Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
อนุสรณ์สถานเมืองถลาง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ   
อาทิตย์, 08 กรกฎาคม 2012

ฝากรูป

อัญเชิญธง FRIENSHIP FOR PEACE '2012

อัญเชิญธง พ.ศ.๒๕๕๕

 

 

ฝากรูป

 

 

ฝากรูป 

อนุสรณ์สถานเมืองถลาง 

  

ท้าวเทพกระษัตรี  (ท่านผู้หญิงจัน)
พญาถลางเทียน  (พญาเพชรคีรีศรีพิไชยสงครามรามคำแหง) เมืองภูเก็จ พญาทุกรราชเทียน (จดหมายพญาเทียน)
 

ฝากรูป 

 

 

แนวคิดในการสร้างอนุสรณ์สถานเมืองถลาง PHUKET HISTORICAL PARK 

ฉบับปรับปรุง ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๔

อนุสรณ์สถานเมืองถลาง ฉบับกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๔  

 

§                                                          July 4 at 9:12pm · LikeUnlike · 3§                                                          Hicky Kapook อาจารย์ค่ะส่วนที่ ๔ แหล่งเรียนรู้ จะมีประวัติผลงาน-ดีเด่นของท่านปราชญ์ทางวัฒนธรรมภูเก็จไว้ด้วยไหมค่ะ คือดิฉันมองในส่วนของผู้ที่เคยรับความรู้เหล่านั้นแล้วคิดว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความรู้ความเข้าใจและให้คนรุ่นใหม่หันมาอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้น และเป็นบุคคลที่มีคนหลายรุ่นในปัจจุบันเคยได้พบเจอและเป็นลูกศิษย์ลูกหากันมาแล้ว Thursday at 9:52am · UnlikeLike · 1§                                                          Chaiwut Poungsuwan ท่านอาจารย์สมหมายครับ ผมสนใจ ชาวต่างประเทศ ในยุคสมัย ที่มีส่วนร่วมสนับสนุนส่งเสริม ทั้งทางตรงทางอ้อม สร้างบ้านแปงเมืองภูเก็ต เช่น กัปตันเอ็ดเวิร์ด โทมัส ไมล์ ชาวออสเตรเลีย หรือ คนอื่นๆ เพราะ เชื่อว่ามีลูกหลานเหลนโหลน ของ บุคคลเหล่านี้ ที่ทราบว่า บรรพบุรุษพวกเขา ทำอะไรบ้าง อย่างน้อยที่สุด ในอนาคต อาจจะได้แนวร่วมชาวต่างประเทศมาเพิ่ม เช่น ที่ผ่านมา ทราบว่า มีลูกหลาน นายเหมืองชาวต่างประเทศ เอาซีดี ที่แปลงจากฟิล์มภาพยนตร์ ของบรรพบุรุษ มามอบให้พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว Thursday at 10:47am · UnlikeLike · 1§                                                          Hicky Kapook เพิ่มอีกนิดค่ะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น Thursday at 11:02am · UnlikeLike · 1§                                                          Hicky Kapook  ตัวอย่างชุมชนพุทธ-มุสลิม และศาสนาอื่นๆที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติในภูเก็ต สองวิถีชีวิตเขามีการทำกิจกรรมและอยุ่ร่วมกันอย่างไรได้อย่างมีมิตรไมตรี เพราะมีทีนี่มีหลากหลายเชื้อชาติที่มาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยโบราณ กับสมัยใหม่ที่ฝรั่งมาตั้งถิ่นฐานทำธุรกิจที่นี่ เรา(ในฐานะคนภูเก็ต) รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ ใช้ทรัพยากรของเราแผ่นนี้ไปสร้างความร่ำรวยให้ตัวเอง แต่อย่าปล่อยให้พวกเขาขุดความเป็นมนุษย์ของเราไป ต้องช่วยกันรักษาแผ่นดิน ธรรมชาติ และทรัพยากรให้ยั่งยืนเผื่อถึงลูกหลานเหลนตามเจตนาที่จะสร้างอนุสาวรีย์นี้ให้คนรุ่นหลังได้ตระหนัก ถ้าเราร่วมกันทำลายตั้งแต่สมัยเราแล้วอนาคตข้างที่จะเหลืออะไรให้ลูกหลาน

 

 

กำหนดคุณสมบัติ(TOR)การใช้พื้นที่ในอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก 

รายชื่อคณะกรรมการพิจารณาแบบอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก

.      รศ.ดร. อริยา อรุณินท์                                                           ประธานกรรมการหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.     นายชัยรัตน์ สุระจรัส                                                                  กรรมการ

สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย .     ว่าที่ร้อยตรี ไตรบัญญัติ จริยะเลอพงษ์                                 กรรมการรองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต

.     นายอนุกูล แสงทองฉาย                                                                กรรมการ

โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต .     นายเตชิต วณิชยากานต์                                                            กรรมการกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ

.      นายมงคล ชนินทรสงขลา                                                                กรรมการ

รองประธานฝ่ายวิชาชีพสมาคมสถาปนิกสยาม .     นายชาญ วงศ์สัตยนนท์                                                                      กรรมการรองประธานมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร

.      นายดนัย ยุคะลัง                                                                           กรรมการสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทย .      นายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์                                                            กรรมการและเลขานุการ

ประธานกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ

 

ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๐ ๑๕.๐๐ น. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางพิจารณาลงคะแนนผู้เข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น ๑๒ ราย คัดเลือกเหลือเพียง

๕ ราย ได้แก่

.      ๕๒-๙๐๓ สานสำนึกได้รับคะแนน ๙ คะแนน

.     ๕๒-๙๐๙ รา-ยา” (ไม่เสนองาน)

.     ๕๒-๙๐๔ ความสัมพันธ์

.     ๕๒-๙๑๙ ที่มาของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา

.     ๕๒-๙๑๖ Core Zone/Semi Public Zone/ Public Zone”ได้รับ ๕ คะแนน

.      ๕๒-๙๑๘-สามัคคี กลมเกลียว

.     ๕๒-๙๑๘- “PROUND”

.      ๕๒-๙๐๕ “The Scene of Memorial ได้รับ ๖ คะแนน.      ๕๒-๙๐๒ “The Retrieval” ได้รับ ๑๐ คะแนน

๑๐.   ๕๒-๙๑๒กึกก้องเกริกไกล

๑๑.  ๕๒-๙๑๑ การเชื่อมต่อ ได้รับ ๑๙ คะแนน

ผู้เข้าประกวดได้รับเงิน ๓๐,๐๐๐บาท เพื่อทำโมเดล ในอัตราส่วน ๑: ๕๐๐คณะอนุกรรมการส่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และทางท่องเที่ยว

ภายในสิ้นเดือนมกราคม ๒๕๕๓ ให้กับผู้เข้ารอบทั้ง ๕ ผู้เข้ารอบทั้ง ๕ ทำแบบเสนอภายในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

พิจารณาเหลือเพียงรายเดียวในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

อนุสรณ์สถานเมืองถลาง (PHUKET HISTORICAL PARK)

1. ความมุ่งหมาย

๑.๑ เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรและวีรบรรพชนเมืองถลาง

๑.๒ เพื่อเป็นการสืบทอดการเสียสละในการปกป้องรักษาแผ่นดินของบรรพชนต่อเหล่าอนุชน

๑.๓ เพื่อรักษาพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของเมืองถลาง ด้วยการอนุรักษ์ รักษา และพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว

ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
เพื่อสร้างจิตสำนึกในมาตุภูมิอันยังความสงบสันติสุขของแผ่นดิน

๑.๔ เพื่อสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางด้าน

วัฒนธรรมสถาน กระตุ้นจริยธรรมในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและการประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว

2. แนวความคิดในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นอนุสรณ์สถานเมืองถลาง (PHUKET HISTORICAL PARK)

๒.๑ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของบรรพวีรชนและวีรสตรีของชาติในการปกป้องรักษาแผ่นดิน

๒.๒ เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์

๒.๓ มีกิจกรรมที่สามารถหารายได้เพื่อสามารถเลี้ยงตัวเองได้ไม่ต้องอาศัยพึ่งพางบประมาณในการบำรุงรักษา

๒.๔ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ช่วยแบ่งเบาภาระของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การให้ความรู้ และบันเทิง สนุกสนานแก่ผู้เข้าชม 

3.  ข้อมูลเสนอให้ผู้ออกแบบอนุสรณ์สถานเมืองถลาง (PHUKET HISTORICAL PARK) เพื่อให้อนุสรณ์สถานเมืองถลางเป็นไปตามแนวดังกล่าวข้างต้น การออกแบบทางสถาปัตยกรรมจึงต้อง มีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นที่ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็น ประกอบด้วยสาระและบันเทิง

แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน

. พื้นที่ส่วนที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชม ได้แก่

๑.๑ บริเวณอนุสาวรีย์ มีวีรชน ๙ คน ซึ่งออกแบบให้มีลักษณะโดดเด่น มีเอกลักษณ์

๑.๒ ลานสักการะ สำหรับพิธีการเฉลิมฉลองวันถลางชนะศึกที่ ๑๓ มีนาคมของทุกปี

๑.๓ บริเวณเสาธง แสดงถึงวิวัฒนาการของธงไทย เสาธงนานาชาติ(ในกรณีที่เข้าเยี่ยมพื้นที่) เสาธงของ หน่วยงานองค์กรส่วนท้องถิ่น(ที่เข้าร่วมกิจกรรมเฉพาะกิจ) และเสาธงมิตรภาพแห่งสันติสุข (Friendship for Peace)

. พื้นที่ส่วนที่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าชม แบ่งเป็นพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่

.๑ พิพิธภัณฑ์ในลักษณะที่มีชีวิต โดยจำลอง สร้างหมู่บ้านในยุคประวัติศาสตร์ รวมถึงรนแม่หม้าเสี้ย

รนท้าวเทพกระษัตรี แสดงวิถีชีวิตที่มีชีวิต มีอาคารคลังภัณฑ์(ที่มีการจัดเก็บภัณฑ์เป็นระบบ)กลมกลืนกับสถาปัตย์อื่นร้านตีเหล็ก

ร้านเครื่องปั้นดินเผา ร้านขายของ เป็นต้น ซึ่งสามารถจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวเป็นของที่ระลึก, ร้านค้า มีสถาปัตยกรรม ในยุคสมัยท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร สินค้าที่ขายเป็นของที่ระลึก ที่ทำจากวัสดุท้องถิ่นในยุค

นั้น ได้แก่ แร่ดีบุก งานจักสานต่าง ๆ เสื้อผ้าที่มีการออกแบบในยุคสมัย (รวมถึงผู้ขายแต่งกายด้วยเสื้อผ้าเหล่านั้น)

.แสดงบรรยากาศในการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ การทำเหมืองแร่ โรงถลุงแร่ ในยุคสมัยนั้น . การจำลองสนามรบ ได้แก่ ค่ายปากพระ, นบนางดัก, โรงสะสมอาวุธ, โบสถ์วัดพระนางสร้าง, อู่ตะเภา, ค่ายพม่า ๒ ค่าย ได้แก่ ค่ายโคกพม่า และค่ายนาบ้านกลาง

..๓ มีความเคลื่อนไหวได้ ในบางส่วนที่ก่อความสนุกสนานให้กับผู้เข้าชม เช่น บริเวณสนามรบ มีกิจกรรม ได้แก่ การวางแผน (เช่นแผนที่แสดงความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่าง ๆ ) การเตรียมความพร้อม และดำเนินการสู้รบ ให้มีความต่อเนื่อง และความเร้าใจ สนุกสนาน

หมายเหตุ :- บางส่วนอาจนำเสนอ ให้เห็นภาพต่าง ๆ ด้วยเอนิเมชั่นหรือนวเทคโนโลยี่ที่เสนอได้ตรงเป้าหมาย. เวทีการแสดงกลางแจ้ง ที่สามารถจุคนดูได้ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ คน มีฉากจัดการแสดง ด้วยแสง สี เสียง ที่ตื่นตาตื่นใจ และมีความเป็นเกาะภูเก็ตเข้ามาเกี่ยวข้องในการแสดง ได้แก่น้ำทะเล การต่อสู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การใช้นบนางดัก เป็นต้น

.  พื้นที่ส่วนบริการแก่นักท่องเที่ยว (หรือผู้เข้าชมอนุสรณ์สถาน)

. ศูนย์อาหาร หรือ Food Court มีความหลากหลายของอาหารนานาชนิดที่เป็นแบบโบราณจนถึง สากล ได้แก่ อาหารไทย อาทิเช่น ขนมจีน แกงต่าง ๆ, อาหารภูเก็ต ทั้งคาวและหวาน, อาหารมุสลิม, อาหารยุโรป และเอเซีย ที่เป็นที่นิยม อาทิเช่น อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เป็นต้น โดยมีสถาปัตยกรรมและการตกแต่งของซุ้มอาหารนั้นตามชนิดอาหาร เช่น เรือนอาหารไทย เรือนอาหารมุสลิม เรือนอาหารชิโนโปรตุเกส เรือนอาหาร อิตาลี ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี จีน

.๒ ร้านจำหน่ายของที่ระลึกต่าง

.  พื้นที่ส่วนที่เป็นแหล่งการเรียนรู้      

                     .๑ ศูนย์ข้อมูลพัฒนาการเมืองถลางภูเก็จและภูเก็ต หอจดหมายเหตุ(ภาพ แผนที่และลายลักษณ์)

                     .๒ ภูมิสถาปัตย์ ที่ใช้พันธุ์พืชท้องถิ่นเป็นหลักอยู่โดยรอบบริเวณ รวมถึงถึงพันธุ์พืชที่มีประโยชน์ใช้ใน การรักษาด้วยภูมิปัญญาของหมอชาวบ้านในยุคประวัติศาสตร์ และใช้ในยามสงคราม

                     . มีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้สำหรับราชวงศ์ แขกบ้านแขกเมืองที่สำคัญจากต่างประเทศ เป็นต้น

  4. ความเป็นเอกภาพและสัมพันธภาพ

ส่วนการต้อนรับ

ส่วนจำหน่ายบัตร และทางเข้า โดยแยกส่วนระหว่างเสียค่าธรรมเนียมและไม่เสียค่าธรรมเนียม

ส่วนรักษาความปลอดภัย

สำนักงานบริหาร

ลานจอดยานพาหนะ

การสัญจรภายในอนุสรณ์สถาน ด้วยยานพาหนะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รถรับส่งด้วยรถไฟฟ้า เรือ เป็นต้น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความสะดวกของ ผู้สูงอายุ และคนพิการ

การบำรุงรักษา คำนึงวัสดุที่ใช้เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาด ซ่อมแซม บำรุงรักษา

เส้นทางการเข้าชมเพื่อให้มีความต่อเนื่องและความสัมพันธ์ของเนื้อหาและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์

การออกแบบให้คำนึงถึงการบริหารการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการหารายได้ในการบำรุง รักษา การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

งบประมาณไม่ควรเกิน 300 ล้านบาท

5. การบริหารการจัดการ

ให้มีอนุกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อกำหนดนโยบายให้บริษัทเอกชนเช่าดำเนินการ หรือหารายได้คืนให้กับรัฐตามข้อกำหนด เพื่อทำนุบำรุงรักษา  เพื่อการศึกษาวิจัยให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตชีวา

 

ชาญ วงศ์สัตยานนท์

รองประธานมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

สรุปจากการประชุมเดือนธันวาคม ๒๕๕๒
-มกราคม ๒๕๕๓

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

ประธานกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ

ปรับปรุงเมื่อ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๔

 

 

***

หมายเหตุกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ

มห.ภูเก็จ 325  326  327

ประวัติศาสตร์ ข้อมูลภูเก็จ PHUKETDATA

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 13 กุมภาพันธ์ 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้316
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1238
mod_vvisit_counterทั้งหมด10732273