Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
อันดามันมิวซ์สยาม AndamanMuSiam PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 03 สิงหาคม 2015

 

ผศ.สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์ เสนอวิสัยทัศน์การบริหารจัดการ

ศูนย์ศึกษา วิจัย ศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา

ชื่อย่อ

อันดามันมิวซ์สยาม

AndamanMuSiam

 

 

บทนำ

            มนุษย์ในถิ่นอันดามันผู้เป็นเจ้าของถิ่นตามที่นักโบราณคดีได้ศึกษามาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมคือกาฮาซี เซมัง ซาไกและชาวเล เขาเหล่านี้ได้วิวัฒนาการมาให้ปรากฏในชื่ออูรักราโว้ย มอแกล๊น (มอเก็น มอแกลน) เงาะซาไกมันนิ  พวกเขามีถิ่นดำรงชีวิตและวิถีชีวิตที่ต้องผจญภัยกับอารายธรรมสยามประเทศ ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกด้วยทุกข์ฤๅสุข

            ก่อนหน้าที่กลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง ๔ จะปรากฏ  นักโบราณคดีได้ขุดพบร่องรอยทางวัฒนธรรมที่แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียนย้อนรอยวัฒนธรรมไปไกลถึง ๓ หมื่น ๕ พันปี ทั้งที่ประเทศไทยได้อ้างความเก่าแก่ของมนุษย์ยุคหินถอยไปได้เพียง ๔,๐๐๐ ปี และต่อมาก็ค้นพบร่องรอยวัฒนธรรมที่เขาเฒ่าพังงาย้อนกลับไปได้ ๑๕,๐๐๐ ปี

            การค้นพบหม้อสามขา (ชุมพล บุญชู ๒๕๔๔ : ๑๒๒) เป็นข้อมูลท้าทายนักโบราณคดีว่า เขาผู้สร้างหม้อสามขา ไปอยู่ ณ ที่ใด พัฒนามาเป็นชนใด  มาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ๔ กลุ่มได้บ้างไหม  และจากกลุ่มชาติพันธุ์ ๔ กลุ่มนั้นจะพัฒนามาเป็นกลุ่มชนใดในอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรไศเลนทร์ อาณาจักรตามพรลิงค์ และ / หรือชนเผ่าสยามด้วยประการใด

            หน้าตาชาวสยามพื้นถิ่นอันดามันปรากฏเป็นอัตลักษณ์ใด มีความเชื่อในด้านใด เหตุใดจึงมีอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ อิทธิพลศาสนาพุทธ อิทธิพลศาสนาอิสลาม  หลอมรวมเป็นวัฒนธรรมอันดามันที่กลมกลืนประการใด

            ประเด็นปริศนาหลักเหล่านั้น จะคลี่คลายให้กระจ่างได้ด้วยภารกิจของศูนย์ศึกษาวิจัย ศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา

           

. ขอบเขตภารกิจตามชื่อศูนย์ฯ

            องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงาได้รับภารกิจของศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามันจากกระทรวงวัฒนธรรมมาเป็นทางการเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๘

ศูนย์ ฯ ประกอบด้วยอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร ๕ อาคาร ได้แก่ อาคาร ๑ : อันดามัน ... ที่สุดแห่งใจ อาคาร ๒ : เส้นทางสายไหมทางทะเล อาคาร ๓ : ความหลากหลาย ของกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรม อาคาร ๔ : เขา ป่า นา เล และโลกสีคราม และอาคาร ๕ : สวรรค์อันดามัน

            ชื่อศูนย์ ฯ จำแนกเป็นคำได้ดังนี้

            ศึกษา หมายถึง การกระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากข้อมูลเป็นความรู้

            วิจัย หมายถึง ระเบียบขบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเข้าถึงข้อมูล (Data) นำมาพิจารณาเทียบเกณฑ์มาตรฐานเดิม ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่

            ศิลปกรรม เป็นงานด้านสุนทรียศาสตร์ในงานวัฒนธรรม

            วัฒนธรรม คือวิถีชีวิตของมนุษย์

            ประเพณี คือ กิจกรรมที่สามารถคาดการณ์ได้ในวิถีชีวิตของมนุษย์ว่าจะมีอยู่ และ/หรือดำรงต่อไป

            อันดามัน เป็นชื่อสถานที่ทางภูมิศาสตร์ภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ติดกับทะเลอันดามัน ได้แก่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

            จังหวัดพังงา เป็นชื่อจังหวัดอันเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์ศึกษา วิจัย ศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามัน

            ทั้งชื่อศูนย์ ฯ และการจัดแบ่ง ๕ อาคาร เป็นหลักในภารกิจที่ศูนย์ฯ ต้องศึกษาวิจัย วัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีปรากฏในบริเวณ ๖ จังหวัดภาคใต้ที่ติดกับทะเลอันดามัน

 

. ปรัชญา

            จากภารกิจในข้อที่ ๒ เป็นฐานข้อมูลประมวลเป็นปรัชญาของศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ว่า อันดามันคือสวรรค์แห่งความสุข ( Andaman is the heaven of happiness )

 

            ยุทธศาสตร์ทางภาษาเพื่อการตลาด

 

            . การท่องเที่ยวในวิถีอันดามัน คือสวรรค์แห่งความสุข

            . การใช้ชีวิตในวิถีอันดามัน คือสวรรค์แห่งความสุข

            . การดำเนินชีวิตในวิถีอันดามัน คือสวรรค์แห่งความสุข

            . Way of Andaman life is the Heaven of Happiness.

        . Andaman Tourism is the Heaven of Happiness.

        . Tourism in the Andaman is the Heaven of Happiness.

        . Living in the Way of the Andaman is the Heaven of Happiness.

 

. สัญลักษณะเพื่อการตลาด

            ด้วยหลักการของการตลาดคือ ๑. ผู้ส่งสารเร้าให้อินทรีย์ผู้รับสารมีปฏิกิริยา  . อินทรีย์ผู้รับสารเกิดความสนใจ  . อินทรีย์ผู้รับสารต้องติดตาม  และ ๔. อินทรีย์ผู้รับสาร ต้องบริโภค เป็นหลักในการพิจารณาให้มีสัญลักษณ์ อันเป็นส่วนหนึ่งหรือแทนศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา

            จึงกำหนดให้ใช้อักษรย่อว่า อมกำหนดให้มีความย่อว่า อันดามันมิวซ์สยาม หมายถึงความหลากหลายภัณฑ์ในอันดามันสวรรค์แห่งความสุข และกำหนดใช้ภาษาอังกฤษว่า AndamanMuSiam. อันจะเป็นการส่งสารให้อายตน ๖ ในอินทรีย์ ผู้รับสารมีปฏิกิริยาย้อนกลับถึงศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ได้อย่างมีประสิทธิภาพอันก่อให้เกิดประสิทธิผลสัมฤทธิ์อย่างกลมกลืนในปรัชญา อันดามันสวรรค์แห่งความสุข

 

            กำหนดตราเพื่อการตลาด เป็นรูปภาพลายเส้นของภาพเขียนสีในถ้ำไวกิ้ง

จะได้หมายถึง        วิถีชีวิตที่วิวัฒน์มาอย่างสุขสงบในดินแดนแห่งอันดามัน

เพิ่มริ้วธงไชย ๖ ริ้วให้หมายถึงความเป็นอันหนึ่งเดียวร่วมกันของ ๖ จังหวัดที่มี

ธรรมชาติและวัฒนธรรมร่วมด้วยช่วยกัน

            ความหมายแฝงคือ เรือ เป็นยานพาหนะ ที่ขับเคลื่อนพุ่งไปในท้องทะเลันมั ด้วยกำลังอินทรีย์ (พาย, ถ่อ) พัฒนาวิวัฒน์เป็นใบเรืออาศัยพลังลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และยนตจักรพาผู้ฅนจากสารพัดทิศ (จีน อินเดีย อาหรับ โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ศึกษาวิจัยและการท่องเที่ยว) วิถีชีวิต (ศิลปกรรม วัฒนธรรม ประเพณี) ต่อกันมา

 

. สภาพภูมิศาสตร์

            แผนที่ ที่ได้สร้างขึ้นตั้งแต่อดีตระบุพื้นที่ชายฝั่งอันดามันจนถึงแผนที่ในปัจจุบัน แสดงให้เห็นเกาะ  แหลม อ่าว อันเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ประกอบด้วยจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

            มรสุม เป็นปรากฏการณ์ในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วยให้อันดามันเป็นสภาพอากาศดั่งสวรรค์ของนักท่องเที่ยว ต่างกับเขตอบอุ่นในช่วงนี้ที่มีหิมะถล่มพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวอาศัยอยู่ประจำเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีฝนตกบางปีตกนานข้ามเขตเดือนจาก ๖ เดือนเป็น ๘ เดือน จนแถบอันดามันได้ชื่อว่าฝนแปดแดดสี่

 

            ทรัพยากร

                        แร่ดีบุก เมื่อหลอมรวมกับทองแดงกลายเป็นสำริด เครื่องมือชิ้นที่สองถัดจากเครื่องมือหิน มนุษย์ได้ใช้สำริดมานานกว่า ๕,๐๐๐ ปี แร่ดีบุกมีมากในจังหวัดภูเก็ต พังงาและระนอง เป็นเหตุให้ชาวยุโรปและชาวจีนเข้ามามีบทบาทร่วมกับชาวพื้นถิ่น ก่อให้เกิดวัฒนธรรมร่วมอันเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยวอย่างน่าสนใจ

                        แร่แทนทาลัม เป็นสินแร่ที่เกิดรวมปนกับแร่ดีบุก แต่เพิ่งพบว่าเป็นแร่ทางเศรษฐกิจที่หายากมาก และถลุงในภาวะปรกติเหมือนแร่อื่น ๆ มิได้ เพราะมีจุดหลอมเหลวที่  ,๙๙๖ องศาเซนเซียส (แทนทาลัม ๒๕๕๘เมื่อเทียบกับเหล็กที่มนุษย์รู้จักว่าเป็นวัตถุที่แข็งแกร่ง แต่ก็มีจุดหลอมเหลวเพียง ๑,๕๓๘ องศาเซนเซียส (เหล็ก ๒๕๕๘) เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา คนเหมืองเข้าใจว่าเป็นวัตุที่ไม่มีค่าทางเศรษฐกิจจึงได้เรียกว่าขี้กราง (ขี้แร่จากโรงกลวงโรงถลุงแร่ดีบุก)(สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ๒๕๔๐ : ๖๑) แทนทาลัมจึงเป็นสินแร่ที่นักท่องเที่ยว จะได้รู้จักในดินแดนแหล่งอันดามัน อีกประการห

นึ่ง เพชรพังงา

                        เพชร

                                    แหล่งพบเพชรในประเทศไทศไทย  . ลานแร่เพชรในทะเล อ่าวทุ่งคา-อ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ต  . แนวรอยเลื่อนมะรุ่ยจนถึงทับปุด  . เพชรในแม่น้ำ พังงา บ้านถ้ำน้ำผุด  . เพขรที่บ้านบางมุด ตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา  . เพชรที่กะปงและที่บ้านในเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา  และ ๖. เพชรที่บ้านบางม่วง-บ้านน้ำเค็ม-บ้านแหลมป้อม-บ้านบางสัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา (กรมทรัพยากร ธรณี www.dmr.th.go ๒๕๕๘)

 

            ทรัพยากรทางชีวภาพ

                        < ดอกบัวผุด ในป่าเขาสก    

                        ปาล์มเจ้าเมืองถลางในป่าเขาพระแทว

                        ค้างคาวกิตติในถ้ำพุงช้าง เป็นค้างคาวขนาดเล็กที่สุดในโลก เท่าหัวแม่มือ

            อุบัติภัย

                        แผ่นดินไหว อันเนื่องมาจากรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย

                                สึนามิ ที่เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ..๒๕๔๗

                                น้ำท่วม เช่นที่ชุมชนแถวน้ำ จังหวัดภูเก็ต

. สภาพทางธรณี

            ดินตะกอนที่เก่าแก่ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล อายุมากกว่า ๕๔๐ ล้านปีที่ผ่านมา มากกว่า อายุไดโนเสาร์ ถึง ๒๕๐ ล้านปี ในหินดินตะกอนมีบรรพชีวินที่ควรค่าแก่ชาวโลกจำนวนมากชนิด เช่นแกรปโตไลท ไทรโลไบต์  ไทรโลไบต์หรือแมงดาทะเลโบราณ  สโตรมาโตไลต์ หรือหินสาหร่าย นอติลอยด์ หรือหอยงวงช้าง  แกรปโตไลต์ เทนทาคูไลต์ และฟอสซิลหอยสองฝาโบราณ ซึ่งกระจายอยู่ตามภูเขาหินปูนในจังหวัดสตูล โดยเฉพาะกลุ่มหินตะรุเตา ในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งเป็นกลุ่มหินตะกอนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย (ธรรมรัตน์  นุตะธีระ  ๒๕๕๘)

            หินปูน,             เกาะแก่งในอ่าวพังงา

            ถ้ำ เช่นถ้ำสุววรณคูหา อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

            ถ้ำลอด ที่หน้าถ้ำผีหัวโต อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่, ถ้ำลอดในอ่าวพังงา

            เขาพิงกัน, เกาะตาปู

            บรรพชีวิน  

                                แกรปโตไลต์  ไทรโลไบต์  แมงดาทะเลโบราณ  สโตรมาโตไลต์ สาหร่าย นอติลอยด์ หอยงวงช้าง  แกรปโตไลต์ เทนทาคูไลต์  หอยสองฝาโบราณ (ธรรมรัตน์  นุตะธีระ  ๒๕๕๘) ในอำเภอละงู จังหวัดสตูล

  ไทรโลไบต์ อายุ ๕๔๐ ล้านปี พบที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล

                        ฟอสซิลช้างสเตโกดอน อายุ ๑.๘ ล้านปี ช้างเอลลิฟาส ๑.๑ ล้านปี เขี้ยวและฟันกราม แรดโบราณสกุลคิโลธิเรียม และเกนดาธิเรียม (องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ๒๕๕๘)

                        เต่าล้านปีที่อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล (เต่า ๒๕๕๘)

. สภาพประวัติศาสตร์และโบราณคดี

            พัฒนาการผ่านยุคสมัย

                        ยุคหิน

                                    เครื่องมือหินขวานหิน, หม้อสามขา

                                    วัฒนธรรมมนุษย์ยุคหินถ้ำหลังโรงเรียน กระบี่

                                    วัฒนธรรมมนุษย์ยุคหินเขาเฒ่า  จังหวัดพังงา

                        อาณาจักรฟูนัน มีอิทธิพลในการปกครองและความเชื่อพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ

                        อาณาจักรไศเลนทร์ สืบต่อจากอาณาจักร์ฟูนัน อิทธิพลศาสนาพราหณ์

                        อาณาจักรตามพรลิงค์ ประมาณ พ..๗๐๐ - ๑๒๐๐

                                    อิทธิพลตรีมูรติ

                                    < หอยสังข์ หมายถึง๑.ความขาวบริสุทธิ์และ ๒.ความเป็นมงคล

                                                พระนารายณ์ ทรงครุฑ ถือจักร และตรี เป็นจักรี

                                                พระพรหม ทรงหงส์ เป็นชื่อแหลมพรหมเทพ

                                     พระอิศวร สถิตบนเขาพระสุเมรุ เป็นชื่อเมรุเพื่อเผาศพ

                                      พระอินทร์ ทรงช้างเอราวัณ เป่าสังข์เป็นเสียงมงคล

                        อาณาจักรศรีวิชัย (ฤดี ภูมิภูถาวร ๒๕๕๐ : ๔๕) ..๑๒๐๐ - ๑๗๐๐

                                    อิทธิพลพระโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวร สืบมามีเจ้าแม่กวนอิม

                                    อิทธิพลชาดก ทั้งปัญญาสชาดก เช่นสังข์ทอง และนิบาตชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีพระชาติใหญ่ จำนวน ๑๐ เรื่อง มีหัวใจว่า เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว เรื่องสุดท้ายมีคาถาพันคาถาคือ มหาชาติ

                        อาณาจักรศิริธรรมนคร พ..๑๗๐๐-๑๘๐๐

                                    อิทธิพลพุทธศาสนา แผ่กว้างไกลไปถึงกรุงสุโขทัย

                             อิทธิพลการปกครอง ใช้สิบสองนักษัตร ให้ตรังใช้ตราม้า กระบี่ใช้ตราลิง พังงภูเก็ตใช้ตราหมา และระนองใช้ตราหมู

                        อาณาจักรสุโขทัย พ..๑๘๐๐ -

                                    การประดิษฐ์อักษรไทย มีคำ ปสาน ที่ภูเก็ตพังงาใช้ว่า บันซ้าน

                        อาณาจักรอยุธยา พ..๑๘๙๓ - ๒๓๑๐

                                    โปรตุเกส เป็นชาติแรกในยุโรปที่เข้ามมามีสัมพันธไมตรีกับอันดามัน พ..๒๐๕๔

                                    ฮอลันดา เป็นชาติยุโรปลำดับ ๒ ที่มามีสัมพันธไมตรีกับอันดามัน เมื่อ พ..๒๑๔๗

                                    ฝรั่งเศส : ตั้งห้างรับซื้อดีบุกบนเกาะถลาง

                        อาณาจักรธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๒๓๑๐-๒๓๒๕

                                    อังกฤษ : กัปตัน ฟรานซิส ไลท์ รับพระกรุณาฯเป็นพญาราชกปิตัน

                        อาณาจักรรัตนโกสินทร์ พ..๒๕๒๕ -

                                    .๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

                                                ศึก ๙ ทัพ พ..๒๓๒๘

                                                ศึกถลาง ..๒๓๒๘ กำเนิดท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

                                    .  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

                                                ถลางแตก พ..๒๓๕๒ ชาวถลางอพยพไปบ้านชาวหลางที่กระโสม

                                    .  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

                                                สร้างเมืองพังงา .๓ โปรดฯให้พระยาไทรบุรีมาเป็นเจ้าเมืองพังงา

(ประสูติ เบญจเลิศยานนท์ ๒๕๔๔ : ๖๙ และหลวงอุดมสมบัติ ๒๕๕๔ : ๗๗)

                                                สร้างถลางเมืองใหม่ เจ้าเมืองพังงาฟื้นเมืองถลางเมืองใหม่

                                                ชาวจีนอพยพมาเมืองภูเก็จ นำพาแผ่วัฒนธรรมบาบ๋า กำเนิดประเพณีกินผักเจี๊ยะฉ่าย

                                    .  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

.  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว(ฯพระปิยมหาราช)

เสด็จฯ ครั้งแรก, เสด็จฯ ครั้งที่ ๒

.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เสด็จฯ ครั้งที่ ๑ ติดตามสมเด็จพระราชบิดา

เสด็จฯ ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ..๒๔๕๒ พระราชทาน

นามถนนเทพกระษัตรี  ภูเก็จ วิชิตสงคราม 

ทรงเปิดโรงเรียนปลูกปัญญา

เสด็จฯ ครั้งที่ ๓

ทรงเปิดโรงเรียนตัณฑวณิชวิทยาคม

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็จ

                                                ถนนเชื่อมต่อในมณฑลภูเก็จ ตั้งแต่ชุมพร พังง กระบี่ ตรังและสตูล

                                                ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจมานานกว่า ๑๐๐ ปี

                                                เกวียนเทศา (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ๒๕๓๔ : ๑๒๔)

                        .  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                                    ขุนเลิศโภคารักษ์

                        .  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรอานันทมหิดล

                                    สงครามโลกครั้งที่ ๒

                        .  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช

                                    เสด็จฯ อันดามันครั้งแรก พ..๒๕๐๒ (สำนักพระราชวัง ๒๕๓๘: )

. สภาพวัฒนธรรม

            หน่วยงานทางวัฒนธรรม

                        สนง.วัฒนธรรมจังหวัด (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล)

                        ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพังงา (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล)

                        สภาวัฒนธรรมจังหวัดพังงา (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล)

                        องค์กรทางวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัย (สงขลานครินทร์, ราชภัฏภูเก็ต)

                        หอจดหมายเหตุ (ในจังหวัดภูเก็ต,แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดตรัง)

                        พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ภูเก็ต, สตูล)         

                        พิพิธภัณฑ์เอกชน (เช่น ภูเก็ตไทยหัว หอย มุก เครื่องเคลือบ)

            สาขางานทางวัฒนธรรม

                        สาขามนุษยศาสตร์

                                    ความเชื่อ เช่นความเชื่อเรื่องภูตผี(ผีพราย, ชิน (สุนทรี สังข์อยุทธ์ ๒๕๔๔ : ๑๙๘), ผีกระ, นางไม้, ผีเรือน, ผีเสาหลักเมือง, เจ้าที่เจ้าทาง), ความเชื่อในปรากฏการณ์ธรรมชาติ, ทำนายโชคชะตา, คาถาอาคมลงยันต์, เสน่ห์ยาแฝด เป็นต้น

                                    ศาสนา มีศาสนาพุทธ, คริสต์, อิสลาม, พราหมณ์, ซิกซ์

                                    อาชีพ เช่น มัคคุเทศก์, การท่องเที่ยว, เหมืองแร่, ประมง, สวนปาล์ม (สงวน ศรีสุข  ๒๕๔๔ : ๒๓), การยางพารา

                        สาขาภาษาและวรรณกรรม

                                    ภาษาในสมุดข่อย, ใบลาน, สมุดจีน

                                    ภาษาในบทเพลงท้องถิ่น (บารมี จันทรโชตะ  ๒๕๔๔ : ๑๒๒)

                                    ภาษาชนกลุ่มชาติพันธุ์ มีภาษามอแกล๊น ภาษาอุรักราโว้ย คำยืมจีนฮกเกี้ยน

                                    ภาษาถิ่นโบราณในจดหมายเหตุ เช่น มีแก, เห็นดู, กำดิง

                                    วรรณกรรมมุขปาฐะ

                                                คำสุภาษิต เช่นคำอธิษฐาน คำอวยพร คำสอนใจ สำนวน

                                                คำทุภาษิต เช่นคำด่า คำสบถ คำสาป คำแช่ง (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ๒๕๔๔๑๗๙)

                                                ปริศนาคำทาย เช่น สองตีนเดินมาหลังคามุงจาก

                                                ลายแทง เช่น ยัก3ยัก4หามผีไปเผา, หว่างทึงหว่างทังที่ฝังสมบัติ

                                                นิทาน เช่นตายมดึง เขาช้าง นางหงส์

                                                ตำนาน เช่น พระนางเลือดขาว พระนางมะซูรี

                                                เพลงเปล เช่นเพลงไก่เถือน, เพลงน้องนอน,

                                                เพลงรองเง็ง เช่น บุหรงปูเต้ ซิตี้ปาโย่ง ตะล็อกต็อกตก มะอีนั่ง อายัม

                                                เพลงตนโหย้ง เช่น ดอกดีปลี ต้นพรา

                                                เพลงประกอบการละเล่น เช่น ตดชี้ดตดช้าด, รีรีข้าวสาร

                                    วรรณกรรมลายลักษณ์

                                                เซียมซี, หาเหตุ, รามเกียรติ์

                                     แขกแดง อาจิยายี ชมนก ชมไม้ ชมเกาะ

                        สาขาการช่างฝีมือ

                                    ผลิตภัณฑ์ใบเตย เช่น ช่อ สมุกหมาก กุบ สอบ

                                    ผลิตภัณฑ์ลูกปัด หน้าอินเดียแดงหรือสุริยเทพ

                                    ผลิตภัณฑ์กลุ่มชาติภัณฑ์ ดอกกล้อง กำไลไหมลกระ หวีไม้ไผ่

                                    ผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะ, ผลิตภัณฑ์บาติก, ผลิตภัณฑ์หวาย

                                    ผลิตภัณฑ์พืชเศรษฐกิจ จากไม้ยางพารา, ปาล์ม, กาบกล้วย

                                    ผลิตภัณฑ์เปลือกหอย เช่นจวักมุก พวงกุญแจ ม่าน

                        การพัฒนาของที่ระลึก ในงานมงคลสมรส งานเพื่อการท่องเที่ยว

                        สาขากีฬาและนันทนาการ

                                    อาหว้าย (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ๒๕๔๐ : ๒๑๔) ดาวเด้อ เตย อีฉุด

                        สาขาคหกรรมศิลป์

                                    อาหาร แกงพุงปลา เกลือเคย น้ำชุบหยำ น้ำชุบเคย ทื้ง เบเฮ้จี่

                                    เครื่องดื่ม น้ำผลไม้หลากชนิด

                                    เสื้อผ้าอาภรณ์ ชุดยอย่า

                                    เครื่องประดับ เช่นกิมตู้น โกสัง (ฤดี ภูมิภูถาวร : ๑๒๕)

                                    ยาสมุนไพร ยาสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ ยาสมุนไพรพื้นถิ่น

. สภาพงานการศึกษา

            ประเภทสถานศึกษา

                        ระดับอุดมศึกษา มีมหาวิทยาลัย วิทยาลัย วิทยาเขตการศึกษา

                        ระดับมัธยมศึกษาระดับประถมศึกษาระดับปฐมวัย รวมถึงศูนย์เด็กเล็ก

. สภาพงานการท่องเที่ยว

            ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว

                        ทางด้านธรรมชาติ มีอ่าว แหลม หาดทราย เกาะแก่ง ป่าไม้

                        ทางด้านวัฒนธรรม

                                    งานวัฒนธรรม ๕ สาขาของ Unesco

                                    งานวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์

                                                ชาวเล ที่เกาะหลีเปะ เกาะลันตา เกาะจำ เกาะสิเหร่ เกาะพีพี

                                                เงาะซาไกมันนิ ที่ควนโดน จังหวัดสตูล

                                                มุสลิม : การแต่งกาย อาหาร พิธีสมรส วันฮารรายอ

                                                จีนฮกเกี้ยน :การแต่งกาย อาหาร พิธีสมรส เทศกาลพ้อต่อ เจี๊ยะฉ่าย

            สถานประกอบการทางการท่องเที่ยว มีโรงแรมและที่พัก, บริษัทนำเที่ยว

๑๐. ศักยภาพงบประมาณ อบจ.พังงา (เพื่อกำหนดขอทุน)

๑๑. ภารงานในระยะเริ่มต้น (..๒๕๕๘ - ๒๕๕๙)

            งานการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์

                        สื่อหน้าเดียวถ่ายสำเนา (ไทย - อังกฤษ) ให้มีชื่อศูนย์ ชื่อการตลาด ตรา ปรัชญา ชื่อนิทรรศการ ๕ ห้อง หมายเลขโทรศัพท์ Facebook Line ภาพประกอบ

                        สื่อแผ่นพับสี่สี (ไทย - อังกฤษ)   ให้มีชื่อศูนย์ ชื่อการตลาด ตรา ปรัชญา ชื่อนิทรรศการ ๕ ห้อง หมายเลขโทรศัพท์ Facebook Line ภาพประกอบ

            งานจัดทำแผนแม่บทพืชร่มเงาและพืชสัญลักษณ์ ต้นไม้ประจำจังหวัดระนองคืออินทนิล  พังงาคือเทพทาโร จังหวัดภูเก็ตคือประดู่ จังหวัดกระบี่คือทุ้งฟ้า จังหวัดตรังคือศรีตรัง จังหวัดสตูล คือกาหลง

            งานการเขียนสารคดี เป็นกรณีเร่งด่วนที่มีภาพปรากฏอยู่ในนิทรรศการทั้ง ๕ อาคารให้ได้เป็นต้นแบบการบรรยายและต้นแบบในการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ

            งานการจัดสร้างหอจดหมายเหตุอันดามัน

                        ด้วยศูนย์ ฯ มีชื่อการศึกษาการวิจัย ที่ต้องมีบุคลากรเฉพาะทางการวิจัยใน ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เป็นทั้งผู้ประสานงานการวิจัย เป็นผู้วิจัย เป็นผู้ ตรวจงานวิจัย  และมีทุนการวิจัย  ในระยะเริ่มต้นที่ยังมิได้มีแผนงานการจัดอัตรากำลัง การทุนการงบประมาณ  ศูนย์ฯ สามารถจัดสร้างจดหมายเหตุเป็นวัตถุดิบหรือฐานข้อมูล ในการจัดสร้างงานทบทวนวรรณกรรมให้นักวิจัยได้  เป็นส่วนหนึ่งในการตลาดที่จะทำให้ ศูนย์ ฯ มีผู้รับสารใช้ศูนย์ฯ ดั่งตลาดนัดวิชาการได้  เพราะการมาถึงศูนย์ ฯ เพียงครั้งเดียว ย่อมไม่สามารถเขียนบทที่ ๒ หรืองานทบทวนวรรณกรรมการวิจัยได้

                        ศูนย์ ฯ ต้องมีสมุดลงทะเบียนจดหมายเหตุ  แฟ้มเก็บรักษาและบริการ จดหมายเหตุ หมายเหตุรักษ์เจ้าหน้าที่จัดทำและบริการดั่งงานบรรณารักษ์ที่กระทำกับ หนังสือ  กำหนด รหัสจดหมายเหตุการบันทึกลงทะเบียนในโปรแกรมจดหมายเหตุ, ตราประทับ

                        สมุดลงทะเบียนจดหมายเหตุ  ด้านปกหน้าในระบุชื่อ Andaman Archive AM.Ar., อันดามันจดหมายเหตุ อม.จห., วัน เดือน ปี ของผู้บันทึก .... ลงชื่อ

                                    หน้า 2 เริ่มบันทึกทะเบียนจดหมายเหตุ  บรรทัดที่ 2-3 เขียน Andaman Archive ชื่อย่อ AM.Ar., อันดามันจดหมายเหตุ ชื่อย่อ อม.จห., บรรทัดที่ 4 รหัส  ลักษณะ อม.จห., ชื่อจดหมายเหตุ  คำค้น  วันที่ในจดหมายเหตุ; บรรทัดที่ 4 เป็นต้นไป บันทึกรายการจดหมายเหตุ

                                    เช่น

                                    ๑ ภาพ ตราอันดามันจดหมายเหตุ อม. AndamanMus AM.Ar. ออกแบบจากโครงสร้างในภาพเขียนสีถ้ำไวกิ้ง เกาะพีพีเล

                                    ๒ ดิจิ ปรัชญา : อันดามันคือสวรรค์แห่งความสุข มี AndamanMus เป็นหน่วยย่อยในศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา เพื่อเป็นสื่อและทรัพยากร

                        กำหนดรหัสจดหมายเหตุ  ให้ ดิจิ แทน ดิจิทัล, ผท แทน แผนที่, ภาพ แทน ภาพเดี่ยว, รูป แทน กลุ่มรูปภาพ, ลล แทน ลายลักษณ์, วถ แทนวัตถุ

                        การบันทึกลงทะเบียนในโปรแกรมจดหมายเหตุ  หมายเหตุรักษ์ต้องได้รับ การอบรมและฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม PageMaker, MicrosolfWord, ACDseePro3, AdobePhotoshop, PDF, สกุลภาพ .jpg, การจัดการไฟล์ภาพใน upic.me ซึ่งข้าพเจ้า จะเป็นครูฝึกทุกรายการให้หมายเหตุรักษ์ปฏิบัติงานได้

                        การบันทึกบัตรรายการ มีคำค้นหลักและคำค้นรอง การทำบัตรเชื่อมโยง

                        การบันทึกใน www.andamammus.com และ/หรือ www.phuketdata.net

                        การบันทึกจดหมายเหตุใน Facebook ทั้งใน อันดามันมิวซ์ Andamanmus และชื่อห้องอื่น ๆ เพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์    

                        ศูนย์ ฯ ต้องมีเครื่องมือที่จำเป็นคือเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ราคา 15,000.- เครื่อง scaner DCP-J1 40 w ราคา 7,000.-, External Hardisk 500 gb. ราคา 1,200.-, สมุดทะเบียน ขนาด 27 x 37 ซม. 100 แผ่น มีเลขหน้า 170.-, แฟ้มปกแข็ง 2101F ราคา 85.- จำนวน 2 แฟ้ม, Puncched Pocket Refill A4 หนา 30 ไมครอน แผ่นละ 1.20.- จำนวน 200 ซอง, กระดาษเอ4 80 แกรม รีมละ 110.- จำนวน 2 รีม

            งานการสร้างสื่อแทนมัคคุเทศก์

                        สร้างแผ่นป้ายคำบรรยาย (เสริม) ให้ผู้รับสารสื่อสารปฏิบัติการได้

                        โปรแกรมไกค์สมาร์ทโฟน ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ PC มีโปรแกรม ส่งสัญญาณถึงเครื่องถ่ายทอดสัญญาณประจำอาคาร ๕ อาคาร มีสัญญาณแรงพอที่จะให้ ผู้รับสารใช้สมาร์ทโฟน (ทั้งของตนหรือเช่ายืมจากศูนย์ฯ) กดคลิ้กที่หน้าจอสมาร์ทโฟน เป็นหมายเลข 1 2 3 ... ที่สัมพันธ์กับหมายเลขนิทรรศการ

                        โปรแกรมไกค์สมาร์ทโฟนต้องออกแบบให้มีคุณสมบัติเสียงภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างชาติอื่น ๒ - ๓ ภาษา  คลิ้กหยุด หยุดชั่วคราว ย้อนกลับ ไปข้างหน้า ยกเลิก ฟัง ฟังซ้ำ คลิ้กหมายเลขใด ๆ เป็นอิสระ  แต่ละหมายเลขมีเสียงบรรยาย สรุป (ไม่เกิน ๖๐ วินาที) เป็นเริ่มต้น แล้วจึงเพิ่มเติมรายละเอียด และเชื่อมโยงเรื่อง ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้รับสารสามารถคลิ้กหยุดเพื่อข้ามไปรายการหมายเลขอื่นได้

                        การจัดทำต้นฉบับสารคดีเรื่องในนิทรรศการทั้ง ๕ อาคาร เป็นฉบับ ภาษาไทย  แล้วจ้างแปลเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น  บันทึกเสียงไว้ในโปรแกรมฐานข้อมูล

                        ประมาณค่าใช้จ่าย  เครื่องคอมพิวเตอร์ PC 15,000.-  เครื่องแปลงสัญญาณและส่ง 5,000.- เครื่องถ่ายทอดสัญญาณประจำอาคาร  สมาร์ทโฟน เครื่องละ 1,000.- จำนวน 5 เครื่อง

            งานการตลาด

                        การเสวนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน

                        การเสวนาบุคลากรสถานประกอบการให้ศูนย์เป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว

                        การค่ายเยาวชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประชาคมอาเซี่ยน

                        การอบรมเสริมรู้วัฒนธรรมอันดามัน

                        การอบรมบุคลากรทางการศึกษาอันดามัน

                        การอบรมเยาวชนด้านการพูดเพื่อการท่องเที่ยว (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

                                การอบรมครูต้นแบบบรรยายนิทรรศการในศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรมฯ (ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ)

                        สืบเสาะแสวงหาเพื่อประกาศสรรเสริญเกียรติคุณ นักอันดามัน

                        TOP TEN ANDAMAN เป็นเวบไซต์โปรแกรมประมวลผลฐานข้อมูล

(Database) มีคุณสมบัติในการเสนองานหน้าจอเป็น ๑๐ ลำดับสุดยอดในอันดามัน

ระดับอันดามัน

 

ระนอง       พังงา       ภูเก็ต       กระบี่       ตรัง       สตูล

 

เมืองระนอง กระบุรี ... ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ... ถลาง กะทู้ ... เหนือคลอง อ่าวลึก ... ย่านตาขาว ห้วยยอด ... ละงู ควนโดน ...

 

ตำบล1 ตำบล2 ตำบล3 ตำบล4 ตำบล5 ตำบล6 ตำบล7 ตำบล8 ตำบล9 ตำบล10 ตำบล11 ตำบล12 ตำบล13 ตำบล14 ...

 

หมู่บ้าน1 หมู่บ้าน2 หมู่บ้าน3 หมู่บ้าน4 หมู่บ้าน5 หมู่บ้าน6 หมู่บ้าน7 หมู่บ้าน8 หมู่บ้าน202 หมู่บ้าน401 หมู่บ้าน555 หมู่บ้าน666

 

 

            ทุกระดับสถานจากระดับล่างคือชื่อหมู่บ้านขึ้นไประดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับ จังหวัด สูงสุดที่อันดามันนั้น  ทุกระดับสถานในชื่อสิ่งของเดียวกัน จะมีระดับสิ่งของสูงสุด 10 ลำดับ (Top Ten Andaman) เรียงจากอันดับสูงสุดที่ 1 สูงสุดที่ 2 ... ลดหลั่นลงมา ถึงสูงสุดที่ 10

 

สูงสุดที่ 1 เกาะสิมิลัน พังงา

สูงสุดที่ 2 เกาะตาชัย พังงา

สูงสุดที่ 3 เกาะอาดัง สตูล

สูงสุดที่ 4 เกาะราชา ภูเก็ต

สูงสุดที่ 5 เกาะ...

.......

สูงสุดที่ 10 เกาะพระอาด พังงา

 

            ผู้รับสารสามารถเข้าไปโหวตได้ทุกระดับสถาน มีผลถึงจำนวนโหวตรวมให้โปรแกรมจัดลำดับให้ ๑๐ ลำดับ เป็นการกระตุ้นให้ผู้รับสารใช้บริการของศูนย์ฯ ได้เป็น ประจำ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่  ผู้รับสารจะมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับได้ทุกกาลเวลา มีสิทธิ์เสนองานเข้าจัดลำดับได้ทุกเรื่องในอันดามัน มีสิทธิ์มีส่วนร่วมกับศูนย์ฯ ได้  ศูนย์ ฯ สามารถศึกษางานและผู้รับสารก็มีสามารถศึกษางาน เพื่อส่งเข้าจัดลำดับ  หาก TOP TEN ANDAMAN มีความน่าเชื่อถือและติดตลาด  ศูนย์ฯ ก็ประสบความสำเร็จอีกด้านหนึ่ง ของการตลาด  และศูนย์ ฯ ก็มีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะประกาศการจัดลำดับอันดามัน แก่สาธารณชนได้ทั่วโลก

                        ศูนย์ ฯ จะต้องเตรียมข้อมูลเช่นชื่ออำเภอ ชื่อตำบล ทั้ง ๖ จังหวัด เตรียมชื่อ ที่จะเสนอจัดลำดับ  คัดเลือกผู้สร้างโปรแกรม  ฝึก admin ให้พร้อมที่จะประชาสัมพันธ์ และดำเนินการ เช่นชื่อสถาน

            อำเภอถลาง ภูเก็ต มีตำบลชื่อ เทพกระษัตรี ศรีสุนทร ป่าคลอก เชิงทะเล ไม้ขาว สาคู

            อำเภอกะทู้ ภูเก็ต มีตำบลชื่อ กะทู้ กมลา ป่าตอง

            อำเภอ...  มีตำบลชื่อ ...

                        ชื่อที่จะเสนอเข้าจัดลำดับ เช่น ถ้ำ แหลม หาดทราย น้ำพุ วนอุทยาน นกหายาก ยาสมุนไพร อิ๋วจาโก้ย ต่าวซ้อ มังคุดกวน ปะการัง น้ำทะเลใส เบเฮ้จี่ โอ๊ะเอ๋ว แกงพุงปลาแห้ง กุ้ง หอยชักตีน กาแฟ อังมอหลาว บาติก ศิลปะพระประธานอุโบสถ พระดีบุก ลายแทงยาว น้ำตก สถานล่องแพ โบราณคดีเก่า แหล่งฟอสซิล ...

 

            งานสร้างสื่อเพื่อการตลาด

            งานการเสริมวัตถุภัณฑ์ เช่น เพชรภูเก็จ เพชรพังงา ลูกปัดหน้าอินเดียแดง/สุริยเทพ แทนทาลัม ดีบุก ฟอสซิลไทรโลไบท์ ฟอสซิลเต่าล้านปี

            งานการเตรียมโครงการของบประมาณในปีงบประมาณ ๒๕๖๐

            งานการจัดอัตรากำลังบุคลากร

            งานการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ๖ จังหวัดในอันดามัน

            งานการเตรียมจัดทำสารานุกรมอันดามัน

                        กำหนดรูปแบบเป็นบทความทางวิชาการ ความยาวไม่เกิน ๑๕ บรรทัดใน กระดาษเอ 4 cordia UPC 16 เริ่มต้นด้วยบทนำไม่เกิน ๒ บรรทัด มีย่อหน้าเดียว สมนาคุณ ๕๐ บาท, มีอ้างอิง (:) ชื่อเจ้าของเดิม ปี พ..ที่พิมพ์เผยแพร่ : เลขหน้าที่ปรากฏ, บรรณานุกรม/นามานุกรม สมนาคุณรายการละ ๑๐ บาท, อาจมีภาพประกอบต่างมิติ ไม่เกิน ๓ ภาพ สกุล .jpg มีคำบรรยายภาพสั้น ๆ ด้วยดินสอ 2B ไว้หลังภาพ สมนาคุณ ภาพละ ๑๕ บาท มีคำศัพท์และคำแปลที่ปรากฏในบทความ, มีสาระคำเชื่อมโยง (บทความเป็นส่วนย่อยของเรื่องใด), บางเรื่องที่มีเสียงประกอบสารัตถะ เช่นเพลงเปล เพลงตนโหย้ง เพลงรองเง็ง  เพลงนา เพลงประกอบการละเล่นของเด็ก บทหยอกล้อ สมนาคุณรายการละ ๒๐ บาท

                        กำหนดชื่อย่อยที่จะเขียนเป็นบทความวิชาการไม่เกิน ๑๕ บรรทัดนั้น อาจกำหนดหัวข้อใหญ่ไว้เป็นประเภท เป็นกลุ่ม เป็นชื่อเรื่องใหญ่ ตามสาขาวัฒนธรรมของ UNESCO หมวดหมู่ชีวภาพ ธรณีกาล ภูมิศาสตร์ ... แล้วจึงกำหนดเป็นชื่อย่อย (เป็นคำ) ที่จะเสนอไว้เขียนบทความ

                        กำหนดบทความหนึ่ง ๆ ให้มีผู้ตรวจเป็น ๑. ตรวจรูปแบบโครงสร้าง การเขียน (เช่น Cordia UPC 16, ย่อหน้า 15 มม., การอ้างอิง, บรรณานุกรม/นามานุกรม, การบันทึกดิจิทัล, ส่วนประกอบ เช่นภาพ, เสียง. ตรวจการใช้ภาษาให้เป็นภาษาเขียน คำถูกต้องตรงกับพจนานุกรมทั้งฉบับราชบัณฑิตยสถานและพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ หรือคำที่ได้กำหนดให้ใช้ร่วมกันในภาษาถิ่นอันดามัน  . ตรวจสารัตถะตรงคำตรงงาน ตรงหมวดหมู่ในเนื้อหาสาระเรื่องนั้น ๆ

                        กำหนดสัทอักษร ข้อตกลงการเขียนรูปแบบสร้างคำ รูปแบบลำดับการ เสนองาน  การเขียนความหมายใช้การแปลเทียบกับพจานุกรมหลัก

                                    เช่น กำหนดให้สัทอักษรของระดับเสียงวรรณยุกต์เป็น [7 6 5 0 3 4 1 2]  กำหนดให้ใช้พยัญชนะในกลุ่มเสียงเดียวกันใช้  ซ ศ ษ ส ใช้ ซ-, ข ฃ ค ฅ ฆ ใช้ ค-, กำหนดอักษรต่ำ ใช้ระดับ [5] ในคำที่ใกล้กับเสียงสามัญ [0], รูปแบบสร้างภาษาถิ่นใต้  ให้ใช้อักษรต่ำแทนเสียงต่ำระดับ [7] และใช้อักษรสูงในระดับ [1] [2], ใช้รูปแบบสร้าง คำตรงกับภาษากลาง แต่มีเสียงพูดหรืออ่านตรงกับภาษาถิ่นอันดามัน เช่น ร้าย [ra:j7] . เล่น., เป็น [p  t3] . เป็ด, แทนอวัยวะเพศสตรี., มรน [mr  n5] . คำราม., รูดือ [ruw5 dij3] . รูสะดือ; ไม่เขียนเป็น หร่าย, แล้น, แป็ด, มร็อน, รุวดีย (ในหลักภาษาเรียกว่า เขียนอย่าง อ่านอย่าง เช่น จริง ทรวดทรงทราบทรามทราย อ่านเป็น จิงซวดซงซาบซามซาย เป็นต้น)

            งานการจัดทำแผนแม่บทศูนย์ ฯ

            งานการประสานงานประชาคมอาเซียน

            งานการรับนักท่องเที่ยว

            งานการขอทุนการวิจัย

            งานการเสริมชื่อเรื่องในนิทรรศการ

            (งานการบริการหอประชุม)

๑๒. ภารงานในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ มีงานการอบรมมัคคุเทศก์อาชีพ, งานการสร้างงานวิจัย

๑๓. ศูนย์ ฯ เป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว สมาชิกผู้ปฏิบัติในศูนย์ ฯ คือเจ้าของบ้าน จึงต้องมีจิตสาธารณะ ต้อนรับแขกดั่งญาติสนิทมิตรสหาย (สุธรรม เดชดี ๒๕๕๘ : )

๑๔. ศูนย์ ฯ เป็นสื่อทางการเรียนการสอน คล้ายสถานศึกษา  สมาชิกผู้ปฏิบัติในศูนย์ ฯ คือครูบาอาจารย์ จึงต้องมีจิตสาธารณะดั่งครูผู้ไม่ออมความรู้ (Knowlege) แลข้อมูล (Data)  มีความสุขที่ได้ถ่ายทอด (Teach) สรรพข้อมูล ( All Data) แก่ศิษย์ทุกนามรูปด้วยความเต็มใจ (150 Teaching Methode 2015 : 1 )

 

๑๕. ศูนย์ ฯ เป็นหน่วยองค์กรทางราชการ สมาชิกในศูนย์ ฯ เป็นดั่งข้ารับใช้งานใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงต้องปฏิบัติตนตามหลักนิติธรรมอันประกอบด้วย ๑๕.๑ ต้องใช้กฎหมายเป็นใหญ่เหนืออำเภอใจ  ๑๕.๒ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความ เสมอภาค  ๑๕.๓ ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจ ตรวจสอบการใช้อำนาจ ป้องกัน ผลประโยชน์ ๑๕.๔ จะต้องยึดหลักนิติกระบวน หมายถึงการไม่ออกกฎหมายย้อนหลัง เพื่อลงโทษทางอาญา ๑๕.. ต้องมีศาลที่เป็นกลาง มีอิสระ (วิษณุ เครืองาม ๒๕๕๘ : )

 

สรุปและเสนอแนะ

            ศูนย์ศึกษา วิจัย ศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามัน ต้องดำเนินการ ตามภารกิจแห่งชื่อศูนย์ ฯ และสอดคล้องกับนิทรรศการทั้ง ๕ อาคาร ให้ได้รับความร่วมมือ สนับสนุนกิจกรรมจากทุกจังหวัดในอันดามันโดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา เป็นหน่วยประสานของทุกภาคส่วนเพื่อให้ศูนย์ ฯ เป็นศูนย์ปฏิบัติการเป็นสื่อทางการศึกษา และเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว อันยังความจำเริญผาสุกสู่ประชากรอันดามัน และเผื่อแผ่ไปแด่เพื่อนต่างแดนทั้งในประชาคมอาเซี่ยนและประชาคมโลก.

 

ข้อเสนอแนะ

                 . ต้องปรับชื่อนิทรรศการให้คล้องจอง  เช่น            .อันดามันที่สุดแห่งใจ  .สายไหม ใยทะเล  . วัฒนธรรมดำรงชาติพันธุ์   . เขาป่านาเล(อนันต์)เขียวคราม   . (ตามร่วม) สวรรค์อันดามัน

                      . ด้วยผู้รับสารมีกลุ่มเด็ก  ในนิทรรศการยังไม่เอื้ออำนวยให้เป็นสื่อทางการเรียน ของเด็ก  ในส่วนนี้ ศูนย์ ฯ จะต้องเพิ่มเติม นิทรรศการในบางรายการให้เป็นที่น่าสนใจ ของกลุ่มเด็ก

                      . ศูนย์ ฯ ต้องเตรียมนิทรรศการเพื่อรองรับประชาคมอาเซี่ยน และเตรียม นิทรรศการเพื่อตอบสนอง นักท่องเที่ยวโซนยุโรป โดยเฉพาะสื่อภาษา

                      . ศูนย์ ฯ ต้องสร้างกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ศูนย์ ฯ เป็นดั่งตลาดนัด ของนักวิชาการและตลาดนัดของนักท่องเที่ยวที่มาแล้วต้องมาอีก  โดยเฉพาะกิจกรรมใน TOP TEN ANDAMAN และเฟสบุคห้อง andamanmus ให้เป็นดั่งสะพานเชื่อมต่อผู้รับสารทางไกลได้มาแวะเยือนด้วยตนเอง

                      . ศูนย์ ฯ ต้องเพิ่มเติมห้องน้ำให้พอเพียงแก่การใช้ประโยชน์ปลดทุกข์ จากการเดินทางไกลของแขก ผู้มาเยือน  และเพิ่มเติมสถานที่อำนวยความสะดวก แก่ทารกที่ติดตามผู้ปกครองมาถึงศูนย์ ฯ ให้ดำเนินกิจกรรม เหมาะกับวัย และเอื้อความ สะดวกให้ผู้ปกครอง

                      . ศูนย์ ฯ จะต้องประสานงานให้หน่วยองค์ในเขตพื้นที่ตั้งของศูนย์ ฯ เอื้อ ประโยชน์ซึ่งกันและกัน  และอิงกันในการจัดกิจกรรมให้เป็นดั่งเนื้อเดียวกัน  แม้ว่าจะมี ภารกิจที่แตกต่างกัน

                      . ปรับนิทรรศการที่สมควรให้เป็นนิทรรศการ Life Museum

                      . เสริมนิทรรศการที่เป็นสิ่งหายากหรือหาดูได้ยากมาเป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการ เช่นเสริมเพชรพังงา เพชรภูเก็ต ลูกปัดสุริยเทพ ยาสมุนไพรของเงาะซาไกบางขนาน  และเมื่อ TOP TEN ANDAMAN ทำงานได้ผล  TOP TEN เหล่านั้นให้มีโอกาสมาจัดนิทรรศการ หมุนเวียน

                      . ศูนย์ ฯ จักต้องทำหน้าที่สืบเสาะแสวงหา นักอันดามัน ไว้เป็นครูต้นแบบในภูมิภาคอันดามัน.

 

บรรณานุกรม

 

กรมทรัพยากรธรณี  แหล่งกำเนิดเพชรในประเทศไทย  www.dmr.go.th/main.php? filename=diamond5

                สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘

ชุมพล บุญชู บรรณาธิการ  (๒๕๔๔วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ

            ภูมิปัญญา จังหวัดกระบี่  กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร ๔๐๘ หน้า

เต่า มุดถ้ำตามหาฟอสซิล นั่งชิลล์ชมหินงอกหินย้อยที่ถ้ำเลสเตโกดอน http://www.manager.co.th/

                travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000152673 สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘

แทนทาลัม   https://th.wikipedia.org/wiki สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘

ธรรมรัตน์  นุตะธีระ  บรรพชีวิน  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘

บารมี จันทรโชตะ  บรรณาธิการ  (๒๕๔๔ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ

            ภูมิปัญญา จังหวัดระนอง  กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร ๒๒๖ หน้า

ประสูติ เบญจเลิศยานนท์ บรรณาธิการ  (๒๕๔๔วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ

            ภูมิปัญญา จังหวัดพังงา  กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร  ๒๐๗ หน้า

ฤดี ภูมิภูถาวร  (๒๕๕๐ภูเก็ต  พิมพ์ครั้งที่ ๙  ภูเก็ต : โครงการตำราและสื่อโรงเรียนสตรีภูเก็ต  ๑๗๒ หน้า

สงวน ศรีสุข  บรรณาธิการ  (๒๕๔๔)    วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ

            ภูมิปัญญา จังหวัดสตูล  กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร ๒๙๐ หน้า

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ (๒๕๓๔) เชิดชูเกียรติ สกุล ณ นคร และเฉ่ง เลิศกิจสมบูรณ์   ภูเก็ต :

                 องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ๒๓๒ หน้า

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ (๒๕๔๐)  ถลาง หมายเหตุ๔๐  ภูเก็ต : โรงพิมพ์กองทอง ๒๐๖ หน้า

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ (๒๕๔๔)  วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ

            ภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร ๓๘๓ หน้า

สำนักพระราชวัง (๒๕๓๘เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ภาคใต้ พ..๒๕๐๒  กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง

                แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน๗๑๑ หน้า

สุนทรี สังข์อยุทธ์ บรรณาธิการ  (๒๕๔๔)    วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ

            ภูมิปัญญา จังหวัดตรัง  กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร  ๓๑๖ หน้า

สุธรรม เดชดี  การต้อนรับ http://th.pattayadailynews.com  สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘

หลวงอุดมสมบัติ (จัน)  (๒๕๕๔จดหมายหลวงอุดมสมบัติ (ฉบับปรับปรุง) พิมพ์ครั้งที่ ๙ นนทบุรี:สำนักพิมพ์

                ศรีปัญญา  ๕๙๐ หน้า

วิษณุ เครืองาม นิติธรรม  http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/645099 สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน

                 ๒๕๕๘

เหล็ก  https://th.wikipedia.org/wiki สืบค้นเมื่อวันที่

                ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า บรรพชีวิน  http

                ://www.dmr.go.th/thungwa/main.php?

                filename=fossil1                  สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕

                มิถุนายน ๒๕๕๘

150-teaching-methods   http://teaching.uncc.

                edu/learning-resources/articles-book

                s/best-practice/instructional-methods, serching at June 25th, 2015. เครื่องบิน มณฑลภูเก็จ

 ***

ประวัติศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 03 สิงหาคม 2015 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้143
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1238
mod_vvisit_counterทั้งหมด10732099