Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow พมร.กะทู้ arrow ไม้กลายเป็นหิน
ไม้กลายเป็นหิน PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 30 ธันวาคม 2007

Image อนุกรมวิธานของไม้กลายเป็นหิน 


(http://www.nrru.ac.th/web/ancient/wood/index4_01.htm

 


       ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินในโลกที่ได้รับการจำแนกตามระบบอนุกรมวิธาน มีจำนวนมากมาย และมีการจำแนกมานานนับร้อยปี เช่น การจำแนกไม้กลายเป็นหินในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์ สโตน รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา โดย Dr. F.H. Knowlton ตั้งแต่ ค.ศ. 1899 ตัวอย่างของพืชที่จำแนกได้ เช่น ต้นเซควายา (Sequoia) ชนิด Sequoia magnifica เป็นต้น


      สำหรับประเทศไทย มีการจำแนกตั้งแต่ ค.ศ.1969 โดยปรากฏในเอกสาร “Fossil of Thailand” ของกรมทรัพยากรธรณี เป็นพืชเนื้อเยื่อลำเลียงโบราณในสกุล Neocalamites sp. Halle พบในหินทรายเนื้อละเอียดปนปูน สีดำ ที่ห้วยหินลาด กม.108 ถนนขอนแก่น – เลย อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น อายุอยู่ในยุคไทรแอสซิกช่วงปลายหรือ ประมาณ 220 ล้านปีก่อน อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2546 มีนักศึกษาปริญญาเอกสาขาชีววิทยาสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งปัจจุบันคือ ดร. ประมุข เพ็ญสุต หัวหน้าสำนักปลูกบำรุงสวนพฤกศาสตร์สิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นคนไทยคนแรกที่ทำวิจัยเพื่อการจำแนกชนิดไม้กลายเป็นหิน โดยมีประธานที่ปรึกษาวิทยาเป็นนักโบราณชีววิทยา (Paleobiology) ชาวอเมริกา คือ Dr. Paul J. Grote ซึ่งจากผลการวิจัยไม้กลายเป็นหินในแหล่งต่างๆ ของภาคอีสาน พบไม้กลายเป็นหิน 10 วงศ์ 15 สกุล 18 ชนิด ดังนี้

 

 

1.1 วงศ์ Flacourtiaceae (วงศ์กะเบา)
Homalium tomentosum (Vent.) Benth (ต้นขานาง)
แหล่งตัวอย่าง : ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา

1.2 วงศ์ Lecythidaceae
Careyoxylon sphaerica Roxb.
แหล่งตัวอย่าง : วัดโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภแเมืองนครราชสีมา

1.3 วงศ์ Fabaceae
วงศ์ย่อย Minosoideae
Albizia lebbeck Venth. ต้นพฤกษ์
แหล่งตัวอย่าง : บ้านโนนสะอาด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
วงศ์ย่อย Caesalpinioideae (วงศ์ย่อยราชพฤกษ์)
Pahudioxylon sahnii Ghosh and Kazmii
แหล่งตัวอย่าง : บ้านแก่นประดู่ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
Dialium cochinchinense Pierre (ต้นหยีหรือเขล็ง)
แหล่งตัวอย่าง : ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา
วงศ์ย่อย Papilionoideae (วงศ์ย่อยประดู่)
Millettia leucantha Kurz (ต้นกระพี้เขาควายหรือขะเจาะ)
แหล่งตัวอย่าง : ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา

 

ไม้กลายเป็นหินจากจังหวัดขอนแก่น

 



3.4 วงศ์ Sonneratiaceae
Duabanga grandiflora (Roxb.ex DC.) Walp
แหล่งตัวอย่าง : บ้านแก่นประดู่ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

 

 



3.5 วงศ์ Thymelaeaceae (วงศ์กฤษณา)
Aquilaria sp. (สกุลไม้หอมหรือกฤษณา)
แหล่งตัวอย่าง : บ้านแก่นประดู่ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

3.6 วงศ์ Combretaceae (วงศ์สมอ)
Anogeisus acuminato (Roxb.ex DC.) Guil & Pierre (สกุลตะเคียนหนู)
แหล่งตัวอย่าง : บ้านโคกสะอาด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
Terminalia alata Hayne ex Roth (สกุลสมอ รกฟ้า)

* ชื่อสกุลที่ลงท้ายด้วย – xylon เป็นสกุลของไม้กลายเป็นหินที่สูญพันธุ์แล้ว

3.7 วงศ์ Burseraceae (วงศ์มะเกิ้ม)
Protium serratum (Colebr.) Enal. (ต้นมะแฟน)
แหล่งตัวอย่าง : วัดโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา

3.8 วงศ์ Anacardiaceae (วงศ์มะม่วง)
Dracontomelon dao (Blanco) Merr. & Rolfe (ต้นพระเจ้าห้าพระองค์)
แหล่งตัวอย่าง : ตำบลโคกกรด อำเภอเมืองนครราชสีมา

3.9 วงศ์ Apocynaceae (วงศ์ลั่นทม)
Holarrhena pubescens Wall.ex G. Don.
แหล่งตัวอย่าง : ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา
Wrightia artorea (Dennst.) Mabberley
แหล่งตัวอย่าง ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา

3.10 วงศ์ Arecaceae
Palmoxylon sp. 1 – 4 (ปาล์มโบราณซึ่งสูญพันธุ์แล้ว 4 ชนิด)
แหล่งตัวอย่าง : ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนคร
ราชสีม

 

ในประเทศไทย  มีผู้ศึกษาหลายหน่วยงาน  ในจังหวัดนครราชสีมา ในแหล่งที่มีต้นไม้กลายเป็นหิน ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน  ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล เป็นผู้อำนวยการ

 

 

ไม้กลายเป็นหิน

 

 

ไม้กลายเป็นหินที่บ้านตาก จังหวัดตาก

นายสุจินต์ พุ่มผกา หัวหน้าอุทยานเขาพระบาท เขตป่าแม่สลิด-โป่งแดง ต.ตากออก อ.บ้านตาก จ.ตาก กล่าวถึงการบูรณะฟอสซิลต้นมะค่าโมงที่เป็นไม้กลายเป็นหินว่า ทางวนอุทยานฯ ได้มีการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณกลางปี 2548 สนับสนุนในการพัฒนาตามแผนพัฒนาจังหวัดตาก ได้รับงบประมาณจำนวน 13,227,000 บาท โดยได้เข้ามาพัฒนาขุดเพิ่มอีกจำนวน 7 จุด จากจุดเดิมที่มีอยู่ 1 จุดที่เปิดให้นักท่องเที่ยวชมอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งจากที่ทางวนอุทยานฯได้สำรวจร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี สำรวจโดยใช้เครื่อง จีพีอาร์เอส ทราบข้อมูลแล้วว่ามีจำนวน 7 จุดที่มั่นใจว่าพบซากต้นไม้ขนาดใหญ่แน่นอน แต่จะมีขนาดยาวและใหญ่มากแค่ไหนนั้นจะต้องมีการขุดลงไปในเนื้อดินก่อน คาดว่าน่าจะมีความยาวถึงกว่า 100 เมตร(คงจะผิด:สมหมาย) ซึ่งการดำเนินการขุดสำรวจจะอยู่ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนโดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.- 30 ก.ย. 2548

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 31 ธันวาคม 2007 )
 
< ก่อนหน้า

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้449
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1233
mod_vvisit_counterทั้งหมด10681786