เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.
|
อังคาร, 11 ธันวาคม 2007 |
.
คลิ้ก>แก้ไข>พิมพ์คำค้น>คลิ้กค้นหา>เสร็จสิ้น>ภาพอยู่คอลัมน์ L
|
. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการที่ วธ.ได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานจดหมายเหตุและจัดทำบันทึกจดหมายเหตุการณ์สำคัญของจังหวัด ตามพ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 17 (20) ที่กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จัดให้มีหอจดหมายเหตุท้องถิ่นขึ้นทุกจังหวัดนั้น ขณะนี้ วธ. ได้มีการประชุมร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ท้องถิ่นได้รู้จักการรวบรวม อนุรักษ์ และจัดเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุของท้องถิ่น ให้เป็นคลังทางปัญญาสำหรับประชาชนได้ศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต และใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
|
วธ.ดันหอ จม.เหตุในท้องถิ่น | แต่อย่างไรก็ตามที่ประชุมมีมติร่วมกันว่า ยังไม่ควรจัดตั้งหอจดหมายเหตุท้องถิ่นขึ้นในขณะนี้ เพราะจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างที่ค่อนข้างสูง แต่ควรให้อยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการไปก่อน ซึ่งจะประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าคณะจังหวัด นายกอบจ. นายกเทศมนตรี ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และปราชญ์ท้องถิ่น นายวีระ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ โดยมีสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นผู้ให้บริการความรู้ คำปรึกษา ฝึกอบรมให้แก่ท้องถิ่น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เช่น งานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา งานประเพณีท้องถิ่น งานลอยกระทง เป็นต้น นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้ อบจ.ของแต่ละจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหาสถานที่ งบประมาณ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการก่อตั้งหอจดหมายเหตุท้องถิ่นให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป "ขณะนี้ วธ.ได้จัดทำคู่มือการจัดตั้งจดหมายเหตุท้องถิ่นและการจัดทำบันทึกจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญ เพื่อมอบให้แก่ทุกจังหวัดใช้เป็นแนวทางการจัดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นงานวิชาการ วิธีการบันทึกเหตุการณ์สำคัญ รวมทั้งได้มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ และสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ทั้ง 11 แห่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับจังหวัดในการจัดตั้งหอจดหมายเหตุท้องถิ่นต่อไป" ปลัดวธ.กล่าว. วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 18:35 น. หมายเหตุ นพ.โกศล แตงอุทัย ที่ปรึกษา อบจ.ภูเก็ต ได้เสนอในที่ประชุมปรับแผนแม่บทอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก ให้มีหอจดหมายเหตุท้องถิ่น นายอวยพร สกุลตัน ผอ.กองการศึกษา อบจ.ภูเก็ต ได้เตรียมบุคลากรดำเนินการที่หอสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ ถลาง จะพยายามดำเนินการเตรียมข้อมูลเบื้องต้นในการจัดสร้างหอจดหมายเหตุ ถลาง โดยมี ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ประธานกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ช่วยประสานงาน หมายเหตุ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ได้ประสานงานกับบรรณารักษ์ที่ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ ถลาง เมื่อวันที่ ๒๕๕๐ และ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑ ตกลงร่วมกันว่าจะตั้ง"หอจดหมายเหตุ ถลาง" ให้รายงานผลผ่าน www.phuketdata.net จะเรียกตำแหน่งผู้ดูแลจดหมายเหตุว่า "หมายเหตุรักษ์" อักษรย่อใช้ "หจถ" ออกแบบตราให้มีภาพลายเส้น Junk Ceylon ของคลอดิอุส ปโตเลมี จะลงทะเบียนหมายเหตุเอกสารลายลักษณ์ รหัส AR, รูปภาพ รหัส PIC, แผนที่ ใช้รหัส MAP และ CD ตามด้วยหมายเลขทะเบียน ๔ ตัวตามลำดับ ๐๐๐๑ ๐๐๐๒ ๐๐๐๓ .... มอบหมายให้ น.ส.ปทุม โต๊ะหลี โทร. 086 2664 088 เป็นหัวหน้าหมายเหตุรักษ์หอจดหมายเหตุ ถลาง ดำเนินงานที่ห้องชั้น ๓ ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ ถลาง |
*** มห.ภูเก็จ Newsข่าว Latest News ปรับปรุง ๒๓ กุมภ์ ๒๕๕๔ |
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 31 พฤษภาคม 2020 )
|