Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow PHUKETDATA arrow การจัดการ ภัณฑ์ ใน พมร.ภูเก็ต
การจัดการ ภัณฑ์ ใน พมร.ภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 15 มิถุนายน 2012
ฝากรูป 

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ อดีตผู้จัดการเสนอให้เทศบาลเมืองกะทู้ทบทวนการจัดการภัณฑ์ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต ๑๘ กันยายน ๒๕๔๔ ให้มีมัณฑนากรออกแบบนิทรรศการในอาคารอังมอเหลาตาม Story Board

ฝากรูป 

ฝากรูป 

ฝากรูป 

ฝากรูป 

 

บ้านเลขที่ ๑๗๕ หมู่ ๑ บ้านหินรุ่ย

ตำบลเทพกระษัตรี ถนนเทพกระษัตรี

อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐

 

๑๘ กันยายน ๒๕๕๔

 

เรื่อง ทบทวนการดำเนินงานแผนงาน ๔ การจัดการ “ภัณฑ์” ใน พมร.ภูเก็ต

เรียน นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกะทู้

อ้างถึง หนังสือเทศบาลเมืองกะทู้ ที่ ลงวันที่

 

สิ่งที่ส่งมาด้วย เอกสาร พมร.จห. จำนวน ๑ ชุด

เอกสาร มห.ภูเก็จ จำนวน ๑ ชุด

ด้วยข้าพเจ้าได้รับหนังสือเทศบาลเมืองกะทู้ดังอ้างถึงให้ข้าพเจ้าเคลื่อนย้าย “ภัณฑ์” ออก จากอาคาร “อังมอเหลานายหัวเหมือง” ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตให้เสร็จสิ้นในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ นั้น เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเสนอเทศบาลเมืองกะทู้ได้พิจารณาทบทวนการดำเนินงาน แผนงาน ๔ การจัดการ “ภัณฑ์” ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต ดังสรุปข้อมูลที่พึงพิจารณาทบทวน ดังนี้

๑. คำว่า “ภัณฑ์” ในแผนงาน ๔ ของเทศบาลเมืองกะทู้หมายถึงสิ่งของวัตถุทุกชนิดที่นำมา จัดแสดงตาม STORY BOARD เพื่อเป็นสื่อทางการเรียนรู้และเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ทม.กะทู้ ดำเนินการเคลื่อนย้ายเข้าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ เพื่อรอการจัดทำ TERM OF REFERENCES (TOR.) ในวงเงินประมาณ ๑๕ ล้านบาท ให้บริษัทผู้รับเหมา(ที่เรียกว่าที่ปรึกษา)จะต้องจัด “มัณฑนกร” เข้ามาจัด “ภัณฑ์” ให้เป็นที่เร้าใจ น่าสนใจ และน่าติดตามในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต

๒. เทศบาลเมืองกะทู้จ้างข้าพเจ้า(นายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์) เป็นผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓

๒.๑ ข้าพเจ้ามีภาระงานตามสัญญาจ้างเลขที่ กศ.2/2553(พมร.จห.๑๓๐๒) ข้อ ๕ (พมร.จห.๑๓๐๒/๒) ระบุไว้ว่าผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่มีหน้าที่บริหารงานพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ได้แก่

๒.๑.๑ งานแผนและนโยบายเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่

๒.๑.๒ งานวิเทศสัมพันธ์ ได้แก่งานต่างประเทศ

๒.๑.๓ งานประชาสัมพันธ์

๒.๑.๔ งานบรรยายนำชมเป็นภาษาต่างประเทศ

๒.๑.๕ งานการตลาดได้แก่การประสานงานบริษัทนำเที่ยว

๒.๑.๖ งานวิชาการได้แก่งานศึกษาค้นคว้าและวิจัย

๒.๑.๗ งานจัดทำและตรวจสอบทะเบียน

๒.๑.๘ งานจัดทำระบบคลังข้อมูล

๒.๑.๙ งานการสงวนรักษาวัตถุ

๒.๑.๑๐ งานการบริการชุมชน

๒.๑.๑๑ งานควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแลในการปฏิบัติงานของ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่

๒.๑.๑๒ งานแนะนำการทำงานในการปฏิบัติงานของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่

๒.๑.๑๓ งานแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานของพิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่

๒.๒ ข้าพเจ้าจะต้องปฎิบัติงาน ๒.๑ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสร้าง พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ คือเป็นสื่อ(จห.๙๗๔)ทางการเรียนรู้(มห.ภูเก็จ ๕ และ จห๙๗๕)และเป็นทรัพยากร ทางการท่องเที่ยว(มห.ภูเก็จ ๘) จึงต้องคำนึงถึงผู้รับสารคือครูบาอาจารย์กับนักเรียนนิสิตนักศึกษา และ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยกับชาวต่างชาติ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ได้กำหนดกลุ่มผู้รับสารและนักท่องเที่ยว จำแนก (จห.๙๗๔ )ได้ดังนี้

๒.๒.๑ นักเรียนต่ำกว่า ป.๒ ลงมา

๒.๒.๒ นักเรียนนิสิตนักศึกษา

๒.๒.๓ นักวิจัย(นักวิจัยทั่วไป ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก)

๒.๒.๔ นักท่องเที่ยวชาวไทย

๒.๒.๕ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

๒.๒.๖ นักท่องเที่ยวกิตติมศักดิ์

๒.๒.๗ (พระราชอาคันตุกะ)

๒.๓ ข้าพเจ้าจะต้องปฏิบัติงานตามแผนงานที่เทศบาลเมืองกะทู้ได้เคยกำหนดไว้ โดยให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่มี ๕ แผนงาน (จห.๙๔๖, จห.๑๐๑๗, จห.๑๐๔๘) คือ

๒.๓.๑ แผนงาน ๑ การสร้างอาคาร “อังมอเหลา” เสร็จ พ.ศ.๒๕๕๐

๒.๓.๒ แผนงาน ๒ การจัดแบ่งห้องนิทรรศการ เสร็จ พ.ศ.๒๕๕๑

๒.๓.๓ แผนงาน ๓ การจัดการบริหาร พ.ศ.๒๕๕๒-

๒.๓.๔ แผนงาน ๔ การจัดการ “ภัณฑ์” พ.ศ.๒๕๕๔

๒.๓.๕ แผนงาน ๕ พิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ (ยังไม่ได้กำหนด)

เทศบาลเมืองกะทู้จ้างข้าพเจ้าเข้ามาปฏิบัติงานในช่วงเวลาดำเนินการตาม แผนงาน ๓ คือการจัดการบริหารงานพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่เพื่อดำเนินการร่างโครงสร้างการบริหารพิพิธภัณฑ์ฯ และเตรียมจัดหาวัตถุครุภัณฑ์เพื่อการจัดทำ TERM OF REFERENCES (TOR.) ให้สามารถดำเนินงานได้ตาม แผนงาน ๔ (จห.๑๒๗๘ - จห.๑๒๗๘/๖) และจัดเตรียมวางแผนกราบบังคมทูล(จห.๑๐๔๘)ประกอบพิธีเปิด พิพิธภัณฑ์ในแผนงาน ๕

๒.๔ ข้าพเจ้าต้องปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างซึ่งมีภาระงานดังข้อ ๒.๑ และข้อ ๒.๓ ที่จะต้องเอื้องานทุกส่วนถึงผู้รับสารและนักท่องเที่ยวดังข้อ ๒.๒ กอปรกับการที่นายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณ อดีตปลัดเทศบาลเมืองกะทู้ได้ห้ามมิให้บุคลากรในสังกัดเทศบาลเมืองกะทู้ทุกคนไปช่วยเหลือการปฏิบัติงาน ของข้าพเจ้า นายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณประสงค์ให้ข้าพเจ้าปฏิบัติงานข้อ ๒.๑ ข้อ ๒.๒ และข้อ ๒.๓ เพียง ลำพังคนเดียวตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ข้าพเจ้าจึงต้องบูรณาการงานทั้งหมดของพิพิธภัณฑ์ไว้ใน http://www.phuketdata.net ข้าพเจ้าต้องจ่ายเงินดำเนินการติดตั้งจานรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตด้วยเงินทุน ของข้าพเจ้า ลงทุนด้วยเงินส่วนตัวจ้างพนักงานอินเทอร์เน็ต ลงทุนจัดซื้ออุปกรณ์ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ลงทุนจัดครุภัณฑ์ตั้งสำนักงานพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ให้สามารถดำเนินงานได้เป็นเงินมากกว่า ๑ ล้านบาท เมื่อเห็นว่าสัญญาณเสถียรมั่นคงแล้ว จึงมอบให้เป็นสมบัติของเทศบาลเมืองกะทู้ แต่แล้ว นายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณก็สั่งปลดจานดาวเทียมออกไปจากพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่โดยอ้างว่าเทศบาลฯต้องจ่ายเงินแพง ข้าพเจ้าจึงต้องใช้เวลาในช่วงเย็นและกลางคืนปฏิบัติงานเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ตที่ร้านค้าเอกชนใน เทศบาลนครภูเก็ตเพื่อรักษางานวิชาการและบริการงานวิชาการของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ให้แก่สาธารณชน

๒.๕ จากการที่ข้าพเจ้าต้องปฏิบัติเพียงลำพังคนเดียวแทนคนถึง ๑๐ คน เมื่อ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่มีแขกเข้ามาเยี่ยมชม เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าต้องขอเชิญผู้มีความรู้ความสามารถในด้าน การเหมืองแร่และการท่องเที่ยวเข้ามาช่วยเหลืองานพิพิธภัณฑ์ฯ เช่นนางจรูญรัตน์ ตัณฑวณิช อาจารย์ฤดี ภูมิภูถาวร (จห.๘๘๙ (อ้างบุคคล)) และเห็นความอุตสาหะของแขกที่ต้องขับรถผ่านถนนขรุขระ เป็นหลุม เป็นบ่อ เป็นระยะทางมากกว่า ๕ กิโลเมตรเข้าป่ามาถึงพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ได้ ข้าพเจ้าและอาสาสมัคร จึงเร่งหยิบยืมสิ่งของวัตถุจากเอกชนมาแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ วัตถุสิ่งของได้จำแนก(จห.๑๐๔๘) เป็นวัตถุ(OB-วถ), หนังสือ(BK-นส), จดหมายเหตุลายลักษณ์(AR-จห), รูปภาพเป็นกลุ่ม (PHO-ภาพ), รูปภาพเดี่ยว(PIC-รูป), เสียง(CD-ซีดี), แผนที่(MAP-ผท) ทุกรายการให้มีหน่วยนับอิสระ เป็นประชากรสื่อ ทางการเรียนรู้และ/หรือทรัพยากรทางการท่องเที่ยว เช่นรูปภาพนับเป็น ๑ กลุ่มบ้าง(มห.ภูเก็จ ๑๖๘ - ๑๖๙, พมร.จห.๘๙๘) นับเป็น ๑ ภาพบ้าง(พมร.จห.๘๘๙) จดหมายเหตุนับเป็นแผ่น หนังสือนับเป็นเล่ม วัตถุนับเป็น ๑ ชิ้น เงินตราและเหรียญนับเป็น ๑ ใบหรือ ๑ เหรียญ วัตถุสิ่งของที่ยืมมาเป็นจำนวนมาก ประมาณ ๘๐,๐๐๐ หน่วย ข้าพเจ้าได้ตกลงกับเจ้าของวัตถุที่ให้ยืมไว้เป็นหลักการทั่ว ๆ ไป คือ ถ้าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ สามารถบันทึกลงทะเบียนไว้ในสมุดทะเบียนแล้ว และไม่ได้หมายเหตุว่าให้ยืม ให้นับเป็นสื่อและ/หรือ ทรัพยากรของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ซึ่งข้าพเจ้าได้จัดระบบของวัตถุทุกประเภท (จห.๑๐๑๗) กำหนดให้ จัดทำทะเบียนประชากรวัตถุทุกหน่วยลงในสมุดทะเบียน และคิดค้นสร้างสรรค์ระบบการลงทะเบียน บันทึกไว้ในโปรแกรมสำเร็จรูป เช่นภาพ(PIC) บันทึกไว้ใน UPIC.ME กลุ่มภาพ (PHO) บันทึกไว้ใน GMAIL วิดีทัศน์บันทึกไว้ใน GMAIL เสียงขนาดไม่เกิน ๔ MB. เก็บไว้ใน CHARYEN ทั้งหมดนี้สามารถใช้ URL เชื่อมโยง(LINK)เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตใน
phuketdata.net เพื่อการสืบค้น และส่งสารทางอีเมล์ได้ สะดวกจนเป็นต้นแบบของงานการจดหมายเหตุได้ใช้เป็นแบบพัฒนางานในปัจจุบันนี้ เมื่อค้นพบวิธีการ ดำเนินงานจึงได้สรุปไว้เป็นแนวทางนิเทศงานและแจ้งเทศบาลเมืองกะทู้ให้พิจารณาส่งบุคลากรเข้ารับ การอบรม (พมร.จห.๑๒๔๔, ๑๒๔๗)

๒.๖ การหยิบยืมวัตถุสิ่งของเข้ามาจำนวนมากเป็นปัญหาในการจัดวาง ข้าพเจ้าจึงเร่ง จัดทำแผนภูมิเค้าโครงเรื่อง(Story Board) (จห.๔๗-๔๘) ส่งวัตถุสิ่งของไปไว้ ณ ตำแหน่งใน Story Board ข้าพเจ้าไม่สามารถดำเนินการได้เพียงคนเดียว จึงได้บันทึกร้องขอให้เทศบาลเมืองกะทู้ส่งคนมาช่วย เช่น

๒.๖.๑ ขอคนงานจัดทำทะเบียนแร่ในถุง(จห.๑๐๒๕)

๒.๖.๒ ขอคนงานจัดทำทะเบียนจดหมายเหตุลายลักษณ์(๑๐๒๙)

๒.๖.๓ ขอคนงานจัดทำทะเบียนหมายเหตุภาพ(จห.๑๐๓๐)

๒.๖.๔ ขอคนงานจัดทำทะเบียนหมายเหตุแผนที่ (จห.๑๐๓๑)

๒.๖.๕ ขอคนงานทำความสะอาดถนน (จห.๑๐๓๒)

๒.๖.๖ ขอนักพัฒนาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต(จห.๑๐๓๓)

๒.๖.๗ ขอคนงานจัดเรียงดรรชนี (จห.๑๐๓๕)

๒.๖.๘ ขอคนงานตกแต่งสวนเฉลิมพระเกียรติ(จห.๑๒๕๐)

๒.๖.๙ ขอคนงานตกแต่งหญ้ารอบอาคารพิพิธภัณฑ์(จห.๑๒๗๔, จห.๑๒๔๐)

๒.๖.๑๐ นักประชาสัมพันธ์ (จห.๑๐๒๖)

๒.๖.๑๑ นักวิเทศสัมพันธ์ (จห.๑๐๒๐)

๒.๖.๑๒ นักกิจกรรมการเรียนรู้ (จห.๑๐๒๐)

๒.๖.๑๓ นักการตลาดทางการท่องเที่ยว (จห.๑๐๒๐)

๒.๖.๑๔ ขอยามประจำพิพิธภัณฑ์ (จห.๑๒๔๑)

๒.๖.๑๕ ขอ ผช.บรรณารักษ์ (จห.๑๒๔๔)

๒.๖.๑๖ ขอ ผช.ธุรการ (จห.๑๒๔๕)

๒.๖.๑๗ ขอ ผช.พัสดุครุภัณฑ์ (จห.๑๒๔๖)

๒.๖.๑๘ ขอ ผช.นักคอมพิวเตอร์ (จห.๑๒๔๗)

 

การร้องขอของข้าพเจ้าไม่ประสบผล เพราะเทศบาลเมืองกะทู้ไม่มีปฏิกิริยาย้อนกลับ แต่ประการใด ข้าพเจ้าก็ต้องปฏิบัติงานโดยไม่มีผู้ช่วยตลอดมาจนสิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๓ และงาน ฐานข้อมูล (DATABASE) ที่ได้คิดค้นไว้ก็ไม่สามารถส่งมอบงานให้เทศบาลเมืองกะทู้ได้จนถึงวันนี้

การคิดค้นสร้างสรรค์งานจนประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก อันเป็นต้นแบบฐานข้อมูล เหล่านี้ ล้วนเป็นการปฏิบัติงานหรือเป็นงานตามภาระหน้าที่ที่ได้ระบุไว้ในสัญญาจ้างฯ แม้เพียงเป็นส่วนหนึ่ง ของงานทั้งหมด แต่ก็ต้องอาศัยกำลังจากบุคลากรมาปฏิบัติงานต่อเนื่องนานนับเป็นปี ก็ไม่สามารถบันทึกงาน จำนวน ๘๐,๐๐๐ รายการได้หมด

นายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกะทู้ได้แสดงความมุ่งมั่นในการพัฒนา พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ตั้งแต่วันออกหาเสียง และเมื่อช่วงต้นการดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีฯ วันที่ ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเดินทางมาเยี่ยม พมร.ภูเก็ตก็ได้ย้ำจุดยืนในการพัฒนา พมร.ภูเก็ต และได้กรุณาข้าพเจ้าให้ปรึกษาหารือกับท่าน สส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ในการพัฒนา พมร.ภูเก็ต วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ ห้องวรรณวิเศษปัญญภูมิ ข้าพเจ้าได้รายงานการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่ภูเก็ต(พมร.จห.๙๗๔, ๙๗๕, ๑๐๔๘-๒)ให้ สส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์และนายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณ ทราบว่า “ภัณฑ์”(พมร.จห.๑๐๑๗/๒)ที่วางตั้งไว้(พมร.จห.889)ทั่วอาคารอังมอเหลานายหัวเหมืองเป็นสมบัติ ส่วนตัวของข้าพเจ้าที่ ข้าพเจ้าเคลื่อนย้ายมาจากห้องสมุดส่วนตัวและพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของข้าพเจ้ามามอบ ให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ข้าพเจ้าจะต้องลงทะเบียน “ภัณฑ์”(พมร.จห.๑๐๒๗/๒)ไว้รอมัณฑนากร(พมร.จห. ๑๐๒๐, ๑๐๔๘-๒)เตรียมจัดนิทรรศการแสดงในอาคารอังมอเหลานายหัวเหมืองตามแผนงาน ๔ ข้าพเจ้าจะ ขอบุคลากร (จห.๑๐๒๕, ๑๐๒๙, จห.๑๐๓๐, จห.๑๐๓๑, จห.๑๐๓๒, จห.๑๐๓๓, จห.๑๐๓๕, จห.๑๒๕๐, จห.๑๒๗๔, จห.๑๒๔๐, จห.๑๐๒๖, จห.๑๐๒๐, จห.๑๐, จห.๑๐๒๐, จห.๑๒๔๑, จห.๑๒๔๔) มาช่วยลงทะเบียน และได้สาธิตการลงทะเบียนวัตถุ-ภัณฑ์จำแนกเป็นวัตถุ-ภัณฑ์มีบัญชีตามรหัส(จห.๑๐๔๘)ซึ่งมีผู้บริจาคเป็นวัตถุ (OB-วถ); หนังสือ(BK-นส); จดหมายเหตุ ลายลักษณ์(AR-จห); รูปภาพเป็นกลุ่ม (PHO-ภาพ) เช่น PHO 11 อธิบดีกรมการศาสนา สด แดงเอียด(มห. ภูเก็จ 168), PHO 10 วอศ.ภูเก็ต (มห.ภูเก็จ 169) รูปภาพเดี่ยว ใช้ รหัส PIC-รูป; เสียง(CD-ซีดี); แผนที่(MAP-ผท) เป็นต้น รหัสทะเบียนเหล่านี้ต้องจัดทำต่อเนื่องไปสู่ตู้บัตรรายการ ซึ่งต้องจัดพิมพ์บัตรรายการจัดเรียงอักษรเป็นอนุกรม ๓ รายการ คือตู้บัตรรายการค้นหาหนังสือลายลักษณ์ ในห้องวรรณวิเศษปัญญภูมิ (THE INFORMATION CENTER) บัตรนามานุกรม เพื่อขอบคุณผู้บริจาคทรัพย์สิน ให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ และบัตรพจนสารอันดามันที่ต้องบันทึกเสียงด้วยสัทอักษร(PHONETIC) จัดแสดงใน ตู้บัตรรายการก่อนห้องโปท้องหง่อก่ากี่ (WELCOME to ARCADE) ข้าพเจ้าดำเนินการไม่ทัน จึงต้องมีหนังสือ ขอกำลังบุคลากร แม้เป็นคนงานชั่วคราวของเทศบาล เมืองกะทู้ให้มาช่วยจัดทำและเรียงบัตรอนุกรมเหล่านี้ (พมร.จห.๑๐๒๕, ๑๐๒๙, ๑๐๓๐, ๑๐๓๑ และ ๑๐๓๕) สส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์จึงได้ย้ำกับนายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณว่าให้ช่วยกันพัฒนาพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต จะปล่อยให้ข้าพเจ้าดำเนินงานทั้งหมดของ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่และจ่ายเงินส่วนตัวเพื่อพัฒนา พมร.ภูเก็ตเพียงลำพังคนเดียวนั้นไม่ได้ พิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่ไม่ได้เป็นสมบัติของนายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ไม่ได้เป็นสมบัติของ นายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ไม่ได้เป็นสมบัติของเทศบาลเมืองกะทู้ แต่พิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่เป็นหน้าเป็นตาของชาวภูเก็ต จึงขอให้นายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณ ช่วยจัดหาบุคลากรมาช่วยลง ทะเบียน “ภัณฑ์” ตามรหัส และส่งบุคลากรมาเรียนรู้และรับงานต่อจากข้าพเจ้า นายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณ ไม่ได้ดำเนินการมาจนสิ้นสุดสัญญาจ้างข้าพเจ้า “ภัณฑ์”ทั้งหมดที่ข้าพเจ้าช่วย เคลื่อนย้ายด้วยเงินส่วนตัว มาเตรียมมอบให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตประมาณ ๘๐,๐๐๐ หน่วยก็ค้างมาตั้งแต่วันนั้น ข้าพเจ้าได้ส่ง บันทึกข้อความถึงเทศบาลเมืองกะทู้ที่จะดำเนินการตามที่ สส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์เสนอแนะไว้และแจ้ง ด้วยวาจาในที่ประชุมถึง ๓ ครั้ง นายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณก็ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองแต่ประการใด เมื่อ ข้าพเจ้าได้รับหนังสือดังอ้างถึง จึงเข้าใจเพียงว่า เทศบาลเมืองกะทู้ได้เปลี่ยนทิศทางการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่ภูเก็ตไปโดยสิ้นเชิงแล้ว คือล้มเลิกการดำเนินงานแผนงาน ๔ อาคารอังมอเหลานายหัวเหมือง ก็ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์เพราะมีเพียงอาคาร(ตามแผนงาน ๑ ใช้งบประมาณ ๕๑ ล้านบาท) และมีการแบ่งห้องเตรียม จัดนิทรรศการ(ตามแผนงาน ๒ ใช้งบประมาณ ๒๒ ล้านบาท) ส่วนหัวใจของพิพิธภัณฑ์ที่จะกระทำให้อาคาร อังมอเหลานายหัวเหมืองเป็นพิพิธภัณฑ์คือแผนงาน ๔ คือการจัดการหา “ภัณฑ์” อันหลากหลายมาให้ มัณฑนากรจัดแสดงภัณฑ์นั้นต้องชะงัก

 

ข้าพเจ้าจึงแนบรายการภัณฑ์ คือ พมร.จห.๑๒๗๘ - พมร.จห.๑๒๗๘/๖ มาเพื่อเทศบาลเมือง กะทู้จะได้พิจารณาทบทวนจัดทำ TERM OF REFERENCES (TOR.) ให้สามารถจ้างมัณฑนากรดำเนินงาน ได้ตามแผนงาน ๔ ในโอกาสต่อไป

 

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาทบทวน

 

 

 

 

ขอแสดงความนับถือ

 

 

(นายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์)

ผู้เสนอข้อมูล

 

 

 ฝากรูป

บ้านเลขที่ ๑๗๕ หมู่ ๑ บ้านหินรุ่ย

ตำบลเทพกระษัตรี ถนนเทพกระษัตรี

อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐

โทร. 08-1326-2549; อีเมล์ :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

www.phuketdata.net

 

๓๐ เมษายน ๒๕๕๕

 

เรื่อง ช่วยสนับสนุนการสร้างพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต

เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

สิ่งที่ส่งมาด้วย มห.ภูเก็จ ๑๘๖, พมร.จห.๑๐๔๘ และ พมร.จห.๑๓๑๓ จำนวน ๘ หน้า

 

ด้วยพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตได้เริ่มสร้างอาคาร “อังมอเหลา” เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๔๙ เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน และเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว รัฐได้ลงทุนงบประมาณมากกว่า ๑๐๐ ล้านบาทไปแล้ว แต่เทศบาลเมืองกะทู้ก็ไม่พัฒนาพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตให้สำเร็จตามแผนงาน ๓-๕ แผน

แต่ประการใด เพราะเทศบาลเมืองกะทู้เข้าใจผิดมาตลอดเวลาว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตเสร็จแล้วมา ตั้งแต่นายชัยอนันท์ สุทธิกุล มารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ (พมร.จห.๑๐๔๘) จึงได้เรียนเชิญ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตดำเนินการเปิดพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตทั้งที่ “ภัณฑ์” ยังคงกองระเกะระกะ (พมร.จห.๑๐๔๘ - ๒) ไปทั้งพิพิธภัณฑ์

ข้าพเจ้าเคยเป็นผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต(พมร.จห.๑๓๑๓) จนถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๓ ได้ดำเนินการเตรียมงานตามแผนงาน ๓ การจัดการบริหารพิพิธภัณฑ์ และแผนงาน ๔ การจัดการ แสดงภัณฑ์เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตสามารถดำเนินการแผนงาน ๕ การเปิดพิพิธภัณฑ์ได้อย่าง ภาคภูมิใจ

ข้าพเจ้ามีความประสงค์ขอบารมีท่านได้ช่วยสนับสนุนให้เทศบาลเมืองกะทู้ทบทวนการ ดำเนินงานแผนงาน ๔ การจัดการ “ภัณฑ์” ใน พมร.ภูเก็ต ดังรายละเอียดใน มห.ภูเก็จ ๑๘๖

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

 

 

ขอแสดงความนับถือ

 

 

(นายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์)

 

***

มห.ภูเก็จ 163 164 165 166 167, มห.ภูเก็จ 256

ประวัติศาสตร์ ข้อมูลภูเก็จ phuketdata

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( ศุกร์, 15 มิถุนายน 2012 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้874
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2580
mod_vvisit_counterทั้งหมด10705619