Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow ทอดผ้ากฐินที่เกสรียาอินเดีย
ทอดผ้ากฐินที่เกสรียาอินเดีย PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์   
จันทร์, 27 สิงหาคม 2012

พุทธบริษัทภูเก็จแก้ว เชิญชวนผู้ศรัทธาทอดผ้ากฐิน ณ วัดเกสริยา ไวสาลี (VESHALI) อินเดีย

ฝากรูป 

มหาสถูปเกสรียา

 

กองโบราณคดีอินเดียได้ขุดค้นเนินดินใหญ่พบพระมหาสถูปโบราณที่มีความเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1,400 ฟุต สูงถึง 51 ฟุต (เดิมอาจสูงถึง 70 ฟุต) ซึ่งทำให้มหาสถูปโบราณที่ค้นพบใหม่นี้กลายเป็นมหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองและพระมหาสถูปบุโรพุทโธ ซึ่งทำให้มีผู้สันนิษฐานว่ามหาสถูปแห่งเกสริยานี้เป็นต้นแบบของมหาสถูปทั้งสอง และนอกจากนี้ ในบริเวณไม่ไกลจากมหาสถูปแห่งเกสริยา นักโบราณคดีอินเดียยังพบเสาหินพระเจ้าอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดที่ยังคงเหลือหัวสิงห์บนยอดเสา เช่นเดียวกับที่เมืองเวสาลีอีกด้วย
.
โดยมหาสถูปแห่งเกสเรียเป็นสถูปเดียวกับที่ปรากฏในบันทึกของพระถังซำจั๋ง ที่เคยจาริกแสวงบุญมายังสถานที่แห่งนี้ ท่านได้กล่าวไว้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของพระมหาสถูปที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธองค์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่ชาววัชชีเมืองไวสาลีที่ตามมาส่งเสด็จพระพุทธองค์เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะเสด็จไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน
(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2)

.

... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทังสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจี่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้นเท้าหัวลาน ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...
(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%99)

... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทังสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจี่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้นเท้าหัวลาน ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...  (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%99)

 

ภาพหน้า FACEBOOK 

 

 

 

 

ฝากรูป 

พระวิสุทธิธรรมคณี (พระมหาสมใจ ชินปุตฺโต) เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต ประธานคณะสงฆ์ทอดกฐินวัดเกสรียา วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

พระวิสุทธิธรรมคณี เกิด พ.ศ.๒๔๙๓, ๓๗ พรรษา, ป.ธ. ๕, น.ธ. เอก, ศศ.บ. จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

 

 

 

 

"อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่าง ๆ ด้วยคันนาสั้น ๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไปหรือไม่? ...เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?"
.
พระอานนท์ตอบว่า "สามารถ พระพุทธเจ้าข้า."

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ กลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า...

.
..."ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า."

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมิกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
.
.

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้ง ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อ ได้โดยกว้างขวาง ...จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ" (http://www.waterthailand.com/index.php?lite=article&qid=41992749)

 

 

 

 

ฝากรูป 

.

.

ฝากรูป
.
.
ฝากรูป
ฝากรูป

 

 

 

ฝากรูป
นางวิสาขา เมืองสาวัตถี
.
ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้
.
นางวิสาขาถวายผ้ากฐินเป็นครั้งแรกฅนแรก
การทอดกฐินในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เพราะเป็นช่วงที่พระพุทธองค์ทรงประทานกำหนดกาลไว้ กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%99)
.
 กฐินเป็นกาลทานที่มีระยะเวลาเพียงเดือนเดียว และวัดหนึ่ง ๆ จะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นพระบรมพุทธานุญาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระองค์เอง กฐินจึงมีอานิสงส์มาก ต้องมีการเตรียมแจ้งข่าวแก่หมู่ญาติหรือสหสามัคคีร่วมกัน ผู้ถวายกฐินต้องรู้พระวินัย ต้องกระทำพิธีถวายผ้ากฐินในพระอุโบสถ โดยสงฆ์ทุกรูปต้องญัตติ ต้องตั้งเจตนาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปในวัดนั้น จึงจะได้อานิสงส์แก่ผู้ถวายโดยแท้จริง(http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-18-47)

.

    • Sommai Pinphutsin ๒๐ - ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ คณะพุทธบริษัทภูเก็จแก้ว ขอเชิญร่วมทอดกฐิน ณ วัดไทยเกสรียา อินเดีย วันพุธที่ ๒๑ พย. ร่วมพิธีอุปสมบทนายปริญญ์ ชิตมาตย์ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันเสาร์ที่ ๒๔ พย. ถวายผ้ากฐิน ณ วัดไทยเกสรียา

ภูเก็จแก้วนำผ้ากฐินไปทอด ณ วัดเกสรียา เมืองไวสาลี วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานคณะสงฆ์ในการทอดผ้ากฐินในครั้งนี้

พุทธกาล พระภิกษุเก็บผ้าห่อศพได้เพียงชิ้นเล็กชิ้นน้อย ตลอดหน้าฝนจะออกไปเก็บหาเศษผ้าก็ไปได้ด้วยความยากลำบาก พระวินัย ๒๒๗ ข้อก็ไม่อนุญาตให้ทอผ้าขึ้นใช้เป็นไตรจีวรได้ สิ้นหน้าฝน(พรรษา)ก็เข้าสู่หน้าหนาว ผ้าไตรจีวรที่ครองอยู่อย่างไม่สมบูรณ์ จะมิอาจปกป้องความหนาวเหน็บที่มาเยือนนานสิ้นฤดูกาล ผู้ใดถวายผ้ากฐินแด่สงฆ์ผู้ทรงศีล อานิสงส์แห่งกุศลสุขย่อมเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ด้วยพุทธานุภาพ 
***
มนุษยศาสตร์ จริยธรรม
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 27 สิงหาคม 2012 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1734
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1738
mod_vvisit_counterทั้งหมด10708217