Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow การเรียนการสอนในพุทธเถรวาท
การเรียนการสอนในพุทธเถรวาท PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์   
จันทร์, 02 มกราคม 2012

ธัมเมกขสถูป ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถ

สุภาพสตรีชาวพุทธทิเบตกำลังกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์

๑. หัวข้อการศึกษาที่น่าสนใจคือมโนภาพการศึกษาในพุทธศาสนาเถรวาทและสาระสำคัญของปรัชญาการศึกษา A Study of the Concept of Education in Theravāda Buddhism: Its Contemporary Significance มีหัวข้อที่พระคุณเจ้า(ดร.พระครูประสาท มหาวิทยาลัยมัทราส  Chennai, Tamil Nadu) จะต้องช่วยให้นิยามก่อนคือ Concept, Education และเถรวาท ไม่เช่นนั้นจะเดินไปสวรรค์ฅนละเส้นทาง ถึงเพื่อนกาแล็กซี่เรา ก็ยังตามหากันมิเจอ

  

๒. ทั้งที่มิใช่งานของผม(สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์) แต่ผมขอเสนอความหมายของ Concept ใช้ในคำไทยว่า มโนภาพ เป็นคำในกระบวนการเรียนรู้ระหว่าง การรับรู้(Perception) กับ มโนคติ (Ideal) ที่จะส่งผลไปสู่ ๑.ความรู้(Knowledge(ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า)) ๒.ทักษะ(Skill) และ ๓.เจตคติ(Attitude)

 

ยอดพระเจดีย์พระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา แคว้นมคธ รัฐพิหาร 

 

๓. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระบรมครูที่ทรงมีเทคนิคการสอน(Education ตามแนวของการศึกษา "การศึกษาคือชีวิต" ในกรอบมาตรฐานของจอห์น ดิวอี้) ทรงใช้จิตวิทยา ความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยทรงจำแนกเป็นดอกบัว ๓ เหล่าและใช้สื่อ(โสตทัศนูปกรณ์)เป็นภาษามคธ(บาลี)และสื่อแวดล้อมในขณะนั้นของผู้เรียน(ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา)

๔. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : ผลจากการสอน ได้จากขบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนเช่น ผู้ประสงค์จะบวชได้บวชเป็นพระภิกษุภิกษุณี ชาวมคธเป็นอุบาสกอุบาสิกา และพัฒนาไปสู่ระดับโสดาบัน ---> พระอรหันต์(นิพพาน) เท่าที่ปรากฏในหลักฐานพระไตรปิฎก(เถรวาท)

๕. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มโนภาพ จำแนกเป็น มโน และ ภาวะ คือผู้เรียนเห็นภาวะ(จากที่ทรงสอน)ได้ภายในห้วงแห่งความนึกคิดเป็นภาพนิ่ง ต่างจากมโนคติ (มโน=จิตใจ ค=เคลื่อน ติ=แล้ว) คือผู้เรียนเห็นเป็นภาพยนตร์ เป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้ ผู้เรียนสร้างภาพในจิตใจได้เป็นเรื่อง(Story) ทั้งมโนภาพและมโนคติเป็นผลที่ต่อเนื่องมาจากการรับรู้(Perception)

๖. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : ปัญหาการเรียนการสอนของครูไทยคือ ครูพานักเรียนไปถึงเพียงการรับรู้(Perception) นี่เป็นข้อกล่าวหาของงานวิจัยที่ผมเห็นด้วย ครูน้อยท่านที่พาผู้เรียนผ่านการรับรู้ไปสู่มโนภาพและมโนคติ ซึ่งจะให้ความรู้มีสัมฤทธิผลสูงมากกว่าการรับรู้(Perception)

 

ลำดับการเรียนรู้ (Learning)

เริ่มจากความพร้อม(Readiness)(ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา)-->ประสบการณ์(Experience) --> การรับรู้(Perception)--> มโนภาพ(Conception)--> มโนคติ(Ideal)--> Goal จึงก่อให้เกิด  ๑. ความรู้(Knowledge) ๒. ทักษะ(Skill)  และ ๓. เจตคติ(Attitude)

 

ข้อสังเกต : ข้อมูล(Data)ใดที่เข้ามาสัมผัสในระดับมโนภาพและมโนคติ จึงจะถึงเป้าหมาย(Goal)ทางการศึกษา จึงจะเรียกว่า มีความรู้  คุณครูท่านใดสร้างสิ่งเร้า(Stimulation)ไปถึงระดับการรับรู้(Perception)ยังไม่ถือว่าเป็นครู(ผู้จัดกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม)  คุณครูจึงต้องฝึกฝนการให้ข้อมูล(Data)จนกระทั่งผู้เรียนเปลี่ยนข้อมูลไปถึงระดับมโนภาพมโนคติ จึงเรียกว่า สอน เหล่านี้คือศาสตร์ของครู

 

๗. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : ขอบเขตของกาลเวลา ขอกำหนดตั้งแต่การโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เริ่มตั้งแต่วันอาสาฬหบูชา ที่ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร สารนาถาราณสี ถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน กุสินารา

๘. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : แนวการสอนของพระพุทธองค์คือทรงสอนให้พบความจริงตามแนวกาลามสูตร เป็นความจริงของชีวิตในวันนั้น เป็นสภาพแวดล้อมในวันนั้น เพื่อการมีชีวิตที่ลดทุกข์ได้ ความจริงนั้นเป็นความจริงที่สอดคล้องต้องกันกับวิทยาศาสตร์ (ผมไม่ได้หมายถึงว่างานของพระพุทธองค์เท่ากับวิทยาศาสตร์นะครับ แต่พระองค์ทรงเป็นยิ่งกว่านักวิทยาศาสตร์)

๙. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : ศิษย์ ๕ ฅนแรก เปลี่ยนแปลงไปเป็นภิกษุได้เพียง ๑ เดียวคือพระอัญญาโกณฑัญญะ(พระอรหันต์ประจำทิศตะวันออก) ศิษย์สอบตก ๔ ฅนคือ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะและพระอัสสชิ พระพุทธองค์ทรงให้สอบซ่อมเสริมในเวลาถัดมา จึงสำเร็จหลักสูตรก่อนจะทรงโปรดพระยสะ "ที่นี่วุ่นวายหนอ"

 

๑๐.

"ที่นี่ไม่วุ่นวาย"

๑๑. พระมหาธงชัย(โมโต้) เห็นว่า เถรวาท คงต้องนิยามศัพท์ก่อน ผมก็ขออาราธนาพระมหาโมโต้นิยามศัพท์ เถรวาท จะวิปัสนา คามวาสี ขอได้โปรดเสนอได้เลยครับ

๑๒. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : เจ้าของงานยังไม่นิยามศัพท์เถรวาท แต่ผมขอเริ่มถวายให้พระพุทธเจ้าเป็นพระบรมครูปฎิบัติหน้าที่สอน พวกเราก็ดูการสอนของพระพุทธองค์ แล้วนำเทคนิคที่พระองค์ทรงใช้มา Comment เพื่อให้เข้ากับหัวเรื่องว่า ทรงสอนด้วยวิธีใด มีกลวิธี มีเทคนิค มีจิตวิทยาใด (ตามมาตรฐานในทฤษฎีการศึกษาโปรเกรสสีฟของจอห์น ดิวอี้)

๑๓. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : พระมหาโมโต้ได้สัมผัสกาลามสูตรมาแล้ว พระอาจารย์โมโต้ก็ใช้กาลามสูตรเป็นมาตรวัดการสอนของพระพุทธองค์ได้ว่าพระองค์ทรงให้ศิษย์ใช้กาลามสูตรในประเด็นใด

เกษรียา สถานกำเนิดกาลามสูตร 

ฝากรูป

 

๑๔. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : การปราบชฎิลดาบส ๓ พี่น้อง อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะและคยากัสสปะ เจ้าลัทธิที่ทรงอำนาจสูงสุดในแคว้นมคธ ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรก่อนเสด็จฯเข้ากรุงราชคฤห์ เป็นการสอนที่แยบคายและทรงใช้จิตวิทยาได้ประสบความสำเร็จ มีพุทธสาวกเป็นกองทัพธรรม

 

๑๕. รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ Suebpong Thammachat

ขอบคุณมากพี่หมายได้เรียนรู้การสอนแบบพระพุทธเจ้าแล้วเห็นว่าเป็นการสอนที่ชาญฉลาด สอนให้เข้าถึงเนื้อ ไม่ใช่สอนแค่การรับรู้(Perception) เป็นแบบปฏิบัติควบคู่ไป วิธีการสอนที่ดีและมีครูคุณภาพสอน การสอนย่อมสัมฤทธิ์ผล ถ้าครูไม่มีคุณภาพแล้วจะทำให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้และเก่งได้อย่างไร ใช่ไหมพี่หมาย ขอบคุณพี่มาก และกราบขอบพระคุณ ดร.พระครูประสาทที่อวยพรปีใหม่ให้ผม กราบขอบพระคุณพระคุณเจ้าครั
.
.
๑๖. ดร.พระครูประสาท : ขอบคุณอย่างมากที่ท่านอาจารย์ได้ชวยชี้แนะแนวทางในการวิจัยเรื่องการศึกษาในพระพุทธศาสนาเถรวาท

หลายประเด็นที่น่าสนใจ และสามารถต่อยอดได้

๑๖.๑ งานใน Concept จะเน้นไปในรูปทฤษฏีการสอนของพระพุทธองค์ หลักไตรสิกขา เพราะว่าพระองค์ทรงสอนเรื่องนี้ ตั้งแต่ต้นจนจบ คือเรื่องขององค์ศีล สมาธิ และปัญญา ที่เมื่อหากว่ากันโดยภาพ รวมแล้ว สรุปส่งที่อริยสัจจ ๔ เมื่อรู้เรืองอริยสัจ ๔ แล้ว ก็คือเรื่ององค์ ความรู้เรืองการศึกษา นั้นเอง

 
๑๖.๒ ในส่วนของทฤษฏีการสอนของพระองค์นั้น ก็อย่างที่มหาธงชัย(มหาโมโต้) บอกแหละ กาลามสูตร แหละเป็นไปตามอุปนิสัยของแต่ละคนไป พระพุทธศาสนาเถรวาท ไม่ได้แยกเป็นคามวาสิและอรัญวาสิ หรอกนะ เป็นแต่เพียงหลักดั้งเดิมเท่านั้นเอง
.
.
๑๗. สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ : ใช้วงจรการสื่อสารสรุปประเด็นที่พระคุณเจ้าเสนอมาคือ ๑. พระพุทธเจ้าเป็นผู้ส่งสาร ๒. สาระที่จะส่ง(หรือที่ส่งแล้วนั้น)คือ ไตรสิกขา อันได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญาในอริยสัจ ๔  ๓. สื่อที่พระพุทธองค์ทรงใช้ คือ ๓.๑ สื่อภาษามคธ ๓.๒ สสารและพลังงานในสภาพแวดล้อมของผู้รับสาร ๔. ผู้รับสารได้แก่ ชาวมคธ(ต่อไปคือพุทธบริษัท คืออุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณี) พุทธเอตทัคคะ พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาตศัตรู อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป สานุศิษย์ของชฎิล ๓ พี่น้อง และ ๕. ปฏิกิริยาย้อนกลับ (พุทธบริษัท และพุทธบริษัทพัฒนา(โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และพระอรหันต์))

เวที Comment ใช้ Facebook ช่องทางสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ และ Pprasath Cching

เวที Comment ใช้ Facebook

ช่องทาง

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

หรือ

Pprasath Cching  Comment

 

***

มนุษยศาสตร์ จริยธรรม2

 

ปฐมสถานพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี วชิรรัตนบัลลังก์

พุทธชยันตี : รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ

 

 

พร ๒๕๕๕ จากว่าที่ ดร.พระครูประสาท

 

ด้วยเดช พระพุทธรัตน์ ตัดรากทุกข์
ขอท่าน มีความสุข ทุกสมัย
ด้วยเดช พระธรรมรัตน์ กำจัดภัย
ขอท่านมี เดชใหญ่ ปราบภัยเวร


ด้วยเดช พระสังฆรัตน์ ตัดโรคไข้
ขอท่านได้ สร่างโศก โรคยุคเข็ญ
ด้วยเดช พระไตรรัตน์ ตัดกรรมเวร
ขอท่านเด่น เรืองฤทธิ์ เป็นนิตย์เทอญ.

 

ดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน กุสินารา

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 15 มกราคม 2012 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1991
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1738
mod_vvisit_counterทั้งหมด10708474