Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow กิจกรรมพุทธศาสน์
กิจกรรมพุทธศาสน์ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 17 สิงหาคม 2008

ข้อเสนอกิจกรรมพุทธศาสน์

 

ด้วยพระเดชพระคุณท่านได้ปฏิบัติงานทางด้านศาสนามานานปี ย่อม ทราบดีว่า พุทธมามกะค่อนข้างห่างพุทธธรรมไปทุกขณะ  หากไม่มีกิจกรรมช่วยเสริม ปล่อยไปตามยถากรรม พุทธธรรมไม่มา โลกาจักพินาศ  จึงนมัสการประกาศเสนอพระเดชพระคุณท่านพิจารณาดำเนินการด้วยหลักการ “ช่วยพุทธมามกะให้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา” วิสฺสาสา ปรมาญาติ พุทธศาสนิกชนชาวพุทธควรรู้ประวัติพระพุทธเจ้า ควรรู้วันสำคัญทางพุทธศาสนา ควรรู้หลักธรรมที่ควรรู้ และปฏิบัติตนใกล้ชิด พระพุทธศาสนา  ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ให้ได้รับพุทธเกียรติบัตรหรือเหรียญพุทธมงคล  คือ


  พุทธธรรม (ทั่วไป) (พธ.)  เกณฑ์ระดับนักธรรมตรี
  พุทธธรรมระดับจัตวา (พธ.จ.) เกณฑ์ระดับนักธรรมโท
  พุทธธรรมระดับตรี (พธ.ต.) เกณฑ์ระดับนักธรรมเอก
  พุทธธรรมระดับโท (พธ.ท.) เกณฑ์ระดับ อนุ พธ.บ.
  พุทธธรรมระดับเอก (พธ.อ.) เกณฑ์ระดับ พธ.บ.
  พุทธธรรมโสดาบัน  เกณฑ์ระดับ พธ.ม.
  พุทธธรรมสกิทาคามี  เกณฑ์ระดับ พธ.ด. หรือปริญญาเอก
  พุทธธรรมานาคามี      มีไว้เพื่อถวายพระภิกษุผู้แก่กล้าทางธรรม
  พุทโธโลกุตรเกียรติ(Buddham Award) มีไว้เพื่อมอบให้บุคคล ผู้ใช้ธรรมะในการสร้างสันติสุขโลก เป็นรางวัลเกียรติยศระดับโลก

ข้อ ๑. แต่งตั้งกรรมการพุทธศาสน์กำหนดกฎเกณฑ์คุณสมบัติการเข้าครองพุทธธรรมในแต่ละระดับ(หลักสูตรพุทธธรรม) กรรมการทะเบียน กรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ (วัดผล ประเมินผล) กรรมการมอบเหรียญพุทธมงคล กรรมการคลังพุทธมงคล กรรมการอินเทอร์เน็ตออนไลน์(www.tripidok.com)


  ตัวอย่างเกณฑ์ผู้ได้รับ พธ. คือ เข้าวัดเพื่อปฏิบัติศาสนกิจอย่างน้อยปีละครั้งติดต่อมาเป็นเวลาอย่างน้อย ๕ ปี รู้ชื่อวงศาคณาญาติพระพุทธเจ้า รู้ชื่อพระอัครสาวก รู้ชื่อพระสาวกอย่างน้อย ๕ ชื่อ

อาราธนาศีลได้ อาราธนาธรรมได้ รู้จักวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างน้อย ๕ วัน  จำศีล๕ ได้ จำธรรม๕ ได้ เป็นต้น


  การได้มาซึ่งหลักสูตรพุทธธรรมในระดับต่าง ๆ ควรมีกรรมการร่างหลักสูตร เป็นหลักสูตรนำร่องเพื่อนำเข้าสู่วาระการพิจารณาอนุมัติใช้  กรรมการร่างหลักสูตรได้แก่นักวิชาการศึกษา นักวิจัย นักปฏิบัติธรรม พระภิกษุสงฆ์ผู้คงแก่เรียน นักจิตวิทยา  เมื่อกรรมการในส่วนนี้กำหนดเค้าโครงระดับพุทธธรรม พุทธธรรมจัตวา พุทธธรรมตรี พุทธธรรมโท พุทธธรรมเอก ฯลฯ ในแต่ละระดับอาจจะมีกรรมการเพิ่มเพื่อช่วยกันกำหนดขอบเขตเนื้อหาสาระและจัดทำเนื้อหาสังเขป คู่มือการเรียนรู้ หนังสือเรียน หรือกำหนดส่วนเนื้อหาจากพระไตรปิฎก


  กรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ (วัดผล ประเมินผล) ได้แก่นักการศึกษา นักวัดผลประเมินผล นักปฏิบัติการอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างข้อสอบมาตรฐานสำหรับชาวพุทธ สร้างเกณฑ์มาตรฐานวัดความมีธรรมะในจิตใจ เป็นข้อสอบมาตรฐานที่วัดความสามารถ ในการปฏิบัติพุทธธรรมได้  บันทึกไว้ในอินเทอร์เน็ต  ผู้สอบสามารถสอบได้ทางอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาที่ปรารถนาจะสอบ และอนุมัติผลการสอบเข้าสู่ระดับพุทธธรรม


  ห้องสมุดพุทธธรรมซึ่งเดิมคือหอพระไตรปิฎก จักต้องมีทุกวัด ในวัดมีพระพุทธรูปแทนพระพุทธเจ้า มีพระสงฆ์ แต่ขาดพระธรรม  กรรมการจึงควรรณรงค์ให้ทุกวัดมีสถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก สร้างเกณฑ์ขั้นต่ำที่วัดพึงมีพระไตรปิฎก  และหากกรรมการศรัทธาแก่กล้า  ก็ควรสร้างหอพระไตรปิฎกนานาชาติไว้ที่วัด.............................. ให้มีพระไตรปิฎกฉบับจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่จัดพิมพ์หรือเขียนในประเทศนั้น ๆ  แต่ละส่วนที่จัดเก็บหรือแสดงพระไตรปิฎกของประเทศต่าง ๆ ควรมีธงชาติ ชื่อประเทศ ๓ ภาษา คือภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาเขียนของชาตินั้น ๆ ใช้ มีตู้รับบริจาคเงิน และมีพระ ไตรปิฎกฉบับภาษาที่ใช้ในประเทศนั้น ๆ แสดงไว้  ชื่อผู้บริจาคพระไตรปิฎกบันทึกไว้ในอินเทอร์เน็ตทั้งภาคภาษาอังกฤษและไทยที่สามารถเปิดดูได้ทั่วโลก  จึงต้องจัดทำทะเบียนไว้ในอินเทอร์เน็ต  และสร้างอินเทอร์เน็ตสาระพุทธธรรมไว้ใน server ที่มีความจุมากพอจนพัฒนาเป็น E-Buddham ได้ จึงได้เสนอให้มีกรรมการอินเทอร์เน็ตออนไลน์(www. tripidok.com) สร้างโปรแกรม Data Base ในอินเทอร์เน็ตเพื่อสะดวกในการสืบค้น เป็นเจ้าหน้าที่ทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต

 

ข้อ ๒. กำหนดลักษณะพุทธเกียรติบัตรหรือเหรียญพุทธมงคล กำหนดสี กำหนดตรา กำหนดความสูงความกว้าง กำหนดคุณสมบัติโลหะ(รมดำ ดีบุก เงิน ทองคำ) ควรมีกรรมการดำเนินงานในส่วนนี้

 

ข้อ ๓. ประชาสัมพันธ์ให้มีผลในทางปฏิบัติของเยาวชน คนทั่วไป และภาษาต่างประเทศเพื่อคนทั่วโลก

 

ข้อ ๔. ระดมทุนโดยขอรับบริจาคเพื่อจัดทำเหรียญพุทธมงคลและการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง

 

จึงนมัสการเสนอมาด้วยความเคารพ


นายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
โทร. 08-1326-2549

 

เชื่อมโยงสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา

ลุมพินีวัน

พุทธคยา

สารนาถ

พาราณสี

ราชคฤห์

กุสินารา

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 17 สิงหาคม 2008 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้39
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2782
mod_vvisit_counterทั้งหมด10709304