.asp?QID=437

 

เหมืองทอง

ที่พิจิตร


http://www.kingsgate.com.au/AnnualReport2000/page7.htm

จาก : นก - 22/10/2001 08:04 


ข้อความ : ทองคำเขาพนมพามีปริมาณแร่ทองคำเฉลี่ยต่อหน่วยมากถึง 100 กรัมต่อเนื้อหินปนแร่ทองคำ 1 ตัน เสมือนหนึ่งใต้พื้นเขาพนมพานั้นมีแบงก์พันซ่อนอยู่ แต่มีอยู่ในพื้นที่จำกัดและอยู่ตามผิวดินเท่านั้น เทียบกับเหมืองชาตรีมีเพียงเหรียญสลึงเหรียญบาท เพียงแต่กระจายเป็นวงกว้างกว่า

 

Tuesday, October 23, 2001

‘เหมืองทองพนมพา’ทุกขลาภของ อบจ.พิจิตร

By MGR ONLINE
http://www.manager.co.th/cgi-bin/viewNews.asp?newsid=1970013868807

จาก : VIT GEO36 - 24/10/2001 05:23 
  
 นับจากข่าวการพบทองคำบริเวณเขาพนมพากระจายออกไปเมื่อเดือนเมษายน 2542 แต่ละวันชาวบ้านร่วมๆ 500 คนไม่เคยออกนอกพื้นที่นี้ ต่างหมุนเวียนเปลี่ยนหน้า เข้ามาขุดลำเลียงดินปนแร่ใส่ถุงปุ๋ยเพื่อร่อนหาทองคำ แรกๆ ก็ต้องเสี่ยงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและป่าไม้จับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย จนมาระยะหลังๆ เมื่อปรมป่าไม้อนุญาตให้อบจ.พิจิตรเข้ามาใช้พื้นที่ ดูเหมือนว่าความหวาดกลัวจะลดลงไป

Image

แต่การลักลอบเข้ามาขุดทองก็ลดน้อยลงไป เพราะทราบดีว่า ใกล้เวลาที่ อบจ.จะเปิดให้เข้ามาขุดอย่างถูกต้อง หลังจาก อบจ.ได้รับอนุมัติประทานบัตรจากกรมทรัพยากรธรณีแล้ว

ขณะเดียวกันอาการตื่นทองที่ลดน้อยถอยลงไป ยังเป็นเพราะดินปนแร่ทองคำที่ขุดได้ เมื่อนำไปร่อนแร่ตามแหล่งน้ำสาธารณะส่วนใหญ่พบว่า “มันไม่คุ้ม”

นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)พิจิตร กล่าวถึงความคืบหน้าล่าสุด ว่า หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลงนามอนุมัติประทานบัตรให้อบจ.เมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ทางอบจ.กำลังเร่งประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้างต่อกฎระเบียบที่จะเกิดขึ้น ก่อนที่กองเศรษฐกิจกรมทรัพยากรธรณี จะให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจต่อแผนการลงทุนอนาคต เพราะปริมาณทองคำที่เหลืออยู่อาจไม่คุ้มต่อการลงทุน อาจใช้เวลาสัก 2 วัน ชี้แจงถึงแผนระยะสั้นว่าชาวบ้าน ที่เคยเข้ามาขุดทองอยู่แล้วจะต้องทำอย่างไร

“แม้ว่าชาวบ้านที่ขุดดินเบื้องหน้าเห็น ๆ ก็ถือว่าผิดเพราะเป็นสิทธิของอบจ.พิจิตรหลังได้รับประทานบัตร แต่กำลังศึกษารายละเอียดสัมปทานบัตรว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะกำหนดแผนระยะสั้น คาดว่าสัปดาห์นี้คงรู้ผล ที่แน่ๆ อบจ.ต้องดำเนินการเรื่องไฟฟ้าและถนนเข้าไปในพื้นที่” นายชาติชายกล่าว

นอกจากนี้อบจ.พิจิตรต้องเตรียมแหล่งน้ำ โดยได้จัดเตรียมซื้อไว้บนเนื้อที่ 50 ไร่เพื่อเป็นสถานที่แต่งแร่ ซึ่งตามแผาจะสร้างบ่อขนาดใหญ่หรือสายน้ำทั้ง 14 แห่ง ขณะนี้ได้ขุดเตรียมไว้แล้วจำนวน 4-5 แห่งทางด้านทิศใต้ของเขาพนมพา

ขณะที่ชาวบ้านกำลังปักหลักขุดดินปนแร่ทองคำเช่นเคย จำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับวันก่อน มิได้แตกตื่นกับข่าวขุดทองแต่ประการใด กลุ่มนักแสวงโชคทราบข้อมูลดีว่า รายได้ของตนนั้นต้องเสี่ยง ไม่เหมือนเดิม การร่อนแร่ทองคำไม่สามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำเหมือนช่วงแรก ๆ บางคนหันมาขายแรงงานแบกถุงปุ๋ยแทน เพราะไม่คุ้มถ้าคิดจะร่อนแร่หาทองคำเอง มิหนำ ซ้ำถ้าขุดได้หินขนาดใหญ่ต้องเสียค่าบดละเอียดอีกถุงละ 20 บาท (ไม่เกิน 30 กิโลกรัม) ทั้งยังไม่รวมค่าแบกลงจากเขาอีกต่างหาก

แม้ว่าข้อมูลยืนยันจากกรมทรัพยากรธรณีวิทยา ระบุว่า ทองคำเขาพนมพามีปริมาณแร่ทองคำเฉลี่ยต่อหน่วยมากถึง 100 กรัมต่อเนื้อหินปนแร่ทองคำ 1 ตัน เมื่อเทียบกับ“เหมืองชาตรี” แหล่งสัมปทานของบริษัทอัคราไมนิ่งฯมีความสมบูรณ์ของแร่ทองคำ 2.7-3.2 กรัมต่อตัน เสมือนหนึ่งใต้พื้นเขาพนมพานั้นมีแบงก์พันซ่อนอยู่ แต่มีอยู่ในพื้นที่จำกัดและอยู่ตามผิวดินเท่านั้น เทียบกับเหมืองชาตรีมีเพียงเหรียญสลึงเหรียญบาท เพียงแต่กระจายเป็นวงกว้างกว่า

ดังนั้นเมื่อสายหลักแร่ทองคำตามผิวดิน ลึกไม่กี่เมตรจากเขาพนมพาถูกกวาดจนเกลี้ยง ดดยชาวบ้านที่แห่กันมาลักลอบขุดตลอด 2 ปีที่ป่านมา หน้าที่ของอบจ.ต่อไปคือเร่งให้กรมทรัพย์สำรวจบริเวณใกล้เคียงว่ามีสายแร่ทองคำหลงเหลือพอคุ้มเงินลงทุนหรือไม่ พร้อมกับต้องมีอุปกรณ์ทันสมัยช่วยขุดเจาะ

ทุกวันนี้ชาวบ้านทำการขุดดินเพียงเพื่อหาเศษทองปลาย ๆ สายแร่ จนแทบไม่ต้องหวังรายได้งาม ๆ เหมือนแต่ก่อน แม้ว่า อบจ.พิจิตรไม่เข้มงวดต่อการบุกรุกของชาวบ้านาก็ตาม แต่ก็ไม่มีฝูงชนบ้าคลั่งนับพัน ๆ แห่ขุดทอง ต่างรู้ว่าขุดแค่พออยู่ ไม่ใช่ขุดแล้วรวย

ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าร้านรับซื้อทองในบริเวณนั้นที่เคยมีการซื้อขายคึกคักต่างปลดป้ายลงกันหมดแล้ว


จาก : VIT GEO36 - 24/10/2001 05:24 
http://board.dserver.org/g/geochula/00000009.html

-----------------------------------------------------------

หัวข้อ : สุริยะสั่งลุยสำรวจ

ขุมทรัพย์ทองคำ

ทั่วประเทศ


 


"สุริยะ" สั่งสำรวจขุมทองทั่วประเทศ ขณะที่นายก อบจ.เมืองชาละวัน โต้กรณีระบุว่า "เขาพนมพา" มีทองคำ 300 กก.
บอกเป็นข้อมูลเก่า ตอนนี้จะเหลือถึง 10 ล้านบาทหรือเปล่า ต้องสำรวจกันใหม่เพื่อดูว่าคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่
ติงเพราะตัดสินใจล่าช้าจนชาวบ้านแอบขุดกันจนเกือบเกลี้ยง ขณะที่ "พิเชษฐ" คุยฟุ้ง เสนอ ททท. ทำสารคดีการขุดทองที่
"เขาพนมพา" เผยแพร่ทั่วโลก พัฒนาเป็นแหล่งทองเที่ยว ด้าน กทธ. ส่งผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้เรื่องขุดทองและป้องกันดินถล่ม
แฉชาวบ้านที่แอบขึ้นไปขุดทองตายเกลื่อนเกือบ 300 คน ขณะที่สมาพันธ์ผู้ผลิตทองฯ
เตรียมเปิดแคมเปญให้คนไทยหันมาซื้อทองแท่งมากขึ้น เชื่อได้ผลเพราะไม่ต้องเสียค่ากำเหน็จและภาษี ส่วนที่สุพรรณ
พบบ่อน้ำมันอีกแล้ว!

กรณีบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด ซึ่งได้รับสัมปทานทำเหมืองถลุงแร่ทองคำบริเวณรอยต่อระหว่าง ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร และ
ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ ประสบความสำเร็จพบแร่ทองคำ และโลหะเงิน จำนวนมหาศาลมูลค่านับหมื่นล้านบาท ต่อมานายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม
ออกมาระบุว่ายังมีแหล่งทองคำอีกหลายแห่งในประเทศไทย และได้ลงนามอนุมัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พิจิตร ทำเหมืองหาบ หรือเหมืองที่ใช้อุปกรณ์แค่จอบ
และเสียบในการขุด บริเวณพื้นที่หนองปลาไหล หัวดง เขาทราย เขาเจ็ดลูก ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร จำนวนกว่าร้อยไร่ โดยให้ทาง อบจ.พิจิตร เป็นผู้กำหนดกฎระเบียบเอง
จนลาสุดเกิดกระแสการตื่นทองขึ้น ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าเมื่อ 14.00 น. วันที่ 22 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่าประเทศไทย โดยเฉพาะที่ จ.พิจิตร มีสายแร่ทองคำแน่นอน และปีหนึ่งๆ
สามารถขุดค้นได้ประมาณ 4.5 ตัน แต่ถึงขณะนี้เป็นเรื่องของบริษัทที่ได้รับสัมปทานที่จะดำเนินการ ส่วนกรณีการอนุมัติให้ อบจ.พิจิตร ทำเหมืองนั้น เชื่อว่าคงจะไม่เกิดปัญหาขึ้น
พร้อมทั้งเน้นย้ำว่าต้องให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความเข้าใจที่ดีต่อกัน

ด้านนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) เร่งสำรวจพื้นที่สายแร่ทองคำเพิ่มเติ่มทั่วประเทศ โดยเฉพาะใน จ.พิจิตร เพชรบูรณ์
และเลย ว่ามีแหล่งใดสามารถมีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นเหมืองแร่ทองคำได้ รวมทั้งเชิญชวนให้นักลงทุนเอกชนเข้ามา
เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงให้เกิดการจ้างแรงงานและการลงทุนซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีที่ไทยมีสายแร่ทองคำ

ส่วนนายพิเชษฐ สถิรชวาล รมช.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้เสนอให้นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)
ส่งเจ้าหน้าที่ไปถ่ายทำสารคดีสั้น หรือ ภาพยนตร์เกี่ยวกับการขุดทองที่เขาพนมพา เพื่อเผยแพร่ทางทีวีในไทยและทั่วโลก เพื่อให้คนไทยรับทราบว่ามีการขุดทองและขุดอย่างไร
รวมทั้งพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ด้วยการเชิญชวนต่างชาติเข้ามาดูขั้นตอนการขุดทอง ร่อนทอง ขายทอง เปิดเป็นร้านขายทองให้กับนักท่องเที่ยวได้เลย
และเพื่อรักษาความปลอดภัยจึงเสนอให้ อบจ.พิจิตร นำรถแทรกเตอร์มาขุดดินในพื้นที่ที่ได้รับสัมปานเพื่อนำเศษดิน-หินมาใส่ถุงขายให้กับประชาชนที่ต้องการแสวงโชค
ซื้อเพื่อนำกลับไปร่อน โดยจัดบริการแหล่งน้ำไว้ให้รวมทั้งมีโต๊ะรับซื้อทองคำ และจะมีเจ้าหน้าที่ กทธ. ไปเก็บค่าภาคหลวง

ขณะที่นายนภดล มัณฑะจิตร อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) กล่าวว่า ทางจังหวัดพิจิตรจะต้องมีการจัดระเบียบการขุดทอง คือจะให้สิทธ์เฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ดังกล่าวเท่านั้น
ส่วนคนในพื้นที่อื่นแม้ว่าจะไปจับจองพื้นที่เพื่อขุดทองก่อนก็ไม่สิทธิ์ นอกจากนี้ทางจะต้องจัดระเบียบการขุดทองเพื่อไม่ให้มีการทำผิดกฎหมาย คือจะให้ขุดได้ลึกเพียง 5 เมตรเท่านั้น
และจุดที่ขุดจะเป็นบริเวณที่สามารถพบทองได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งจะมีบริเวณพื้นที่ไม่กว้างนักเพียง 100 กว่าไร่เท่านั้น อย่างไรก็ตามได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ
และเจ้าหน้าที่ลงไปแนะนำให้ชาวบ้านเรื่องการดูแร่ทองคำที่ปะปนอยู่ในเศษหินเศษดิน การป้องกันปัญหาดินถล่มระหว่างขุดหลุมใต้ดิน และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมหลังการขุดเจาะ
รวมถึงการร่อนทองที่ถูกวิธี เนื่องจากชาวบ้านขาดความรู้ด้านวิชาการ ทำให้บางครั้งสูญเสียปริมาณทองที่ขุดได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ทางด้านนายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ทาง อบจ. เคยยื่นเรื่องขอสัมปทานทำเหมืองทองที่เขาพนมพาครั้งแรกเมื่อ 6 เดือน มูลค่ากว่า 140
ล้าน ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง รมช.อุตสาหกรรม และคณะก็เคยเดินทางมาตรวจดูพื้นที่ และรับปากว่าจะอนุมัติให้ภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่ปรากฏว่าพึ่งจะมีการอนุมัติให้
ซึ่งก็ไม่ทราบว่าทำไมถึงล่าช้านัก จนปัจจุบันชาวบ้านแอบลักลอบขึ้นไปขุดหาทองกันจนไม่รู้ว่าจะเหลือทองมูลค่าถึง 10 ล้านบาทหรือไม่ อย่างไรก็ตามคงต้องปรึกษากับทาง กทธ.ก่อน
และเริ่มสำรวจกันใหม่ ก่อนกลับมาพิจารณากันอีกครั้งว่าจะคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ อย่างไร

ส่วนกรณีที่จะให้คนพิจิตรมีสิทธิ์ในการขุดเท่านั้น ทาง อบจ. คงต้องดูจำนวนคนก่อนว่ามีมากน้อยแค่ไหน และจะพิจารณาคนในพื้นที่จังหวัดพิจิตรก่อน
แต่ต้องไม่ลืมว่าเขาพนมพาเป็นของแผ่นดินไทย การกีดกันคนไทยด้วยกันคงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องนัก อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่เห็นหนังสืออนุมัติดังกล่าว
ทราบจากข่าวการให้สัมภาษณ์เท่านั้น และหากอนุมัติให้จริงก็คงต้องปรึกษากับทาง อบต.หนองพระ อ.วังทรายพูน ก่อน นอกจากนี้ยังบอกว่าหากไม่คุ้มค่าการลงทุน
ก็น่าจะทำให้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ไว้ให้ลูกหลานศึกษา และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าจะเหมาะสมที่สุด

"อยากให้ รมว.อุตสาหกรรม ลงมาดูพื้นที่ด้วยตนเอง จะได้รู้ข้อมูลที่แท้จริง การเซ็นอนุมัติเมื่อวันที่ 19 ต.ค. เป็นการเซ็นอนุมัติที่ล่าช้าไม่ทันการณ์
ชาวบ้านแอบบุกขึ้นไปขุดจนสภาพเขาพนมพาตอนนี้แทบไม่เหลืออะไรแล้ว จะมีทองเหลือถึง 10 ล้านบาทหรือไม่ก็ไม่รู้ ที่บอกว่ามีทองคำ 300 กก. มันเป็นข้อมูลเก่า
ตอนนี้ต้องมาสำรวจกันใหม่ ไม่อยากเอาเงินภาษีชาวบ้านมาใช้แบบไม่คุ้มค่า ถ้าไม่คุ้มรัฐบาลก็น่าจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือพื้นที่ประวัติศาสตร์แทน " นายก อบจ.กล่าว

สำหรับบรรยากาศที่บริเวณเขาพนมพา ช่าวบ้านยังแห่กันมาขุดหาทอง แต่เป็นการขุดบริเวณพื้นที่โดยรอบของเขาเท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นที่ของวัดชื่อดังแห่งหนึ่ง ไม่ใช้พื้นที่สัมปทาน
ส่วนพื้นที่ที่ อบจ. ยื่นขอสัมปทาน และชาวบ้านแอบลักลอบขุดมานานตั้งแต่เมื่อต้นปี 2541 จนถึงขณะนี้ มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 300 คน แต่มีการแจ้งความยืยยันเพียง
100 ราย และมีผู้บาดเจ็บกว่า 1,000 คน ขณะนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และตำรวจคอยดูแลไม่ให้มีการลักลอบขึ้นไปขุดอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีรายงานว่านายวรเกียรติ สมสร้อย
รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือเรื่องดังกล่าว ได้ข้อสรุปว่าต้องให้นักธรณีวิทยาสำรวจใหม่

ด้านนายแดน ศรมณี ผู้จัดการประจำประเทศไทย สมาพันธ์ผู้ผลิตทองคำแห่งโลก กล่าวว่า ในวันที่ 24 ต.ค. ทางสมาพันธ์ฯ
จะเปิดแคมเปญกระตุ้นให้ประชาชนในประเทศหันมาซื้อทองคำแท่งให้มากขึ้น โดยจะร่วมมือกับร้านแม่ทองสุข และร้านทองบ้านช่างทอง จัดทำทองแท่งขนาดเล็กคือ 50 สต. 1 บาท 2
บาท และ 5 บาท จากปัจจุบันที่จัดทำขนาด 10 บาท 20 บาท และ 50 บาท คาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้น 10% ในปีนี้ โดยที่ผ่านมามีการซื้อทองคำแท่งในประเทศเพียงปีละ 8 ตัน
เมื่อเทียบกับปริมาณทองที่ซื้อจากต่างประเทศที่มีถึงปีละ 67 ตัน และเชื่อว่าประชาชนจะหันมาซื้อทองคำแท่งมากขึ้น เนื่องจากไม่เสียค่ากำเหน็จและภาษี
ถือว่าเป็นการลงทุนที่กำไรมากกว่าการฝากเงินในธนาคาร

ขณะที่นายสุรพล อุดมพรวิรัตน์ รองประธานบริหารบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด เปิดเผยเรื่องการจ้างงานว่า ส่วนใหญ่จะจ้างชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงโรงงานผลิต
ส่วนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทางมีกระบวนการควบคุม เก็บกัก และป้องกันที่มีมาตรฐานสูง นอกจากนี้ทั้งกรมควบคุมโรงาน กรมทรัพยากรธรณี
และอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คอยควบคุมดูแลอยู่ ซึ่งหากบริษัทไม่มีมาตรฐานในเรื่องนี้ก็คงไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ นอกจากนี้ยังระบุว่าในปี 2548-2549
บริษัทต้องทำตามเงื่อนไขที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก บีโอไอ คือต้องนำบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อทำให้คนไทยถือหุ้นอย่างต่ำ 51%
จากปัจจุบันที่ออสเตรเลีย เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

ขณะที่ จ.สุพรรณบุรี ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบที่บริเวณหมู่ที่ 3 ต.สวนแตง อ.เมือง เนื่องจากทราบว่ามีการขุดพบน้ำมัน ซึ่งปรากฏว่าพบคนงานของบริษัทคฑาวุธ จำกัด
กำลังทำการปรับหน้าดินเตรียมเจาะน้ำมันอยู่ แต่ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ ด้านนายสมนึก รักญาติ หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรธรณีวิทยาจังหวัด เปิดเผยว่า ทางบริษัท ปตท.สผ.
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้รับสัมปทานการขุดหาแหล่งน้ำมันดิบในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี และได้พบแหล่งน้ำมันดิบบริเวณหมู่ที่ 1 ต.สวนแตง เป็นแห่งแรกเมื่อปี 2536
โดยผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ยวันละประมาณ 700 บาร์เรล ขณะที่กำนัน ต.สวนแตง ระบุว่าน่าจะมีแหล่งน้ำมันดิบอีกหลายแห่ง และการขุดพบและเตรียมเจาะครั้งนี้ น่าจะทำให้การเงินสะพัด
ประชาชนมีรายได้และอาจมีการจ้างงานเกิดขึ้น

จาก : :p - 23/10/2001 13:43  
--------------------------------------------

ข้อความ : "สุริยะ" ยัน

พนมพา ยังมีทอง

ราคาที่ดินพรวด!

จากข่าวครึกโครมกรณีบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัดเริ่มเดินเครื่องจักรเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำหลังการสำรวจพบสายแร่ทองคำจำนวนมหาศาลกว่า
32 ตัน มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท และแร่เงินบริสุทธิ์อีกกว่า 98 ตัน มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท
บริเวณเขตรอยต่อ ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ และ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 1,200 ไร่เศษ จุดประกายความหวังให้แก่คนไทยทั้งประเทศว่า
น่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นสภาพเศรษฐกิจของประเทศให้กระเตื้องขึ้นบ้าง หลังจากซบเซามานานหลายปี
ขณะเดียวกัน ทาง รมว.อุตสาหกรรมได้เซ็นอนุมัติ ให้สัมปทานบัตรแก่ อบจ.พิจิตร
ในการทำเหมืองหาบหรือเหมืองขุดแร่ทองคำบริเวณพื้นที่เขาพนมพา ต.วังทรายพูน อ.วัง-ทรายพูน
จ.พิจิตร เนื้อที่กว่า 114 ไร่เศษ
โดยจะเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้าไปขุดหาแร่ทองคำได้อย่างถูกกฎหมาย
โดยจะเสียเพียงค่าภาคหลวงจากราคาซื้อขายอัตราร้อยละ 2.5
ซึ่งได้สร้างความสนใจให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก
ต่างคาดหวังที่จะพบขุมทองคำมหาศาลและพลิกฐานะจากชาวบ้านธรรมดา ๆ
กลายเป็นเศรษฐีขุดทองไปตาม ๆ กันนั้น

ในส่วนความคืบหน้าเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 23 ต.ค.
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสังเกตการณ์บริเวณโรงงานแต่งแร่ของบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด
ต.เขาเจ็ดลูก  อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ซึ่งเริ่มเดินเครื่องจักรบดอัดแร่มาตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. ที่ผ่านมา
พบว่ามีขบวนรถบรรทุกลำเลียงเศษดินเศษหินที่ได้จากการขุดเจาะในพื้นที่ที่ได้รับสัมปทานการทำเหมืองทองคำทยอยกันเข้ามาตลอดไม่ขาดสาย
เศษดินเศษหินกองพะเนินสูงเท่ากับตึกหลายชั้น จากการสอบถามนายสุรพล อุดมพรวิรัตน์
รองประธานกรรมการบริษัทอัคราไมนิ่งฯกล่าวว่า
ในวันนี้ยังไม่สามารถเดินเครื่องจักรสำหรับบดอัดแร่ได้เต็มที่
เนื่องจากต้องมีการปรับแต่งระบบการทำงานของเครื่องจักรให้เข้าที่เข้าทางเสียก่อน
คาดว่าไม่น่าจะเกินวันที่ 20 พ.ย. คงจะเดินเครื่องจักรได้เต็มกำลัง ขณะเดียวกัน
หลังจากสื่อมวลชนนำเสนอข่าวออกไป
ได้มีประชาชนที่สนใจเดินทางมาเยี่ยมชมการทำงานเป็นจำนวนมาก
แต่ทางบริษัทตั้งเป้าจะเปิดให้เข้าชมเป็นกลุ่มคณะเท่านั้นเนื่องจากยังขาดแคลนบุคลากรที่จะให้การต้อนรับ
ดังนั้นเพื่อความแน่นอน ขอให้ติดต่อนัดหมายล่วงหน้าจะเป็นการดีที่สุด

สำหรับโครงการขุดค้นสายแร่ทองคำในพื้นที่ที่ได้สัมปทานบัตรบริเวณ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ นั้น
นายสุรพลกล่าวว่า ได้เริ่มดำเนินการเข้าไปสำรวจแล้ว พบว่าพื้นที่ อ.วังโป่ง
มีสายแร่ทองคำอยู่ในปริมาณที่มากพอสมควร และการขุดค้นทำได้ง่ายกว่า
เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา ไม่ค่อยจะมีชั้นหินมากเหมือนกับที่ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
ซึ่งต้องใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีชั้นสูงในการขุดหาแร่ทองคำ
คาดว่าในราว ๆ กลางเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ทางบริษัทจะเรียนเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดเหมือง ทองคำด้วย นอกจากนี้
ทางผู้บริหารของบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย
มีกำหนดจะนำเหมืองแร่ทองคำแห่งนี้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในประเทศออสเตรเลียในอีก 4-5
ปีข้างหน้าด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังมีข่าวการจัดตั้งเหมืองแร่ทองคำอย่างเป็นทางการในเขต อ.วังโป่ง
จ.เพชรบูรณ์ และ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร
ปรากฏว่าราคาที่ดินในบริเวณดังกล่าวพุ่งพรวดขึ้นกว่าเท่าตัวคือจากเดิมราคาขายไร่ละ 30,000 บาท
ขยับขึ้นเป็นราคาไร่ละ 60,000 บาท หากใกล้บริเวณที่ตั้งของเหมืองแร่ทองคำราคาเดิมเสนอขายไร่ละ
50,000 บาท ขยับขึ้นเป็นกว่าไร่ละ 1 แสนบาททันที

ส่วนพื้นที่เขาพนมพา ต.วังทรายพูน อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร
ซึ่งแต่เดิมมีการขุดพบแร่ทองคำจำนวนมหาศาล
สร้างความแตกตื่นให้แก่ชาวบ้านพากันยกขบวนไปขุดหาทองคำนับหมื่นคน
มีผู้คนล้มตายจากสาเหตุดินถล่มฝังทั้งเป็นนับสิบราย
จนภายหลังหน่วยงานราชการและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสั่งปิดพื้นที่
ห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปขุดหาทองคำในบริเวณดังกล่าว
แต่หลังจากที่กรมทรัพยากรธรณีเข้าไปสำรวจแล้ว
พบว่ายังมีแร่ทองคำในปริมาณที่มากพอจะทำเหมืองแร่ขุดได้
จึงเสนอกระทรวงอุตสาหกรรมอนุมัติสัมปทานบัตรให้ทำเหมืองขุดหรือเหมืองหาบแก่ทาง อบจ.พิจิตร
นำไปพิจารณาจัดสรรพื้นที่และวางมาตรการในการจัดเก็บค่าภาคหลวงนั้น

ปรากฏว่าเมื่อกลางดึกคืนวันที่ 22 ต.ค.
ได้มีชาวบ้านแอบลักลอบเข้าไปขุดหาทองคำบริเวณเขาพนมพาอีกหลายราย แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ
สภ.อ.วังทรายพูนและอาสาสมัครประจำจังหวัดซึ่งเฝ้ารักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณดังกล่าวตรวจพบและจับกุมได้
2 คนคือนายประเทือง ดวงมาลา อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 51 หมู่ 7 ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน
จ.พิจิตร และนายติ แก้วกมล อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ 6 ต.ดงขลุย อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
พร้อมของกลางเป็นกระสอบปุ๋ยบรรจุเศษดินที่ลักลอบขุดออกมาจำนวน 2
ถุงใหญ่และอุปกรณ์ในการขุดดินหลายรายการ คุมตัวส่งให้ ร.ต.อ.สุทธิพงศ์ วัฒกาพัฒน์ ร้อยเวร
สภ.อ.วังทรายพูน ดำเนินคดีข้อหาบุกรุกและทำลายป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต

ต่อมาเมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 23 ต.ค. นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายก อบจ.พิจิตร นายอรุณ
ลิขิตพรสวรรค์ รองนายก อบจ.พิจิตร
พร้อมคณะและสื่อมวลชนได้เข้าไปสำรวจบริเวณเขาพนมพาซึ่งเป็นจุดที่ได้รับสัมปทานบัตรทำเหมืองทองคำ
พบว่ามีชาวบ้านกว่า 1,000 คน
นำอุปกรณ์เครื่องมือในการขุดดินมาปักหลักเฝ้ารอการเข้าไปจับจองพื้นที่ทำเหมืองขุดตามที่ได้ทราบข่าวมา
นายชาติชายจึงต้องเข้าไปทำความเข้าใจและชี้แจงว่า
ในขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดให้เข้าไปขุดทองคำได้เพราะต้องจัดเตรียมแผน และมาตรการต่างๆ ก่อน
สร้างความผิดหวังให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก ทั้งนี้นายชาติชายได้กล่าวถึงแผนการจัดการเบื้องต้น
ที่จะเร่งรัดทำก่อนเป็นอันดับแรกคือการตัดถนน เดินสายไฟฟ้าและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
เข้ามายังพื้นที่ที่ได้รับสัมปทานบัตร คาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ขณะเดียวกันทาง
อบจ.พิจิตรจะได้หารือเกี่ยวกับการจัดสรรพื้นที่สำหรับขุดหาทองคำ
อาจจะใช้วิธีนำเครื่องจักรเข้ามาขุดตักดินแบ่งบรรจุใส่ถุงขายให้ชาวบ้าน
ที่ต้องการเสี่ยงโชคนำไปร่อนนอกพื้นที่ หรืออาจจะใช้วิธีแบ่งล็อกให้เข้าไปขุด และร่อนทองในพื้นที่เลย
อยู่ในระหว่างการศึกษาแนววิธีการที่เหมาะสมต่อไป ขั้นตอนที่ว่านี้จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1-2
เดือนเป็นอย่างน้อยจึงจะเปิดให้ประชาชนเข้าไปขุดทองได้ แต่คาดว่าไม่น่าจะเกินวันที่ 1 ม.ค. 2545

ทางด้านนายทองใบ วิทยา ชาวบ้านหมู่ 8 ต.เขาเจ็ดลูก
หนึ่งในบรรดาชาวบ้านที่เคยเข้าไปขุดหาทองคำบริเวณเขาพนมพากล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า
ส่วนใหญ่จะเข้าไปขุดดินใส่ถุงปุ๋ยเสนอขายให้แก่คนที่สนใจจะเสี่ยงดวงในราคาถุงละ 30 บาท
นำไปร่อนหาทองคำกันเอง บางคนก็โชคดีได้ทองคำสมใจนึก บางคนก็โชคร้ายได้แต่เศษดินเปล่าๆ
ส่วนวิธีการที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในขณะนี้คือให้ทาง
อบจ.พิจิตรนำเครื่องจักรกลขนาดหนักเข้ามาขุดดินแบ่งใส่ถุงขายให้แก่ชาวบ้านแทนการเปิดให้เข้าไปขุดกันเอง
เพราะสภาพพื้นที่เขาพนมพาในขณะนี้เป็นหลุมเป็นบ่อลึกไม่ต่ำกว่า 3-5 เมตร
แถมยังชุ่มไปด้วยน้ำเสี่ยงต่อปัญหาดินถล่มมากพอสมควร
ตายไปก็เยอะแยะไม่ค่อยเป็นข่าวเพราะส่วนใหญ่จะไปแจ้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองว่าป่วยตายบ้าง
ประสบอุบัติเหตุตายบ้าง ไม่มีใครกล้าบอกว่าไปขุดทองแม้แต่รายเดียวเพราะว่าผิดกฎหมาย

ขณะเดียวกัน ทาง พล.ต.ต.เกริก กัลยาณมิตร ผบก.ภ.จ.พิจิตร ได้ส่งกำลัง นปพ.จังหวัดพิจิตร และ
กก.สส.บก.ภ.จ.พิจิตรจำนวน 50 นาย
เข้ามาดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันการลักลอบเข้าไปขุดหาทองคำจนกว่าจะได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการเสียก่อน
นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้ทุกโรงพักในจังหวัดจัดเตรียมชุดปราบจลาจลโรงพักละ 1 ชุด
เตรียมพร้อมหากมีสถานการณ์ชุมนุมประท้วงที่อาจจะเกิดขึ้น
ก็จะสามารถเรียกระดมกำลังเข้ารับมือได้ทันท่วงที

สายวันเดียวกัน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว. อุตสาหกรรม
กล่าวถึงความคืบหน้าการขุดหาทองคำที่เขาพนมพา อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร ว่า
ในส่วนพื้นที่สัมปทานบัตร ที่ได้อนุมัติให้แก่ อบจ.พิจิตรไปแล้วนั้น
สาเหตุที่มีการมองว่าเป็นการอนุมัติที่ล่าช้า ทำให้ปริมาณทองคำถูกชาวบ้านลักลอบขุดไปจำนวนมาก
และอาจเหลือไม่ถึง 300 กิโลกรัม ตามที่กรมทรัพยากรธรณี (กทธ.) ประเมินไว้เบื้องต้น ขอยืนยันว่า
ไม่ได้ดึงเรื่องการอนุมัติให้ล่าช้า แต่การที่จะให้สัมปทานบัตรแหล่งแร่ทุกชนิด
ต้องทำตามขั้นตอนของกฎหมายคือ พระราชบัญญัติแร่

ทั้งนี้ ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แร่ หากผู้ประกอบการต้องการขอสัมปทานบัตรแหล่งแร่ใดๆ ก็ตาม
จะต้องมายื่นเรื่องที่ กทธ. จากนั้นต้องไปดำเนินการทำเรื่องขออนุมัติใช้พื้นที่จากกรมที่ดิน กรมป่าไม้
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อบต.แต่ละท้องถิ่นเพื่ออนุมัติให้มีการใช้พื้นที่
ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีขั้นตอนพิจารณาแตกต่างกัน เพราะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นหลัก
และหากผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานดังกล่าว กทธ.ก็จะบรรจุเรื่องให้คณะกรรมการแร่พิจารณา
เมื่อได้รับการอนุมัติคณะกรรมการแร่ก็จะเสนอเรื่องมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ลงนามอนุมัติโดยตำแหน่งตามกฎหมาย
ดังนั้น แหล่งแร่บางแห่งอาจใช้เวลาพิจารณานานถึง 3-5 ปีก็ได้

นายสุริยะกล่าวต่อไปว่า เท่าที่ทราบจากรายงานขณะนี้ ปริมาณแร่ทองคำในพื้นที่ที่ อบจ.พิจิตร
ได้สัมปทานบัตรยังมีอยู่อีกจำนวนมาก แม้ว่าจะถูกลักลอบขุดไปบางส่วน
เพราะในช่วงก่อนหน้านี้ที่ชาวบ้านเข้าไปลักลอบขุดอาจจะขุดกันตามมีตามเกิด
หรือขุดตามพื้นที่ที่ถูกใจและเมื่อขุดแล้วจึงนำมาร่อนหาทองคำ อาจจะมีวิธีการร่อนตามแบบดั้งเดิมคือ
การนำไปร่อนทันทีตามแหล่งน้ำในพื้นที่ โดยภายในสัปดาห์นี้ตนจะเร่งให้
กทธ.ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านแหล่งแร่ทองคำของ กทธ.เข้าไปช่วยดูสภาพพื้นที่ว่า
พื้นที่ใดมีโอกาสพบทองคำ เพราะสภาพดินในแหล่งที่มีทองคำจะแตกต่างกับดินทั่วไปเล็กน้อย
และทองคำที่ปะปนในก้อนดินบางครั้งไม่ใช่ทองคำที่มีขนาดเห็นได้ด้วยตาเปล่า
แม้ว่าบางครั้งจะพบเห็นได้ด้วยตาเปล่าขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว
แต่บางครั้งจะเป็นเพียงสะเก็ดทองคำปะปนในเนื้อดินเท่านั้น

รมว.อุตสาหกรรมกล่าวต่ออีกว่า สำหรับแหล่งทองคำอีกแห่ง ที่มีความเป็นไปได้สูง
และคุ้มค่าเชิงพาณิชย์หากมีการลงทุน คือแหล่งทองคำ "ภูทับฟ้า" ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย
ของบริษัททุ่งคำ จำกัด แต่ยังติดขัดอยู่ที่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ส.ป.ก.) ยังไม่อนุญาตให้เข้าไปใช้พื้นที่ได้และอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่หาก
ส.ป.ก.อนุญาตให้เข้าไปใช้พื้นที่ได้ กระทรวงอุตสาหกรรมก็จะออกสัมปทานบัตรให้ทันที
เพราะผ่านการตรวจสอบจากทุกหน่วยงานในคณะกรรมการแร่แล้ว

สำหรับพื้นที่ที่มีการพบสายแร่ทองคำบริเวณ"ภูทับฟ้า" ของบริษัททุ่งคำ จำกัด อยู่ในแปลงที่
4(น้ำคิว-ภูขุมทอง) ครอบคลุมเนื้อที่ 545 ตารางกิโลเมตรหรือ 340,000 ไร่ จากรายงานล่าสุด กทธ.
และบริษัทยืนยันว่ามีปริมาณเนื้อหินปนแร่ทองคำ 1 ล้านตัน โดยมีแร่ทองคำ 5 กรัมต่อหินหนัก 1 ตัน
คาดว่าจะมีทองคำประมาณ 5 ตัน มูลค่า 1,500 ล้านบาท โดยบริษัทได้ยื่นขอสัมปทานบัตรจำนวน 6
แปลง รวมเนื้อที่ 1,300 ไร่ในระยะแรก
นอกจากนี้ยังมีการพบว่าแร่ทองคำในบริเวณใกล้เคียงกับภูทับฟ้ายังมีการกระจัดกระจายอยู่ใกล้พื้นที่ที่อยู่ติดกันคือที่ภูซำป่าคาวและภูเหล็กด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเทศไทยยังมีแหล่งทองคำที่น่าสนใจอยู่ที่ใดบ้างนอกจากแหล่งที่ จ.เลย เพชรบูรณ์
และพิจิตร นายสุริยะกล่าวว่า ขณะนี้ทาง กทธ.กำลังสำรวจในหลายๆพื้นที่ที่มีศักยภาพว่าจะพบทองคำอีก 15 แห่ง

  

ประกอบด้วย

 

1. บ้านผาฮี้ (ดอยตุง) อ.แม่สาย จ.เชียงราย


2. บ้านยางแม่ต่างกลาง อ.เมือง จ.เชียงราย


3. บ้านห้วยคำอ่อน อ.วังชิ้น จ.แพร่


4. บ้านทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ จ.ลำปาง


5. บ้านแม่มอกหัวน้ำ อ.เถิน จ.ลำปาง


6. บ้านห้วยหยวก อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย


7. ใต้แม่น้ำโขง อ.ปากชม จ.เลย


8. บริเวณเขาโป่ง-เขาหม้อ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์


9. บ้านบ่อทอง อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี


10. บ้านทับร้าง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี


11. บ้านบ่อนางชิง-เขาสามสิบ อ.เมือง จ.สระแก้ว


12. บ้านบ่อทอง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี


13. บ้านห้วยกือกะโป๊ะ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี


14. บ้านป่าร่อน อ.บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์


และ 15. บ้านโต๊ะโมะ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส

ขณะเดียวกัน การค้นพบเหมืองทองคำประเทศไทยก็ได้กลายเป็นข่าวดังกระฉ่อนไปทั่วโลก
เมื่อสำนักข่าว "เอเอฟพี" ได้ตีแผ่ข่าวกระแสคนไทยตื่นทองที่ จ.พิจิตร
หลังกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยได้ให้สัมปทานบัตรเหมืองทองคำแก่ อบจ.พิจิตร โดยมีเงื่อนไขว่า
ต้องให้ราษฎรในท้องถิ่นสามารถเข้าไปขุดทองคำหรือทำเหมืองหาบได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
แต่ก็เป็นที่ปรากฏว่าทองคำส่วนใหญ่
โดยเฉพาะจากชั้นหน้าดินได้ถูกชาวบ้านลอบเข้าไปขุดอย่างผิดกฎหมายตั้งแต่ครั้งมีการค้นพบแหล่งแร่แห่งนี้เมื่อสองปีก่อน
อย่างไรก็ดี สำนักข่าว "เอเอฟพี" ยังระบุอีกว่ามีการคาดการณ์กันว่าใน 2-3 วัน
ข้างหน้านี้จะมีประชาชนแห่ไปขุดทองเพิ่มขึ้นอีกหลายพันคน
ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจของไทยต้องจัดวางกำลังเตรียมไว้รับมือกับสถานการณ์ความวุ่นวายและการจลาจลที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย

จาก : ... - 24/10/2001 13:36 
--------------------------

ตำรวจจับมือป่าไม้ ตรึงกำลัง จัดระเบียบ

ขุดทอง

การสำรวจพบแหล่ง "ขุมทอง" มูลค่านับหมื่นล้านบาทของบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด
ในเขตพื้นที่รอยต่อต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ และ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
สร้างความแตกตื่นให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
โดยล่าสุดนอกจากกระทรวงอุตสาหกรรมจะให้สัมปทานแก่บริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด แล้ว
ยังอนุมัติออกประทานบัตรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) พิจิตร
ทำเหมืองหาบหรือเหมืองขุดในพื้นที่เขาพนมพา ต.วังทรายพูน อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร
เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปขุดทองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย
สร้างกระแสความแตกตื่นให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก
จนทางจังหวัดต้องระดมกำลังตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์เกรงชาวบ้านจะเฮโลเข้าไปแย่งขุดจนเหยียบกันตาย
พร้อมกับผลักดันผู้ที่ลักลอบขุดอยู่ก่อนหน้าแล้วออกจากพื้นที่เป็นการชั่วคราวเพื่อจัดระบบใหม่

เมื่อตอนสายวันที่ 24 ต.ค. ผู้สื่อข่าวได้เดินทางเข้าไปสังเกตการณ์บริเวณเขาพนมพา
ต.วังทรายพูนอ.วังทรายพูน จ.พิจิตร
พบว่าบรรดานักแสวงโชคจำนวนนับร้อยคนที่เคยเข้าไปปักหลักลักลอบขุดทองบนพื้นที่รอบเนินเขาพนมพา
ก่อนหน้านี้ได้ถูกทางการผลักดันออกจากพื้นที่จนหมดแล้วเป็นการชั่วคราวตั้งแต่เย็นของวันที่ 23 ต.ค.
ที่ผ่านมา โดยให้รื้อสิ่งปลูกสร้างเช่นกระโจมที่พักและร้านค้าเพิงหมาแหงนออกจากพื้นที่ทั้งหมดด้วย
เพื่อรอให้ อบจ.พิจิตร เจ้าของสัมปทาน เข้าไปจัดระบบระเบียบใหม่
คงทิ้งร่องรอยความเสียหายจากการขุดเจาะเป็นหลุม เป็นบ่อกินบริเวณกว้าง โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ
สภ.อ.วังทรายพูน และเจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้จังหวัดพิจิตร จำนวนหนึ่งคอยตรึงพื้นที่แทน
ป้องกันชาวบ้านลักลอบเข้าไปขุด ส่งผลให้นักแสวงโชคบางรายกลับออกไปด้วยความไม่เต็มใจนัก
ในขณะเดียวกันก็มีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัดแห่เข้าไปดูด้วยความสนใจ
เจ้าหน้าที่ต้องคอยตรวจตราอย่างเข้มงวด ห้ามนำเครื่องมือประเภทขุดเจาะ เช่น จอบ เสียม
เข้าไปในพื้นที่โดยเด็ดขาด

วันเดียวกันผู้สื่อข่าวไปเข้าไปสังเกตการณ์บริเวณโรงงานแยกแร่ของบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด
ต.เขาเจ็ดลูกอ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ห่างจากเขาพนมพาประมาณ 10 กม.
พบว่าบริษัทฯยังคงทดลองเดินเครื่องทุกตัวเพื่อเตรียมพร้อมในการตบแต่งแร่อย่างเป็นทางการ
โดยนายกิติพงษ์ คงสวัสดิ์ เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เปิดเผยว่า
จากการทดลองเดินเครื่องทุกตัวจนถึงขณะนี้ยังไม่พบว่ามีเครื่องตัวไหนขัดข้อง
แต่ยอมรับว่าเตาหลอมหนึ่งในกระบวนการผลิตมีขนาดเล็กกว่าในต่างประเทศ คาดว่าในเดือน พ.ย.นี้
จะสามารถเดินเครื่องได้อย่างเป็นทางการ ส่วนพิธีเปิดอาจจะเป็นเดือน ธ.ค.
และเห็นว่าราคาที่ดินที่แพงขึ้นไม่เป็นอุปสรรคของบริษัทฯ เพราะบริษัทฯเองคงไม่ซื้อที่ดินเพิ่ม
เท่าที่มีก็เพียงพอแล้ว

ส่วนกระแสการตื่นทองคำถึงขนาดชาวบ้านข้างเคียงมีการโก่งราคาที่ดินแพงสูงลิ่ว
จากเดิมไร่ละแค่หลักหมื่น เป็นไร่ละนับแสนนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายทรง ผู้ภักดี ชาวบ้าน ต.ท้ายดง
เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทส่งคนมาติดต่อเจรจาขอซื้อที่ดิน เนื่องจากตนมีที่ดินติดกับโรงงานกว่า 32 ไร่
และของอดีต ผวจ.เพชรบูรณ์ ที่ฝากขายอีก 30 ไร่ โดยบริษัทให้ราคาไร่ละ 1 แสนบาทแต่ตนไม่ขาย
เพราะตั้งราคาไว้ไร่ละ 1.2 ล้านบาท เชื่อว่าที่ดินดังกล่าวมีทองคำอยู่แน่นอน ในขณะที่นางเยื้อน
เมืองแป้น ชาวบ้านอีกราย เปิดเผยว่า ก่อนหน้ามีข่าวประมาณ 1 เดือน
มีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินจากชาวบ้าน
แต่ภายหลังชาวบ้านทราบว่ามีแร่ทองคำตัดสินใจไม่ยอมขายที่ดินดังกล่าว หวังจะได้ราคาสูงขึ้น

นางฉัตรนภา สุคนธ์ขจร ประธานกรรมการบริหาร อบต.ท้ายดง อ.วังโป่ง กล่าวว่า
ขณะนี้ยังไม่ได้จัดเก็บภาษีจากบริษัท เนื่องจากเห็นว่าเพิ่งเริ่มลงมือทำ
และจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่า อบต.จะได้ค่าภาษีประมาณปีละ 5-6 ล้านบาท
นับว่าเป็นยอดเงินที่สูงพอสมควร หลังจากนี้จะเรียกประชุมสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง

วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวได้เข้าพบนายนิพนธ์ รักษ์แดง อุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์
เพื่อสอบถามถึงกรณีมีข่าวว่า บริษัทอัคราไมนิ่ง นำสาร "ไซยาไนต์" มาใช้ ในกระบวนการแยกแร่ว่า
ตนมีความวิตกในเรื่องนี้เช่นกันแม้ว่าพื้นที่ตั้งโรงงานจะอยู่ห่างจากชุมชนบ้านท้ายดง
แต่ก็ใกล้เคียงไร่สวนชาวบ้าน ได้กำชับอย่างมากกับบริษัทให้ดูแลใกล้ชิด
เพราะอาจมีฝุ่นละอองกระจายออกมา ได้รับคำยืนยันจากบริษัทว่ามีมาตรการควบคุมอย่างดี
มีการขุดบ่อขนาดใหญ่กักเก็บน้ำจากการแต่งแร่ไว้ และนำกลับมาหมุนเวียนใช้อีก
แม้ในน้ำจะมีสารไซยาไนต์ผสมอยู่ ก็เชื่อว่าไม่รั่วซึมออกไป ส่วนพื้นที่ของวัดพระธรรมกาย
ซึ่งระบุว่ามีทองคำด้วยนั้น ขณะนี้ยังไม่ยืนยัน เพราะยังไม่มีการสำรวจ

ทางด้านนายนภดล มัณฑะจิตร อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ให้สัมภาษณ์วันเดียวกันว่า
ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปร่วมประสานกับ อบจ.พิจิตร ในวันที่ 25 ต.ค.
โดยจะร่วมกันกำหนดรังวัดเขาพนมพาว่าควรใช้พื้นที่เท่าใดจึงเหมาะสม
รวมทั้งแนะวิธีการเปิดเหมืองหน้าดินและในวันที่ 27 ต.ค. ตนจะเดินทางไปตรวจพื้นที่ด้วยตัวเอง
ขอยืนยันว่า ปริมาณทองคำในพื้นที่สัมปทานของ อบจ.พิจิตร มีอยู่แน่นอน และอาจจะมากกว่า 300
กก. ซึ่งประเมินกันไว้ในเบื้องต้น แม้จะถูกลักลอบขุดไปบ้างแล้วบางส่วนก็ตาม
เพราะจากการสำรวจก่อนหน้าพบว่าชั้นดินที่ลึกและแข็ง อาจต้องใช้รถแบ็กโฮขุดยังมีทองคำปะปนอยู่
ในส่วนของบริษัทอัคราไมนิ่ง หากบริษัทขยายการลงทุนเพิ่ม ก็เชื่อว่าจะพบทองคำอีกจำนวนมาก
ขอยืนยันว่าผลการสำรวจทั้ง 2 พื้นที่ ไม่ใช่การประเมินด้วยสายตา แต่ใช้วิธีการเจาะหลุมสำรวจแบบสุ่ม
ตัวอย่างกระจายในทุกพื้นที่ มีการเก็บชั้นดินด้านบนและชั้นหินใต้ดินไปวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย

นายนภดลยังกล่าวด้วยว่า กทธ.จะส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าติดตามการขุดเจาะ
การผลิตและการขนย้ายด้วยเพื่อการเก็บค่าภาคหลวงให้ได้เต็มประสิทธิภาพ
อีกทั้งป้องกันการลักลอบผลิตหรือจำหน่ายโดยไม่เสียค่าภาคหลวง 2.5% ของมูลค่าซื้อขาย
ส่วนกรณีมีข่าวการขุดพบเหมืองไพลินขนาดใหญ่ใน อ.เด่นชัย จ.แพร่ นั้น เรื่องนี้ยอมรับว่ามีจริง
แต่ยังไม่เข้าไปตรวจสอบอย่างละเอียดว่ามีมูลค่ามหาศาลหรือไม่ เพราะกระบวนการยากกว่าทองคำ
ต้องขุดลึกลงไปใต้ดิน
ใช้เครื่องมือทันสมัยกว่าทองคำและจากข้อมูลอาจต้องขุดหน้าดินหลายตันจึงจะพบไพลิน 1 เม็ด
ขอเตือนอย่าให้ประชาชนแตกตื่นไปขุดอาจไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

นายนที ขลิบทอง รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากบริษัททุ่งคำ จำกัด
ขอใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้และ ส.ป.ก.มาตั้งแต่ปี 2542
ไม่เคยมีการเสนอเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน (คปก.) เพื่อพิจารณาเลยจึงได้สั่งการให้
ส.ป.ก.ทำรายงานการขอใช้พื้นที่ทำเหมืองให้ทราบเพื่อพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่
คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 31 ต.ค.นี้ เท่าที่ทราบขณะนี้มีพื้นที่
ส.ป.ก.ไม่สามารถทำการเกษตรได้ประมาณ 3-4 แสนไร่ แต่นำไปทำเหมืองแร่และอุตสาหกรรมอื่นได้

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีมีการตั้งกลุ่ม "มาเฟีย"
เข้าไปหาผลประโยชน์ในการขุดทองว่า
ความจริงเป็นเรื่องสัมปทานที่กระทรวงอุตสาหกรรมมอบให้บริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด
ซึ่งเป็นผู้สำรวจพบแหล่งทองคำและจะผลิตเป็นอุตสาหกรรมขึ้นมา
เมื่อรายงานให้รัฐบาลทราบรัฐบาลก็บอกประชาชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วม รับการจ้างงาน
เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้ลงทุนและคนในท้องถิ่น บริษัทก็ปฏิบัติตาม ไม่มีอะไรเกินเลย
ทำผิดกฎหมายไม่ได้ เพราะกฎหมายต้องเป็นกฎหมาย ไม่เช่นนั้นการลงทุนจะไม่เกิด
บริษัทเองรับปากว่าจะรับคนเข้าทำงานให้มากที่สุด ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎกติกา
จะใช้ระบบเข้าไปบุกไม่ได้ ส่วนที่มีการมองว่าเรื่องนี้เป็นความพยายามในการปั่นราคาที่ดิน
เท่าที่สำรวจพบว่ามีทองคำประมาณ 32 ตัน มูลค่านับหมื่นล้านบาท ส่งออกไปประมาณ 4.5 ตันต่อปี
เราไม่เคยทำเหมืองทองเป็นเรื่องเป็นราว นับเป็นเหมืองแรกของเมืองไทย

http://board.dserver.org/c/cphairat/00000014.html
-------------------------------------------------

 

"เหมืองอัคราฯ" ยื่นขอสำรวจ "ทอง"

ที่เสธ.หนั่น-เขาพนมพา


โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 สิงหาคม 2548 17:16 น.

 


   
เหมืองแร่ทองคำ"ชาตรี"ของบริษัทอัคราไมนิ่ง ที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 44 ได้ทองคำแล้วประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ โดยขณะนี้ บริษัทเตรียมสำรวจแหล่งแร่แห่งใหม่ เพื่อยื่นขอสัมปทานทำเหมืองในอนาคตแล้ว 
 
       พิจิตร - เหมืองทองอัคราไมนิ่ง ขออาชญาบัตรสำรวจแร่เพิ่มอีกบนแปลงใหม่ 1.8 แสนไร่ ครอบคลุมพื้นที่เขาพนมพาและที่ดินเสธ.หนั่น รอ รมว.อุตสาหกรรมเซ็นอนุมัติเพื่อสำรวจแร่ทองคำ จัดซื้อที่ดินและขอประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำต่อไป ส่วนจะมีแร่ทองหรือไม่ยังตอบไม่ได้ ส่วนเหมืองทองคำชาตรี ตั้งแต่เปิดขุดแร่ตอนนี้ได้ทองแล้วประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์
      
       นายสุรพล อุดมพรวิรัตน์ รองประธานบริหารบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า ราคาแร่ทองคำมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นถึงระดับ 500-600 เหรียญต่อออนซ์ ตามภาวะความต้องการของตลาดอัญมณีประเทศจีนและอินเดีย
      
       สำหรับปริมาณแร่ทองคำเหมืองทองคำชาตรีที่พิจิตร ซึ่งได้ขุดค้นเมื่อปลายปี 2544 ในเขตรอยต่อของพิจิตรและเพชรบูรณ์ ได้ขายล่วงหน้าไปบางส่วนประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ก่อนหน้านี้ ช่วง 360 เหรียญต่อออนซ์ เพื่อชำระหนี้ตามแผนการลงทุน ที่เหลือยังสามารถขุดขึ้นมาขายได้ในราคาตลาดได้อีกกว่าครึ่ง ซึ่งตามโครงการ "เหมืองแร่ทองคำชาตรี" พิจิตร คาดว่ามีปริมาณแร่โลหะทองคำ 32.8 ตัน
      
       ทั้งนี้บริษัทได้รับประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 1,166 ไร่ เป็นเวลา 20 ปี หลังจากที่ยื่นขออาชญาบัตรเพื่อสำรวจ 14 แปลงหรือแสนไร่เศษ กระทั่งดำเนินการจัดซื้อที่ดินเพื่อทำเหมืองทองคำบนเนื้อที่กรรมสิทธิ์
      
       ล่าสุดได้ยื่นขออาชญาบัตรอีกครั้งหนึ่งจำนวน 18 แปลง เริ่มตั้งแต่เขตอำเภอวังทรายพูน ไล่ลงไปด้านใต้ถึงกิ่งอำเภอดงเจริญ ขนานกับถนนหลวงหมายเลขที่ 11 ซึ่งมีทั้งพื้นที่ใหม่และพื้นที่เดิมที่ได้รับอาชญาบัตรอยู่ก่อนแล้วและกำลังหมดอายุ แต่ไม่ครอบคลุมพื้นที่เขาพนมพา ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรได้รับอนุมัติประทานบัตรปี 2543 และไม่ครอบคลุมพื้นที่เขาพนมพา
      
       ในส่วนที่บริษัทไทยโกลบอลจอยเวนเจอร์ฯ ยื่นขออาชญาบัตรไว้ก่อนหน้านี้ แต่ถือว่าเหมืองอัคราไมนิ่งมีพื้นที่สำรวจแร่รอบๆ เขาพนมพา และพื้นที่เขตกิ่งอำเภอดงเจริญ ในเขตภูเขาหินเขตติดต่อระหว่างจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ นอกจากนี้การขออาชญาบัตรเพื่อสำรวจแร่ครั้งนี้ได้ครอบคลุมไปยังที่ดินรอบๆ ของ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ หัวหน้าพรรคมหาชน ด้วย
      
       "ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับเสธฯหนั่น หลายครั้ง ถึงการเข้าสำรวจในพื้นที่ดงเจริญของเหมืองทองคำอัคราไมนิ่ง ซึ่งต้องผ่านดินที่ของเสธ. บริเวณฟาร์มนกกระจอกเทศและไร่องุ่น ก็ไม่มีปัญหาใดๆ แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีทองหรือไม่ เพียงแค่ขอสิทธิ์สำรวจแร่ บังเอิญว่าพื้นที่สำรวจแร่ของเหมืองทองอัคราไมนิ่งอยู่บริเวณรอบๆ ที่ดินของเสธ.หนั่น เท่านั้น"
      
       นายอุดม มะโนเครื่อง อุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า บริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด ที่ได้รับประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ (เหมืองแร่ชาตรี) เมื่อช่วงปี 2544 ที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ล่าสุดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหมืองทองอัคราไมนิ่งได้ยื่นขออาชญาบัตรใหม่บนพื้นที่ 18 แปลง คือ เขาหม้อ (เขตติดต่อจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์) ครอบคลุมกิ่งอำเภอดงเจริญ ทั้งยังครอบคลุมอำเภอทับคล้อ อำเภอวังทรายพูน และอำเภอสากเหล็ก เฉลี่ยแปลงละประมาณ 10,000 ไร่ คิดเป็นเนื้อที่เกือบ 180,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่ดินชานเมือง ไม่ใช่ตลาดหรือเขตตัวอำเภอ
      
       ทั้งนี้ หากบริษัทอัคราไมนิ่งสำรวจพบแร่บริเวณใด ก็ไม่มีสิทธิ์นำแร่ขึ้นมาได้ จะต้องขอซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าวเพื่อขอประทานบัตรเหมือนแร่ก่อน ยกตัวอย่าง หากพบแร่ทองคำในพื้นที่ดินของ "เสธ.หนั่น" แถบอำเภอดงเจริญ ก็ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือขอซื้อที่ดินเพื่อดำเนินการขุดทองคำ
      
       การขออาชญาบัตรของอัคราไมนิ่งครั้งนี้ ถือว่าขยายเพิ่มเนื้อที่สำรวจแร่ทองคำ หลังจากโครงการเหมืองชาตรีดำเนินการขุดแร่ทองคำในพื้นที่เดิม 1,000 ไร่เศษ ล่าสุดอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตรได้รับเรื่องและทำหนังสือถึงอธิบดีกรมอุตสหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เพื่อนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อขออนุมัติอาชญาบัตรแล้ว
      
       อนึ่งโครงการเหมืองแร่ทองคำ "ชาตรี" ของบริษัทอัคราไมนิ่ง ร่วมทุนกับบริษัท Kingsgate Consolidated NL จากประเทศออสเตรเลีย กับบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ช่วงปี 38 ได้รับอาชญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจแร่ทองคำ 14 แปลง เนื้อที่ 106,000 ไร่ โดยลงทุนขั้นตอนสำรวจประมาณ 240 ล้านบาท และขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณดังกล่าว 4 แปลงจำนวน 1,166 ไร่ บนแปลงที่ดิน นส.3 นส.3 ก. และโฉนด เงินลงทุนอีก 1,216 ล้านบาท มีอายุทำเหมืองทองคำ 20 ปีนับแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2543 ประเมินว่าหิน 1 ตันมีแร่ทองคำประมาณ 2.7 กรัม และเงิน 13.3 กรัม มูลค่าการลงทุนประมาณ 10,600 ล้านบาท ในช่วงเวลาปี 2543

(คอลัมน์ : ภูมิภาค)

http://www.dmr.go.th/news_dmr/data/0204.html

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 05 มกราคม 2008 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้180
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2096
mod_vvisit_counterทั้งหมด10717780