Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow พมร.กะทู้ arrow ชาวบ้านทำวิจัย AAR
ชาวบ้านทำวิจัย AAR PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 15 มิถุนายน 2008

สาร  biodata ฉบับที่ 47
สกว. กับงานวิจัยใน 3 จชต. (3)
ตอน

ชาวบ้านทำวิจัย AAR 5,000 บาท


เรียน สมาชิก biodata ทุกท่าน

 

        “สาร biodata” วันนี้ถึงคราวไขข้อสงสัยเรื่อง AAR (Alternative Activity Research) แล้วครับ


        เมื่อวันก่อน สกว. ได้พบกับผู้บริหารภาครัฐระดับจังหวัด  ท่านบอกว่ามหาวิทยาลัยต้องหันมาหาความจริงของเหตุการณ์ภาคใต้ เพื่อเราจะแก้ปัญหาได้ถูก  พวกเราเอง (หมายถึงผู้อยู่ในวงการวิจัย) ก็ทราบดีว่าความรู้จากการวิจัยของเราเรื่องนี้มีน้อยมาก  ต่างคนต่างพูดกันไปตามความรู้ (บางทีเป็นความเข้าใจ ซึ่งยังไม่ทราบว่าถูกหรือผิด) เท่าที่มีอยู่  บ้างก็ผสมอารมณ์เข้าไปด้วย  คนที่อยู่ไกลพื้นที่ก็ไม่เข้าใจเรื่องการอยู่ร่วมกันในพื้นที่แบบพหุวัฒนธรรม (แถมคนเหล่านี้ยังเป็นคนกำหนดนโยบายการแก้ปัญหาอีกด้วย)   นอกจากที่ สกว. ให้นักวิชาการหาความรู้จากพื้นที่ดังที่เล่าใน “สาร biodata” ฉบับที่ 46 แล้ว   สกว. ได้ให้ความสนใจกับคนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ได้ทำวิจัยด้วยตัวเอง  สมาชิก “สาร biodata” น่าจะเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องทำยากมาก  ลำพังเอาชีวิตให้รอดไปถึงพรุ่งนี้ก็ยากแล้ว  เหตุใดจึงต้องมาเพิ่มความยากให้กับชีวิตโดยการทำวิจัยอีก

 

        เมื่อปี 2549 สกว. เริ่มพัฒนาแนวคิดรูปแบบการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาทั้งพื้นที่ หรือเรียกย่อๆ ว่างาน ABC- R (Area-Based Collaborative Research) เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลและความรู้ในการกำหนดทางเลือกที่เหมาะสมกับการพัฒนาของจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย  (เรื่องงาน ABC-R นี้เล่ามาแล้วใน “สาร biodata “ ฉบับก่อนๆ  หาอ่านได้จาก http://biodata.trf.or.th)


        พื้นที่ 3 จชต. เป็นพื้นที่หนึ่งที่ สกว. เลือกเป็นพื้นที่การทำงานแบบ ABC-R  เมื่อทำงานมาได้ระยะหนึ่งก็พบข้อจำกัดในการทำงานที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ  เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีสถานการณ์พิเศษ  ที่ทำให้เราขาดกระบวนการและกลไกการทำงานที่เข้าถึงชุมชนต่างๆได้   นอกจากเริ่มพัฒนา “นักวิจัยผู้กล้า” ในพื้นที่ดังที่เล่ามาในฉบับก่อนแล้ว   สกว. ต้องคิดหารูปแบบการทำงานวิจัยแบบใหม่  และเรียกว่า เรียกว่า “การวิจัยกิจกรรมทางเลือก (AAR)” โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่กลางปี 2550  ที่ให้ชุมชนทำกิจกรรมร่วมกันบนพื้นฐานความต้องการร่วมกันของชุมชน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ศาสนธรรมและบริบทของแต่ละพื้นที่ (ฟังดูเหมือนไม่ใช่วิจัยใช่ไหมครับ)


        การสนับสนุนการวิจัยแบบ ABR ได้กำหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.        ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและบริหารจัดการร่วมกัน  โดยเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนเพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์  การสร้างบรรยากาศที่ดี (feel good) ให้กลับมา  และสร้างความเชื่อมั่นที่มีต่อกันระหว่างคนในชุมชนด้วยกันเองและกับคนนอกชุมชน
2.        เป็นกิจกรรมที่แก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายผ่านกิจกรรมที่ดำเนินการทีละขั้นตอน  เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป
3.        กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กกำพร้า/เยาวชน/สตรีและผู้นำศาสนา โดยเน้นกิจกรรมด้านอาชีพ/การศึกษา
 
      เป้าหมายที่สำคัญคือข้อ 1 ที่สร้างความสัมพันธ์/บรรยากาศที่ “feel good” ระหว่างกัน (เหตุการณ์ในพื้นที่ทำให้คนโหยหาสิ่งนี้มาก) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นที่มีต่อกันระหว่างคนในชุมชนด้วยกันเองและกับคนนอกชุมชน ซึ่งน่าจะนำไปสู่การเสริมความเข้มแข็งของการช่วยเหลือด้วยกันเองในชุมชน (social services)  ทั้งนี้เพราะเขาพึ่งคนนอก (ที่ไม่ใช่คนพื้นถิ่น) ไม่ได้เลย  


        งานวิจัยรูปแบบนี้เป็นงานวิจัยที่ต่างจากงานวิจัยโดยทั่วไป   ที่ขั้นตอนการทำจะแยกทำทีละกิจกรรม  แต่ละกิจกรรมใช้เวลาไม่นานนัก  อาจเป็น 1วัน 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ก็ได้  โดยคิดวางแผนการเลือกกิจกรรมการดำเนินการร่วมกัน  และทุกๆ กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจะมีเวทีแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันเป็นระยะๆ เช่น ทุก 3 เดือน เพื่อสรุปบทเรียนร่วมกัน   หลังจากนั้นก็อาจคิดกิจกรรมต่อและลงไปปฏิบัติร่วมกันอีก   เมื่อทำกิจกรรมต่างๆ ไปได้สักระยะหนึ่ง ก็นำมาเชื่อมร้อยให้ต่อเนื่องกันโดยมีการสังเคราะห์ให้เข้าใจร่วมกันว่า  กิจกรรมนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความรู้สึก feel good และฟื้นฟูความเชื่อมั่นที่มีต่อกัน (เนื้องานวิจัยซ่อนอยู่ตรงนี้ โดยคนทำเองก็ไม่รู้ตัว!!)  จบงานแล้วก็จะได้โครงการวิจัยปกติ (ที่ดูไม่ปกติ)   ตัวอย่างกิจกรรมที่ชุมชนทำร่วมกัน เช่น กิจกรรมการเลี้ยงน้ำชาในวันรอมาฎอน  กิจกรรมการจัดอบรมให้ความรู้ด้านศาสนาสำหรับเด็กเยาวชน  การเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจกลุ่มสตรีและเด็กกำพร้า ฯลฯ  

        หากจะเปรียบเทียบกันแล้วเราจะพบความคล้าย (หรือต่างกัน) ดังตาราง    งานวิจัยปกติ งานวิจัยแบบ AAR

เป้าหมาย  ความรู้  การปรับปรุงความสัมพันธ์และความรู้สึกต่อกันในสถานการณ์ไม่ปกติ 

(งานวิจัยปรกติ )                              :งานวิจัยแบบ AAR

(วิธีการ  ตั้งสมมติฐาน ออกแบบการวิจัย เก็บข้อมูล )              :ออกแบบกิจกรรมที่ใจต้องการทำ  ลงมือทำกิจกรรม  เอาสิ่งที่ทำมาคุยกัน วางแผนทำต่อ 
(สิ่งที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย  สังเคราะห์ข้อมูลโดยอิงทฤษฎี )           :เวทีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจากกิจกรรมที่ทำมาถอดบทเรียน และฟื้นฟูบรรยากาศเดิมให้คืนมา


        กิจกรรม AAR นี้ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับการดูละครที่เป็นซี่รีส์   เมื่อดูหลายๆ ตอนจนจบก็จะเข้าใจเรื่องทั้งหมด   กิจกรรม AAR ที่เอามาร้อยให้ต่อเนื่องกัน และให้จบด้วยการสังเคราะห์ให้เกิดความเข้าใจเช่นนี้  ทำท่าจะดีกว่าโครงการปกติ เพราะได้ผลที่เกิดกับคนหลายคนและขยายไปทั้งชุมชนด้วย  ดีกว่าดูละครเพราะเป็นเรื่องจริงของเขา  ไม่ใช่เรื่องแต่งของคนที่มีวัฒนธรรมต่างจากเขา


        โครงการนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่กลางปี 2550  และ สกว. ได้สนับสนุนทุนกิจกรรมรูปแบบนี้ไปจำนวนมาก  มีคนร่วมนับได้หลายพันคน   โครงการได้รับการตอบรับจากชาวบ้านว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและเหมาะกับการทำงานชุมชนมาก  เพราะได้คิดวางแผนทำร่วมกัน  เกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นเจ้าของ  สิ่งที่ สกว. ค้นพบคือ AAR ทำให้คนที่เคยมี “พื้นที่ทางสังคม” อยู่แยกกัน (อาจจะด้วยเงื่อนไขทางสังคม-ศาสนา เช่น หญิง-ชาย) ได้มีโอกาสฟังกันอย่างลึกซึ้ง  ทำให้เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อกัน ที่เดิมอาจจะไม่ค่อยดีนักในบางเรื่อง  ทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจกันมากขึ้น  เกิด social service เช่น กิจกรรมร่วมกันดูแลกลุ่มสตรีที่ได้รับผลกระทบ  ข้อสรุปที่สำคัญสำหรับเรา (สกว.) คือ  งานนี้ไม่ใช่แค่เพียงการเอากิจกรรมมาเป็นกระบวนการวิจัยอย่างเดียว แต่ได้งานพัฒนาสังคมไปพร้อมๆ กันด้วยเลย


        สมาชิกบางท่านคงยังงงอยู่ว่าเรื่องนี้เป็นวิจัยได้อย่างไร?  ไม่เป็นไรครับ  คบกับ สกว. ไปเรื่อยๆ สักวันก็จะรู้เองว่ามีอะไรอื่นประเภทชวนงงอีกมาก
        สมาชิกที่สนใจงานวิจัยเพื่อพัฒนาจากฐานราก  กรุณาเข้าไปเพิ่มเติมข้อมูลตนเองที่ biodata  ในส่วนประวัติส่วนตัว  เมื่อ สกว. มีการจัดประชุมหรือ field trip ทีม biodata จะสุ่มคัดเลือกหาผู้โชคดีที่ สกว. จะ sponsor ให้เดินทางไปด้วย  

        ข้อมูลถึงวันที่ 5 มิถุนายน มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 5,707 ราย   เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว  44 ราย  มหาวิทยาลัยที่มาลงทะเบียนเพิ่มมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยมหิดล  จำนวน  20 ราย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
5 มิถุนายน 2551
http://biodata.trf.or.th
http://elibrary.trf.or.th

 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้663
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2500
mod_vvisit_counterทั้งหมด10691296