Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
ชาวเลมอแกล๊นบ้านแหลมหลา PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 20 กุมภาพันธ์ 2008

ความหลากหลายทางชีวภาพ
ของทรัพยากรชายฝั่ง ชุมชนท่าฉัตรไชย
ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

 

ผลจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเรื่องประวัติศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรชายฝั่งชุมชนท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สามารถจำแนกหัวข้อที่ศึกษาได้ดังต่อไปนี้

1. ประวัติความเป็นมาของชุมชน

2. ภูมิปัญญาการต่อเรือ

3. ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้าน

4. ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน

4.1 หมอบนตามหาของหาย

5. ภูมิปัญญาการรักษาโรคแบบพื้นบ้าน

5.1 หมอปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย

5.2 หมอนวดรักษาอาการปวดเมื่อย

6. ประเพณีประจำชุมชน

6.1 ลอยเรือชาวเล

6.2 นอนหาดหรือนอนเล

 

7. ความเชื่อในชุมชน

7.1 ตายายถ้วย

7.2 โต๊ะปากพระ

7.3 โต๊ะหินลูกเดียว

7.4 แม่ย่านาง

7.5 เสน่ห์ยาแฝด/การทำนายดวงชะตา

7.6 การรับบุญเดือนสิบ

8. ภาษามอแกล๊น

8.1 หมวดร่างกาย

8.2 หมวดตกแต่งร่างกาย – เครื่องประดับ

8.3 หมวดสัตว์

8.4 หมวดอาหาร

8.5 หมวดของใช้ในครัว

8.6 หมวดเครือญาติ

8.7 หมวดอื่น ๆ

9. พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

9.1 ป่าชายหาด

9.2 ป่าชายเลน

10. อาชีพของคนในชุมชน

11. พันธุ์นก

12. พันธุ์ปลา

13. พันธุ์สัตว์น้ำอื่น ๆ

 

1.ประวัติความเป็นมาของชุมชน

การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชน ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ชื่อของบ้านแหลมหลา บ้านเหนือ บ้านหินลูกเดียว บ้านท่าฉัตรไชย และบ้านไม้ขาว กลุ่มคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุคแรก ๆ และถิ่นฐานเดิมของคนที่อพยพเข้ามา

1.1 บ้านแหลมหลา จากการเก็บข้อมูลของนักวิจัยเรื่องความหมายของชื่อแหลมหลา มีผู้ให้ความหมายสอดคล้องกัน ดังที่ วิกร สมุทรวารี ศักดา สงวนศักดิ์ สุทัศน์ อธิเกิด จริยา แจ้งกระจ่าง เคื่อง ตุหรัน พวบ ประโมงกิจ จีน วารี ไฮ้ ตุหรัน ลา วารี และ จูด จันทิมา เล่าไว้สอดคล้องกันว่า เหตุที่หมู่บ้านนี้ได้ชื่อว่าบ้านแหลมหลาสืบเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล มีหาดทรายสีขาว มีหลาโต๊ะ (ศาลา) บริเวณบ้านนายโชค และมีปลาชนิดหนึ่งอยู่มากในชุมชนนี้ เรียกว่า ปลาหลา ซึ่งปลาหลามีลักษณะลำตัวคล้ายปลากระบอก และเป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มมอแกล๊น

ส่วน หยิ้น เชี่ยวชาญ กล่าวว่า บ้านแหลมหลานั้น เดิมมีชื่อว่า บ้านกูหยิด

1.2 บ้านเหนือ จากการเก็บข้อมูลของนักวิจัยเรื่องความเป็นมาชื่อบ้านเหนือ มีผู้ให้ความหมายไว้หลายกระแส ดังนี้ มายะ ตุหรัน อ้อม ตุหรัน มานิ ราวี บน ตันเก ล่าย เชี่ยวชาญ เล่าไว้สอดคล้องกันว่า เหตุที่ได้ชื่อว่า บ้านเหนือ เพราะอยู่เหนือหมู่บ้านอื่น ๆ และอีกประการหนึ่งคือหมู่บ้านตั้งอยู่เหนือคลองบ้านเหนือ

ส่วน เห่าดง แดงเปลี่ยน เล่าว่า หลังจากที่พวกมอแกล๊นอพยพมาจากบ้านในหยง จังหวัดพังงา มาอยู่ที่บ้านด่านหยุดหรือบริเวณบ้านเหนือซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ชาวมอแกล๊นที่อพยพมาจากจังหวัดพังงา จึงมาสร้างบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านเหนือ

1.3 บ้านหินลูกเดียว จากการเก็บข้อมูลของนักวิจัยเรื่องความเป็นมาชื่อบ้านหินลูกเดียว มีผู้ให้ความเห็นสอดคล้องกัน ดังที่ เห่าดง แดงเปลี่ยน มายะ ตุหรัน อ้อม ตุหรัน มานิ ราวี บน ตันเก ล่าย เชี่ยวชาญ กล่าวว่า บ้านหินลูกเดียว ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมการนอนหาดทุกปี และมีตำนานเล่าว่าพ่อตาหินลูกเดียว จะจับลงเป็นม้าทรง (ร่างทรง) และใช้นิ้วชี้ให้หยิบหินโยนลงในน้ำ เมื่อเวลาน้ำแห้งจะเห็นหินโผล่ขึ้นมา และกลายเป็นก้อนหิน จึงทำให้เรียกบริเวณที่หินโผล่ขึ้นมาว่า บ้านหินลูกเดียว จะมีการบูชาโต๊ะหินลูกเดียวทุกปี เรียกว่าพิธีนอนหาดหรือนอนเล

1.4 บ้านท่าฉัตรไชย จากการเก็บข้อมูลของนักวิจัยเรื่องความหมายของชื่อบ้านเหนือ มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้ วิกร สมุทวารี กล่าวว่า ชื่อท่าฉัตรไชย เรียกตามชื่อโรงเรียนที่มีอยู่ในชุมชน สุทัศน์ อธิเกิด กล่าวว่า ท่าฉัตรไชยเป็นชื่อที่ตั้งมาก่อนแล้ว ส่วน หยิ้น ชาญเชี่ยว เคื่อง ตุหรัน จีน วารี ไฮ้ ตุหรัน พวบ ประมงกิจ ลา วารี และ แดง ตุหรัน กล่าวถึงชื่อท่าฉัตรไชยสอดคล้องกันว่า เมื่อก่อนท่าฉัตรไชย มีเรือขนานยนต์ เป็นเรือเหล็ก บรรทุกเรือ รถ และคนข้ามจากหมู่บ้านแหลมหลาไปฝั่งท่านุ่น วิ่งไปมาระหว่างท่าฉัตรไชย – ท่านุ่น เรียกกันว่าท่าเรือท่าฉัตรไชย เป็นท่าเรือขนานยนต์

ส่วน จูด จันทิมา กล่าวว่า ท่าฉัตรไชยเป็นชื่อบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับ สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ที่ให้ความเห็นว่า บ้านท่าฉัตรไชยเป็นการตั้งชื่อจากนามของพระองค์เจ้าบุรฉัตร ฉัตรไชย

1.5 บ้านไม้ขาว จากการเก็บข้อมูลของนักวิจัยเรื่องความหมายของชื่อบ้านไม้ขาว มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้ วิกร สมุทวารี เล่าว่า ตำบลไม้ขาวสมัยก่อนหมู่บ้านเป็นป่า เมื่อมีคนเข้ามาอยู่อาศัยมาก จึงใช้ไม้สีขาวมาสร้างบ้าน และใช้เปลือกของต้นเสม็ดขาวมาทำหลังคา ส่วน ศักดา สงวนศักดิ์ เล่าถึงตำบลไม้ขาว ไว้ว่า มีไม้สีขาว และทรายสีขาว สุทัศน์ อธิเกิด กล่าวถึง ตำบลไม้ขาวเอาไว้ว่า ได้ชื่อจากต้นเสม็ดขาว ชาวบ้านเรียกว่า บ้านเหม็ดขาว ต่อมาเรียกเพี้ยนจนกลายเป็นไม้ขาว หยิ้น ชาญเชี่ยว อ้อม ตุหรัน เล่าไว้สอดคล้องกันว่า เมื่อก่อนมีไม้แก่นสีขาวอยู่หลายต้น ส่วน พวบ ประโมงกิจ จีน วารี และ ไฮ้ ตุหรัน กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า บ้านไม้ขาว มีต้นไม้ขาวอยู่ต้นหนึ่ง และ ล่าย เชี่ยวชาญ กล่าวว่า สมัยก่อนบ้านไม้ขาว มีต้นไม้ใหญ่สีขาว จึงได้ชื่อว่าบ้านไม้ขาว

1.6 การเข้ามาตั้งถิ่นในชุมชนท่าฉัตรไชย จากการเก็บข้อมูลของนักวิจัย ในเรื่องการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในชุมชนท่าฉัตรไชย มีหลายที่มา ดังนี้ วิกร สมุทวารี เล่าให้ฟังว่า เริ่มมีชุมชน เมื่อ 200 300 ปีที่ผ่านมา โดยชาวบ้านดูจากต้นมะขามที่มีอายุมาก โดยมีชาวมอแกล๊น อพยพมาจากเกาะมลายู นั่งเรือมาเป็นครอบครัวมาหยุดขึ้นฝั่งที่ท่าฉัตรไชย และได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่เป็นพวกแรก

ศักดา สงวนศักดิ์ เล่าว่า ชุมชนเกิดขึ้นเมื่อ 200 300 ปี คนไทยเข้ามาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นพวกแรก โดยอพยพมาจากชุมชนเมืองถลางในระหว่างทำสงคราม

สุทัศน์ อธิเกิด เล่าว่า มีกลุ่มมอแกล๊นที่อพยพมาจากที่อื่นเข้ามาอยู่ก่อน บริเวณที่ชาวมอแกล๊นอยู่เรียกว่าหัวแหลม ชาวมอแกล๊นเหล่านี้ทำอาชีพประมง ได้แก่ หาปลา หาหอย ต่อมาเริ่มมีคนอพยพจากหลายจังหวัดเข้ามาอยู่บริเวณนี้ เพื่อทำงานเหมืองแร่ พอหมดหน้าแร่ก็อยู่ต่อ จึงหาอาชีพอื่นทำ จนเกิดเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นดังปัจจุบันนี้

จริยา แจ้งกระจ่าง เล่าไว้ดังนี้ ก่อนจะมีชุมชนแถวนี้ บริเวณหลังป้อมตำรวจท่าฉัตรไชยเป็นสุสานของชาวมอแกล๊น ชาวมอแกล๊นจะอาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลน บ้านของชาวมอแกล๊นจะสร้างแบบยกสูงและมีใต้ถุน ต่อมามีคนภายนอกเข้ามาอาศัยเพื่อทำเหมืองแร่ และอาศัยเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ทำให้ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนกลายเป็นชุมชนใหญ่

หยิ้น ชาญเชี่ยว เล่าว่า ชาวบ้านอพยพผ่านมาหาหอย ปู ปลา เลยหยุดพักสร้างที่พักชั่วคราวไว้หยุดลมฝน ต่อมามีลูกหลานตามมา จนเกิดเป็นชุมชนขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ เคื่อง ตุหรัน ที่เล่าว่า ชาวประมงหยุดพักผ่อนที่บริเวณนี้ ต่อมามีชาวบ้านอพยพตามมา และได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหินลูกเดียวจนถึงปัจจุบัน

เห่าดง แดงเปลี่ยน เล่าถึงการเข้ามาของคนในหมู่บ้านเหนือไว้ว่า อพยพมาจากบ้านด่านหยุด จังหวัดพังงา คนที่เข้ามาอยู่เป็นพวกแรก ได้แก่ หมอผี หมอบ้าน (หมอรักษาโรค)

มายะ ตุหรัน บน ตันเก และ อ้อม ตุหรัน เล่าว่า พวกแรกที่อพยพเข้ามาคือ โต๊ะตะพลู ยั่งใหญ่ และโต๊ะโบไร เป็นกลุ่มแรกเข้ามาอยู่ที่ชุมชนนี้เมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว

มานิ ราวี เล่าว่า โต๊ะลามัย เป็นพวกแรกที่อพยพเข้ามาอยู่ มาจากบ้านในหยง จังหวัดพังงา

พวบ ประโมงกิจ ลา วารี โต๊ะมะสาด จูด จันทิมา และ จีน วารี เล่าไว้ตรงกันว่า โต๊ะกระแส โต๊ะมาสาด เข้ามาอยู่เป็นพวกแรก

ล่าย เชี่ยวชาญ กล่าวว่า โต๊ะลอด โต๊ะช่วง เป็นพวกแรกที่อพยพเข้ามา ส่วน ไฮ้ ตุหรัน เล่าว่า โต๊ะโสด และนายอาด อพยพมาจากหมู่บ้านคอเอน เข้ามาอยู่เป็นพวกแรก

 

2. ภูมิปัญญาการต่อเรือ

สืบเนื่องจากอดีต อาชีพที่เป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในบริเวณนี้คืออาชีพประมง ทั้งจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ติดกับทะเล ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านแถบนี้ผูกพันกับทะเลค่อนข้างมาก จากการศึกษาข้อมูลเรื่องการของการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านในการต่อเรือ ทำให้ทราบว่า ในอดีตเรือของชาวบ้านที่นี่จะเรียกว่าเรือมาด หรือเรือขุด เรือแจว และเรือพาย แต่ในปัจจุบันจะเป็นการต่อเรือแบบหัวโทง ซึ่งเป็นการได้รับอิทธิพลมาจากที่อื่น เรือหัวโทงนอกจากไว้ประกอบอาชีพประมงซึ่งถือเป็นอาชีพหลักแล้ว ยังใช้ในท่องเที่ยว และรับจ้างบรรทุกของ

จากการสัมภาษณ์ สมศักดิ์ ตุหรัน ช่างต่อเรือในหมู่บ้านแหลมหลา ได้เล่าให้ฟังถึงขั้นตอนการทำเรือมาดหรือเรือขุดไว้ดังนี้

1. นำไม้ตะเคียนทองมาตัดให้เป็นท่อน ยาวเท่าลำเรือ คือประมาณ 4 วา 1 ศอก

2. ขุดไม้ให้เป็นหลุม แล้วเอาไปรวมควันไฟ เพื่อให้ไม้แห้ง จากนั้นฉีกไม้ออกให้กว้าง ทิ้งไว้ 5 – วัน

3. เสริมไม้กระดานให้เรือสูงกว่าเดิมประมาณ 1 คืบ เพื่อความแข็งแรง ใส่กงเรือ ใส่ไม้ลูกถ้วย จากนั้นใส่โขนหัวและท้ายเรือ เพื่อความสวยงาม และเชื่อว่าทำให้หากินได้ง่าย แล้วจึงเอาไม้กระดานปูท้องเรือ พร้อมกับทำกรรเชียง 1 คู่ และไม้พาย 2 เล่ม

4. ยาแนวเรือโดยใช้ขี้ชันกับน้ำมันยางปิดแนวกันเรือรั่ว

5. ทาน้ำมันยางอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ไม้แข็งแรง

ส่วนการทำเรือหัวโทงที่มีการทำกันมากขึ้นในปัจจุบัน จากการให้สัมภาษณ์ของ สมศักดิ์ตุหรัน สมควร ทนงแก้ว เสถียร จิตรเหรียน จรัญ ละอาด และ สมนึก วารี เรื่องการขั้นตอนการต่อเรือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเรือ รวมทั้งความเชื่อ ไม้ที่นำมาต่อเรือ ขั้นตอนการเอาเรือลงน้ำ และราคาของเรือ มีดังนี้

1. นำไม้ตะเคียนทองมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 4 วา 1 ศอก

2. ขุดไม้แล้วเอาไปรมควันไฟ ฉีกออกให้กว้าง ไว้ให้นานแล้วจึงนำมาใส่กง ใส่ไม้ลูกถ้วยใส่โคนหัวโคนท้าย แล้วเอาไม้ปูท้องเรือ กันเชียง 1 คู่ ไม้พาย 2 เล่ม

3. ขึ้นกระดูกงู

4. ทำโครง

5. ติดกระดาน

6. ใช้ด้ายดิบยัดแนว

7. ใช้ชันป้าย

8. ตากแดด

9. ทาสี

วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ เลื่อย มีด สิ่ว ไม้ปาดชัน เหล็กตอกหมัน เหล็กตอกแนว ไม้แก่น(ไม้ลูกกะสัก) ขี้ชัน ตะปู และ สี

ความเชื่อ

ความเชื่อในการต่อเรือ จะมีการไหว้หัวเรือ โดยเอาไม้แม่ย่านางมาทำหัวเรือ เชื่อว่าแม่ย่านางเป็นผู้หญิง จึงเอาไม้ตะเคียนมาต่อเรือ เมื่อประกอบเรือแล้วเสร็จ ให้หมอประกอบพิธีกรรมเชิญแม่ย่านาง เพื่อให้ทำมาหากินคล่อง ไม่มีอะไรติดขัด และ จัดเลี้ยงคน

ไม้ที่ใช้ในการต่อเรือจะเป็นไม้ตะเคียนทอง หรือไม้นน ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง ไม้สัก ไม้ขนุนปาน ไม้ตะเคียนทราย ไม้ยาง โดยชาวประมงจะไปตัดเองในป่า หรือซื้อมาจากโรงงาน

ส่วนไม้ที่ไม่นิยมนำมาทำเรือ คือ ไม้เสม็ด ไม้สน (ผุเร็ว ) ไม้มะขาม ไม้มือพระ (เพราะเป็นไม้ของพระห้ามไม่ให้นำลงทะเล)

ขั้นตอนการทำพิธีเอาเรือลงน้ำ

เพื่อบูชานางตะเคียน แม่คงคา หลาโต๊ะ เจ้าป่าเจ้าเขา จะประกอบพิธีตรงบ้าน ก่อนจะเคลื่อนเรือลงน้ำต้องเตรียมเครื่องมือหากินก่อน เช่น อวน กัด เบ็ด เป็นต้น ขั้นตอนการเอาเรือลงน้ำมีดังนี้

- หาฤกษ์วันที่จะทำพิธีเอาเรือลงน้ำ โดยให้โต๊ะหมอหรือผู้สูงอายุในหมู่บ้านทำคนดูวันให้

พอได้ฤกษ์วันที่ดีแล้ว เตรียมของที่ต้องใช้ในพิธี ดังต่อไปนี้

อาหารคาว – หวาน สมัยก่อนการทำอาหารหาวต้องใช้ปลาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ปัจจุบันใช้เนื้อ หมู ไก่ และอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา

ดอกไม้ ใบจาก ยาเส้น หมากพลู

กำยาน

เทียน สมัยก่อนจะใช้เทียนขี้ผึ้งที่ทำจากรังผึ้ง

ด้ายขาว

ผ้าผูกหัวเรือ ต้องใช้ผ้า 3 สี เช่น สีแดง สีข่าว สีน้ำเงิน หรือสีอื่นก็ได้ เหตุที่ต้องใช้ผ้า 3 ผืน เพราะเชื่อว่าเรือมีเจ้าของ 3 คน คือ มีแม่ย่านาง 3 คน

ข้าวตอก น้ำ

ข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวขาว และข้าวเหนียวดำ

จากนั้นเอาของทั้งหมดใส่ในกระทงใบตอง ไปทำพิธีที่ริมทะเล โดยเจ้าของเรือและโต๊ะหมอจะเป็นผู้ทำพิธีด้วยกัน

ขั้นตอนการทำพิธี

- ยกไม้เป็นพลา (หิ้ง) ขนาดไม่ใหญ่มาก สำหรับวางของทั้งหมดที่ใส่ในกระทงใบตอง ยกวางให้ตรงกับหัวเรือ เจ้าของเรือและหมอจะนั่งตรงกับหิ้งวางของซึ่งตรงกับหัวเรือ

- เจ้าของเรือเอากำยานวนขวารอบลำเรือ 3 รอบ

- โต๊ะหมอทำพิธีเชิญแม่ย่านางมาอยู่ในเรือ

- พอทำพิธีเชิญเสร็จ เอาของที่เตรียมไว้ทั้งหมดไปตั้งที่หัวเรือ

- ปลุกเสกผ้าและด้ายที่จะผูกหัวเรือ เสร็จแล้วให้เจ้าของเรือนำไปผูกที่หัวเรือ

- เสร็จพิธีก่อนเอาเรือลงน้ำ

ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการเอาเรือลงน้ำ โดยเจ้าของเรือจะไปหาคนเพื่อมาช่วยยกเรือลงทะเล หลังจากยกไปในทะเลแล้วให้นำเรือมาจอดไว้ที่ท่าเรือ (หัวท่า) หน้าบ้าน แล้วจึงเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นการขอบคุณพวกที่มาช่วยยกเรือลงทะเล

ราคาของเรือ

ราคาเรือหัวโทง มีราคาตั้งแต่ประมาณ 20,000 - 50,000 บาท แล้วแต่ขนาดของเรือขนาดของเรือประมาณ 7 9 หรือ 21 กง

ในการทำเรือมาด 1 ลำ ใช้งบประมาณ 15,000 บาทขึ้นไป หรือมากกว่าก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ

 

3. ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน

ในอดีตกลุ่มชาติพันธุ์มอแกล๊นจะมีการทำดอกกล้องกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพื่อขายในตอนเดือนสิบ ไม้ไผ่ที่ใช้ทำดอกกล้องนำมาจากบ้านสาคู และบ้านในทอน เพราะที่บริเวณท่าฉัตรไชยไม่มีไม้ไผ่ ปัจจุบันไม้ไผ่ดอกกล้องยังพอมีคนทำเป็นแต่เหลือน้อย ประกอบกับมีการห้ามจำหน่ายไม้ไผ่ดอกกล้องในช่วงหลัง จึงทำให้การสืบทอดการทำไม้ไผ่ดอกกล้องซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของชาวมอแกล๊น กำลังจะเลือนหายไป

ไม้ไผ่ดอกกล้องนำมาใช้ประโยชน์ในการเป่ายิงนก ยิงปลา ยิงสัตว์ตัวเล็ก ๆ และทำเครื่องดนตรี คือ ขลุ่ย

 

4. ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน

4.1 หมอบนตามหาของหาย

บน ตันเก หมอพื้นบ้านประจำบ้านเหนือ ได้เล่าถึงการตามหาของหายโดยใช้วิธีทางไสยศาสตร์ไว้ว่า ของที่ชาวบ้านทำสูญหายมากที่สุด ได้แก่ เงิน แหวน และของมีค่าต่าง ๆ ถ้าสูญหายในระยะเวลาไม่เกิน 3 วัน โอกาสในการตามหาพบยังเพอเป็นไปได้มาก แต่ถ้าของที่หายไปนานมากก็ไม่สามารถหาพบได้โดยง่ายนัก

หมอจะทำพิธีดูของหายในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เสาร์ เวลาประมาณ ๑๕ ๒๒ นาฬิกา และจะไม่ทำพิธีดูของหายในวันอังคาร

วิธีในการดูของหายต้องมีเทียนเป็นส่วนประกอบสำคัญ เพราะต้องกำหนดสมาธิและระลึกถึงครูหมอ (อาจารย์) ต้องไม่ให้เทียนดับในระหว่างประกอบพิธีเพราะจะทำให้ครูหมอหลุดไปจากร่างของหมอที่กำลังกระทำ

วิธีการให้ค่าราด.........................ถ้าหาของพบ มีอะไรบ้าง

 

 

5. ภูมิปัญญาการรักษาโรคแบบพื้นบ้าน

5.1 หมอปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย

ชุมชนท่าฉัตรไชยยังคงมีการรักษาโรคแบบพื้นบ้าน ที่นอกเหนือจากการใช้เวชบำบัดหรือการใช้ยาอยู่หลายโรค การรักษาในลักษณะนี้เรียกว่าการรักษาแบบจิตบำบัด เป็นการรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ เช่น การปัดรังควาน ท่องคาถา ทำน้ำมนต์ เข้าทรง บนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสะเดาะห์เคราะห์ เป็นต้น การรักษาในลักษณะนี้ เพราะเหตุว่า ชาวเลเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจาก”ผีกิน” การรักษาจึงต้องให้หมอปัดรังควานเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี หรือขับไล่ผีออกจากร่างกายของผู้ป่วย หรือติดต่อกับวิญญาณเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย จากการสัมภาษณ์บน ตันเก ซึ่งเป็นหมอพื้นบ้าน และผู้นำในการประกอบพิธีกรรมนอนหาดของชุมชนท่าฉัตรไชยมีประสบ

การณ์ในการรักษาโรคและประกอบพิธีกรรมมายาวนานร่วม 30 ปี ได้เล่าให้ฟังว่า

คนป่วยที่มารับการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีอาการไม่รับประทานอาหาร มีอาการผิดปกติไปจากการใช้ชีวิตประจำวัน หมอจะรักษาโดยให้คนไข้เตรียม กำยาน (สีเสียด) เทียนสีขาว เงินสมนาคุณ (ตั้งเชี่ยน) และหมอจะรักษาโดยการประทับทรงเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย ส่วนการรักษาอาการถูกแมลงมีพิษ เช่น ผึ้ง ตะขาบ กัดต่อย จะรักษาโดยการปัดรังควานประกอบคาถา โดยมีคาถาในการบำบัดรักษา ดังนี้ “ระงับ โมระงับ นะโม ทายะ โอม ประสิทธี กูและ” หมอจะท่องคาถา 3 จบ แล้วเป่าลงบริเวณที่มีอาการเจ็บ 3 ครั้ง เป็นการเรียกพิษออกจากร่างกาย

ส่วน ดุเจ็น ราวี ได้เล่าถึงโรคที่รักษาโดยการปัดว่า มีโรคดังนี้

เด็กที่เป็นพยาธิ (เป็นเดือน) รักษาโดยวิธีการปัด ซึ่งสามารถปัดได้ทุกวัน แต่ต้องเป็นตอนเย็น การรักษาหมอต้องทำพิธีบูชาครู โดยต้องรักษา (ปัด) พร้อมท่องคาถา “ครูหมออาจารย์ เดือนทอง เดือนเงิน ครูหมออาจารย์ช่วยปัดด้วย” แล้วเป่าไปที่ท้องเด็ก 3 ครั้ง ใช้ปูนกินหมกวาดเป็นรูปกากบาท แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดลงที่ท้องเด็ก 3 ครั้ง จะต้องปัดติดต่อกันให้ครบ 3 วัน

ไข้ทับระดูในสตรี รักษาโดยการที่หมอทำหมากให้ 3 คำ คนไข้ต้องเอา พริกไทยดำ พลู

มาให้หมอทำพิธีปลุกเสก แล้วหมอจะให้หมากที่ปลุกเสกเสร็จแล้วไปกินก่อนนอนคืนละ 1 คำ หรือหมอพื้นบ้านของบ้านเหนือจะรักษาอาการปวดประจำเดือนของผู้หญิงโดยการปัดรังควานประกอบคาถาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วย วิธีการรักษาผู้ป่วยจะนั่งหรือนอนแล้วแต่สะดวก หมอจะใช้มือขวากดที่ท้องน้อยแล้วลูบลงล่างพร้อมท่องคาถาว่า “โต๊ะไส กาไหน ตูลุด ยาลัด” ท่องคาถา 3 จบ เป่าลงที่ท้องน้อย 3 ครั้ง

อาการปวดศรีษะ หมอจะให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนแล้วแต่สะดวก หมอจะใช้มือขวาบีบบริเวณหน้าผากทางซ้ายของผู้ป่วยบีบไปทางด้านขวา พร้อมท่องคาถา 3 จบ คาถามีว่า “นะสูญ โมสูญ เจฦบหัวทั้งมูล โอมสิทธีกู ครูอาจารย์ สิทธีกูเอย” เมื่อท่องคาถาจบก็เป่าลงที่ศีรษะผู้ป่วย 3 ครั้ง จากนั้นหมอจะใช้หัวแม่มือขวาแตะกลางเพดานปากของหมอเอง 1 ครั้ง และโคนฟันกรามข้างซ้ายของหมอเอง 1 ครั้ง แล้วจึงเอาหัวแม่มือมาแตะที่หน้าผากผู้ป่วย พร้อมท่องคาถา 3 จบว่า “มะทู กูหลุด ยาหลัด “ แล้วเป่าที่หน้าผากผู้ป่วย 3 ครั้ง การที่หมอใช้นิ้วแตะเพดานปาก เพื่อกันของไม่ดีเข้าสิงผู้ป่วย เช่น ผีชิน เป็นต้น อาการบวม หรือเป็นฝี ก็ใช้วิธีการปัดรักษาได้

ส่วนวัลภา พิบาลพรม เล่าถึงการรักษาด้วยการปัดเป่าไว้ จะมีการตั้งเชี่ยน ภายในเชี่ยน

ประกอบด้วย หมาก พลู เหล้าขาว ธูป เทียน ปูนแดง เงิน (เท่าไหร่ก็ได้) โรคที่รักษาด้วยการปัด เช่น เอ็นจม (เส้นพลิกแพลง) แขนหัก จะใช้น้ำมันมะพร้าวสดควบคู่ไปกับการนวดด้วย และปัดรักษาในคนที่ถูกผีเข้า ถูกคุณไสย

หมอจะรักษาในเวลากลางวัน เพราะกลางคืนจะมองไม่เห็นเส้น ในการรักษาจะต้องเอ่ยชื่อครู (ระลึกถึงครู) ที่บ้านหมอบางคนจะมีรูปครูบูชาไว้บนหิ้ง เมื่อรักษาหายหมอไม่เรียกร้องค่าสมนาคุณใด ๆ จากผู้ป่วย

 

5.2. หมอนวดรักษาอาการปวดเมื่อย

การรักษาด้วยการบีบนวดเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ปวดศีรษะ หมอจะบีบนวดที่บริเวณขมับและหน้าผากของผู้ป่วย และบีบที่ท้ายทอย ต้นคอ และหัวไหล่ ให้บีบนวดหลายครั้งจนอาการทุเลาลง

การรักษาด้วยการบีบนวดและทาน้ำมันเพื่อรักษาอาการบวม ส้นตึง ปวดหลัง ปวดเอว และเท้าแพลง จะใช้น้ำมันมะพร้าวเคี่ยว หรือน้ำมันงา ทาบริเวณที่บวม โดยหมอจะใช้มือทั้งสองข้างจับเส้นที่บวมตึง หรือบริเวณเอว หลัง บีบนวดลงมาจนถึงปลายเท้า หมอจะจับเส้นและบีบนวดสลับกับการน้ำมันซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง

 

6. ประเพณีประจำถิ่น

6.1 ลอยเรือชาวเล

พิธีลอยเรือชาวเลมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ทำขึ้นในกลางเดือน 6 และกลางเดือน 11 มีวัตถุประสงค์เพื่อสะเดาะเคราะห์และปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกจากตัวเอง ครอบครัว และชุมชน โดยมีโต๊ะหมอที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชอกในชุมชนและเป็นผู้ที่มีความรู้ในการประกอบพิธีกรรมเป็นผู้ทำพิธี ซึ่งในปีนี้นายคล่อง สมัน เป็นผู้ได้รับอนุมัติจากชาวบ้านให้เป็นโต๊ะหมอประกอบพิธี จากการสัมภาษณ์ คล่อง สมัน สมศักดิ์ ตุหรัน และผู้สูงอายุอีกหลายคนในหมู่บ้าน ทำให้ทราบว่าขั้นตอนการลอยเรือมีดังต่อไปนี้

เรือที่ใช้ในการลอยเรียกว่า กาบางลายาน หรือเรือใบ ที่เรียกว่าเรือใบ เพราะมีใบเรือที่ทำด้วยผ้าขาวม้า

ส่วนไม้ที่ใช้ทำเรือนำมาจากบ้านบ่อสอม (ตำบลไม้ขาว) ในการตัดไม้มาทำเรือไม่ต้องประกอบพิธีกรรมใด ๆ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของสวนก่อนจึงสามารถตัดได้ ถ้าเจ้าของไม่อนุญาต ก็ต้องซื้อ

วัสดุที่ใช้ในการทำเรือ

ต้นกล้วย,กาบกล้วย

ไม้ที่สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบของเรือได้ เช่น ไม้ยาง ไม้เสม็ด เป็นต้น

มีดพร้า

เชือก

สมัยก่อนใช้ผ้าขาว ปัจจุบันใช้ผ้าขาวม้า

วิธีการต่อเรือ

ใช้ต้นกล้วยมาทำเป็นฐานของเรือ

ใช้ไม้กลมแทงที่ฐานเรือให้เป็นแนวยาวประมาณ 60 – 80 ซม.

นำกาบกล้วยมาปูเป็นส่วนของท้องเรือ

นำไม้มาต่อที่ด้านข้างของเรือ แล้วนำกาบกล้วยมาปูให้สูงขึ้นเป็นเรือ (เรือจะมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม)

นำไม้มาต่อเสริมท้ายเรือเล็กน้อย แล้วใช้กาบกล้วยปูไว้สำหรับวางสิ่งของต่าง ๆ

ส่วนหัวเรือทำจากก้านกล้วยที่มีผลติดอยู่ เมื่อตัดผลของกล้วยออก ก็จะเหลือแต่ก้านที่โค้ง ลักษณะคล้ายกับงวงช้าง นำมาทำเป็นหัวเรือ

นำไม้มาต่อขึ้น แล้วทำเป็นรูปโค้ง เสร็จแล้วจึงนำกาบกล้วยมาปูให้ติดกัน เพื่อทำเป็นหลังคาเรือ

นำไม้กลมมาทำเป็นเสากระโดงเรือ ใช้ผ้าขาวม้าผูกติดเสากระโดงเรือเป็นใบเรือ

แกะไม้กระดานม้เป็นรูปคนครึ่งตัว นำมาติดไว้ที่หัวเรือและท้ายเรือ แทนนายท้ายเรือและนายหัวเรือ

รูปแกะสลักนายหัวละนายท้ายเรือต้องผูกผ้าสีแดงที่ศีรษะ ในปากคาบบุหรี่

หัวเรือประดับดอกไม้ และผูกผ้าสามสี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน

นำกระดาษมาทำเป็นสายรุ้งตกแต่งเรือ

นำเทียนสีขาวมาปักไว้ให้ทั่วทั้งลำเรือ

นำไม้มาแกะเป็นกรรเชียง แล้วผูกให้ติดไว้ด้านข้างของเรือทั้ง 2 ด้าน

 

สิ่งของที่นำมาใส่ในเรือ

รูปคนที่แกะมาจากกาบกล้วย แกะให้มีจำนวนเท่ากับสมาชิกในครอบครัว

ใช้ใบมะพร้าวปูที่ท้องเรือ แทนที่นอน แล้วนำรูปคนที่แกะมาใส่ในเรือที่ปูกระดาษไว้แล้ว

น้ำ

ไม้ฟืน

เล็บมือ,เล็บเท้า

เส้นผม

ข้าวสาร

เครื่องปรุงอาหาร เช่น เกลือ ขมิ้น กะปิ หอม กระเทียม เป็นต้น

 

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมลอยเรือ

เมื่อประกอบเรือเสร็จแล้ว ชาวบ้านแต่ละครอบครัวนำของที่ใช้ในการประกอบพิธีใส่ในถ้วยมาวางบนเสื่อ ที่หมอนั่งทำพิธี ของเหล่านั้น ได้แก่

บุร่ากู่ยุด (ข้าวสารมิ้น) ข้าวสารสีเหลือง เป็นข้าวสารที่คลุกกับขมิ้น

ด้าย

เงิน สมัยก่อนจะใช้เหรียญสตางค์ที่เป็นรู ปัจจุบันเป็นเงินเหรีญแล้วแต่จะใส่ลงไป

เทียนเล่มเล็กสีขาว

หมอจะนั่งทำพิธี จนกว่าถ้วยที่ชาวบ้านนำมาในการทำพิธีจะหมด ชาวบ้านจะรอรับถ้วยคืนจากหมอ แล้วนำกลับไปที่บ้าน นำของไปสาดใส่บ้านทันที แล้วจึงกลับมาที่เรือพิธี

จุดเทียนทุกเล่มที่ปักไว้ในเรือ และจุดบุหรี่ที่ปากนายหัวและนายท้ายเรือ

ในขณะที่หมอประกอบพิธีกรรม ชาวบ้านส่วนหนึ่งนำข้าวตอกมาลูบตามเนื้อตัว โดยการใช้ข้าวตอกลูบจากศรีษะลงมาจนจรดปลายท้าว เพื่อนำสิ่งที่ไม่ดีออกจากตัวเอง

หลังจากหมอประกอบพีกรรมเสร็จ หมอก็จะทำพิธีเรียกวิญญาณให้มาขึ้นเรือ (เรียกผี)

โดยเรียกทั้ง 4 ทิศ คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ จากนั้นหมอก็จะเรียกอีก 3 ครั้ง ชาวบ้านก็ส่งเสียงโห่ และปาข้าวตอก 3 ครั้ง เท่ากับเสียงเรียกของหมอ หลังจากนั้นผู้ชายจะช่วยกันยกเรือทันที นำไปใส่ไว้ในเรืออีกลำหนึ่ง แล้วออกเรือเพื่อนำไปลอย

 

สิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีที่หลาโต๊ะ มีดังนี้

- ข้าว

- ขนมเปียกปูน

- เหนียวดำ

- แกง แกงอะไรก็ได้ที่ไม่ใช้หมู (เพราะโต๊ะเป็นอิสลาม) ของทั้ง 4 อย่างนำไปไว้ในถ้วยเล็กของ 1 อย่างต่อหนึ่ง 1 ถ้วย แล้วนำไปใส่ไว้ในถาด

- น้ำเปล่า 1 แก้ว

- หมาก

- พลู

- เทียนเล่มเล็กสีขาว

- ใบจาก,ยาเส้น (นำยาเส้นมาม้วนเข้ากับใบจาก)

- ในขณะทำพิธีที่เรือหมอจะหมุนถ้วยทุกใบ 3 รอบ

- ปักเทียนให้ทั่ว ทั้งเรือ เพราะเทียนให้แสงสว่างเป็นเครื่องนำทาง

- เรือลำใหญ่หรือลำเล็กก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณของต้นกล้วย

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมที่หลาโต๊ะ

ชาวบ้านแต่ละครอบครัวนำถาดมาวางไว้ที่หลาโต๊ะ (ในถาดนั้นใส่อะไรบ้าง?) โดยโต๊ะ

หมอจะนั่งประกอบพิธีกรรม ด้วยการจุดธูป 9 ดอก และหมุนถาดของชาวบ้านทุกใบ จำนวน 3 รอบ และจุดเทียนทุกเล่มที่ชาวบ้านนำมา

หมอโรยข้าวตอกที่หลาโต๊ะ นำเทียนทุกเล่ม หมาก พลู ใบจาก ยาเส้น ที่ชาวบ้านนำมาเอาไปวางใส่ในหลาโต๊ะ

เอาข้าว ขนมเปียกปูน เหนียวดำ แกง อย่างละนิด จากทุกถาด ใส่ไว้ในกระดาษ แล้วนำไปวางไว้ที่โคนเสาของหลาโต๊ะ จากนั้นชาวบ้านก็นำถาดกลับบ้าน เสร็จพิธีลอยเรือ

ในอดีตขณะที่ผู้ชายกำลังประกอบเรือในช่วงกลางวัน ผู้หญิงสูงอายุจะสนุกสานด้วยการร้องรำนา (ระมะนา) รอบ ๆ เรือ จนประกอบเรือเสร็จ

แต่ปัจจุบัน การรำนารอบเรือหายไป กลายเป็นรำวงเข้ามาแทนที่ สมศักดิ์ ตุหรัน เล่าว่า การรำวงเริ่มมีมาประมาณ 30 ปีที่แล้ว โดยใช้เพลงสีนวลเป็นเพลงไหว้ครู แล้วตามด้วยเพลงดัง ๆ ตามสมัยนิยม นางรำก็เปลี่ยนจากผู้สูงอายุเป็นวันรุ่นสาวในหมู่บ้าน และใช้ดนตรีสากลมาประกอบการรำ การรำวงไม่ต้องรำรอบเรือ แต่จะรำเพื่อเพิ่มความสนุกสนานครื้นเครงให้กับงานลอยเรือ

6.2 นอนหาดหรือนอนเล

การนอนหาดหรือนอนเลของชาวเลเผ่ามอแกล๊น มีพิธีในวันขึ้น 13 – 15 ค่ำ เดือน 3

เป็นประจำทุกปี ณ บริเวณหาดทรายแก้ว ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ในพิธีจะมีการเชิญวิญญาณโต๊ะหินลูกเดียว ซึ่งชาวเลเชื่อว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษที่คอยปกป้อง คุ้มครอง และคอยช่วยเหลือเวลาเจ็บป่วยหรือมีปัญหาให้มาประทับร่างทรง เพื่อให้ลูกหลานได้แก้บน (แก้เหมรฺย) ตามที่ได้สัญญาไว้ มีการประกอบอาหาร การรำรองแง็ง เพื่อบวงสรวงดต๊ะหินลูกเดียว ใช้เวลาในการนอนหาด 2 คืน 3 วัน ช่วงเช้าตรู่ของวันสุดท้ายในการประกอบพิธีนอนหาด

ชาวเลจะลอยกะแอแปนั้ง(ไม้หมากที่เหลาไม้) ไปตามน้ำเพื่อให้หมดพันธะสัญญาตามที่ได้บนบานไว้กับหมอและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพนับถือของชาวเล ในการประกอบพิธีนี้ชาวเลเผ่ามอแกล๊นที่ไปอยู่จังหวัดอื่นก็จะกลับมาร่วมพิธีนี้กันอย่างพร้อมเพรียง ถือเป็นการพบปะชุมนุมญาติพี่น้องอีกวาระหนึ่ง

7. ความเชื่อในชุมชน

7.1 โต๊ะปากพระ

โต๊ะปากพระเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ เชื่อกันว่าโต๊ะปากพระสถิตย์อยู่ที่หัวแหลม มีศาลา (หลา) ให้โต๊ะปากพระเป็นที่อยู่ และเชื่อกันว่าโต๊ะปากพระเป็นอิสลาม ดังนั้นของเซ่นไหว้จะต้องไม่มีหมู ชาวบ้านมักไปบนบานให้สมหวังในเรื่องต่าง ๆ เมื่อสมหวังดังที่ได้บนบานไว้ ชาวบ้านจะแก้บนด้วยการนำข้าว แกงไก่ ขนมหวาน น้ำ ไปบูชา สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการแก้บน ก็คือ ประทัด และโต๊ะปากพระจะโปรดปรานไก่ชน

7.2 โต๊ะหินลูกเดียว

ชาวบ้านเชื่อว่า โต๊ะหินลูกเดียวเป็นเจ้าที่ ที่คอยปกป้องคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข มีตำนานเล่าว่า พ่อตาหินลูกเดียวเกิดมาจาก ๓ ที่ คือ พ่อตาหินลูกเดียว พ่อตาหินขาว พ่อตาปากช่อง พ่อตาหินขาวนั้นชอบจระเข้ (กายะ) จนกระทั่งจระเข้ตาย เลยกลายเป็นพ่อตาหินขาว ส่วนพ่อตาหินลูกเดียว จะจับลงเป็นม้าทรง (ร่างทรง) และใช้นิ้วชี้ให้หยิบหินโยนลงในน้ำ เมื่อเวลาน้ำแห้งจะเห็นหินโผล่ขึ้นมา และกลายเป็นก้อนหิน จึงทำให้เรียกที่บริเวณแถบที่หินโผล่ขึ้นมาว่า บ้านหินลูกเดียว จะมีการบูชาโต๊ะหินลูกเดียวทุกปี เรียกว่าพิธีนอนหาดหรือนอนเล

7.3 พิธีกรรมตา-ยายถ้วย

จะจัดทำขึ้นในเดือน 4 หรือเดือน 6 ขึ้นอยู่กับสถานภาพทางการเงินของครอบครัว ทุกอย่างจะถูกจัดทำขึ้นในเวลากลางคืน ทั้งการเตรียมอุปกรณ์และสิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธี เช่น ทำของหวาน ในส่วนของของหวานนั้นจะใช้แป้งเจ้าปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ลักษณะคล้ายบัวลอย ของคาวจะเป็นแกงไก่ โดยใช้ไก่ทั้งตัว ส่วนลำตัวนั้นเอาไปแกง ขา ปีก และเครื่องใน ต้มให้สุก แยกใส่ในถ้วยเล็ก ๆ โดยใส่แกง ๑ ถ้วย ปีกกับขา ทำเป็นคู่ เครื่องใน ใส่อย่างละถ้วย ขนมหวาน 1 ถ้วย ใส่ไว้ในถาด และแบ่งส่วนหนึ่งใส่ในถ้วยเล็ก ๆ ผูกไว้ที่ขื่อของบ้าน การทำพิธีนั้น โดยมากจะเป็นครอบครัวที่แต่งงานใหม่ หรือเพิ่งมีลูก จะทำกันทุกบ้าน เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองลูกหลานในครอบครัวให้ปลอดภัย เพราะถ้าหากไม่ทำเชื่อว่าอาจทำให้ลูกหลานที่เกิดมาเจ็บป่วยหนักและอาจถึงแก่ความตายได้ แต่เมื่อทำพิธีถูกต้องเรียบร้อยเด็กก็จะหายเป็นปกติ

7.4 แม่ย่านาง

ชาวชุมชนท่าฉัตรไชย จะให้ความนับถือแม่ย่านางมากเพราะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยคุ้มครองชาวบ้านที่ออกไปทำมาหากินในทะเล หากใครลบหลู่ก็จะมีอันเป็นไป สิ่งของที่บูชาแม่ย่านาง ได้แก่ ข้าว ไก่ เป็นต้น เชื่อกันว่าแม่ย่านางเป็นผู้หญิง

7.5 การทำเสน่ห์/การทำนายดวงชะตา /การฝังรกเด็ก

6.5.1 บน ตันเก หมอพื้นบ้านของบ้านเหนือได้เล่าถึงการทำเสน่ห์ยาแฝดไว้ว่าการทำยาเสน่ห์ ใช้น้ำมันมะพร้าวดีดใส่คนรัก แล้วคนรักจะหลงไหล แต่ไม่นานมนต์นั้นก็เสื่อมคลาย

6.5.2 ส่วนการทำนายโชคชะตา หมอบนเล่าก็มีการมาดูดวงชะตาอยู่เสมอ ๆ โดยส่วนมากจะมาดูในเรื่องการงาน การทำมาหากิน และต้องมีของเซ่นไหว้ครู เช่น หมาก พลู กำยาน น้ำมนต์

6.5.3 ติ๋ม ราวี เล่าถึงการฝังรกเด็กแรกเกิดไว้ว่า รกของเด็กแรกเกิดทั้งหญิงและชาย นำมาใส่กระสอบใบเตย แล้วฝังไว้ที่เสาใต้ถุนบ้านหรือข้างบ้าน เพราะเชื่อว่าเมื่อเด็กโตขึ้นจะไม่ต้องจากบ้านไปไกล เป็นฝังรกฝังรากไว้กับบ้านเกิด

7.6 การรับบุญเดือนสิบ

การรับบุญเดือนสิบ คือการที่ชาวมอแกล๊นไปรับบุญจากคนไทยพื้นถิ่นในช่วงเทศกาลเดือนสิบ ด้วยการไปรับบุญที่วัดจากคนไทย โดยชาวมอแกล๊นจะนำถังน้ำ หรือสอบราด (กระสอบที่สานด้วยใบเตย) ไปรอรับของ ซึ่งคนไทยจะให้เป็นขนม ข้าวสาร เงิน หรือเสื้อผ้า เมื่อรับเอาสิ่งของเหล่านั้นมาแล้วต้องตั้งเซ่นไหว้ให้วิญญาณตา-ยาย (บรรพบุรุษ) และกินใช้กันในครอบครัว ซึ่งทุกคนในครอบครัวต้องไปรับบุญที่วัด ถ้าไม่ไปตายาย (บรรพบุรุษ) จะโกรธเคือง ถือว่าทำผิดประเพณีปฏิบัติ อาจดลบันดาลให้คนในครอบครัวเจ็บไข้ไม่สบายได้

 

8. ภาษามอแกล๊น

ชุมชนท่าฉัตรไชยมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่เชื่อกันว่าเข้ามาอาศัยอยู่ที่นี่เป็นเวลานานกว่า 200 ปี มาแล้ว เรียกว่าชาวเลเผ่ามอแกล๊น ที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภาษาพูดที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชน ที่แตกต่างกันคนไทยพื้นถิ่น และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ โดยกลุ่มชาติพันธุ์มอแกล๊นในชุมชนนี้ จะมีเฉพาะภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน ดังที่ได้สอบถามศัพท์ ภาษาพูด จาก ปอม วารี ตัม วารี เกษวรินทร์ หงษ์สา แดง ตุหรัน และ เคื่อง ตุหรัน และได้แยกหมวดหมู่ของภาษาไว้ดังนี้

8.1 หมวดร่างกาย

 

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

ศีรษะ (หัว) ออตัก

ตา มาตาก/มาต้า

หน้าผาก กี่เนียง

จมูก ยู่ง

ปาก อะกัง/ออกัง

แก้ม ตือของ

คาง ตือโก๊ก

หู แตงเก/แตรา

คอ ลือกอง

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

 

นม ตูไฉ

ศอก อีไก

ฝ่ามือ ตาป้ะงั้น

แขน ปือกอ/เปอะก้อ

ไหล่ บือไห

นิ้วมือ ยาลุยงั่น/ยากุ่ย

เอว กือเอียง

ก้น บูตุด

หัวเข่า ตืออ้ด

นิ้วเท้า อาลุยกาไก๊

ขาอ่อน ปากกากบือลวง

ข้อมือ ของัน

ข้อเท้า ขอกาไก๊

ส้นเท้า จือโดง

ขา ปาดา

ฝ่าเท้า ตาปะกาไก๊

ขน บูไล

อวัยวะเพศหญิง ปีอะดะ

อวัยวะเพศชาย กุลู่นอะดะ

น่อง กาเปอะ

ผม บูเลยออตัก

ฟัน แลปัน

ลิ้น แถ้

 

 

 

 

 

 

 

 

8.2 หมวดตกแต่งร่างกาย – เครื่องประดับ

 

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

เสื้อ บาไย

เสื้อแขนสั้น บาไยปือกอบาลุ้ย

เสื้อแขนยาว บาไยกอลาหต้ะ

เสื้อใน บอไยชั่นดาลัม

กางเกง จูเถา

กางเกงใน ชูเพาชั่นดาลัม

กางเกงขาสั้น ชูเพาขาสั้น

กางเกงขายาว ชูเพาขายาว

เสื้อฟุตบอล บาไยฟุตบอล

กางเกงฟุตบอล ฉูเพาฟุตบอล

เสื้อกล้าม บอไยกล้าม

ผ้าขาวม้า วั่ดจีมัว

ผ้าถุง วั่ดบั้ง

ผ้าห่ม จูวัดนาปอด

สายเอว ฉายเอียง

กิ๊บ กีบ/ติบ

ที่คาดผม กอบอตั๊ก

ลิปสติก ลิกติก/เหล็กติด

ที่ปัดหน้า ที่ปาดหน้า

ที่ทาแก้ม ที่มีฉูดตอบอง

นาฬิกา นากา/นาด

สายยางมัดผม สายยีตักแมกัดอตัก

สร้อยคอ ฉายกอง/ไซถอด

สร้อยข้อมือ ฉายปือกอ

แหวน กือแจน/กึยแจ้ง

กำไล บือลาง/กึมล้าง

หวี กึยชิ้ง

หวีสับ กือฉีนเน็บ

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

 

น้ำมันใส่ผม มือยาดดุกอตัก

น้ำมันทาผิว มือยาดดุก

แป้ง ยาแป้ง/ล่าแป้ง

น้ำหอม มือยาดนือหาย

ที่ทาเล็บ ที่มีฉูดกูไก

กระเป๋า กือเป๋า/กกเปา

 

8.3 หมวดสัตว์

 

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

นก ตีจุ้ม

ปลา แอก๊าน

เสือ มือนูก

หอย เอียก

หมา ไว่

ปู กือตาม

ลิง ก๊าก

ค่าง นูตุ้ง

กุ้ง กอด่าง

หนู ตีกู

เต่า ปือไย

ลิ่น กี่ลิ่ง

ช้าง กาย๊ะ

กบ บาเง๊าะ

หมู บอบูย

หมี บือหวั่ง

สิงโต มือนูก

แมลงปอ บือยูงปอ

ตั๊กแตน อาหวาย

ควาย กะบาว

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

เป็ด อะด๊า

งู ออลาน /ออลาง

ปลากะเบน ปลาไหล

ปลากระบอก แอก้านดาหลา

มด แจด้ำ

สุนัข เอือก/ไอย

แมว เหมียว/เมี่ยว

แมลงวัน มาเม้า

กุ้ง กอด้าง/กอต๊าด

เหยื่อเบ็ด ป้าดาออ

ไส้เดือน ลัง

ปลิงทะเล ก่าจี่

หอยติบ เอียกขอลอง

ปลาดาว เอก่านปีตั้ง

หมึก มีมึก

ปะการัง กาลัง

ปลาตีน แอก้านกาไก่

หนอน ก่าจี่

ผีเสื้อ ก่าม่าง

เม่น ดูลุยบ่ายูย

แมงกะพรุน บุบุน

แมงดา แม่งด้า

ไก่ มานอง/มาน๊อก

ปู กะต้าม

หอย เอียก

หมูป่า มะบุยก่อต้าน

กวาง หล่อชะ จระเข้ กายะ

กระจง บี่จอง

ลิงหางยาว กระซูนาซะ

8.4 หมวดอาหาร

 

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

 

กล้วย แบชั้ง

มะยม บูวางลายม

ส้ม บือหวาด/ขวาง

เงาะ ฉุ้มเงาะ

ฝรั่ง ยามูก

มะม่วง ปืออ่อก

ระกำ กอหมับ

กะท้อน มือขบ

ทุเรียน ทูเรียน

มะพร้าว ไมคอนอีอูน

มะขาม แอมมะขาม

ฟักเขียว ชะดาก

ฟักทอง ติเทด

หน่อไม้ ละบอง

แกงกะทิปลา ฉอบายกือทิแอกาน

แกงส้ม ชูอบ่ายบูวาด

แกงส้มกุ้ง ฉอบายบือจากกอด่าง

แกงผัดหมึก ฉอบายบือพัดนีมึก

แกงจืด ชูอบ่ายดอบุก

แกงพุงปลา ชูอบ่ายแก่ก้าง

แกงเขียวหวาน ชูอบ่ายเขียวว่าย

แกงหอย บอกชะไปเอี๊ยก

ทอดไข่ ทอดกือลูน

ผัดผักรวม ผัดตาร็อกรวม

แกงผัก บอกชะไบตาหลก

ต้มผัก ลูบุ๊กตาล้ก

น้ำพริก นาชุบ

ข้าว บูหลา

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

 

ต้มหอย นือบุเวียะ

ต้มปู นือบุกือตาม

นึ่งปลา นึงแอกาน

ทอดหมู ทอดบาบูย

แกงพริกหมู เขียวพลิกบอบูย

ทอดไข่ปลา ทอดกือลูนแอกาน

แกงกะทิ ฉอบายกือทิ

แกงหมู ชอบายบาบูย

แกงไก่ ชอบายมอนก

แกงปลา ชอบายแมเฮี้ยก

แกงไข่ไก่ ชอบายมานอง

 

8.5 หมวดของใช้ในครัว

 

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

ช้อน ยู่ห่อย

จาน หมี่คุ้ม

ถ้วย มีโคม

กะละมัง นีนพุ่น

หม้อ กาเน๊ก

หม้อหุงข้าว กาเน๊กจ้อน

กระทะ กือทะ

มีด แปด

กระปุกใส่ของ กุยดุกบือย่าก

ทัพพี อาว๊าก

ตะหลิว อาว้อกือทะ

ช้อนกลาง ยอห้อย

แก้ว จอก

ไม้กวาด แอวกวาด

พริกแห้ง รีปรีชะล้อม

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

 

พริกสด รีปรีชะลด

กะปิ บาจั่น

เกลือ แชลาก

น้ำตาลทรายขาว น้ำผึ้งปูเตียก

น้ำตาลทรายแดง น้ำผึ้งแม่ลาก

พริกไทย แม่เหล็ก

พริกไทยอ่อน แม่เหล็กบอรอง

กระเทียม บาวง

น้ำปลา อุเอนเอก้าน

ซีอิ้วดำ เต้าอิ้วแก่ต้ำ

ตะไคร้ ขี้ไคร

เขียง ปะป้านเนียง

มีด แปด

หินลับมีด บาเต๋ามาแปด

 

8.6 หมวดเครือญาติ

 

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

พ่อ ป๊ะ

แม่ ม๊ะ

ป้า ว๋ะ/ม๊ะหวา

น้า ไย

ลุง แจ/ป๊ะหวา

อา มาไม

น้า อา ผู้ชาย ม่า

น้าผู้หญิง ไม่

พี่ชาย อากะบูยั้ง

พี่สาว อุอยกาหละ/อากะ

น้องชาย อุอุยปูยัง

หลานชาย ตอเจาะกาใน

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

 

หลานสาว ตอเจาะบิเน

พี่ อากาก

พี่สะใภ้ อากากนาไต

พี่เขย อากากบาไต

น้อง อูอุ้ย

หลาน ตอเจาะ

ย่า ม๊ะเฒ่า

ยาย แยะ

ปู่ ป๊ะเฒ่า

ตา แจ้

ทวด หยั้ง

 

 

7.7 หมวดอื่น ๆ

 

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

นอน อีดูน/ด้น

ไร่/ปลูกข้าว โคมะ

บ้านของฉัน ไอหมากใหย่

อิ่มแล้ว แลก

คนไทย แชม

ไม้ แอว

กินแล้ว ย่ำกะ

แชวายวาไหล อยู่ไฟ

กาต้าม ไปไหน

กินน้ำ อ้ำเอ้น

ไข้ขน กอลัดดารำ

ปวดท้อง มะแก็ดระแกะ

รากไม้/สมุนไพร บะพากั้น

อวน ปูกั้ด

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

 

ปืน พูไผ

นอน 3 คืน ซาไหรมาไหง

บ้านคนอื่น ออหมากแนะ

บ้านตัวเอง ออหมากใหย่

บ้านที่สร้างด้วยปูน ออหมากปูน

หิว ออนจอน

หินฟ้าผ่า บัดเต้ยสะแป้น

บันได แอกย่าน

นั่ง ดอก

จาก กะย่าง

ฝาบ้าน ป้าย

ประตู แปะเต้า

ตกปลา เกามูเอี๊ยก

เชือก ข้าวกูกั๊ด

ไปไหน เก้าตำไล้

อาบน้ำ เอนอุเอ้น

เมา เบออ๊อก

เรือ กะบ่าง

เรือพาย กะบ่างอุจั้ย

มวนยา บัดดูด

ทู่นกูก๊ด ลูกทุ่น

ผู้หญิง ปีไหน

ผู้ชาย กะไหน

หุงข้าว ดอดจ้อน

น้ำเค็ม เอ็นแก้น

เหล้าแดง แอลาบแม่ลัก

สีแดง แม่ลัก

สีขาว บูแตก

สีดำ แกตำ

ภาษาไทย ภาษามอแกล๊น

 

เอาน้ำมากินหน่อย แค้นจอนบักอุเอนโอเจงมะอำ

มากินให้พร้อมกัน ดินยำสบายเลอะชิบออนพร้อม

โกนหัวเด็ก กูนออตั๊กจ่านาด

 

9. พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

9.1 ป่าชายหาด

สถานที่เก็บข้อมูลสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนบ้านท่าฉัตรไชย ปรากฎพบพันธุ์ไม้ในบริเวณนั้น ดังนี้

ชื่อพันธุ์ไม้ กระทิง

ลักษณะทั่วไป พบได้ในบริเวณที่เป็นป่าชายหาด พื้นที่สูง ใบและขนาดใบมีขนาดใหญ่ ใบหนา ใบมีสีเขียวเข้ม ปลายแหลม หลังใบสีเขียวอ่อน ท้องใบสีเขียวเข้ม ส่วนที่เก็บ ใบแก่ กำลังผลิใบ ความสูง 30 – 50 เมตร

สรรพคุณ ใช้สร้างบ้าน ทำเสากระโดงเรือ เฟอร์นิเจอร์

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ช้าเลือด

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนประปราย ขึ้นตามที่โล่งและชายฝั่งทะเลทั่วไป ความสูง 10 – 15 เมตร

สรรพคุณ ใบหรือยอดรับประทานกับน้ำพริก ใบใช้ห้ามเลชือด เมล็ดเป็นยาป้องกันการเกิดฝี ส่วนยางถ้าโดนตาจะทำให้ตาบอดได้

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ย่านปด

ลักษณะทั่วไป ใบหยาบ มีดอกสีขาว ผลคล้ายเม็ดทับทิม สีแดงอมชมพู เป็นไม้เลื้อย

สรรพคุณ ลูกใช้กินเป็นยาระบาย ใบใช้แทนกระดาษทราย โดยนำใบตากให้แห้ง แล้วใช้ถูสิ่งของ ดอกใช้ทำน้ำหอม

 

ชื่อพันธุ์ไม้ คอแห้ง

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้เนื้ออ่อน ความสูง 20 – 30 เมตร

สรรพคุณ ใช้สร้างบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ทำคอกสัตว์

 

ชื่อพันธุ์ไม้ มังคุดป่า

ลักษณะทั่วไป ลำต้นใหญ่ แผ่กิ่งก้านเป็นพุ่ม ใบหนา ความสูง 40 – 50 เมตร

สรรพคุณ ผลสุกรับประทานได้ เนื้อไม้ที่มีอายุ 30 -40 ปี ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้เป็นยาระบาย ยางถ้าโดนจะทำให้คัน

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ต้นเมา

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น ใบใหญ่หนา ลูกและดอกเมามีลักษณะคล้ายลูกชมพู่ ความสูง 40 – 50 เมตร ส่วนที่เก็บ ใบแก่

สรรพคุณ ใช้สร้างบ้าน ทำแบบพิมพ์ ทำเฟอร์นิเจอร์ แต่ต้องไม่ให้โดนแดด โดนฝน เพราะเนื้อไม้จะเปื่อย ผุพังง่าย

 

ชื่อพันธุ์ไม้ เสือหมอบ

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก มีขนาดของใบเล็กถึงขนาดกลาง พบในป่าทั่วไปและป่าชายหาด พื้นที่สูง ปลายของใบแหลม มีรอยหยักตามขอบใบ หลังใบสีเขียวอ่อน มีขนอ่อน ๆ ท้องใบสีเขียวเข้ม ดอกสีขาวอยู่ที่ปลายยอด ของต้นที่แก่ขึ้นเป็นพวง ลำต้นสีเขียว มีขนอ่อน ๆ ทั่วทั้งลำต้น ความสูง 1 - 2 เมตร

สรรพคุณ ใบใช้ห้ามเลือดและสมานแผล รับประทานไม่ได้

 

ชื่อพันธุ์ไม้ เสม็ดแดง

ลักษณะทั่วไป เปลือกมีสีแดง ความสูง 5 – 20 เมตร ส่วนที่เก็บ ใบแก่ ใกล้จะออกผล

สรรพคุณ เปลือกใช้ย้อมอวน ย้อมผ้า ยอดใช้รับประทาน ผลสุกกินได้ เนื้อไม้ใช้ทำเสาและไม้ฟืน ใช้สร้างบ้าน ใช้ขับลมในกะเพาะอาหาร และแก้ความดัน

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ตะเคียนทราย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบเขียวกลม ความสูงประมาณ 100 – 150 เมตร

สรรพคุณ ทำเรือ สร้างบ้าน ทำเสาเอกของบ้าน

 

ชื่อพันธุ์ไม้ เข็มป่าใบใหญ่

ลักษณะทั่วไป ความสูง 5 – 10 เมตร

สรรพคุณ เป็นไม้ประดับ

ชื่อพันธุ์ไม้ ต้นข่อย

สรรพคุณ ใบใช้ลูบปลาไหลให้หายลื่น และใช้ขัดไม้ ให้เรียบลื่น

 

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ผักหวานป่า

สรรพคุณ ยอดใช้รับประทาน ทำแกงเลียง

 

ชื่อพันธุ์ไม้ มะนาวผี

ลักษณะทั่วไป ความสูง 5 – 10 เมตร ผลเล็ก มีลักษณะคล้ายส้มจี๊ด ใบกลมเรียว ลำต้นมีหนาม คม ลำต้นไม่ใหญ่มาก ส่วนที่เก็บ ใบแก่

สรรพคุณ ลูกใช้เป็นส่วนผสมของการทำยาเสน่ห์ ปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน ใช้ป้องกันสัตว์ร้าย ป้องกันคน สำหรับคนท้องเชื่อกันว่าใช้ใบเหน็บไว้กับตัว จะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ รากนำไปต้มน้ำแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และใบใช้เป็นยาไล่ยุง

 

ชื่อพันธุ์ไม้ หางว่าว

สรรพคุณ ใบใช้ทำว่าวเป็นของเล่นเด็ก

 

ชื่อพันธุ์ไม้ สวาด

สรรพคุณ ลูกใช้เป็นส่วนผสมของการทำยาเสน่ห์ รับประทานไม่ได้

 

ชื่อพันธุ์ไม้ กระเจี๊ยบแดง

สรรพคุณ ใช้รักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะละลายไขมันในเส้นเลือด

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ตะเคียนทอง

สรรพคุณ ต้นใช้ทำบ้านเรือน

 

ชื่อพันธุ์ไม้ มะลิป่า

สรรพคุณ เป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอม

 

ชื่อพันธุ์ไม้ เข็มป่าใบเล็ก

ลักษณะทั่วไป ลักษณะคล้ายต้นเข็มบ้าน แต่ใบใหญ่กว่า ดอกสีขาว ความสูง 3 5 เมตร ส่วนที่เก็บ ใบแก่ ออกผล

สรรพคุณ รากใช้เป็นส่วนประกอบของยาสมานแผล เป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอม ผลกินได้

 

ชื่อพันธุ์ไม้ พลองใหญ่, พลองกินลูก

ลักษณะทั่วไป ความสูง 15 -20 เมตร

สรรพคุณ ผลกินได้ ทำด้ามจอบ สร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์

 

ชื่อพันธุ์ไม้ หนามมะแค็ด

ลักษณะทั่วไป ใบเป็นขน กลม หนา ลำต้นมีหนาม และลำต้นไม่ใหญ่มากนัก ความสูง 5 – 20 เมตร ส่วนที่เก็บ ใบแก่,ออกผล

สรรพคุณ ผลนำไปเผาไฟให้สุกนำไปหยอดหู แก้หูน้ำหนวก ใช้เป็นกับดัก หรือใช้ดักผีกระสือ (เป็นความเชื่อ) ใช้เป็นยาฆ่าเหา

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ตังหน

ลักษณะทั่วไป เป็นต้นไม้ใหญ่ จะมีจำนวนมากในเขตดินทราย (ป่าชายหาด) ใบกลมเล็กจะมีเส้นที่ใบ ความสูง 40 – 50 เมตร ส่วนที่เก็บ ใบแก่ ผลิใบ

สรรพคุณ ยางใช้รักษาโรคขี้เรื้อนในสุนัข ส่วนที่เป็นยางถ้าโดนจะมีอาการระคายเคือง

ชื่อพันธุ์ไม้ แพงพวย

ลักษณะทั่วไป ใบสีเขียว ดอกสีชมพู ม่วง ขาว ลำต้นไม่สูงมาก ความสูง 0.5 เมตร ส่วนที่เก็บ ใบแก่ ออกดอก

สรรพคุณ ลำต้นและรากนำมาต้ม รักษาโรคกระเพาะ เป็นไม้ประดับ ดอกใช้ทำยากันยุง รากและต้นแก้ไข้หวัด

 

ชื่อพันธุ์ไม้ นน

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้เนื้อหนา ใหญ่ สูง 40 – 50 เมตร ส่วนเก็บ ใบแก่

สรรพคุณ ใช้เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพร แก้โรคกระดูกผุ ต้นใช้สร้างบ้าน ทำกระดูกงูของเรือ ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำไม้ประดับเพราะทรงพุ่มสวย ใช้ทำเสาเข็ม ทำพื้นเรือน ใช้ทำด้ามของเครื่องมือเกษตร เช่น ด้ามขวาน ด้ามจอบ เป็นต้น

 

 

 

ชื่อพันธุ์ไม้ หน่อทือ,กระทือ,ทือ

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก ความสูง 10 – 30 เซนติเมตร

สรรพคุณ รากใช้รับประทาน ขับลมในกระเพาะ บรรเทาอาการท้องอืด ส่วนหัวใช้รับประทานกับน้ำพริก

 

9.2 ป่าชายเลน

สถานที่ในการสำรวจข้อมูลคือชายหาดบ้านแหลมหลา

ชื่อพันธุ์ไม้ แสมทะเล (ปี่ปี่,ปอกอนปาปี้)

ลักษณะทั่วไป แสมทะเลจะพบมากในพื้นที่ดินเลนงอกใหม่ ใบสีเหลืองอ่อนห่อกลับเข้ามา ท้องใบมองจากระยะไกลจะเห็นใบมีลักษณะเหมือนหลอดกลม ลำต้นสีขาวอมเทาเล็กน้อย ผลมีลักษณะ คล้ายลูกหัวใจ แต่เล็กกว่าผลแสมดำ ดอกสีเหลืองถึงเหลืองแสด ความสูง 5 -10 เมตร ปริมาณพืชที่พบในพื้นที่ จำนวนมาก

ลักษณะเด่น ใบหนา ยาวเรียว อวบน้ำสีเขียวเข้ม สังเกตที่ใบและดอก

สรรพคุณ ใช้ทำไม้ฟืน สร้างบ้าน ประโยชน์ทางสมุนไพร

- แกนไม้ (เนื้อไม้) ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง

- เปลือกไม้ ต้มแล้วอมน้ำเพื่อสมานแผลในปาก

- นำก้านและใบเผาไฟรมควัน แก้พิษจากสัตว์น้ำทุกชนิด โดยเฉพาะปลามีพิษจากทะเล

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ปอทะเล (ปอกอนบาเล้ย)

ลักษณะทั่วไป ปอทะเลพบมากตามเขตป่าชายเลนพื้นที่สูง ใบค่อนข้างกลม ปลายแหลมแต่สั้น หลังใบมีสีเขียวอ่อน ส่วนท้องใบสีกากีอมน้ำตาล ดอกสีเหลืองแสด ผลกลมเล็ก

ลักษณะเด่น ใบใหญ่ค่อนข้างกลม ปลายแหลมแต่สั้น ดอกสีเหลืองแสด ดอกที่ใกล้จะโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดงความสูง 5 – 10 เมตร ขยายใหญ่เป็นพุ่มใบแก่ ออกดอก ดอกผล

สรรพคุณ เปลือกของต้นใช้ทำเชือก ประโยชน์ทางสมุนไพร

- ดอกสด 2 – 3 ดอก ต้มกับน้ำ1/2 ถ้วยตะไล หยอดหูแก้ฝี แก้หูอักเสบ แก้เจ็บในหู

- ใบอ่อน ชงน้ำดื่มแก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ เป็นยาระบายอ่อน ๆ

- ใบ ทำเป็นผงใส่แผลสดและแผลเรื้อรัง

- ราก ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ไข้ เป็นยาระบาย ถ้าใช้เกินขนาดจะทำให้คลื่นไส้และและอาเจียน

ชื่อพันธุ์ไม้ ห้าแงะ

ลักษณะทั่วไป ใบกลมเล็กเรียว เป็นมัน อวบน้ำความสูง 3 - 5 เมตร ใบแก่ ผลิใบ

สรรพคุณ ประโยชน์ทางสมุนไพร ใบนำมาต้มทาแก้คัน หรือใช้ควันมารมตัวแก้คัน

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ผักบุ้งทะเล (ตาล็อกบาบุ๋ย)

ลักษณะทั่วไป ไม้เลื้อยใบกลม อวบน้ำ ลักษณะเด่น ใบเป็นรูปหัวใจ ความสูง เป็นไม้เลื้อย ออกดอก

สรรพคุณ

- แก้พิษแมงกระพรุนไฟ โดยใช้ใบทุบหรือขยี้พอกไว้ที่แผล

- เป็นอาหารสัตว์ เช่น ต้มให้หมูกิน

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ปะไอ่

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น ใบมัน มีดอกสีม่วง ใบสีเขียวเข้มความสูง 10 – 20 เมตร

สรรพคุณ ประโยชน์ทางสมุนไพร ใบใช้รมควัน รักษาบาดแผลจากโดนพิษปลา

 

ชื่อพันธุ์ไม้ โกงกางใบเล็ก

สรรพคุณ ประโยชน์ ทำไม้ฟืน สร้างบ้าน เปลือกต้มทำสีย้อมผ้า

 

ชื่อพันธุ์ไม้ พุทราทะเล

ลักษณะทั่วไป ใบกลม มีหนาม

สรรพคุณ รับประทานได้ ยอดกินกับน้ำพริก

 

ชื่อพันธุ์ไม้ ถั่วขาว

ลักษณะทั่วไป ใบอวบน้ำ ลักษณะเด่น เมื่อลูกตกถึงพื้น สามารถโตได้ถึง 10 เมตร

สรรพคุณ สร้างบ้าน

 

ชื่อพันธุ์ไม้ อี้ง้ำ (ปู่ตุย)

สรรพคุณ ทำรั้วบ้าน เล้าเป็ด ไก่

 

 

 

9. อาชีพของคนในชุมชน

อาชีพส่วนใหญ่ของคนในชุมชนแหลมหลา ผู้ชายจะทำอาชีพประมง เช่น การทำอวนปลาหมึก อวนปู ตกปลา ดำกุ้ง หรือหาหอย ซึ่งการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ปริมาณที่ได้มากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนของเครื่องมือ และระยะทางในการออกไปวางเครื่องมือ และขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศหรือคลื่นลมในช่วงนั้น

ในปัจจุบันนอกเหนือจากอาชีพประมงแล้ว คนในชุมชนแหลมหลายังประกอบอาชีพที่หลากหลาย เช่น ทำอู่ต่อเรือ เป็นลูกจ้างหมวดการทางท่าฉัตรไชย ทำสนามกอล์ฟ ทำโรงแรม ทำโรงงานเย็บผ้า รับจ้างถางป่า เป็นต้น

 

10. พันธุ์นก

พันธุ์นกที่พบในชุมชนท่าฉัตรไชย ได้แก่ นกตาแดง นกอีแพรด นกบุก นกเอี้ยง นก

กระจอก นกบินหลาดง (นกกางเขน) นกกระเด้าลม (นกเหย่าขี้ควาย) กากาเหว่า (นกคูด) นกคุ่ม และ นกเขา เป็นต้น

 

11. พันธุ์ปลา

จากการสัมภาษณ์ทิ่ง ตุหรัน ชาวบ้านในชุมชนแหลมหลา ทำให้ทราบว่า พันธุ์ปลาในท้องทะเลของชุมชนแหลมหลามีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ปลาตะม๊ะ ปลามง ปลาเสียดขาว ปลาเสียดดำ ปลากระบอก ปลาหลา ปลาลัง ปลาตาหล่อ ปลาตาเดือน ปลาแป้น ปลาหลังเขียว ปลาขี้ตัง ปลาหางแข็ง ปลาหางเหลือง ปลากระพงขาว ปลากระพงแดง เป็นต้น

 

12. พันธุ์สัตว์น้ำอื่น ๆ

พันธุ์สัตว์น้ำอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากพันธุ์ปลาที่เคยมีในอดีตและบางชนิดยังคงมีในปัจจุบัน ได้แก่ ปลิงเล ม้าน้ำ หอยแครง หอยกัน หอยหลักควาย หอยติบ หอยหวาน หอยลาย ปูดำ เป็นต้น

 

ข้อเสนอแนะ

ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับคติชนวิทยาอีกหลายเรื่อง เช่น เครื่องมือจับสัตว์ ความเชื่อ อาหารและการถนอมอาหาร ประเพณี นิทาน สะพานท้าวเทพกระษัตรี สะพานสารสิน ท่าฉัตรไชย สุสานมอแกล๊น เป็นต้น ที่ควรจะได้รับการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเร่งด่วน เพราะหลังจากที่ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานหลายเรื่องของอบต.มีข้อมูลที่ค่อนข้างคลาดเคลื่อนอยู่มาก

 

 

 

บุคลานุกรม

เคื่อง ตุหรัน เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 67 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง

จังหวัดภูเก็ต

จริยา แจ้งกระจ่าง เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 22/60 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว

อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

จีน วารี เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 67/2 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง

จังหวัดภูเก็ต

จูด จังทิมา เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 43/2 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

ดุเจ็น ราวี เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 31/2 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

แดง ตุหรัน เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

ติ๋ม ราวี เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 31/2 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

ทิ่ง ตุหรัน เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

นิ ราวี เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง

จังหวัดภูเก็ต

บน ตันเก เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 77 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง

จังหวัดภูเก็ต

พวบ ประโมงกิจ เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 52/3 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว

อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

มานิ ราวี เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

มายะ ตุหรัน เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 68 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

ไร่ เชี่ยวชาญ เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 65/1 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

ลา วารี เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง

จังหวัดภูเก็ต

บุคลานุกรม (ต่อ)

 

วัลลา พรมพิบาล เพศหญิง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

วิกร สมุทวารี เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง

จังหวัดภูเก็ต

ศักดา สงวนศักดิ์ เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 91/8 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

สมนึก วารี เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง

จังหวัดภูเก็ต

สมศักดิ์ ตุหรัน เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่ศูนย์การเรียนรู้ท่าฉัตรไชย หมู่ที่ 5 ตำบล

ไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

สุทัศน์ อธิเกิด เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 93/97 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

หยิ้น ชาญเชี่ยว เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 47/160 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว

อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

เห่าดง แดงเปลี่ยน เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

อ้อม ตุหรัน เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 25/3 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอ

ถลาง จังหวัดภูเก็ต

ไฮ้ ตุหรัน เพศชาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่บ้านเลขที่ 26 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง

จังหวัดภูเก็ต

 

เยาวชนผู้วิจัย

กนกวรรณ(ก้อย) ตุหรัน ปวช. วิทยาลัยอาชีวศึกษา

กาญจนา(ยุ้ย) ราวี ม.๖ กศน.ถลาง

จุฑามณี (ปิ่น) อินทร์สมบัติ ม.๒ โรงเรียนหงษ์หยกบำรุง

ทัศยา(ยู่ยี่) อธิเกิด ม.๒ โรงเรียนถลาง


หัวหน้านักวิจัย : อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร


ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : วิทยากรโครงการ


ประสานงาน
นิลดา เทียมตา
ศจี กองสุวรรณ

 

สนับสนุนทุน

องค์การแพลน ประเทศไทย

มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย
 
 
 
  

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้978
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1659
mod_vvisit_counterทั้งหมด10720237