Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
อัญเชิญธงมิตรภาพแห่งสันติสุข PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 06 มีนาคม 2012

ธงถลางชนะศึกเหินเวหา 
 

อัญเชิญธง ๒๕๕๕

 

คำกล่าวรายงาน

พิธีอัญเชิญธงมิตรภาพแห่งสันติสุข

( FRIENDSHIP of PEACE )

********

เรียน ประธานพิธีอัญเชิญธงมิตรภาพแห่งสันติสุข

ดินแดนอันดามันแถบนี้เป็นแหล่งทรัพยากรดีบุกแห่งหนึ่งของโลก สยามประเทศได้กำหนดให้เป็นดินแดนแห่งพระราชทรัพย์ จึงเป็นที่หมายปองของพ่อค้าวานิช เช่นโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส แลอังกฤษ เป็นอาทิ

 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพญาอินทวงษา ตำแหน่งสมุหกลาโหมมาเป็นผู้ดูแลพระราชทรัพย์ต่างพระเนตรพระกรรณ ได้มาสร้างค่ายปากพระเป็นศูนย์ดำเนินการพระราชทรัพย์ทางฝั่งอันดามันในพื้นที่แปดหัวเมืองอันได้แก่เมืองกระ เมืองคุระ เมืองคุรอด เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองกราภูงา เมืองภูเก็จ และเมืองถลาง

 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกล่วงแล้ว ๓ ปี ทรงโปรดฯ ให้ ๓ พญาคือพญาธรรมไตรโลก พญาพิพิธโภไคย และพญาฤๅราชนิกูล มาดูแลพระราชทรัพย์แทนเจ้าพญาอินทวงษา เกิดความเข้าใจผิดถึงกับลุอำนาจเกาะกุมตัวท่านผู้หญิงจันจากเมืองถลางมากักขังไว้เป็นเชลยศึกในค่ายเจ้าพญาอินทวงษาที่นี่

 

ข่าวการรักษาความปลอดภัยของค่ายปากพระบกพร่อง เป็นเหตุให้ยี่หวุ่นแม่ทัพเรือพม่า ๑ ในสงคราม ๙ ทัพ ตีค่ายปากพระแตก พญาธรรมไตรโลกถึงแก่อนิจกรรมในที่รบ พญาฤๅราชนิกูลหายสาบสูญ พญาพิพิธโภไคยหนีไปสร้างด่านพญาพิพิธที่เขานางหงส์เมืองกราภูงา ท่านผู้หญิงจันในฐานะเชลยศึกและชาวเมืองถลางตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากค่ายปากพระคืนกลับเมืองถลาง ระดมพลชาวเมืองถลางที่มีผู้หญิงและผู้ชราเป็นกองกำลัง สามารถป้องกันเมืองถลางไว้ได้ด้วยสติปัญญาเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘

 

ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าทั้งปวงผู้เป็นเหล่าอนุชนซาบซึ้งในวีรกรรมของบรรพชน จึงพร้อมใจมาอัญเชิญธง
มิตรภาพแห่งสันติสุขเพื่อเทิดเกียรติวีรบรรพชนไปยังสมรภูมิชัยแห่งเมืองถลาง.

 

จึงเรียนท่านประธานได้ประกอบพิธีอัญเชิญธงมิตรภาพแห่งสันติสุข ณ กาลนี้

*********

 

คำกล่าวเปิดงาน

พิธีอัญเชิญธงมิตรภาพแห่งสันติสุข

( FRIENDSHIP of PEACE)

********

 

ด้วยบารมีแห่งสติปัญญาของท่านย่า

จึงส่งผลให้ดินแดนพระราชทรัพย์ในกษัตริยาสยาม

 เป็นดินแดนสวรรค์แห่งความสงบสุขของมวลมนุษยชาติในวันนี้

 

สงครามศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ เป็นเพียงเหตุการะณะกาลอุบัติเหตุ

อันส่งผลให้แปดหัวเมืองอันดามันพัฒนามาเป็นจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา

และจังหวัดภูเก็ต

ด้วยความสงบสุข

นานาชาติจึงไว้วางใจที่จะมอบชีวิตอันเป็นที่รักมาดื่มด่ำความสุขในดินแดนแถบนี้

ภายใต้ธง FRIENDSHIP of PEACE ที่สืบเหตุมาจากวีรชนในกาลบรรพ์

 

ขอบารมีท่านย่าได้โปรดแผ่เมตตาให้อนุชนผู้มีความกตัญญู กตเวทิตาคุณ

อัญเชิญธงแห่งเกียรติยศนี้ให้ปรากฏสุขสืบไป.

 

 

ฝากรูป 

 

ฝากรูป 

ทหารเรือกองทัพเรือภาคที่ ๑๓ อัญเชิญธงเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร

กำหนดงาน

วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๕

เวลา ๑๒.๐๙ น.

ขบวนรถอัญเชิญธงออกจากวัดม่วงโกมารภัจจ์ไปค่ายเจ้าพญาอินทวงษา

เวลา ๑๔.๐๙ น.

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ รายงานประธานอัญเชิญธง

ประธานกล่าวเปิดงานการอัญเชิญธง

ขบวนรถอัญเชิญธงออกจากค่ายปากพระ(ค่ายเจ้าพญาอินทวงษา)

ไปวัดม่วงโกมารภัจจ์

อัญเชิญธงเข้ามณฑลพิธีอัญเชิญตายายผีหลางในวัดม่วงโกมารภัจจ์

 

วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕

เวลา ๗.๕๐ น.

สอรด.ภูเก็ต และทหารเรือ พร้อมกันที่บ้านท่าเรือตรงข้ามตลาดสดบ้านท่าเรือ(บริเวณที่พักผู้โดยสารไปพังงาและตะกั่วป่า ใกล้ปั๊มน้ำมัน) ถนนเทพกระษัตรี

เวลา ๗.๕๕ น.

สอรด.ภูเก็ต และทหารเรือ ตั้งแถวขบวน

ต้นขบวนมุ่งไปหน้าอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

(๑. กลองพาเหรด) 

๒. ป้ายอัญเชิญธงมิตรภาพแห่งสันติสุข

๓. ผู้อัญเชิญธงชาติ ๖ ฅน

๔. ผู้อัญเชิญธงถลางชนะศึก ๖ ฅน

(๕. ผู้อัญเชิญธง "มิตรภาพแห่งสันติสุข")

๖. ผู้ถือพาน(พานเปล่าสำหรับวางธงทั้ง ๓ ที่พับแล้วในตอนต่อไป)

๗. แถวขบวนเกียรติยศ

จำนวนมากฅน จัดเป็น ๔ แถว

จำนวนฅนน้อย จัดเป็น ๒ แถว

 

เวลา ๘.๐๐ น.

เคารพธงชาติ(จากสัญญาณของสถานีวิทยุ)

แถวระวัง ตรง

เพลงชาติจบสั่ง แถวพัก

(ซ้อมเดินขบวนไปหน้าปะรำพิธีประธาน จนถึงการพับธงแล้ววางบนพาน)

 

พักรอกำหนดเวลาจนกว่าประธานจะเข้าพักในปะรำพิธี

 

เริ่มพิธี

สอรด.ภูเก็ตและทหารเรือ เข้าประจำที่ในขบวน

สั่ง อัญเชิญธง แถวตรง

กลองพาเหรดลั่นสัญญาณแล้วเดินนำให้ขบวนเฉพาะธงหยุดตรงหน้าประธาน

กลองพาเหรดหยุดสัญญาณ

สั่งแถวตรง  ขวาหัน พัก

เชิญประธานและแขกในปะรำพิธีเข้าสู่บริเวณพิธีหน้าอนุสาวรีย์ฯ

สั่ง เคารพประธาน แถวตรง

เมื่อประธานเดินเข้าในขบวนตามหลังธง (หน้าผู้ถือพาน(เปล่า) แถวขบวนเกียรติยศ)

ขณะประธานเดินเข้าแทรกในขบวนแล้ว 

สั่ง ซ้ายหัน

กลองพาเหรดนำขบวนเข้าบริเวณพิธีหน้าอนุสาวรีย์

ส่วนหน้าเดินพ้นไปที่ขอบลานอนุสาวรีย์ด้านทิศตะวันออกเพื่อให้ธงหยุดตรงหน้าอนุสาวรีย์  ขบวนเกียรติยศส่งขบวนถึงทางขึ้นอนุสาวรีย์ฯและยืนบนถนน

ประธานเดินเข้าแท่นพิธี

สั่ง ขวาหัน  พับธง

ผู้อัญเชิญธงพับธง  ผู้ถือพานเปล่านำพานไปวางบนโต๊ะหน้าแท่นฐานอนุสาวรีย์ฯ

นำธงที่พับแล้วไปวางบนพาน

ธงมิตรภาพแห่งสันติสุขวางก่อน ธงถลางชนะศึกวางบน และวางธงชาติบนสุด

 

ผู้อัญเชิญธงทุกฅนเลือกพื้นที่ที่เหมาะอยู่ร่วมในพิธีจนเสร็จสิ้นพิธี

 

ภาคค่ำ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ อนุสรณ์สถานเมืองถลาง

เวลา ๑๙.๐๐ น.

สอรด.ภูเก็ต พร้อมหน้าปะรำพิธีมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

ตั้งแถวขบวน

ฝากรูป 

สอรด.อัญเชิญธงอนุสรณ์เมืองถลาง (Phuket Historical Park) 

 

ต้นขบวนมุ่งไปหน้าอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร(จำลองของ อบจ.ภูเก็ต)

(๑. กลองพาเหรด) 

๒. ป้ายอัญเชิญธงมิตรภาพแห่งสันติสุข

๓. ผู้อัญเชิญธงชาติ ๖ ฅน

๔. ผู้อัญเชิญธงถลางชนะศึก ๖ ฅน

(๕. ผู้อัญเชิญธง "มิตรภาพแห่งสันติสุข")

๖. ผู้ถือพาน(พานเปล่าสำหรับวางธงทั้ง ๓ ที่พับแล้วในตอนต่อไป)

๗. แถวขบวนเกียรติยศ

จำนวนมากฅน จัดเป็น ๔ แถว

จำนวนฅนน้อย จัดเป็น ๒ แถว

เคลื่อนขบวนอัญเชิญธงไปวางธงที่พับแล้วบนพานหน้าอนุสาวรีย์จำลอง เป็นเสร็จพิธี

(ชมการแสดงละครประวัติศาสตร์วีรสตรีศรีถลาง)

มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรจะนำธงเชิญสู่ยอดเสาในคืนนั้นจนสิ้นสุดงาน

 

อัญเชิญธง ก่อน พ.ศ.๒๕๕๕

 

๑๓ มีนาคม ๒๕๕๔ 

 

อัญเชิญธงขึ้นเหนือชัยสมรภูมิ 
๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓

 

มีนาคม ๒๕๕๐

 

เหินฟ้าเวหาหาว ๒๕๔๙ 
๙ มีนาคม ๒๕๔๙

 

ฝากรูป 

ครั้งที่ ๒ อัญเชิญธง พ.ศ.๒๕๔๓

 

ครั้งที่ ๑ นักศึกษาโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาเหนือสมรภูมิศึกถลาง ๒๓๒๘ เมื่อวันถลางชนะศึก วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๒

 

ปฐมเหตุการอัญเชิญธง

 

View category ธงถลางชนะศึก-->ธงมิตรภาพแห่งสันติสุข

นักศึกษาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ไม่มีพื้นที่ที่แสดงความกตัญญูต่อวีรชนวีรสตรีท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรในวันวางพวงมาลาสักการะท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรในวันถลางชนะศึก ๑๓ มีนาคม ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ จึงเสนอให้นักศึกษาเชิญธงถลางชนะศึกในบริเวณสมรภูมิศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ ให้นักศึกษาปักเสาธงไว้ จะนำธงสีแดง(เสมือนธงชาติสมัยรัชกาลที่ ๒)ไปให้ นักศึกษาใช้ไม้ไผ่เป็นเสาปักไว้ข้างคลองบางใหญ่ในทุ่งนาระหว่างบ้านดอนบ้านเคียนบ้านเหรียง ซึ่งปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๕)คืออนุสรณ์สถานเมืองถลาง และร่วมเชิญธงถลางชนะศึกขึ้นสู่ยอดเสาธงชัยเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๒ ปีถัดไป นายธนิต ประทีป ณ ถลาง ได้เพิ่มภาพวีรชนไว้กลางธงแดง (พัฒนาจากภาพจิตรกรรม "ออกศึก" ของจิตรกรแนบ ทิชินพงศ์) ทหารเรือเป็นผู้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาชัยในสมรภูมิศึกถลาง

ปี พ.ศ.๒๕๕๔ พัฒนาไปเป็นธงสันติภาพแห่งสันติสุข (FRIENDSHIP of PEACE) เป็นธงสีฟ้า (สีประจำเมืองภูเก็จ) ด้วยความอนุเคราะห์ของ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ กรรมการมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร(มทศ.)  และประธานกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ(กลุ่มภูเก็จ)

 

รายชื่อผู้อัญเชิญธง

รายชื่อสมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดน จ.ภูเก็ต ที่ได้ร่วม อัญเชิญธงอนุสรณ์เมืองถลาง(PHUKET HISTORICAL PARK) และธงมิตรภาพแห่งสันติสุข (FRIENDSHIP of PEACE) ก่อนการแสดงละครประวัติศาสตร์วีรสตรีศรีถลาง ขึ้นเหนือสมรภูมิชัยในวันถลางชนะศึก ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๑๙.๓๐ น. ในวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
1. สอ.รด.สมบูรณ์ศรี โกยศิริำพงศ์ นายกสมาคม
2. สอ.รด.ภคมน รุ่งรัติสีมา อุปนายกคนที่ 1
3. สอ.รด.รุ่งรัติ ศรีสุ...ข อุปนายกคนที่ 2
4. สอ.รด.ปราณีต นาดอน ที่ปรึกษาสมาคม
5. สอ.รด.เอริยะ งานวงศ์พาณิชย์
6. สอ.รด.พรทิพย์ ชีพอาภรณ์
7. สอ.รด.พิมพา รัตนเนตร
8. สอ.รด.สุภาพร รวมสุข
9. สอ.รด.จันทวรรณ ฉัตรแดง
10. สอ.รด.สรวิศา โสมจันทร์
11. สอ.รด.อัญชลี ประชา
12. สอ.รด.พงพิมล ญาณไพศาล
13. สอ.รด.สุมาลี เรือนเพชร
14. สอ.รด.จิตราภรณ์ ตามชู
15. สอ.รด.อารีย์ ตันนาภัย
16. สอ.รด.ธิดา กาญจนะ
17. สอ.รด.สมจิตร วิจิตรา
18. สอ.รด.สมรภุช ศรีนาค
19. สอ.รด.ทองดี ขาวพุ่ม
20. สอ.รด.โป๊ะตี๋ แซ่ตัน
21. สอ.รด.ประยงค์ศรี ใจบุญ
22. สอ.รด.จันโท เศรษฐบุปผา สอ.รด.สมทบ
23. สอ.รด.ทัศนีย์ เศรษฐบุปผา
(สห เอมจัด นักเรียนโรงเรียนเมืองถลาง : บันทึก) 

 

 

 

.

.
.
.
.
.
.
ผู้ทำพิธีอัญเชิญธงในเช้าวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2555
1. ธนพล คงยืน นักเรียนโรงเรียนเมืองถลาง
2. บัลลังก์ ประทีป ณ ถลาง นักเรียนโรงเรียนเมืองถลาง (ผู้ให้สัญญาณกลอง)
3. นครินทร์ บุตราช กองทัพเรือภาคที่ 3
4. สุริยา เอียดยี่ กองทัพเรือภาคที่ 3
5. ศรเสก นาคเจริญ กองทัพเรือภาคที่ 3
6. ธีระยุทธ พรรณรังษี กองทัพเรือภาคที่ 3
7. เจษฎา สุขเกษม กองทัพเรือภาคที่ 3
8. สรายุทธ์ ประทุมมา กองทัพเรือภาคที่ 3
9. เอกวุุฒิ ท่อทิพย์ กองทัพเรือภาคที่ 3
10. ประสิทธิ์ รายาศาสตร์ กองทัพเรือภาคที่ 3
11. มนตรี ผดาวัลย์ กองทัพเรือภาคที่ 3
12. อนุชา บินล่าเต๊ะ กองทัพเรือภาคที่ 3
14. อำนวย นาคเกลี้ยง กองทัพเรือภาคที่ 3
 

(นายสห เอมจัด นักเรียนโรงเรียนเมืองถลาง : บันทึก)

ฝากรูป   

 

.

.

.

.

.

.

.

.

อาจารย์บรรเจิด ประทีป ณ ถลาง และนายสห เอมจัดทำพิธีอัญเชิญธงอนุสรณ์สถานเมืองถลาง(ถลางชนะศึก)(PHUKET HISTORY PARK)และธงมิตรภาพแห่งสันติสุข(FRIENDSHIP of PEACE) จากค่ายเจ้าพญาอินทวงษา อัครเสนาบดีกลาโหมในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตามหลักฐานในจดหมายท้าวเทพกระษัตรี "แลอนึ่ง เมื่อพม่ายกมานั้น พญาธรรมไตรโลกให้เกาะเอาตัวตูข้า(ย่าจัน)ลงไปไว้ ณ ปากพระ(บ้านท่านุ่น พังงา)" ทำพิธีเมื่อ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๕

 

 

***

พจนสารอันดามัน

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์8

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 15 มีนาคม 2012 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้586
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1292
mod_vvisit_counterทั้งหมด10683215