Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow พมร.กะทู้ arrow ดาวเคราะห์ชนดาวอังคาร
ดาวเคราะห์ชนดาวอังคาร PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 03 มกราคม 2008

วันที่ 03 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6244 ข่าวสดรายวัน


ตั้งตารอ"30มกราคม"

ดาวเคราะห์ชน"อังคาร"




วันที่ 30 มกราคมที่จะถึงนี้ อดใจรอให้ดีว่าเราอาจได้เห็นภาพดาวเคราะห์น้อยขนาดพอๆ กับสนามฟุตบอล อาจพุ่งชนดาวอังคาร จากรายงานล่าสุดของนายดอน เยียวแมนส์ หัวหน้าโครงการวัตถุที่เดินทางมาใกล้โลกขององค์การนาซ่า พบว่า โอกาสที่ดาวเคราะห์น้อย "2007 WD5" ชนดาวอังคารเพิ่มขึ้น

นายเยียวแมนส์ กล่าวว่า การสำรวจแคททาลีนาสกายในอริโซน่าที่นาซ่าออกงบประมาณสนับสนุน พบ "2007 WD5" เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จากการรวบรวมข้อมูลทั้งเส้นทางการโคจรและเส้นทางการเดินทางของ "2007 WD5" ที่องค์การนาซ่าประมวลขึ้นก่อนหน้านี้พบว่า โอกาสที่ "2007 WD5" จะชนดาวอังคารมีประมาณ 1 ใน 75 แต่ล่าสุดพบว่ามีโอกาสสูงถึง 1 ใน 25 แล้ว

นักดาราศาสตร์ต่างตั้งตารอดูด้วยความตื่นเต้นว่า "2007 WD5" จะชนดาวอังคารหรือไม่ การพุ่งชนนี้จะไม่เกิดอันตรายใดๆ กับโลก เพราะโลกอยู่ห่างจากดาวอังคารถึง 27,900 ไมล์ ถ้ามีการชนกันจริงก็จะมีการระเบิด ทำให้เกิดแอ่งกว้างราวครึ่งไมล์ในบริเวณทางตอนเหนือที่ยาน "อ๊อพพอร์ทูนิตี้" ทำการสำรวจมากนาน 3 ปีแล้ว และจะปลดปล่อยพลังงานเท่ากับเมื่อครั้งที่สะเก็ดดาวพุ่งชนโลกที่ทากัชคา ในแคว้นไซบีเรียเมื่อค.ศ. 1908 จนทำให้ต้นไม้ 60 ล้านต้นราบเรียบเป็นหน้ากลอง

 

http://www.norsorpor.com/go2.php?u=http%3A%2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fkhaosod%2Fview_news.php%3Fnewsid%3DTUROMFpXTXdNakF6TURFMU1RPT0%3D%26sectionid%3DTURNeU5nPT0%3D%26day%3DTWpBd09DMHdNUzB3TXc9PQ%3D%3D

 

จากสมาคมดาราศาสตร์  >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

http://thaiastro.nectec.or.th/news/2007/news20071201.html

 

 ข่าวดาราศาสตร์

Image  

ดาวเคราะห์น้อย(อาจ)ชนดาวอังคาร

23 ธันวาคม 2550

จับตาดูดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 (2007 WD5) ให้ดี ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสพุ่งชนดาวอังคารในต้นปี 2551 นี้

http://thaiastro.nectec.or.th/news/2004/special/img/crater.jpg

การคำนวณวงโคจรโดยสำนักงานวัตถุใกล้โลกขององค์การนาซาแสดงว่า ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดประมาณ 50 เมตรนี้จะเฉียดเข้าใกล้ดาวอังคารที่สุดในวันที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17:55 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยระยะใกล้ที่สุดห่างจากดาวอังคาร 48,000 กิโลเมตร

แต่ด้วยความไม่แน่นอนของวงโคจร บวกกับความคลาดเคลื่อนของการสำรวจ ทำให้เส้นทางที่แท้จริงของดาวเคราะห์น้อยอาจไม่ตรงตามที่คำนวณ ดังนั้น 2007 ดับเบิลยูดี 5 อาจเบี่ยงออกห่างจากดาวอังคารมากกว่า 48,000 กิโลเมตร หรืออาจใกล้กว่า 48,000 กิโลเมตร หรือยิ่งกว่านั้น อาจจะชนดาวอังคารก็ได้ นักดาราศาสตร์ประเมินว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสชนดาวอังคารประมาณ 1 ใน 75

“ขณะนี้ (23 ธันวาคม 2550) ดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 อยู่กึ่งกลางระหว่างโลกกับดาวอังคาร และกำลังมุ่งหน้าไปยังดาวอังคารด้วยความเร็วประมาณ 44,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง” ดอน ยีโอแมนส์ ผู้อำนวยการของสำนักงานวัตถุใกล้โลกที่ห้องปฏิบัติการเจพีแอลของนาซากล่าว

หากดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 ชนดาวอังคารจริง จุดพุ่งชนก็น่าจะอยู่บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางเหนือของดาว ซึ่งเป็นบริเวณที่รถสำรวจออปพอร์ทูนิตีของนาซากำลังปฏิบัติงานอยู่

“เราคาดว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบนดาวอังคารเฉลี่ยทุกพันปี” สตีฟ ชีสลีย์ นักวิทยาศาสตร์จากเจพีแอลกล่าว “ถ้า 2007 ดับเบิลยูดีชนดาวอังคารในวันที่ 30 มกราคมจริง มันจะพุ่งชนด้วยความเร็ว 48,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและอาจทำให้เกิดหลุมของการพุ่งชนที่มีความกว้างกว่าครึ่งไมล์” หลุมอุกกาบาตที่รถออปพอร์ทูนิตีกำลังสำรวจอยู่ในขณะนี้ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน

การพุ่งชนจะปล่อยพลังงานเท่ากับการระเบิดขนาด 3 เมกะตัน ความรุนแรงระดับนี้เทียบเท่ากับการระเบิดที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1908 ที่ทังกัสกา ไซบีเรีย แต่การระเบิดที่ทังกัสกาไม่ทิ้งหลุมไว้ เนื่องจากวัตถุที่พุ่งเข้าใส่ได้ระเบิดและสลายไปในอากาศก่อนจะถึงพื้นดิน ในกรณีของดาวอังคารซึ่งมีบรรยากาศเบาบางกว่าโลกมาก นักดาราศาสตร์คาดว่าดาวเคราะห์น้อยมีโอกาสมาถึงพื้นดินมากกว่า

ดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 ค้นพบเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 โดยโครงการสำรวจท้องฟ้าแคตทาลีนาซึ่งเป็นโครงการขององค์การนาซา การค้นพบนี้ทำให้ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อยู่ในรายชื่อของวัตถุที่ต้องจับตาด้วย เนื่องจากมีเส้นทางโคจรใกล้โลก หลังจากนั้นจึงมีการสำรวจเสริมจากหอดูดาวสเปซวอตช์ที่คิตพีก แอริโซนา และหอดูดาวแมกดาลีนาริดจ์ในนิวเมกซิโก ข้อมูลใหม่ที่ได้มาทำให้นักดาราศาตร์ทราบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อโลก แต่จะเป็นอันตรายต่อดาวอังคารแทน

เนื่องจากข้อมูลด้านวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้มาจากการสำรวจเป็นเวลาสั้นมากเพียงไม่ถึงเดือน ดังนั้นจึงมีความคลาดเคลื่อนได้มาก การสำรวจภายในห้าสัปดาห์ข้างหน้านี้จะช่วยให้การคำนวณหาวงโคจรแม่นยำขึ้น ว่าจะชนหรือไม่ชน

ที่มา:

 

 

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 06 มกราคม 2008 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1039
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2500
mod_vvisit_counterทั้งหมด10691672